โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วัตถุพ้นดาวเนปจูน

ดัชนี วัตถุพ้นดาวเนปจูน

แสดงวัตถุพ้นดาวเนปจูนขนาดใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักแล้วในปัจจุบัน วัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object; TNO) คือวัตถุในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ในระยะที่ไกลกว่าวงโคจรเฉลี่ยของดาวเนปจูน สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ แถบไคเปอร์ แถบจานกระจาย และเมฆออร์ต วัตถุพ้นดาวเนปจูนชิ้นแรกที่มีการค้นพบ คือ ดาวพลูโต เมื่อปี..

11 ความสัมพันธ์: ระบบสุริยะอุกกาบาตดวงอาทิตย์ดาวพลูโตดาวอีริสดาวเนปจูนแถบหินกระจายแถบไคเปอร์แครอน (ดาวบริวาร)เมฆออร์ต15760 อัลเบียน

ระบบสุริยะ

ระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 166 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน นับถึงกลางปี ค.ศ. 2008 วัตถุขนาดย่อมกว่าดาวเคราะห์จำนวน 5 ดวง ได้รับการจัดระดับให้เป็นดาวเคราะห์แคระ ได้แก่ ซีรีสในแถบดาวเคราะห์น้อย กับวัตถุอีก 4 ดวงที่โคจรรอบดวงอาทิตย์อยู่ในย่านพ้นดาวเนปจูน คือ ดาวพลูโต (ซึ่งเดิมเคยถูกจัดระดับไว้เป็นดาวเคราะห์) เฮาเมอา มาคีมาคี และ อีรีส มีดาวเคราะห์ 6 ดวงและดาวเคราะห์แคระ 3 ดวงที่มีดาวบริวารโคจรอยู่รอบ ๆ เราเรียกดาวบริวารเหล่านี้ว่า "ดวงจันทร์" ตามอย่างดวงจันทร์ของโลก นอกจากนี้ดาวเคราะห์ชั้นนอกยังมีวงแหวนดาวเคราะห์อยู่รอบตัวอันประกอบด้วยเศษฝุ่นและอนุภาคขนาดเล็ก สำหรับคำว่า ระบบดาวเคราะห์ ใช้เมื่อกล่าวถึงระบบดาวโดยทั่วไปที่มีวัตถุต่าง ๆ โคจรรอบดาวฤกษ์ คำว่า "ระบบสุริยะ" ควรใช้เฉพาะกับระบบดาวเคราะห์ที่มีโลกเป็นสมาชิก และไม่ควรเรียกว่า "ระบบสุริยจักรวาล" อย่างที่เรียกกันติดปาก เนื่องจากไม่เกี่ยวข้องกับคำว่า "จักรวาล" ตามนัยที่ใช้ในปัจจุบัน.

ใหม่!!: วัตถุพ้นดาวเนปจูนและระบบสุริยะ · ดูเพิ่มเติม »

อุกกาบาต

อุกกาบาตที่ถูกพบในสหรัฐอเมริกา อุกกาบาต คือ วัตถุในอวกาศ ที่ผ่านชั้นบรรยากาศลงมาสู่โลก ตอนอยู่ในอวกาศจะเรียกว่า สะเก็ดดาวตก พอเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก จะเรียกว่า ดาวตก เราสามารถพบหรือเจออุกกาบาตได้บนดาวเคราะห์ดวงอื่น เช่น ดาวอังคาร เป็นต้น อุกกาบาตเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงประมาณ 40-70 กิโลเมตร/วินาที และเกิดการ compression กับอากาศในชั้นบรรยากาศโลก ทำให้อากาศรอบๆอุกกาบาตมีความดันสูงขึ้นจึงเกิดความร้อนสูงจนลุกไหม้ สะเก็ดอุกกาบาตเล็กจะถูกเผาไหม้จนหมดแต่สำหรับก้อนที่มีขนาดใหญ่นั้นจะไม่ถูกเผาไหม้จนหมดทำให้ตกมายันบนพื้นโลก และเกิดหลุมอุกกาบาต ชนิดของอุกกาบาต ชนิดของอุกกาบาต มีดังนี้.

ใหม่!!: วัตถุพ้นดาวเนปจูนและอุกกาบาต · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: วัตถุพ้นดาวเนปจูนและดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวพลูโต

วพลูโต (Pluto; ดัชนีดาวเคราะห์น้อย: 134340 พลูโต) เป็นดาวเคราะห์แคระในแถบไคเปอร์ วงแหวนของวัตถุพ้นดาวเนปจูน โดยเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ชิ้นแรกที่ถูกค้นพบ มันมีขนาดใหญ่ที่สุดและมีมวลมากที่สุดเป็นอันดับสองในบรรดาดาวเคราะห์แคระที่รู้จักในระบบสุริยะ และยังเป็นวัตถุที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 9 และมวลมากเป็นอันดับที่ 10 ในระบบสุริยะที่โคจรรอบดวงอาทิตย์ ดาวพลูโตเป็นวัตถุแถบไคเปอร์ที่ใหญ่ที่สุดโดยปริมาตร แต่มีมวลน้อยกว่าอีริส ซึ่งเป็นวัตถุในแถบหินกระจาย ดาวพลูโตมีลักษณะเหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ในบริเวณเดียวกัน กล่าวคือ ประกอบไปด้วยหินและน้ำแข็งเป็นส่วนใหญ่ มีมวลและปริมาตรประมาณ 1 ใน 6 และ 1 ใน 3 ของดวงจันทร์ตามลำดับ วงโคจรของดาวพลูโตมีความเยื้องศูนย์กลางมาก อยู่ที่ 30 ถึง 49 หน่วยดาราศาสตร์ (4.4 – 7.4 พันล้านกิโลเมตร) จากดวงอาทิตย์ หมายความว่าเมื่อดาวพลูโตอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด มันจะอยู่ใกล้กว่าวงโคจรของดาวเนปจูนเสียอีก แต่เนื่องด้วยการสั่นพ้องของวงโคจร ทำให้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงไม่สามารถโคจรมาชนกันได้ ในปี..

ใหม่!!: วัตถุพ้นดาวเนปจูนและดาวพลูโต · ดูเพิ่มเติม »

ดาวอีริส

136199 อีริส (Eris) หรือ 2003 UB313 เป็นดาวเคราะห์แคระหนึ่งในวัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object - TNO) เป็นดาวเคราะห์แคระดวงใหญ่ เป็นลำดับที่ 2 ในระบบสุริยะที่ถูกค้นพบในปัจจุบัน มีขนาดเล็กกว่าดาวพลูโตเล็กน้อย มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1445 กิโลเมตร(ขนาดดาวพลูโต 1473 กิโลเมตร) มีดวงจันทร์บริวาร 1 ดวง ชื่อ ดิสโนเมีย (Dysnomia) อีริสถูกค้นพบโดย ไมเคิล อี. บราวน์และคณะ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 2005 จากภาพที่ถ่ายไว้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 2003 ด้วยกล้องโทรทรรศน์ของหอดูดาวพาโลมาร์ รัฐแคลิฟอร์เนีย คณะผู้ค้นพบได้เสนอให้ตั้งชื่อดาวที่พบใหม่นี้ว่า ซีนา (Xena) ตามชื่อของละครโทรทัศน์ Xena: Warrior Princess โดยตัวอักษร X หมายถึง ดาวเคราะห์ X ที่เปอร์ซิวัล โลเวลล์ เคยเสนอไว้ และให้ดวงจันทร์บริวารของมันใช้ชื่อว่า แกเบรียลล์ (Gabrielle) แต่ไม่ได้มีการประกาศใช้ชื่อนี้อย่างเป็นทางการ ภายหลังการค้นพบ คณะผู้ค้นพบและนาซาได้ประกาศว่าอีริสเป็น ดาวเคราะห์ดวงที่ 10 แต่จากการประชุมสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ที่กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ได้ข้อสรุปว่าอีริสไม่จัดเป็นดาวเคราะห์ แต่เป็นดาวเคราะห์แคระ ชื่อ อีริส มาจากชื่อของเทพเจ้าแห่งความวุ่นวาย ผู้วางอุบายโดยใช้แอปเปิลทองคำ เพื่อทำให้เฮรา อาเทนา และอะโฟรไดต์ ซึ่งเป็นสามเทวีพรหมจรรย์ในบรรดาเทพแห่งโอลิมปัสแตกคอกัน เพราะว่าไม่ได้เชิญนางมางานเลี้ยงของเทพ ส่วน ดิสโนเมีย คือชื่อธิดาของอีริส ไฟล์:Animation showing movement of 2003 UB313.gif|ภาพถ่าย 3 ภาพในระยะเวลา 3 ชั่วโมงที่ ไมเคิล อี.

ใหม่!!: วัตถุพ้นดาวเนปจูนและดาวอีริส · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเนปจูน

วเนปจูน (Neptune) มีชื่อไทยว่า ดาวเกตุ เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับสุดท้ายมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่เป็นอันดับที่ 4 รองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และมีมวลเป็นลำดับที่ 3 รองจากดาวพฤหัสและดาวเสาร์ คำว่า "เนปจูน" นั้นตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งท้องทะเลของโรมันเหนือ (กรีก: โปเซดอน) มีสัญลักษณ์เป็น (♆) ดาวเนปจูนมีสีน้ำเงิน เนื่องจากองค์ประกอบหลักของบรรยากาศผิวนอกเป็น ไฮโดรเจน ฮีเลียม และมีเทน บรรยากาศของดาวเนปจูน มีกระแสลมที่รุนแรง (2500 กม/ชม.) อุณหภูมิพื้นผิวอยู่ที่ประมาณ -220℃ (-364 °F) ซึ่งหนาวเย็นมาก เนื่องจาก ดาวเนปจูนอยู่ไกลดวงอาทิตย์มาก แต่แกนกลางภายในของดาวเนปจูน ประกอบด้วยหินและก๊าซร้อน อุณหภูมิประมาณ 7,000℃ (12,632 °F) ซึ่งร้อนกว่าพื้นผิวของดวงอาทิตย์ ยานวอยเอเจอร์ 2 เป็นยานอวกาศจากโลกเพียงลำเดียวเท่านั้น ที่เคยเดินทางไปถึงดาวเนปจูนเมื่อ 25 สิงหาคม..

ใหม่!!: วัตถุพ้นดาวเนปจูนและดาวเนปจูน · ดูเพิ่มเติม »

แถบหินกระจาย

แถบหินกระจาย (scattered disc) คือย่านวัตถุไกลในระบบสุริยะที่มีดาวเคราะห์น้ำแข็งขนาดเล็กกระจัดกระจายอยู่ห่างๆ กัน เรียกชื่อว่า วัตถุในแถบหินกระจาย (scattered disc objects; SDO) ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยอยู่ในบรรดาตระกูลวัตถุพ้นดาวเนปจูน (trans-Neptunian object; TNO) วัตถุในแถบหินกระจายมีค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรสูงสุดถึง 0.8 ความเอียงวงโคจรสูงสุด 40° มีระยะไกลดวงอาทิตย์ที่สุดมากกว่า 30 หน่วยดาราศาสตร์ วงโคจรที่ไกลมากขนาดนี้เชื่อว่าเป็นผลจากแรงโน้มถ่วงที่กระจัดกระจายโดยดาวแก๊สยักษ์ หมวดหมู่:วัตถุพ้นดาวเนปจูน หมวดหมู่:ระบบสุริยะ.

ใหม่!!: วัตถุพ้นดาวเนปจูนและแถบหินกระจาย · ดูเพิ่มเติม »

แถบไคเปอร์

กราฟิกแสดงแถบไคเปอร์ และเมฆออร์ต ภาพแสดงวัตถุพ้นดาวเนปจูนขนาดใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักแล้วในปัจจุบัน ยานนิวฮอไรซันส์ ที่ใช้ในการสำรวจแถบไคเปอร์ และดาวพลูโต แถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) หมายถึง บริเวณที่อยู่เลยวงโคจรของดาวเนปจูนออกไป ที่ด้านนอกระบบสุริยะรอบนอก มีบริเวณกว้าง 3,500 ล้านไมล์ มีก้อนวัตถุแข็ง เป็นน้ำแข็งขนาดเล็กจำนวนมากโคจรรอบดวงอาทิตย์ ลักษณะคล้ายกับแถบดาวเคราะห์น้อย ที่อยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี วัตถุที่อยู่ในแถบไคเปอร์ มีชื่อเรียกว่า วัตถุแถบไคเปอร์ (Kuiper Belt Object - KBO) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า วัตถุพ้นดาวเนปจูน (Trans-Neptunian Object - TNO) ซึ่งมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นน้ำแข็ง เชื่อกันว่าก้อนน้ำแข็งเหล่านี้ เป็นแหล่งกำเนิดของดาวหางคาบสั้น โดยชื่อแถบไคเปอร์นี้ ได้ตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ เจอราร์ด ไคเปอร์ ผู้ค้นพบ เดิมทีวัตถุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่ถูกค้นพบในแถบไคเปอร์ คือ ดาวพลูโต ซึ่งถูกค้นพบเมื่อ..

ใหม่!!: วัตถุพ้นดาวเนปจูนและแถบไคเปอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แครอน (ดาวบริวาร)

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: วัตถุพ้นดาวเนปจูนและแครอน (ดาวบริวาร) · ดูเพิ่มเติม »

เมฆออร์ต

กราฟิกของนาซ่า แสดงเมฆออร์ตและแถบไคเปอร์ ภาพกราฟิกแสดงเมฆออร์ตและแถบไคเปอร์ ภาพเปรียบเทียบความแตกต่างของระยะทางของเมฆออร์ตเปรียบเทียบกับขนาดของระบบสุริยะ เมฆออร์ต (Oort cloud) คือ ชั้นเมฆในอวกาศที่ล้อมรอบระบบสุริยะอยู่เป็นทรงกลม บริเวณเมฆเหล่านี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ออกไปราว 50,000 - 100,000 หน่วยดาราศาสตร์ จากดวงอาทิตย์ ไกลออกไปจากขอบระบบสุริยะรอบนอก ตำแหน่งของเมฆออร์ตอยู่ในระยะความห่าง 1 ใน 4 ของดาวแคระแดงพร็อกซิมาคนครึ่งม้า ในกลุ่มเมฆออร์ตนี้มีวัตถุพ้นดาวเนปจูน อย่างดาวเคราะห์แคระ 90377 เซดนา ที่ถูกค้นพบเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: วัตถุพ้นดาวเนปจูนและเมฆออร์ต · ดูเพิ่มเติม »

15760 อัลเบียน

15760 อัลเบียน (15760 Albion) ชื่อเดิม เป็นวัตถุพ้นดาวเนปจูนแรกที่ถูกค้นพบหลังดาวพลูโตและแครอน โดยถูกค้นพบเมื่อ..​ 2535 โดย ดาวิด ซี. จีวิตต (David C. Jewitt) และ เจน เอ็กซ์. ลู (Jane X. Luu) ณ หอดูดาวเมานาเคอาที่รัฐฮาวาย นับเป็นวัตถุดั้งเดิมที่อยู่ในแถบไคเปอร์ (classical Kuiper belt object) เป็นที่มาของชื่อ cubewano (คิวบิวาโน) สำหรับวัตถุแบบนี้ หลังส่วน "QB1" ของชื่อที่ถูกตั้ง จากการตั้งชื่อ "QB1" ชี้ถึงการเป็นวัตถุอันดับที่ 27 ที่ถูกพบในครึ่งหลังของเดือนสิงหาคมในปีนั้น ณ เดือนมกราคม..

ใหม่!!: วัตถุพ้นดาวเนปจูนและ15760 อัลเบียน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Trans-Neptunian Object

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »