โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วันวิสาขบูชา

ดัชนี วันวิสาขบูชา

วันที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนามากถึง 3 เหตุการณ์ คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า '''"วันพระพุทธเจ้า"''' วันวิสาขบูชา (วิสาขปุณฺณมีปูชา; Vesak) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติRequest for inclusion of an additional item in the agenda of the fifty-fourth session in United Nations (12 November 1999).

194 ความสัมพันธ์: ชมพูทวีปบุญพระบรมมหาราชวังพระบรมวงศานุวงศ์พระบรมสารีริกธาตุพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระพุทธรูปพระพุทธเจ้าพระมหาพระราชพิธีสิบสองเดือนพระอรหันต์พระอัญญาโกณฑัญญเถระพระธรรม (ศาสนาพุทธ)พระถังซัมจั๋งพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมานพระนางสิริมหามายาพระโคตมพุทธเจ้าพระไตรปิฎกพระเจ้าสุทโธทนะพระเจ้าหุวิชกะพระเจ้าอโศกมหาราชพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2พราหมณ์พฤษภาคมพัดยศพาราณสีพุทธชยันตีพุทธมณฑลพุทธศักราชพุทธศาสนิกชนพุทธคยาพุทธประวัติกบิลพัสดุ์กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)กระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย)กรุงเทพกรุงเทพมหานครกษัตริย์การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทยการตักบาตรการปลงพระชนมายุสังขารการเวียนเทียนกิเลสกุสินาราภาษาสันสกฤต...มรรคมีองค์แปดมรดกโลกมหายานมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดลมักกะฮ์มิถุนายนมุสลิมรัฐบาลรัฐพิหารรัตนตรัยรัตนโกสินทร์ (แก้ความกำกวม)ราชกิจจานุเบกษาราชวงศ์จักรีราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญราชคฤห์รามเกียรติ์ลุมพินีวันวัดพระศรีรัตนศาสดารามวัดราชบูรณะ (แก้ความกำกวม)วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์วัดเชตวันมหาวิหารวันพุธวันมาฆบูชาวันวิสาขบูชาวันศุกร์วันสำคัญทางศาสนาพุทธวันอัฏฐมีบูชาวันอังคารวันอาสาฬหบูชาศาสดาศาสนาพุทธศาสนาอิสลามศาสนาฮินดูศาสนาคริสต์สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติสมาบัติสมาธิสมุทัยสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพสรภัญญะสรณะสหรัฐสหประชาชาติสังฆทานสังเวชนียสถานสารนาถสาละสาวัตถีสำนักพระราชวังสงครามสติหญ้ากุศะอยุธยาอรรถกถาอริยสัจ 4อักษรพราหมีอาณาจักรสุโขทัยอาณานิคมอุบาสก อุบาสิกาอุโบสถอูตันองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติอนัตตาอนาคาริก ธรรมปาละอนิจจังอเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮมจังหวัดสุโขทัยจังหวัดนครปฐมจันทร์เพ็ญธรรมธูปทวีปเอเชียทุกข์ท้องสนามหลวงขอมดอกงานวันวิสาขบูชาโลกตรัสรู้ตัณหาตาฉลูปฏิจจสมุปบาทปฏิทินปฏิทินจันทรคติปฏิทินจันทรคติไทยปฐมเทศนาประธานาธิบดีประทีปแห่งเอเชียประเทศประเทศบังกลาเทศประเทศพม่าประเทศกัมพูชาประเทศญี่ปุ่นประเทศภูฏานประเทศมาเลเซียประเทศศรีลังกาประเทศสิงคโปร์ประเทศอังกฤษประเทศอิตาลีประเทศอินโดนีเซียประเทศอินเดียประเทศจีนประเทศไทยประเทศเกาหลีใต้ประเทศเวียดนามใต้ประเทศเวียดนามเหนือประเทศเนปาลปรินิพพานปัญจวัคคีย์ปายาสปางมารวิชัยนิพพานนิกายนิตยภัตนิโรธนิโรธสมาบัตินครนิวยอร์กนครโฮจิมินห์แปลก พิบูลสงครามแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้โบราณคดีโบโรบูดูร์โรมันโลกโคลัมโบไตรลักษณ์เกาหลีเกาะชวาเมจิเมตรเยรูซาเลมเลขาธิการสหประชาชาติเศรษฐกิจเสาอโศกเอ็ดวิน อาร์โนลด์เจดีย์ชเวดากองเถรวาทเทวสถานเทียนเปรียญธรรมเปรียญธรรม 3 ประโยคเนเปิลส์ ขยายดัชนี (144 มากกว่า) »

ชมพูทวีป

มพูทวีป มีความหมายได้ 2 ประการ ประการแรกหมายถึง ดินแดนที่เป็นประเทศอินเดีย ปากีสถาน เนปาลและบังกลาเทศในปัจจุบัน มีชื่อเรียกทางภูมิศาสตร์ที่เรียกว่า “เอเชียใต้”, “อนุทวีปอินเดีย”, หรือ “ภารตวรรษ” (Bharatavarsa) ประการที่สองหมายถึงทวีปใหญ่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเนรุซึ่งเป็น 1 ใน 4 ทวีปของชาวภารตะ (อุตรกุรูทวีป บุพวิเทหทวีป ชมพูทวีป และอมรโคยานทวีป).

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและชมพูทวีป · ดูเพิ่มเติม »

บุญ

ในพระพุทธศาสนา บุญ (ปุญฺญ; ปุณฺย) หมายถึง คุณงามความดี ความประพฤติชอบทางกายวาจาและใจ เรียกอีกอย่างว่ากุศล ในพระไตรปิฎกมักใช้คำว่า ปุญฺญ ตรงกันข้ามกับคำว่า บาป หรือ อปุญฺญ แต่ในคัมภีร์ชั้นหลังมักใช้คำว่า บาป มากกว่ากัน ในอรรถกถากล่าวถึงเผื่อแผ่บุญไว้ว่าสามารถเผื่อแผ่เพิ่มให้แก่ผู้อื่นได้โดยไม่มีประมาณ เปรียบได้กับการจุดเทียนส่งต่อไปเรื่อย ๆ คือผู้จุดก็มีความสว่างอยู่ตามเดิม และความสว่างยังเพิ่มไปอีกกว้างขวางได้.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและบุญ · ดูเพิ่มเติม »

พระบรมมหาราชวัง

ระบรมมหาราชวัง หรือพระราชวังพระนคร เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน พระบรมมหาราชวังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับที่ 16 ของโลก โดยมีผู้เข้าเยี่ยมชมในปี พ.ศ. 2549 เป็นจำนวนถึง 8,995,000 คน.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระบรมมหาราชวัง · ดูเพิ่มเติม »

พระบรมวงศานุวงศ์

ระบรมวงศานุวงศ์ในรัชกาลที่ 9 ภายในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระบรมวงศานุวงศ์ หมายถึง พระประยูรญาติใหญ่น้อยทั้งหมดทุกราชสกุลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยประกอบด้วย 2 คำ คือ.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระบรมวงศานุวงศ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระบรมสารีริกธาตุ

ระบรมสารีริกธาตุ สัณฐานเมล็ดข้าวสาร พระบรมสารีริกธาตุ (शरीर; Śarīra) เรียกโดยย่อว่าพระบรมธาตุ คือ พระอัฐิของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ได้ทรงอธิษฐานไว้ก่อนปรินิพพาน ให้คงเหลือไว้หลังจากการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของพุทธบริษัท พระบรมธาตุมีสองลักษณะคือ พระบรมธาตุที่ไม่แตกกระจาย และที่แตกกระจาย มีขนาดเล็กสุดประมาณเมล็ดพันธุ์ผักกาด ชาวพุทธเชื่อว่าพระบรมสารีริกธาตุเป็นวัตถุแทนองค์พระบรมศาสดาที่ทรงคุณค่าสูงสุดในศาสนาพุทธ จึงนิยมกระทำการบูชาองค์พระบรมสารีริกธาตุโดยประการต่าง ๆ เช่น การสร้างเจดีย์ เพื่อประดิษฐานพระธาตุไว้สักการะ โดยเชื่อว่ามีอานิสงส์ประดุจได้กระทำการบูชาแด่พระพุทธเจ้าเมื่อยังทรงพระชนม์อยู่ ทั้งนี้ คำว่า "พระบรมสารีริกธาตุ" เป็นศัพท์เฉพาะใช้เรียกเฉพาะพระธาตุของพระพุทธเจ้า หากเป็นของพระอรหันตสาวกจะเรียกว่า "พระธาตุ" เท่านั้น.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระบรมสารีริกธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

งเรือหลวงในรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระบรมราชพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย (พระราชสมภพ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 - สวรรคต 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ครองราชย์ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 - 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า ฉิม (สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร) พระราชสมภพเมื่อวันพุธ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุน เวลาเช้า 5 ยาม ซึ่งตรงกับวันที่ 24 กุมภาพัน..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

งชาติสยามในรัชกาลที่ 4 ธงช้างเผือก พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระราชสมภพ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 - สวรรคต 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411) พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี มีพระนามเดิมว่า "เจ้าฟ้ามงกุฎ" เสด็จพระราชสมภพในวันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ในรัชสมัย รัชกาลที่ 1 ณ นิวาสสถานพระราชวังพระราชนิเวศน์ พระราชวังเดิม ด้านใต้ของวัดอรุณราชวรารามอ.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2436 — 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2484) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 7 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีมะเส็ง เวลา 12.25 น. หรือตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 — 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จสู่พระราชสมบัติตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมาธิวรเสรฐ มหาเจษฎาบดินทร พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (31 มีนาคม พ.ศ. 2330 - 2 เมษายน พ.ศ. 2394) เป็นพระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และพระองค์แรกที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเรียม (ภายหลังได้รับสถาปนา เป็นสมเด็จพระศรีสุลาไลย) เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันจันทร์ แรม 10 ค่ำ เดือน 4 ปีมะแม เวลาค่ำ 10.30 น. (สี่ทุ่มครึ่ง) ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 เสวยราชสมบัติเมื่อวันอาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีวอก ซึ่งตรงกับวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 สิริดำรงราชสมบัติได้ 27 ปี ทรงมีเจ้าจอมมารดาและเจ้าจอม 56 ท่าน มีพระราชโอรสธิดาทั้งสิ้น 51 พระองค์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ ปีกุน โทศก จุลศักราช 1212 เวลา 7 ทุ่ม 5 บาท ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 สิริพระชนมายุ 64 พรรษ.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธรูป

ระพุทธรูป หมายถึง รูปที่สร้างขึ้นแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อกราบไหว้บูชา อาจใช้การแกะสลักจากวัสดุต่างๆ เช่น ศิลา งา ไม้ หรือวัสดุอื่นๆ นอกจากนี้ยังอาจใช้การปั้นหรือหล่อด้วยโลหะก็ได้ โดยทั่วไป คำว่า พระพุทธรูปมักจะหมายถึง รูปขนาดใหญ่พอที่จะวางบูชาได้ สำหรับรูปขนาดเล็กมักจะเรียกว่า พระเครื่อง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองแบบสามารถเรียกว่า พระพุทธรูป ได้เช่นกัน.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระพุทธรูป · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธเจ้า

ระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระพุทธเจ้า เป็นพระสมัญญานามที่ใช้เรียกพระบรมศาสดาของศาสนาพุทธ พระพุทธศาสนาทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานต่างนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นศาสดาของตนเหมือนกันแต่รายละเอียดปลีกย่อยต่างกัน ฝ่ายเถรวาทให้ความสำคัญกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันคือ "พระโคตมพุทธเจ้า" ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระองค์ที่ 4 ในภัทรกัปนี้ และมีกล่าวถึงพระพุทธเจ้าในอดีตกับในอนาคตบ้างแต่ไม่ให้ความสำคัญเท่า ฝ่ายมหายานนับถือพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาททั้งหมดและเชื่อว่านอกจากพระพุทธเจ้า 28 พระองค์ ที่ระบุในพุทธวงศ์ของพระไตรปิฎกภาษาบาลีแล้ว ยังมีพระพุทธเจ้าอีกมากมายเพิ่มเติมขึ้นมาจากตำนานของเถรวาท ผู้ปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าต้องบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ก่อน เมื่อบารมีเต็มแล้วจึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย พระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีลักษณะพิเศษตรงกันคือ เป็นมนุษย์เพศชายเกิดในวรรณะกษัตริย์หรือพราหมณ์ พระวรกายสมบูรณ์ด้วยมหาปุริสลักขณะ ก่อนออกผนวชจะอภิเษกสมรสมีพระโอรสพระองค์หนึ่ง หลังจากนั้นทรงพบเทวทูตทำให้ตัดสินใจออกผนวช วันออกผนวชจะตรงกับวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ ตามคัมภีร์ฝ่ายพุทธ ถือกันว่าพระโคตมพุทธเจ้าดำรงพระชนม์ชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปีก่อนคริสตกาลตามตำราไทยอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระมหา

ระมหากษัตริย์ไทยถวายพัดยศสมณศักดิ์สายเปรียญธรรม แก่พระสงฆ์ โดยยกย่องถวายคำว่า "มหา" เพื่อใช้นำหน้าพระภิกษุผู้สอบไล่ได้ และเพื่อเป็นการยกย่องพระสงฆ์ผู้อุตสาหะในการศึกษาภาษาบาลี ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน พระมหา เป็นคำสมณศักดิ์ใช้นำหน้าชื่อพระภิกษุที่สอบไล่ได้ตั้งแต่เปรียญธรรม 3 ประโยค ขึ้นไป โดยคำ "มหา" มาจากศัพท์ในภาษาบาลี (มหนฺต ลดรูปเป็น มหา) ใช้นำหน้าพระเถระผู้มีร่างกายสูงใหญ่ในสมัยพุทธกาลเช่น พระมหากัสสปเถระ พระมหาโมคคัลลานะ และใช้เรียกนำหน้ายกย่องพระเถระผู้เป็นที่น่าเคารพนับถือว่า พระมหาเถระ แปลว่า พระเถระผู้ใหญ่ โดยคำว่า "พระมหา" สันนิษฐานว่ากร่อนมาจากคำว่า "พระมหาชาติ" ที่ชาวพุทธใช้เรียกพระผู้ทรงภูมิบาลีแตกฉาน จนสามารถเทศนาพระมหาชาติเวสสันดรชาดกได้ และต่อมาพระมหากษัตริย์จึงใช้คำนี้แต่งตั้งพระผู้ทรงภูมิบาลีให้ดำรงสมณศักดิ์ที่พระมหา หรือพระมหาชาติ เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาภาษาบาลีเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนามาแต่โบราณ พระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณถวายพัดยศสมณศักดิ์สายเปรียญธรรม (พัดยศมหาเปรียญ) แก่พระสงฆ์โดยยกย่องถวายคำว่า "มหา" เพื่อใช้นำหน้าพระภิกษุผู้สอบไล่ได้ ประโยคบาลี เพื่อเป็นการถวายกำลังใจแก่พระสงฆ์ผู้สนใจเล่าเรียนศึกษาและมีความรู้สอบไล่ได้สายเปรียญธรรมบาลีตั้งแต่ชั้นเปรียญตรีขึ้นไปจนถึงปัจจุบันนี้ (โดยในอดีตนั้นพระมหากษัตริย์เคยมีการถวายนิตยภัตรแก่พระสงฆ์และสามเณรที่เป็นมหาเปรียญทุกชั้น แต่ปัจจุบันคงมีการถวายนิตยภัตรายเดือนเฉพาะผู้สอบได้ระดับเปรียญธรรม ๙ ประโยค เท่านั้น) ในปัจจุบัน พัดยศมหาเปรียญ นั้นจะแบ่งเป็นสีและระบุเลขลำดับชั้นเปรียญ ซึ่งเปรียบได้กับครุยวิทยฐานะของบัณฑิตผู้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย โดยพัดยศเปรียญมีฐานะเสมือนหนึ่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ผู้ทำความชอบในราชการ พระสงฆ์สามเณรผู้ได้รับพระราชทานจะนำพัดยศมหาเปรียญออกใช้ประกอบสมณศักดิ์ได้แต่ในงานพระราชพิธีสำคัญเท่านั้น จะใช้ทั่วไปมิได้ ในอดีตก่อนมีการเลิกทาส หากพระภิกษุหรือสามเณรรูปใดที่สอบไล่ได้เปรียญธรรม มีบิดามารดาเป็นทาสเขาอยู่ ก็จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์ไถ่ให้พ้นตัวจากความเป็นทาสมีอิสรภาพแก่ตนในทันทีที่บุตรชายของตนได้เป็นพระมหาเปรียญหรือสามเณรเปรียญ ปัจจุบันเรียกพระภิกษุที่สอบได้พระปริยัติธรรมตั้งแต่ เปรียญธรรม ๓ ประโยคขึ้นไปว่า "พระมหาเปรียญ".

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระมหา · ดูเพิ่มเติม »

พระราชพิธีสิบสองเดือน

ระราชพิธีสิบสองเดือน เป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เพื่อพิมพ์แจกสมาชิกหนังสือวชิรญาณ ของหอพระสมุดวชิรญาณ เมื่อ พ.ศ. 2431 ซึ่งในเวลานั้นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ทรงได้รับเลือกเป็นสภานายกประจำปี พระราชนิพนธ์เล่มนี้นับเป็นวรรณคดีชิ้นเอกเล่มหนึ่งของไท.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระราชพิธีสิบสองเดือน · ดูเพิ่มเติม »

พระอรหันต์

ในศาสนาพุทธ พระอรหันต์ (พระ-อะ-ระ-หัน; arahant; अर्हत् arhat) คือ พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด สามารถละสังโยชน์ได้ครบ 10 ประการ.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระอรหันต์ · ดูเพิ่มเติม »

พระอัญญาโกณฑัญญเถระ

ระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นพระภิกษุสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ และพระอสีติมหาสาวกผู้เป็นเอตทัคคะในด้านรัตตัญญู คือเป็นผู้รู้ธรรมก่อนใครในพระพุทธศาสนาและได้บวชก่อนผู้อื่น พระอัญญาโกณฑัญญะ เมื่อได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ไม่ได้มีบทบาทสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาเท่าใดนัก เนื่องจากท่านทรงอายุพรรษากาลมากแล้ว ในช่วง 12 ปีสุดท้ายในบั้นปลายของท่าน ท่านได้ไปพักจำพรรษาและได้นิพพานที่สระฉันทันต์ ป่าหิมพานต์ ในช่วงต้นพุทธกาล.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระอัญญาโกณฑัญญเถระ · ดูเพิ่มเติม »

พระธรรม (ศาสนาพุทธ)

ระธรรมราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 454 หมายถึงธรรมะซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์และวิธีการดับทุกข์ ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นแต่เริ่มสืบทอดกันด้วยวิธีท่องจำแบบปากต่อปาก เรียกว่า "มุขปาฐะ" สมัยต่อมาจึงได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร คัมภีร์ที่บันทึกพระธรรมของพระพุทธเจ้านั้น เรียกว่า พระไตรปิฎก และยังมีคัมภีร์อื่นๆ ที่แต่งภายหลังเพื่อขยายความอีก ได้แก่ อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ตามลำดับ ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบนั้น เป็นสิ่งที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมพระพุทธองค์ แต่ทรงเป็นผู้ค้นพบแล้วนำมาประกาศ อาจพอกล่าวได้ว่าการเรียนรู้พระธรรม ก็คือการเรียนรู้ธรรมดาโลก และเรียนรู้สิ่งที่เป็นปกติที่มีบ่อเกิดที่มาว่ามาอย่างไร เป็นไปได้อย่างไร.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระธรรม (ศาสนาพุทธ) · ดูเพิ่มเติม »

พระถังซัมจั๋ง

วาดพระถังซัมจั๋ง เหี้ยนจึง หรือสำเนียงกลางว่า เสวียนจั้ง (ประมาณ ค.ศ. 602 – 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 664) หรือที่รู้จักในนิยายไซอิ๋วว่า ถังซัมจั๋ง (唐三藏) เป็นพระภิกษุที่บำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา มาแต่เยาว์ เมื่อเติบใหญ่ขึ้นจึงได้ออกเดินทาง โดยได้เขียนเป็นบันทึกการเดินทางไว้ด้วย ซึ่งเขียนขึ้นในปี..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระถังซัมจั๋ง · ดูเพิ่มเติม »

พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน

ระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน หรือ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย เป็นพระที่นั่งอยู่ในหมู่พระมหามณเฑียร ในพระบรมมหาราชวัง อยู่ทางทิศเหนือ ติดกับพระที่นั่งไพศาลทักษิณ มีกำแพงแก้วล้อมด้านทิศเหนือและทิศตะวันตก อยู่ในพระราชฐานชั้นกลาง ใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกฝ่ายหน้า เป็นที่เสด็จออกว่าราชการ บางคราวก็ใช้เป็นที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล และเป็นที่เสด็จออกมหาสมาคมในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีน.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน · ดูเพิ่มเติม »

พระนางสิริมหามายา

มายาเทวี (मायादेवी) หรือ สิริมหามายา เป็นพระมารดาของพระโคตมพุทธเจ้า พระศาสดาแห่งศาสนาพุทธ และเป็นพระเชษฐภคินีของพระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนา Buddhist Goddesses of India by Miranda Shaw (Oct 16, 2006) pages 45-46History of Buddhist Thought by E. J. Thomas (Dec 1, 2000) pages เอกสารทางพุทธศาสนาระบุว่า พระนางสิริมหามายาสวรรคตหลังประสูติการพระโคตมพุทธเจ้าได้เพียง 7 วัน เพราะสงวนครรภ์ไว้แด่พระโพธิสัตว์เพียงพระองค์เดียว หลังจากนั้นพระองค์จึงจุติบนสวรรค์ตามคติฮินดู-พุทธ ส่วนพระราชกุมารนั้นได้รับการอภิบาลโดยพระนางมหาปชาบดีโคตมี พระขนิษฐาที่ต่อมาได้เป็นอัครมเหสีในพระเจ้าสุทโธทนะ พระนาม "มายา" เป็นคำสันสกฤตมีความหมายว่า "ภาพลวงตา" บ้างออกพระนามเป็นมหามายา (महामाया, มายาผู้ยิ่งใหญ่) หรือมายาเทวี (मायादेवी, มายาผู้เป็นนางกษัตริย์).

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระนางสิริมหามายา · ดูเพิ่มเติม »

พระโคตมพุทธเจ้า

ระโคตมพุทธเจ้า มีพระนามเดิมในภาษาบาลีว่า สิทธัตถะ โคตมะ หรือในภาษาสันสกฤตว่า สิทฺธารฺถ เคาตมะ (อ่านว่า /สิดทาด —/) (เทวนาครี: सिद्धार्थ गौतम) เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ผู้เป็นศาสดาของศาสนาพุทธ สาวกของพระองค์ไม่นิยมออกพระนามโดยตรง แต่เรียกตามพระสมัญญาว่า "ภควา" (พระผู้มีพระภาคเจ้า) คัมภีร์พุทธศาสนาทั้งนิกายเถรวาทและนิกายมหายานบันทึกตรงกันว่า พระโคตมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ระหว่าง 80 ปีก่อนพุทธศักราช จนถึงเริ่มพุทธศักราชซึ่งเป็นวันปรินิพพาน ตรงกับ 543 ปี ก่อนคริสตกาลตามตำราไทยซึ่งอ้างอิงปฏิทินสุริยคติไทยและปฏิทินจันทรคติไทย และตรงกับ 483 ปีก่อนคริสตกาลตามปฏิทินสากล พระโคตมพุทธเจ้าเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายาแห่งศากยวงศ์ โคตมโคตร อันเป็นราชสกุลวงศ์ที่ปกครองกรุงกบิลพัสดุ์มาช้านาน ก่อนออกผนวชทรงดำรงพระอิสสริยยศเป็นรัชทายาท เมื่อเสด็จออกผนวชและบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงได้รับการถวายพระนามต่าง ๆ อาทิ พระศากยมุนี, พระพุทธโคดม, พระโคดมพุทธเจ้า ฯลฯ แต่ทรงเรียกพระองค์เองว่า ตถาคต แปลว่า พระผู้ไปแล้วอย่างนั้น คือ ทรงปฏิญาณว่า ทรงพ้นจากทุกข์ทั้งปวง สำเร็จแล้วซึ่งอรหัตผล.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระโคตมพุทธเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

พระไตรปิฎก

ระไตรปิฎก (Tipiṭaka; त्रिपिटक) เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระโคตมพุทธเจ้า ไตรปิฎก แปลว่า ตะกร้า 3 ใบ เพราะเนื้อหาแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระไตรปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าสุทโธทนะ

ระเจ้าสุทโธทนะ (สุทฺโธทน; ศุทฺโธทน (शुद्धोदन); Suddhodana) มักเรียกว่า พระเจ้าสิริสุทโธทน์สุทรรศน์ มีพระนามราชสกุลว่าโคตมะ เป็นพระมหากษัตริย์แคว้นสักกะ (ซึ่งมีนครหลวงคือกรุงกบิลพัสดุ์) เป็นพุทธบิดาของพระโคตมพุทธเจ้า พระองค์เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสีหหนุกับพระนางกัญจนา มีพระอนุชาและพระกนิษฐาร่วมพระชนกชนนีอีก 6 พระองค์ ได้แก่ สุกโกทนะ อมิโตทนะ โธโตทนะ ฆนิโตทนะ ปมิตา และอมิตา พระเจ้าสุทโธทนะ มีพระอัครมเหสีนามว่าพระนางสิริมหามายา เจ้าหญิงโกลิยวงศ์จากกรุงเทวทหะ และมีพระราชโอรสพระองค์หนึ่งคือ “เจ้าชายสิทธัตถะ” ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และหลังจากพระสิทธัตถราชกุมารประสูติได้ 7 วัน พระนางสิริมหามายาก็สวรรคต พระสุทโธทนะจึงอภิเษกสมรสใหม่กับพระนางมหาปชาบดีหรือโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาร่วมชนนีกับพระนางสิริมหามายา และมีพระโอรสคือ “เจ้าชายนันทะ” และพระธิดาคือ “เจ้าหญิงรูปนันทา” พระเจ้าสุทโธทนะเป็นกษัตริย์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของคุณธรรมและยึดมั่นในราชประเพณีอย่างเคร่งครัดในการปกครองบ้านเมือง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขตลอดรัชสมัยของพระองค์ ทรงมุ่งหวังที่จะให้พระโอรสโดยเฉพาะสิทธัตถะได้รับเลือกจากสภาศากยะให้เป็นราชาสืบต่อจากตน แต่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช และพอทราบว่า เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จึงเชิญพระศาสดากลับมาที่กรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อพระบรมศาสดาที่เสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์คราวนี้ พระเจ้าสุทโธทนะได้สดับรับฟังพระธรรมเทศนา ทรงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา บรรลุพระโสดาบันเป็นอุบาสกพุทธบริษัท ในพรรษาที่ 5 ของพระโคตมพุทธเจ้า พระเจ้าสุทโธทนะประชวรหนัก พระบรมศาสดาเสด็จจากกูฎาคาร ป่ามหาวัน เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี มายังเมืองกบิลพัสดุ์ แสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา 7 วัน ในวันสุดท้าย พระเจ้าสุทโธทนะได้บรรลุพระอรหัตผลและนิพพาน ภาพ:BabyBuddha.JPG|ภาพวาดพุทธประวัติ: พระเจ้าสุทโธทนะทรงอุ้มเจ้าชายสิทธัตถะ (พระราชโอรส) ให้กาฬเทวินดาบสทำนายมหาบุรุษลักษณะของพระราชกุมาร.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระเจ้าสุทโธทนะ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหุวิชกะ

ภาพพระเจ้าหุวิษกะบนเหรียญกษาปน์ทองคำ พระเจ้าหุวิษกะ (Huviṣka; กุษาณะ: Οοη ϸ κι) เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 4 แห่งจักรวรรดิกุษาณะในเอเชียใต้ ในราวพุทธศตวรรษที่ 7 ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้ากนิษกะมหาราช นักโบราณคดีอังกฤษสันนิษฐานว่าพระองค์เป็นผู้สร้างพระมหาโพธิเจดีย์ เนื่องจากพบเครื่องกัปปิยะภัณฑ์ทองคำจำนวนมากที่พระองค์สร้างถวายอุทิศไว้ใต้พระแท่นพุทธบัลลังก์ภายในพระมหาโพธิเจดีย์ที่พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พระเจ้าหุวิษกะครองราชย์อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 683 - พ.ศ. 723 รวมระยะเวลา 40 ปี หมวดหมู่:บุคคลในศาสนาพุทธ.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระเจ้าหุวิชกะ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอโศกมหาราช

ระเจ้าอโศกมหาราช (अशोकः; พ.ศ. 240 - พ.ศ. 312 ครองราชย์ พ.ศ. 270 - พ.ศ. 311) เป็นจักรพรรดิอินเดียโบราณแห่ง ราชวงศ์โมริยะ หรือเมารยะผู้ปกครอง อนุทวีปอินเดีย เกือบทั้งหมดพระองค์เป็นราชนัดดา (หลาน) ของผู้ก่อตั้งราชวงศ์เมารยะคือ พระเจ้าจันทรคุปต์ ผู้สร้างหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในอินเดียโบราณและจันทรคุปต์สละทั้งหมดแล้วบวชเป็นนักบวชเชน พระเจ้าอโศกเป็นหนึ่งในจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่ของอินเดียพระองค์ขยายจักรวรรดิของพระเจ้าจันทรคุปต์และครอบครองเหนือดินแดนตั้งแต่ทางทิศตะวันตกคือพื้นที่ ประเทศอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันขยายออกไปทางทิศตะวันออกถึงบังกลาเทศ เป็นพื้นที่ครอบคลุมอนุทวีปของชาวอินเดียทั้งหมดยกเว้นพื้นที่ที่เป็น รัฐทมิฬนาฑู ในปัจจุบัน คาร์นาตากาและรัฐเกรละ เมืองหลวงของจักรวรรดิคือเมืองปาฏลีบุตร (ในแคว้นมคธปัจจุบันนี้คือเมืองปัฏนะ)พร้อมด้วยเมืองหลวงต่างจังหวัดคือเมือง ตักศิลา และเมืองอุชเชน หรือ อุชเชนี ในครั้งพุทธกาล ประมาณ..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระเจ้าอโศกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2

ระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 (Chandragupta II, สันสกฤต: चन्द्रगुप्त विक्रमादित्य) เป็นพระมหาจักรพรรดิพระองค์ที่ 3 แห่งจักรวรรดิคุปตะ ผู้ครองกรุงปาตลีบุตร กรุงอุชเชนี และอนุทวีปอินเดียในราวปี..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

พราหมณ์

ราหมณ์ (อักษรเทวนาครี: ब्राह्मण) เป็นวรรณะหนึ่งในแนวคิดศาสนาพราหมณ์-ฮินดู นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น วิปฺระ, ทฺวิช, ทฺวิโชตฺตมะ หรือ ภูสร เป็นต้น พราหมณนั้นเป็นวรรณะหนึ่งในสี่วรรณะของสังคมอินเดีย เป็นผู้สืบทอดวิชาความรู้ ในคัมภีร์ ไตรเวทพิธีกรรม จารีต ประเพณี ศิลปะวัฒนธรรม และคติความเชื่อต่าง ๆ ให้สืบทอดต่อไป หรือไม่สืบทอดก็ได้โดยใช้ชีวิตตามปกติชนคนธรรมดาทั่วไป คงไว้ให้ผู้ใดในตระกูลสืบทอดแทน เป็นผู้มีสิทธิ์เลือก แบ่งแยกเป็นนิกายคือ พวกไศวนิกาย จะถือเพศ นุ่งขาว ห่มขาว ไว้มวยผม ถือศีล จริยาวัตรของพราหมณ์ มีครอบครัวได้ อยู่บ้าน หรือ เทวะสถาน ประจำลัทธิ นิกายแห่งตน อีกนิกายหนึ่งคือ ไวษณวะนิกาย จะไว้ผมเปียหรือมวยผม ถือเพศพรหมจรรย์ กินมังสวิรัติ ไม่ถูกต้องตัวสตรีเพศ นุ่งห่มสีขาว หรือสีต่าง ๆตามวรรณะนิกาย และอาศัยอยูในเทวสถาน ในการบวชเป็นพราหมณ์หลวง จะต้องได้รับความยินยอมจากที่ประชุมพราหมณ์ ในทำเนียบพราหมณ์หลวง โดยผู้บวชจะนำของมาถวายพราหมณ์ผู้ใหญ่ แล้วพราหมณ์ผู้ใหญ่จะมอบสายสิญจน์รับพราหมณ์ใหม่ หรือทวิชาติ ซึ่งหมายถึงการเกิดครั้งที่ 2 ซึ่งการบวชพราหมณ์ไม่ได้มีกฎปฏิบัติจำนวนมากเหมือนกับการบวชพระ โดยถือศีล 5 เป็นศีลปฏิบัติ สามารถแต่งกายสุภาพเหมือนผู้ชายทั่วไปในเวลาปกติ และสวมเครื่องแบบเป็นเสื้อราชปะแตนและโจงกระเบนสีขาวในยามประกอบพิธีกรรม รวมถึงสามารถมีภรรยาเพื่อมีทายาทสืบตระกูลพราหมณ์ต่อไปได้ กระนั้นก็ยังมีข้อห้ามบางประการที่พราหมณ์ไม่สามารถทำได้ อาทิ ห้ามรับประทานเนื้อวัว ปลาไหล และงูต่างๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นบริวารของเทพในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และห้ามตัดแต่งผม ต้องไว้ผมยาวแล้วมุ่นเป็นมวยไว้ที่ท้ายทอย เพราะตามหลักศาสนาเชื่อว่าบริเวณดังกล่าวเป็นที่อยู่ของเทวดา สำหรับกิจประจำวันที่พราหมณ์ต้องทำ คือนมัสการพระอาทิตย์ตามเวลาเช้า กลางวัน เย็น เพื่อเป็นการนำจิตวิญญาณกลับไปสู่พรหม กล่าวคือ การไหว้พระอาทิตย์จะนำแสงสว่างให้เกิดในปัญญานำไปสู่การหลุดพ้น และจะมีการสาธยายพระเวท ซึ่งถือเป็นคัมภีร์หลักในศาสนาพราหมณ์ ประกอบด้วย ฤคเวท ใช้สวดสรรเสริญเทพเจ้า สามเวท ใช้สำหรับสวดในพิธีกรรมถวายน้ำโสมแก่พระอินทร์และขับกล่อมเทพเจ้า ยชุรเวท ว่าด้วยระเบียบวิธีในการประกอบพิธีบูชายัญและบวงสรวงต่างๆ และ อาถรรพเวท ใช้เป็นที่รวบรวมคาถาอาคมหรือเวทมนตร์ ปฏิบัติต่อเทพด้วยความศรัทธา ปัจจุบันพราหมณ์หลวงจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับ พระราชพิธีต่างๆ ของพระมหากษัตริย์ ในการอัญเชิญพระผู้เป็นเจ้าและทวยเทพตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มาเป็นสักขีในการกระทำพิธีนั้นๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแด่องค์พระมหากษัตริย์ ราชบัลลังก์ และบ้านเมือง โดยงานพระราชพิธีจะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ งานประจำปี ได้แก่ งานเฉลิมพระชนมพรรษา วันฉัตรมงคล วันพืชมงคล การเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต เป็นต้น และงานตามวาระ อาทิ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี เมื่อปีที่แล้ว เป็นต้น หน้าที่ของพราหมณ์หลวงคือการรักษาวัฒนธรรมในการประกอบพระราชพิธีถวายตามโอกาสต่างๆ แต่ก็สามารถรับประกอบพิธีอื่นๆ ที่นอกเหนือจากงานพระราชพิธีได้ เรียกว่า รัฐพิธี เป็นงานที่ถูกเชิญมาจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น วางศิลาฤกษ์ ยกเสาเอก งานวันเกิด งานตัดจุก ตั้งศาลพระภูมิ ซึ่งจะมีเงินทักษิณามอบให้พราหมณ์ตามศรัทธา ทั้งนี้ ปัจจุบันมีตระกูลพราหมณ์ที่ปฏิบัติหน้าที่ถวายงานพระราชพิธี หรือที่เรียกกันว่า พราหมณ์หลวง ซึ่งสืบสายมาจากบรรพบุรุษทั้งสิ้น 7 ตระกูล ได้แก่ สยมภพ โกมลเวทิน นาคะเวทิน วุฒิพราหมณ์ ภวังคนันท์ รัตนพราหมณ์ และรังสิพราหมณกุล.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพราหมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

พฤษภาคม

ษภาคม เป็นเดือนที่ 5 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 7 เดือนที่มี 31 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนพฤษภาคมเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีพฤษภ และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีเมถุน แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนพฤษภาคมดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาวแกะและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาววัว ชื่อในภาษาอังกฤษ "May" อาจมีที่มาจากเทพเจ้ากรีกนามว่า ไมอา (Maia) ซึ่งโรมันถือเป็นเทพเจ้าแห่งความอุดมสมบูรณ์ ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนพฤษภาคมในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพฤษภาคม · ดูเพิ่มเติม »

พัดยศ

กหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไทยได้รับประเพณีมีพัดยศสำหรับพระสงฆ์มาจากลังกา โดยกษัตริย์แห่งศรีลังกาในอดีตเป็นผู้เริ่มถวายสมณศักดิ์และพัดยศเพื่อให้พระสงฆ์สำหรับใช้แสดงถึงสมณศักดิ์ที่ได้รับถวาย พัดยศสมณศักดิ์พระราชาคณะเจ้าคณะรอง (พัดแฉกทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) พัดยศพระราชาคณะ ชั้นสามัญเปรียญ พัดยศ คือพัดเกียรติยศอันเป็นเครื่องราชสักการะอย่างหนึ่งที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่พระภิกษุผู้มีฐานันดรในคณะสงฆ์ เป็นการประกาศเกียรติคุณเพิ่มขวัญและกำลังใจแก่พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ตามอย่างโบราณราชประเพณี ซึ่งเป็นพัดคู่กับพัดรอง ซึ่งแบ่งตามศํกดิ์ ได้แก.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพัดยศ · ดูเพิ่มเติม »

พาราณสี

ราณสี (Bārāṇasī พาราณสี; वाराणसी, Vārāṇasī วาราณสี) เป็นเมืองหลวงของแคว้นกาสี (Kingdom of Kashi) ในสมัยพุทธกาล ปัจจุบันตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ห่างจากลัคเนาซึ่งเป็นเมืองหลวงของอุตตรประเทศเป็นระยะทาง 320 กิโลเมตร พาราณสีมีแม่น้ำคงคาไหลผ่าน เป็นเมืองที่ศักดิสิทธิ์ที่สุดหนึ่งในเจ็ดเมืองศักดิสิทธิ์ (สัปดาปุริ, Sapta Puri) ในความเชื่อของศาสนาฮินดูและศาสนาเชน พาราณสีมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 4,000 ปี เป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศอินเดียและยังจัดเป็นเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยต่อเนื่องยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์โลกด้วย ถือว่าเป็นสุทธาวาสที่สถิตแห่งศิวเทพ ถือว่าเป็นเมืองอมตะของอินเดียและเป็นที่แสวงบุญทั้งของชาวฮินดูและชาวพุทธทั่วโลก ครั้งสมัยอาณานิคม เมืองนี้มีชื่อว่า เบนาเรส (Benares) พาราณสียังเป็นเมืองที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาในหลายด้าน โดยมีอาณาเขตครอบคลุมถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาแก่พระปัญจวัคคีย์ ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า สารน.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพาราณสี · ดูเพิ่มเติม »

พุทธชยันตี

ีฉลองสัมพุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ ของชาวศรีลังกา ณ พระมูลคันธกุฎี วัดพระเชตวันมหาวิหาร สาวัตถี รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย พุทธชยันตี หรือ สัมพุทธชยันตี (Sambuddha jayanthi) เป็น เทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา คำว่า พุทธชยันตี มาจากศัพท์ พุทธ+ชยันตี (जयंती) ที่แปลว่า วันครบรอบ (Anniversary) ในภาษาสันสกฤต พุทธชยันตีจึงแปลว่า การครบรอบวันเกิดของพระพุทธศาสนา หรือวันครบรอบชัยชนะของพระพุทธเจ้าก็ได้ โดยคำนี้ใช้เรียกการจัดกิจกรรมในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้า เช่น ครบรอบ 2500 ปี แห่งปรินิพพาน หรือ 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ โดยอาจใช้ชื่อต่างกันไปบ้างในแต่ละประเทศ เช่น ศรีสัมพุทธชันตี สัมพุทธชยันตี แต่ทั้งหมดก็คือการจัดกิจกรรมพุทธชยันตี เพื่อมุ่งหมายการถวายเป็นพุทธบูชาในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้านั่นเอง พุทธชยันตี เป็นคำที่ใช้ทั่วไปในประเทศ ศรีลังกา อินเดีย พม่า และผู้นับถือพระพุทธศาสนาในประเทศอื่น ๆ บางประเทศ โดยใช้คำนี้ในการจัดกิจกรรมวิสาขบูชา โดยวัตถุประสงค์ของพุทธชยันตีในประเทศต่าง ๆ มุ่งการจัดกิจกรรมเป็นวาระพิเศษตลอดทั้งปีนั้น เช่น การจัดกิจกรรมพุทธบูชา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชานั่นเอง.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพุทธชยันตี · ดูเพิ่มเติม »

พุทธมณฑล

ทธมณฑล (อังกฤษ: Buddha Monthon)เป็นสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนา อยู่ใน ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม มีเนื้อที่ 2,500 ไร่ สร้างขึ้นเพื่อฉลองวาระกึ่งพุทธกาล เมื่อ พ.ศ. 2500 มีพระพุทธรูปปางลีลาประจำพุทธมณฑล เรียกว่า พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ ออกแบบโดย ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี พระพุทธรูปนี้มีความโดดเด่นทางผ้าจีวรที่พลิ้วเหมือนจริง พระพุทธรูปนี้สร้างเสร็จและฉลอง เมื่อ พ.ศ. 2525 คราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี พุทธมณฑลในปัจจุบันนอกจากจะเป็นศูนย์รวมการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาและจัดประเพณีกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปพักผ่อนได้อีกด้ว.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพุทธมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

พุทธศักราช

ทธศักราช ย่อว.. เป็นศักราชที่เริ่มนับเมื่อพระโคตมพุทธเจ้าปรินิพพาน ในประเทศไทยเริ่มนับเมื่อปรินิพพานแล้ว 1 ปี แต่ในเช่น ในประเทศไทยเป็นปี..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพุทธศักราช · ดูเพิ่มเติม »

พุทธศาสนิกชน

ทธศาสนิกชน (Buddhist) แปลว่า คนที่นับถือศาสนาพุทธ เรียกอีกอย่างว่า พุทธมามกะ ซึ่งหมายถึง ผู้ประกาศตนว่าพระพุทธเจ้าเป็นพระบรมศาสดาของตน พุทธศาสนิกชน หมายถึง คนที่ยินดีที่จะปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เต็มใจที่จะปฏิบัติตามหลักธรรมคือ เว้นจากการทำความชั่ว ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้หมดจดจากกิเลส ด้วยการบำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา เช่น ให้ทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาเพื่อขัดเกลา อบรม บ่มเพาะกาย วาจา ใจให้งดงามเรียบร้อย ให้สงบนิ่ง และให้พ้นจากความเศร้าหมองต่างๆ พุทธศาสนิกชน ที่พึงประสงค์คือผู้ปฏิบัติตนให้เป็นผู้รู้ ผู้ฉลาด ตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่งมงาย ไม่ประมาทมัวเมา ไม่หลงไปตามกระแสกิเล.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพุทธศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

พุทธคยา

ทธคยา (บาลี: พุทฺธคยา, อังกฤษ: Bodh Gaya, Mahabodhi Temple, बोधगया) คือคำเรียกกลุ่มพุทธสถานสำคัญใน อำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นพุทธสถานที่มีความสำคัญที่สุด 1 ใน 4 แห่ง ของชาวพุทธ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธสังเวชนียสถานที่มีความสำคัญที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก ปัจจุบันบริเวณพุทธศาสนสถานอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดมหาโพธิ อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการร่วม พุทธ-ฮินดู พุทธคยา ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ไกลจากฝั่งแม่น้ำประมาณ 350 เมตร (นับจากพระแท่นวัชรอาสน์) พุทธคยามีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือองค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่สูงใหญ่ โดยสูงถึง 51 เมตร ฐานวัดโดยรอบได้ 121.29 เมตร ล้อมรอบด้วยโบราณวัตถุ โบราณสถานสำคัญ เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พระแท่นวัชรอาสน์ ที่ประทับตรัสรู้ และอนิมิสสเจดีย์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากพุทธสถานโบราณแล้ว บริเวณโดยรอบพุทธคยายังเป็นที่ตั้งของวัดพุทธนานาชาติ รวมทั้งวัดไทยคือ วัดไทยพุทธคยา สำหรับชาวพุทธ พุทธคยา นับเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลกที่ต้องการมาสักการะสังเวชนียสถานสำคัญ 1 ใน 4 แห่งของพระพุทธศาสนา โดยในปี พ.ศ. 2545 วัดมหาโพธิ (พุทธคยา) สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ขององค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพุทธคยา · ดูเพิ่มเติม »

พุทธประวัติ

ทธประวัติ คือ ประวัติ เรื่องราวต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้า ตลอดถึงเรื่องราวต่างของบุคคลและสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้ากระจุ้ พุทธประวัติที่เป็นหนังสือหรือตำรา นอกจากจะมีเนื้อหาที่ประวัติของพระพุทธเจ้าแล้ว ยังมีเนื้อหาที่เป็นประวัติพระสาวก ประวัติสถานที่ เหตุการณ์และประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พุทธประวัติรวบรวมได้จากพระไตรปิฎกโดยเก็บเนื้อหาซึ่งกระจายอยู่ในพระวินัยบ้าง พระสูตรบ้าง มาจัดลำดับให้เป็นเรื่องราวติดต่อกันไปตามเหตุการณ์จริง นำเนื้อหาจากคัมภีร์อรรกถาเข้ามาเสริมบ้างเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ขึ้น.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและพุทธประวัติ · ดูเพิ่มเติม »

กบิลพัสดุ์

ซากกรุงกบิลพัสด์ประเทศเนปาล กบิลพัสดุ์ (Kapilavatthu กปิลวัตถุ; Kapilavastu กปิลวัสตุ; Kapilavastu) เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นสักกะ เป็นเมืองของพระเจ้าสุทโธทนะผู้เป็นพระราชบิดาของเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งต่อมาได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าทรงเจริญเติบโตและประทับอยู่จนกระทั่งพระชนมายุ 29 ปี ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนตอนเหนือประเทศอินเดีย ยังเหลือซากเมืองอยู่เป็นหลักฐาน และไม่ห่างจากเมืองนี้มีสังเวชนียสถานที่สำคัญคือสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าซึ่งเรียกว่าลุมพินีวันปรากฏอยู่ บริเวณลุมพินีมีวัดพุทธของประเทศไทยและของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาอีกหลายวัด เป็นดินแดนที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกนิยมไปแสวงบุญกัน กบิลพัสดุ์ แปลตามศัพท์ว่า "ที่อยู่ของกบิลดาบส"เพราะบริเวณที่ตั้งเมืองนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของดาบสชื่อ กบิล พวกเจ้าศากยะได้มาจับจองตั้งเป็นเมืองขึ้นและตั้งชื่อเมืองใหม่นี้ว่ากบิลพัสดุ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่กบิล.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและกบิลพัสดุ์ · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)

กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีหน้าที่ส่งเสริมการศึกษาให้กับประชาชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สร้างความเสมอภาคและโอกาสทางการศึกษา ส่งเสริมให้หน่วยงานต่าง ๆ ได้มีส่วนร่วมทางการศึกษา ส่งเสริมการศึกษาวิชาชีพ ให้เอกชนมีส่วนร่วมในการศึกษา เน้นให้นิสิตนักศึกษามีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้นทั้งในท้องถิ่นและสถาบันเปิด เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต ให้บริการแก่สังคม พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ส่งเสริมผู้ที่มีความสามารถพิเศษให้ได้เรียนและแสดงออกในทางที่เหมาะสม.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและกระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย)

กระทรวงคมนาคม (Ministry of Transport) เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีหน้าที่ยกระดับการให้บริการประชาชน ของระบบโครงสร้างพื้นฐาน และบริการคมนาคมขนส่ง ให้มีความคุ้มค่าและทั่วถึง ทำให้ระบบคมนาคมขนส่ง มีความปลอดภัย มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย และส่งเสริมคุณภาพชีวิต ผสานและเชื่อมโยง โครงข่ายระบบขนส่งมวลชน ระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งคนและสินค้า และขยายโอกาสการเดินทางสัญจร อย่างเสมอภาคโดยทั่วถึงกัน.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและกระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพ

กรุงเทพ อาจหมายถึง; ดินแดนและการปกครอง.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและกรุงเทพมหานคร · ดูเพิ่มเติม »

กษัตริย์

กษัตริย์ (क्षत्रिय กฺษตฺริย; khattiya ขตฺติย; ปรากฤต:khatri) เป็นวรรณะหนึ่งในสังคมชาวฮินดู (อีก 4 วรรณะที่เหลือคือพราหมณ์ แพศย์ และศูทร).

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและกษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย

ษาบาลี หรือภาษามคธ เป็นภาษาที่จารึกพระไตรปิฎก ด้วยเป็นภาษาที่คนชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลนิยมใช้กันทั่วไป จึงเป็นภาษาที่พระพุทธเจ้าใช้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในสมัยนั้น หลังจากพุทธปรินิพพานมีการทำปฐมสังคายนา พระเถระได้ตกลงกันใช้ภาษาบาลีสำหรับจดจำพระไตรปิฎก พระสงฆ์สายเถรวาทจึงต้องศึกษาภาษาบาลีให้เข้าใจลึกซึ้งและสามารถเทียบเคียงสอบทานกับพระไตรปิฎกที่เก็บไว้ในสถานที่ต่างกันได้ เพื่อรักษาการแปลความหมายจากพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกให้ถูกต้องไม่บิดเบือน และหน้าที่นี้ก็เป็นหน้าที่ของพระสงฆ์ในประเทศไทยเช่นเดียวกันเทวประภาส มากคล้าย เปรียญ..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

การตักบาตร

การตักบาตร คือประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธปฏิบัติกันมาแต่สมัยพุทธกาล พระภิกษุจะถือบาตรออกบิณฑบาตเพื่อรับอาหารหรือทานอื่นๆ ตามหมู่บ้านในเวลาเช้า ผู้คนที่ออกมาตักบาตรจะนำของทำทานต่างๆ เช่น ข้าว อาหารแห้ง มาถวายพระ ประเพณีนี้ชาวพุทธถือกันว่าเป็นการสร้างกุศล และถือว่าเป็นการแผ่ส่วนกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับไปแล้วด้วย โดยเชื่อกันว่าอาหารที่ถวายไปนั้นจะส่งถึงญาติผู้ล่วงลับด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและการตักบาตร · ดูเพิ่มเติม »

การปลงพระชนมายุสังขาร

การปลงพระชนมายุสังขาร หรือ การปลงอายุสังขาร ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขึ้นในวันมาฆบูชา ณ กูฏคารศาลา ป่ามหาวัน เมื่อมีพระชมมายุได้ 80 พรรษา ซึ่ง ณ เวลานั้น ทรงได้ตรัสรู้แล้วเผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอนมานานถึง 45 ปีแล้ว ก็ได้ทรงตั้งพระทัยว่า "นับแต่นี้ต่อไปอีกสามเดือน ตถาคตจักดับขันธปรินิพพาน" การปลงอายุสังขารจึงมีความหมายในภาษาสามัญว่า การกำหนดวันตายไว้ล่วงหน้านั่นเอง.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและการปลงพระชนมายุสังขาร · ดูเพิ่มเติม »

การเวียนเทียน

การเวียนเทียน คือการเดินเวียนรอบปูชนียสถานสำคัญ เช่น อุโบสถวิหาร หรือพระพุทธรูปเพื่อระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยในวันสำคัญ โดยใช้เทียนธูปและดอกไม้เป็นเครื่องสักการบูชา ถือไว้ในมือแล้วเดินเวียน 3 รอบ ขณะที่เดินรอบนั้นพึงตั้งจิตให้สงบ พร้อมสวดระลึกถึงพระพุทธคุณ ด้วยการสวดบท "อิติปิโส" ระลึกถึงพระธรรมคุณ ด้วยการสวด สวากขาโต และระลึกถึงพระสังฆคุณ ด้วยการสวด สุปะฏิปันโน จนกว่าจะเวียนจบ 3 รอ.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและการเวียนเทียน · ดูเพิ่มเติม »

กิเลส

กิเลส (กิเลส; क्लेश เกฺลศ) หมายถึง สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและกิเลส · ดูเพิ่มเติม »

กุสินารา

กุสินารา หรือ กุศินคร (कुशीनगर, کُشی نگر, Kusinaga, Kushinagar) เป็นที่ตั้งของสังเวชนียสถานแห่งที่ 4 ในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองเอกหนึ่งในสองของแคว้นมัลละ อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำคู่กับเมือง ปาวา เป็นที่ตั้งของ สาลวโนทยาน หรือป่าไม้สาละที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานและเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า กุสินาราจัดเป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 4 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่ตำบลมถากัวร์ อำเภอกุสินคร หรือกาเซีย หรือกาสยา (Kushinaga; Kasia; Kasaya) ในเขตจังหวัดเทวริยา (Devria; Devriya) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย สาลวโนทยาน สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน มีชื่อเรียกในท้องถิ่นว่า มาถากุนวะระกาโกฎ (Matha-Kunwar-Ka-Kot) ซึ่งแปลว่า ตำบลเจ้าชายสิ้นชีพ ปรากฏตามคัมภีร์ว่า เมืองนี้เคยเป็นที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ เป็นที่เกิดบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์หลายครั้ง เคยเป็นราชธานีนามว่ากุสาวดี ของพระเจ้ามหาสุทัสสนจักรพรรดิ์ ปัจจุบันกุสินารา มีอนุสรณ์สถานที่สำคัญคือสถูปใหญ่ซึ่งพระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ วิหารปรินิพพานซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปรินิพพานอยู่ภายในและมีซากศาสนสถานโบราณโดยรอบมากม.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและกุสินารา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

มรรคมีองค์แปด

มรรค (มรฺค; มคฺค) คือ หนทางสู่ความดับทุกข์ เป็นหนึ่งในอริยสัจ 4 จึงเรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นทางสายกลาง คือเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น ตามวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงอธิบายรายละเอียดไว้ดังนี้.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและมรรคมีองค์แปด · ดูเพิ่มเติม »

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

มหายาน

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย, เนปาล, จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, เวียดนาม, มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า อุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและมหายาน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร.) คือสถาบันการศึกษาพระพุทธศาสนาชั้นสูงในรูปแบบมหาวิทยาลัย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาขึ้นเพื่อถวายแด่คณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย โดยเริ่มจัดการเรียนการสอนด้านพุทธศาสตร์เป็นสาขาแรก แล้วต่อมาได้ขยายการเรียนการสอนไปยังสาขาวิชาอื่นๆ คล้ายกับรูปแบบการก่อตั้ง มหาวิทยาลัยปารีส ประเทศฝรั่งเศส และมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ที่เริ่มต้นจากสาขาด้านศาสนาแล้วขยายไปยังสาขาอื่นอีกมายมาย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ถือกำเนิดจาก "มหาธาตุวิทยาลัย" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นภายในวัดมหาธาตุฯ เมื่อปี พ.ศ. 2430 โดยเริ่มทำการสอนตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University; ชื่อย่อ: ม.มหิดล / MU) เป็นสถาบันที่มีที่มาจากการเป็นโรงเรียนแพทย์ ณ โรงพยาบาลศิริราช ชื่อว่า โรงเรียนแพทยากร ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและมหาวิทยาลัยมหิดล · ดูเพิ่มเติม »

มักกะฮ์

มักกะฮ์ มีชื่อเต็มว่า มักกะตุลมุกัรเราะมะฮ์ (مكة المكرمة) นอกจากนี้ยังมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น อุมมุลกุรอ (มารดาบ้านเมือง) และบักกะฮ์ เป็นเมืองตั้งอยู่ที่พิกัด ในประเทศซาอุดีอาระเบีย ห่างจากเมืองท่าญิดดะฮ์ 73 กิโลเมตร อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 277 เมตร ห่างจากทะเลแดง 80 กิโลเมตร มักกะฮ์เป็นพระนครชุมทิศของโลกอิสลาม เป็นสถานที่ตั้งของกะอ์บะฮ์ มักกะฮ์ หมวดหมู่:ศาสนสถานอิสลาม หมวดหมู่:เมืองศักดิ์สิทธิ์.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและมักกะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

มิถุนายน

มิถุนายน เป็นเดือนที่ 6 ของปี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นหนึ่งในเดือน 4 เดือนที่มี 30 วัน ตามหลักโหราศาสตร์ เดือนมิถุนายนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมถุน และสิ้นสุดเมื่อยกเข้าสู่ราศีกรกฎ แต่ในทางดาราศาสตร์ ต้นเดือนมิถุนายนดวงอาทิตย์อยู่ในกลุ่มดาววัวและปลายเดือนไปอยู่ในกลุ่มดาวคนคู่ ชื่อในภาษาอังกฤษ "June" มีที่มาจากเทพเจ้าโรมันนามว่า จูโน (Juno) ส่วนในประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนมิถุนายนในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือน.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและมิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

มุสลิม

มุสลิม ผู้นับถือศาสนาอิสลาม หากเป็นบุรุษจะเรียกว่า มุสลิม หรือเป็นสตรีจะเรียกว่า มุสลิมะฮ์ หรือเรียกโดยรวมว่า อิสลามิกชน คำว่า "มุสลิม" เป็นคำที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ مسلم แปลว่า ผู้ศิโรราบ ผู้ภักดี มนุษย์ทุกคนสามารถเป็นมุสลิมได้โดยการปฏิญาณตน มุสลิมนั้นไม่จำกัดเผ่าพันธุ์ อายุ เพศ และวรรณะ ผู้ที่เป็นมุสลิมจะต้องปฏิบัติตามศาสนวินัยต่าง ๆ ของอิสลาม (ทั้งวาญิบ และฮะรอม) ผู้ที่เป็นมุสลิมต้องปฏิบัติตามหลักศาสนกิจ 5 ประการดังนี้ คือ การกล่าวคำปฏิญานตนเข้ารับอิสลาม, การละหมาด 5 เวลาในแต่ละวัน, การถือศีลอดในเดือนรอมดอน, การบริจาคทาน (ซะกาต), และการทำฮัจญ์ ผู้ที่เป็นมุสลิมมีหลักความเชื่อหลัก 6 ประการ นั่นคือ เชื่อในพระเจ้าองค์เดียว (อัลลอฮ์), เชื่อในบรรดามลาอีกะฮ์, เชื่อในคัมภีร์ที่ถูกประทานมาจากพระเจ้า, เชื่อในบรรดาศาสนทูตต่างๆ, เชื่อในวันสิ้นโลก (วันกียามะฮ์), และเชื่อในกฎแห่งความดีความชั่ว (กอดอและกอดัร).

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและมุสลิม · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาล

รัฐบาล คือองค์การที่มีอำนาจในการออกและบังคับใช้กฎหมาย สำหรับดินแดนหนึ่งๆ นิยามที่ชัดเจนของรัฐบาลนั้นมีอยู่หลายนิยาม ในกรณีทั่วไป รัฐบาล คือผู้ที่มีอำนาจในการปกครอง กล่าวคือมีอำนาจในการบริหารจัดการเหนือพื้นที่ใดๆ หรือเหนือกลุ่มคน รัฐบาลตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า government ซึ่งมีความหมายสองนัยยะ นัยยะแรกหมายถึงกิจกรรมการปกครอง และอีกความหมายหนึ่งคือคณะบุคคลที่มีอำนาจในการปกครอง หมวดหมู่:การปกครอง.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและรัฐบาล · ดูเพิ่มเติม »

รัฐพิหาร

หาร คือ รัฐที่อยู่ในประเทศอินเดีย มีพุทธคยาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ภาษาที่ใช้ในรัฐพิหาร คือ ภาษาฮินดีถูกแบ่งเป็นสองส่วนด้วยแม่น้ำคงคาซึ่งไหลผ่านจากตะวันตกไปตะวันออก เดิมคือแคว้นมคธ มีสถานที่สำคัญทางพุทธศาสนาหลายแห่ง เช่น พุทธคยา นาลันทา มีความสำคัญด้านคมนาคมขนส่งเพราะเป็นประตูสู่เนปาลและรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือ สินค้าเกษตรที่สำคัญคืออ้อย ปอ ชา มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมน้ำตาล สุราและเอทานอล.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและรัฐพิหาร · ดูเพิ่มเติม »

รัตนตรัย

ระรัตนตรัย หรือพระไตรรัตน์ หมายถึง แก้วสามประการอันประเสริฐสุดของพุทธศาสนิกชน ที่เรียกว่า รัตน (แก้ว) เพราะว่าเป็นสิ่งที่ประเสริฐ มีค่าสูง และหาได้ยาก เทียบด้วยดวงแก้วมณี พระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า, พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเรียกเต็มว่าพุทธรัตนะ, ธรรมรัตนะ, สังฆรัตนะ ซึ่งได้แก.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและรัตนตรัย · ดูเพิ่มเติม »

รัตนโกสินทร์ (แก้ความกำกวม)

รัตนโกสินทร์ อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและรัตนโกสินทร์ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

ราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา (Royal Thai Government Gazette, เรียกสั้น ๆ ว่า Government Gazette) เป็นหนังสือรวบรวมคำประกาศของทางราชการ โดยเริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อวันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ปีมะเมีย นพศก จุลศักราช 1219 ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 นับเป็นเอกสารหลักในการแจ้งประกาศ กฎหมาย และคำสั่งทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างเป็นทางการจวบจนปัจจุบันนี้ นับเป็นสิ่งพิมพ์ของไทยที่มีอายุยาวนานที่สุด โดยมีสำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์และเผยแพร.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและราชกิจจานุเบกษา · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์จักรี

ราชวงศ์จักรี เป็นราชวงศ์ที่ปกครองราชอาณาจักรสยามต่อจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีจนถึงปัจจุบัน โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระนามเดิม ทองด้วง ทรงสืบเชื้อสายมาจากตระกูลขุนนางในสมัยกรุงศรีอยุธยา) ทรงสถาปนาราชวงศ์โดยการปราบดาภิเษกเมื่อ พ.ศ. 2325 ยุคของราชวงศ์นี้ เรียกว่า "ยุครัตนโกสินทร์".

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและราชวงศ์จักรี · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

ราชคฤห์

ราชคฤห์ (ราชคห; राजगिर ราชคริ; राजगीर ราชคีร; Rajgir; راجگیر) เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นมคธสมัยพุทธกาล เป็นเมืองในหุบเขา มีภูเขาล้อมรอบ 5 ลูก จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบญจคีรีนคร ราชคฤห์เป็นเมืองตั้งหลักพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า โดยพระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระเจ้าพิมพิสารผู้ครองนคร เป็นเมืองที่มีประวัติความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามากที่สุด สถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าและพระสาวกยังปรากฏอยู่มากมาย เช่น พระคันธกุฎีบนยอดเขาคิชฌกูฏ วัดเวฬุวันซึ่งเป็นวัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา ถ้ำสุกรขาตาที่พระสารีบุตรได้บรรลุธรรม ถ้ำสัตบรรณคูหาที่ทำสังคายนาครั้งแรก เป็นต้น สถานะเมืองหลวงของราชคฤห์ถูกเปลี่ยนโอนไปอยู่ที่ปาฏลีบุตรตั้งแต่สมัยพระเจ้าอชาตศัตรู ส่งผลให้ราชคฤห์ในปัจจุบันเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ในรัฐพิหาร มีผู้อยู่อาศัยไม่มาก มีสภาพเกือบเป็นป่า แต่เป็นสถานที่แสวงบุญของชาวพุทธทั่วโลกแห่งหนึ่ง ไฟล์:Rajgirbuddha.jpg|พระพุทธรูปยืนกลางมณฑลโบราณสถานวัดเวฬุวันมหาวิหาร เมืองราชคฤห์ ไฟล์:Vulturepeak.jpg|พระคันธกุฎี บนยอดเขาคิชกูฏ ไฟล์:Sattapanni.jpg|ถ้ำสัตบรรณคูหา สถานที่ทำปฐมสังคายนา ไฟล์:Tapodarama.jpg|ตโปธาราม บ่อน้ำโบราณอายุกว่า 2,500 ปี ไฟล์:Vulturepeak1.jpg|พระมูลคันธกุฎิยอดเขาคิชกูฏ เมื่อมองจากสันติสถูป.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและราชคฤห์ · ดูเพิ่มเติม »

รามเกียรติ์

ตัวละครหลักที่ปรากฏในเรื่อง มีดังนี้ ฝ่ายพระราม.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและรามเกียรติ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลุมพินีวัน

ลุมพินีวัน (Lumbini Vana) เป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญแห่งที่ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล เป็นพุทธสังเวชนียสถาน 4 ตำบลเพียงแห่งเดียวที่อยู่นอกประเทศอินเดีย ลุมพินีวัน เดิมเป็นสวนป่าสาธารณะหรือวโนทยานที่ร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน ในสมัยพุทธกาลลุมพินีวันตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์กับเมืองเทวทหะ ในแคว้นสักกะ บนฝั่งแม่น้ำโรหิณี หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอโศกมหาราชได้โปรดให้สร้างเสาหินขนาดใหญ่มาปักไว้ตรงบริเวณที่ประสูติ เรียกว่า เสาอโศก ที่จารึกข้อความเป็นอักษรพราหมีว่าพระพุทธเจ้าประสูติที่ตรงนี้ ปัจจุบันลุมพินีวันอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนประเทศอินเดียทางเหนือเมืองโคราฆปุระ ห่างจากเมืองติเลาราโกต (หรือ นครกบิลพัสดุ์) ทางทิศตะวันออก 11 กิโลเมตร และห่างจากสิทธารถนคร (หรือ นครเทวทหะ) ทางทิศตะวันตก 11 กิโลเมตร ซึ่งถูกต้องตามตำราพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่าลุมพินีวันสถานที่ประสูติ ตั้งอยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะ ปัจจุบัน ลุมพินีวันมีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่ ทางการเรียกสถานที่นี้ว่า รุมมินเด มีสภาพเป็นชนบท มีผู้อาศัยอยู่ไม่มาก มีสิ่งปลูกสร้างเป็นพุทธสถานเพียงเล็กน้อย แต่มีวัดพุทธอยู่ในบริเวณนี้หลายวัด รวมทั้งวัดไทยลุมพินี ลุมพินีวันได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและลุมพินีวัน · ดูเพิ่มเติม »

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นในพ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระคู่บ้านคู่เมืองของแผ่นดินสยามที่พบ ณ วัดป่าเยี้ยะ(ป่าไผ่) จังหวัดเชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาว.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและวัดพระศรีรัตนศาสดาราม · ดูเพิ่มเติม »

วัดราชบูรณะ (แก้ความกำกวม)

วัดราชบูรณะ อาจหมายถึง.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและวัดราชบูรณะ (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์

วัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ เริ่มก่อสร้างมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 มีเนื้อที่ราว 14 ไร่ (6 เอเคอร์) ตั้งอยู่บริเวณกุสินารา อยู่ห่างจากสาลวโนทยาน สถานที่ดับขันธปรินิพพานของพระสัมมาสัมพูทธเจ้า ประมาณ 500 เมตรปัจจุบันมีพระราชรัตนรังษี เป็นประธานสง.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ · ดูเพิ่มเติม »

วัดเชตวันมหาวิหาร

วัดเชตวันมหาวิหาร หรือ วัดพระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นอาราม (วัด) ที่สร้างโดยท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มหาเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี บนที่ตั้งของเชตวัน หรือสวนเจ้าเชต นอกเมืองสาวัตถี ซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีซื้อมาด้วยเงินมากถึง 18 โกฏิ (ตามการนับค่าเงินในสมัยนั้น) วัดแห่งนี้นับว่าเป็นวัดและที่มั่นสำคัญในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล และเป็นวัดที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษามากที่สุดถึง 19 พรรษา วัดเชตวันมหาวิหารเป็นสถานที่เกิดเรื่องราวต่าง ๆ ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามากมาย ปัจจุบันวัดเชตวันมหาวิหารเหลือเพียงซากโบราณสถาน ได้รับการบูรณะจากทางราชการอินเดียเป็นอย่างดี ตั้งอยู่ทางใต้ของแม่น้ำราปติ (Rapti) หรือแม่น้ำอจิรวดีในสมัยพุทธกาล นอกกำแพงเมืองสาวัตถีไปทางทิศใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร ที่ ตำบลสะเหต (Saheth) รัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดี.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและวัดเชตวันมหาวิหาร · ดูเพิ่มเติม »

วันพุธ

วันพุธ เป็นวันลำดับที่ 4 ในสัปดาห์ อยู่ระหว่างวันอังคารกับวันพฤหัสบดี แต่ตามมาตรฐาน ISO 8601 กำหนดให้เป็นวันที่ 3 ของสัปดาห.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและวันพุธ · ดูเพิ่มเติม »

วันมาฆบูชา

ปุรณมี วันมาฆบูชา (มาฆปูชา; Magha Puja) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๓๐, ๓๐ มีนาคม..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและวันมาฆบูชา · ดูเพิ่มเติม »

วันวิสาขบูชา

วันที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนามากถึง 3 เหตุการณ์ คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า '''"วันพระพุทธเจ้า"''' วันวิสาขบูชา (วิสาขปุณฺณมีปูชา; Vesak) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกนิกายทั่วโลก ทั้งเป็นวันหยุดราชการในหลายประเทศ และวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติRequest for inclusion of an additional item in the agenda of the fifty-fourth session in United Nations (12 November 1999).

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและวันวิสาขบูชา · ดูเพิ่มเติม »

วันศุกร์

วันศุกร์ เป็นวันลำดับที่ 6 ในสัปดาห์ อยู่ระหว่างวันพฤหัสบดีกับวันเสาร์ แต่ตามมาตรฐาน ISO 8601 กำหนดให้เป็นวันที่ 5 ของสัปดาห์ วันศุกร์เป็นวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมจะไปชุมนุมที่มัสยิดเพื่อนมาซวันศุกร์เวลาเที่ยงพร้อมกัน.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและวันศุกร์ · ดูเพิ่มเติม »

วันสำคัญทางศาสนาพุทธ

วันสำคัญทางศาสนาพุทธ นิยมระบุตามปฏิทินจันทรคติ โดยปกติจะเป็นวันที่เคยมีเหตุการณ์สำคัญเมื่อครั้งพุทธกาล หรือเมื่อถึงกำหนดต้องปฏิบัติประเพณีสำคัญตามธรรมเนียมในศาสนาพุทธ วันสำคัญทางศาสนาพุทธที่ชาวพุทธยึดถือมานาน มีดังนี้.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและวันสำคัญทางศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

วันอัฏฐมีบูชา

วันอัฏฐมีบูชา คือวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า (หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน) ถือเป็นวันสำคัญในพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ (เดือน 6 ของไทย) นอกจากนั้น วันนี้เป็นวันคล้ายวันที่พระนางสิริมหามายา องค์พระพุทธมารดาสิ้นพระชนม์ (หลังประสูติ) และเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธองค์เสวยวิมุตติสุขตลอด 7 วัน (หลังตรัสรู้) อีกด้ว.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและวันอัฏฐมีบูชา · ดูเพิ่มเติม »

วันอังคาร

วันอังคาร เป็นวันลำดับที่ 3 ในสัปดาห์ อยู่ระหว่างวันจันทร์กับวันพุธ แต่ตามมาตรฐานสากล ISO 8601 กำหนดให้เป็นวันที่ 2 ของสัปดาห.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและวันอังคาร · ดูเพิ่มเติม »

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา (อาสาฬหปูชา; Āsāḷha Pūjā) เป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทยราชกิจจานุเบกษา,, เล่ม ๗๕, ตอน ๕๒, ๑๒ มิถุนายน..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและวันอาสาฬหบูชา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสดา

ือผู้ก่อตั้งศาสนา หรือผู้คิดค้น ริเริ่มในการนำคำสอนไปเผยแผ่ เช่น พระพุทธศาสนามีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา ศาสนายูดาห์มีโมเสสเป็นศาสดา เป็นต้น.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและศาสดา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ

มัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (United Nations General Assembly) เป็นองค์กรที่มีอำนาจมากที่สุดและเป็นหนึ่งในเสาหลักของสหประชาชาติ เป็นเพียงองค์กรเดียวของสหประชาชาติที่ตัวแทนของแต่ละประเทศสมาชิกมีสิทธิและฐานะเท่าเทียมกัน สมัชชาใหญ่มีหน้าที่ตรวจสอบงบประมาณและการใช้จ่ายในโครงการของสหประชาชาติ แต่งตั้งสมาชิกไม่ถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง รับรายงานจากทั่วทุกมุมโลกเพื่ออภิปรายและให้ความเห็น ตลอดจนจัดตั้งองค์กรลูกต่างๆมากมายของสหประชาชาติ การประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งแรกมีขึ้นในวันที่ 10 มกราคม..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สมาบัติ

มาบัติ แปลว่า การเข้าถึงฌาน, การบรรลุฌาน, ธรรมที่พึงเข้าถึงฌาน สมาบัติ โดยทั่วไปหมายถึงทั้งฌานและการเข้าฌาน ที่กล่าวว่า เข้าสมาบัติ ก็คือ เข้าฌาน นั่นเอง สมาบัติ มี 8 อย่าง เรียกว่า สมาบัติ ๘ ได้แก่ รูปฌาน 4, อรูปฌาน 4, เรียกแยกว่า รูปสมาบัติ อรูป สมาบัติ เรียกรวมว่า ฌานสมาบัติ สมาบัติ อีกอย่างหนึ่งคือ นิโรธสมาบัติ หรือ สัญญาเวทยิตนิโรธ ซึ่งละเอียดสุขุมกว่าอรูปฌาน เมื่อรวมกับสมาบัติ 8 ข้างต้นก็เป็น 9 มีคำเรียกต่างหากว่า อนุปุพพวิหารสมาบัต.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและสมาบัติ · ดูเพิ่มเติม »

สมาธิ

มาธิ (สันสกฤต: समाधि) คือการฝึกฝนทางจิตหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป้าหมายคือ ก่อให้เกิดการตระหนักรู้ตนเอง และจิตสำนึกต่อการทำงาน การทำสมาธิโดยทั่วไปมักเป็นการฝึกหัดส่วนบุคคล ยกเว้นในบางกรณีเช่น การสวดมนต์ ผู้ฝึกสมาธิส่วนใหญ่ มักจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นลมหายใจ การเพ่งวัตถุต่าง ๆ หรือแม้แต่การจดจ่อกับกิจกรรมที่กระทำ การทำสมาธิ มักเกี่ยวกับการปลูกฝังความรู้สึกหรือความเชื่อมั่นภายใน อาจจะเป็นการตั้งเป้าหมาย หรือ อาจจะหมายถึงการเชื่อมโยงกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเฉพาะเจาะจงก็ได้ การมีจิตใจที่เข้มแข็ง รู้จักไตร่ตรองความคิดให้ถูกต้อง รูปแบบการฝึกสมาธินั้นมากมายและมีความหลากหลาย คนทั่วไปอาจจะเข้าใจคำว่า "สมาธิ" ในบริบทที่แตกต่างกัน การทำสมาธินั้นมีมาตั้งแต่โบราณและ การฝึกฝนสืบทอดต่อกันมา จนกลายเป็นองค์ประกอบของประเพณีทางศาสนา ในประเพณีจิตวิญญาณตะวันออก เช่น ศาสนาฮินดู และ พุทธศาสนา แม้ในประเทศแถบตะวันตกบางแห่งก็เช่นกัน ในปี 2007 การศึกษาของรัฐบาลสหรัฐพบว่าเกือบ 9.4% ของผู้ใหญ่ (มากกว่า 20 ล้านคน) มีการฝึกสมาธิภายใน 12 เดือนที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นจาก 7.6% (มากกว่า 15 ล้านคน) ในปี 2002 ตั้งแต่ปี 1960, การทำสมาธิได้รับการเพิ่มจุดเน้นของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ การทำสมาธิมีปรากฏในหลายศาสนา ซึ่งรวมถึง พุทธศาสนา ฮินดู และเต๋า และยังคงรวมถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับศาสนา เช่น.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและสมาธิ · ดูเพิ่มเติม »

สมุทัย

สมุทัย หรือ ทุกขสมุทัย หรือ ทุกขสมุทัยอริยสัจ เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในหมวดอริยสัจ หรือ อริยสัจ ๔ หมายถึง เหตุปัจจัยที่ทำในเกิดทุกข์ ซึ่งเกิดจากตัณหา.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและสมุทัย · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)

มเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช มีพระนามเดิมว่า มี ประสูติเมื่อวันพุธขึ้น 12 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับวันที่ 15 กรกฎาคม..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี) · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

นายพลเอก มหาอำมาตย์เอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486) เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 57 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม พระองค์ยังทรงเป็นต้นราชสกุลดิศกุล.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ · ดูเพิ่มเติม »

สรภัญญะ

รภัญญะ คือ ทำนองสำหรับสวดฉันท์ เป็นทำนองแบบสังโยค คือ สวดเป็นจังหวะหยุดตามรูปประโยคฉันทลักษณ์ มักใช้สวดบูชาพระรัตนตรัยในพระพุทธศาสนา การสวดฉันท์ทำนองสรภัญญะมีมานานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ก่อนหน้านั้นนิยมสวดฉันท์ภาษาบาลี มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และผู้สวดส่วนใหญ่เป็นพระสงฆ์ ทำนองสรภัญญะไม่แพร่หลายนัก ต่อมา พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ป.ธ.8 องคมนตรีและเจ้ากรมพระอาลักษณ์ในรัชกาลที่ 5 แปลบทสรรเสริญคุณต่าง ๆ เป็นฉันท์ภาษาไทย เรียก "คำนมัสการคุณานุคุณ" มี 5 ตอน คือ บทสรรเสริญพระพุทธคุณ บทสรรเสริญพระธรรมคุณ บทสรรเสริญพระสังฆคุณ บทสรรเสริญมาตาปิตุคุณ และบทสรรเสริญอาจาริยคุณตามลำดับ บทประพันธ์นี้ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ใช้สวดกันโดยทั่วไป และเนื่องจากบาทแรกเริ่มว่า "องค์ใดพระสัมพุทธ" จึงมักเรียว่า "บทสวดองค์ใดพระสัมพุทธ" นอกจากบทสรรเสริญพระรัตนตรัยแล้ว ทำนองสรภัญญะยังใช้สวดคาถาบทอื่นอีก เช่น บทแปลคาถาพาหุงซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเริ่มว่า "ปางเมื่อพระองค์ปรมพุทธ".

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและสรภัญญะ · ดูเพิ่มเติม »

สรณะ

รณะ (อ่านว่า สะระณะ) แปลว่า ที่พึ่ง ที่ระลึก ที่ยึดเหนี่ยว ที่เหนี่ยวรั้งใจ สรณะ หมายถึงบุคคลหรือสิ่งใดใดสิ่งหนึ่งที่สามารถเป็นหลักสำหรับเหนี่ยวรั้งไว้มิให้เคว้งคว้าง เป็นที่พึ่งพิงอาศัย เป็นที่ให้ความอุ่นใจ แม้เพียงแค่ระลึกถึงก็ทำให้สบายใจ เกิดความอบอุ่นได้ สรณะ ในคำวัดหมายถึงพระรัตนตรัยซึ่งเป็นที่พึ่งที่ระลึกสูงสุด ไม่มีสรณะอื่นยิ่งกว่า พระรัตนตรัยจัดเป็นสรณะได้ทั้งยามปกติและยามคับขัน โดยเฉพาะเป็นที่พึ่งทางใจ เป็นอนุสติ เป็นแนวทางสำหรับยึดถือปฏิบัติตามเป็นอย่างดี เรียกการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งว่า ไตรสรณคมน์ หรือ ไตรสรณาคมน.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและสรณะ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สหประชาชาติ

หประชาชาติ (United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

สังฆทาน

ังฆทาน (สงฺฆทาน) เป็นศัพท์ในพระสูตร เป็นชื่อเรียกการถวายทานแก่พระสงฆ์อย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่ามีอานิสงส์มาก ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทักขิณาวิภังคสูตร ว่าการถวายสังฆทานแก่คณะพระสงฆ์ มีอานิสงส์มากกว่าการถวายทานเฉพาะเจาะจงแก่พระพุทธเจ้า แม้ยังทรงพระชนม์อยู่ การถวายสังฆทานนั้น เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าคือการนำถังใส่จตุปัจจัยสีเหลืองไปถวายแก่พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งหรือหลายรูปเท่านั้น แต่ความจริงแล้วสังฆทานอาจหมายถึงการถวายปัจจัยวัตถุใด ๆ ก็ได้ ที่เป็นประโยชน์แก่คณะสงฆ์โดยส่วนรวม เช่นการถวายกุฏิวิหาร หนังสือ ปากกา จาน หรือ แม้กระทั่งไม้กวาด แม้จะกล่าวคำถวายหรือไม่กล่าว หรือกล่าวคำถวายเป็นอย่างอื่น แต่อาการแห่งการถวายเป็นการอุทิศให้แก่สงฆ์ เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์ ก็จัดเป็นสังฆทานได้ ทานพิธีที่มีชื่อเรียกอย่างอื่น ที่เข้าลักษณะของสังฆทาน ก็จัดว่าเป็นสังฆทานได้ เช่น การตักบาตร การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้าป่า เป็นต้น.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและสังฆทาน · ดูเพิ่มเติม »

สังเวชนียสถาน

ังเวชนียสถาน (อ่านว่า สัง-เว-ชะ-นี-ยะ-สะ-ถาน) แปลว่า สถานที่อันเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช เป็นคำที่ใช้เรียกสถานที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ สังเวชนียสถาน หมายถึงสถานที่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกระลึกถึงพระพุทธเจ้า เกิดความแช่มชื่น เบิกบาน เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำความดี เมื่อได้ไปพบเห็น สังเวชนียสถาน มี 4 แห่ง คือ.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและสังเวชนียสถาน · ดูเพิ่มเติม »

สารนาถ

รนาถ เป็นพุทธสังเวชนียสถานแห่งที่ 3 (1 ใน 4 แห่งของชาวพุทธ) ตั้งห่างจากเมืองพาราณสี เมืองศูนย์กลางทางศาสนาของศาสนาฮินดู ไปทางเหนือราวเก้ากิโลเมตร อยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดียในปัจจุบัน หรือ แคว้นมคธ ชมพูทวีป ในสมัยพุทธกาล เหตุที่ได้ชื่อว่าสารนาถ เนื่องมาจากสถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา เริ่มต้นประกาศพระพุทธศาสนาเพื่อเป็นที่พึ่งแก่มหาชนทั้งหลาย และบ้างก็ว่ามาจากศัพท์ว่า สารงฺค + นาร.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและสารนาถ · ดูเพิ่มเติม »

สาละ

ละ เป็นพืชในวงศ์ Dipterocarpaceae เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาฮินดู เป็นที่ประทับของพระเจ้า และเป็นสัญลักษณ์แห่งอินทรา ในทางพุทธศาสนา ต้นสาละคือต้นที่พระพุทธมารดายืนเหนี่ยวกิ่งในขณะประสูติไม่ใช่ต้นสาละลังกา เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีความสำคัญในอินเดีย ใช้ในการก่อสร้างโดยเฉพาะกรอบประตูและหน้าต่าง ใบอ่อนและตาดอกในรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดี.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและสาละ · ดูเพิ่มเติม »

สาวัตถี

วัตถี (Sāvatthī สาวัตถี; श्रावस्ती Śrāvastī ศราวัสตี; Sravasti) คือเมืองโบราณในสมัยพุทธกาล มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศล 1 ใน แคว้นมหาอำนาจใน 16 มหาชนบทในสมัยพุทธกาล เมืองนี้รุ่งเรืองจากการที่เป็นชุมนุมการค้าขาย การทหาร เป็นเมืองมหาอำนาจใหญ่ควบคู่กับเมืองราชคฤห์แห่งแคว้นมคธในสมัยโบราณ ปัจจุบันเมืองนี้เหลือเพียงซากโบราณสถาน คนอินเดียในปัจจุบันลืมชื่อเมืองสาวัตถี (ในภาษาบาลี) หรือ ศราวัสตี (ในภาษาสันสกฤต) ไปหมดแล้ว คงเรียกแถบตำบลที่ตั้งเมืองสาวัตถีนี้เพียงว่า สะเหถ-มะเหถ (Saheth-Maheth) ปัจจุบัน สะเหต-มะเหต ตั้งอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย เมืองสวัตถีในสมัยพุทธกาลเป็นเมืองที่ใหญ่พอกับเมืองราชคฤห์และพาราณสี เป็นเมืองศูนย์กลางการค้าขายในสมัยพุทธกาล โดยในสมัยนั้นเมืองสาวัตถีมีพระเจ้าปเสนทิโกศลปกครองร่วมสมัยกับพระเจ้าพิมพิสาร นอกจากนี้เมืองสาวัตถีนับว่าเป็นเมืองสำคัญในการเป็นฐานในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าที่สำคัญ เพราะเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าประทับนานที่สุดถึง 25 พรรษา เป็นที่ตรัสพระสูตรมากมายและเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนามั่นคงที่สุด เพราะมีผู้อุปถัมภ์สำคัญ เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล อนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา เป็นต้น สาวัตถี ปัจจุบันยังมีซากโบราณสถานที่สำคัญปรากฏร่องรอยอยู่ คือวัดเชตวันมหาวิหาร (ซึ่งพระพุทธเจ้าเคยประทับอยู่ถึง 19 พรรษา), บริเวณวังของพระเจ้าปเสนทิโกศล, บ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี (สถูป), บ้านบิดาขององคุลีมาล (สถูป), สถานที่พระเทวทัตถูกแผ่นดินสูบ (หน้าวัดพระเชตวันมหาวิหาร), ที่แสดงยมกปาฏิหาริย์ แล้วเสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา เป็นต้น.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและสาวัตถี · ดูเพิ่มเติม »

สำนักพระราชวัง

ำนักพระราชวัง (Bureau of the Royal Household; BRH) เป็นหน่วยงานของทางราชการมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลและรับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระราชวัง ตลอดจนดูแลรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ในองค์ พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นผู้บังคับบัญชาสำนักพระราชวัง และเลขาธิการพระราชวังเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารราชกิจราชการ.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและสำนักพระราชวัง · ดูเพิ่มเติม »

สงคราม

ระเบิดนิวเคลียร์ที่ นางาซากิในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สงคราม (war) คือ สถานะความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างองค์การที่เป็นอิสระ (เช่น รัฐและตัวแสดงที่มิใช่รัฐ) หรือแนวร่วมขององค์การดังกล่าว โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นการรุกราน การทำลายล้างรวมสุดขีดและปกติมีอัตราตายสูง ชุดเทคนิคที่กลุ่มใช้ดำเนินสงคราม เรียก การสงคราม (warfare) การปลอดสงคราม ปกติเรียก สันติภาพ นักวิชาการบางส่วนมองว่าการสงครามเป็นสากลและเป็นส่วนที่สืบมาแต่บรรพชนของธรรมชาติมนุษย์ แต่บางส่วนก็แย้งว่าสงครามเป็นเพียงผลลัพธ์แห่งกรณีแวดล้อมทางสังคม-วัฒนธรรมหรือระบบนิเวศเฉพาะ ใน..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

สติ

ติ แปลว่า ความระลึกได้ ความนึกขึ้นได้ ความไม่เผลอ ฉุกคิดขึ้นได้ การคุมจิตไว้ในกิจ หมายถึง อาการที่จิตนึกถึงสิ่งที่จะทำจะพูดได้ นึกถึงสิ่งที่ทำคำที่พูดไว้แล้วได้ เป็นอาการที่จิตไม่หลงลืม ระงับยับยั้งใจได้ ไม่ให้เลินเล่อพลั้งเผลอ ป้องกันความเสียหายเบื้องต้นยับยั้งชั่งใจไม่บุ่มบ่าม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความไม่ประมาท สติ เป็นธรรมมีอุปการะมาก คือทำให้ตื่นตัวอยู่เสมอ เป็นเจตสิกชนิดหนึ่ง สตินั้นหากนำมาใช้กับทางโลกทั่วไปก็ย่อมมีประโยชน์มหาศาลอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการงาน ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ๆ การคิดอ่านย่อมเป็นระบบ จิตย่อมมีสมาธิในการทำกิจการงานใด ๆ อารมณ์มักจะเป็นปกติ ไม่ค่อยโกรธ เครียด หรือทุกข์ใจอะไรมาก ๆ กล่าวโดยรวมคือย่อมเกื้อกูลชีวิตประจำวันทางโลกได้อย่างดีซึ่งเป็นประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจน ถ้ารู้เนือง ๆ มาก ๆ เข้าจนเป็นมหาสติ ก็จะได้ประโยชน์จากทางธรรมด้วย การที่เรามีสติอยู่เนือง ๆ รู้ตัวบ้าง ไม่รู้ตัวบ้าง ทำอย่างติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ก็เพื่อให้สติเกื้อกูลต่อการ “เห็นความจริง” ความจริงนี้เป็นสิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดก็คือกายกับใจจุดหมายของการรู้ก็เพื่อให้เห็นความจริง อันได้แก่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่ากายและใจของเรานั้นเป็นสิ่งไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวเรา สติ เป็นคุณธรรมที่เกิดเองไม่ได้ ต้อง ทำให้เกิดขึ้นด้วยการฝึกฝนรวบรวมจิตใจให้นิ่งแน่วด้วยวิธีต่างๆ เช่นการเจริญวิปัสสนาคือการฝึกตามมหาสติปัฏฐานสูตร ทำสมาธิ สวดมนต์ ภาวนาคือให้มีความรู้สึกตัวผ่านอายตนะทั้ง 6 สติ มีใช้ในอีกหลายความหมาย เช่น กำหนดรู้ ตระหนักรู้ ระลึกรู้ สัมผัสรู้ รู้สึกตัว และอื่นๆ ที่ใช้ในความหมายการทำความกำหนดรู้สึกตัวในปัจจุบันต่อผัสสะใดๆที่เกิดขึ้นมาเพื่อให้กำหนดรู้เฉพาะหน้า ให้เท่าทันต่อสัมผัสตามความเป็นจริงต่อสิ่งที่ปรากฏขึ้นมา ให้จิตเป็นอิสระต่อสิ่งที่มากระทบในฐานะเป็นเพื่อผู้เฝ้ารู้เฉย ด้วยการเพิ่มการรับรู้ทางประสาทสัมผัส โดยลดการคิดนึกปรุงแต่งความรู้สึกอื่นๆ สติใช้เพื่อที่จะรู้เท่าทันในสังขาร 3.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและสติ · ดูเพิ่มเติม »

หญ้ากุศะ

หญ้ากุศะ (ชื่อวิทยาศาสตร์ Desmostachya bipinnata) เป็นหญ้าในวงศ์ Gramineae (Poaceae) มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอินเดียและเนปาล ชอบขึ้นในที่แห้งแล้งริมฝั่งแม่น้ำ โดยจะขึ้นเป็นกอเหง้าใหญ่ ใบอวบรูปยาวเหมือนหอก ขอบใบคม ดอกเป็นช่อรูปพีระมิด หรือเป็นแท่งตั้งตรง แข็ง สีน้ำตาลอ่อน ออกดอกตลอดฤดูฝน ขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ด และแยกกอ หญ้ากุศะเป็นหญ้าชนิดหนึ่งซึ่งถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก เนื่องจากเป็นหญ้าที่ปรากฏในพุทธประวัติว่า ในวันก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ เจ้าชายสิทธัตถะได้รับถวายหญ้าชนิดนี้จำนวน 8 กำมือจากพราหมณ์โสตถิยะ และเจ้าชายสิทธัตถะได้นำหญ้ากุศะไปปูรองนั่งเป็นพุทธบัลลังก์ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ ทำให้ชาวพุทธถือว่าหญ้านี้มีความสำคัญมาก และจัดให้หญ้านี้เป็นต้นไม้สำคัญชนิดหนึ่งในพุทธประวัติ ชาวฮินดูนับถือว่าหญ้านี้มีความศักดิ์สิทธิ์เช่นกัน โดยนำหญ้านี้มาประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ในวันแรม 15 ค่ำ​เดือน 9 หรือที่เรียกว่า กุโศตปาฎนีอมาวสยา เพื่อเป็นการบูชาพระกฤษณะ เทพเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาฮินดู หญ้ากุศะยังมีสรรพคุณทางยาสมุนไพร คือ ใช้ทั้งต้นเป็นยาฝาดสมาน​ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ รากมีรสหวาน เป็นยาเย็น แก้อาการกระหายน้ำได้อีกด้ว.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและหญ้ากุศะ · ดูเพิ่มเติม »

อยุธยา

อยุธยา อาจหมายถึง.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

อรรถกถา

ัมภีร์อรรถกถาบาลีในปัจจุบันเป็นผลงานการแปลของพระพุทธโฆสะ ที่แปลยกจากภาษาสิงหลขึ้นสู่ภาษาบาลี อรรถกถา (Atthakatha; อ่านว่า อัดถะกะถา) คือคัมภีร์ที่รวบรวมคำอธิบายความในพระไตรปิฎกภาษาบาลี เรียกว่า คัมภีร์อรรถกถา บ้าง ปกรณ์อรรถกถา บ้าง อรรถกถา จัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากพระไตรปิฎก และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างแพร่หลายในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา คัมภีร์อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความหรือคำที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยยกศัพท์ออกมาอธิบายเป็นศัพท์ ๆ บ้าง ยกข้อความหรือประโยคยาวๆ มาขยายความให้ชัดเจนขึ้นบ้าง แสดงทัศนะและวินิจฉัยของผู้แต่งสอดแทรกเข้าไว้บ้าง ลักษณะการอธิบายความในพระไตรปิฎกของอรรถกถานั้น ไม่ได้นำทุกเรื่องในพระไตรปิฎกมาอธิบาย แต่นำเฉพาะบางศัพท์ วลี ประโยค หรือบางเรื่องที่อรรถกถาจารย์เห็นว่าควรอธิบายเพิ่มเติมเท่านั้น ดังนั้นบางเรื่องในพระไตรปิฎกจึงไม่มีอรรถกถาขยายความ เพราะอรรถกถาจารย์เห็นว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎกส่วนนั้นเข้าใจได้ง่ายนั่นเอง.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและอรรถกถา · ดูเพิ่มเติม »

อริยสัจ 4

อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและอริยสัจ 4 · ดูเพิ่มเติม »

อักษรพราหมี

อักษรพราหมี อักษรพราหมี (อ่านว่า พราม-มี) เป็นต้นกำเนิดของอักษรในอินเดียมากมาย รวมทั้งอักษรเขมรและอักษรทิเบตด้วย พบในอินเดียเมื่อราว..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและอักษรพราหมี · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรสุโขทัย

อาณาจักรสุโขทัย เคยเป็นรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม สถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้รัฐสุโขทัยเป็นอาณาจักรสุโขทัย และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อย ๆ ตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและอาณาจักรสุโขทัย · ดูเพิ่มเติม »

อาณานิคม

ในทางการเมืองและประวัติศาสตร์ อาณานิคม (Colony) หมายถึงดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมทางการเมืองของรัฐๆหนึ่ง ไม่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง อาณานิคมสามารถเกิดขึ้นได้จาก 2 กรณีคือ กรณีแรกคือการจัดตั้งอาณานิคม ในอดีต เจ้าอาณานิคมมักส่งคณะบุกเบิกไปตั้งอาณานิคมในดินแดนที่ไม่มีเจ้าของ กรณีที่สองคือการเข้ายึดครองดินแดนซึ่งเดิมอาจเคยเป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ของตนเองมาก่อน หรืออาจมีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ก่อน อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์หลักของการมีอาณานิคม คือการแสวงหาทรัพยากรและผลประโยชน์ป้อนแก่แผ่นดินบ้านเกิดของเจ้าอาณานิคมที่เรียกว่า "แผ่นดินแม่" อาณานิคมไม่เหมือนกับ รัฐหุ่นเชิด หรือ รัฐบริวาร เนื่องจากอาณานิคมไม่ได้มีฐานะเป็น รัฐ จึงไม่มีจุดยืนในเวทีระหว่างประเทศ เนื่องจากฝ่ายบริหารสูงสุดของอาณานิคม ยังคงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแผ่นดินแม่ ในปัจจุบัน อาณานิคมที่มีอยู่ทั้งหมดเป็นอาณานิคมโพ้นทะเล รัฐบาลกลางบางประเทศ อาจยินยอมให้อาณานิคมมีรัฐบาลเป็นของตนเองซึ่งเป็นการลดภาระของรัฐบาลกลาง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลอาณานิคมจะดูแลทุกอย่างภายในอาณานิคม ด้านกฎหมาย, การคลัง, กลาโหม, ต่างประเทศ ยังคงถูกกำหนดจากรัฐบาลกลาง.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและอาณานิคม · ดูเพิ่มเติม »

อุบาสก อุบาสิกา

อุบาสก แปลว่า ผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย หมายถึงผู้ใกล้ชิดพระพุทธศาสนา ผู้นับถือศาสนาอย่างมั่นคง ถ้าเป็นหญิง ใช้ว่า อุบาสิกา อุบาสก เรียกกร่อนไปว่า ประสก คำว่า อุบาสิกา เรียกกร่อนไปว่าสีกา ก็มี เรียกชายหญิงที่รักษาอุโบสถศีลโดยค้างคืนที่วัดในวันพระว่า อุบาสกอุบาสิกา อุบาสกอุบาสิกา ปกติหมายถึงชาวบ้านทั่วไปที่นับถือพระพุทธศาสนา บำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา ไปวัดทำบุญให้ทาน ถือศีล อุปถัมภ์บำรุงวัด ช่วยเหลือกิจการของวัดเป็นประจำ.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและอุบาสก อุบาสิกา · ดูเพิ่มเติม »

อุโบสถ

อุโบสถ (อ่านว่า อุ-โบ-สด) ถือเป็นอาคารที่สำคัญภายในวัดเนื่องจากเป็นสถานที่ที่พระภิกษุสงฆ์ใช้ทำ สังฆกรรมซึ่งแต่เดิมในการทำสังฆกรรมของ พระภิกษุสงฆ์จะ ใช้เพียงพื้นที่โล่ง ๆ ที่กำหนดขอบเขตพื้นที่สังฆกรรมโดยการกำหนดตำแหน่ง“สีมา” เท่านั้น แต่ในปัจจุบันจากการมีผู้บวชมากขึ้น อีกทั้งภายใน พระอุโบสถมักประดิษฐานพระประธานที่เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญ ๆ ทำให้มีผู้มาสักการบูชาและร่วมทำบุญเป็นจำนวนมาก พระอุโบสถจึงถูกสร้าง ขึ้นเป็นอาคารถาวรและมักมี การประดับตกแต่งอย่างสวยงาม และยังมีอีกมีหลายความหมาย คือ หมายถึง.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและอุโบสถ · ดูเพิ่มเติม »

อูตัน

อูตัน (U Thant; သန့်၊ ဦး) เกิดวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2452 ที่เมืองปันตาเนา เป็นนักการทูตชาวพม่า และ เป็นอดีตเลขาธิการองค์การสหประชาชาติจากประเทศในเอเชียคนแรก ในระหว่างปี พ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2514 อูตันนับเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติคนที่ 3 โดยรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและอูตัน · ดูเพิ่มเติม »

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

งของยูเนสโก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อนัตตา

อนัตตา (อนตฺตา) หรือ อนาตมัน (अनात्मन् อนาตฺมนฺ) แปลว่า ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน ไม่ใช่อัตตา (หรืออาตมัน) ไม่ใช่ตัวตน หรือ สภาพที่บังคับบัญชาไม่ได้ อันเป็นธรรมชาติของสังขารและวิสังขาร.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและอนัตตา · ดูเพิ่มเติม »

อนาคาริก ธรรมปาละ

อนาคาริก ธรรมปาละ (Anagarika Dhammapala) (เกิด 17 กันยายน พ.ศ. 2407 มรณภาพ 29 เมษายน พ.ศ. 2476) เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย เป็นผู้ก่อตั้งสมาคมมหาโพธิ์ และเป็นผู้เรียกร้องเอาพุทธสถานในอินเดียกลับคืนมาเป็นของชาวพุทธ ท่านเกิดในครอบครัวผู้มั่งคั่ง บิดาชื่อว่า เดวิด เหววิตรเน เมื่อได้อ่านหนังสือเรื่องประทีปแห่งเอเชียของท่านเซอร์ เอดวินด์ อาโนลด์ ก็เกิดความซาบซึ้ง มีความคิดอยากอุทิศชีวิตถวายต่อพระพุทธองค์ในการฟื้นฟูพุทธศาสนาที่อินเดีย จึงออกเดินทางสู่อินเดีย เมื่อได้เห็นเจดีย์พุทธคยาที่ชำรุดทรุดโทรมถูกทอดทิ้ง และอยู่ในความครอบครองของพวกมหันต์ จึงเกิดความสังเวชใจ ที่ได้พบเห็นเช่นนั้น จึงทำการอธิษฐานต่อต้นพระศรีมหาโพธิ์ว่า จะถวายชีวิตเป็นพุทธบูชา เพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนา ในอินเดียและนำพุทธคยากลับคืนมาเป็นสมบัติของชาวพุทธทั่วโลกให้ได้.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและอนาคาริก ธรรมปาละ · ดูเพิ่มเติม »

อนิจจัง

อนิจจัง (บาลี: อนิจฺจํ) แปลว่า ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคง ไม่แน่นอน หรือ ตั้งอยู่ในสภาวะเดิมได้ยาก โดยทั่วไปหมายถึง สังขารธรรม อันได้แก่ ขันธ์ 5.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและอนิจจัง · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม

ซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม ไม่ใช่ชาวพุทธ แต่มีคุณูปการต่อชาวพุทธเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นผู้มีส่วนอย่างมากในการฟื้นฟูบูรณะสังเวชนียสถานในอินเดีย เซอร์อเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม (Sir Alexander Cunningham) (23 มกราคม ค.ศ. 1814 – 28 พฤศจิกายน ค.ศ. 1893) เป็นนักโบราณคดีชาวอังกฤษ เคยดำรงตำแหน่งเป็นนายพลและวิศวกรแห่งกองทัพสหราชอาณาจักร เขาเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะ "บิดาแห่งการสำรวจโบราณคดีอินเดีย".

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและอเล็กซานเดอร์ คันนิงแฮม · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสุโขทัย

ทัย (ᩈᩩᨠᩮ᩠ᨡᩣᨴᩱ᩠ᨿ, เดิมสะกดว่า ศุโขไทย) เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร ตาก และลำปาง (เรียงตามเข็มนาฬิกาจากด้านเหนือ).

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและจังหวัดสุโขทัย · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดนครปฐม

ังหวัดนครปฐม เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย เป็นหนึ่งในห้าจังหวัดที่อยู่ในพื้นที่ปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จังหวัดนี้มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน เชื่อว่าเป็นที่ตั้งเก่าแก่ของเมืองในสมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีเป็นจำนวนมาก.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและจังหวัดนครปฐม · ดูเพิ่มเติม »

จันทร์เพ็ญ

นอวกาศกาลิเลโลถ่ายภาพดวงจันทร์หลายภาพแล้วนำมาประกอบเป็นภาพเดียว เมื่อ วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2535 โดยเดินทางไปเพื่อสำรวจระบบดาวพฤหัส ระหว่าง พ.ศ. 2538 - 2540 สีในภาพถูกปรับแต่งเพราะกล้อง CCD นั้นไวต่อความยาวคลื่นใกล้อินฟราเรด ที่สายตาของมนุษย์มองไม่เห็น จันทร์เพ็ญ หรือ วันเพ็ญ (Full moon) คือวันที่พระจันทร์เต็มดวง ตามปฏิทินจันทรคติไทย นับเป็นวัน "ขึ้น 15 ค่ำ" (หรือ วัน 15 ค่ำ ตามปฏิทินจันทรคติจีน) อันเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งด้านตรงข้ามของโลก เมื่อพิจารณาจากตำแหน่งดวงอาทิตย์ ในโอกาสนี้ดวงจันทร์ที่เห็นจากพื้นผิวของโลกจะดูสว่างเต็มดวง เพราะรับแสงโดยตรงจากดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม ภาพดวงจันทร์ที่เราเห็นเต็มดวงนั้น เป็นเพียงครึ่งหนึ่งของพื้นผิวทั้งหมดของดวงจันทร์ที่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิต.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและจันทร์เพ็ญ · ดูเพิ่มเติม »

ธรรม

รรม หมายถึง สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม,ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, ท่านพุทธทาสภิกขุ ให้คำนิยามไว้ในหนังสือของท่านว่า ธรรม มีความหมายที่ยิ่งใหญ่ ไม่สามารถหาคำพูดที่เป็นภาษาของมนุษย์มานิยามได้ แต่ขอนิยามให้เข้าใจพอสังเขปไว้ด้วยความว่า หน้าที่ เพราะไม่มีสิ่งใดในสากลโลกที่ไม่มีหน้าที.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและธรรม · ดูเพิ่มเติม »

ธูป

ูปที่กำลังเผาไหม้ในเขาอู่ไถ ธูป เป็นสิ่งที่ใช้เป็นเครื่องสักการบูชาตั้งแต่สมัยอียิปต์โบราณเพื่อบูชาเทพเจ้าหรือทำให้เทพเจ้าพอใจด้วยของหอม ในอดีตธูปทำจากเนื้อไม้หอม (Aromatic wood) หลายชนิด เช่น ไม้จันทน์ขาว (Sandalwood) จันทน์เทศ (Nutmeg) กำยาน (Gum Benzoin เป็นยางไม้หอมชนิดหนึ่ง) ไม้กฤษณา (Agar wood) กันเกรา (Tembusu) หรือต้นบง หรือโกวบั๊วะ (นำมาผสมน้ำเพื่อให้เนื้อผงธูปเหนียว พอที่จะฟั่นเป็นธูปได้) บดเนื้อไม้ให้เป็นผงละเอียด นำมาเป็นวัตถุดิบในการทำธูป ธูปไทยในอดีตที่ผลิตจากไม้หอม มีลักษณะคล้ายธูปจีนโบราณ (วัฒนธรรมและการทำธูปในไทย สืบทอดมาจากการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม และการค้าในอดีต) และเนื่องจากตัววัตถุดิบเป็นไม้หอม ควันธูปค่อนข้างละเอียด ไม่ระคายเคืองจมูกและตา ปัจจุบัน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ประกอบกับวัตถุดิบที่แพงขึ้น ไม้หอมต่างๆที่นำมาผลิตธูปเริ่มมีราคาแพง ผู้ผลิตส่วนใหญ่ จึงเปลี่ยนมาใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแทน เนื่องจากมีราคาถูกกว่า และมีสีขาวนวลเหมือนไม้จันทน์ขาว ลักษณะเป็นผงละเอียด ขึ้นรูปได้ง่าย แล้วจึงนำมาผสมน้ำหอม เรียกว่า "ธูปหอม" เมื่อนำมาจุดจะให้ควันและกลิ่นหอม.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและธูป · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทุกข์

ทุกข์ หรือ ทุกขัง (ทุกฺข) เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา แปลว่าทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก โดยทั่วไปหมายถึง สังขารทั้งปวง อันได้แก่ ขันธ์ 5 ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทุกข์ ในทางพระพุทธศาสนา การกำหนดทุกข์ถือเป็นกิจในอริยสัจ 4 ที่ชาวพุทธต้องทำเพื่อละและปล่อยวางในลำดับต่อไปในกิจทั้งสี่ในอริยสัจ อันได้แก่ รู้ทุกข์ เพื่อค้นหาสาเหตุในการดับทุกข์ (สมุทัย) แล้วจึงตั้งจุดมุ่งหมายในการดับทุกข์ (นิโรธ) และดำเนินตามเส้นทางสู่ความดับทุกข์ (มรรค) คือสละ ละ ปล่อยวาง ไม่ยึดติดในใจด้วยอำนาจกิเลส ทุกข์ จัดเป็นหนึ่งในชื่อเรียกที่เป็นไวพจน์ของขันธ์ซึ่งถูกใช้เป็นอย่างมากในพระไตรปิฎก.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและทุกข์ · ดูเพิ่มเติม »

ท้องสนามหลวง

ท้องสนามหลวง ท้องสนามหลวง หรือ สนามหลวง เป็นสนามขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ด้านหน้าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังบวรสถานมงคล เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ 74 ไร่ 63 ตารางวา ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 94 ตอนที่ 126 ลงวันที่ 13 ธันวาคม..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและท้องสนามหลวง · ดูเพิ่มเติม »

ขอม

อม เป็นชื่อทางวัฒนธรรม ไม่ใช่ชื่อชนชาติ หมายถึงคนกลุ่มหนึ่งที่อยู่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา นับถือฮินดูหรือพุทธมหายาน ทางใต้ของแคว้นสุโขทัย อาจจะหมายถึงพวก ละโว้ (หรือ ลพบุรี) เอกสารทางล้านนา เช่น จารึกและตำนานต่างๆ ล้วนระบุสอดคล้องกันว่าขอมคือพวกที่อยู่ทางใต้ของล้านนา(ในสมัยอาณาจักรสุโขทัย) เนื่องจากคำว่า ขอม สัญนิษฐานว่ามาจากคำว่า “เขมร”+”กรอม” (ที่แปลว่าใต้) พูดเร็วๆ กลายเป็น “ขอม” พวกนี้ตัดผมเกรียน และนุ่งโจงกระเบน กินข้าวเจ้า ฯลฯ แคว้นละโว้มีชื่อในตำนาน และพงศาวดารว่า กัมโพช เลียนอย่างชื่อ กัมพูชา ของเขมร นับถือทั้งฮินดูและพุทธมหายาน อาจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยเขียนอธิบายไว้ว่า ขอมเป็นพวกนับถือฮินดูหรือพุทธมหายาน ใครเข้ารีตเป็นฮินดู หรือพุทธมหายาน เป็นได้ชื่อว่า ขอม ทั้งหมด ขอมไม่ใช่ชื่อชนชาติ เพราะไม่มีชนชาติขอม แต่เป็นชื่อทางวัฒนธรรม เช่นเดียวกับ สยาม.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและขอม · ดูเพิ่มเติม »

ดอก

ปสเตอร์แสดงภาพดอกไม้ต่าง ๆ สิบสองชนิด ดอก เป็นโครงสร้างสืบพันธุ์พบในพืชดอก (พืชในหมวด Magnoliophyta) หน้าที่ทางชีววิทยาของดอก คือ เพื่อออกผลการสืบพันธุ์ ปกติโดยให้กลไกสำหรับการผสมระหว่างสเปิร์มกับไข่ ดอกอาจอำนวยให้การผสมข้ามดอก (outcrossing) หรือให้เกิดการผสมในดอกเดียวกัน (selfing) ก็ได้ บางดอกผลิตส่วนแพร่พันธุ์โดยไม่มีการปฏิสนธิ (การเกิดผลลม) ดอกมีอับสปอร์และเป็นที่ซึ่งแกมีโทไฟต์เจริญ ดอกให้ผลและเมล็ด หลายดอกวิวัฒนาให้ดึงดูดสัตว์ เพื่อที่จะให้สัตว์เหล่านั้นเป็นพาหะส่งผ่านเรณู นอกเหนือไปจากการอำนวยการสืบพันธุ์ของพืชดอกแล้ว มนุษย์ยังชื่นชมและใช้เพื่อตกแต่งสิ่งแวดล้อมให้งาม และยังเป็นวัตถุแห่งความรัก พิธีกรรม ศาสนาแพทยศาสตร์และเป็นแหล่งอาหาร.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและดอก · ดูเพิ่มเติม »

งานวันวิสาขบูชาโลก

งานวันวิสาขบูชาโลก เป็นการจัดงาน เฉลิมฉลอง วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากล ของสหประชาชาติ ภายใต้งาน คุณูปการของพระพุทธศาสนา ต่อสันติภาพโลก และการพัฒนาที่ยั่งยืน และจะพัฒนาพุทธศาสนา ให้เป็นศูนย์กลาง พระพุทธศาสนาโลก เริ่มต้นตามมติสหประชาชาติ ในปี พ.ศ. 2547 โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ในปี 2548 และ 2549.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและงานวันวิสาขบูชาโลก · ดูเพิ่มเติม »

ตรัสรู้

ตรัสรู้ หมายถึง การรู้แจ้งของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นการรู้สภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงในหลักอริยสัจ 4.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและตรัสรู้ · ดูเพิ่มเติม »

ตัณหา

ตัณหา เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนา หมายถึง ความติดใจอยาก ความยินดี ยินร้าย หรือติดในรสอร่อยของโลก ประกอบด้วย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ และ ตัณหาย่อมเจริญแก่ผู้ประพฤติประมาท ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดังนั้น ความทุกข์ย่อมเกิดขึ้นบ่อยๆ เมื่อบุคคลยังถอนเชื้อตัณหาไม่ได้ ในหลักปฏิจจสมุปบาท ตัณหาเกิดจากเวทนาเป็นปัจจัย โดยมี อวิชชาเป็นมูลราก ควรเห็นตัณหา เป็นดังเครือเถาที่เกิดขึ้น แล้ว จงตัดรากเสียด้วยปัญญ.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและตัณหา · ดูเพิ่มเติม »

ตา

ม่านตา (iris) คือ ส่วนที่มีสีต่างๆกัน thumb ตา คือส่วนรับแสงสะท้อนของร่างกาย ทำให้สามารถมองเห็น และรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ ตาของสัตว์ต่างๆ มีรูปแบบที่ต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นตาของ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, สัตว์ปีก, สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์น้ำ โดยดวงตาของสัตว์ที่พัฒนาแล้ว มักจะมีเพียง 2 ดวง และ อยู่ด้านหน้าของใบหน้า เพื่อการมองเห็นแบบ 3 มิติ ตา คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่รับแสง โดยสัตว์แต่ละชนิดจะมีอวัยวะรับแสงที่แตกต่างกัน ตาที่เรียบง่ายที่สุดจะไม่สามารถทำอะไรได้เลยเว้นแต่การรับรู้ว่าสิ่งแวดล้อมนั้นมืดหรือสว่างเพื่อให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ เช่น กลางวันหรือกลางคืน เป็นต้น แต่จะไม่สามารถรับรู้ออกมาเป็นภาพได้ ตาที่ซับซ้อนกว่าจะมีรูปทรงและสีที่เป็นเอกลักษณ์ ในระบบตาที่ซับซ้อน ตาแต่ละดวงจะสามารถรับภาพที่มีบริเวณที่ซ้อนทับกันได้ เพื่อให้สมองสามารถรับรู้ถึงความลึก หรือ ความเป็นสามมิติของภาพ เช่น ระบบตาของมนุษย์ อย่างไรก็ตาม ตาของสัตว์บางชนิด เช่น กระต่ายและกิ้งก่า ได้ถูกออกแบบมาให้มีส่วนของภาพที่ซ้อนทับกันน้อยที่สุด เลนส์ ที่อยู่ส่วนข้างหน้าของตาทำหน้าที่เช่นเดียวกับเลนส์ของกล้อง เมื่อคนเราแก่ตัวลง ตาของคนแก่จะไม่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน และต้องใช้แว่น หรือคอนแทคท์เลนส์ จึงจะสามารถมองเห็นชัดเจนได้.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและตา · ดูเพิ่มเติม »

ฉลู

180px ฉลู เป็นชื่อปีที่ 2 ของรอบปีนักษัตร มีสัญลักษณ์เป็นวัว พุทธศักราชที่ตรงกับปีฉลู เช่น พ.ศ. 2504 พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2528 พ.ศ. 2540 พ.ศ. 2552 พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2576 และ พ.ศ. 2588 เป็นต้น โดยวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดรอบปีนักษัตรไม่แน่นอนเมื่อเทียบกับปฏิทินสากล และนับต่างกันระหว่างแบบจีนกับแบบไทย หมวดหมู่:ปีนักษัตร หมวดหมู่:ปฏิทิน.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและฉลู · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิจจสมุปบาท

ปฏิจจสมุปบาท (/ปะติดจะสะหฺมุบบาด/) (Paticcasamuppāda; Pratītyasamutpāda) เป็นชื่อพระธรรมหัวข้อหนึ่งในศาสนาพุทธ เรียกอีกอย่างว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปัจจยาการ เป็นหลักธรรมที่อธิบายถึงการเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น เช่น ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย 12 เรื่องเกิดขึ้นสืบ ๆ เนื่องกันมาตามลำดับดังนี้ คือ.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและปฏิจจสมุปบาท · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทิน

ปฏิทินโบราณของฮินดู ปฏิทิน คือระบบที่ใช้ในการเรียกชื่อช่วงระยะเวลา เช่น วัน เป็นต้น วันจะขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่วัตถุทางดาราศาสตร์ เราสามารถแสดงปฏิทินได้ในหลายรูปแบบ ส่วนมากมักเป็นกระดาษ เช่น แบบฉีก แบบแขวน แบบตั้งโต๊ะ เป็นต้น.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและปฏิทิน · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินจันทรคติ

ปฏิทินจันทรคติ (อังกฤษ: lunar calendar) ใช้เรียกรูปแบบการใช้ปฏิทินรูปแบบหนึ่ง โดยใช้ดิถีของดวงจันทร์เพื่อบอกข้างขึ้นข้างแรมบอกเดือน ซึ่งในปัจจุบันระบบปฏิทินที่ใช้รูปแบบนี้ได้เปลี่ยนมาใช้ในรูปแบบปฏิทินสุริยจันทรคติแทนที่ โดยส่วนของจันทรคติใช้งานเฉพาะอ้างอิงวันสำคัญทางศาสนา หรือเทศกาลฉลองตามประเพณีดั้งเดิม เช่น ปฏิทินจันทรคติในหนึ่งเดือนจะนับตามการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ ซึ่งประมาณ 29 วันครึ่ง ซึ่งในหนึ่งปีจะแบ่งเป็น 12 เดือนซึ่งมีทั้งหมด 354 วัน โดยวันจะน้อยกว่าปฏิทินสุริยคติ 10 วันเศษ ซึ่งเมื่อถึงปีที่จำนวนวันที่เกินมาครบประมาณ 29.5 วันเศษ จะมีการเพิ่มเดือนเข้ามาอีกหนึ่งเดือน ซึ่งทำให้ปีนั้นมี 384 วัน ตัวอย่างเช่นในปฏิทินจันทรคติไทย จะเรียกว่าอธิกมาส โดยจะเพิ่มเดือน ๘ เข้ามาอีกหนึ่งเดือนซึ่งเรียกว่า เดือน ๘/๘ (หรือ ๘-๘ หรือ ๘๘ ก็เขียน) โดยในปีนั้นจะมี 13 เดือน ในปีที่ 3, 6, 9, 11, 14, 17 และ 19 ในปีทางจันทรคติ จะมี 12 เดือน ได้แก่ เดือนอ้าย เดือนยี่ เดือนสาม เดือนสี่ เดือนห้า เดือนหก เดือนเจ็ด เดือนแปด เดือนเก้า เดือนสิบ เดือนสิบเอ็ด เดือนสิบสอง โดยเดือนคู่จะมี 30 วัน คือวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ ถึง วันแรม 15 ค่ำ ส่วนเดือนคี่มี 29 วัน คือวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ ถึง วันแรม 14 ค่ำ นอกจากนี้ยังมีบางปีที่มีวันแรม 15 ค่ำ เดือน 7 เรียกว่าอธิกวาร โดยจะมีในปีที่ 6, 12, 17, 22, 28, 33 และ 38 ทั้งนี้ เพื่อให้เดือนแต่ละเดือนมีค่าเฉลี่ยของวันในเดือนเข้าใกล้ 29.530588 วันมากที.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและปฏิทินจันทรคติ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินจันทรคติไทย

ปฏิทินจันทรคติไทย (อังกฤษ: Thai lunar calendar) คือ ปฏิทินที่นับตามคติการโคจรของดวงจันทร์ โดยหมายดูจากปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม สำหรับปฏิทินจันทรคติ ของไทย จะมีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและปฏิทินจันทรคติไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปฐมเทศนา

ระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ที่ขุดพบในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ที่มีผู้ยกย่องว่าเป็นพระพุทธรูปปางแสดงปฐมเทศนาที่งามที่สุดในโลกhttp://www.pharm.chula.ac.th/computer/web_india_1/idia1_09_esipat2/9_esipat2.htm อิสิปตนมฤคทายวัน สมัยหลังพุทธกาล. ห้องสมุดคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ออนไลน์. เรียกข้อมูลเมื่อ 12-6-52 (ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑ์สารนาถ) ปฐมเทศนา (อ่านได้หลายอย่าง คือ "ปะ-ถม-มะ-เท-สะ-นา", "ปะ-ถม-มะ-เทด-สะ-หนา", "ปะ-ถม-เทด-สะ-หนา") แปลว่า การแสดงธรรมครั้งแรก เป็นคำเรียกเทศน์กัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้าที่ทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และ อัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เมื่อวันเพ็ญกลางเดือน 8 (วันอาสาฬหบูชา) ปฐมเทศนา มีชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เรียกสั้นๆ ว่า ธรรมจักร ซึ่งมีเนื้อหากล่าวถึงเรื่อง อริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้นั่นเอง.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและปฐมเทศนา · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดี

ประธานาธิบดี (president) คือตำแหน่งประมุขหรือผู้นำของประเทศที่ปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐ ซึ่งประธานาธิบดีจะได้รับตำแหน่งจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย ปัจจุบันมีหลายประเทศที่มีประธานาธิบดีเป็นประม.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและประธานาธิบดี · ดูเพิ่มเติม »

ประทีปแห่งเอเชีย

ประทีปแห่งเอเชีย (อังกฤษ: The Light of Asia) แต่งโดยเซอร์ เอดวินด์ อาโนลด์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในลอนดอน เมื่อกรกฎาคม..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและประทีปแห่งเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศ

แผนที่แสดงประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประเทศ เป็นบริเวณที่ระบุเป็นเอนทิตีต่างหากในภูมิศาสตร์การเมือง ประเทศอาจเป็นรัฐเอกราชหรือรัฐที่ถูกรัฐอื่นยึดครอง เป็นรัฐซึ่งไร้เอกราชหรืออดีตเขตปกครองทางการเมืองเอกราช หรือพื้นที่ภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของประชาชนที่เดิมไม่ขึ้นต่อกันหรือมีความสัมพันธ์ต่างกันซึ่งมีลักษณะทางการเมืองเป็นเอกลักษณ.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและประเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศบังกลาเทศ

ังกลาเทศ (বাংলাদেশ) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (গণপ্রজাতন্ত্রী বাংলাদেশ) เป็นประเทศในเอเชียใต้ ซึ่งครอบครองเนื้อที่ในส่วนตะวันตกของภูมิภาคเบงกอล คำว่า "บังกลาเทศ (Bangladesh)" แปลว่า "ประเทศแห่งเบงกอล" ถูกล้อมรอบประเทศอินเดีย 3 ด้าน ยกเว้นพรมแดนด้านใต้ติดอ่าวเบงกอล และตะวันออกเฉียงใต้ติดประเทศพม.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและประเทศบังกลาเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและประเทศพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและประเทศกัมพูชา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศภูฏาน

ประเทศภูฏาน (Bhutan; บูตาน) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับประเทศจีน ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon)" นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen และชื่อเพลงชาติ เนื่องจากที่ภูฏาน เสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาบาลี ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง" (ในภาษาฮินดี สะกด भूटान ถอดเป็นตัวอักษรคือ ภูฏาน).

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและประเทศภูฏาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศศรีลังกา

รีลังกา (ශ්රී ලංකා; இலங்கை) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา (ශ්රී ලංකා ප්රජාතාන්ත්රික සමාජවාදී ජනරජය; இலங்கை சனநாயக சோசலிசக் குடியரசு) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ นอกชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของอนุทวีปอินเดีย ชื่อในอดีตได้แก่ ลังกา ลังกาทวีป สิงหลทวีป และ ซีลอน ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้ในสมัยอาณานิคมจนถึง พ.ศ. 2517 มีพรมแดนทางทะเลติดต่อกับอินเดียทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และมัลดีฟส์ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและประเทศศรีลังกา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและประเทศสิงคโปร์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและประเทศจีน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเกาหลีใต้

รณรัฐเกาหลี (Republic of Korea; 대한민국 (ฮันกึล); 大韓民國 (ฮันจา)) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เกาหลีใต้ (South Korea) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี พรมแดนทางเหนือติดกับประเทศเกาหลีเหนือ มีประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้โดยมีทะเลญี่ปุ่นและช่องแคบเกาหลีกั้นไว้ ในภาษาเกาหลีอ่านชื่อประเทศว่า แทฮันมินกุก (대한민국; 大韓民國) โดยเรียกสั้น ๆ ว่า ฮันกุก (한국) ที่หมายถึงเกาหลี และบางครั้งจะใช้ชื่อว่า นัมฮัน (남한) ที่หมายถึง เกาหลีทางใต้ ส่วนชาวเกาหลีเหนือจะเรียกเกาหลีใต้ว่า นัมโชซ็อน (남조선) ที่หมายถึง โชซ็อนใต้.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและประเทศเกาหลีใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนามใต้

รณรัฐเวียดนาม เป็นรัฐที่ปกครองบริเวณตอนใต้ของเวียดนามระหว่างปี พ.ศ. 2498 ถึง พ.ศ. 2518 ซึ่งต่างชาติโดยเฉพาะรัฐประชาธิปไตยและชาติต่อต้านคอมมิวนิสต์นิยมเรียกในชื่อว่า เวียดนามใต้ คำเรียก เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ ถูกใช้อย่างแพร่หลายในปี พ.ศ. 2497 ในการประชุมที่เจนีวา ซึ่งแบ่งประเทศเวียดนามออกเป็นสองส่วนโดยเส้นขนานที่ 17 ในระหว่างสงครามเวียดนาม เวียดนามใต้ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา ในอดีต เวียดนามใต้เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในชื่อ โคชินไชนา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เวียดมินห์ซึ่งนำโดยโฮจิมินห์ สถาปนารัฐคอมมิวนิสต์ขึ้นที่ฮานอย ในปีพ.ศ. 2492นักการเมืองที่ไม่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ ก่อตั้งรัฐบาลขึ้นที่เมืองไซ่ง่อนซึ่งนำโดยอดีตจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ในปี 2498 บ๋าว ดั่ย ถูกปลดโดยนายกรัฐมนตรีโง ดิ่ญ เสี่ยม และแต่งตั้งตนขึ้นเป็นประธานาธิบดี หลังจากเสี่ยมเสียชีวิตจากการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2506 ได้มีรัฐบาลทหารอายุสั้นหลายสมัยได้ปกครองเวียดนามใต้จนถึงปี พ.ศ. 2510 พลโท เหงียน วัน เถี่ยวได้ขึ้นเป็นประธานาธิบดีและได้ปกครองเวียดนามใต้จนถึงปี พ.ศ. 2518 สงครามเวียดนามเริ่มต้นในปี..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและประเทศเวียดนามใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนามเหนือ

วียดนามเหนือ หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (Việt Nam Dân Chủ Cộng Hòa) คือประเทศที่เกิดจากการรวมของแคว้นตังเกี๋ยและแคว้นอันนัมของฝรั่งเศส ประกาศก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) โดยประธานาธิบดีโฮจิมินห์ ตั้งอยู่บริเวณครึ่งบนของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและประเทศเวียดนามเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (Federal Democratic Republic of Nepal; सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल "สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล") เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอร์เรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้ ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและประเทศเนปาล · ดูเพิ่มเติม »

ปรินิพพาน

วาดพระพุทธเจ้าเข้าสู่อนุปาทิเสนนิพพาน จิตรกรรมฝาผนังวัดท่าถนน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ปรินิพพาน แปลว่า การดับรอบ ความปราศจากกิเลสที่ร้อยรัด คือ การดับสนิท ดับด้วยไม่เหลือแห่งกิเลสและกองทุกข์ มีความหมายเดียวกับคำว่า นิพพาน บางครั้งใช้หมายถึง อนุปาทิเสนนิพพาน แปลว่า การดับกิเลสพร้อมทั้งเบญจขันธ์ (อนุปาทิเสสนิพพาน คู่กับ สอุปาทิเสสนิพพาน แปลว่า ดับกิเลสแต่ยังดำรงชีวิตอยู่ เช่น การตรัสรู้) ปรินิพพาน นิยมใช้หมายถึง การดับขันธ์ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ส่วนของพระอรหันตสาวกที่เหลือนิยมใช้นิพพานเฉย ๆ ทั้งนี้ นัยว่าเพื่อเป็นการยกย่องพระพุทธเจ้า แต่ในภาษามคธใช้เหมือนกันทั้งสองศัพท์ คือ ใช้สลับกันก็มี ปรินิพพาน สำหรับพระพุทธเจ้านิยมเพิ่มคำว่า "เสด็จดับขันธ์" หรือ "เสด็จดับขันธ" ไว้หน้าด้วย เช่นใช้ว่า "พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา".

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและปรินิพพาน · ดูเพิ่มเติม »

ปัญจวัคคีย์

ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ปัญจวัคคีย์ คือ กลุ่มนักบวชที่ตั้งขึ้นมา เป็นนักบวชที่ปรากฏอยู่ในศาสนาพุทธในฐานะภิกษุชุดแรกที่เข้ามาบวชเป็นสาวก มีทั้งหมด 5 รูป ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ แต่เดิมปัญจวัคคีย์เป็นนักบวชที่ออกบวชติดตามปรนนิบัติพระพุทธเจ้าตั้งแต่เสด็จออกผนวชใหม่ ๆ ทั้งหมดเป็นชาวกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นกลุ่มบุคคลที่ได้ฟังปฐมเทศนาเป็นรุ่นแรก ได้เป็นภิกษุรุ่นแรกและได้เป็นพระอรหันต์รุ่นแรกในพระพุทธศาสนา เฉพาะโกณฑัญญะเป็นผู้เคยทำนายลักษณะพระพุทธเจ้าตั้งแต่ตอนประสูติใหม่ ส่วนอีก 4 ท่าน เป็นบุตรของพราหมณ์ที่ทำนายลักษณะของพระพุทธเจ้าร่วมกับโกณฑัญญะ เพราะมีความเชื่อว่าเจ้าชายสิทธัตถะจะต้องได้เป็นพระพุทธเจ้าจึงได้ออกบวชตาม ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธองค์ได้แสดงปฐมเทศนาคือธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุโสดาบัน โกณฑัญญะได้รับการยกย่องจากพระพุทธองค์ให้เป็นเอตทัคคะในด้านรัตตัญญู เรียกว่า มีราตรีนาน คือเป็นผู้รู้ธรรมก่อนใคร และได้บวชก่อนผู้อื่นในพระพุทธศานา จากนั้นพระพุทธองค์ทรงประทาน ปกิณณกเทศนา สั่งสอนที่เหลืออีก 4 ท่าน ให้บรรลุโสดาบันแล้วประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทาให้ ในวันแรม 5 ค่ำ เดือน 8 พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาอนัตตลักขณสูตร ซึ่งมีใจความดังนี้ ขณะสดับพระธรรมเทศนา พระภิกษุปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ส่งจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา จิตก็หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ไม่ยึดมั่น ถือมั่นด้วยอุปาทาน สามารถละสังโยชน์ครบ 10 ประการ ได้บรรลุพระนิพพานเป็นพระอรหันต์พร้อมกันทั้ง 5 รูป.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและปัญจวัคคีย์ · ดูเพิ่มเติม »

ปายาส

ปายาสของชาวสแกนดิเนเวียในเทศกาลคริสต์มาสที่ประเทศเดนมาร์ก ปายาส (rice pudding) คือ ข้าวชนิดหนึ่งที่หุงเจือด้วยน้ำหรือน้ำนมและน้ำตาล เป็นอาหารของหลายชนชาติ ซึ่งบางชาติเป็นอาหารหลัก บางชาติเป็นอาหารว่าง ปายาสเจือน้ำผึ้งเรียก มธุปายาส ครั้งหนึ่งนางสุชาดาเคยถวายแด่พระสมณโคดม หมวดหมู่:อาหารประเภทข้าว หมวดหมู่:อาหารอินเดีย หมวดหมู่:ขนมอินเดีย.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและปายาส · ดูเพิ่มเติม »

ปางมารวิชัย

ลักษณะพระพุทธรูปปางมารวิชัย (พระศรีศาสดา ปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย) มารวิชัย (มาระวิชัย) หรือ ชนะมาร หรือ สะดุ้งมาร เป็นพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำลงที่พระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่พื้นธรณีในคราวที่พระองค์ทรงเอาชนะมารได้.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและปางมารวิชัย · ดูเพิ่มเติม »

นิพพาน

วาดพระพุทธเจ้าเข้าสู่'''อนุปาทิเสสนิพพาน'''สภาวะ นิพพาน (निब्बान nibbāna นิพฺพาน; निर्वाण nirvāṇa นิรฺวาณ) หมายถึง ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์ เป็นสภาพโลกุตระอันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในศาสนาพุทธ คำว่า นิพพาน เป็นคำที่ใช้กันในปรัชญาหลายระบบในอินเดีย โดยใช้ในความหมายของการหลุดพ้น แต่การอธิบายเกี่ยวกับสภาวะของนิพพานนั้นแตกต่างกันออกไป ในปรัชญาอุปนิษัทเชื่อว่านิพพานหรือโมกษะ คือการที่อาตมันย่อยหรือชีวาตมันเข้ารวมเป็นเอกภาพกับพรหมัน แต่ในพระพุทธศาสนาอธิบายว่า นิพพานคือการหลุดพ้นจากอวิชชา ตัณหา ซึ่งแสดงออกในรูปของโลภะ โทสะ และโมหะ มิได้หมายความว่าเป็นการหลุดพ้นของอัตตาหรือตัวตนในโลกนี้ ไปสู่สภาวะของนิพพานอย่างคำสอนอุปนิษัท แต่หมายถึงความดับสนิทแห่งความเร่าร้อนและเครื่องผูกพันร้อยรัดทั้งปวง ซึ่งเรียกว่าเป็นความทุก.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและนิพพาน · ดูเพิ่มเติม »

นิกาย

นิกายในศาสนา (Religious denomination) หมายถึง หมู่ หรือพวกคณะนักบวชในศาสนาเดียวกัน ที่แยกออกไปเป็นพวก.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและนิกาย · ดูเพิ่มเติม »

นิตยภัต

นิตยภัต (อ่านว่า นิดตะยะพัด) แปลว่า อาหารประจำ ปัจจุบันใช้ในความหมายว่าเงินค่าอาหารที่ทางราชการถวายแก่สงฆ์เป็นประจำ นิตยภัต มีความเป็นมาคือในอดีตพระเจ้าแผ่นดินได้พระราชทานภัตตาหารแก่พระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์ หรือที่เคารพนับถือเป็นการส่วนพระองค์ โดยให้เจ้าหน้าที่จัดถวายประจำ ต่อมาพระสงฆ์ที่มีสมณศักดิ์มีมากขึ้นและอยู่ตามหัวเมืองก็มีความไม่สะดวกแก่การจัดอาหารถวาย แม้จะเปลี่ยนเป็นเงินแล้วก็ยังคงเรียกว่านิตยภัตเหมือนเดิม นิตยภัต ถือว่าเป็นเครื่องสักการะที่พระเจ้าแผ่นดินถวายแก่พระสงฆ์ผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระศาสนาและบ้านเมือง.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและนิตยภัต · ดูเพิ่มเติม »

นิโรธ

นิโรธ (อ่านว่า นิโรด) แปลว่า ความดับ (ทุกข์) คือความสำรอกออก, สลัดทิ้ง, ปลดปล่อย, ไม่มีเยื่อใยสมุทัยอันเป็นบ่อเกิดทุกข์ได้สิ้นเชิง หมายถึง การทำลายสมุทัยและดับสมุทัยคือตัวตัณหาให้สิ้นไปจนไม่เกิดขึ้นได้อีกเหมือนไฟที่สิ้นเชื้อ ด้วยอำนาจการดำเนินตามมรรคจนได้บรรลุมรรคนั้นๆ นิโรธ จัดเป็นอริยสัจอันดับที่3ในอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค โดยภาวะคือนิพพานนั่นเอง.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและนิโรธ · ดูเพิ่มเติม »

นิโรธสมาบัติ

นิโรธสมาบัติ (อ่านว่า นิโรดสะมาบัด, นิโรดทะ-) แปลว่า การเข้านิโรธ, การเข้าถึงความดับ หมายถึงการเข้าถึงความดับสัญญา (ความจำ) และเวทนา (ความรับอารมณ์) ทั้งหมด ซึ่งสามารถดับได้ถึง 7 วัน เรียกว่าเข้านิโรธสมาบัติ เรียกย่อว่า เข้านิโรธ เรียกเต็มว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ นิโรธสมาบัติ ต้องเป็นพระอรหันต์และพระอนาคามีผู้ได้สมาบัติ 8 จึงจะสามารถเข้าได้ ถือกันมาว่าผู้ได้ถวายอาหารแด่พระสงฆ์ผู้ออกจากนิโรธสมาบัติมื้อแรกจะได้รับอานิสงส์ในปัจจุบันทันตา ทั้งนี้เพราะเป็นอาหารมื้อสำคัญหลังจากที่ท่านอดมาถึง 7 วัน ร่างกายจึงต้องการอาหารมากเป็นพิเศษ.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและนิโรธสมาบัติ · ดูเพิ่มเติม »

นครนิวยอร์ก

นครนิวยอร์ก หรือที่นิยมเรียกกันว่า นิวยอร์กซิตี (New York City; NYC) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก เป็นมหานครเอกของโลก จัดได้ว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน วัฒนธรรม บันเทิง ที่สำคัญที่สุดของโลก เป็นเมืองที่มี ตึกระฟ้า ตึกสูงมาก ตลอดระยะเวลา 150 ปี และยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์กตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา ประกอบด้วย 5 เขตปกครองที่เรียกว่า โบโรฮ์ (Borough) คือ เดอะบรองซ์ บรูคลิน แมนแฮตตัน ควีนส์ และสแตตัน ไอส์แลนด์ ประชากรรวมทั้งหมดประมาณ 8,274,527 คน ภายในพื้นที่ 790 ตร.กม.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและนครนิวยอร์ก · ดูเพิ่มเติม »

นครโฮจิมินห์

นครโฮจิมินห์ (Thành phố Hồ Chí Minh, ถั่ญโฟ้โห่จี๊มิญ) หรือชื่อเดิม ไซ่ง่อน (Sài Gòn ส่ายก่อน) เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศเวียดนาม ตั้งอยู่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง นครโฮจิมินห์เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเวียดนาม จากประชากรร้อยละ 7.5 ของประเทศ แต่มีจีดีพีถึงร้อยละ 20.2 และการลงทุนจากต่างประเทศมากถึงร้อยละ 34.9 ของทั้งประเท.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและนครโฮจิมินห์ · ดูเพิ่มเติม »

แปลก พิบูลสงคราม

งครามอินโดจีน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งผนวชทรงรับบาตรจากจอมพล ป. นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ แปลก พิบูลสงคราม (14 กรกฎาคม พ.ศ. 2440 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "จอมพล ป.พิบูลสงคราม" เป็นนายกรัฐมนตรีไทยที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุด คือ 14 ปี 11 เดือน 18 วัน รวม 8 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่สำคัญคือ การมุ่งมั่นพัฒนาประเทศไทย ให้มีความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ มีการปลุกระดมให้คนไทยรู้สึกรักชาติ โดยออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย "รัฐนิยม" หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างได้ประกาศเป็นกฎหมายในภายหลัง หลายอย่างกลายเป็นวัฒนธรรมของชาติ เช่น การรำวง, ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ "ประเทศสยาม" เป็น "ประเทศไทย" และเป็นผู้เปลี่ยน "เพลงชาติไทย" มาเป็นเพลงที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คำขวัญที่รู้จักกันดีของนายกรัฐมนตรีผู้นี้คือ "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" หรือ "ท่านผู้นำไปไหนฉันไปด้วย" และ "ไทยอยู่คู่ฟ้า" ในสายตานักวิชาการประวัติศาสตร์การเมืองไทยส่วนหนึ่งเห็นว่า จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเผด็จการทางทหารที่มีบทบาททางการเมืองสูง และให้ความสนใจกับความคิดที่ส่อไปในทางเชื้อชาตินิยม จอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2507 ในเวลาประมาณ 20.30 น. ณ บ้านพักส่วนตัว ชานกรุงโตเกียว สิริอายุได้ 67 ปี.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและแปลก พิบูลสงคราม · ดูเพิ่มเติม »

แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้

แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้ หรือ เวียดกง หรือ เหวียดกง (Mặt trận Dân tộc Giải phóng miền Nam Việt Nam หรือ Việt Cộng) ก่อตั้งเมื่อ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2503 เป็นตัวแทนของพรรคคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ เพื่อหาเสียงสนับสนุนจากประชาชนและต่อต้านรัฐบาลของโง ดิ่ญ เสี่ยม เวียดกงได้รับการสนับสนุนทางอาวุธยุทโธปกรณ์จากฝ่ายคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ และกองทัพประชาชนเวียดนาม แนวร่วมนี้ก่อตั้งตามแนวชายแดนกัมพูชา ประธานคือ เหงียน หืว เถาะ พรรคนี้ได้เข้าร่วมในรัฐบาลปฏิวัติเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐเวียดนามใต้ เมื่อเดือนมิถุนายน..

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติเวียดนามใต้ · ดูเพิ่มเติม »

โบราณคดี

การขุดค้นซากโบราณ โบราณคดี (Archaeology) คือ วิชาที่ว่าด้วย การศึกษาเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ โดยผ่านทางการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดี ที่ได้มาจากการสำรวจ การขุดค้น (โบราณวัตถุ) การขุดแต่ง (โบราณสถาน) และการศึกษาเอกสารทางประวัติศาสตร์ประเภทต่างๆ (ศิลาจารึก จดหมายเหตุ พงศาวดาร) โดยทั่วไป จะต้องใช้ศาสตร์ด้านอื่นๆ ประกอบในการวิเคราะห์และตีความหลักฐานทางโบราณคดีที่ได้จากกระบวนการข้างต้น เพื่อให้เรื่องราวในอดีตของมนุษย์มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น ศาสตร์เหล่านั้น เช่น ประวัติศาสตร์ศิลปะ ธรณีวิทยา สัตววิทยา พฤกษศาสตร์ เรณูวิทยา การกำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ที่ประเทศไทย มีการเปิดสอนคณะโบราณคดี ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เป็นเพียงที่เดียวในประเทศไท.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและโบราณคดี · ดูเพิ่มเติม »

โบโรบูดูร์

มหาสถูปโบโรบูดูร์ (Borobudur) หรือ บาราบูดูร์ (Barabudur) คนไทยรู้จักในชื่อ บุโรพุทโธ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของประเทศอินโดนีเซีย บริเวณภาคกลางของเกาะชวา ตั้งอยู่ที่เมืองมาเกอลังบุโรพุทโธ คู่มือท่องเที่ยวจาริกแสวงบุญบุโรพุทโธ ประเทศอินโดนีเซีย, รภัสสา เขมจิรันตากร,.อมรินทร์ บุ๊ค เซ็นเตอร์ จก.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและโบโรบูดูร์ · ดูเพิ่มเติม »

โรมัน

รมัน อาจหมายถึง;ประวัติศาสตร.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและโลก · ดูเพิ่มเติม »

โคลัมโบ

อาคารรัฐสภาหลังเก่า ด้านหลังเป็นอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์และธนาคารแห่งซีลอน ตั้งอยู่ในย่านท่าเรือ หันหน้าสู่มหาสมุทรอินเดีย แผนที่กรุงโคลัมโบ โคลัมโบ (Colombo; කොළඹ; கொழும்பு) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลวงทางการค้าของประเทศศรีลังกา (เมืองหลวงอย่างเป็นทางการของศรีลังกาคือศรีชยวรรธนปุระโกฏเฏ) มีประชากร 642,163 คน (พื้นที่มหานคร: 2,234,289 คน ณ พ.ศ. 2544) มีพิกัดภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ที่ 6°54' เหนือ 79°50' ตะวันออก เชื่อกันว่าชื่อโคลัมโบมาจากชื่อภาษาสิงหลเดิมว่า โกโลนโตฏะ (Kolon thota) ซึ่งแปลว่า "ท่าเรือริมแม่น้ำแกฬณิ" หรือไม่ก็ โกละ-อัมพะ-โตฏะ (Kola-amba-thota) แปลว่า "ท่าเรือที่มีต้นมะม่วง" อิบน์ บะฏูเฏาะฮ์ นักสำรวจชาวโมร็อกโกได้เรียกว่า กะลันปุ (Kalanpu) ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 และต่อมาชาวโปรตุเกสได้เรียกว่า โกลงบู (Colombo).

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและโคลัมโบ · ดูเพิ่มเติม »

ไตรลักษณ์

ตรลักษณ์ เป็นธรรมะที่ทำให้เป็นพระอริยะ (อริยกรธรรม) แปลว่า ลักษณะ 3 ประการ หมายถึงสามัญลักษณะ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง อันได้แก่ อนิจจลักษณะ ลักษณะไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ทุกขลักษณะ ลักษณะทนอยู่ตลอดไปไม่ได้ ถูกบีบคั้นด้วยอำนาจของธรรมชาติทำให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป และ อนัตตลักษณะ ลักษณะไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการได้ เช่น ไม่สามารถบังคับให้ชีวิตยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป ไม่สามารถบังคับจิตใจให้เป็นไปตามปรารถนา เป็นต้น.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและไตรลักษณ์ · ดูเพิ่มเติม »

เกาหลี

กาหลี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

เกาะชวา

กาะชวา (อินโดนีเซีย: Pulau Jawa, ชวา: Pulo Jawa) เป็นชื่อเดิมของหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง จาการ์ตา เป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดในโลก และมีประชากรมากกว่าทวีปออสเตรเลียและแอนตาร์กติกา (รายชื่อเกาะตามจำนวนประชากร) มีเนื้อที่ 132,000 ตารางกิโลเมตร ประชากร 127 ล้านคน และมีความหนาแน่นประชากร 864 คนต่อกม.² ซึ่งถ้าเกาะชวาเป็นประเทศแล้วจะมี ความหนาแน่นประชากรเป็นปันดับ 2 รองจากประเทศบังคลาเทศ ยกเว้นนครรัฐที่มีขนาดเล็ก หมวดหมู่:เกาะในประเทศอินโดนีเซีย หมวดหมู่:เกาะในมหาสมุทรอินเดีย.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและเกาะชวา · ดูเพิ่มเติม »

เมจิ

มจิ ("สุกใส, รุ่งเรือง ฯลฯ";, "การปกครอง, รัชกาล, รัฐบาล ฯลฯ") อาจหมายถึง.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและเมจิ · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เยรูซาเลม

รูซาเลม (Jerusalem), เยรูชาลายิม (יְרוּשָׁלַיִם) หรือ อัลกุดส์ (القُدس) เป็นเมืองในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่บนที่ราบของภูเขายูดาห์ ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลเดดซี เยรูซาเลมเป็นเมืองที่พระยาห์เวห์ทรงเลือกสรรไว้ให้เป็นป้อมแห่งความเชื่อถึงพระเป็นเจ้าแต่เพียงองค์เดียว ประเทศอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ต่างอ้างสิทธิเหนือเยรูซาเลมว่าเป็นเมืองหลวงของตน อย่างไรก็ตาม การกล่าวอ้างของทั้งสองฝ่ายไม่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ เยรูซาเลมถือเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยได้รับการกล่าวถึงในชื่อ "อูรูซาลิมา" ในแผ่นศิลาจารึกของเมโสโปเตเมีย ซึ่งมีความหมายว่า "นครแห่งชาลิม" อันเป็นนามของพระเจ้าในแผ่นดินคานาอันเมื่อราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล และเมื่อมาถึงยุคของวงศ์วานอิสราเอล การก่อร่างสร้างเมืองเยรูซาเลมอย่างจริงจังก็ได้เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 9 ก่อนคริสตกาล (ยุคเหล็กช่วงปลาย) และในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล เยรูซาเลมก็ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองและทางศาสนาของอาณาจักรยูดาห์ ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเยรูซาเลม นครแห่งนี้ได้ถูกทำลายไปอย่างน้อย 2 ครั้ง, ถูกปิดล้อม 23 ครั้ง, ถูกโจมตี 52 ครั้ง, ถูกยึดและเอาคืน 44 ครั้ง According to Eric H. Cline's tally in Jerusalem Besieged.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

เลขาธิการสหประชาชาติ

ลขาธิการสหประชาชาติ เป็นหัวหน้าสำนักเลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลักของสหประชาชาติ โดยตามกฎบัตรสหประชาชาติ การแต่งตั้งเลขาธิการสหประชาชาติจะต้องได้รับมติจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติตามคำแนะนำของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่จะเป็นฝ่ายเสนอตัวบุคคลที่มารับตำแหน่งนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นตำแหน่งที่มีบทบาทสูงสุดในองค์การสหประชาชาติ เลขาธิการสหประชาชาติจะดำรงตำแหน่งวาระละ 5 ปี โดยจะดำรงตำแหน่งคนละหนึ่งหรือสองสมัย และตามธรรมเนียมแล้ว จะต้องไม่เป็นบุคคลจากประเทศสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคง นอกจากนี้ก็เป็นที่เข้าใจกันว่า บุคคลที่จะมาดำรงตำแหน่งคนต่อไปจะต้องมาจากประเทศนอกทวีปของเลขาธิการคนล่าสุด ผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการแห่งสหประชาชาติคนปัจจุบันคือ อังตอนีอู กูแตรึช อดีตนายกรัฐมนตรีโปรตุเกส โดยเป็นเลขาธิการแห่งสหประชาชาติคนที่ 9.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและเลขาธิการสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจ

รษฐกิจ (economy) นั้น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน." รวมถึงด้านการใช้บริการและการท่องเที่ยวที่มีปัจจัยกระตุ้นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นเครือข่ายจำกัดโดยพื้นที่และเครือข่ายสังคมที่ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการตามอุปสงค์และอุปทานระหว่างผู้มีส่วนโดยการแลกเปลี่ยนหรือสื่อกลางการแลกเปลี่ยนด้วยมูลค่าเครดิตหรือเดบิตที่ยอมรับกันภายในเครือข่าย เศรษฐกิจหนึ่ง ๆ เป็นผลมาจากกระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องทั้งวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี ประวัติศาสตร์และสถาบันสังคม เช่นเดียวกับภูมิศาสตร์ การมีทรัพยากรธรรมชาติ และนิเวศวิทยา เป็นปัจจัยหลัก ปัจจัยเหล่านี้ให้บริบท สาร ตลอดจนจัดสภาพและตัวแปรซึ่งเศรษฐกิจทำงานอยู่ หมวดหมู่:ระบบเศรษฐกิจ หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

เสาอโศก

อโศก (Pillars of Ashoka; अशोक स्तंभ อโศก สฺตํภ) เป็นเสาหินโบราณที่สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช พระมหาจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เมารยะ ที่ปกครองอนุทวีปอินเดียในช่วงยุคพุทธศตวรรษที่ 4 พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างเสาหินทราย (ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า "เสาอโศก") ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเพื่อระบุสถานที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา เสาหินเหล่านี้สร้างโดยหินทรายจากเมืองจุณนา เมืองทางตอนเหนือของอินเดีย ซึ่งถือได้ว่ามีคุณภาพดีที่สุดในสมัยนั้น โดยเสาทุกเสาจะมีหัวสิงห์แกะสลักประดิษฐานอยู่ เป็นสัญลักษณ์ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่องอาจดุจราชสีห์ และแผ่ไปไกลดุจเสียงแห่งราชสีห์ โดยตัวเสาจะมีคำจารึกถึงความสำคัญของสถานที่ตั้งเสาหรือประกาศพระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศกมหาราช เสาอโศกที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ที่อารามหลวงแห่งเจ้ามัลละในเมืองเวสาลี เมืองสำคัญในสมัยพุทธกาล แต่เสาอโศกต้นที่ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ เสาอโศกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เป็นเสาที่หักเป็นสี่ท่อน แต่ว่ารูปสลักรูปสิงห์สี่ทิศบนเสายังคงมีสภาพสมบูรณ์ ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้นำรูปสลักที่เสานี้มาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ รูปพระธรรมจักร 24 ซี่ได้นำไปประดิษฐานในธงชาติอินเดีย และข้อความที่จารึกไว้โดยพระเจ้าอโศกว่า "สตฺยเมว ชยเต" (คำแปล: ความจริงชนะทุกสิ่ง) ได้กลายมาเป็นคำขวัญประจำชาติอินเดียในปัจจุบัน เดิมนั้น เสาอโศกมีอยู่ทั่วพระราชอาณาจักรของพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ต่อมาได้ถูกทำลายลงทั้งจากมนุษย์และภัยธรรมชาติ คงเหลือเพียงไม่กี่ต้นเท่านั้นที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ในปัจจุบัน ไฟล์:Asokanpillar1.jpg|หัวเสาพระเจ้าอโศกมหาราช ที่เมืองเวสาลี ไฟล์:AshokaLions.jpg|หัวเสาพระเจ้าอโศกมหาราชที่สารนาถ ไฟล์:Emblem of India.svg|รูปเสาอโศกซึ่งใช้เป็นตราแผ่นดินของอินเดี.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและเสาอโศก · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดวิน อาร์โนลด์

ซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์ (Sir Edwin Arnold) (10 มิถุนายน พ.ศ. 2375 - 24 มีนาคม พ.ศ. 2447) เป็นกวีและนักหนังสือพิมพ์ชาวอังกฤษ เป็นที่รู้จักจากผลงานหนังสือ ประทีปแห่งเอเชีย (The Light of Asia) New York Times, March 25, 1904.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและเอ็ดวิน อาร์โนลด์ · ดูเพิ่มเติม »

เจดีย์ชเวดากอง

ีย์ชเวดากอง (ရွှေတိဂုံစေတီတော်, เฉว่ดะโก่งเส่ดี่ด่อ) ตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเชียงกุตระ เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า โดยคำว่า "ชเว" (ရွှေ) หมายถึง ทอง, "ดากอง" (ဒဂုံ แผลงเป็น တိဂုံ) คือชื่อดั้งเดิมของเมืองย่างกุ้ง เชื่อกันว่าเป็นมหาเจดีย์ที่บรรจุพระเกศาธาตุของพระโคตมพุทธเจ้าจำนวน 8 เส้น ยอดสุดของพระเจดีย์บริเวณลูกแก้วหรือหยาดน้ำข้างประดับด้วยเครื่องประดับต่างๆและเพชร 5,448 เม็ด ชั้นบนสุดมีทับทิม 2,317 เม็ดและเพชรเม็ดใหญ่ 76 กะรัต เพื่อรับลำแสงแรกและลำแสงสุดท้ายของดวงอาทิตย์ ผู้ที่เข้ามานมัสการหรือเยี่ยมชมจะต้องถอดรองเท้าทุกครั้ง.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและเจดีย์ชเวดากอง · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

เทวสถาน

ทวสถาน หรือ เทวาลัย คือศาสนสถานซึ่งก่อสร้างเพื่อเป็นที่สมมุติว่าเป็นที่ประทับของเทพเจ้าหรือเทวดา เทวสถาน ในประเทศไทยหรือประเทศในแถบเอเชียอาคเนย์ มักเป็นโบสถ์พราหมณ์ สิ่งก่อสร้างที่ปรากฏมักเป็นปราสาทหิน ปรางค์ หรือวัดในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เทวสถาน ในต่างประเทศอื่น ๆ จะเป็นศาสนสถานซึ่งก่อสร้างเพื่อบูชาเทพเจ้าตามลัทธิความเชื่อของประเทศเหล่านั้น เช่น วิหารพาร์เธนอน ในประเทศกรีซ สร้างขึ้นเพื่อบูชาและสักการะเทพเจ้ากรีก, วิหารลักซอร์ ในประเทศอียิปต์ สร้างขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้าอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและเทวสถาน · ดูเพิ่มเติม »

เทียน

ทียน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและเทียน · ดูเพิ่มเติม »

เปรียญธรรม

ปรียญธรรม หรือ ประโยค หมายถึงระดับชั้นการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย มี 9 ชั้น 8 ระดับ แบ่งเป็นชั้นประโยค 1-2 (ระดับที่ 1 ใช้เวลาเรียน 1-2 ปี) และระดับเปรียญ (ป.ธ. 3-9) (7 ระดับ) รวม 8 ระดั.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและเปรียญธรรม · ดูเพิ่มเติม »

เปรียญธรรม 3 ประโยค

ัดยศเปรียญธรรม 3 ประโยค เปรียญธรรม 3 ประโยค (ชื่อย่อ ป.ธ.3) เป็นระดับชั้นการศึกษาแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย เรียกพระภิกษุผู้สอบไล่ได้ในชั้นนี้ว่า "พระมหา" และสามเณรว่า "สามเณรเปรียญ" กระทรวงศึกษาธิการเทียบวุฒิผู้สอบได้ในชั้นนี้ให้เทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนต้น คณะสงฆ์ เคยมีการขอให้ปรับวุฒิผู้สอบไล่ได้ชั้นนี้ ให้เทียบเท่าระดับอุดมศึกษา แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากผู้เกี่ยวข้อง แต่เปรียญธรรม 3 ประโยค ก็ยังเป็นที่นับถือกันโดยพฤตินัยในวงการคณะสงฆ์ไทยว่าผู้สอบได้ในชั้นนี้เป็น "ปริญญาตรี" ของฝ่ายคณะสงฆ์ หรือเปรียบได้กับคฤหัสถ์ผู้สอบไล่ได้ปริญญาบัณฑิตของฝ่ายฆราวาส โดยผู้สอบได้ในชั้นนี้จะได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ โปรดฯ ทรงตั้งให้เป็นเปรียญ ได้รับพระราชทานประกาศนียบัตร พัดเปรียญธรรม 3 ประโยค การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในชั้น "เปรียญธรรม 3 ประโยค" นั้น แบ่ง รายวิชาที่สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวงกำหนดให้พระภิกษุสามเณรสอบไล่เพื่อผ่านในชั้นนี้ได้เป็น 4 วิชา คือ วิชาไวยากรณ์, วิชาแปลมคธเป็นไทย, วิชาสัมพันธ์ไทย และวิชาบุร.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและเปรียญธรรม 3 ประโยค · ดูเพิ่มเติม »

เนเปิลส์

นเปิลส์ (Naples), นาโปลี (Napoli) หรือ นาปูเล (เนเปิลส์: Napule) เป็นเมืองหลักของแคว้นคัมปาเนียและจังหวัดเนเปิลส์ในอิตาลี มีชื่อเสียงในด้านความร่ำรวยทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี และศาสตร์การทำอาหาร เป็นเมืองที่มีบทบาทสำคัญในคาบสมุทรอิตาลีมาตลอด 2,800 ปีนับแต่ก่อตั้งเมืองขึ้นมา ตำแหน่งที่ตั้งอยู่ที่ชายฝั่งด้านตะวันตกของอิตาลีติดกับอ่าวเนเปิลส์ กึ่งกลางระหว่างพื้นที่ภูเขาไฟสองแห่ง คือ ภูเขาไฟวิสุเวียสและกัมปีเฟลเกรย์ เนเปิลส์ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 800-900 ปีก่อนคริสตกาล ในฐานะอาณานิคมกรีก จึงจัดว่าเป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แรกเริ่มนั้นมีชื่อว่า Παρθενόπη Parthenope ต่อมาถูกเปลี่ยนชื่อเป็น Νεάπολις Neápolis (เมืองใหม่) จัดเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญในพื้นที่ Magna Graecia โดยมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดวัฒนธรรมกรีกไปสู่สังคมโรมัน ต่อมาได้กลายเป็นศูนย์กลางหลักทางวัฒนธรรมของสาธารณรัฐโรมัน โดยเวอร์จิล กวีภาษาละตินที่มีชื่อเสียง ก็ได้เคยศึกษาวิชาที่เนเปิลส์และต่อมาก็ได้อาศัยอยู่ที่บริเวณชานเมือง ตลอดระยะเวลาในประวัติศาสตร์ เนเปิลส์ได้รับสืบทอดอิทธิพลทางศิลปะและสถาปัตยกรรมจากอารยธรรมต่าง ๆ มากมาย รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เด่นชัดที่สุดที่ยังคงพบได้ในปัจจุบันถือกำเนิดมาจากยุคกลาง สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และสมัยบาโรก ใจกลางเนเปิลส์เป็นศูนย์กลางเมืองทางประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป (1,700 เฮกตาร์ หรือ 17 ตารางกิโลเมตร) และได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเมือง เนเปิลส์เคยมีฐานะเป็นเมืองหลวงของ Duchy และอาณาจักรต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งเคยเป็นเมืองหลวงของ Crown of Aragon และยังเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่สำคัญ (โดยเฉพาะในสมัยของลัทธิมนุษยนิยมเรอเนสซองซ์ และตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ถึง 19) อิทธิพลของเมืองได้แผ่ขยายครอบคลุมพื้นที่หลายส่วนในยุโรปไปจนถึงนอกทวีป และรอบเมืองก็เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญต่าง ๆ (เช่น พระราชวังกาแซร์ตา ปอมเปอี และเฮอร์คิวเลเนียม) ซึ่งล้วนแต่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดต่อเนเปิลส์ในด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ และสถาปัตยกรรม เนเปิลส์เคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรเนเปิลส์ตั้งแต่ พ.ศ. 1825 ถึง พ.ศ. 2349 ต่อมาได้ถูกผนวกอาณาจักรเข้ากับราชอาณาจักรซิซิลี และกลายเป็นเมืองหลวงของ Kingdom of Two Sicilies จนกระทั่งอาณาจักรต่าง ๆ บนคาบสมุทรถูกผนวกรวมเป็นประเทศอิตาลีเมื่อ พ.ศ. 2404 ซึ่งหลังสงคราม Neapolitan ฝ่ายเนเปิลส์ก็ได้สนับสนุนการรวมประเทศนี้อย่างเต็มที่ ภายในอาณาเขตการปกครองของเนเปิลส์มีประชากรประมาณ 1 ล้านคน แต่จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ระบุว่าเขตมหานครของเนเปิลส์มีประชากรมากเป็นอันดับสอง (รองจากมหานครมิลาน ซึ่ง Svimez Data ระบุว่ามีผู้อยู่อาศัย 4,434,136 คน ขณะที่สถาบัน Censis ระบุว่ามี 4,996,084 คน)) หรือสาม (ตามข้อมูลขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา มีผู้อยู่อาศัย 3.1 ล้านคน) ของอิตาลี นอกจากนี้ยังเป็นมหานครที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดในอิตาลี เนเปิลส์ถูกจัดให้เป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งมากเป็นอันดับสี่ในอิตาลี รองจากมิลาน โรม และตูริน และถูกจัดให้เป็นเมืองที่ร่ำรวยเป็นอันดับที่ 91 ของโลกโดยวัดจากกำลังซื้อของประชากร และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมอยู่ที่ 43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเหนือกว่าเศรษฐกิจของบูดาเปสต์และซูริก ท่าเรือเนเปิลส์เป็นท่าเรือที่มีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป (มีผู้โดยสารคับคั่งมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากท่าเรือฮ่องกง) เมื่อไม่นานมานี้เศรษฐกิจของเนเปิลส์ได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และอัตราการว่างงานของประชากรในเมืองและบริเวณโดยรอบก็ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2542 กระนั้นก็ยังคงเต็มไปด้วยการทุจริตทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นแหล่งตลาดมืดที่เฟื่องฟู ในตัวเมืองเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทขนาดใหญ่สัญชาติอิตาลีหลายแห่ง เช่น MSC-Cruises และเป็นที่ตั้งของ Center Rai of Naples (สื่อ) มาตั้งแต่ พ.ศ. 2501 ขณะที่ในเขตบัญโญลีเป็นที่ตั้งของสำนักงานขนาดใหญ่ขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ และยังมี SRM institution for economic research และบริษัทและศูนย์การศึกษา OPE ที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองเช่นกัน เนเปิลส์เป็นสมาชิกเต็มของเครือข่าย Eurocities นอกจากนี้ ยังได้รับเลือกให้เป็นศูนย์กลางของ Acp/Ue และได้รับการยกย่องจาก Creative Cities Network ในสังกัดขององค์การยูเนสโกให้เป็นเมืองแห่งวรรณกรรม ในเขตโปซิลลีโปของเมืองเป็นที่ตั้งของ Vill Rosebery ซึ่งเป็นที่พำนักอย่างเป็นทางการหนึ่งในสามแห่งของประธานาธิบดีอิตาลี ในศตวรรษที่ 20 เนเปิลส์ตกอยู่ภายใต้การปกครองของลัทธิฟาสซิสต์ และในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองก็เป็นเมืองที่ถูกทิ้งระเบิดมากที่สุดในอิตาลี ภายหลังสงครามสงบได้มีการบูรณะเมืองซึ่งได้ขยายตัวเมืองออกไปยังพื้นที่รอบนอก ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้ ได้มีการสร้างย่านธุรกิจ (เชนโตรดีเรซีโอนาเล) ที่มีอาคารระฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานแบบ TGV ในโรม รวมถึงการขยายเส้นทางรถไฟใต้ดินที่จะครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่งของภูมิภาค และเนเปิลส์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม International Astronautical Congress ใน พ.ศ. 2555 และ Universal Forum of Cultures ใน พ.ศ. 2556 เนเปิลส์เป็นเมืองที่เริ่มมีการทำพิซซาขึ้นเป็นครั้งแรก โดยในขณะนั้นจะใช้การทอดก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นการอบในภายหลัง นอกจากนี้วัฒนธรรม Neapolitan ยังมีอิทธิพลด้านดนตรีอย่างแพร่หลาย อย่างเช่นการประดิษฐ์ Romantic guitar และแมนโดลิน รวมทั้งอุปรากรและเพลงท้องถิ่น บุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ของเนเปิลส์คือนักบุญ Januarius ผู้ปกป้องคุ้มครองเมือง ส่วนตัวละครจากเรื่องแต่งที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์คือ พูลชิเนลลา และไซเรน สิ่งมีชีวิตจากมหากาพย์โอดิสซีของกรีก.

ใหม่!!: วันวิสาขบูชาและเนเปิลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Vesakวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6วิสาขะวิสาขบูชาไวศากข์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »