โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์เต่าสแนปปิ้ง

ดัชนี วงศ์เต่าสแนปปิ้ง

วงศ์เต่าสแนปปิ้ง (Snapping turtle) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าขนาดใหญ่ วงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chelydridae ลักษณะสำคัญของเต่าในวงศ์นี้ คือ เป็นเต่าน้ำจืดขนาดใหญ่ มีส่วนหัวและขาที่ใหญ่จนไม่สามารถหดเข้าในกระดองได้ กระดองหลังแบนและกว้าง ส่วนกระท้องท้องเล็กมาก ก้านกระดูกไปเชื่อมต่อกับขอบกระดองหลังตรึงแน่น ด้านท้ายของกะโหลกเว้ามาก หางยาว จึงเป็นเต่าที่ว่ายน้ำไม่ได้ดีนัก จึงใช้การเคลื่อนไหวด้วยการเดินใต้น้ำแทน การหุบขากรรไกรล่างเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อที่ผ่านไปบนก้านกระดูกโพรโอติก และขากรรไกรติดกับพื้นผิวของก้านกระดูกโพรโอติกที่อยู่ในซัยโนเวียลแคปซูล ขอบนอกของกระดองหลังมีร่องที่แบ่งเป็นกระดูกชิ้นเล็กจำนวน 11 คู่ กระดูกเชิงกรานเชื่อมติดกับกระดองท้องในลักษณะยืดหยุ่นได้ ซึ่งเต่าในวงศ์นี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับเต่าในวงศ์ Platysternidae หรือ เต่าปูลู ที่พบในทวีปเอเชีย ซึ่งมีขนาดเล็กกว่ามาก ซึ่งในบางข้อมูลได้จัดรวมทั้ง 2 วงศ์นี้ให้อยู่ด้วยกัน แต่เป็นวงศ์ย่อยของกันและกัน เต่าสแนปปิ้ง สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สกุล (ดูในตาราง) เป็นเต่าที่อาศัยและหากินในน้ำเป็นหลัก ด้วยวิธีการฉกเหยื่อด้วยกรามที่ทรงพลังด้วยความรุนแรงและรวดเร็ว อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ พบกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาเหนือ ถือเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เพราะได้ปรากฏขึ้นมาเป็นโลกเป็นเวลานานถึง 90 ล้านปีแล้ว และเหลือสมาชิกที่ยังคงดำรงเผ่าพันธุ์อยู่แค่ไม่กี่ชนิดเท่านั้น.

23 ความสัมพันธ์: ชื่อสามัญพ.ศ. 2552กล้ามเนื้อกะโหลกศีรษะการว่ายน้ำการสูญพันธุ์การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตั้งชื่อทวินามยุคครีเทเชียสสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์เลื้อยคลานสปีชีส์อันดับย่อยเต่าทวีปอเมริกาเหนือทวีปเอเชียซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตน้ำจืดเต่าเต่าสแนปปิ้งเต่าอัลลิเกเตอร์เต่าปูลู

ชื่อสามัญ

ื่อสามัญ (Common name) หมายถึง ชื่อที่เรียกกันทั่วไปในการอนุกรมวิธานสิ่งมีชีวิต ใช้ชื่ออาจให้ชื่อตามลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ เช่น ต้นแปรงขวด, ว่านหางจระเข้ หรืออาจเรียกชื่อตามถิ่นกำเนิด เช่น ผักตบชวา, มันฝรั่ง หรืออาจเรียกตามชื่อที่อยู่ เช่น ดาวทะเล, ทากบก นอกจากนี้ในแต่ละถิ่นยังเรียกชื่อต่างกันเช่น แมลงปอ ภาคใต้เรียกว่า "แมงพี้" ภาคเหนือเรียก "แมงกะบี้" เป็นต้น ซึ่งชื่อสามัญอาจจะซ้ำซ้อนกันได้ จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อระบุให้ถูกต้อง.

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและชื่อสามัญ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

กะโหลกศีรษะ

วาดแสดงมุมมองจากทางด้านหน้าของกะโหลกศีรษะของมนุษย์ กะโหลกศีรษะ เป็นโครงสร้างของกระดูกที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างที่สำคัญของส่วนศีรษะในสัตว์ในกลุ่มเครนิเอต (Craniate) หรือสัตว์ที่มีกะโหลกศีรษะ ซึ่งรวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิด กะโหลกศีรษะทำหน้าที่ปกป้องสมองซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบบประสาท รวมทั้งเป็นโครงร่างที่ค้ำจุนอวัยวะรับสัมผัสต่างๆ ทั้งตา หู จมูก และลิ้น และยังทำหน้าที่เป็นทางเข้าของทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ การศึกษาเกี่ยวกับกะโหลกศีรษะมีประโยชน์อย่างมากหลายประการ โดยเฉพาะการศึกษาในเชิงกายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบระหว่างสัตว์ชนิดต่างๆ ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านบรรพชีวินวิทยาและความเข้าใจถึงลำดับทางวิวัฒนาการ นอกจากนี้การศึกษาลงไปเฉพาะกะโหลกศีรษะมนุษย์ก็มีประโยชน์อย่างมากในการศึกษาด้านนิติเวชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ รวมทั้งมานุษยวิทยาและโบราณคดี.

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและกะโหลกศีรษะ · ดูเพิ่มเติม »

การว่ายน้ำ

การว่ายน้ำท่ากบ การว่ายน้ำ (Swimming) เป็นกระบวนการในการเคลื่อนที่ในน้ำของมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตอื่น การว่ายน้ำของมนุษย์มีจุดประสงค์หลายอย่าง เช่น นันทนาการ การแข่งขัน การออกกำลังกาย การว่ายน้ำนั้นมีการแบ่งออกเป็นท่าต่าง ๆ โดยท่าที่ใช้สำหรับแข่งขันนั้นได้แก่ ท่าฟรีสไตล์ ท่ากบ ท่ากรรเชียง และท่าผีเสื้อ การแข่งขันอีกประเภทหนึ่งคือการแข่งขันแบบ "ฟรีสไตล์" ซึ่งผู้เข้าแข่งขันสามารถว่ายน้ำแบบใดก็ได้ นักว่ายน้ำส่วนใหญ่เลือกใช้ท่าฟรอนท์ครอล (front crawl) ทำให้มักเรียกการว่ายน้ำแบบนี้ว่าฟรีสไตล์ สหพันธ์ว่ายน้ำระหว่างประเทศ (FINA) เป็นจัดการแข่งขันว่ายน้ำ (และกีฬาทางน้ำอื่น) ในระดับนานาชาติ การแข่งขันว่ายน้ำเป็นหนึ่งในการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน.

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและการว่ายน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

ยุคครีเทเชียส

ูแรสซิก←ยุคครีเทเชียส→ยุคพาลีโอจีน ยุคครีเทเชียส (Cretaceous) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ยุคครีเทเชียสอยู่ถัดจากยุคจูแรสซิก คือประมาณ 145.5 ± 4.0 ล้านปีก่อน และอยู่ก่อนหน้ายุคพาลีโอจีน หรือประมาณ 65.5 ล้านปีก่อนถึง 23.03 ล้านปีก่อน ถือเป็นยุคที่ยาวนานที่สุดและกินเวลาเกือบครึ่งหนึ่งของมหายุคมีโซโซอิก จุดสิ้นสุดของยุคครีเทเชียสเป็นรอยต่อระหว่างมหายุคมีโซโซอิกกับมหายุคซีโนโซอิก ชื่อ ครีเทเชียส มาจากภาษาลาติน creta แปลว่าชอล์ก ยุคนี้กำหนดโดยนักธรณีวิทยาชาวเบลเยียม ฌ็อง โดมาลิวส์ ดัลลัว (Jean d'Omalius d'Halloy) เมื่อ ค.ศ. 1822 โดยอาศัยชั้นหินในแอ่งปารีส และตั้งชื่อดังกล่าวจากปริมาณชาล์ก ซึ่งเป็นแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเล โดยเฉพาะค็อคโคลิท ที่พบในยุคครีเทเชียสตอนบน ในทวีปยุโรปและบนเกาะอังกฤษ ยุคครีเทเชียสเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดของไดโนเสาร์ และเมื่อปลายยุคครีเทเชียสเมื่อ 65 ล้านปีก่อน เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทำให้สิ่งมีชีวิตถึง 94% สูญพันธุ์ ซึ่งรวมถึงไดโนเสาร์ด้ว.

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและยุคครีเทเชียส · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลื้อยคลาน

ัตว์เลื้อยคลาน (reptile) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มีความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานในยุคดึกดำบรรพ์ที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิดชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน, สัตววิทยา, บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 364 กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก จัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายในการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ในยุคจูแรสซิกที่อยู่ในมหายุคมีโซโซอิก ซึ่งมีอายุของยุคที่ยาวนานถึง 100 ล้านปี จัดเป็นยุคที่สัตว์เลื้อยคลานมีวิวัฒนาการจนถึงขีดสุด มีสัตว์เลื้อยคลานมากมายหลากหลายขนาด ตั้งแต่กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ จนถึงไทรันโนซอรัส เร็กซ์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ ที่มีจำนวนมากมายครอบครองพื้นที่ทั่วทุกแห่งในโลก ยุคจูแรสซิกจึงถือเป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลานอย่างแท้จริง ต่อมาภายหลังเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลก ทำให้กลุ่มสัตว์บกที่อาศัยในยุคจูแรสซิก เกิดล้มตายและสูญพันธุ์อย่างกะทันหันโดยไม่ทราบสาเหตุของการสูญพันธุ์ที่ชัดเจนและแน่นอน.

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและสัตว์เลื้อยคลาน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยเต่า

อันดับย่อยเต่า (Turtle, Tortoise, Soft-shell turtle) เป็นอันดับย่อยของสัตว์เลื้อยคลานในอันดับเต่า (Testudines) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cryptodira ลักษณะร่วมของเต่าในอันดับย่อยนี้ คือ สามารถยืดหรือหดหัวหรือส่วนคอเข้าไปในกระดองได้ แต่สามารถกระทำได้ในแนวดิ่งขึ้นลงหรือซ้อนทางด้านบนได้เท่านั้น ซึ่งเป็นลักษณะของเต่าส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางวงศ์ที่ไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ เนื่องจากมีส่วนหัวที่ใหญ่ ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและอันดับย่อยเต่า · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและทวีปอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต

ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต หรือ ฟอสซิลที่มีชีวิต (Living fossil) หมายถึงสิ่งมีชีวิตใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ ฟังไจ หรือสาหร่าย ที่ยังคงโครงสร้างร่างกายหรือสรีระแบบบรรพบุรุษดั้งเดิมที่เคยมีชีวิตอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้ ซึ่งตรวจสอบได้จากการนำไปเปรียบเทียบกับซากดึกดำบรรพ์ (fossil) หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปน้อยมาก จะถูกจัดว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิต โดยบุคคลแรกที่ใช้ศัพท์คำนี้ คือ ชาลส์ ดาร์วิน ที่กล่าวไว้ในหนังสือ The Origin of Species ที่ว่าถึงทฤษฎีวิวัฒนาการของตนเอง ตอนหนึ่งได้พูดถึงตุ่นปากเป็ด และปลาปอดเอาไว้ว่า โดยชนิดของซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด และมีความฮือฮามากเมื่อถูกค้นพบ คือ ปลาซีลาแคนท์ ที่ถูกค้นพบเมื่อปลายปี..

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

น้ำจืด

น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

เต่า

ต่า คือ สัตว์จำพวกหนึ่งในอันดับ Testudines จัดอยู่ในจำพวกสัตว์เลือดเย็น ในชั้นสัตว์เลื้อยคลาน เป็นสัตว์ที่มีวิวัฒนาการมาแล้วกว่า 200 ล้านปี ซึ่งเต่านั้นถือเป็นสัตว์ที่มีอายุยืนมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยเต่าจะมีกระดูกที่แข็งคลุมบริเวณหลังที่เรียกว่า "กระดอง" ซึ่งประกอบด้วยแคลเซียมเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะสามารถหดหัว ขา และหางเข้าในกระดองเพื่อป้องกันตัวได้ แต่เต่าบางชนิดก็ไม่อาจจะทำได้ เต่าเป็นสัตว์ที่ไม่มีฟัน แต่มีริมฝีปากที่แข็งแรงและคม ใช้ขบกัดอาหารแทนฟัน โดยมากแล้ว เต่า เป็นสัตว์ที่เคลื่อนไหวและเคลื่อนที่ได้ช้า อาศัยและใช้ช่วงชีวิตหนึ่งอยู่ในน้ำ ซึ่งมีอาศัยทั้งน้ำจืด และทะเล แต่เต่าบางจำพวกก็ไม่ต้องอาศัยน้ำเลย เรียกว่า "เต่าบก" (Testudinidae) ซึ่งเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่ายักษ์กาลาปากอส (Geochelone nigra) ที่อาศัยอยู่ตามเกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอส ในเอกวาดอร์ (มีทั้งหมด 15 ชนิดย่อย) ในขณะที่เต่าน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เต่าอัลลิเกเตอร์ (Macrochelys temminckii) อาศัยอยู่ตามหนองน้ำในทวีปอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและเต่า · ดูเพิ่มเติม »

เต่าสแนปปิ้ง

ต่าสแนปปิ้ง หรือ เต่าฉก (Snapping turtles) เป็นสกุลของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chelydra ในวงศ์เต่าสแนปปิ้ง (Chelydridae) จัดเป็นเต่าขนาดใหญ่จำพวกหนึ่ง นอกเหนือไปจากสกุล Macroclemys หรือเต่าอัลลิเกเตอร์ ซึ่งเป็นเต่าน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เป็นเต่ากินเนื้อขนาดใหญ่ พบกระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาทั้งอเมริกาเหนือ, อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ โดยอาศัยในแหล่งน้ำระดับน้ำตื้นและขึ้นมาบนบกบ้าง แต่การกินอาหาร, ผสมพันธุ์ และการจำศีลในฤดูหนาวกระทำในน้ำทั้งสิ้น การขึ้นมาบนบกเป็นการแพร่กระจายไปในพื้นที่ใหม่ กินอาหารทั้งพืชและสัตว์ มีพฤติกรรมการหาอาหารต่างไปจากเต่าอัลลิเกเตอร์ตรงที่จะใช้การเคลื่อนย้ายหาเหยื่อหรืออยู่นิ่งกับที่เพื่อให้เหยื่อเข้ามาใกล้ แล้วค่อยฉกงับอย่างรุนแรง.

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและเต่าสแนปปิ้ง · ดูเพิ่มเติม »

เต่าอัลลิเกเตอร์

ต่าอัลลิเกเตอร์ในสวนสัตว์พาต้า เต่าอัลลิเกเตอร์ หรือ เต่าอัลลิเกเตอร์ สแนปปิ้ง (Alligator snapping turtle) เป็นสัตว์เลื้อยคลานจำพวกเต่าชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์เต่าสแนปปิ้ง (Chelydridae) จัดเป็นเต่าเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Macrochelys ซึ่งหลายชนิดในวงศ์นี้ได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ดังนั้นจึงถือได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตชนิดหนึ่ง และตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นเกียรติแด่ คอนราด จาค็อบ แทมมินค์ นักสัตววิทยาชาวดัตช์ เต่าอัลลิเกเตอร์ มีส่วนหัวใหญ่ตัน ขากรรไกรรูปร่างเหมือนจะงอยปากและกระดองยาวหนามีสัน 3 สันแลดูคล้ายหลังของอัลลิเกเตอร์ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญ กระดองของมีสีเทาเข้ม หรือน้ำตาล, ดำ, หรือสีเขียวมะกอก ในบางครั้งอาจมีตะไคร่น้ำเกาะเพื่อใช้พรางตัว มีลายสีเหลืองบนตาที่ช่วยในการพรางตัวและมีหน้าที่แบ่งส่วนลูกตา รอบ ๆ ดวงตาของถูกล้อมรอบด้วยเนื้อรูปดาวซึ่งดูแล้วเหมือนขนตา ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย โดยตัวผู้นั้นนั้นมีความยาวกระดอง 66 เซนติเมตร และมีน้ำหนักได้ถึง 80 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียมีน้ำหนัก 23 กิโลกรัม ความแตกต่างระหว่างเพศสามารถดูได้จากความหนาของโคนหาง โดยเต่าตัวผู้จะมีโคนหางที่หนากว่าเพราะเป็นส่วนที่ซ่อนอวัยวะสืบพันธุ์ไว้ โดยตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แต่มีบันทึกอย่างไม่เป็นทางการระบุว่ามีน้ำหนักถึง 403 ปอนด์ (ประมาณ 183 กิโลกรัม) พบในแม่น้ำนีโอโช ในรัฐแคนซัส เมื่อปี ค.ศ. 1937 ขณะที่ตัวที่มีบันทึกไว้อย่างเป็นทางการมีน้ำหนักถึง 236 ปอนด์ อยู่ที่สวนสัตว์บรู๊คฟิลด์ ในชิคาโก เต่าอัลลิเกเตอร์ จัดเป็นเต่าน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีแรงกัดของกรามที่รุนแรง โดยเต่าขนาด 1 ฟุต มีแรงกัดถึง 1,000 ปอนด์ ซึ่งเป็นแรงกัดมหาศาลเป็นอันดับ 3 ของโลก รองจาก จระเข้น้ำเค็ม และ ไฮยีน่า แม้แต่สุนัขขนาดใหญ่ที่ดุร้าย เช่น พิทบูล ยังมีแรงกัดได้เพียง 400-500 ปอนด์เท่านั้น และเมื่อกัดแล้วกรามจะล็อกเพื่อไม่ให้ดิ้นหลุด จนผู้เชี่ยวชาญในการจับเต่าอัลลิเกเตอร์กล่าวว่า หากถูกเต่าอัลลิเกเตอร์กัดแล้ว วิธีเดียวที่จะเอาออกมาได้ คือ ต้องตัดหัวออกแล้วใช้ไม้เสียบเข้าไปในรูจมูกให้ทะลุถึงคอ เพื่อปลดล็อกกราม เต่าอัลลิเกเตอร์ เป็นเต่าที่กระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำจืดของหลายพื้นที่ในภาคตะวันออกและภาคใต้ของสหรัฐอเมริกา กินเนื้อเป็นอาหาร กินปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร โดยวิธีการซุ่มนิ่ง ๆ ไม่เคลื่อนไหวใต้น้ำ แล้วอ้าปากใช้ลิ้นที่ส่วนปลายแตกเป็น 2 แฉกที่ส่วนปลายสุดของกรามล่าง เพื่อตัวหลอกปลาให้เข้าใจว่าเป็นหนอน เมื่อปลาเข้าใกล้ได้จังหวะงับ ก็จะงับด้วยความรุนแรงและรวดเร็ว นอกจากนี้แล้วเต่าอัลลิเกเตอร์ยังกินเต่าด้วยกัน รวมถึงเต่าอัลลิเกเตอร์ด้วยกันเองเป็นอาหารด้วยจากการขบกัดที่รุนแรง เชื่อกันว่า เต่าอัลลิเกเตอร์มีอายุยืนได้ถึง 200 ปี แต่อายุโดยเฉลี่ยในที่เลี้ยง คือ 20-70 ปี เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 11-13 ปี โดยจะโตไปได้เรื่อย ๆ ตลอดชีวิต โดยเฉพาะในวัยเจริญพันธุ์ แต่เมื่อเลยไปแล้วอัตราการเจริญเติบโตก็จะช้าลง ตัวเมียวางไข่ขนาดเท่าลูกปิงปองได้มากถึง 52 ฟอง แต่โดยเฉลี่ยประมาณ 29-31 ฟอง โดยขุดหลุมฝังไว้ในพื้นดิน ซึ่งไข่จำนวนหนึ่งอาจถูกสัตว์กินเนื้อต่าง ๆ เช่น แรคคูน ขุดขโมยไปกินได้ และด้วยสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป ทำให้เต่าในธรรมชาติต้องวางไข่ใกล้กับทางรถไฟมากขึ้น เต่าอัลลิเกเตอร์ นิยมเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง และจัดแสดงตามสวนสัตว์ ขณะที่กฎหมายในบางที่เช่น รัฐแคลิฟอร์เนีย ห้ามเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง แต่ในบางพื้นที่ เช่น รัฐลุยเซียนา มีการนำไปปรุงเป็นซุป ถือเป็นอาหารท้องถิ่นอย่างหนึ่ง โดยมีการจับส่งให้แก่ร้านอาหารตั้งแต่ยุคทศวรรษที่ 30 จนถึง ทศวรรษที่ 70-80 ทำให้ประชากรเต่าอัลลิเกเตอร์มีจำนวนที่ลดลงSwamp Thing, "Nick Baker's Weird Creatures".

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและเต่าอัลลิเกเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เต่าปูลู

ต่าปูลู เป็นเต่าน้ำจืดกินเนื้อเป็นอาหารชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Platysternon megacephalum (เป็นภาษาละตินแปลว่า "หัวโต อกแบน") ในสกุล Platysternon วงศ์ Platysternidae ซึ่งมีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์และสกุลนี้ มีรูปร่างที่แปลกไปจากเต่าชนิดอื่น ๆ กล่าวคือ มีหัวที่โต ปากงุ้มแหลม เล็บที่ทั้ง 4 ข้างแหลมคมมาก มีหางที่ยาวมาก และไม่สามารถหดหัวเข้ากระดองที่เรียวยาวได้ เป็นเต่าที่พบในลำธารน้ำตกบนภูเขาสูงหรือป่าดิบชื้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนบนที่ติดกับตอนใต้ของประเทศจีน.

ใหม่!!: วงศ์เต่าสแนปปิ้งและเต่าปูลู · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Chelydridae

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »