โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557

ดัชนี วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557

วิกฤตการณ์ไครเมี..

31 ความสัมพันธ์: บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษกองทัพยูเครนกองเรือบอลติกกองเรือทะเลดำการกำหนดการปกครองด้วยตนเองการลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมีย พ.ศ. 2557การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ยูโรไมดานวลาดีมีร์ ปูตินวาเลรี เกราซีมอฟสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียสาธารณรัฐไครเมียอัลญะซีเราะฮ์อิงกลิชอังเกลา แมร์เคิลดมีตรี เมดเวเดฟดิอินดีเพ็นเดนต์ความขัดแย้งนิยมรัสเซียในประเทศยูเครน พ.ศ. 2557ซีเอ็นเอ็นประเทศยูเครนประเทศรัสเซียประเทศลิทัวเนียประเทศโปแลนด์นาตาเลีย ปอกลอนสกายาแคว้นคาลินินกราดไครเมียเดวิด แคเมอรอนเดอะสเตรตส์ไทมส์เดอะนิวยอร์กไทมส์เคียฟเซวัสโตปอลเซียร์เกย์ ชอยกู

บรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ

ริษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพยูเครน

กองทัพยูเครน (Збройні сили України (ЗСУ) Zbroyni Syly Ukrayiny, (ZSU)) เป็นกำลังทหารของยูเครน.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และกองทัพยูเครน · ดูเพิ่มเติม »

กองเรือบอลติก

กองเรือบอลติก (Балтийский флот, Baltiysky Flot) เป็นกองเรือของกองทัพเรือรัสเซีย ในทะเลบอลติก กองเรือบอลติก สถาปนาขึ้นในวันที่ 18 พฤษภาคม 1703 โดยจักรพรรดิปีเตอร์มหาราช โดยเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซีย กองเรือบอลติกเป็นองค์กรของกองทัพเรือรัสเซียที่เก่าแก่ที่สุด กองเรือได้ถูกโอนเปลี่ยนยังสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย และต่อมาคือ สหภาพโซเวียต ในปี 1922 โดยเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเรือโซเวียต กองเรือยังเป็นที่รู้จักในชื่อของ ดวัจดืยครัสโนซนามิออนนืยบัลตีสกีโฟลต์ (Два́жды Краснознамённый Балти́йский фло́т) เนื่องจากในช่วงยุคโซเวียตกองเรือบอลติกได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ธงแดง 2 ครั้ง หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในเดือน ธันวาคม 1991 กองเรือบอลติกได้ถูกโอนเปลี่ยนยังสหพันธรัฐรัสเซีย โดยกลับไปใช้ชื่อเดิมในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเรือรัสเซีย กองบัญชาการของกองเรือบอลติกตั้งอยู่ในเมืองคาลีนินกราด ซึ่งฐานทัพหลักตั้งอยู่ในเมืองบัลตีสค์ โดยทั้งสองอยู่ในแคว้นคาลีนินกราด และมีฐานทัพอื่นตั้งอยู่ในเมืองโครนสตัดต์, เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในอ่าวฟินแลน.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และกองเรือบอลติก · ดูเพิ่มเติม »

กองเรือทะเลดำ

กองเรือทะเลดำ (Черноморский Флот, Chernomorsky Flot) เป็นกองเรือของกองทัพเรือรัสเซีย ในทะเลดำ, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และ ทะเลอะซอฟ เจ้าชายโปติออมกินทรงสถาปนากองเรือทะเลดำขึ้นในวันที่ 13 พฤษภาคม 1783 กองเรือได้ถูกโอนเปลี่ยนยังสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย ต่อมาคือ สหภาพโซเวียต ในปี 1922 โดยเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเรือโซเวียต หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในเดือน ธันวาคม 1991 กองเรือทะเลดำและเรือส่วนใหญ่ได้ถูกโอนเปลี่ยนยังสหพันธรัฐรัสเซีย กองบัญชาการและที่ตั้งหลักอย่างเป็นทางการของกองเรือทะเลดำตั้งอยู่ในเมืองเซวัสโตปอล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศยูเครน โดยนิตินัย แต่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย โดยพฤตินัย ส่วนที่เหลือของกองเรือและยานพาหนะจะอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ บนทะเลดำ และ ทะเลอะซอฟ เช่น ดินแดนครัสโนดาร์, แคว้นรอสตอฟ และ ไครเมีย ผู้บัญชาการกองเรือทะเลดำคนปัจจุปันคือ พลเรือเอก Aleksandr Vitko โดยเขาดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2013.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และกองเรือทะเลดำ · ดูเพิ่มเติม »

การกำหนดการปกครองด้วยตนเอง

การกำหนดการปกครองด้วยตนเอง (Self-determination) คือ สิทธิของบุคคลที่สามารถกำหนดการกระทำของตนเองได้โดยปราศจากการบังคับจากภายนอก ในทางการเมือง หลักการดังกล่าวถูกมองว่าเป็นเสรีภาพของบุคคลในดินแดนที่ยกให้หรือการรวมชาติที่จะกำหนดสถานะทางการเมืองของตน และวิธีการปกครองโดยปราศจากอิทธิพลมากเกินควรจากประเทศอื่น จนถึงปัจจุบันยังมีความขัดแย้งในการจำกัดความและหลักเกณฑ์ทางกฎหมายสำหรับการกำหนดกลุ่มซึ่งกล่าวอ้างสิทธิการกำหนดการปกครองด้วยตนเองทางกฎหมายBetty Miller Unterberger,, Encyclopedia of American Foreign Policy, 2002.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

การลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมีย พ.ศ. 2557

แบบลงประชามติ การลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมียจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2557 โดยสภานิติบัญญัติไครเมีย ตลอดจนรัฐบาลท้องถิ่นเซวัสโตปอล ซึ่งทั้งสองเป็นเขตการปกครองหนึ่งของประเทศยูเครน การลงประชามตินี้ถามประชาชนของทั้งสองเขตว่า คุณจะรวมไครเมียกับรัสเซียเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซีย หรือคุณต้องการฟื้นฟูรัฐธรรมนูญยูเครนปี 2535 และสถานภาพของไครเมียโดยเป็นส่วนหนึ่งของยูเครน ตัวเลือกที่มีอยู่นั้นไม่รวมการรักษาสถานะเดิมของไครเมียและเซวัสโตปอลขณะที่จัดการลงประชามติ นักวิจารณ์หลายคนแย้งว่า ทั้งสองตัวเลือกล้วนส่งผลให้เกิดเอกราชโดยพฤตินัย หลังการลงมติ ทางการชี้ว่า ผู้ออกเสียงกว่า 96% สนับสนุนตัวเลือกเข้าร่วมกับประเทศรัสเซีย โดยมีผู้มาใช้สิทธิกว่า 80% มีรายงานว่า บุคคลสามารถออกเสียงลงคะแนนได้หลายครั้งและบุคคลออกเสียงลงคะแนนได้แม้บุคคลนั้นไม่ได้เป็นชาวไครเมีย โดยมีผู้มาใช้สิทธิเกิน 100% ในบางพื้นที่ วันที่ 17 มีนาคม รัฐสภาไครเมียและนครเซวัสโตปอลออกคำประกาศอิสรภาพไครเมียและเซวัสโตปอล แสดงความตั้งใจเข้าร่วมกับประเทศรัสเซียในระหว่างผลสนับสนุนในการลงประชามติ โลกตะวันตกประณามการลงประชามตินี้อย่างกว้างขวางในเรื่องความชอบธรรมและเหตุการณ์แวดล้อม สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกาและอีกหลายชาติประณามการตัดสินใจจัดการลงประชามติ มาฮ์จิสชาวตาตาร์ไครเมีย สมาคมทางการเมืองอย่างไม่เป็นทางการของชาวตาตาร์ไครเมีย เรียกร้องการคว่ำบาตรการลงประชามตินี้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติไม่สามารถผ่านข้อมติในการประกาศให้การลงประชามตินี้ไม่สมบูรณ์ เพราะประเทศรัสเซียใช้สิทธิยับยั้งในฐานะสมาชิกถาวรของคณะมนตรีฯ สมาชิกสิบสามประเทศลงมติเห็นชอบข้อมติ และหนึ่งประเทศงดออกเสียง สาธารณรัฐไครเมียประกาศเอกราชจากประเทศยูเครนในวันรุ่งขึ้น โดยเริ่มแสวงการรับรองจากองค์การสหประชาชาติ และร้องขอเข้าร่วมกับสหพันธรัฐรัสเซีย ในวันเดียวกัน ประเทศรัสเซียรับรองว่าไครเมียเป็นรัฐเอกร.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และการลงประชามติว่าด้วยสถานภาพของไครเมีย พ.ศ. 2557 · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์

การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ หรือ การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (Complete blood count (CBC); Full blood count (FBC); Full blood exam (FBE)) หรือที่นิยมเรียกย่อว่า ซีบีซี เป็นการทดสอบที่ร้องขอโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์อื่น ๆ เพื่อต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับเซลล์เม็ดเลือดของผู้ป่วย ข้อมูลที่ได้อาจเรียกว่า ฮีมาโตแกรม (hemogram) Alexander Vastem เป็นคนแรกที่ใช้การนับจำนวนเม็ดเลือดเพื่อจุดประสงค์ทางการแพทย์ ค่ามาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบผลของการตรวจเลือดด้วยวิธีนี้มาจากการทดลองทางคลินิกตั้งแต่ ช่วง..

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูโรไมดาน

ูโรไมดาน (Euromaidan, Євромайдан, Yevromaidan ความหมายตามอักษร "จัตุรัสยูโร") เป็นคลื่นการเดินขบวนและการก่อความไม่สงบที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศยูเครน เริ่มตั้งแต่คืนวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 ด้วยการประท้วงในที่สาธารณะเพื่อเรียกร้องให้มีบูรณาการยุโรปใกล้ชิดยิ่งขึ้น นับแต่นั้นขอบเขตการประท้วงวิวัฒนาขึ้น โดยมีการเรียกร้องให้ประธานาธิบดียานูคอวิชและรัฐบาลลาออกจำนวนมาก, Reuters (12 December 2013) ผู้ประท้วงยังประกาศว่าพวกตนเข้าร่วมเพราะการขับไล่ผู้ประท้วงอย่างรุนแรงเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน และ "ความประสงค์เปลี่ยนแปลงชีวิตในยูเครน" จนถึงวันที่ 25 มกราคม 2557 การประท้วงได้มีเชื้อจากความเข้าใจการฉ้อราษฎร์บังหลวงของรัฐบาล การละเมิดอำนาจและการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวางในยูเครน, Radio Free Europe/Radio Liberty (25 January 2014) การเดินขบวนเริ่มขึ้นในคืนวันที่ 21 พฤศจิกายน 2556 เมื่อมีการประท้วงอุบัติขึ้นหลายแห่งพร้อมกันในเคียฟ เมืองหลวงของประเทศ หลังรัฐบาลยูเครนระงับการเตรียมลงนามความตกลงการสมาคม (Association Agreement) และความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป โดยสนับสนุนการพึ่งพาประเทศรัสเซียทางเศรษฐกิจมากขึ้น ประธานาธิบดีได้ร้องขอเงินกู้และเงินอุดหนุน 20,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ สหภาพยุโรปเต็มใจให้เงินกู้ 610 ล้านยูโร (838 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ) ทว่า รัสเซียเต็มใจเสนอเงินกู้ 15,000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ รัสเซียยังเสนอราคาแก๊สแก่ยูเครนในราคาที่ถูกลง นอกเหนือจากเงินแล้ว สหภาพยุโรปยังกำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบและกฎหมายในยูเครนอย่างมาก แต่รัสเซียไม่มีการกำหนดดังกล่าว วันที่ 24 พฤศจิกายน 2556 เริ่มมีการปะทะระหว่างผู้ประท้วงและตำรวจ ตำรวจใช้แก๊สน้ำตาและกระบอง ส่วนผู้ประท้วงใช้แก๊สน้ำตาและประทัด โดยตำรวจรายงานว่าผู้ประท้วงเป็นฝ่ายใช้ก่อน หลังการเดินขบวนไม่กี่วันให้หลัง มีจำนวนนักศึกษามหาวิทยาลัยเข้าร่วมการประท้วงมากขึ้น แม้การเรียกร้องให้รื้อฟื้นบูรณาการยูเครน-สหภาพยุโรปจะยังไม่ได้รับการสนองตราบจนปัจจุบัน แต่ยูโรไมดานได้แสดงลักษณะเป็นเหตุการณ์สัญลักษณ์นิยมทางการเมืองสำคัญแก่สหภาพยุโรปซ้ำ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็น "การเดินขบวนนิยมยุโรปครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์" การประท้วงยังดำเนินอยู่แม้จะมีตำรวจอยู่เป็นจำนวนมาก, Kyiv Post (27, 28 & 29 November 2013), Euronews (27 November 2013) อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งและหิมะเป็นปกติ ความรุนแรงทวีขึ้นในเช้าวันที่ 30 พฤศจิกายน จากกำลังฝ่ายรัฐบาลได้ทำให้ระดับการประท้วงยกสูงขึ้น โดยมีผู้ประท้วง 400,000–800,000 คนเดินขบวนในเคียฟในวันสุดสัปดาห์ 1 ธันวาคมและ 8 ธันวาคม หลายสัปดาห์นับจากนั้น ผู้เข้าร่วมการประท้วงอยู่ในช่วงระหว่าง 50,000 ถึง 200,000 คนระหว่างการชุมนุมที่มีการจัดตั้ง, Reuters (12 January 2014) เหตุจลาจลรุนแรงเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม และวันที่ 19 ถึง 25 มกราคมเพื่อสนองต่อความทารุณของตำรวจ (police brutality) และการปราบปรามของรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม อาคารผู้ว่าการหลายแห่งและสภาภูมิภาคหลายแห่งในทางตะวันตกของประเทศถูกยึดในการก่อการกำเริบโดยนักเคลื่อนไหวยูโรไมดาน, Aljazeera.com (26 January 2014) ตามการสำรวจความคิดเห็นเมื่อเดือนธันวาคม 2556 (จัดทำโดยผู้สำรวจสามแห่ง) ผลปรากฏว่า ชาวยูเครนระหว่าง 45% และกว่า 50% สนับสนุนยูโรไมดาน ขณะที่มีผู้คัดค้านระหว่าง 42% ถึง 50%, Research & Branding Group (10 December 2013), Interfax-Ukraine (30 December 2013) พบว่าผู้สนับสนุนการประท้วงมากที่สุดอยู่ในเคียฟ (ราว 75%) และยูเครนตะวันตก (กว่า 80%), Financial Times (29 December 2013) ในการสำรวจความคิดเห็นเมื่อวันที่ 7 และ 8 ธันวาคม ผู้ประท้วง 73% ตั้งใจว่าจะประท้วงต่อไปในเคียฟนานจนกว่าข้อเรียกร้องของพวกตนจะได้รับการตอบสนอง การสำรวจความคิดเห็นยังแสดงว่าประชาชนต่างวัยมีความเห็นแตกต่างกัน ขณะที่คนหนุ่มสาวส่วนมากสนับสนุนสหภาพยุโรป คนสูงวัย (กว่า 50 ปี) มักสนับสนุนสหภาพศุลกากรเบลารุส คาซัคสถานและรัสเซียมากกว่า จุดเปลี่ยนมาถึงเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2557 เมื่อสมาชิกพรรคของประธานาธิบดีที่หลบหนีหรือแปรพักตร์มีจำนวนมากพอกระทั่งพรรคเสียเสียงข้างมากในรัฐสภายูเครน ส่งผลให้ฝ่ายค้านครองเสียงข้างมาก และมีองค์ประชุมเพียงพอในที่สุด ทำให้รัฐสภาสามารถผ่านชุดกฎหมายซึ่งถอนตำรวจออกจากเคียฟ ยกเลิกปฏิบัติการต่อต้านการประท้วง ฟื้นฟูรัฐธรรมนูญปี 2547 ปล่อยตัวนักโทษการเมือง และถอดถอนประธานาธิบดียานูโควิช ต่อมา ยานูโควิชหลบหนีไปยังเมืองคาร์คิฟ เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ และปฏิเสธไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของรัฐสภา รัฐสภากำหนดการเลือกตั้งล่วงหน้าในเดือนพฤษภาคม 2557.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และยูโรไมดาน · ดูเพิ่มเติม »

วลาดีมีร์ ปูติน

วลาดีมีร์ วลาดีมีโรวิช ปูติน (Владимир Владимирович Путин; Vladimir Vladimirovich Putinr) เป็นนักการเมืองชาวรัสเซียผู้ดำรงตำแหน่ง ประธานาธิบดีรัสเซียคนที่สี่และคนปัจจุบัน เช่นเดียวกับประธานพรรคยูไนเต็ดรัสเซียและประธานสภารัฐมนตรีสหภาพรัสเซียและเบลารุส เขารักษาการตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม..

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และวลาดีมีร์ ปูติน · ดูเพิ่มเติม »

วาเลรี เกราซีมอฟ

วาเลรี วาซีเลียวิช เกราซิมอฟ (Вале́рий Васи́льевич Гера́симов;เกิดวันที่ 8 กันยายน 2498) เป็นคณะเสนาธิการทหารของ กองทัพรัสเซีย คนปัจจุบัน และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมเข้ามาแทนที่ นิโคไล มาคารอฟ เขาได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2555.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และวาเลรี เกราซีมอฟ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย

รเมีย (Crimea) หรือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย (Крим, Автономна Республіка Крим; Крым, Автономная Республика Крым, Avtonomnaja Respublika Krym; Къырым, Къырым Мухтар Джумхуриети, Qırım, Qırım Muhtar Cumhuriyeti) เป็นสาธารณรัฐปกครองตนเอง ภายใต้สหพันธรัฐรัสเซีย ตั้งอยู่ทางชายฝั่งด้านเหนือของทะเลดำ ที่รวมถึงแหลมไครเมีย มีเมืองหลวงชื่อซิมเฟโรปอล (Simferopol) ตั้งอยู่กลางแหลม ไครเมียมีพื้นที่ 26,200 ตร.กม.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐไครเมีย

รณรัฐไครเมีย (Republic of Crimea; Респýблика Крым, Республіка Крим) (ตาตาร์ไครเมีย Къырым Джумхуриети) เป็นสาธารณรัฐที่ประกาศตนเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย ถือครองดินแดนส่วนใหญ่ของคาบสมุทรไครเมียในทะเลดำ ทางใต้ของประเทศยูเครน อธิปไตยเหนือดินแดนดังกล่าวยังพิพาทกันระหว่างประเทศยูเครนกับรัสเซีย สาธารณรัฐไครเมียก่อตั้งขึ้นจากผลแห่งการลงประชามติไครเมีย พ.ศ. 2557 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2557 โดยรัสเซียรับรองเอกราชของสาธารณรัฐไครเมียในวันเดียวกับที่ก่อตั้ง ในวันรุ่งขึ้น ประเทศดังกล่าวขอเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย และมีการลงนามร่างกฎหมายเพื่อเปิดทางให้ดำเนินการได้ ซึ่งการรวมไครเมียเข้ากับรัสเซียดังกล่าวไม่ได้รับการรับรองจากนานาชาติโดยทั่วไป การขอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียได้รับสิทธิแยกกัน โดยสิทธิหนึ่งแก่อดีตสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย และอีกสิทธิหนึ่งแก่เซวัสโตปอล วันที่ 18 มีนาคม 2557 รัสเซียและไครเมียได้ลงนามสนธิสัญญาการเข้าร่วมของสาธารณรัฐไครเมียและเซวัสโตปอลในสหพันธรัฐรัสเซียหลังการปราศรัยต่อรัฐสภาของประธานาธิบดีปูติน ในช่วงเปลี่ยนผ่านซึ่งจะมีถึงวันที่ 1 มกราคม 2558 ทั้งสองฝ่ายจะระงับประเด็นการรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของไครเมียและเซวัสโตปอล "ในระบบเศรษฐกิจ การเงิน สินเชื่อ และกฎหมายของสหพันธรัฐรัสเซีย" จนถึงวันที่ 18 มีนาคม 2557 มีเพียงสี่ประเทศเท่านั้นที่รับรองเอกราชของสาธารณรัฐไครเมีย โดยมีหนึ่งประเทศที่เป็นรัฐสมาชิกสหประชาชาติ คือ รัสเซีย อับฮาเซีย นากอร์โน-คาราบัค และเซาท์ออสซีเชีย ก่อนหน้านี้ ในวันที่ 11 มีนาคม 2557 ทั้งสองเขตเคยอนุมัติมติร่วมแสดงเจตจำนงประกาศอิสรภาพ ตลอดจนมติแสดงเจตนารวมกับรัสเซีย รัฐบาลทั้งสองเรียกร้องให้มีการลงประชามติเพื่อจุดประสงค์นี้ แม้ว่าเสียงส่วนใหญ่ที่ไปออกเสียงลงคะแนนในการลงประชามตินี้ออกเสียงสนับสนุนเอกราชจากยูเครน แต่นานาชาติไม่รับรองความชอบธรรมและความเป็นธรรมของการออกเสียงดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพราะการลงประชามตินี้เกิดขึ้นในสถานการณ์ที่รัสเซียกำลังยึดครองคาบสมุทรไครเมียอยู.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และสาธารณรัฐไครเมีย · ดูเพิ่มเติม »

อัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช

อัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช (الجزيرة الإنجليزية) คือ สถานีโทรทัศน์ที่ให้บริการข่าวภาคภาษาอังกฤษตลอด 24 ชั่วโมง เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคภาษาอังกฤษแห่งแรกที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในตะวันออกกลาง คือที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีขนาดใหญ่เป็น 1 ใน 3 ของสถานีโทรทัศน์ทั่วโลก และเป็นสถานีข่ายของสถานีโทรทัศน์อัลญะซีเราะฮ์ ภาคภาษาอาหรับ ซึ่งอัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช ออกอากาศรายการประเภทข่าวสารและบทวิเคราะห์ สารคดี การอภิปรายสด สถานการณ์ปัจจุบัน และข่าวกีฬา และได้รับการยกย่องว่าเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งแรกของโลกที่ใช้ระบบโทรทัศน์ความละเอียดสูง (High-definition Television หรือ HDTV) โดยมีจุดมุ่งหมายคือการเผยแพร่เสียงสะท้อนจากโลกอาหรับและเป็นสถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศด้วยมุมมองที่เป็นสากลไปยังผู้ชมกว่า 1 ล้านคนทั่วโลกที่สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้ โดยปราศจากมุมมองจากโลกตะวันตก และสับเปลี่ยนที่ตั้งหน่วยการจัดการด้านข่าวไปตามศูนย์ออกอากาศต่าง ๆ ทั้งในโดฮา กัวลาลัมเปอร์ ลอนดอน และวอชิงตัน ดี.ซี. ตามแนวคิด "following the sun." เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่ไม่ถูกพูดถึง นำเสนอเรื่องราวความขัดแย้ง การสร้างการรับรู้ที่น่าท้าทาย และกำหนดวาระทิศทางข่าว เป็นสะพานเชื่อมความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม เปิดมุมมองการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่แตกต่างไปจากตะวันตก.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และอัลญะซีเราะฮ์อิงกลิช · ดูเพิ่มเติม »

อังเกลา แมร์เคิล

อังเกลา โดโรเทอา แมร์เคิล (Angela Dorothea Merkel; นามสกุลเดิม คัสเนอร์; เกิด 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 ณ เมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของเยอรมนี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งสู่รัฐสภาเยอรมันจากรัฐเมคเลนบูร์ก-ฟอร์พอมเมิร์น เป็นประธานพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน(CDU) ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2543 และเป็นประธานกลุ่มพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน-สหภาพสังคมคริสเตียนในรัฐสภาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 จนถึง พ.ศ. 2548 นอกจากนั้นนางแมร์เคิลยังเป็นผู้นำรัฐบาลผสมกับพรรคสหภาพสังคมคริสเตียน (CSU) และพรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี (SPD) ซึ่งก่อตั้งขึ้นหลังภายจากการเลือกตั้งในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 นางแมร์เคิลชนะการเลือกตั้งสมัยที่ 2 เมื่อปี..

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และอังเกลา แมร์เคิล · ดูเพิ่มเติม »

ดมีตรี เมดเวเดฟ

มีตรี อะนาตอลเยวิช เมดเวเดฟ (Dmitry Anatolyevich Medvedev) เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 และคนปัจจุบันของสหพันธรัฐรัสเซีย และเขายังเคยดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีรัสเซียระหว่างปี 2008 ถึง 2012 เมดเวเดฟเกิดในครอบครัวนักวิชาการของโซเวียตในนครเลนินกราด Russia Today.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และดมีตรี เมดเวเดฟ · ดูเพิ่มเติม »

ดิอินดีเพ็นเดนต์

อินดีเพ็นเดนต์ (The Independent) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์ในสหราชอาณาจักรตั้งแต่ ค.ศ. 1986 โดยIndependent News & Media ฉบับวันราชการเรียกกันสั้นๆ ว่า “อินดี้” และฉบับวันอาทิตย์เรียกกันสั้นๆ ว่า “ซันดี้” “ดิอินดีเพ็นเดนต์” เป็นหนังสือพิมพ์ฉบับล่าที่สุดฉบับหนึ่งในสหราชอาณาจักร ในปี..

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และดิอินดีเพ็นเดนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ความขัดแย้งนิยมรัสเซียในประเทศยูเครน พ.ศ. 2557

นับแต่สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2557 เกิดการเดินขบวนโดยกลุ่มนิยมรัสเซีย คลั่งชาติและต่อต้านรัฐบาลเกิดขึ้นในนครหลักทั่วภาคตะวันออกและภาคใต้ของประเทศยูเครน อันเป็นผลจากขบวนการยูโรไมดานและการปฏิวัติยูเครน พ.ศ. 2557 สำนักข่าวรัสเซียหลายสำนักใช้คำว่า "รัสเซียนสปริง" อธิบายคลื่นการเดินขบวนเหล่านี้ ในความไม่สงบขั้นแรก ไครเมียถูกสหพันธรัฐรัสเซียผนวกหลังวิกฤตการณ์ในภูมิภาค การแทรกแซงทางทหารของรัสเซียและการลงประชามติซึ่งนานาประเทศวิจารณ์ การประท้วงในแคว้นโดเนตสค์และแคว้นลูฮันสค์ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นการก่อการกำเริบแบ่งแยกดินแดนด้วยอาวุธ ซึ่งทำให้รัฐบาลยูเครนเปิดฉากการรุกโต้ตอบทางทหารต่อผู้ก่อการกำเร.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และความขัดแย้งนิยมรัสเซียในประเทศยูเครน พ.ศ. 2557 · ดูเพิ่มเติม »

ซีเอ็นเอ็น

ล นิวส์ เน็ตเวิร์ก (Cable News Network) หรือรู้จักกันในชื่อ ซีเอ็นเอ็น (CNN) เป็นเครือข่ายโทรทัศน์เคเบิล ที่เสนอข่าวสารตลอด 24 ชั่วโมง ก่อตั้งโดย เท็ด เทอร์เนอร์ เริ่มต้นออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2523 ปัจจุบันบริหารงานโดยเทิร์นเนอร์บรอดแคสติงซิสเตม หน่วยงานในเครือไทม์วอร์เนอร์ ซึ่งสำนักงานใหญ่ที่เรียกว่า ศูนย์กลางซีเอ็นเอ็น (CNN Center) ตั้งอยู่ที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย และมีห้องส่งอื่นๆ อยู่ที่นครนิวยอร์ก และกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งซีเอ็นเอ็นที่ออกอากาศในสหรัฐอเมริกา จะส่งสัญญาณไปยังประเทศแคนาดาเพียงแห่งเดียว ส่วนซีเอ็นเอ็นที่ออกอากาศอยู่ใน 212 ประเทศทั่วโลกนั้น เป็นอีกช่องหนึ่งที่เรียกว่า ซีเอ็นเอ็นนานาชาติ (CNN International) ทั้งนี้ซีเอ็นเอ็นเป็นสถานีโทรทัศน์ข่าว ที่มีผู้ชมมากเป็นอันดับต้นๆ ของสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก โดยมีคู่แข่งในประเทศที่สำคัญคือ ฟ็อกซ์นิวส์ และระดับนานาชาติคือ บีบีซี เวิลด์นิว.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และซีเอ็นเอ็น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศยูเครน

ประเทศยูเครน (Ukraine) หรือ อูกรายีนะ (Україна, Ukrayina) เป็นประเทศในยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตทางตะวันออกติดต่อกับประเทศรัสเซีย ทางเหนือติดต่อกับเบลารุส ทางตะวันตกติดต่อกับโปแลนด์ สโลวาเกีย และฮังการี ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับโรมาเนียและมอลโดวา ทางใต้และตะวันออกเฉียงใต้จรดทะเลดำและทะเลอะซอฟตามลำดับ ยูเครนมีพื้นที่ 603,628 กม.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และประเทศยูเครน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (Russia; Росси́я) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation; a) เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลก กว่า 10,000,000 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด รัสเซียยังเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีประชากร 143 ล้านคน รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 83 เขตการปกครอง ไล่จากตะวันตกเฉียงเหนือถึงตะวันออกเฉียงใต้ รัสเซียมีพรมแดนติดกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย และโปแลนด์ (ทั้งสองผ่านมณฑลคาลินินกราด) เบลารุส ยูเครน จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถาน จีน มองโกเลียและเกาหลีเหนือ นอกจากนี้ยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับญี่ปุ่นโดยทะเลโอฮอตสค์ และสหรัฐอเมริกาโดยช่องแคบแบริง อาณาเขตของรัสเซียกินเอเชียเหนือทั้งหมดและ 40% ของยุโรป แผ่ข้ามเก้าเขตเวลาและมีสิ่งแวดล้อมและธรณีสัณฐานหลากหลาย รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก รัสเซียมีป่าไม้สำรองใหญ่ที่สุดในโลกและทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน..

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และประเทศรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศลิทัวเนีย

ลิทัวเนีย (Lithuania; Lietuva เลฺยียทุวะ) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐลิทัวเนีย (Republic of Lithuania; Lietuvos Respublika) ตั้งอยู่กลางทวีปยุโรป ทางฝั่งตะวันออกของทะเลบอลติก ทิศเหนือจรดลัตเวีย ทิศตะวันออกและทิศใตัจรดเบลารุส และทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดโปแลนด์และรัสเซีย (แคว้นคาลินินกราด) เคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซี.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และประเทศลิทัวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

นาตาเลีย ปอกลอนสกายา

นาตาเลีย วลาดีมีรอฟนา ปอกลอนสกายา (p; Natalia Vladimirovna Poklonskaya; เกิด 18 มีนาคม 1980) เป็นอัยการสูงสุดแห่งสาธารณรัฐไครเมี.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และนาตาเลีย ปอกลอนสกายา · ดูเพิ่มเติม »

แคว้นคาลินินกราด

แคว้นคาลีนินกราด (Калинингра́дская о́бласть) เป็นเขตการปกครองของสหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลบอลติก.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และแคว้นคาลินินกราด · ดูเพิ่มเติม »

ไครเมีย

รเมีย อาจหมายถึง.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และไครเมีย · ดูเพิ่มเติม »

เดวิด แคเมอรอน

วิด วิลเลียม ดอนัลด์ แคเมอรอน (David William Donald Cameron) เกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 1966 เป็นนักการเมืองชาวอังกฤษ อีกทั้งเดวิดยังดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 53 คนปัจจุบันแห่งสหราชอาณาจักรตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และเดวิด แคเมอรอน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะสเตรตส์ไทมส์

อะสเตรตส์ไทมส์ (The Straits Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันภาษาอังกฤษของประเทศสิงคโปร์ เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่มียอดจำหน่ายสูงสุดในสิงคโปร์ วันละ 400,000 ฉบับ ฉบับวันอาทิตย์ใช้ชื่อว่า เดอะซันเดย์ไทมส์ ปัจจุบันเดอะสเตรตส์ไทมส์เป็นส่วนหนึ่งของบริษัท สิงคโปร์เพรสโฮลดิงส์ เดอะสเตรตส์ไทมส์ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และเดอะสเตรตส์ไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เคียฟ

ียฟ (Київ, Kyyiv, คืยิว; Киев, Kiyev, คียิฟ; Kiev, Kyiv) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศยูเครน และยังเป็น 1 ใน 4 เมืองเจ้าภาพฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2012 ด้วย โดยมีสนามกีฬาโอลิมปิกแห่งชาติเคียฟเป็นสถานที่แข่งขัน ตั้งอยู่ภาคกลางตอนเหนือของประเทศ ริมฝั่งแม่น้ำนีเปอร์ (Dnieper) ในปี พ.ศ. 2544 เคียฟมีประชากร 2,660,401 คน ในปัจจุบันคาดว่าเพิ่มเป็นมากกว่า 3.5 ล้านคน.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และเคียฟ · ดูเพิ่มเติม »

เซวัสโตปอล

ซวัสโตปอล (Sevastopol, ยูเครนและรัสเซีย: Севасто́поль) เป็นหนึ่งในสองนครที่มีสถานภาพพิเศษในประเทศยูเครน (อีกนครหนึ่ง คือ เคียฟ เมืองหลวงของประเทศ) ตั้งอยู่บนชายฝั่งทะเลดำของคาบสมุทรไครเมีย มีประชากร 342,541 คน (2544) ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และสภาพการเดินเรือของท่าเรือเซวัสโตปอลทำให้นครดังกล่าวเป็นจุดนาวิกที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ นอกจากนี้ยังเป็นรีสอร์ตริมทะเลและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศเครือจักรภพรัฐเอกราช นครยังเป็นที่ตั้งของกองเรือทะเลดำรัสเซีย ซึ่งเดิมเป็นของโซเวียต และปัจจุบันเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือยูเครนและรัสเซียเช่าฐานทัพเรือจากยูเครนไปถึงปี 2585 เซวัสโตปอลเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่กองทัพเรือยูเครนและกองเรือทะเลดำของรัสเซีย ความสำคัญด้านการค้าและการต่อเรือของท่าเซวัสโตปอลเติบโตขึ้นหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย แม้จะประสบความยากลำบากที่มาจากการควบคุมท่าเรือและสะพานเทียบเรือร่วมกันของทหาร เซวัสโตปอลยังเป็นศูนย์วิจัยชีววิทยาทางทะเลที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีการศึกษาและฝึกโลมาในนครนับแต่สงครามโลกครั้งที่สองยุติ เซวัสโตปอลเป็นหนึ่งในสถานที่ที่มีภูมิอากาศอบอุ่นที่สุดในประเทศยูเครน โดยฤดูหนาวไม่หนาว และฤดูร้อนอบอุ่นปานกลาง วันที่ 6 มีนาคม 2557 เซวัสโตปอลประกาศว่าตนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐรัสเซียฝ่ายเดียว.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และเซวัสโตปอล · ดูเพิ่มเติม »

เซียร์เกย์ ชอยกู

ซียร์เกย์ คูจูเกโตวิช ชอยกู (Серге́й Кужуге́тович Шойгу́, Сергей Күжүгет оглу Шойгу, Sergey Küjüget oglu Şoygu) เป็นนักการเมืองชาวรัสเซีย เขาทำงานให้กับรัฐบาลรัสเซียโดยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่ปี 2012 ก่อนหน้านี้ ชอยกูดำรงตำแหน่ง Minister of Emergency Situations ตั้งแต่ปี 1991 ถึงปี 2012 และเคยเป็นผู้ว่าการแคว้นมอสโก ในปี 2012 ชอยกู ได้รับการเลื่อนยศเป็น พลเอกแห่งกองทัพ นอกจากนี้ ชอยกูยังเป็นประธานสหพันธ์กีฬายิงปืน และ Rescuers ระหว่างประเทศอีกด้ว.

ใหม่!!: วิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557และเซียร์เกย์ ชอยกู · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »