โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิทยาการเข้ารหัสลับ

ดัชนี วิทยาการเข้ารหัสลับ

วิทยาการเข้ารหัสลับ วิชาเกี่ยวกับการเข้ารหัสลับคือการแปลงข้อความปกติให้กลายเป็นข้อความลับ โดยข้อความลับคือข้อความที่ผู้อื่น นอกเหนือจากคู่สนทนาที่ต้องการ ไม่สามารถเข้าใจได้ มนุษย์ได้คิดค้นวิธีการรักษาความลับของเรามาตั้งนาน นับตั้งแต่สมัยจูเลียส ซีซาร์ จนกระทั่งถึงปัจจุบันที่ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยเข้ารหัสลับและถอดรหัสลับ การเข้ารหัสแบบซีซ่าร์ทำได้โดยการนำตัวอักษรที่อยู่ถัดไปอีกสองตำแหน่งมาแทนที่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการเข้ารหัสคำว่า HELLO เราก็นำตัวอักษรที่ถัดจากตัว H ไปอีกสองตัวนั่นคือตัว J มาแทน ตัว E แทนด้วย G ตัว L แทนด้วย N ตัว O แทนด้วย Q ดังนั้นข้อความ HELLO จึงถูกแปลงให้เป็นคำว่า JGNNQ การเข้ารหัสลับแตกต่างกับวิทยาการอำพรางข้อมูล ข้อมูลที่ถูกอำพรางนั้นจะไม่ถูกเปลี่ยนแปลง ในขณะที่การเข้ารหัสลับจะเปลี่ยนแปลงข้อมูล วิทยาการเข้ารหัสลับสมัยใหม่ (Modern Cryptography) เป็นวิชาการที่ใช้แนวทางคณิตศาสตร์เพื่อแปลงข้อความปกติให้กลายเป็นข้อความลับ โดยให้เฉพาะคู่สนทนาที่ต้องการสามารถอ่านเข้าใจได้เท่านั้น ขั้นตอนวิธีของการเข้ารหัสลับสมัยใหม่ ได้แก่ Data Encryption Standard, Advanced Encryption Standard หรือ One-Time Padding ฯลฯ หลักการเบื้องต้นของการเข้ารหัสลับ ประการแรกคือ ขั้นตอนวิธีต้องเป็นที่รู้โดยทั่วไป และประการต่อมา รหัสจะต้องใหม่เสมอ.

7 ความสัมพันธ์: การเข้ารหัสการเข้ารหัสลับแบบกุญแจอสมมาตรมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดวิทยาการอำพรางข้อมูลจูเลียส ซีซาร์คอมพิวเตอร์เครื่องอินิกมา

การเข้ารหัส

การเข้ารหัส (encryption) เป็นการเปลี่ยนรูปแบบของรับบการอ่านที่เป็นภาษามนุษย์ให้เป็นภาษาเครื่องหรือสัญญาณอื่น โดยเกี่ยวข้องกับวิธีการทางคณิตศาสตร.

ใหม่!!: วิทยาการเข้ารหัสลับและการเข้ารหัส · ดูเพิ่มเติม »

การเข้ารหัสลับแบบกุญแจอสมมาตร

การเข้ารหัสลับแบบกุญแจอสมมาตร (Public-key cryptography) หรือ การเข้ารหัสกุญแจสาธารณะ คือการเข้ารหัสโดยกุญแจที่ใช้เข้ารหัสจะแตกต่างกับกุญแจที่ใช้ถอดรหัส นั่นคือการเข้ารหัสและการถอดรหัสจำเป็นต้องใช้กุญแจเป็นคู่ โดยที่บุคคลที่จะเข้ารหัสข้อมูลจะได้รับ กุญแจสาธารณะ (public key) ในการเข้ารหัส ส่วนบุคคลที่สามารถถอดรหัสได้คือบุคคลที่มี กุญแจส่วนตัว (private key) เท่านั้น กล่าวคือใคร ๆ ก็สามารถเข้ารหัสได้เพราะทุกคนมีกุญแจสาธารณะ แต่จะมีคนเดียวเท่านั้นที่ถอดรหัสได้คือคนที่มีกุญแจส่วนตัวซึ่งต้องถูกเก็บไว้อย่างรัดกุม ขั้นตอนวิธีที่เป็นที่รู้จักสำหรับการเข้ารหัสลับแบบกุญแจอสมมาตรคือ อาร์เอสเอ (RSA).

ใหม่!!: วิทยาการเข้ารหัสลับและการเข้ารหัสลับแบบกุญแจอสมมาตร · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด

ในมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University อ่านว่า สแตนเฟิร์ด) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า มหาวิทยาลัยลีแลนด์สแตนฟอร์ดจูเนียร์ (Leland Stanford Junior University) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ตั้งอยู่ที่เมือง สแตนฟอร์ด รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา อยู่ห่างจากซานฟรานซิสโกประมาณ 60 กม.

ใหม่!!: วิทยาการเข้ารหัสลับและมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาการอำพรางข้อมูล

ต้นไม้ที่มีการอำพรางข้อมูล ถ้าหากนำบิตอื่น ๆ ของ RGB ออกไปยกเว้น 2 บิตสุดท้ายของแต่ละสี ซึ่งภาพที่ได้จะเป็นโทนสีเกือบดำ แล้วเพิ่มความสว่าง 85 เท่า จึงจะปรากฏรูปภาพด้านล่าง ภาพแมวที่ถูกอำพรางเอาไว้ วิทยาการอำพรางข้อมูล (อังกฤษ: Steganography) หมายถึงศาสตร์ในการซ่อนข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักในการปกปิด ทำให้ดูเหมือนว่าไม่มีการซ่อนข้อมูลลับใด ๆ ในสื่อเป้าหมาย หากมองโดยผิวเผินแล้ว วิทยาการอำพรางข้อมูลมีลักษณะใกล้เคียงกับวิทยาการเข้ารหัสลับ (Cryptography) แต่ความแตกต่างของศาสตร์ทั้งสองคือ การเข้ารหัสมีจุดประสงค์ในการทำให้ข้อความไม่สามารถอ่านเข้าใจได้ แต่การอำพรางข้อมูลมีจุดประสงค์ในการซ่อนข้อมูล ทำให้คนทั่วไปไม่รู้ว่ามีการซ่อนข้อมูลลับอยู่ ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่สายลับมีการส่งจดหมายติดต่อไปยังหน่วยงานของตน สมมติจดหมายที่ถูกส่งไปนั้นถูกเปิดตรวจสอบระหว่างทาง หากข้อความถูกเข้ารหัสไว้ก็อาจก่อให้เกิดความสงสัยแก่ผู้ตรวจสอบว่า จดหมายนี้อาจมีข้อความที่เป็นความลับอยู่ แต่หากในจดหมายนั้นใช้วิธีการอำพรางข้อมูล ในการซ่อนข้อความแล้ว ข้อความในจดหมายนั้นก็เสมือนกับจดหมายทั่วไป ไม่มีสิ่งที่เป็นจุดน่าสงสั.

ใหม่!!: วิทยาการเข้ารหัสลับและวิทยาการอำพรางข้อมูล · ดูเพิ่มเติม »

จูเลียส ซีซาร์

กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ (Caivs/Gaivs Ivlivs Caesar) หรือ จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar; กรกฎาคม 100 ปีก่อน ค.ศ. – 15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นรัฐบุรุษ แม่ทัพ และผู้ประพันธ์ร้อยแก้วอันเลื่องชื่อชาวโรมัน เขามีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์อันนำไปสู่การสิ้นสุดสาธารณรัฐโรมันและความเจริญของจักรวรรดิโรมัน ใน 60 ปีก่อน..

ใหม่!!: วิทยาการเข้ารหัสลับและจูเลียส ซีซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

คอมพิวเตอร์

อบีเอ็ม โรดรันเนอร์ - ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกผลิตโดยไอบีเอ็มและสถาบันวิจัยแห่งชาติลอสอะลาโมส (2551) http://www.cnn.com/2008/TECH/06/09/fastest.computer.ap/ Government unveils world's fastest computer จากซีเอ็นเอ็น คอมพิวเตอร์ (computer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์ เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่าง ๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่าง ๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit) โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินบังคับ และของเล่นชนิดต่าง ๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม.

ใหม่!!: วิทยาการเข้ารหัสลับและคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องอินิกมา

เครื่องอินิกมา (Enigma machine) แบบชุดเฟือง 3 ตัว (three-rotor) เครื่องอินิกมา (Enigma machine) เป็นเครื่องรหัสโรเตอร์ (rotor cipher machine) ไฟฟ้า-กลแบบร่วมใด ๆ ซึ่งใช้ในการเข้ารหัสและถอดรหัสสารลับ วิศวกรชาวเยอรมัน อาร์ทูร์ แชร์บีอุส ประดิษฐ์อีนิกมาเมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แบบแรก ๆ ใช้ในเชิงพาณิชย์ตั้งแต่ต้นคริสต์ทศวรรษ 1920 และกองทัพและราชการหลายประเทศรับมาใช้ ที่โดดเด่นที่สุด คือ นาซีเยอรมนี ก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง มีการผลิตแบบอีนิกมาต่าง ๆ จำนวนมาก แต่แบบกองทัพเยอรมันเป็นแบบซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุด เครื่องอินิกมาของเยอรมันนั้นมีจุดเด่นตรงที่การเข้ารหัสและถอดรหัสที่มีการสลับซับซ้อนทำให้ยากต่อการแกะรหัสมากทำให้กองทัพเยอรมันมั่นใจว่า จะไม่มีใครสามารถถอดรหัสลับได้อีกเลย แต่ประเทศอังกฤษและฝ่ายสัมพันธมิตรได้พยายามหาทางถอดรหัสเครื่องอินิกมาให้ได้ จนกระทั่งแอลัน ทัวริง นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษสามารถถอดรหัสเครื่องอินิกมาได้สำเร็จ ทำให้ประเทศอังกฤษและฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถเอาชนะเยอรมันได้ในสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:วิทยาการเข้ารหัสลับ.

ใหม่!!: วิทยาการเข้ารหัสลับและเครื่องอินิกมา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CryptoCryptographyCryptologyการเข้ารหัสลับการเข้ารหัสข้อมูลระบบการเข้ารหัสข้อมูล (Cryptography)วิทยาการรหัสลับวิทยาการเข้ารหัสเข้ารหัสลับ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »