โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วันขึ้นปีใหม่

ดัชนี วันขึ้นปีใหม่

วันขึ้นปีใหม่ เป็นเวลาที่ปฏิทินปีใหม่เริ่มต้นและนับปีปฏิทินเพิ่มขึ้นหนึ่งปี วันขึ้นปีใหม่ในปฏิทินเกรโกเรียนที่ใช้กันทั่วโลกปัจจุบัน ตรงกับวันที่ 1 มกราคม อนึ่ง เทศกาลปีใหม่ อาจหมายถึงวันที่นับจากวันหยุดวันแรกในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคมปีก่อน จนถึงวันหยุดสุดท้ายในสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม สำหรับชาวคริสต์จะหยุดตั้งแต่คริสต์มาสไปจนถึงวันขึ้นปีใหม่ รวม 8 วัน.

19 ความสัมพันธ์: พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมุฮัรรอมราศีเมษวิษุวัตสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13สงกรานต์ดวงจันทร์คริสต์มาสตรุษญวนตรุษญี่ปุ่นตรุษจีนตรุษไทยปฏิทินฮิจเราะห์ปฏิทินจันทรคติไทยปฏิทินเกรโกเรียนปีปีอธิกสุรทินเดือน1 มกราคม

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (20 กันยายน พ.ศ. 2396 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สยาม รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: วันขึ้นปีใหม่และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว · ดูเพิ่มเติม »

มุฮัรรอม

มุฮัรรอม (محرم) หรือที่คนไทยบางคนรู้จักกันในนาม "มะหะหร่ำ" เป็นเดือนแรกของปฏิทินฮิจญ์เราะฮ์หรือปฏิทินอิสลาม เป็นเดือนที่มุสลิมชีอะฮ์ไว้อาลัยต่ออิมามฮุเซน หลานตาศาสนทูตมุฮัมมัด ตั้งแต่วันที่ 1 จนถึงวันที่ 10 หรือที่เรียกว่าวันอาชูรออ์ มุสลิมในประเทศไทยและมาเลเซียจะร่วมกันทำขนมบูโบซูรอ หรือที่ชาวชีอะฮ์ในไทยเรียกว่า "หะยีส่า".

ใหม่!!: วันขึ้นปีใหม่และมุฮัรรอม · ดูเพิ่มเติม »

ราศีเมษ

ราศีเมษ (Aries จากaries แปลว่า "แกะตัวผู้") เป็นราศีแรกตามตำราของโหราศาสตร์ตะวันตก อยู่ระหว่างราศีมีนกับราศีพฤษภ มีสัญลักษณ์เป็นแกะตัวผู้ ช่วงวันที่ครอบคลุมของราศีเมษนั้น ในแบบสายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 21 มีนาคม ถึง 20 เมษายน ส่วนแบบนิรายนะจะครอบคลุมระหว่างวันที่ 15 เมษายน ถึง 15 พฤษภาคม.

ใหม่!!: วันขึ้นปีใหม่และราศีเมษ · ดูเพิ่มเติม »

วิษุวัต

ทิศทางของแสงอาทิตย์ที่ส่องถูกโลกในวันวิษุวัต ซึ่งเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง (ภาพไม่แสดงความเข้มน้อยของแสงสลัวเวลาเช้ามืดและหัวค่ำ) วิษุวัต (equinox) หรือ จุดราตรีเสมอภาค เป็นศัพท์ดาราศาสตร์ หมายถึงช่วงที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตรงได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง หรือในหนึ่งรอบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ความเอียงของแกนโลกจะเลื่อนมาอยู่ในระนาบที่ได้ฉากกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ ซึ่งวันนั้นกลางวันจะเท่ากับกลางคืน.

ใหม่!!: วันขึ้นปีใหม่และวิษุวัต · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13

มเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 สมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 (อังกฤษ: Gregory XIII) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1572 ถึง ค.ศ. 1585 เกิดเมื่อ 7 มกราคม..

ใหม่!!: วันขึ้นปีใหม่และสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 13 · ดูเพิ่มเติม »

สงกรานต์

ำหรับ สงกรานต์ ความหมายอื่น ดูที่: สงกรานต์ (แก้ความกำกวม) สงกรานต์ (សង្រ្កាន្ត; သင်္ကြန်; ສົງການ; 泼水节) เป็นประเพณีของประเทศไทย กัมพูชา ลาว พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไทแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สันนิษฐานว่า สงกรานต์ได้รับอิทธิพลมาจากเทศกาลโฮลี (होली) ในอินเดีย แต่เทศกาลโฮลีจะใช้การสาดสีแทน เริ่มในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 4 คือ ในเดือนมีนาคม สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึง "การเคลื่อนย้าย" ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี คือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สงกรานต์สืบทอดมาแต่โบราณคู่กับตรุษ จึงเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึง ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เดิมวันที่จัดเทศกาลกำหนดโดยการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่ปัจจุบันระบุแน่นอนว่า 13 ถึง 15 เมษายน วันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นวันเริ่มปีปฏิทินของไทยจนถึง..

ใหม่!!: วันขึ้นปีใหม่และสงกรานต์ · ดูเพิ่มเติม »

ดวงจันทร์

วงจันทร์เป็นวัตถุดาราศาสตร์ที่โคจรรอบโลก เป็นดาวบริวารถาวรดวงเดียวของโลก เป็นดาวบริวารใหญ่ที่สุดอันดับที่ 5 ในระบบสุริยะ และเป็นดาวบริวารขนาดใหญ่สุดเมื่อเทียบกับกขนาดของดาวเคราะห์ที่โคจร ดวงจันทร์เป็นดาวบริวารที่มีความหนาแน่นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 รองจากไอโอของดาวพฤหัสบดี ซึ่งบางส่วนไม่ทราบความหนาแน่น คาดว่าดวงจันทร์ก่อกำเนิดประมาณ 4.51 พันล้านปีก่อน ไม่นานหลังจากโลก คำอธิบายที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางที่สุดคือดวงจันทร์ก่อกำเนิดจากเศษที่เหลือจากการชนขนาดยักษ์ระหว่างโลกกับเทห์ขนาดประมาณดาวอังคารชื่อเธียอา ดวงจันทร์หมุนรอบโลกแบบประสานเวลา จะหันด้านเดียวเข้าหาโลกเสมอคือด้านใกล้ที่มีลักษณะเป็นทะเลภูเขาไฟมืด ๆ ซึ่งเติมที่ว่างระหว่างที่สูงเปลือกโบราณสว่างและหลุมอุกกาบาตที่เห็นได้ชัดเจน เมื่อสังเกตจากโลก เป็นเทห์ฟ้าที่เห็นได้เป็นประจำสว่างที่สุดอันดับสองในท้องฟ้าของโลกรองจากดวงอาทิตย์ พื้นผิวแท้จริงแล้วมืด แม้เทียบกับท้องฟ้าราตรีแล้วจะดูสว่างมาก โดยมีการสะท้อนสูงกว่าแอสฟอลต์เสื่อมเล็กน้อย อิทธิพลความโน้มถ่วงของดวงจันทร์ทำให้เกิดน้ำขึ้นลงมหาสมุทร และทำให้หนึ่งวันยาวขึ้นเล็กน้อย มีระยะห่างจากโลกเฉลี่ยนับจากศูนย์กลางถึงศูนย์กลางประมาณ 384,403 กิโลเมตร เทียบเท่ากับ 30 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก จุดศูนย์กลางมวลร่วมของระบบตั้งอยู่ที่ตำแหน่ง 1700 กิโลเมตรใต้ผิวโลก หรือประมาณ 1 ใน 4 ของรัศมีของโลก ดวงจันทร์โคจรรอบโลกในเวลาประมาณ 27.3 วันตัวเลขอย่างละเอียดคือ คาบโคจรแท้จริงเฉลี่ยของดวงจันทร์ (sideral orbit) คือ 27.321661 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 11.5วินาที) และคาบโคจรเฉลี่ยแบบทรอปิคัล (tropical orbit) อยู่ที่ 27.321582 วัน (27 วัน 7 ชั่วโมง 43 นาที 4.7 วินาที) (Explanatory Supplement to the Astronomical Ephemeris, 1961, at p.107).

ใหม่!!: วันขึ้นปีใหม่และดวงจันทร์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์มาส

ริสต์มาส (Christmas; Crīstesmæsse, หมายถึง "พิธีมิสซาของพระคริสต์") หรือ วันสมโภชพระสมภพ (Feast of the Nativity) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู, The Catholic Encyclopedia, 1913.

ใหม่!!: วันขึ้นปีใหม่และคริสต์มาส · ดูเพิ่มเติม »

ตรุษญวน

นนที่นครโฮจิมินห์ในเทศกาลตรุษญวน ประเพณีตรุษญวน หรือปีใหม่ของชาวเวียดนาม มีลักษณะเหมือนกับประเพณีตรุษจีนของชาวจีน ในอดีตสมัยที่เวียดนามตกเป็นเมืองขึ้นของจีนนานนับพันปี วัฒนธรรมทางความเชื่อและการดำรงชีวิตตลอดจนภาษาต่างก็ได้รับอิทธิพลจากจีนทั้งสิ้น ปฏิทินทางจันทรคติของเวียดนามจะตรงกับปฏิทินทางจันทรคติของจีน ดังนั้นวันตรุษญวนหรือวันขั้นปีใหม่เวียดนามจะตรงกับวันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติ หรือตรงกับวันตรุษจีนนั่นเอง ตรุษญวนในภาษาเวียดนามเรียกว่า เต๊ตเงวียนด๊าน (Tết Nguyên Đán) แปลว่าเทศกาลต้อนรับแสงรุ่งอรุณของปีใหม่ ในการเฉลิมฉลองเทศการตรุษญวนจะเริ่มขึ้นในวันที่ 23 เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติของเวียดนาม (เจ็ดวันก่อนตรุษญวน) วันนี้จะมีการไหว้เทพเจ้าแห่งเตาไฟ ในภาษาเวียดนามเรียกว่า องต๊าว (Ông Táo) หรือ ต๊าวเกวิน (Táo Quân) เทพเจ้าเตาเป็นเทพเจ้าที่คอยสอดส่องดูแลความเป็นไปทุกอย่างภายในบ้าน เทพเจ้าเตาของเวียดนามมีสามองค์ ซึ่งแตกต่างกับของจีน พอถึงวันที่ 23 เดือน 12 จะมีการเซ่นไหว้เทพเจ้าโดยวัตถุประสงค์คือเพื่อส่งเทพเจ้าขึ้นสวรรค์ ในพิธีจะมีการไหว้ปลาคร๊าฟ ซึ่งเทพเจ้าจะขึ้นสวรรค์โดยขี่ปลาคร๊าฟนี้ พอไหว้เสร็จก็จะนำปลาคร๊าฟไปปล่อยในแม่น้ำหรือหนองน้ำเพราะเชื่อว่าปลาคร๊าฟจะแปลงกลายเป็นมังกรพาเทพเจ้าขึ้นสู่สวรรค์ หลังจากนั้นจะมีการทำความสะอาดบ้านเรือนประดับตกแต่งสวยงานเพื่อต้อนรับเทศกาลตรุษญวนที่จะมาถึง หลังจากไหว้เทพเจ้าเตาในวันที่ 23 เดือน 12 แล้ว พอถึงวันที่ 30 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติของเวียดนาม (ก่อนตรุษจีนหนึ่งวัน) จะมีการไหว้บรรพบุรุษเพื่อเชิญบรรพบุรุษกลับมาร่วมเฉลิมฉลองในเทศกาลตรุษญวน โดยญาติพี่น้องทุกคนที่อยู่ไกลบ้านจะต้องกลับมาเพื่อรวมกันพร้อมหน้าพร้อมตาในวันปีใหม่ การไหว้บรรพบุรุษจะเริ่มขึ้นในช่วงบ่าย การไหว้มีสองแบบคือ.

ใหม่!!: วันขึ้นปีใหม่และตรุษญวน · ดูเพิ่มเติม »

ตรุษญี่ปุ่น

มะสึ ตรุษญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในเทศกาลประจำปีที่สำคัญที่สุด ด้วยประเพณีอันเป็นเอกลักษณ์ และมีการเฉลิมฉลองมาหลายศตวรรษแล้ว เนื่องจากความสำคัญของวันหยุดและการเตรียมการที่ต้องมี วันก่อนหน้าตรุษญี่ปุ่นจึงค่อนข้างยุ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วันก่อนวันตรุษ ซึ่งรู้จักกันว่า โอมิโซกะ ตรุษญี่ปุ่นมีการเฉลิมฉลองตั้งแต..

ใหม่!!: วันขึ้นปีใหม่และตรุษญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ตรุษจีน

pinoy301770 ตรุษจีน เป็นวันหยุดตามประเพณีของจีนที่สำคัญที่สุด ในประเทศจีน ยังมีอีกชื่อหนึ่งว่า "เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ" เพราะฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทินจีนเริ่มต้นด้วยวันลีชุน ซึ่งเป็นวันแรกในทางสุริยคติของปีปฏิทินจีน วันดังกล่าวยังเป็นวันสิ้นสุดฤดูหนาว ซึ่งคล้ายกันกับงานเทศกาลของตะวันตก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 (正月) ในปฏิทินจีนโบราณและสิ้นสุดลงในวันที่ 15 ด้วยเทศกาลโคมไฟ คืนก่อนตรุษจีนเป็นวันซึ่งครอบครัวจีนมารวมญาติเพื่อรับประทานอาหารเย็นเป็นประจำทุกปี ซึ่งเรียกว่า ฉูซี่ (除夕) หรือ "การผลัดเปลี่ยนยามค่ำคืน" เนื่องจากปฏิทินจีนเป็นแบบสุริยจันทรคติ ตรุษจีนจึงมักเรียกว่า "วันขึ้นปีใหม่จันทรคติ" ตรุษจีนเป็นงานเฉลิมฉลองที่ยาวที่สุดและสำคัญที่สุดในปฏิทินจีน จุดกำเนิดของตรุษจีนนั้นมีประวัติหลายศตวรรษและมีความสำคัญเพราะตำนานและประเพณีหลายอย่าง ตรุษจีนมีการเฉลิมฉลองกันในหลายประเทศและดินแดนซึ่งมีประชากรจีนอาศัยอยู่มาก อย่างเช่น จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง อินโดนีเซีย มาเก๊า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย รวมทั้งในชุมชนชาวจีนที่อื่น ตรุษจีนถูกมองว่าเป็นวันหยุดสำคัญสำหรับชาวจีนและได้มีอิทธิพลต่อการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่จันทรคติของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งรวมทั้งเกาหลี (โซลนาล) ภูฏาน และเวียดนาม ในประเทศจีน ธรรมเนียมและประเพณีท้องถิ่นเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองตรุษจีนนั้นหลากหลายมาก ประชาชนจะเทเงินของตนเพื่อซื้อของขวัญ ของประดับตกแต่ง วัสดุ อาหารและเครื่องนุ่งห่ม นอกจากนี้ยังมีประเพณีว่า ทุกครอบครัวจะทำความสะอาดบ้านอย่างละเอียดลออ เพื่อปัดกวาดโชคร้ายด้วยหวังว่าจะเปิดทางให้โชคดีเข้ามา มีการประดับหน้าต่างและประตูด้วยกระดาษตัดสีแดงและคู่กับธีม "โชคดี", "ความสุข", "ความมั่งคั่ง" และ "ชีวิตยืนยาว" ที่ได้รับความนิยม ในคืนก่อนตรุษจีน อาหารค่ำเป็นการกินเลี้ยงกับครอบครัว อาหารนั้นจะมีเช่น หมู เป็ด ไก่และอาหารอย่างดี (delicacies) รสหวาน ครอบครัวจะปิดท้ายค่ำคืนด้วยประทัด เช้าวันรุ่งขึ้น เด็กจะทักทายบิดามารดาของตนโดยอวยพรพวกท่านให้มีสุขภาพดีและสวัสดีปีใหม่ และได้รับเงินอั่งเปา ประเพณีตรุษจีนนั้นเพื่อการสมานฉันท์ ลืมความบาดหมางและปรารถนาสันติและความสุขแก่ทุกคนอย่างจริงใจ แม้ปฏิทินจีนแต่โบราณไม่ใช้ปีตัวเลขต่อเนื่องกัน นอกประเทศจีน ปีจีนจึงมักนับเลขนับแต่รัชสมัยจักรพรรดิเหลือง แต่เนื่องจากมีการกำหนดให้อย่างน้อยสามปีเป็นเลข 1 ที่นักวิชาการใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน จึงทำให้ปี..

ใหม่!!: วันขึ้นปีใหม่และตรุษจีน · ดูเพิ่มเติม »

ตรุษไทย

ตรุษไทย เป็นวันสิ้นปีของไทยแต่โบราณ จึงนิยมบำเพ็ญกุศลเพื่ออุทิศให้แก่ผู้ล่วงลับและเพื่อเป็นมงคลแก่ตนในโอกาสขึ้นปีใหม่ ตรุษไทย เป็นวันเปลี่ยนปีนักษัตรตามหลักโหราศาสตร์ไทย โดยคำว่าตรุษนั้น เป็นภาษาทมิฬ แปลว่าตัด หรือการสิ้นไป วันตรุษจึงถือเป็นวันสิ้นปีของคนไทยมาแต่โบราณ โดยประเพณีนี้สืบทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยคู่กับประเพณีสงกรานต์ จึงมักเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ โดยประเพณีตรุษไทย มีกำหนดคือ วันแรม 14-15 ค่ำ เดือน 4 ถือว่าเป็นวันสิ้นปี และวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทย ทั้งนี้คนไทยแต่โบราณเชื่อว่าในวันนี้ประตูนรกและสวรรค์จะเปิดให้บรรพบุรุษออกมารับส่วนบุญได้ จึงมีการจัดกิจกรรมทำบุญตักบาตร เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับในวันดังกล่าว....

ใหม่!!: วันขึ้นปีใหม่และตรุษไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินฮิจเราะห์

ปฏิทินฮิจเราะห์ หรือ ปฏิทินอิสลาม หรือ ปฏิทินมุสลิม (อังกฤษ: Islamic calendar) เป็นระบบปฏิทินจันทรคติ ซึ่งประกอบด้วย 12 เดือนทางจันทรคติ ซึ่งในหนึ่งปีจะมี 354 หรือ 355 วัน ใช้กำหนดวันเหตุการณ์ในหลายประเทศมุสลิม (ควบคู่ไปกับปฏิทินเกรโกเรียน) และใช้โดยมุสลิมทั่วโลกเพื่อกำหนดวันที่เหมาะสมในการเฉลิมฉลองวันสำคัญและเทศกาลในศาสนาอิสลาม ปฏิทินฮิจเราะห์เริ่มนับเมื่อศาสดาแห่งอิสลาม นบีมุฮัมมัดอพยพจากมักกะฮ์ไปยังมะดีนะฮ์ หรือที่รู้จักกันว่า hijra, hijrah ในภาษาอังกฤษ ฮิจเราะห์ศักราชจะถูกระบุโดยใช้ตัวย่อ H หรือ AH อันเป็นตัวย่อของวลีภาษาละติน anno Hegirae (ในปีแห่งฮิจเราะห์) ปัจจุบันอยู่ในฮิจเราะห์ศักราช เนื่องจากปฏิทินฮิจเราะห์เป็นปฏิทินจันทรคติ จึงไม่เกิดขึ้นพร้อมกับฤดูกาล โดยในแต่ละปีมีวันคาดเคลื่อนไปจากปฏิทินเกรโกเรียนอยู่ 11 หรือ 12 วัน ทำให้ฤดูกาลจะกลับมาซ้ำเดิมทุก 33 ปีอิสลาม.

ใหม่!!: วันขึ้นปีใหม่และปฏิทินฮิจเราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินจันทรคติไทย

ปฏิทินจันทรคติไทย (อังกฤษ: Thai lunar calendar) คือ ปฏิทินที่นับตามคติการโคจรของดวงจันทร์ โดยหมายดูจากปรากฏการณ์ข้างขึ้นข้างแรม สำหรับปฏิทินจันทรคติ ของไทย จะมีด้วยกัน 2 แบบ ดังนี้.

ใหม่!!: วันขึ้นปีใหม่และปฏิทินจันทรคติไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิทินเกรโกเรียน

ปฏิทินเกรโกเรียน (Gregorian Calendar) เป็นปฏิทินที่ดัดแปลงมาจากปฏิทินจูเลียน ใช้กันแพร่หลายในประเทศตะวันตก ประกาศใช้ครั้งแรกโดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรโกรีที่ 13 เมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2125 (ค.ศ. 1582) เหตุที่มีการคิดค้นปฏิทินเกรกอเรียนขึ้นใช้แทน เนื่องจากปีในปฏิทินจูเลียน ซึ่งยาวนาน 365.25 วันนั้น มีนานกว่าปีฤดูกาลจริง (365.2425 วัน) อยู่เล็กน้อย ทำให้วันวสันตวิษุวัตของแต่ละปี ขยับเร็วขึ้นทีละน้อย เพื่อที่จะให้วันอีสเตอร์ตรงกับวันที่ 21 มีนาคม (วันวสันตวิษุวัต) จึงจำเป็นต้องปฏิรูปปฏิทิน เนื่องจากสมเด็จพระสันตะปาปาทรงปรับปรุงปฏิทินโดยมีผลย้อนหลัง กำหนดให้ถัดจากวันที่ 4 ตุลาคม..

ใหม่!!: วันขึ้นปีใหม่และปฏิทินเกรโกเรียน · ดูเพิ่มเติม »

ปี

ปี หมายถึง ช่วงเวลาที่ดาวเคราะห์แต่ละดวงโคจรรอบดาวฤกษ์ เช่นการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์แต่ละดวงจะมีระยะเวลาของปีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับความเร็วในการโคจรของดาวเคราะห์และความยาววงโคจรของดาวเคราะห.

ใหม่!!: วันขึ้นปีใหม่และปี · ดูเพิ่มเติม »

ปีอธิกสุรทิน

ปีอธิกสุรทิน (leap year) เป็นปีที่มีการเพิ่มหนึ่งวัน (หรือหนึ่งเดือนในกรณีของปฏิทินสุริยจันทรคติ) เพื่อให้ปีปฏิทินสอดคล้องกับปีดาราศาสตร์หรือปีฤดูกาล เพราะฤดูกาลและเหตุการณ์ทางดาราศาสตร์มิได้เกิดซ้ำในจำนวนเต็มวัน ปฏิทินซึ่งมีจำนวนวันในแต่ละปีเท่าเดิมจึงต้องเลื่อนให้ตรงกับเหตุการณ์ที่ปฏิทินควรจะติดตามเมื่อเวลาผ่านไป โดยการแทรกวันหรือเดือนเพิ่มเข้าไปในปีนั้น การเลื่อนจึงสามารถทำให้ถูกต้องได้ ปีที่มิใช่ปีอธิกสุรทิน เรียกว่า ปีปกติสุรทิน (common year) ตัวอย่างเช่น ในปฏิทินเกรโกเรียน (ปฏิทินสุริยคติสามัญ) เดือนกุมภาพันธ์ในปีอธิกสุรทินมี 29 วัน แทนที่จะมี 28 วันตามปกติ ดังนั้น ปีดังกล่าวจึงมี 366 วัน แทนที่จะมี 365 วันตามปกติ คล้ายกัน ในปฏิทินฮีบรู (ปฏิทินสุริยจันทรคติ) เดือนจันทรคติที่ 13 มีการเพิ่มเจ็ดครั้งทุก 19 ปี เข้าไปในเดือนจันทรคติสิบสองเดือนในปีปกติสุรทินเพื่อให้ปีปฏิทินไม่คาดเคลื่อนจากฤดูกาลเร็วเกินไป.

ใหม่!!: วันขึ้นปีใหม่และปีอธิกสุรทิน · ดูเพิ่มเติม »

เดือน

ือน คือชื่อเรียกดวงจันทร์ เช่นเดือนหงาย หรือเดือนดับ หรือเป็นหน่วยวัดระยะเวลา เท่ากับระยะเวลาที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก ซึ่งมีระยะประมาณ 29.53 วัน โดยปกติ หนึ่งเดือน หมายถึงช่วงเวลาประมาณ 30 วัน เดือนมีวิธีการนับต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: วันขึ้นปีใหม่และเดือน · ดูเพิ่มเติม »

1 มกราคม

วันที่ 1 มกราคม เป็นวันแรกของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 364 วันในปีนั้น (365 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: วันขึ้นปีใหม่และ1 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

วันปีใหม่เทศกาลปีใหม่

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »