โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์เพียงพอน

ดัชนี วงศ์เพียงพอน

ระวังสับสนกับ: วงศ์พังพอน วงศ์เพียงพอน หรือ วงศ์วีเซล (weasel family, mustelid) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Mustelidae (มาจากภาษาละตินคำว่า Mustela หมายถึง "เพียงพอน") ลักษณะโดยรวมของสัตว์ในวงศ์นี้ คือ มีหัวกลม ใบหูสั้นกลม ขาสั้นเตี้ย ลำตัวเพรียวยาว หางยาว มีขนที่อ่อนนุ่มและหนาทั้งตัวและหาง อุ้งเล็บตีนแหลมคม ในปากมีฟันที่แหลมคม มีฟันตัดเหมาะสมสำหรับการกินเนื้อ ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน เป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไว ปราดเปรียว และกินอาหารได้หลากหลายไม่เลือกทั้งพืชและสัตว์ หลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพียงพอน จะล่ากระต่ายกินเป็นอาหาร ทั้งที่เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า โดยทำการล่าเป็นฝูงและมุดเข้าไปลากดึงเอาถึงในโพรงจากลำตัวที่เพรียวยาว ลักษณะเด่นคือประการ คือ ส่วนมากยกเว้นนากทะเล จะมีต่อมกลิ่นใกล้กับรูทวาร ซึ่งผลิตสารเคมีที่เป็นของเหลวเหมือนน้ำมันสีเหลือง มีกลิ่นฉุนสำหรับใช้ประกาศอาณาเขตและใช้เป็นการประกาศทางเพศ และเมื่อปฏิสนธิแล้ว ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิจะยังไม่ฝังตัวเข้ากับผนังมดลูก แต่จะลอยอยู่อย่างนั้น ซึ่งอาจกินเวลานับ 10 เดือน จะฝังตัวเฉพาะเมื่อถึงฤดูกาลที่อาหารอุดมสมบูรณ์เท่านั้น ก่อนที่จะพัฒนาต่อมาเป็นตัวอ่อนและพัฒนาต่อมาจนกระทั่งคลอดออกมาในฤดูที่อาหารอุดมสมบูรณ์ อุณหภูมิอากาศพอเหมาะแก่ลูกอ่อนที่เกิดขึ้นมา ซึ่งตัวแม่จะออกลูกและเลี้ยงดูลูกไว้ในโพรงดินหรือโพรงไม้ ลูกอ่อนจะยังไม่ลืมตา และมีขนบาง ๆ ปกคลุมตัวเท่านั้น จนกระทั่งอายุได้ราว 2-3 เดือน จึงจะเริ่มหย่านม และออกมาใช้ชีวิตเองตามลำพังเมื่ออายุได้ราว 1 ปี พบกระจายพันธุ์ไปในหลายพื้นที่รอบโลก ทั้งในป่าทึบ, ที่ราบสูง, พื้นที่ชุ่มน้ำ, ชายฝั่งทะเล ตลอดจนชุมชนเมืองของมนุษย์ จนกระทั่งหลายชนิดเป็นสัตว์รังควานสร้างความเสียหายให้แก่มนุษ.

66 ความสัมพันธ์: บีชมาร์เทินฟิชเชอร์พืชกระต่ายกลางคืนการสูญพันธุ์การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การปฏิสนธิการแพทย์แผนไทยกาแฟขี้ชะมดมาร์เทินยาวุลเวอรีนวงศ์พังพอนวงศ์ย่อยเพียงพอนสกุล (ชีววิทยา)สมัยไมโอซีนสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษสัตว์สัตว์กินเนื้อสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์รังควานสัตว์เลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นสปีชีส์หมาหริ่งหมาหริ่งพม่าหมาหริ่งจีนหมาไม้หมาไม้ต้นสนยุโรปหมูหริ่งหนูอีเห็นองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลฮันนี่แบดเจอร์ทวีปยุโรปทวีปอเมริกาเหนือดีเอ็นเอประเทศนิวซีแลนด์ประเทศเวียดนามนกกีวีนากนากยักษ์นากจมูกขนนากทะเลนากแม่น้ำนากใหญ่นากใหญ่ธรรมดานากใหญ่ขนเรียบ...นากเล็กนากเล็กเล็บสั้นแบดเจอร์แบดเจอร์ยุโรปเฟร์ริตเพียงพอนเพียงพอนสีน้ำตาลเพียงพอนโคลัมเบียเพียงพอนไซบีเรียเพียงพอนเส้นหลังขาวเลโอนาร์โด ดา วินชีเออร์มินเอนไซม์เอ็มบริโอเครื่องเรือนเซเบิล ขยายดัชนี (16 มากกว่า) »

บีชมาร์เทิน

ีชมาร์เทิน (Beech marten) เป็นสัตว์ลูกด้วยนมกินเนื้อขนาดเล็กชนิดหนึ่ง จำพวกมาร์เทิน หรือหมาไม้ มีขนสีตั้งแต่สีน้ำตาลเข้มไปจนถึงสีเทาอ่อนออกน้ำตาล มีริ้วสีขาวหรือสีครีมในบริเวณคางและคอไปจนถึงหน้าอก ตัวเต็มวัยมีความยาวหัวและลำตัวมีขนาด 400–500 มิลลิเมตร หางยาว 200–300 มิลลิเมตร น้ำหนักตัวราว 1.10–2.30 กิโลกรัม บีชมาร์เทิน มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ตามป่าผลัดใบหรือตามโขดหินบนภูเขา ฤดูผสมพันธุ์จะอยู่ในช่วงกลางฤดูร้อนถึงแม้ว่าการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้วในมดลูกจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะถึงฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเป็นฤดูที่อาหารอุดมสมบูรณ์ ระยะเวลาตั้งท้องจะอยู่ที่ 28 วัน มีลูกได้ครอกละ 2–7 ตัว ลูกบีชมาร์เทินจะหย่านมเมื่ออายุได้ 2 เดือน แม่จะเป็นผู้สอนวิธีการล่าสัตว์ให้ หลังจากนั้นลูกบีชมาร์เทินจะออกไปอยู่เป็นอิสระในช่วงปลายฤดูร้อน มีอายุขัยโดยปกติในธรรมชาติจะอยู่ประมาณ 3 ปี และมีอายุยืนมากที่สุดในป่าประมาณ 10 ปี ในที่เลี้ยงมีอายุอยู่ได้นานถึง 18 ปี พบกระจายพันธุ์ไปในหลายพื้นที่ของทวีปยุโรป ตั้งแต่ยุโรปใต้ เช่น สเปน และโปรตุเกส จนถึงเอเชียกลาง เช่น สหภาพโซเวียต, จีน, ตะวันออกกลาง, อนุทวีปอินเดีย จนถึงภาคเหนือของพม่า แบ่งออกได้เป็น 11 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) left บีชมาร์เทน เป็นสัตว์ที่ถูกล่าเพื่อนำขนและหนังทำเป็นเสื้อขนสัตว์เช่นเดียวกับสัตว์ชนิดอื่นในวงศ์เดียวกัน เป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี สามารถเข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านเรือนของมนุษย์ได้ เช่น ตามยุ้งฉาง หรือเพดานบ้าน ถือเป็นสัตว์รังควานชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์ที่กินอาหารได้ไม่เลือก จึงอาจทำลายเครื่องใช้ไฟฟ้า, เครื่องเรือน หรือเครื่องยนต์ของรถยนต์ได้.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและบีชมาร์เทิน · ดูเพิ่มเติม »

ฟิชเชอร์

ฟิชเชอร์ (Fisher, Pekan, Pequam, Wejack, Fisher cat) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ฟิชเชอร์จัดอยู่ในสกุลหมาไม้ (Martes spp.) มีความยาวลำตัวและส่วนหัวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 32-40 นิ้ว หางยาว 13-16 นิ้ว น้ำหนัก 1.3-5.4 กิโลกรัม มีอายุขัยประมาณ 10 ปี ทั้งในธรรมชาติและสถานที่เลี้ยง จัดเป็นหมาไม้ที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีสีขนสีดำและน้ำตาลเข้ม หางเรียวยาว สีขนจะเปลี่ยนไปในช่วงฤดูหนาว โดยปลายขนจะเปลี่ยนเป็นสีขาว พบกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้างขวางในทวีปอเมริกาเหนือ (แบ่งออกเป็น 3 ชนิดย่อย-ดูในตาราง) ในป่าที่หนาทึบเช่น ไม้เนื้อแข็งและโกเฟอร์ นอกจากนี้ยังอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำอีกด้วย ฟิชเชอร์ ผสมพันธุ์ในช่วงตอนต้นฤดูใบไม้ผลิ มีระยะเวลาตั้งท้องราว 353 วัน ออกลูกครั้งละ 1-5 ตัว (โดยเฉลี่ย 3) ซึ่งตัวเมียกว่าจะผสมพันธุ์และออกลูกได้อีกครั้งต้องเว้นเป็นระยะเวลานาน ลูกที่เกิดใหม่จะมีร่างกายและขนเบาบาง ตาจะยังปิดอยู่จะกระทั่งอายุได้ 7 สัปดาห์ จะอาศัย อยู่ในรังกับพ่อแม่จนอายุได้ 3 เดือน จึงจะแยกตัวออกไป ฟิชเชอร์ ถูกมนุษย์ล่าเพื่อเอาหนังและขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์ เช่นเดียวกับสัตว์ในวงศ์นี้สกุลและชนิดอื่น.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและฟิชเชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและพืช · ดูเพิ่มเติม »

กระต่าย

กระต่ายสายพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟ ซึ่งเป็นกระต่ายสายพันธุ์เล็ก และนิยมเป็นสัตว์เลี้ยงกันมากที่สุดชนิดหนึ่ง กระต่าย (Rabbit) เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับกระต่าย (Lagomorpha) ในวงศ์ Leporidae กระต่ายแม้จะมีฟันแทะเหมือนกับสัตว์ฟันแทะ (Rodentia) แต่ถูกจัดออกมาเป็นอันดับต่างหาก เนื่องมีจำนวนฟันที่ไม่เท่ากัน เพราะกระต่ายมีฟันแทะที่ขากรรไกรบน 2 แถว เรียงซ้อนกันแถวละ 2 ซี่ ฟันกรามบนข้างละ 6 ซี่ และฟันกรามล่างข้างละ 5 ซี่ เมื่อเวลาเคี้ยวอาหาร กระต่ายจะใช้ฟันทั้ง 2 ด้านเคี้ยวสลับกันไป ต่างจากสัตว์ฟันแทะโดยทั่วไปที่เคี้ยวเคลื่อนหน้าเคลื่อนหลัง ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า (1\tfrac, C\tfrac, P\tfrac, M\tfrac) X 2.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและกระต่าย · ดูเพิ่มเติม »

กลางคืน

กลางคืน กลางคืน (Night) คือช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์ตกลับขอบฟ้าจนถึงดวงอาทิตย์ขึ้นของวันใหม่ เวลากลางคืนตรงข้ามกับเวลากลางวันซึ่งรวมกันเป็น 24 ชั่วโมง ช่วงเวลามีความแตกต่างโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างเช่น ฤดูกาล ละติจูด ลองติจูด และเขตเวล.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและกลางคืน · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิสนธิ

การเข้าปฏิสนธิของสเปิร์ม การปฏิสนธิ (Fertilisation) หมายถึง การหลอมรวมระหว่างนิวเคลียสของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย การปฏิสนธิในสัตว์และพืชเป็นดังนี้.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและการปฏิสนธิ · ดูเพิ่มเติม »

การแพทย์แผนไทย

การแพทย์แผนไทย หรือ การแพทย์แผนโบราณ เป็นการดูแลสุขภาพทั้งสภาวะปกติ และสภาวะที่ผิดปกติ (เป็นโรค) โดยใช้ทฤษฎีความสมดุลของธาตุต่าง ๆ ในร่างกายและกายวิภาคศาสตร์ (anatomy) หลักวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์เข้ามาอธิบาย ตามหลักวิชาการหลักเวชปฎิบัติ จากหลักฐานสมัยอยุธยาพบว่า การแพทย์แผนไทยได้รับจากอายุรเวทอินเดียเป็นสำคัญ โดยกล่าวว่าหมอชีวกโกมารภัจจ์ (แพทย์ประจำตัวของพระพุทธเจ้า) เป็นผู้แต่งคัมภีร์แพทย์ ครั้นพระพุทธศาสนาเริ่มเผยแผ่เข้ามาสู่ไทย พระสงฆ์ผู้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้นำความรู้ในการรักษาโรคเข้ามาใช้กับชาวบ้านด้วย จึงเกิดการผสมผสานกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนไทย องค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทยล้วนเป็นผลสืบเนื่องจากการสะสมประสบการณ์ในการต่อสู้กับโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมองว่าจิตใจและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์มีการทำงานที่สัมพันธ์และเป็นหนึ่งเดียว นอกจากนี้ยังสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงจักรวาล การแก้ปัญหาจึงใช้วิธีแบบองค์รวม (holistic) ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องของการแพทย์อย่างเดียวล้วน ๆ แต่เป็นเรื่องของปรัชญาความคิดที่ครอบคลุมไปถึงการดำเนินชีวิตตามแบบวิถีชีวิตคนไท.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและการแพทย์แผนไทย · ดูเพิ่มเติม »

กาแฟขี้ชะมด

วไร่กาแฟขี้ชะมดที่เกาะสุมาตราแสดงมูลที่ชะมดถ่ายออกมา มีเมล็ดกาแฟอยู่ภายในแต่ยังไม่ได้ล้าง กาแฟขี้ชะมด หรือ กาแฟชะมด (Kopi Luwak, civet coffee) หมายถึงเมล็ดกาแฟที่สัตว์กลุ่มชะมดโดยเฉพาะคืออีเห็นข้างลาย (Paradoxurus hermaphroditus) ได้กินและถ่ายออกมาแล้ว นอกจากนั้นแล้ว ยังหมายถึงเครื่องดื่มกาแฟที่ทำมาจากเมล็ดกาแฟชนิดนี้ โดยที่คนอินโดนีเซียเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า Kopi Luwak (โกปิ ลูวะก์) (ซึ่งคำว่า Kupi เป็นภาษาอินโดนีเซีย แปลว่า กาแฟ ส่วนคำว่า Luwak หมายถึงอีเห็นข้างลาย) มีราคาซื้อขายที่สูงมาก เมื่อขายปลีกเป็นกาแฟปรุงสำเร็จถ้วยละ 500-1,500 บาท และขายเป็นเมล็ดกาแฟ กิโลกรัมละ 100,000 บาท (ราคาในประเทศไทย) ผู้ผลิตการแฟอ้างว่า วิธีการที่ให้กำเนิดกาแฟนี้ เพิ่มคุณภาพผ่านกลไกสองอย่างคือ การคัดเลือกเมล็ด และการย่อย คือ ชะมดจะเลือกกินเมล็ดกาแฟซึ่งมีคุณภาพที่ดีกว่า และกลไกการย่อยของชะมดอาจจะเพิ่มรสชาติของเมล็ดกาแฟ คือ ชะมดจะกินเมล็ดกาแฟพร้อมกับเนื้อเข้าไป และจะเกิดการหมักในทางเดินอาหาร เอนไซม์ Protease ซึ่งช่วยย่อยโปรตีนจะซึมเข้าไปในเมล็ด ทำให้เกิดเพปไทด์ที่สั้นกว่าและจำนวนกรดอะมิโนอิสระที่มากกว่า ส่วนเมล็ดจะผ่านระบบทางเดินอาหารของตัวชะมดจนกระทั่งถ่ายออกมา ซึ่งชาวไร่จะเก็บและนำผ่านกระบวนการผลิตต่อไป วิธีการผลิตกาแฟดั้งเดิมที่เก็บมูลชะมดในป่า ได้เปลี่ยนไปเป็นกระบวนการขังชะมดไว้ในกรงแล้วบังคับให้กินเมล็ดกาแฟ ซึ่งได้สร้างปัญหาด้านจริยธรรมเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงชะมด เพราะชะมดถูกบังคับให้อยู่ใน "สิ่งแวดล้อมที่น่าสะพรึงกลัว" รวมทั้งการถูกขังแยก อาหารที่ไม่ดี กรงที่เล็ก และอัตราการตายในระดับสูง ในปี..

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและกาแฟขี้ชะมด · ดูเพิ่มเติม »

มาร์เทิน

มาร์เทิน หรือ หมาไม้ (marten) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินเนื้อขนาดเล็กสกุลหนึ่ง ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) อันเป็นวงศ์เดียวกับนาก, เพียงพอน, หมาหริ่ง และวุลเวอรีน ใช้ชื่อสกุลว่า Martes มาร์เทิน มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวเพรียวยาว ส่วนใบหน้าคลายกับสุนัข ใบหูมีขนาดกลมเล็ก หางยาวเป็นพวง มีอุ้งเท้าที่หนาและมีกรงเล็บที่แหลมคม ขนหนานุ่มมีสีขนที่หลากหลาย ตั้งแต่สีเหลืองจนถึงสีน้ำตาลเข้มจนถึงดำ แตกต่างไปกันตามชนิดและแต่ละภูมิภาคที่อาศัย มีขนาดลำตัวและน้ำหนักพอ ๆ กับแมว ปกติเป็นสัตว์ที่หากินและอาศัยเพียงลำพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์ มาร์เทิน เป็นสัตว์ที่คล่องแคล่วว่องไวปราดเปรียว ส่วนมากมักหากินในเวลากลางคืน สามารถกินได้ทั้งพืชและสัตว์ ปีนต้นไม้ได้อย่างคล่องแคล่ว สามารถหากินได้ทั้งบนต้นไม้และพื้นดิน พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ, ยุโรป, เอเชียเหนือ, ไซบีเรีย, เอเชียตะวันออก, ตอนใต้ของอินเดีย, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถปรับตัวให้เข้ากับภูมิประเทศที่หลากหลายได้ทั้งป่าดิบ, ป่าละเมาะ จนถึงชุมชนของมนุษย์ใกล้กับชายป.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและมาร์เทิน · ดูเพิ่มเติม »

ยา

thumb ยา เป็นวัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและยา · ดูเพิ่มเติม »

วุลเวอรีน

ำหรับตัวละครในมาร์เวลคอมิกส์ ดูที่ วูล์ฟเวอรีน (ตัวละคร) วุลเวอรีน (wolverine)Wozencraft, W. C. (16 November 2005).

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและวุลเวอรีน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์พังพอน

ระวังสับสนกับ: วงศ์เพียงพอน วงศ์พังพอน (mongoose; ไทยถิ่นเหนือ: จ่อน) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Herpestidae เดิมเคยถูกรวมเป็นวงศ์เดียวกับ วงศ์ Viverridae หรือ วงศ์ชะมดและอีเห็น.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและวงศ์พังพอน · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยเพียงพอน

วงศ์ย่อยเพียงพอน หรือ วงศ์ย่อยวีเซล เป็นวงศ์ย่อยของวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Mustelinae เป็นวงศ์ที่แยกออกมาจากวงศ์ Lutrinae หรือ นาก สมาชิกในวงศ์ย่อยนี้เหมือนกับวงศ์เพียงพอน ได้แก่ วีเซล, มาร์เทิน, วูล์ฟเวอรีน หรือมิงค์ เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและวงศ์ย่อยเพียงพอน · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไมโอซีน

รรดาสัตว์สมัยไมโอซีนในอเมริกาเหนือ สมัยไมโอซีน (Miocene) เป็นสมัยแรกของยุคนีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 23.03 ถึง 5.333 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน เป็นสมัยที่ต่อมาจากสมัยโอลิโกซีนและตามด้วยสมัยไพลโอซีน ชาร์ลส์ ไลแอลได้นำจากคำภาษากรีก คำว่าμείων (meiōn, “น้อย”) และคำว่า καινός (kainos, “ใหม่”)มาตั้งชื่อให้กับสมัยนี้ สาเหตุที่ใช้คำว่า"น้อย"เพราะว่ามีสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังสมัยใหม่น้อยกว่าสมัยไพลโอซีน 18% ขณะที่เวลาได้ผ่านตั้งแต่สมัยโอลิโกซีนมาถึงไมโอซีนและผ่านไปยังสมัยไพลโอซีนอากาศค่อย ๆ เย็นลงซึ่งเป็นผลมาจากยุคน้ำแข็ง การแบ่งยุคสามยุคนี้ออกจากกันนั้นไม่ได้ใช้เหตุการณ์ระดับโลกในการแบ่งแต่ใช้ระดับอุณหภูมิในการแบ่งโดยสมัยโอลิโกซีนอุ่นกว่าไมโอซีนและไมโอซีนอุ่นกว่าสมัยไพลโอซีน เอปได้เกิดและมีความหลากหลายขึ้นในยุดนี้จากนั้นก็เริ่มแพร่พันธุ์ไปทั่วพื้นที่โลกเก่า ในช่วงท้ายของสมัยนี้บรรพบุรุษของมนุษย์ได้เริ่มแยกตัวออกจากบรรพบุรุษของลิงชิมแปนซี (ช่วงประมาณ 7.5 ถึง 5.6 ล้านปีก่อน) สมัยนี้มีลักษณะเหมือนสมัยโอลิโกซีนคือทุ่งหญ้าขนายตัวขึ้นและป่าไม้ลดน้อยลง ทะเลในสมัยนี้ป่าสาหร่ายเริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกและกลายเป็นระบบนิเวศที่สำคัญมากที่สุดแบบหนึ่งของโลก พืชและสัตว์ยุคนี้มีวิวัฒนาการแบบใหม่มากขึ้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนกสามารถพบได้มาก สาหร่ายทะเล วาฬและสัตว์ตีนครีบเริ่มแพร่พันธุ์ไปทั่ว ยุคนี้มีเป็นยุคที่มีความน่าสนใจเกี่ยวกับธรณีวิทยาและภูมิอากาศบรรพกาลวิทยาเป็นอย่างมากเนื่องจากยุคนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญของการเกิดเทือกเขาหิมาลัยซึ่งส่งผลกระทบต่อรูปแบบของมรสุมในเอเชียซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขยายตัวของธารน้ำแข็งในซีกโลกเหนือ.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและสมัยไมโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ (Elizabeth I of England หรือ Virgin Queen หรือ Gloriana หรือ Good Queen Bess -- 7 กันยายน พ.ศ. 2076 -- 24 มีนาคม พ.ศ. 2146) และทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระราชินีนาถแห่งไอร์แลนด์ ตั้งแต่ วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2101 จนเสด็จสวรรคต บางครั้งพระองค์ก็ทรงได้รับพระฉายานามว่า "ราชินีพรหมจารี" (เนื่องจากการไม่อภิเษกสมรสเลยตลอดพระชนม์ชีพ) สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ทรงเป็นกษัตรีย์พระองค์ที่ 5 และนับเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทิวดอร์ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 ผู้ประสูติที่พระราชวังกรีนิช เป็นพระราชธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 กับสมเด็จพระราชินีแอนน์ บุลิน พระมเหสีพระองค์ที่ 2 ซึ่งถูกประหารชีวิตโดยการบั่นพระเศียรเมื่อสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 1 พระชนมายุได้เพียงเกือบ 3 พรรษา จากนั้นพระองค์ก็ทรงถูกประกาศว่าเป็นพระราชธิดานอกกฎหมาย เมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 สวรรคตราชบัลลังก์อังกฤษก็ตกไปเป็นของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 พระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีและสมเด็จพระราชินีเจน ซีมัวร์ พระมเหสีองค์ที่ 3 เมื่อเสด็จสวรรคตพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดก็ทรงมอบราชบัลลังก์แก่เลดีเจน เกรย์ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดพระเชษฐภคินีต่างพระมารดาสองพระองค์ออกจากสิทธิในการสืบราชบัลลังก์ แต่ในที่สุดเจ้าหญิงแมรีก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ผู้ทรงเป็นโรมันคาทอลิก ในรัชสมัยของราชินีนาถแมรีเจ้าหญิงอลิซาเบธทรงถูกจำขังอยู่ปีหนึ่งในข้อสงสัยว่าทรงมีส่วนร่วมในการสนับสนุนฝ่ายก่อการโปรเตสแตนต์ หลังจากเสด็จสวรรคตของพระเชษฐภคินีสมเด็จพระราชินีนาถแมรี เจ้าหญิงอลิซาเบธก็เสด็จขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงตั้งพระทัยที่จะปกครองโดยมีที่ปรึกษาราชการผู้มีคุณธรรม พระองค์ทรงไว้วางพระทัยในกลุ่มที่ปรึกษาที่ทรงไว้วางใจที่นำโดยวิลเลียม เซซิล บารอนแห่งเบอร์ลีย์ที่ 1 สิ่งแรกที่ทรงกระทำในฐานะพระราชินีนาถคือการสนับสนุนการก่อตั้งสถาบันโปรเตสแตนต์อังกฤษ ซึ่งมีพระองค์เองเป็น “ประมุขสูงสุด” (Supreme Governor) นโยบายทางศาสนาของพระองค์เป็นนโยบายที่ดำเนินตลอดมาในช่วงรัชสมัยการปกครอง และต่อมาวิวัฒนาการมาเป็น “นิกายเชิร์ชออฟอิงแลนด์” ในปัจจุบัน ในระหว่างที่ครองราชย์ก็เป็นที่หวังกันว่าพระองค์จะทรงเสกสมรส แต่แม้ว่ารัฐบาลจะยื่นคำร้องหลายครั้ง และ การทรงทำความรู้จักกับกับคู่หมายหลายคนพระราชินีนาถอลิซาเบธก็มิได้ทรงทำการเสกสมรสกับผู้ใด สาเหตุที่ไม่ทรงยอมเสกสมรสก็ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ เมื่อมีพระชนมายุสูงขึ้นพระองค์ก็ทรงมีชื่อเสียงจากการเป็น “พระราชินีผู้ทรงพรหมจรรย์” และเกิดลัทธินิยมของผู้ติดตามนโยบายดังว่าที่เฉลิมฉลองกันด้วยภาพเหมือน, เทศกาล และ วรรณกรรมร่วมสมัย ในด้านการปกครองพระราชินีนาถอลิซาเบธทรงดำเนินนโยบายที่เป็นสายกลางมากกว่าพระราชบิดา พระอนุชา และ พระเชษฐภคินีStarkey, 5.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์กินเนื้อ

ัตว์กินเนื้อ หรือ คาร์นิวอรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Order Carnivora) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมายถึงสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ไม่ว่าเนื้อสัตว์นั้นจะมาจากสัตว์ที่มีชีวิตอยู่หรือว่าตายแล้ว สัตว์บางชนิดจำเป็นที่จะต้องกินเนื้อเพื่อความอยู่รอด อันเนื่องมาจากพันธุกรรม เราเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ว่า "true carnivore" (สัตว์กินเนื้อแท้) หรือ "obligate carnivores" (สัตว์กินเนื้อโดยบังคับ) สัตว์ในกลุ่มนี้อาจกินพืชผักหรืออาหารชนิดอื่นได้ แต่มันจะต้องกินเนื้อเพื่อเป็นแหล่งสารอาหารหลักของมัน กายวิภาคของสัตว์ในกลุ่มนี้ ทำให้มันไม่สามารถย่อยอาหารจำพวกพืชได้อย่างมีประสิท.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและสัตว์กินเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์รังควาน

ัตว์รังควาน หรือ สัตว์ก่อความรำคาญ (pest) หมายถึงสัตว์หลายชนิดที่รบกวนมนุษย์หรือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ ในความหมายอย่างหลวม ๆ อาจรวมถึง หนอนพยาธิ ปรสิต จุลชีพก่อโรค วัชพืช ด้วย ในความหมายที่กว้างที่สุด สัตว์รังควานอาจหมายถึงผู้แข่งขันของมนุษยชาต.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและสัตว์รังควาน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยง

ัตว์เลี้ยง (สุนัข) ในภาพจิตรกรรม ''A Highland Breakfast'' โดย Edwin Landseer สัตว์เลี้ยง เป็นสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อเป็นเพื่อนหรือเพื่อคุ้มครองบุคคลเป็นหลัก ต่งจากสัตว์ใช้งาน สัตว์กีฬา ปศุสัตว์และสัตว์ทดลอง เพื่อเลี้ยงไว้เพื่อการแสดง ใช้ในเกษตรกรรมหรือการวิจัยเป็นหลัก.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและสัตว์เลี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น

รองเท้านารีปีกแมลงปอ หรือ รองเท้านารีสุขะกูล (''Paphiopedilum sukhakulii'') เป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นที่พบได้เฉพาะภูเขาหินทรายในป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 1,000-1,500 เมตร ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยเท่านั้น''กล้วยไม้เมืองไทย'', รศ.ดร. อบฉันท์ ไทยทอง, สำนักพิมพ์บ้านและสวน, หน้า 42-43 สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น หรือ สิ่งมีชีวิตถิ่นเดียว (Endemic species, Endemism) หมายถึง สิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืชหรือสัตว์ ชนิดที่แพร่กระจายพันธุ์ตามธรรมชาติในบริเวณเขตภูมิศาสตร์เขตใดเขตหนึ่งของโลก และเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเขตกระจายพันธุ์ทางภูมิศาสตร์ค่อนข้างจำกัด ไม่กว้างขวางนัก เช่น อาจจะพบตามระบบนิเวศต่าง ๆ เช่น บนเกาะ, ยอดเขา, หน้าผาของภูเขาหินปูน, แอ่งพรุ เป็นต้น ถิ่นที่อยู่ดังกล่าวมีสภาพจำกัดของสิ่งแวดล้อมหรือมีสภาพดินฟ้าอากาศเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตัว ที่เหมาะสมสำหรับการดำรงชีวิตอยู่ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี, 2543 และ หนังสือ พืชถิ่นเดียวและพืชหายากของประเทศไทย ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช, 2547 ชาร์ล ดาร์วิน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้คิดค้นทฤษฎีวิวัฒนาการ ได้กล่าวถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น เอาไว้ในหนังสือ The Origin of Species ของตนเอง ไว้ว่า ปัจจุบัน บริเวณพื้นผิวโลกทีพบว่ามีสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นสูงมาก มีทั้งสิ้น 18 แห่ง มีพื้นที่ประมาณ 746,400 ตารางกิโลเมตร หรือเพียงร้อยละ 0.5 ของพื้นผิวโลกที่เป็นพื้นดินเท่านั้น และมีพืชเฉพาะถิ่นอาศัยอยู่ถึงประมาณ 49,955 ชนิด หรือร้อยละ 20 ของพืชทั้งหมดที่พบในโลก และยังมีสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกอาศัยอีกอย่างน้อย 1,659 ชนิด หรือร้อยละ 15 ของสัตว์ทั้ง 2 กลุ่มในโลก ทั้งซีกโลกเก่า และซีกโลกใหม่ สถานที่ที่มีสัตว์เฉพาะถิ่นสูงในทวีปอเมริกาเหนือ 1 แห่ง, ทวีปอเมริกาใต้ 5 แห่ง, ทวีปแอฟริกา 4 แห่ง, ทวีปเอเชีย 6 แห่ง, ทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย 2 แห่ง เฉพาะในทวีปเอเชีย ได้แก่ ป่าดิบชื้นในฟิลิปปินส์, เกาะบอร์เนียวทางตอนเหนือ, เทือกเขาหิมาลัยด้านตะวันออก, คาบสมุทรมลายู, เทือกเขาเวสเทิร์น เกทส์ ในอินเดีย และศรีลังกาบริเวณทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยที่ ๆ ขึ้นชื่ออย่างมากในเรื่องสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น คือ หมู่เกาะกาลาปาโกส กลางมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นส่วนหนึ่งของประเทศเอกวาดอร์ ที่มีสิ่งมีชีวิตที่มีวิวัฒนาการของตนเองสูงมาก จนได้รับเลือกให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ด้วยพื้นที่อันจำกัด ทำให้สิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นหลายชนิด ใกล้สูญพันธุ์หรือใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤต ในประเทศไทยมีรายงานพบพืชที่เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นประมาณ 11,000 ชนิด ร้อยละ 30 เป็นพืชที่มีท่อลำเลียงน้ำและอาหาร ส่วนที่เป็นสัตว์ เช่น ปลาน้ำจืด 68 ชนิด, เป็นหอย 3 ชนิด, เป็นสัตว์จำพวกปูและกุ้งหรือกั้ง 5 ชนิด และเป็นนก 3 ชน.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หมาหริ่ง

ระวังสับสนกับ: หมูหริ่ง หมาหริ่ง หรือ หมาหรึ่ง (badger, ferret-badger; 鼬獾屬) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ในสกุล Melogale ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) เป็นสัตว์กินเนื้อขนาดเล็ก จัดเป็นแบดเจอร์สกุลหนึ่ง มีลำตัวยาวประมาณ 33-39 เซนติเมตร ส่วนหางยาว 15-21 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2 กิโลกรัม มีช่วงขาที่สั้น เล็บนิ้วกางแยกออกจากกันและมีกรงเล็บที่แหลมคม สีขนเป็นสีน้ำตาลแกมเทาจนถึงสีดำ ส่วนหัวมีสีเข้มกว่าลำตัว มีลายแถบสีขาวระหว่างตาแถบหนึ่ง ซึ่งเห็นได้ชัดเจน และมีแถบสีขาวข้างแก้มและเหนือตาจากผ่านตามแนวสันคอจรดถึงหัวไหล่ เป็นสัตว์ที่มีกลิ่นตัวรุนแรง เนื่องจากมีต่อมผลิตกลิ่นอยู่ที่อยู่ที่บริเวณใกล้ก้น ซึ่งจะผลิตกลิ่นเหม็นออกจากเมื่อถูกคุกคามหรือตกใจ จัดเป็นสัตว์ที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้หลากหลายประเภท ตั้งแต่ป่าดิบ, ทุ่งหญ้า, นาข้าว จนถึงพื้นที่เกษตรกรรมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ในตอนกลางวันจะนอนหลับพักผ่อนในโพรงดินหรือโพรงไม้ ออกหากินในเวลากลางคืน ซึ่งกินได้ทั้งพืชและสัตว์ต่าง ๆ อาทิ ผลไม้, ลูกไม้, สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็ก, แมลง, หนู, หอยทาก เป็นต้น ซึ่งบางครั้งอาจปีนต้นไม้ขึ้นไปหากินได้ ฤดูผสมพันธุ์จะอยู่ในช่วงฤดูร้อน โดยจะอยู่ด้วยกันเป็นคู่ ตั้งท้องนานประมาณ 3 เดือน ออกลูกครั้งละ 1-3 ตัว ในราวเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ซึ่งในบางครั้งอาจพบอยู่ด้วยกันในโพรงเดียวประมาณ 4-5 ตัว พบกระจายพันธุ์ในภูมิภาคเอเชียใต้จนถึงเอเชียอาคเนย์และเอเชียตะวันออก ในประเทศไทยพบเพียงชนิดเดียว ในปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็น 5 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและหมาหริ่ง · ดูเพิ่มเติม »

หมาหริ่งพม่า

หมาหริ่งพม่า (อังกฤษ: Ferret badger, Burmese ferret-badger, Large-toothed ferret-badger) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีรูปร่างหน้าตาคล้ายเพียงพอนผสมกับหมูหริ่ง คือ มีลำตัวยาวและมีขาสั้นเหมือนพวกเพียงพอน แต่หน้าแหลมยาวเหมือนหมูหริ่ง สีขนตามลำตัวมีสีเทาเข้มหรือน้ำตาล ขนหัวมีสีดำและมีแถบสีขาวพาดยาวมาถึงบริเวณใบหน้าและลำคอ มีเล็บแหลมคม และยาวใช้สำหรับการขุดดินสร้างรัง และใช้ในการจับเหยื่อ มีอุ้งเท้าที่เหมาะสมต่อการปีนต้นไม้ หางยาวเกือบครึ่งหนึ่งของลำตัว และบริเวณปลายหางมีสีขาว มีความยาวลำตัวและหัว 33-39 เซนติเมตร ความยาวหาง 14-20 เซนติเมตร น้ำหนัก 1-3 กิโลกรัม การกระจายพันธุ์พบตั้งแต่ตะวันออกของเนปาล, อินเดีย, พม่า, ไทย, ลาว, เวียดนาม มีพฤติกรรมสามารถอาศัยอยู่ได้ในหลายสภาพแวดล้อม ทั้งนาข้าว, ทุ่งหญ้า ไปจนถึงป่าสมบูรณ์ กินอาหารได้หลายประเภท แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หอย, กุ้ง, ปู, แมลง, ไส้เดือน, สัตว์เลื้อยคลาน หรือไข่นกที่ทำรังตามพื้นดิน เป็นต้น ออกหากินตามลำพังในเวลากลางคืน นอนหลับในโพรงไม้หรือโพรงดินในเวลากลางวัน ผสมพันธุ์ในเดือนมิถุนายน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว ปัจจุบัน เป็นสัตว์หายากมาก ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 จัดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและหมาหริ่งพม่า · ดูเพิ่มเติม »

หมาหริ่งจีน

หมาหริ่งจีน (อังกฤษ: Chinese ferret-badger, Small-toothed ferret-badger) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กินเนื้อขนาดเล็ก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Melogale moschata มีรูปร่างหน้าตาคล้ายหมาหริ่งพม่า (M. personata) ซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน ขนมีสีน้ำตาลเข้ม แต่ขนที่หลังและหางจะอ่อนกว่า ลักษณะเด่นคือ มีเส้นสีขาวกลางหัวลากยาวมาถึงต้นคอ โดยเส้นดังกล่าวจะแคบกว่าเส้นกลางหัวของหมาหริ่งพม่า ขนมีสีขาวปนเหลืองบริเวณกลางหน้าผากและข้างแก้ม ปาก คาง ด้านล่างคอ และปลายหางมีสีขาว ส่วนขาหลังมีสีเหลือง มีความยาวลำตัวและหัว 33-45 เซนติเมตร ความยาวหาง 15-23 เซนติเมตร น้ำหนัก 1-3 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์พบในทางภาคตะวันออกของอินเดียบริเวณที่ติดกับพม่า, ภาคใต้ของจีนบริเวณที่ติดกับพม่า, ภาคตะวันออกของจีนและภาคเหนือของเวียดนาม หมาหริ่งจีน อาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ในป่าทึบ อาหารหลักได่แก่ หนู และ กระต่าย หรือสัตว์ขนาดเล็กที่ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด ขุดโพรงใต้ดินเพื่อเป็นที่หลับนอน ในบางครั้งอาจเข้าไปนอนในโพรงไม้ได้.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและหมาหริ่งจีน · ดูเพิ่มเติม »

หมาไม้

หมาไม้ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดหนึ่งในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีรูปร่างคล้ายพญากระรอกดำ (Ratufa bicolor) มีลักษณะเด่นคือ ตั้งแต่ใต้คอลงไปถึงหน้าอกมีสีเหลือง ส่วนหัวด้านบนมีสีดำ ขาสั้นเมื่อเทียบกับขนาดตัว ตัวผู้มีฟันเขี้ยวขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย หางยาวพอ ๆ กับความยาวลำตัว หมาไม้ชนิดย่อยที่อาศัยอยู่ทางภาคเหนือของทวีปเอเชียจะมีขนาดใหญ่กว่าชนิดที่อาศัยอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีความยาวลำตัวและหัว 45–60 เซนติเมตร ความยาวหาง 38–43 เซนติเมตร น้ำหนัก 2–3 กิโลกรัม หมาไม้เป็นสัตว์ที่มีกลิ่นตัวแรงมาก มีความคล่องแคล่วปราดเปรียวมาก สามารถหากินได้ทั้งบนต้นไม้และพื้นดิน กินอาหารได้หลากหลายประเภททั้งพืชและสัตว์ ทั้งสัตว์ฟันแทะ, แมลง, สัตว์เลื้อยคลาน, นก หรือ ไข่นก บางครั้งอาจเข้ามาหาอาหารที่นักท่องเที่ยวป่าทิ้งไว้ตามเต๊นท์ นอกจากนี้ยังสามารถกินผึ้งและน้ำผึ้งเหมือนหมีได้อีกด้วย มักหากินในเวลากลางวัน แต่บางครั้งอาจหากินในเวลากลางคืน มักจะหากินแต่เพียงลำพังหรือเป็นคู่ไม่มากกว่านั้น หมาไม้ตัวเมียจะตั้งท้องนาน 220–290 วัน ออกลูกครั้งละ 3–5 ตัว อายุขัยในสถานที่เลี้ยงประมาณ 14 ปี เป็นสัตว์ที่มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทางตะวันออกของอัฟกานิสถาน, ภาคเหนือของปากีสถาน, รัฐแคชเมียร์และรัฐอัสสัมของอินเดีย, ภาคเหนือของพม่า, ภาคใต้และภาคตะวันออกของจีน, ไต้หวัน, ไทย, ลาว, ตอนเหนือของกัมพูชา, ภาคเหนือและภาคกลางของเวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว สถานะของหมาไม้ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและหมาไม้ · ดูเพิ่มเติม »

หมาไม้ต้นสนยุโรป

หมาไม้ต้นสนยุโรป หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า หมาไม้ต้นสน ในประเทศยุโรปที่พูดภาษาอังกฤษ เป็นสัตว์ท้องถิ่นในยุโรปเหนือ อยู่ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับมิงค์, นาก, แบดเจอร์ และวูล์ฟเวอรีน และวีเซิล มีขนาดใหญ่ประมาณแมวบ้าน ลำตัวยาว 53 เซนติเมตร และหางของมันสามารถยาวได้ถึง 25 เซนติเมตร ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย โดยเฉลี่ย มีน้ำหนักประมาณ 1.5 กิโลกรัม ขนของมันมักมีสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงน้ำตาลเข้ม และจะมีขนาดใหญ่ขึ้นและนุ่มขึ้นระหว่างฤดูหนาว พวกมันมีช่วงลำคอสีครีมไปจนถึงเหลือง.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและหมาไม้ต้นสนยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

หมูหริ่ง

หมูหริ่ง, หมูหรึ่ง หรือ หมูดิน (hog badger, Indian badger) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดกลางชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arctonyx collaris อยู่ในวงศ์ Mustelidae อันเป็นวงศ์เดียวกับเพียงพอนหรือวีเซล โดยที่หมูหริ่งอยู่ในสกุล Arctonyx นับเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุลนี้.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและหมูหริ่ง · ดูเพิ่มเติม »

หนู

หนู เป็นสกุลของสัตว์ฟันแทะ ที่อยู่ในวงศ์ Muridae ใช้ชื่อสกุลว่า Rattus มีการกระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกที่เรียกว่า "โลกเก่า" อันได้แก่ ทวีปเอเชีย, ยุโรป และแอฟริกา ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2–3 เดือน ในขณะที่ตัวผู้อายุ 3 เดือนขึ้นไป.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและหนู · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็น

อีเห็น หรือ กระเห็น(Palm civet.; อีสาน: เหง็น; ใต้: มูสัง) เป็นสกุลของสัตว์กินเนื้อสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Paradoxurus ในวงศ์ชะมดและอีเห็น (Viverridae) อีเห็น มีความแตกต่างจากชะมด (Viverra spp.) ซึ่งเป็นสัตว์อีกสกุลในวงศ์นี้ คือ อุ้งตีนมีลักษณะเหมาะสมสำหรับการปีนป่าย โดยเฉพาะนิ้วที่ 3 และ 4 ของตีนหลังบางส่วนมีพังผืดเชื่อมติดกัน อุ้งตีนแยกออกเป็น 4 ส่วน อีเห็นจะมีนิ้วตีนทั้งหมดที่อุ้งตีนข้างละ 5 นิ้ว มีเล็บคมยาวไว้ปีนป่าย ขนาดอุ้งตีนของอีเห็นจะเล็กกว่าชะมด เพราะอีเห็นจะปีนป่ายต้นไม้หากินมากกว่าชะมด ที่หากินตามพื้นดิน แต่ทั้ง 2 สกุลนี้ เมื่อลงพื้นดิน โดยเฉพาะดินที่อ่อนนุ่ม จะฝากรอยเท้าทิ้งเอาไว้ให้สังเกตเห็นได้ง่าย อีกทั้ง อีเห็นจะเป็นสัตว์กินพืชและผลไม้มากกว่าชะมด ขณะที่ชะมดจะกินสัตว์ต่าง ๆ เช่น กบ หรือเขียด หรือปลา เป็นอาหารมากกว่าพืช อีเห็น เป็นสัตว์ที่กระจายพันธุ์ทั้งแต่เอเชียใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และหมู่เกาะต่าง ๆ นอกจากนี้แล้วในบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย หรือ เวียดนาม มีการเลี้ยงอีเห็นในสกุลนี้ให้กินเมล็ดกาแฟ เมื่อถ่ายมูลออกมาแล้ว เมล็ดกาแฟจะไม่ถูกย่อยสลาย จะออกมาเป็นเมล็ดเหมือนเดิม จากนั้นจะนำไปล้างและคั่วเป็นกาแฟสำหรับจำหน่าย ซึ่งกาแฟลักษณะนี้เรียกว่า "กาแฟขี้ชะมด" เป็นกาแฟที่มีรสชาติกลมกล่อม หอมหวาน อร่อยกว่ากาแฟทั่วไป จึงมีราคาขายที่แพงกว่ากาแฟปกติทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากในระบบย่อยอาหารของอีเห็นมีเอนไซม์ที่ทำให้เมล็ดกาแฟมีรสชาติที่หอมหวาน.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและอีเห็น · ดูเพิ่มเติม »

องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล

ัญลักษณ์กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wide Fund for Nature - WWF) เป็นองค์การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ โดยยับยั้งการทำลายสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติ และใช้พลังงานทดแทน ปัจจุบันเน้นการทำงานในด้าน ป่าไม้ ระบบนิเวศวิทยาของพื้นน้ำ มหาสมุทรรวมทั้งชายฝั่งทะเล สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ การบำบัดสารพิษที่เกิดจากสารเคมี องค์การแห่งนี้เป็นองค์กรอนุรักษ์อิสระใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีผู้สนับสนุนมากกว่า 5 ล้านรายจากทั่วโลก ดำเนินโครงการอนุรักษ์ต่างๆ 12,000 โครงการ ใน 153 ประเทศ องค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลมีสถานะเป็นมูลนิธิ ใน..

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล · ดูเพิ่มเติม »

ฮันนี่แบดเจอร์

ันนี่แบดเจอร์ (Honey badger, Ratel) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อ จัดอยู่ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Mellivora และวงศ์ย่อย Mellivorinae (บางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์ย่อย Mustelinae) มีถิ่นแพร่กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา, ตะวันออกกลาง และอนุทวีปอินเดี.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและฮันนี่แบดเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและทวีปอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอ็นเอ

กลียวคู่ดีเอ็นเอ กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid) หรือย่อเป็น ดีเอ็นเอ เป็นกรดนิวคลีอิกที่มีคำสั่งพันธุกรรมซึ่งถูกใช้ในพัฒนาการและการทำหน้าที่ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเท่าที่ทราบ (ยกเว้นอาร์เอ็นเอไวรัส) ส่วนของดีเอ็นเอซึ่งบรรจุข้อมูลพันธุกรรมนี้เรียกว่า ยีน ทำนองเดียวกัน ลำดับดีเอ็นเออื่น ๆ มีความมุ่งหมายด้านโครงสร้าง หรือเกี่ยวข้องกับการควบคุมการใช้ข้อมูลพันธุกรรมนี้ ดีเอ็นเอ อาร์เอ็นเอและโปรตีนเป็นหนึ่งในสามมหโมเลกุลหลักที่สำคัญในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ทราบ ดีเอ็นเอประกอบด้วยพอลิเมอร์สองสายยาวประกอบจากหน่วยย่อย เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ โดยมีแกนกลางเป็นน้ำตาลและหมู่ฟอสเฟตเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเอสเทอร์ ทั้งสองสายนี้จัดเรียงในทิศทางตรงกันข้าม จึงเป็น antiparallel น้ำตาลแต่ละตัวมีโมเลกุลหนึ่งในสี่ชนิดเกาะอยู่ คือ นิวคลีโอเบส หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เบส ลำดับของนิวคลีโอเบสทั้งสี่ชนิดนี้ตามแกนกลางที่เข้ารหัสข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลนี้อ่านโดยใช้รหัสพันธุกรรม ซึ่งกำหนดลำดับของกรดอะมิโนในโปรตีน รหัสนี้ถูกอ่านโดยการคัดลอกดีเอ็นเอเป็นกรดนิวคลีอิกอาร์เอ็นเอที่เกี่ยวข้องในขบวนการที่เรียกว่า การถอดรหัส ดีเอ็นเอภายในเซลล์มีการจัดระเบียบเป็นโครงสร้างยาว เรียกว่า โครโมโซม ระหว่างการแบ่งเซลล์ โครโมโซมเหล่านี้ถูกคัดลอกในขบวนการการถ่ายแบบดีเอ็นเอ ทำให้แต่ละเซลล์มีชุดโครโมโซมที่สมบูรณ์ของตัวเอง สิ่งมีชีวิตยูคาริโอต (สัตว์ พืช ฟังไจและโพรทิสต์) เก็บดีเอ็นเอส่วนมากไว้ในนิวเคลียส และดีเอ็นเอบางส่วนอยู่ในออร์แกเนลล์ เช่น ไมโทคอนเดรียและคลอโรพลาสต์ ในทางตรงข้าม โปรคาริโอต (แบคทีเรียและอาร์เคีย) เก็บดีเอ็นเอไว้เฉพาะในไซโทพลาสซึม ในโครโมโซม โปรตีนโครมาติน เช่น ฮิสโตนบีบอัดและจัดรูปแบบของดีเอ็นเอ โครงสร้างบีบอัดเหล่านี้นำอันตรกิริยาระหว่างดีเอ็นเอกับโปรตีนอื่น ช่วยควบคุมส่วนของดีเอ็นเอที่จะถูกถอดรหั.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและดีเอ็นเอ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศนิวซีแลนด์

นิวซีแลนด์ (New Zealand; มาวรี: Aotearoa หมายถึง "ดินแดนแห่งเมฆยาวสีขาว" หรือ Niu Tirenio ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษาอังกฤษ) เป็นประเทศที่ประกอบด้วยเกาะใหญ่ 2 เกาะ รวมถึงเกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง ในมหาสมุทรแปซิฟิกตอนตะวันตกเฉียงใต้ - นิวซีแลนด์มีเมืองหลวงชื่อเวลลิงตัน นิวซีแลนด์เป็นประเทศที่ห่างไกลจากประเทศอื่น ๆ มากที่สุด ประเทศที่อยู่ใกล้ที่สุดคือประเทศออสเตรเลีย ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะใหญ่ 2,000 กิโลเมตร โดยที่มี ทะเลแทสมันกั้นกลาง ดินแดนเดียวที่อยู่ทางใต้คือทวีปแอนตาร์กติกา และทางเหนือคือนิวแคลิโดเนีย ฟิจิ และตองกา นิวซีแลนด์ได้กลายเป็นอาณานิคมของอังกฤษด้วยสนธิสัญญาไวตางี (Treaty of Waitangi) เมื่อปี พ.ศ. 2383 ซึ่งได้สัญญาไว้ว่าจะให้สิทธิในการเป็นผู้นำชนเผ่าอย่างเต็มรูปแบบ "complete chieftainship" (tino rangatiratanga) แก่ชาวมาวรีพื้นเมืองของนิวซีแลนด์ ในปัจจุบันความหมายที่แน่นอนของสนธิสัญญานี้ยังคงเป็นข้อพิพาท และยังคงเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกและความไม่พอใจกันอยู่เนื่องจากมีการแปลสนธิสัญญาทั้งสองฉบับไม่ตรงกัน โดยในฉบับภาษาอังกฤษมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะปกครองประเทศและประชาชนของประเทศ ในขณะที่ในฉบับภาษามาวรีมีใจความว่าสหราชอาณาจักรจะเป็นฝ่ายสนับสนุนการปกครองของผู้นำที่ชาวมาวรีพึงใจให้ปกครอง ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและประเทศนิวซีแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

นกกีวี

นกกีวี (Kiwi) เป็นนกจำพวกหนึ่งที่บินไม่ได้ มีลักษณะที่แปลกไปจากนกอื่น ๆ ด้วยมีวิวัฒนาการเป็นของตัวเองอย่างชัดเจน เป็นนกออกหากินเวลากลางคืน มีถิ่นกำเนิดในธรรมชาติอยู่ในนิวซีแลนด์เท่านั้น นกกีวีจัดอยู่ในสกุล Apteryx ในวงศ์ Apterygidae.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและนกกีวี · ดูเพิ่มเติม »

นาก

นาก (ไทยถิ่นเหนือ: บ้วน) เป็นสัตว์อยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อันดับสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์ใหญ่ Mustelidae อันเป็นวงศ์เดียวกับวีเซลหรือเพียงพอน แต่นากจัดอยู่ในวงศ์ย่อย Lutrinae มีทั้งหมด 6 สกุล (ดูในตาราง) เป็นสัตว์บกที่สามารถว่ายน้ำและหากินในน้ำได้อย่างคล่องแคล่วมาก มีรูปร่างโดยรวมหัวสั้นและกว้างแบน หูมีขนาดเล็กซ่อนอยู่ใต้ขน นิ้วตีนทั้ง 4 ข้างมีพังผืดคล้ายตีนเป็ด ขนลำตัวสีน้ำตาลอมเทา มี 2 ชั้น ชั้นในละเอียด ชั้นนอกหยาบ ขาหลังใหญ่และแข็งแรงกว่า ขาหน้า ใช้ว่ายน้ำร่วมกับหาง มีฟันแหลมและแข็งแรง มีหนวดยาวใช้เป็นอวัยวะจับการเคลื่อนไหวของสิ่งที่อยู่ใต้น้ำและใช้เป็นประสาทสัมผัสเมื่อเวลาอยู่ในน้ำ ไล่จับปลาและสัตว์น้ำเล็ก ๆ เป็นอาหาร ในบางชนิดอาจกินสัตว์จำพวกอื่นที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ด้วย ออกหากินทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงเล็ก ๆ ขุดรูอยู่ริมตลิ่งใช้เป็นรังสำหรับอาศัยและเลี้ยงดูลูกอ่อน นากจึงเป็นสัตว์ที่มีที่อยู่ในธรรมชาติใกล้กับแหล่งน้ำหรือพื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ หลากหลายประเภท เช่น บึง, ทะเลสาบ, ลำธาร, ป่าชายเลน แม้แต่พื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ เช่น ท้องร่องในสวนผลไม้, นาข้าว หรือนากุ้ง เป็นต้น พบได้ทั่วโลก โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ นากยักษ์ (Pteronura brasiliensis) พบในลุ่มแม่น้ำอเมซอนในทวีปอเมริกาใต้ บางชนิดพบในทะเล คือ นากทะเล (Enhydra lutris) ที่สามารถนอนหงายท้องบนผิวน้ำทะเลและเอาหินทุบเปลือกหอยกินเป็นอาหารได้ด้วย นากมีความสำคัญต่อมนุษย์ คือ ในอดีตมีการล่าเพื่อเอาหนังและขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์ โดยเฉพาะในทวีปยุโรปมีการล่าอย่างหนัก ทำให้นากหลายชนิดเกือบสูญพันธุ์ ซึ่งเสื้อขนสัตว์ 1 ตัว ต้องใช้ขนของนากมากถึง 40 ตัว จนทำให้ใกล้สูญพันธุ์ กระทั่งในปี ค.ศ. 1975 ทางกองทุนสัตว์ป่าโลก ได้เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ยกเลิกการค้าหนังนาก ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้นากได้รับความคุ้มครอง แต่กระนั้นในบางพื้นที่ก็ยังคงมีการลักลอบกันอยู.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและนาก · ดูเพิ่มเติม »

นากยักษ์

นากยักษ์ (Giant otter;; ชื่อพื้นเมือง: lobo de río แปลว่า "หมาป่าแม่น้ำ") เป็นนากชนิดหนึ่ง จัดเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Pteronura แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง).

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและนากยักษ์ · ดูเพิ่มเติม »

นากจมูกขน

นากจมูกขน หรือ นากใหญ่หัวปลาดุก (Hairy-nosed otter) เป็นนากชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ในประเทศไทย มีรูปร่างหน้าตาคล้ายนากใหญ่ธรรมดา (L. lutra) ขนตามลำตัวมีสีดำหรือสีน้ำตาลเข้มเหมือนกำมะหยี่ มีลักษณะเด่นคือ มีขนปกคลุมบริเวณจมูกแตกต่างไปจากนากชนิดอื่น ๆ ที่บริเวณจมูกจะเป็นแผ่นหนังเรียบ ริมฝีปากบน คาง และคอด้านล่างมีสีขาว หัวแบน และปากค่อนข้างกว้าง มีความยาวลำตัวและหัว 50-82 เซนติเมตร ความยาวหาง 45-50 เซนติเมตร น้ำหนัก 5-6 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ตอนใต้ของกัมพูชา บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงของเวียดนาม, มาเลเซีย, ภาคตะวันตกของเกาะสุมาตราและบอร์เนียว สำหรับในประเทศไทยพบบริเวณภาคตะวันตกและภาคใต้ จากรายงานเมื่อปี พ.ศ. 2531 มีการพบนากจมูกขน 2 แห่ง คือ ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง และบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และในปี พ.ศ. 2542 มีผู้สามารถจับตัวได้อีกที่ป่าพรุโต๊ะแดง จังหวัดนราธิวาส ในบริเวณใกล้กับชายแดนมาเลเซีย นากจมูกขนนับว่าเป็นนากชนิดที่ได้ชื่อว่าหายากที่สุดในโลก เพราะมีรายงานพบเห็นเพียงไม่กี่ครั้งและมีการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมน้อยมาก มักพบนากชนิดนี้ตามพื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ปากแม่น้ำใกล้กับทะเลหรือชายฝั่ง มักอาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ในกลางปี พ.ศ. 2551 ได้มีการเปิดเผยว่าที่เวียดนามได้มีการค้นพบนากจมูกขนที่เขตป่าสงวนอูมิงห่า ในจังหวัดก่าเมา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้สุดของเวียดนาม เมื่อเดือนมีนาคม ปีเดียวกัน จากเดิมที่เคยเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปเมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและนากจมูกขน · ดูเพิ่มเติม »

นากทะเล

ำหรับนากทะเลที่อยู่ในสกุล Lontra ดูที่: นากทะเลอเมริกาใต้ นากทะเล (Sea otters) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเล ประเภทหนึ่งโดยอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก ในวัยเจริญพันธุ์จะมีน้ำหนักประมาณ 14–45 กิโลกรัม (31–99 ปอนด์) นากทะเลเป็นสัตว์ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ชนิดหนึ่ง และเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมทางทะเลที่มีขนาดเล็กที่สุดอีกด้วย นากทะเลนั้นไม่เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทางทะเลทั่วไปเพราะมีฉนวนกันความร้อนด้วยขนที่หนาแน่น จึงทำให้นากทะเลสามารถหาอาหารในทะเลเป็นเวลานาน ๆ ได้ นากทะเลจะอาศัยอยู่บริเวณชายฝั่ง โดยจะดำดิ่งสู่พื้นทะเลเพื่อหาอาหาร อาหารที่ชอบคือ สาหร่ายทะเล (ถ้าเป็นสาหร่ายเคลท์จะชอบมาก) เม่นทะเล หอยต่าง ๆ กุ้งบางชนิด และปลาบางชนิด นอกจากนี้นากทะเลยังเป็นสัตว์ที่สามารถวัดความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ได้อีกด้วย ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าพฤติกรรมการกินอาหารของนากทะเลที่ใช้หินทุบเปลือกหอยบนหน้าอกตัวเองนั้นเป็นพฤติกรรมที่มีมานานเป็นระยะเวลานับหลายล้านปี ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยถือว่าเป็นพฤติกรรมการกินอาหารที่พัฒนาขึ้นมาจากการกินหรือหาอาหารทั่วไปของสัตว์โลก และเป็นสัตว์ทะเลชนิดแรกที่มีพัฒนาการเช่นนี้ โดยการสังเกตพฤติกรรมแม้แต่ลูกนากทะเลกำพร้าในสถานที่เลี้ยงก็ยังพบว่ามีพฤติกรรมเช่นนี้ ในอดีตจำนวนากทะเลอยูที่ประมาณ 1,000–2,000 ตัวเท่านั้นเพราะถูกล่าอย่างหนักในปี..

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและนากทะเล · ดูเพิ่มเติม »

นากแม่น้ำ

นากแม่น้ำ (River otter) เป็นนากสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Lontra (/ลอน-ตร้า/) เป็นนากสกุลที่พบได้ในทวีปอเมริกา หรือซีกโลกใหม่ เดิมทีเคยถูกรวมให้เป็นสกุลเดียวกันกับสกุล Lutra หรือ นากใหญ่ แต่ปัจจุบันถูกจำแนกออกมาต่างหาก.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและนากแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

นากใหญ่

นากใหญ่ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสกุลหนึ่ง จำพวกนาก เป็นนากในสกุล Lutra (/ลู-ตร้า/) พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในทวีปยุโรปจนถึงทวีปเอเชียจนถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออก เป็นนากขนาดใหญ่มีอุปนิสัยอาศัยอยู่ตามลำพัง แตกต่างจากนากจำพวกอื่น ๆ เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำหรือบนบก โดยจะพบในพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น ลำธาร, ห้วย หรือแม้กระทั่งพื้นที่เกษตรกรรม หากินสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร เช่น ปลา, สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก และก็สามารถจับสัตว์อย่างอิ่น เช่น แมลง, สัตว์ฟันแทะ หรือสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง กินได้ด้วยยามเมื่อฤดูอาหารขาดแคลน เช่น ฤดูหนาว นากในสกุลนี้พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชียมาตั้งแต่ยุคไพลโอซีนตอนปลาย โดยมีชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว คือ Lutra palaeindica พบเป็นฟอสซิลที่เก่าแก่ที.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและนากใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

นากใหญ่ธรรมดา

นากใหญ่ธรรมดา หรือ นากยุโรป (Common otter, European otter) เป็นนากชนิดที่สามารถพบได้กว้างขวางมาก มีลำตัวยาว ขนหนาและหยาบเพื่อป้องกันมิให้น้ำซึมเข้ามา ทำให้ว่ายน้ำได้คล่องแคล่ว และป้องกันอากาศเย็นได้เป็นอย่างดี สีขนตามลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อน ในบางครั้งอาจเปลี่ยนหรือเห็นเป็นสีเทา บริเวณท้องมีสีขนที่อ่อนกว่า หัวแบนและกว้าง หูกลม หางเรียวยาว ขนสั้น นิ้วเท้ามีพังผืดยึดติดกัน.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและนากใหญ่ธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

นากใหญ่ขนเรียบ

นากใหญ่ขนเรียบ (smooth-coated otter) เป็นนากชนิดหนึ่ง จัดเป็นนากชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียมาก มีลักษณะแตกต่างไปจากนากใหญ่ธรรมดา (Lutra lutra) และ นากจมูกขน (L. sumatrana) คือ มีหัวกลม แนวขนบนจมูกเป็นรูปตัววีคว่ำ ขนสั้น หูมีขนาดเล็กและมีลิ้นปิดหูเวลาว่ายน้ำเพื่อมิให้น้ำเข้าหู ขนตามลำตัวมีสีน้ำตาลปนสีดำหรือสีน้ำตาลอ่อน บริเวณท้องมีสีอ่อนกว่าบริเวณหลัง หางแบน และมีความยาวประมาณร้อยละ 60 ของลำตัว อุ้งเท้าและนิ้วเท้ามีขนาดใหญ่ มีความยาวลำตัวและหัว 65–75 เซนติเมตร ความยาวหาง 40–45 เซนติเมตร น้ำหนักเต็มที่ 7–11 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่เนปาล, อินเดีย, ภาคตะวันตกของมณฑลยูนาน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนามตอนใต้, มาเลเซีย และเกาะสุมาตรา มีพฤติกรรมอาศัยตามพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นที่ลุ่มต่ำ เช่น ริมทะเลสาบ ลำธาร คลอง ใช้หนวดเป็นประสาทสัมผัสในการรับรู้ เช่นเดียวกับนากชนิดอื่น ๆ โดยใช้หนวดทำหน้าที่รับแรงสั่นสะเทือนจากการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ กินอาหารได้หลากหลายประเภท ทั้ง สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ รวมทั้งนกหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก เช่น หนู ด้วย ออกหากินทั้งกลางวันและกลางคืน มักอยู่รวมกันเป็นครอบครัวเล็ก ๆ ยกเว้นในสถานที่ที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์อาจอยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ มีเท้าและเล็บแข็งแรงจึงสามารถขุดรูริมตลิ่งได้ลึกถึง 3 เมตร เพื่อใช้การเลี้ยงดูลูกอ่อน ลูกนากที่เกิดใหม่จะลืมตาภายในเวลา 10 วัน และออกหากินได้เองเมื่ออายุได้ 3 เดือน สำหรับในประเทศไทย พบได้ทั่วทุกภาค โดยพบได้แม้กระทั่งในเมืองใหญ่ ๆ เช่น เมืองหลวงอย่าง กรุงเทพมหานคร ในแถบป่าชายเลน ในเขตบางขุนเทียน ฝั่งธนบุรี รวมถึงบริเวณพื้นที่พุทธมณฑล อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นเขตปริมณฑลกรุงเทพมหานคร นอกจากนี้แล้วในประเทศสิงคโปร์ แถบหน้ามารีนาเบย์แซนส์ โรงแรมขนาดใหญ่ที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนที่เป็นที่รู้จักดี ก็มีฝูงนากใหญ่ขนเรียบอาศัยอยู่ร่วมกับมนุษย์อย่างสง.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและนากใหญ่ขนเรียบ · ดูเพิ่มเติม »

นากเล็ก

นากเล็ก หรือ นากไร้เล็บ (Small-clawed otter, Clawless otter) เป็นนากสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Aonyx (/เอ-โอ-นิก/) โดยแปลว่า "ไร้เล็บ" มาจากคำว่า prefix 'a-' (ไม่) และ 'onyx' (เล็บ/ตะขอ) เป็นนากขนาดเล็ก มีเล็บและขาหน้าสั้นไม่แข็งแรง จึงไม่สามารถขุดโพรงได้เหมือนนากสกุลหรือชนิดอื่น ๆ พบกระจายพันธุ์ใน 2 ทวีป คือ เอเชียและแอฟริกา ลักษณะอุ้งตีนและเล็บของนากเล็กเล็บสั้น.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและนากเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

นากเล็กเล็บสั้น

นากเล็กเล็บสั้น (oriental small-clawed otter, Asian small-clawed otter) เป็นนากขนาดเล็กที่สุดในโลก ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย ขนตามลำตัวมีสีเทาเข้มหรือสีน้ำตาล แต่สีขนบริเวณท้องจะอ่อนกว่า แต่สามารถเปลี่ยนสีขนได้ตามฤดูกาล ลักษณะเด่นคือ พังผืดบริเวณนิ้วตีนจะมีขนาดเล็กลง ช่วยให้นิ้วเคลื่อนไหวได้คล่องตัวมากขึ้น ใต้คอมีสีขาว มีจมูกที่สั้นมากกว่านากชนิดอื่น ๆ ตัวที่ยังไม่โตเต็มวัยจะมีจมูกยาว และโค้งกว่า เมื่ออายุได้ 5 สัปดาห์จมูกก็จะหดสั้นลง มีความยาวลำตัวและหางประมาณ 45-55 เซนติเมตร ความยาวหาง 25-35 เซนติเมตร น้ำหนัก 1-3 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางทั้งในทวีปแอฟริกาและในทวีปเอเชีย ในทวีปเอเชียพบตั้งแต่ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย, เนปาล, บังกลาเทศ, ภาคใต้ของจีน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียวและเกาะชวา (แบ่งเป็น 3 ชนิดย่อย ดูในตาราง) นากเล็กเล็บสั้นมีความสามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ในธรรมชาติจะอาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น ลำธารขนาดเล็ก, ป่าชายเลน, ริมทะเลสาบ, ห้วย, หนอง, คลอง, บึง หรือแม้แต่ในพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นเขตเกษตรกรรมของมนุษย์ เช่น ตามท้องร่องสวนต่าง ๆ อาหารหลักได้แก่ สัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ แต่ชอบกินปูมากที่สุด มักอาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ นากเล็กเล็บสั้นไม่ได้ใช้หนวดเป็นประสาทสัมผัสในการรับรู้เหมือนนากชนิดอื่น ๆ เพราะมีประสาทสัมผัสอยู่ที่ขาหน้า ออกลูกตามโพรงไม้หรือโพรงหินที่มีอยู่แล้ว เพราะขาหน้าไม่แข็งแรงพอจะขุดโพรงริมตลิ่งได้เหมือนนากชนิดอื่น ๆ ออกหากินในเวลากลางคืน บางครั้งอาจพบได้ตั้งแต่ช่วงพลบค่ำจนถึงรุ่งเช้า นากเล็กเล็บสั้นหากนำมาเลี้ยงตั้งแต่ยังเล็ก จะเชื่องและสามารถทำตามคำสั่งของมนุษย์ได้ จึงมีการนำมาแสดงโชว์ตามสวนสัตว์ต่าง ๆ เช่น ซาฟารีเวิลด์ เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค แม้แต่กระทั่งพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยพบในพื้นที่แถบคลองบางมด เขตทุ่งครุ ฝั่งธนบุรี เป็นนากเล็กเล็บสั้นที่อาศัยอยู่รวมเป็นฝูง มีพฤติกรรมขโมยกินปลาของเกษตรกรในพื้นที่ตามท้องร่องสวนในเวลากลางคืน.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและนากเล็กเล็บสั้น · ดูเพิ่มเติม »

แบดเจอร์

แบดเจอร์ (badger) เป็นชื่อสามัญของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ในอันดับสัตว์กินเนื้อที่อยู่ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) แบ่งออกได้เป็น 3 วงศ์ย่อย 4 สกุล (ดูในตาราง-แต่โดยมากแล้วจะหมายถึง แบดเจอร์ยุโรป ที่จะอยู่ในวงศ์ย่อย Melinae).

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและแบดเจอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แบดเจอร์ยุโรป

แบดเจอร์ยุโรป หรือ แบดเจอร์ยูเรเชีย (European badger, Eurasian badger, Badger) เป็นแบดเจอร์ชนิดหนึ่ง นับเป็นแบดเจอร์ขนาดใหญ่และเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี มีส่วนหัวที่เล็ก มีคอที่สั้นและหนา และมีหางที่สั้นและดวงตาขนาดเล็ก มีจุดเด่น คือ สีที่มีลักษณะเฉพาะเป็นแถบสีดำและขาวบริเวณส่วนหัว และมีขนสีขาวที่ปลายสุดของหู ความยาวตั้งแต่หัวจรดหางมีขนาดยาวได้ถึง 750 มิลลิเมตร โดยมีความยาวของหางอยู่ที่ 150 มิลลิเมตร มีน้ำหนักตัวเฉลี่ยอยู่ที่ระหว่าง 8-10 กิโลกรัม โดยที่ตัวผู้จะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย มีฟันที่แหลมคมในปาก ซึ่งสามารถเขียนเป็นสูตรได้ว่า ลายแถบสีดำของแบดเจอร์มีทฤษฎีมากมายที่อธิบายถึงการมีอยู่ บ้างก็เชื่อว่า เพราะแบดเจอร์เป็นสัตว์ที่สายตาไม่ดี อีกทั้งหากินในเวลากลางคืน จึงช่วยในการติดต่อสื่อสารกันเพราะเป็นจุดเด่น หรือบ้างก็ว่า ช่วยในการป้องกันดวงตาเวลาต่อสู้กัน เป็นสัตว์ที่หาอาหารกินได้หลากหลายทั้งพืชและเนื้อสัตว์ โดยกินไส้เดือนดินเป็นอาหารหลัก และยังกินแมลงปีกแข็ง, ทาก, หนอนและดักแด้, หนูบ้าน, ผลไม้ และหัวของพืชหลาย ๆ ประเภท เป็นสัตว์ที่ออกหากินในเวลากลางคืน โดยจะเริ่มออกหากินตั้งแต่ช่วงโพล้เพล้ แบดเจอร์อาศัยอยู่ในโพรงดินที่ขุดจากกรงเล็บตีนที่แหลมคม โดยมีตัวผู้และตัวเมียที่โตเต็มวัยหลายตัวพร้อมกับลูกเล็ก ๆ ครอกหนึ่งหรือสองครอก โดยโพรงนี้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของแบดเจอร์หลายรุ่น ในโพรงมีทางเข้า-ออกหลายทาง แบ่งออกได้เป็นหลายห้อง โดยอาจมีได้ถึง 130 ทาง มีห้องถึง 50 ห้อง และมีอุโมงค์ทางเดินที่ทอดยาวได้ถึง 800 เมตร มีการสื่อสารระหว่างกันด้วยกลิ่น ซึ่งผลิตมาจากต่อมกลิ่นใกล้ก้น ถือเป็นเอกลักษณะประจำฝูงและประจำตัว นอกจากนี้แล้วแบดเจอร์ยังมีเสียงร้องที่แตกต่างกันได้ถึง 16 แบบ ครั้งหนึ่งมีความเชื่อกันว่าเสียงร้องของแบดเจอร์เป็นลางบอกเหตุว่า มีคนกำลังจะตาย แบดเจอร์เป็นสัตว์ที่มีกิจวัตรประจำวันที่ทำซ้ำตรงเวลาในทุก ๆ วัน และเมื่อหาคู่ จะตามหาคู่ด้วยกลิ่น ซึ่งบางครั้งอาจใช้เวลานานหลายสัปดาห์ แบดเจอร์เริ่มจับคู่ผสมพันธุ์ได้ตลอดทั้งปีแต่ไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์แล้วจะถูกระงับการพัฒนาการไว้ชั่วคราวอยู่ในมดลูกจนกระทั่งถึงช่วงฤดูหนาวซึ่งเป็นช่วงที่ไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์จะได้รับการฝังไว้ในมดลูกและจะเจริญเติบโตต่อไปตามปกติ ทำให้ลูกแบดเจอร์ที่เกิดจากไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์ไม่ว่าช่วงไหนของปี จะคลอดมาพร้อม ๆ กัน หลังจากที่ไข่ซึ่งได้รับผสมพันธุ์ถูกฝังไว้ในมดลูกแล้ว ระยะเวลาการตั้งท้องจะอยู่ที่ 6-7 สัปดาห์ มีลูกได้ครอกละ 1-5 ตัว แต่ตามปกติแล้วจะอยู่ที่ 2-3 ตัว ลูกแบดเจอร์จะได้รับการเลี้ยงดูอยู่ใต้ดินเป็นเวลาถึง 8 สัปดาห์และจะเริ่มออกมาในช่วงฤดูใบไม้ผลิเท่านั้น ลูกแบดเจอร์จะหย่านมที่ช่วงเวลาประมาณ 12 สัปดาห์ แบดเจอร์ตัวเมียจะโตเต็มวัยเจริญพันธุ์หลังจาก 12–15 เดือน แต่ตัวผู้นั้นจะไม่โตเต็มวัยเจริญพันธุ์จนกระทั่งเข้าถึงช่วงอายุปีที่ 2 ในช่วงฤดูหนาวแบดเจอร์จะไม่จำศีลแต่จะมีการเคลื่อนไหวน้อยลง มีการแพร่กระจายพันธุ์ที่กว้างไกลในหลายส่วนของทวีปยุโรปจนถึงบางส่วนในเอเชีย เช่น ยูเรเชีย, ตะวันออกกลาง แบ่งออกได้เป็น 8 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) แบดเจอร์ ในอดีตมีการล่าเพื่อนำหนังและขนมาใช้ประโยชน์ต่าง ๆ รวมถึงการรับประทานเนื้อด้วย อีกทั้งแบดเจอร์ยังเป็นสัตว์รังควานต่อมนุษย์อีกด้วย และยังเป็นพาหะนำโรคบางอย่างสู่แก่ปศุสัตว์เช่น วัว ด้ว.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและแบดเจอร์ยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

เฟร์ริต

ฟอเรท (ferret) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง จำพวกวีเซล นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง เฟอเรทเป็นชนิดย่อยของโพลแคตยุโรป (M. putorius) ที่เป็นวีเซลหรือเพียงพอนที่พบได้ในทวีปยุโรป จากการตรวจสอบทางดีเอ็นเอพบว่าเฟอเรทนั้นถูกมนุษย์เลี้ยงกันมาถึง 2,500 ปีแล้ว โดยในประวัติศาสตร์ จะมีเฟอเรทปรากฏตามที่ต่าง ๆ อาทิ ปรากฏในภาพวาดของลีโอนาร์โด ดา วินชี หรือเป็นสัตว์เลี้ยงของสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 1 แห่งจักรวรรดิอังกฤษ และยังเป็นสัตว์ที่ใช้ในการวางสายเคเบิลในการถ่ายทอดพระราชพิธีอภิเษกสมรสของเจ้าฟ้าชายชาลส์ กับเลดี้ไดอานา ในปี ค.ศ. 1981 ด้วยPets 101: Pet Guide, สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2556 เฟอเรทมีความยาวประมาณ 20 นิ้ว (51 เซนติเมตร) และความยาวหาง 5 นิ้ว (13 เซนติเมตร) น้ำหนักประมาณ 1.5–4 ปอนด์ (0.7–2 กิโลกรัม) อายุขัยโดยเฉลี่ย 7-10 ปี ตัวผู้นั้นจะมีความยาวมากกว่าตัวเมีย อาหารที่เฟอเรทกินนั้นคือเนื้อสัตว์เท่านั้น ไม่ใช่ผลไม้ หากเฟอเรทกินผลไม้อาจจะทำให้เฟอเรทเสียชีวิตจากการที่อาหารไม่ย่อย หรือกระทั่งเป็นเบาหวานได้ ในสหรัฐอเมริกา เฟอเรทถูกนำเข้ามาในฐานะของสัตว์ที่ฝึกไว้สำหรับล่ากระต่าย ซึ่งเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของเฟอเรทหรือวีเซลอยู่แล้ว ที่ล่าสัตว์ขนาดเล็กตามโพรงดิน เช่น หนู, กระต่าย เป็นอาหาร โดยการมุดเข้าไปลากออกมาถึงในโพรง เฟอร์เร็ตนับเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีจำนวนชิ้นกระดูกสันหลังมากที่สุดในโลก โดยมีกระดูกที่ต้นคอถึง 7 ชิ้น และสะโพก 6 ชิ้น นั่นจึงทำให้เฟอร์เร็ตสามารถที่จะมุดหรือลอดไปตามโพรงหรือรูเรี้ยวต่าง ๆ ได้อย่างยืดหยุ่น คล่องแคล่ว เฟอเรทเป็นสัตว์ที่สามารถเลี้ยงไว้ในบ้านได้เป็นอย่างดี แต่มีข้อเสียคือ กลิ่นตัวที่เหม็น โดยเฉพาะเมื่อตกใจจะปล่อยกลิ่นออกมาตามสัญชาตญาณธรรมชาติ หลังจากผสมผ่านไป 2 สัปดาห์ ท้องตัวเมียจะใหญ่ขึ้น เห็นราวนมชัดขึ้น มีระยะเวลาตั้งท้องนาน 42วัน มีลูกปีละ 1-2 ครั้ง โดยสามารถคลอดลูกได้ถึง 2-12ตัวต่อครั้ง ใช้เวลาเลี้ยงลูกให้นมลูกนานราว 6สัปดาห์ จากนั้นลูกเฟอร์เร็ตจะเริ่มกินอาหาร กินเนื้อได้เอง ซึ่งในประเทศไทย ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์เฟอเรทได้แล้ว แทนการนำเข้ามาจากต่างประเท.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและเฟร์ริต · ดูเพิ่มเติม »

เพียงพอน

ระวังสับสนกับ: พังพอน เพียงพอน (weasel, mink, ferret, ermine, polecat) คือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Mustela ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงศ์ Mustelidae มีถิ่นกำเนิดกว้างขว้างทั้งในทวีปเอเชีย, แอฟริกาเหนือ, ยุโรป, อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ เพียงพอนมีรูปร่างโดยรวมเป็นสัตว์ขนาดเล็ก มีความยาวตั้งแต่ 15–55 เซนติเมตร น้ำหนักตั้งแต่ 30–40 กรัม ไปจนถึง 1.4–3.2 กิโลกรัม เป็นสัตว์กินเนื้อเป็นอาหาร มีรูปร่างเพรียวยาว ส่วนขาทั้งสี่ข้างสั้น มีนิ้วเท้า 5 นิ้ว เล็บมีความแหลมคม แต่พับเก็บเล็บไม่ได้ ปากแหลม ภายในปากมีฟันแหลมคมจำนวน 34 ซี่ ทุกชนิดจะมีต่อมกลิ่นที่ก้น ซึ่งจะผลิตสารเคมีสีเหลืองคล้ายน้ำมันที่มีกลิ่นเหม็นรุนแรง ใช้ในประกาศอาณาเขต เป็นสัตว์มีความปราดเปรียวว่องไว หากินได้ทั้งกลางวันและกลางคืน โดยจะล่าสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู, หนูผี, ตุ่น, แมลง, สัตว์เลื้อยคลาน หรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเป็นอาหาร รวมทั้งอาจล่ากระต่ายได้ด้วย รวมทั้งล่าเป็ด, ไก่, นกกระทา ในพื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ได้ด้วย ซึ่งจะใช้ลำตัวที่เพียวยาวนั้นมุดเข้าไปล่าถึงในโพรงดิน นอกจากนี้แล้ว เพียงพอนเป็นสัตว์ที่เมื่อผสมพันธุ์กันแล้ว ตัวผู้จะผสมกับตัวเมียหลายตัว แต่จะอยู่กับตัวเมียเพียงตัวเดียว ในบางชนิด ไข่เมื่อได้รับการปฏิสนธิแล้ว จะยังไม่ฝังตัวในผนังมดลูก แต่จะลอยอยู่อย่างนั้น ซึ่งอาจกินเวลานับ 10 เดือน จะฝังตัวเฉพาะเมื่อถึงฤดูกาลที่อาหารอุดมสมบูรณ์เท่านั้น มีระยะเวลาการตั้งท้องนานประมาณ 35–45 วัน ออกลูกครั้งละ 4–10 ตัว และอาจมากได้ถึง 13 ตัว ซึ่งจะออกลูกในโพรงของสัตว์ที่ล่าได้ ลูกที่เกิดใหม่ตาจะยังไม่ลืม จะมีขนบาง ๆ ปกคลุมลำตัวเท่านั้น จะลืมตาเมื่ออายุได้ 3–4 สัปดาห์ หรืออาจจะ 5–6 สัปดาห์ มีระยะเวลาการกินนมแม่ 5–10 สัปดาห์ และจะอาศัยอยู่กับแม่จนอายุได้ 1 ปี ในอดีต เพียงพอนมักถูกมนุษย์ล่า เพื่อนำขนและหนังไปทำเป็นเสื้อขนสัตว์ที่เรียกว่า "เสื้อขนมิงก์" ในปัจจุบัน ในบางชนิดนิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง แบ่งออกได้เป็น 18 ชนิด (ดูในตาราง) ในประเทศไทยมักพบในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลนับพันเมตร พบประมาณ 3 ชนิด ได้แก่ เพียงพอนไซบีเรีย (M. sibirica), เพียงพอนเหลือง (M. nudipes) และเพียงพอนเส้นหลังขาว (M. strigidorsa).

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและเพียงพอน · ดูเพิ่มเติม »

เพียงพอนสีน้ำตาล

ียงพอนสีน้ำตาล หรือ เพียงพอนเล็ก (Brown weasel, Least weasel) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินเนื้อชนิดหนึ่ง จำพวกเพียงพอน มีรูปร่างเพรียวยาว ว่องไวปราดเปรียว มีลักษณะเด่นคือ มีสีขนแบ่งแยกกันชัดเจน โดยสีขนด้านบนลำตัวจะเป็นสีน้ำตาลแดง ส่วนด้านล่างซึ่งเป็นด้านท้องจะเป็นสีขาว ในฤดูหนาวสีขนด้านบนจะเปลี่ยนเป็นสีขาวทั้งลำตัว มีความยาวลำตัวตั้งแต่หัวจนถึงโคนหาง 18-23 เซนติเมตร ความยาวหางประมาณ 5-7 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 45-130 กรัม มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมากตั้งแต่ทวีปยุโรป, อเมริกาเหนือ, เอเชียตะวันตก, มณฑลเสฉวนในประเทศจีน และตอนเหนือของเวียดนาม แบ่งออกเป็นชนิดย่อยได้ถึง 19 ชนิด (ดูในตาราง) มีพฤติกรรมอาศัยและหากินตามพื้นดินเป็นหลัก โดยล่าสัตว์ขนาดเล็กกว่ากินเป็นอาหาร เช่น นก, หนู, ตุ่น, กระต่าย โดยบางครั้งจะใช้ลำตัวที่เพรียวยาวนั้นมุดเข้าไปลากจับจากในโพรงดินหรือรัง ในฤดูผสมพันธุ์จะอยู่ด้วยกันเป็นคู่ สามารถปีนต้นไม้ได้ และปราดเปรียวว่องไว บางครั้งอาจขึ้นไปนอนหลับบนต้นไม้ได้.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและเพียงพอนสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

เพียงพอนโคลัมเบีย

ียงพอนโคลัมเบีย (Colombian weasel) เป็นสัตว์ที่อยู่ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ที่หายากมาก พบได้เฉพาะบริเวณ Hulia และ Cauca ในประเทศโคลัมเบีย (Columbia) และทางตอนเหนือของประเทศเอกวาดอร.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและเพียงพอนโคลัมเบีย · ดูเพิ่มเติม »

เพียงพอนไซบีเรีย

ียงพอนไซบีเรีย (Siberian weasel, Kolonok) เป็นเพียงพอนชนิดหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายกับเพียงพอนทั่ว ๆ ไป คือ เพรียวยาว ส่วนขาสั้น ลำตัวด้านบนมีสีน้ำตาลอ่อน บริเวณส่วนท้องจะมีสีที่อ่อนกว่า แต่สีจะเข้มขึ้นในช่วงฤดูร้อน ขนบริเวณคอจะมีสีขาวหรือสีน้ำตาลแดง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 27-30 เซนติเมตร ความยาวหางประมาณ 13.5-15 เซนติเมตร โดยตัวผู้จะมีน้ำหนักและขนาดที่ใหญ่กว่าตัวเมีย น้ำหนักประมาณ 0.5-2 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ค่อนข้างกว้าง โดยพบตั้งแต่ไซบีเรียในรัสเซีย, เอเชียกลาง, เอเชียตะวันออก, อนุทวีปอินเดีย, ภาคเหนือและภาคอีสานของไทย และทางตอนเหนือของลาวและเวียดนาม มักอาศัยอยู่ในป่าที่อุดมสมบูรณ์ที่มีความชื้นไม่มากนัก และอยู่ในระดับพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,500-5,000 เมตร บางครั้งอาจเข้ามาหากินในพื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ได้ ออกหาสัตว์ขนาดเล็กกว่า เช่น หนู เป็นอาหาร ออกหาอาหารทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน ส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่ในโพรงดิน ผสมพันธุ์ในเดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม ตั้งท้องนาน 35-45 วัน ออกลูกครั้งละ 4-10 ตัว จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและเพียงพอนไซบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เพียงพอนเส้นหลังขาว

ียงพอนเส้นหลังขาว หรือ เพียงพอนหลังขาว (Back-striped weasel) เป็นเพียงพอนชนิดหนึ่ง มีรูปร่างเหมือนกับเพียงพอนชนิดอื่น ๆ แต่มีลักษณะเด่น คือ มีแถบสีขาวแคบ ๆ พาดตามแนวสันหลังบริเวณกึ่งกลางหลัง ตั้งแต่ท้ายทอยจรดโคนหาง และมีอีกแถบสีคล้ายคลึงกันตามแนวกึ่งกลางของใต้ท้อง ขนตามบริเวณลำตัวและหางมีสีน้ำตาลเข้ม บริเวณใต้คางและใต้คอมีสีเหลืองอ่อน หางมีความยาวประมาณครึ่งหนึ่งของลำตัว ตัวผู้จะมีแถบขนสีขาวพาดอยู่เพียงเส้นเดียว ขณะที่ตัวเมียจะมีอยู่ด้วยกันสองเส้น มีความยาวลำตัวตั้งแต่หัวจรดโคนหางประมาณ 27.5-32.5 เซนติเมตร ส่วนหางยาว 14.5-20.5 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 1-2 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์ในป่าบนภูเขาที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,200-2,000 เมตร และเคยมีรายงานว่าพบในป่าผลับใบบนพื้นที่สูง ตั้งแต่แคว้นสิกขิมในอินเดีย, เนปาล, ภูฐาน, จีนทางตอนใต้, ลาวและเวียดนามทางตอนเหนือ และภาคเหนือและภาคอีสานของไทย มีพฤติกรรมออกล่าเหยื่อในเวลากลางวัน โดยมักล่าสัตว์ขนาดเล็ก เช่น หนู เป็นอาหาร โดยเมื่อจับได้แล้วมักจะกัดที่จมูกจนตาย ในประเทศไทย จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและเพียงพอนเส้นหลังขาว · ดูเพิ่มเติม »

เลโอนาร์โด ดา วินชี

ลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) เป็นชาวอิตาลี (เกิดที่เมืองวินชี วันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1452 - เสียชีวิตที่เมืองออมบัวซ์ ในวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1519) เป็นอัจฉริยบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย เป็นทั้ง สถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาคศาสตร์ นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ นักดาราศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ ดา วินชี มีงานศิลปะที่มีชื่อเสียงหลายชิ้น เช่น พระกระยาหารมื้อสุดท้าย และ โมนา ลิซ่า งานของ ดา วินชี ยังสร้างคุณประโยชน์กับวิชากายวิภาคศาสตร์ ดาราศาสตร์ เป็นบุคคลแรกที่วางรากฐานด้านการบิน รวมถึงวิศวกรรมโยธา ด้วยความที่เป็นบุรุษที่มีจิตวิญญาณที่รักในศาสตร์หลายแขนง เลโอนาร์โดทำให้เกิดจิตวิญญาณของสหวิทยาการในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และกลายเป็นบุคคลสำคัญของยุคนั้น นักประวัติศาสตร์และนักวิชาการหลายคนต่างยกย่องเลโอนาร์โดเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลมและเป็นผู้รู้รอบด้าน หรือ "ชายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา" (Renaissance Man) บุคคลที่มี "ความอยากรู้อยากเห็นอย่างไม่มีข้อกังขา" และ "จินตนาการที่สร้างสรรค์ขึ้นเรื่อย ๆ".

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและเลโอนาร์โด ดา วินชี · ดูเพิ่มเติม »

เออร์มิน

ออร์มิน หรือ สโทธ หรือ เพียงพอนหางสั้น (Ermine, Stoat, Short-tailed weasel) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกินเนื้อขนาดเล็กจำพวกวีเซล หรือเพียงพอน เออร์มิน เป็นสัตว์ที่มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ที่ทวีปยุโรป, ยูเรเชีย และอเมริกาเหนือ เป็นสัตว์นักล่าที่หากินสัตว์ขนาดเล็กต่าง ๆ ไม่เลือก เป็นอาหาร เป็นสัตว์ที่ถูกล่าเพื่อนำหนังและขนทำเป็นเสื้อขนสัตว์ สีขนของเออร์มินจะเปลี่ยนไปเป็นสีขาวล้วนในช่วงฤดูหนาว สีขนโดยปกติจะเป็นสีน้ำตาลที่ส่วนหลัง บริเวณท้องซีดจางกว่า หางเป็นพุ่มพวงปลายหางแหลมเป็นสีดำ สามารถแบ่งออกได้เป็นชนิดย่อยทั้งสิ้น 37 ชนิด ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียมาก พฤติกรรมในธรรมชาติ ตัวเมียจะผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกันยายนและพฤศจิกายนและมีระยะเวลาการตั้งท้องนาน 8-11 เดือน ออกลูกเพียงปีละครั้ง ครั้งหนึ่งประมาณ 6-13 ตัว มีพฤติกรรมอาศัยอยู่อย่างกระจัดกระจาย สามารถพบเห็นได้ตามหาดทรายจนถึงบนชนบทที่อยู่สูง โดยสามารถพบได้ในทุกความสูงจากระดับน้ำทะเล เออร์มินชอบที่จะอยู่ในป่าที่เป็นถิ่นกำเนิดดั้งเดิม, ป่าละเมาะ, เนินทราย และพุ่มหญ้า จัดเป็นสัตว์ที่มีความว่องไวมากและจากการที่เป็นสัตว์ที่กินอาหารไม่เลือก จึงสร้างความเสียหายใหญ่หลวงให้แก่นก และสัตว์อื่น ๆ เพราะสามารถล่านกตลอดจนไข่กินเป็นอาหารได้ และจัดเป็นสัตว์รังควานอีกชนิดหนึ่ง เออร์มินได้ถูกนำเข้าไปในนิวซีแลนด์ ซึ่งดั้งเดิมไม่เคยมีสัตว์กินเนื้อมาก่อน ปัจจุบันเออร์มินได้กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นไปแล้ว ที่คุกคามสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นที่มีเฉพาะในนิวซีแลนด์หลายชนิด เช่น นกกีวี หรือนกแก้วคาคาโป โดยเออร์มินจะเข้าไปกินไข่หรือล่าตัวอ่อนนกเหล่านี้ ซึ่งเป็นนกบินไม่ได้เป็นอาหาร อันเป็นสาเหตุหนึ่งของการใกล้สูญพัน.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและเออร์มิน · ดูเพิ่มเติม »

เอนไซม์

TIM. Factor D enzyme crystal prevents the immune system from inappropriately running out of control. เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เป็นคำในภาษากรีก ένζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo (":en:leaven" หรือ ":en:yeast") เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปกติ (malfunction) เช่น.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและเอนไซม์ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มบริโอ

อ็มบริโอของมนุษย์อายุ 6 สัปดาห์ เอ็มบริโอ (แปลว่า สิ่งที่เติบโต) คือระยะแรกในพัฒนาการของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์จำพวกยูคาริโอต ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มมีการแบ่งเซลล์จนกระทั่งเกิด, ฟักออกจากไข่, หรืองอกในกรณีของพืช สำหรับในมนุษย์ระยะเอ็มบริโอเริ่มหลังจากการปฏิสนธิจนกระทั่งสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 8 ซึ่งหลังจากนั้นจะเรียกสิ่งมีชีวิตว่าระยะทารกในครรภ์ หรือฟีตัส (fetus).

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและเอ็มบริโอ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องเรือน

โต๊ะกินข้าวสำหรับสองที่ เครื่องเรือน หรือ เฟอร์นิเจอร์ (Meuble; Möbel; Mobiliario; Furniture) เป็นสิ่งของที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ที่อาจรองรับการใช้งานของร่างกายมนุษย์ (เช่นเครื่องเรือนการนั่งและเตียงนอน) หรือมีไว้สำหรับเก็บของ หรือเก็บวัตถุทางแนวตั้งเหนือพื้นผิวของพื้นดิน เครื่องเรือนสำหรับเก็บของมักมีประตู บานเลื่อน และชั้นเก็บของ ที่อาจเก็บของชิ้นเล็ก ๆ อย่างเสื้อผ้า,อุปกรณ์,หนังสือ ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องเรือนอาจเป็นผลิตผลที่เกิดจากการออกแบบทางด้านศิลปะ และอาจถือได้ว่าเป็นงานศิลปะประดับตกแต่ง นอกจากนี้อาจมีความหมายในทางเชิงสัญลักษณ์หรือทางด้านศาสนา เครื่องเรือนอาจมีส่วนประกอบร่วมอื่นอย่างเช่นนาฬิกาหรือโคมไฟ เพื่อประโยชน์ใช้สอยพื้นที่ภายใน เครื่องเรือนสามารถทำได้จากวัสดุหลากหลายประเภท อย่างเช่น เหล็ก, พลาสติก และไม้ หมวดหมู่:เครื่องอุปโภค หมวดหมู่:บ้าน หมวดหมู่:เครื่องเรือน หมวดหมู่:การออกแบบเชิงอุตสาหกรรม.

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและเครื่องเรือน · ดูเพิ่มเติม »

เซเบิล

ซเบิล (sable) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ในอันดับสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae).

ใหม่!!: วงศ์เพียงพอนและเซเบิล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

MustelidMustelidaeMustilidaeWeasel familyวงศ์วีเซล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »