เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์

ดัชนี รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์

รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิต.

สารบัญ

  1. 52 ความสัมพันธ์: วัดวัดชายเขาเหนือวัดชำสองวัดบุพพารามวัดช่องลมวัดพระบรมธาตุวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถวัดพระยืนพุทธบาทยุคลวัดพระแท่นศิลาอาสน์วัดกลางวัดยางโทนวัดราษฎร์สามัคคีวัดวังสะโมวัดวังหมูวัดวังขวัญวัดวังแดงวัดหมอนไม้วัดหาดเสือเต้นวัดหนองปล้องวัดห้วยปลาดุกวัดธรรมาธิปไตยวัดทุ่งเศรษฐีวัดท่าถนน (อุตรดิตถ์)วัดท้ายตลาดวัดดอกไม้วัดดอยท่าเสาวัดดอนแก้ววัดดงสระแก้ววัดคลองโพธิ์วัดคุ้งตะเภาวัดป่ากล้วยวัดป่าสักเรไรวัดน้ำริดใต้วัดน้ำใสวัดแหลมคูณวัดใหญ่ท่าเสาวัดใหม่เจริญธรรมวัดโพธารามมหาวิหารวัดโพธิ์ชัยวัดไผ่ล้อมวัดเกษมจิตตารามวัดเสาหินวัดเจดีย์คีรีวิหารวัดเขาแก้ววัดเด่นกระต่าย (อำเภอเมืองอุตรดิตถ์)อำเภอลับแลอำเภอเมืองอุตรดิตถ์จังหวัดอุตรดิตถ์ตำบลวังดินตำบลท่าอิฐ... ขยายดัชนี (2 มากกว่า) »

วัด

วัด, อาวาส หรือ อาราม คือคำเรียก ศาสนสถานของศาสนาพุทธในประเทศไทย กัมพูชา และลาว เป็นที่อยู่ของภิกษุ และประกอบศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน ภายในวัดมีวิหาร อุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฎิ เมรุ ซึ่งใช้สำหรับประกอบศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ วัดโดยส่วนใหญ่นิยมแบ่งเขตภายในวัดออกเป็นสามส่วนคือ พุทธาวาส สังฆาวาส และสัตวาส โดยส่วนพุทธาวาสจะเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ อุโบสถ สถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ส่วนสังฆาวาส จะเป็นส่วนกุฎิสงฆ์สำหรับภิกษุสามเณรจำพรรษา ส่วนสัตวาสเป็นส่วนที่อนุญาตให้พุทธศาสนิกชนนำสัตว์เลี้ยงมาปล่อยเพื่อให้วัด และพระภิกษุสงฆ์สามเณรได้เลี้ยงดู และในปัจจุบันแทบทุกวัดจะเพิ่มส่วนฌาปนสถานเข้าไปด้วย เพื่อประโยชน์ในด้านการประกอบพิธีทางศาสนาของชุมชน เช่น การฌาปนกิจศพ โดยในอดีตส่วนนี้จะเป็นป่าช้า ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้วัด ตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่กลุ่มฌาปนสถานในวัดพุทธศาสนาในประเทศไทยจะตั้งอยู่บนพื้นที่ ๆ เป็นป่าช้าเดิม.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัด

วัดชายเขาเหนือ

วัดชายเขาเหนือ ชื่อที่ชาวบ้านเรียก วัดชายเขาเหนือ ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 116 ถนนน้ำริด-หัวดง บ้านชายเขา หมู่ที่ 5 ตำบลน้ำริด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ มีฐานะเป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (มีอุโบสถ) สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 4.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดชายเขาเหนือ

วัดชำสอง

วัดชำสอง ชื่อที่ชาวบ้านเรียก วัดชำสอง ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 34/2 บ้านชำสอง หมู่ที่ 6 ตำบลท่าสัก อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ มีฐานะเป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (มีอุโบสถ) สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 4.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดชำสอง

วัดบุพพาราม

วัดบุพพารามมหาวิหาร เป็นพระวิหารที่อยู่ใกล้เคียงกับมหาวิหารเชตวัน ทางใต้ของนครสาวัตถี เมืองหลวงของแคว้นโกศล นางวิสาขามหาอุบาสิกา ผู้เป็นเอตทัคคะในบรรดาทายิกาทั้งปวงเป็นผู้สร้างถวาย โดยขายเครื่องประดับประจำตัวตั้งแต่แต่งงาน เรียกชื่อว่ามหาลดาปสาธน์ เป็นเครื่องอาภรณ์งามวิจิตประกอบด้วยรัตนะ 7 ประการมีค่ามากถึง 90 ล้านกหาปนะ และได้รับยกย่องว่าเป็นของสำหรับผู้มีบุญในสมัยพุทธกาลมีเพียง 3 คน คือ นางวิสาขา พระนางมัลลิกา และลูกเศรษฐี ณ พาราณาสี นางวิสาขานำมาสร้างวัดถวายพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ คือ มิคารมาตุปราสาท วัดบุพพาราม ณ พระนครสาวัตถี โดยมีพระมหาโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้ายเป็นนวกัมมาธฏฐายี พระพุทธองค์เสด็จมาจำพรรษาที่วัดบุพพารามเป็นเวลา 6 พรรษ.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดบุพพาราม

วัดช่องลม

วัดช่องลม อาจหมายถึง.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดช่องลม

วัดพระบรมธาตุ

วัดพระบรมธาตุ อาจหมายถึง.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดพระบรมธาตุ

วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ

วัดพระฝาง หรือชื่อเต็มว่า วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ตั้งอยู่ที่บ้านฝาง หมู่ที่ 3 ต.ผาจุก อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ตามทะเบียนวัดระบุว่า ประมาณปี พ.ศ.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ

วัดพระยืนพุทธบาทยุคล

วัดพระยืนพุทธบาทยุคล หรือ วัดพระยืน ตั้งอยู่ที่บนเนินเขา บ้านพระแท่น หมู่ที่ 6 ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ติดกับวัดพระแท่นศิลาอาสน์ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตก บนเนินเขาลูกเดียวกันแต่คนละยอด วัดพระยืนพุทธบาทยุคลเป็นวัดโบราณร่วมสมัยกับวัดพระแท่นศิลาอาสน์ โดยมีปูชนียสถานที่มีตำนานเรื่องพระพุทธเจ้าเสด็จมาเมืองทุ่งยั้งร่วมกัน ภายในวัดมีศาสนสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญคือ มณฑปศิลปะเชียงแสนครอบรอยพระพุทธบาทประทับยืนทำด้วยศิลาแลง (มณฑปกว้าง 4 เมตร ยาว 49 เมตร) และหลวงพ่อพระพุทธรังสีภายในอุโบสถ เป็นพระประธานปางมารวิชัยสมัยสุโขทัย วัดพระยืนพุทธบาทยุคล มีที่ธรณีสงฆ์ 136 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา วัดแห่งนี้เคยได้รับยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างประจำปี พ.ศ.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดพระยืนพุทธบาทยุคล

วัดพระแท่นศิลาอาสน์

วัดพระแท่นศิลาอาสน์ เดิมชื่อ วัดมหาธาตุ ตั้งอยู่ที่บนเนินเขาเต่า บ้านพระแท่น ตำบลทุ่งยั้ง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ติดกับวัดพระยืนพุทธบาทยุคล ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก บนเนินเขาลูกเดียวกันแต่คนละยอด วัดพระแท่นศิลาอาสน์เป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าผู้ใดสร้าง และสร้างแต่เมื่อใด ในศิลาจารึกครั้งกรุงสุโขทัยไม่ปรากฏข้อความกล่าวถึงพระแท่นศิลาอาสน์ แต่เพิ่งมีปรากฏในหนังสือพระราชพงศาวดาร ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พระองค์ได้เสด็จนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ เมื่อปี พ.ศ.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดพระแท่นศิลาอาสน์

วัดกลาง

วัดกลาง อาจหมายถึง.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดกลาง

วัดยางโทน

วัดยางโทน อาจหมายถึง.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดยางโทน

วัดราษฎร์สามัคคี

วัดราษฎร์สามัคคี เดิมมีชื่อว่า วัดโพธิ์ไทร ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ต.โพนทราย อ.เมือง จ.มุกดาหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย โดยมี เจ้าคุณพระยา มาก่อสร้างวัดในสมัยนั้น ประมาณปี..

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดราษฎร์สามัคคี

วัดวังสะโม

วัดวังสะโม ตั้งอยู่ที่บ้านวังสะโม หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านดารา อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย มีฐานะเป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (มีอุโบสถ) สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 4.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดวังสะโม

วัดวังหมู

วัดวังหมูตั้งอยู่ที่บ้านวังหมู ตำบลหาดกรวด อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นวัดในพระพุทธศาสนาเถรวาท สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ปรากฏหลักฐานการตั้งวัดในปี พ.ศ.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดวังหมู

วัดวังขวัญ

วัดวังขวัญ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ตำบลวังโพรง อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก เป็นวัดราษฏร์มหานิก.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดวังขวัญ

วัดวังแดง

วัดวังแดง ตั้งอยู่เลขที่21 หมู่ที่ 3 ตำบลบ้านหลุม อำเภอเมือง จังหวัด สุโขทัย เป็นวัดในพุทธศาสนาเถรวาท สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดวังแดงมีประวัติการก่อสร้างเมื่อประมาณ ปี..

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดวังแดง

วัดหมอนไม้

วัดหมอนไม้ ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบันเป็นวัดที่จำพรรษาของเจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิก.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดหมอนไม้

วัดหาดเสือเต้น

วัดหาดเสือเต้น ตั้งอยู่ที่ บ้านหาดเสือเต้น หมู่ที่ 6 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดเขตการปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา ตัววัดมีเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 60 ตารางวา ตั้งอยู่กลางหมู่บ้านหาดเสือเต้น ริมถนนทางหลวงจังหวัด หมายเลข 1213 สายป่าขนุน-ห้วยฉลอง.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดหาดเสือเต้น

วัดหนองปล้อง

วัดหนองปล้อง ตั้งอยู่เลขที่ 258 บ้านหนองปล้อง หมู่ที่ 7 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ตัววัดตั้งอยู่บนเนินเขาขนาดย่อม มีชื่อเดิมว่า วัดพุทธสุวรรณหงษ์บรรพต ตัววัดมีความร่มรื่นและเงียบสงบ ห่างไกลจากหมู่บ้าน ตัววัดตั้งอยู่บนเนินเขาเล็ก ๆ สามารถมองเห็นอาณาบริเวณโดยรอบได้ชัดเจน มีบรรยากาศที่สงบเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดหนองปล้อง

วัดห้วยปลาดุก

วัดห้วยปลาดุก สังกัด มหานิกาย คณะสงฆ์ภาค ๑๕ ตั้งอยู่บ้านห้วยปลาดุก เลขที่ ๕๙ หมู่ ๗ ตำบลหินกอง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี รหัสไปรษณีย์ ๗๐๐๐๐ได้รับอนุญาตให้ตั้งเป็นวั..

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดห้วยปลาดุก

วัดธรรมาธิปไตย

วัดธรรมาธิปไตย เดิมชื่อ วัดต้นมะขาม ตั้งอยู่ใกล้สี่แยกจุดตัดถนนอินใจมี กับถนนสำราญรื่น ตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นที่ตั้งอาคารธรรมสภาซึ่งเป็นสถานที่เก็บรักษาบานประตูวิหารวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นประตูไม้แกะสลักที่มีความสวยงามที่สุดในจังหวัดอุตรดิตถ์และสวยงามเป็นที่สองรองจากบานประตูวัดสุทัศนเทพวราราม วัดธรรมาธิปไตยนั้นได้เคยเป็นที่ตั้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์อยู่ระยะหนึ่ง (อาคารธรรมสภาชั้นล่าง) ปัจจุบันเป็นวัดจำพรรษาของเจ้าคณะอำเภอตรอน และเป็นสถานที่จัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาประจำจังหวัดเช่น กิจกรรมอบรมและการประกวดต่าง ๆ ในเทศกาลวันสำคัญทางพระพุทธศาสน.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดธรรมาธิปไตย

วัดทุ่งเศรษฐี

วัดทุ่งเศรษฐี สามารถหมายถึง.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดทุ่งเศรษฐี

วัดท่าถนน (อุตรดิตถ์)

วัดท่าถนน เดิมชื่อ วัดวังเตาหม้อ อยู่ตรงข้ามสถานีรถไฟอุตรดิตถ์ ประดิษฐานหลวงพ่อเพ็ชร พระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์ 1 หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ ในบริเวณวัดมีอาคารศิลปะแบบตะวันตก สร้างเมื่อ พ.ศ.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดท่าถนน (อุตรดิตถ์)

วัดท้ายตลาด

วัดท้ายตลาด อาจหมายถึง.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดท้ายตลาด

วัดดอกไม้

วัดดอกไม้ สามารถหมายถึง.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดดอกไม้

วัดดอยท่าเสา

วัดดอยท่าเสา ตั้งอยู่ที่ บ้านท่าเสา ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลท่าเสา มีฐานะเป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 4 ปัจจุบันวัดดอยท่าเสานับว่าเป็นศูนย์อบรมคุณธรรมจริยธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นที่ตั้งของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลท่าเสา ห้องสมุดธรรมะ ศูนย์อบรมเข้าค่ายพุทธบุตร และศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิต.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดดอยท่าเสา

วัดดอนแก้ว

ประวัติวัดดอนแก้ว https://www.facebook.com/profile.php?id.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดดอนแก้ว

วัดดงสระแก้ว

วัดดงสระแก้ว ตั้งอยู่ที่ ตำบลไผ่ล้อม อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบันเป็นวัดที่จำพรรษาของเจ้าคณะตำบลไผ่ล้อม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย วัดดงสระแก้ว ปัจจุบันเป็นที่รู้จักของชาวจังหวัดอุตรดิตถ์และใกล้เคียง ที่นิยมไปทำพิธีลอดอุโบสถไม้สักทองของวัด และวัดนี้ เคยเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป หลวงพ่ออู่ทอง (ทองคำ) พระพุทธรูปทองคำโบราณองค์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่ถูกโจรกรรมไปเมื่อปี..

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดดงสระแก้ว

วัดคลองโพธิ์

วัดคลองโพธิ์ เป็นพระอารามหลวงแห่งแรกของจังหวัดอุตรดิตถ์ วัดคลองโพธิ์ ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ปัจจุบันวัดคลองโพธิ์เป็นวัดจำพรรษาของเจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ และมีสำนักเรียนพระปริยัติธรรมซึ่งถือได้ว่า เป็นสำนักเรียนของคณะสงฆ์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ มีการศึกษาทั้งแผนกนักธรรม แผนกบาลี โรงเรียนศึกษาผู้ใหญ่ และโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิต.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดคลองโพธิ์

วัดคุ้งตะเภา

วัดคุ้งตะเภา เป็นวัดโบราณในเขตการปกครองของคณะสงฆ์มหานิกาย และเป็น 1 ใน 9 วัดศักดิ์สิทธิ์สำคัญของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านคุ้งตะเภา ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ใกล้กับจุดตัดสี่แยกคุ้งตะเภา บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลขที่ 11 (ถนนสายเอเชีย) วัดคุ้งตะเภา เป็นวัดโบราณมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และได้รับสถาปนาขึ้นใหม่ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อปีขาล โทศก จุลศักราช 1132 อันเป็นปีที่พระองค์เสด็จขึ้นมาปราบปรามชุมนุมเจ้าพระฝางเมืองสวางคบุรี และประทับชำระคณะสงฆ์ จัดการหัวเมืองฝ่ายเหนือใหม่ตลอดฤดูน้ำ ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารกรุงธนบุรี ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งวัดคุ้งตะเภา เป็นเพียงวัดแห่งเดียวในปริมณฑลเมืองพิชัยและสวางคบุรี ที่ปรากฏหลักฐานการสถาปนาวัดในปีนั้น ตำนานวัดเล่าสืบกันมานับร้อยปีว่าสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้คนย้ายกลับมาตั้งครัวเรือน สร้างวัดและศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ ณ ริมคุ้งสำเภา พร้อมทั้งตรัสเรียกชื่อวัดที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ว่า "วัดคุ้งตะเภา" ปัจจุบันทางราชการได้นำชื่อคุ้งตะเภาไปใช้ตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านและชื่อตำบลคุ้งตะเภาสืบมาจนปัจจุบัน วัดแห่งนี้เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา เคยเป็นวัดที่สถิตย์ของพระครูสวางคมุนี เจ้าคณะใหญ่เมืองฝางมาตั้งแต่โบราณ โดยเป็นวัดที่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และสองพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของชาวตำบลคุ้งตะเภา ซึ่งพระพุทธรูปทั้งสององค์นั้นจัดได้ว่าเป็น 2 ใน 9 พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมืองอุตรดิตถ์ คือ พระพุทธสุวรรณเภตรา และ พระพุทธสุโขสัมฤทธิ์อุตรดิตถ์มุนี ปัจจุบันวัดคุ้งตะเภาเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ 3 (สำนักปฏิบัติธรรมภายใต้การกำกับของมหาเถรสมาคม)หนังสือสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่ พศ ๐๐๐๙/๐๕๓๖๕ เรื่อง แจ้งมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ วัดคุ้งตะเภา ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๙มติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๑๒/๒๕๕๙ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม มติที่ ๓๓๘/๒๕๕๙ เรื่อง ขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอุตรดิตถ์ แห่งที่ ๓ และเป็นวัดประจำตำบลที่มีสถิติพระภิกษุสามเณรจำพรรษามากที่สุดในตำบลคุ้งตะเภา เป็นศูนย์กลางทางด้านศาสนศึกษาของคณะสงฆ์และคฤหัสถ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภาโดยพฤตินัย โดยเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่มูลนิธิ ๒๕๐ ปี วัดคุ้งตะเภา ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สำนักเลขานุการรองเจ้าคณะอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ฝ่ายการศึกษาคณะสงฆ์ สำนักศาสนศึกษาประจำตำบล และหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลคุ้งตะเภา (อปต.) ซึ่งเป็นหน่วยอบรมฯ ที่มีผลงานดีเด่นระดับจังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมี พระสมุห์สมชาย จีรปุญฺโญ (แสงสิน) เป็นเจ้าอาวาสวัดคุ้งตะเภา (จร.).

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดคุ้งตะเภา

วัดป่ากล้วย

วัดป่ากล้วย ตั้งหมู่ที่บ้านป่ากล้วย หมู่ที่ 2 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา มีฐานะเป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (มีอุโบสถ) สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 5 วัดป่ากล้วยเป็นวัดโบราณแห่งแรกในตำบลคุ้งตะเภาที่มีอุโบสถ และเป็นวัดที่มีสำนักปฏิบัติธรรม (โดยพฤตินัย) แห่งเดียวของตำบล ตัววัดตั้งอยู่ติดตลิ่งริมแม่น้ำน่าน (ซึ่งตื้นเขินไปแล้ว) ใกล้กับสำนักงานเทศบาลตำบลคุ้งต.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดป่ากล้วย

วัดป่าสักเรไร

วัดป่าสักเรไร ชื่อที่ชาวบ้านเรียก วัดหัวหาด ตั้งอยู่เลขที่ 48 หมู่บ้านหัวหาด หมู่ที่ 5 ตำบลคุ้งตะเภา อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา มีฐานะเป็นวัดราษฎร์ สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 5.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดป่าสักเรไร

วัดน้ำริดใต้

วัดน้ำริดใต้ ตั้งอยู่ที่ บ้านน้ำริดใต้ หมู่ที่ 1 ตำบลน้ำริด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดเขตการปกครองคณะสงฆ์ตำบลน้ำริด ตัววัดมีเนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน 33 ตารางวา ตั้งอยู่ทางใต้ของหมู่บ้าน ติดถนนสายหมู่บ้านน้ำริดและถนนสายนานกกกสู่ถนนสายหัวดงลับแล ปัจจุบันมี พระธนพร ธมฺมปาโล เป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดน้ำริดใต้รูปปัจจุบันพระธนพร ธมฺมปาโล และพระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดน้ำริดใต้

วัดน้ำใส

วัดน้ำใส สามารถหมายถึง.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดน้ำใส

วัดแหลมคูณ

วัดแหลมคูณ ตั้งอยู่เลขที่ 1 บ้านแหลมคูณหมู่ที่ 5 ตำบลหาดสองแคว อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 4.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดแหลมคูณ

วัดใหญ่ท่าเสา

วัดใหญ่ท่าเสา ตั้งอยู่ที่ถนนสำราญรื่น ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีโบราณสถานและปูชนียวัตถุมากมาย ปัจจุบันวัดใหญ่ท่าเสาได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 114 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดใหญ่ท่าเสา

วัดใหม่เจริญธรรม

วัดใหม่เจริญธรรม อาจหมายถึง.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดใหม่เจริญธรรม

วัดโพธารามมหาวิหาร

วัดโพธารามมหาวิหาร พระอารามหลวง เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ (เดิมชื่อวัดเจดีย์เจ็ดยอด หรือ วัดเจ็ดยอด) ตั้งอยู่ที่ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดโพธารามมหาวิหาร

วัดโพธิ์ชัย

วัดโพธิ์ชัย เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดนิกายมหานิกาย ตั้งอยู่ที่ถนนประจักษ์ศิลปาคม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนอง.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดโพธิ์ชัย

วัดไผ่ล้อม

วัดไผ่ล้อม อาจหมายถึง.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดไผ่ล้อม

วัดเกษมจิตตาราม

วัดเกษมจิตตาราม หรือชื่อเดิม วัดม่อนศัลยพงษ์ ตั้งอยู่บนเนินเขาในที่ตั้งตำบลท่าอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ บนเนินเขาเดียวกับโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ในปี พ.ศ.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดเกษมจิตตาราม

วัดเสาหิน

วัดเสาหิน ชื่อที่ชาวบ้านเรียก วัดฝายหิน ชื่อเดิม ฝายหิน ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 183 ถนนศรีพนมมาศ บ้านตลาดลับแล ตำบลศรีพนมมาศ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ มีฐานะเป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (มีอุโบสถ) สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 6.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดเสาหิน

วัดเจดีย์คีรีวิหาร

วัดเจดีย์คีรีวิหาร เป็นวัดของคณะสงฆ์ไทยสังกัดคณะมหานิกาย ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ห่างจากตัวจังหวัด 10 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1043 ตำนานของวัดระบุว่า วัดนี้เดิมมีชื่อว่า "วัดป่าแก้ว" สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดเจดีย์คีรีวิหาร

วัดเขาแก้ว

ป็นวัดประจำตำบลพยุหะคีรี อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่บริเวณวัดติดกับเขาแก้ว และเป็นที่ตั้งของโรงเรียนพยุหะวิทยา (วัดเขาแก้ว).

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดเขาแก้ว

วัดเด่นกระต่าย (อำเภอเมืองอุตรดิตถ์)

วัดเด่นกระต่าย ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านหนองบัว หมู่ที่ 11 ตำบลผาจุก อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ อยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลคุ้งตะเภา มีฐานะเป็นวัด สังกัดการปกครองคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค 5.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และวัดเด่นกระต่าย (อำเภอเมืองอุตรดิตถ์)

อำเภอลับแล

อำเภอลับแล หรือ เมืองลับแล เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นชุมชนโบราณมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เคยเสด็จมาเมื่อ ปี พ.ศ.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และอำเภอลับแล

อำเภอเมืองอุตรดิตถ์

อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ชื่อเดิม อำเภอบางโพ ขึ้นอยู่กับเมืองพิชัย มาตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดอุตรดิตถ์ จึงใช้ชื่ออำเภอบางโพเป็นอำเภอเมืองของจังหวัดอุตรดิตถ์ และเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ปัจจุบันตัวอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ที่ตั้งของอำเภอเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการ ธุรกิจ เศรษฐกิจของจังหวัดอุตรดิตถ์ และมีอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักวีรบุรุษของชาวอุตรดิตถ์ประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดอุตรดิต.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และอำเภอเมืองอุตรดิตถ์

จังหวัดอุตรดิตถ์

ังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมสะกดว่า อุตรดิฐ เป็นจังหวัดหนึ่งตั้งอยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทย ได้ชื่อว่าเมืองท่าแห่งทิศเหนือ ตำนานอันลึกลับของเมืองลับแล ดินแดนแห่งลางสาดหวานหอม อุตรดิตถ์เป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มายาวนาน โดยมีการค้นพบหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เดิมทีตัวเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบันนี้เป็นเพียงตำบลชื่อ "บางโพธิ์ท่าอิฐ" แต่เพราะบางโพธิ์ท่าอิฐซึ่งอยู่ริมฝั่งขวาของแม่น้ำน่านมีความเจริญรวดเร็ว เพราะเป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าสำคัญในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ดังนั้นในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ย้ายเมืองหลักมาจากเมืองพิชัยมายังตำบลบางโพธิ์ท่าอิฐ และยกฐานะขึ้นเป็นเมือง "อุตรดิตถ์" ซึ่งมีความหมายว่า ท่าน้ำแห่งทิศเหนือของสยามประเทศ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เมืองอุตรดิตถ์มีความเจริญขึ้น เมืองอุตรดิตถ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัด จังหวัดอุตรดิตถ์ตั้งอยู่ทางใต้สุดของภาคเหนือตอนล่าง โดยสภาพภูมิศาสตร์จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่สูงสลับซับซ้อน ซึ่งจะอยู่ทางตอนเหนือและทางตะวันออกของจังหวัด เนื่องจากทำเลที่ตั้งดังกล่าวจึงทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีอากาศค่อนข้างร้อนอบอ้าวในฤดูร้อน มีอากาศฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูฝน และมีช่วงฤดูแล้งคั่นอยู่อย่างชัดเจนตั้งแต่ประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤษภาคม เดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน จังหวัดอุตรดิตถ์ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนใหญ่ มรสุมตะวันออกเฉียงใต้ปกติจะมีแหล่งกำเนิดบริเวณทะเลอันดามัน ทำให้จังหวัดอุตรดิตถ์มีช่วงฤดูฝนกินระยะเวลาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูงที่สุด ประชากรส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 99.66 นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท โดยประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยใช้พื้นที่ในการทำการเกษตรประมาณร้อยละ 26.70 ของพื้นที่ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์ รวมทั้งมีการทำพืชไร่ปลูกผลไม้นานาชนิด โดยผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจังหวัดอุตรดิตถ์คือลางสาด ส่วนการเดินทางมายังจังหวัดอุตรดิตถ์สามารถใช้เส้นทางได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟ ทางรถโดยสารประจำทาง และทางรถยนต์ส่วนบุคคล สำหรับการเดินทางโดยเครื่องบิน จังหวัดอุตรดิตถ์เคยมีท่าอากาศยาน 1 แห่ง สำหรับการเดินทางพาณิชย์ แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว สถานที่สำคัญภายในจังหวัดนั้น มีทั้งแหล่งโบราณสถาน เช่น วัดพระแท่นศิลาอาสน์ วัดพระฝางสว่างคบุรีมุนีนาถ วัดพระยืนพุทธบาทยุคล วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ซากเมืองโบราณสมัยอาณาจักรสุโขทัย แหล่งโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เช่น อุทยานแห่งชาติภูสอยดาว อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ อุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน และแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมาย ทั้งน้ำตก เขื่อนสิริกิติ์ วัด พระพุทธรูปสำคัญของจังหวัด เป็นต้น.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และจังหวัดอุตรดิตถ์

ตำบลวังดิน

ตำบลวังดิน เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เดิมการปกครองของตำบลวังดินขึ้นอยู่กับตำบลบ้านด่าน ต่อมาใน ปี พ.ศ.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และตำบลวังดิน

ตำบลท่าอิฐ

ตำบลท่าอิฐ สามารถหมายถึงตำบลที่มีชื่อเดียวกันนี้ 2 แห่งในอำเภอและจังหวัดต่าง ๆ คือ.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และตำบลท่าอิฐ

ตำบลคุ้งตะเภา

ตำบลคุ้งตะเภา เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ตำบลคุ้งตะเภาเป็นตำบลขนาดใหญ่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานกว่าสองร้อยปี เดิมการปกครองของตำบลคุ้งตะเภาขึ้นอยู่กับตำบลท่าเสา อำเภอบางโพ (อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ในปัจจุบัน) ต่อมาใน ปี พ.ศ.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และตำบลคุ้งตะเภา

ตำบลในเมือง

ตำบลในเมือง สามารถหมายถึงตำบลที่มีชื่อเดียวกันนี้ถึง 22 แห่งในอำเภอและจังหวัดต่าง ๆ คือ.

ดู รายชื่อวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์และตำบลในเมือง

หรือที่รู้จักกันในชื่อ วัดในจังหวัดอุตรดิตถ์

ตำบลคุ้งตะเภาตำบลในเมือง