โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

หอยงวงช้าง

ดัชนี หอยงวงช้าง

ำหรับหอยงวงช้างที่นิยมนำมารับประทาน ดูที่: หอยกูอีดั๊ก หอยงวงช้าง เป็นมอลลัสคาในชั้นเซฟาโลพอด จัดอยู่ในอันดับย่อย Nautilina จัดเป็นมอลลัสคาที่มีวิวัฒนาการค่อนข้างสูง เป็นสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอยู่บนโลกนี้แล้วกว่า 350 ล้านปี จัดอยู่ในชั้นเซฟาโลพอด อันเป็นชั้นเดียวกับปลาหมึก ในชั้นย่อยนอติลอยด์ จัดเป็นนอติลอยด์เพียงกลุ่มเดียวเท่าที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่งก็ว่าได้.

35 ความสัมพันธ์: ชั้นแกสโทรโพดาชั้นเซฟาโลพอดกรมประมงการร่วมเพศการว่ายน้ำการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศการสูญพันธุ์การปฏิสนธิกิโลเมตรกุ้งมหาสมุทรอินเดียมอลลัสกายุคไทรแอสซิกวิวัฒนาการสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สปีชีส์หมึก (แก้ความกำกวม)หอยกูอีดั๊กหอยงวงช้างหอยงวงช้างมุกอ่าวไทยถังอับเฉาทะเลอันดามันต้นแบบ (ชีววิทยา)ซากดึกดำบรรพ์ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตปลานอติลอยด์น้ำเพศชายเมตรเรือดำน้ำเอ็มบริโอเปลือกหอย

ชั้นแกสโทรโพดา

ั้นแกสโทรโพดา (ชั้น: Gastropoda) หรือที่เรียกกันในชื่อสามัญว่า หอยฝาเดียว หรือ หอยฝาเดี่ยว หรือ หอยกาบเดี่ยว หรือ หอยกาบเดียว หรือ หอยเปลือกเดี่ยว หรือ หอยเปลือกเดียว เป็นหนึ่งในลำดับของไฟลัมมอลลัสคา ในสิ่งมีชีวิต สัตว์ในชั้นนี้มีการสืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบันมีอยู่ระหว่าง 60,000-80,000 ชนิด จัดเป็นมอลลัสคาที่มีวิวัฒนาการสูงสุดรองจากมอลลัสคาในชั้นเซฟาโลพอดหรือหมึกและหอยงวงช้าง.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและชั้นแกสโทรโพดา · ดูเพิ่มเติม »

ชั้นเซฟาโลพอด

ั้น เซฟาโลพอด (Cephalopod) เป็นชั้นในไฟลัมมอลลัสคา เซฟาโลพอดมีลักษณะเด่นตรงที่ร่างกายสมมาตร มีส่วนศีรษะเด่นออกมา การดัดแปลงส่วนเท้าของมอลลัสคา (muscular hydrostat) ไปเป็นแขนหรือหนว.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและชั้นเซฟาโลพอด · ดูเพิ่มเติม »

กรมประมง

กรมประมง (Department of Fisheries) เป็น หน่วยงานของรัฐที่ทำการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ วิจัย วิเคราะห์ ทดลอง ด้านวิชาการทุกสาขาวิชาการของประมง ตลอดจนทำการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนา อาชีพที่เกี่ยวกับการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต เดิม กรมการประมง เป็นกรมสังกัด กระทรวงเศรษฐการ (ราชการส่วนเกษตร) และย้ายมาสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ ในปี..

ใหม่!!: หอยงวงช้างและกรมประมง · ดูเพิ่มเติม »

การร่วมเพศ

'''Coition of a Hemisected Man and Woman''' (ประมาณ ค.ศ. 1492) วาดโดย เลโอนาร์โด ดา วินชี แสดงให้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นภายในร่างกายในการร่วมเพศระหว่างชาย-หญิง quote.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและการร่วมเพศ · ดูเพิ่มเติม »

การว่ายน้ำ

การว่ายน้ำท่ากบ การว่ายน้ำ (Swimming) เป็นกระบวนการในการเคลื่อนที่ในน้ำของมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตอื่น การว่ายน้ำของมนุษย์มีจุดประสงค์หลายอย่าง เช่น นันทนาการ การแข่งขัน การออกกำลังกาย การว่ายน้ำนั้นมีการแบ่งออกเป็นท่าต่าง ๆ โดยท่าที่ใช้สำหรับแข่งขันนั้นได้แก่ ท่าฟรีสไตล์ ท่ากบ ท่ากรรเชียง และท่าผีเสื้อ การแข่งขันอีกประเภทหนึ่งคือการแข่งขันแบบ "ฟรีสไตล์" ซึ่งผู้เข้าแข่งขันสามารถว่ายน้ำแบบใดก็ได้ นักว่ายน้ำส่วนใหญ่เลือกใช้ท่าฟรอนท์ครอล (front crawl) ทำให้มักเรียกการว่ายน้ำแบบนี้ว่าฟรีสไตล์ สหพันธ์ว่ายน้ำระหว่างประเทศ (FINA) เป็นจัดการแข่งขันว่ายน้ำ (และกีฬาทางน้ำอื่น) ในระดับนานาชาติ การแข่งขันว่ายน้ำเป็นหนึ่งในการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและการว่ายน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) คือการสืบพันธุ์ที่ต้องมีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ (สเปิร์ม) และเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย (ไข่) แล้วเกิดออกมาเป็นไซโกตและเจริญมาเป็นเอมบริโอในเวลาต่อม.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิสนธิ

การเข้าปฏิสนธิของสเปิร์ม การปฏิสนธิ (Fertilisation) หมายถึง การหลอมรวมระหว่างนิวเคลียสของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย การปฏิสนธิในสัตว์และพืชเป็นดังนี้.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและการปฏิสนธิ · ดูเพิ่มเติม »

กิโลเมตร

กิโลเมตร อักษรย่อ กม. (mètre, km) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 × 103 เมตร.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

กุ้ง

กุ้ง จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีด้วยกันหลายวงศ์ กุ้งเป็นสัตว์น้ำ หายใจด้วยเหงือก ลำตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้องๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ 8 ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี 10 ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยปกติชอบหลบซ่อนตัวอยูเงียบ ๆ ตามพื้นน้ำหรือในซอกมืด ๆ จะออกหากินในเวลากลางคืน กุ้งกินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหาร เช่น กิน กุ้งด้วยกันเอง ลูกปลา ไส้เดือน สัตว์หน้าดินขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ ข้าว เนื้อมะพร้าวตลอดจนซากสัตว์ สามารถแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น กุ้งกุลาดำ กุ้งก้ามกราม กุ้งนาง กุ้งหลวง กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งฝอย กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน กุ้งขาว กุ้งรู กุ้งหิน กุ้งดีดขัน กุ้งแชบ๊วย กุ้งเครย์ฟิช ส่วนประกอบของเปลือกกุ้งส่วนใหญ่เป็นไคติน รองลงมาก็เป็นจำพวกแร่ธาตุ โปรตีน ส่วนของไขมัน เป็นต้น.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและกุ้ง · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและมหาสมุทรอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

มอลลัสกา

มอลลัสกา (ไฟลัม: Mollusca, เสียงอ่าน) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง คือสัตว์ที่มีลำตัวนิ่ม ส่วนใหญ่มีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก พบทั้งบนบก น้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย ดำรงชีวิตเป็นอิสระ มีต่อมเมือกตามผิวลำตัว ระบบอวัยวะมีความซับซ้อน ลำตัวสั้น ด้านหน้าเป็นส่วนหัว ด้านล้างเป็นแผ่นเท้าสำหรับเคลื่อนที่และว่ายน้ำ ด้าบบนมีแมนเทิลที่ทำหน้าที่สร้างเปลือกแข็ง ภายในช่องปากมีแรดูลา ยกเว้นในหอยสองฝา ช่วยในการกินอาหาร มีต่อมน้ำลายและตับช่วยสร้างน้ำย่อย ระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วยหัวใจอยู่ด้านบนและเส้นเลือดไปตามส่วนต่างๆ ระบบขับถ่ายมีเนฟริเดียม ระบบหายใจประกอบด้วยเหงือกหรือถุงหายใจที่คล้ายปอด ระบบประสาทมีปมประสาทสามคู่และมีเส้นประสาทยึดระหว่างปม มีอวัยวะสำหรับรับภาพ กลิ่นและการทรงตัว ระบบสืบพันธุ์ส่วนใหญ่แยกเพศ มีบางพวกไม่แยกเพศและเปลี่ยนเพศได้ มีการปฏิสนธิทั้งแบบภายในและภายนอก สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกาเรียกโดยรวมว่า มอลลัสก์ (mollusc, mollusk).

ใหม่!!: หอยงวงช้างและมอลลัสกา · ดูเพิ่มเติม »

ยุคไทรแอสซิก

อร์เมียน←ยุคไทรแอสซิก→ยุคจูแรสซิก ยุคไทรแอสซิก (Triassic) เป็นยุคหนึ่งทางธรณีกาลของโลก ตรงกับช่วงเวลาประมาณ 251 ± 0.4 ถึง 199.6 ± 0.6 ล้านปีก่อน ยุคไทรแอสซิกเป็นยุคแรกของมหายุคมีโซโซอิก อยู่หลังยุคเพอร์เมียนและอยู่หน้ายุคจูแรสซิก จุดเริ่มต้นและสิ้นสุดยุคไทรแอสซิกกำหนดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดการสูญพันธุ์มากมาย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวสามารถกำหนดจากชั้นหินได้แน่นอน แต่ช่วงเวลาที่เกิดขึ้นยังไม่สามารถระบุได้ละเอียดจริง ๆ มีค่าความผิดพลาดได้หลายล้านปี ในยุคไทรแอสซิก สิ่งมีชีวิตทั้งบนบกและในทะเลมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากพื้นผิวโลกที่มีสภาพแย่ลงอย่างรวดเร็วหลังการสูญพันธุ์ในช่วงรอยต่อระหว่าง ยุคเพอร์เมียน และ ยุคไทรแอสซิก ปะการังในกลุ่มเฮกซะคอราลเลีย (hexacorallia) ถือกำเนิดขึ้น พืชดอกอาจจะวิวัฒนาการในยุคนี้ รวมกระทั่งสัตว์มีกระดูกสันหลังที่บินได้คือเทอโรซอร์ (Pterosaur).

ใหม่!!: หอยงวงช้างและยุคไทรแอสซิก · ดูเพิ่มเติม »

วิวัฒนาการ

ในด้านชีววิทยา วิวัฒนาการ (Evolution) คือการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง วิวัฒนาการเกิดจากกระบวนการหลัก 3 กระบวนการ ได้แก่ ความแปรผัน การสืบพันธุ์ และการคัดเลือก โดยอาศัยยีนเป็นตัวกลางในการส่งผ่านลักษณะทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานของการเกิดวิวัฒนาการ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นในประชากรเพื่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมเมื่อสิ่งมีชีวิตให้กำเนิดลูกหลานย่อมเกิดลักษณะใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะเดิม โดยลักษณะใหม่ที่เกิดขึ้นนี้มีสาเหตุสำคัญ 2 ประการ ประการหนึ่ง เกิดจากกระบวนการกลายพันธุ์ของยีน และอีกประการหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนยีนระหว่างประชากร และระหว่างสปีชีส์ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ สิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนยีน อันก่อให้เกิดความแปรผันทางพันธุกรรมที่หลากหลายในสิ่งมีชีวิต วิวัฒนาการเกิดขึ้นเมื่อความแตกต่างทางพันธุกรรมเกิดขึ้น จนเกิดความแตกต่างมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นลักษณะที่แตกต่างกัน กลไกในการเกิดวิวัฒนาการแบ่งได้ 2 กลไก กลไกหนึ่งคือการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) อันเป็นกระบวนการคัดเลือกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมาะสมที่จะอยู่รอด และสืบพันธุ์จนได้ลักษณะที่เหมาะสมที่สุด และลักษณะที่ไม่เหมาะสมจะเหลือน้อยลง กลไกนี้เกิดขึ้นเพื่อคัดเลือกลักษณะของประชากรที่เกิดประโยชน์ในการสืบพันธุ์สูงสุด เมื่อสิ่งมีชีวิตหลายรุ่นได้ผ่านพ้นไป ก็จะเกิดกระบวนการปรับตัวของสิ่งมีชีวิต เพื่อให้อยู่ในสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม กลไกที่สองในการขับเคลื่อนกระบวนการวิวัฒนาการคือการแปรผันทางพันธุกรรม (genetic drift) อันเป็นกระบวนการอิสระจากการคัดเลือกความถี่ของยีนประชากรแบบสุ่ม การแปรผันทางพันธุกรรมเป็นผลมาจากการอยู่รอด และการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต แม้ว่าการแปรผันทางพันธุกรรมในแต่ละรุ่นนั้นจะเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ลักษณะเหล่านี้จะสะสมจากรุ่นสู่รุ่น เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อยในสิ่งมีชีวิต จนกระทั่งเวลาผ่านไปเป็นระยะเวลานาน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในลักษณะของสิ่งมีชีวิต กระบวนการดังกล่าวเมื่อถึงจุดสูงสุดจะทำให้กำเนิดสปีชีส์ชนิดใหม่ แม้กระนั้น ความคล้ายคลึงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตมีข้อเสนอที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการสืบเชื้อสายจากบรรพบุรุษ (หรือยีนพูลของบรรพบุรุษ) เมื่อผ่านกระบวนการนี้จะก่อให้เกิดความหลากหลายมากขึ้นทีละเล็กละน้อย เอกสารหลักฐานทางชีววิทยาวิวัฒนาการชี้ให้เห็นว่ากระบวนการวิวิฒนาการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ทฤษฎีอยู่ในช่วงของการทดลอง และพัฒนาในสาเหตดังกล่าว การศึกษาซากฟอสซิล และความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตทำให้นักวิทยาศาสตร์ช่วงกลางคริสศตวรรษที่ 19 ส่วนใหญ่เชื่อว่าสปีชีส์มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในระยะเวลาที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กระบวนการที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นปริศนาต่อนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป จนกระทั่งปี พ.ศ. 2402 ชาร์ล ดาวิน ตีพิมพ์หนังสือ กำเนิดสปีชีส์ ซึ่งได้อธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการโดยกระบวนการคัดเลือกโดยธรรมชาต.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและวิวัฒนาการ · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: หอยงวงช้างและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หมึก (แก้ความกำกวม)

หมึก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและหมึก (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

หอยกูอีดั๊ก

ำหรับหอยงวงช้างที่มีรูปร่างเหมือนหมึกผสมกับหอยฝาเดี่ยวดูที่: หอยงวงช้าง หอยกูอีดั๊ก (geoduck; หรือเรียกสั้น ๆ ว่า กูอี (Gooey) หรือ ดั๊ก (Duck)) เป็นหอยสองฝาที่พบในทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Panopea generosa ในวงศ์ Hiatellidae เป็นหอยที่มีลักษณะเด่นคือ มีเปลือกสีขาวยาวประมาณ 15–20 เซนติเมตร แต่มีจุดเด่นคือ มีท่อดูดซึ่งตอนปลายมีรู 2 รู แยกเป็นรูดูดอาหารและรูปล่อยของเสียรวมถึงสเปิร์มในตัวผู้ และไข่ในตัวเมีย ยื่นยาวออกมาจากเปลือกอย่างเห็นได้ชัด แลดูคล้ายงวงของช้าง ซึ่งอาจยาวได้ถึง 1 เมตร หอยกูอีดั๊กจะอาศัยในทะเล โดยการฝังตัวใต้ทรายบริเวณชายฝั่งบริติชโคลัมเบียในมหาสมุทรแปซิฟิก ระหว่างประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกา หากินโดยการกินสาหร่ายทะเลเป็นอาหาร เมื่อถูกจับขึ้นมา จะพ่นน้ำคัดหลั่งออกมาจากปลายท่อดูด ขยายพันธุ์ด้วยการที่ตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อออกมาปฏิสนธิพร้อมกับตัวเมียที่ปล่อยไข่ออกมาได้ราวครั้งละ 10 ล้านฟอง ลูกหอยขนาดเล็กจะขุดหลุมฝังตัวใต้ทรายในระดับที่ตื้น ๆ ก่อนที่จะขุดลึกลงไปเรื่อย ๆ ตามวัยที่โตขึ้น ซึ่งอาจลึกได้ถึง 110 เมตร นอกจากนี้แล้ว หอยชนิดนี้ยังมีอายุยืนได้ถึง 146 ปี นับเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่มีอายุยืนที่สุดของโลก โดยมีฤดูการขยายพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน–กรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงที่น้ำมีอุณหภูมิค่อนข้างอุ่น เป็นหอยที่นิยมบริโภคกันทั้งในสหรัฐอเมริกาหรือประเทศทางภูมิภาคเอเชียตะวันออก โดยนิยมทำไปเป็นซูชิในอาหารญี่ปุ่น โดยถูกเฉือนเป็นแผ่นบาง ๆ หรือปรุงเป็นอาหารจีน ซึ่งมีชื่อเรียกในภาษาจีนเรียกว่า 象拔蚌 (พินอิน: Xiàng bá bàng; หอยงวงช้าง) ปัจจุบัน หอยชนิดนี้มีการเพาะเลี้ยงเป็นอุตสาหกรรม ลูกหอยที่เพาะออกมาได้ จะถูกนำไปฝังไว้ใต้ทรายบริเวณชายหาดในท่อพลาสติก ซึ่งต้องใช้เวลานานกว่า 5 ปี กว่าหอยจะโตเต็มวัยถึงขนาดที่จับขายได้.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและหอยกูอีดั๊ก · ดูเพิ่มเติม »

หอยงวงช้าง

ำหรับหอยงวงช้างที่นิยมนำมารับประทาน ดูที่: หอยกูอีดั๊ก หอยงวงช้าง เป็นมอลลัสคาในชั้นเซฟาโลพอด จัดอยู่ในอันดับย่อย Nautilina จัดเป็นมอลลัสคาที่มีวิวัฒนาการค่อนข้างสูง เป็นสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิตอยู่บนโลกนี้แล้วกว่า 350 ล้านปี จัดอยู่ในชั้นเซฟาโลพอด อันเป็นชั้นเดียวกับปลาหมึก ในชั้นย่อยนอติลอยด์ จัดเป็นนอติลอยด์เพียงกลุ่มเดียวเท่าที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน ถือได้ว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตจำพวกหนึ่งก็ว่าได้.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและหอยงวงช้าง · ดูเพิ่มเติม »

หอยงวงช้างมุก

หอยงวงช้างมุก (Chambered nautilus, Pearly nautilus) เป็นสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังชนิดหนึ่ง อยู่ในไฟลัมมอลลัสคา ชั้นเซฟาโลโพดา จัดเป็นหอยงวงช้าง (Nautilidae) ชนิดหนึ่ง มีลักษณะของเปลือกค่อนข้างโตและมีพื้นสีขาว มีลายสีส้มอมแดง จากบริเวณปากไปจนถึงก้นเปลือกหอย โดยเป็นสัตว์ที่มีชีวิตอยู่มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยมีการพบซากฟอสซิลที่ทะเลเกาะลูซอน ในประเทศฟิลิปปินส์ มีขนาดประมาณ 10-25 เซนติเมตร พบได้ทั่วไปในน่านน้ำเขตอินโด-แปซิฟิก จนถึงฟิลิปปิน, ทะเลญี่ปุ่น, ทะเลซูลู จนถึงเกรตแบร์ริเออร์รีฟ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง) ในน่านน้ำไทยจัดว่าหาได้ยาก โดยจะพบได้น้อยที่ฝั่งทะเลอันดามัน เช่น เกาะอาดัง, หมู่เกาะสิมิลัน, เกาะหลีเป๊ะ โดยไม่พบในอ่าวไทย เป็นสัตว์ที่ว่ายและหากินในแถบกลางน้ำและพื้นดิน โดยสามารถดำน้ำได้ถึง 3 กิโลเมตร จับสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า เช่น ปลาหรือกุ้ง เป็นอาหาร รวมทั้งซากสัตว์ทั่วไป เป็นสัตว์ที่ใช้เนื้อรับประทานได้เช่นเดียวกับหมึกหรือหอยทั่วไป เปลือกใช้ประโยชน์ในการทำเครื่องประดับ รวมถึงการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำทั่วไป ซึ่งหอยงวงช้างมุกจะไม่ค่อยเคลื่อนไหวมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากในธรรมชาติอาศัยอยู่ในน้ำลึก แต่จะลอยตัวนิ่ง ๆ อยู่ข้างตู้มากกว่า อุณหภูมิที่ใช้เลี้ยงจะอยู่ที่ประมาณ 18-20 องศาเซลเซียส และเป็นสัตว์ที่ไม่กินอาหารมากนัก จนสามารถให้อาหารเพียงแค่สัปดาห์ละครั้งหรือ 2 ครั้งเท่านั้น โดยสามารถใช้ไม้เสียบล่อให้มากินหรือให้อาหารเองกับมือได้ นอกจากนี้แล้วในสถานที่เลี้ยงพบว่า หอยงวงช้างมุกสามารถวางไข่ได้ด้วย โดยจะวางไข่ติดกับก้อนหิน ไข่ใช้ระยะเวลาฟัก 8 เดือน หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำ ตัวอ่อนมีเส้นผ่าศูนย์กลางเพียง 3 เซนติเมตร แต่อย่างไรก็ตาม จวบจนปัจจุบันยังไม่สามารถเลี้ยงลูกหอยงวงช้างมุกจนกระทั่งโตเต็มวัยได้.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและหอยงวงช้างมุก · ดูเพิ่มเติม »

อ่าวไทย

อ่าวไทย อ่าวไทย เป็นน่านน้ำที่อยู่ในทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก ล้อมรอบด้วยประเทศไทย มาเลเซีย กัมพูชา และเวียดนาม อ่าวไทยไม่เพียงแต่มีความสำคัญในทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ แต่ยังมีความสำคัญในทางกฎหมายอาญาอย่างยิ่ง โดยถือเป็นอาณาเขตที่ศาลไทยมีอำนาจพิจารณาคดีเกี่ยวกับความผิดที่เกิดขึ้นในอาณาบริเวณอ่าวไทยตามที่กำหนดเขตไว้ในกฎหมายให้ถือเป็นราชอาณาจักรไทยด้ว.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและอ่าวไทย · ดูเพิ่มเติม »

ถังอับเฉา

ังอับเฉา (ballast tank) เป็นส่วนของท้องเรือหรือส่วนของฐานทุ่นลอย ที่ออกแบบไว้ให้สูบน้ำเข้าออกได้ เพื่อปรับจุดศูนย์ถ่วงให้เรือหรือทุ่นนั้นสามารถทรงตัวได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในสภาพทะเลเปิด ตำแหน่งของถังอับเฉาในเรือดำน้ำ เมื่อมองจากภายนอก ส่วนถังอับเฉาในเรือดำน้ำ จะไม่ได้มีหน้าที่ปรับจุดศูนย์ถ่วงเพียงอย่างเดียว แต่จะควบคุมการดำลง/ลอยขึ้น และระดับความลึกของเรือดำน้ำด้วย โดยเมื่อต้องการจะดำลง ก็จะสูบน้ำเข้าถังอับเฉา จนตัวเรือมีความถ่วงจำเพาะมากกว่าน้ำรอบๆ ทำให้เรือจมลง และเมื่อต้องการจะลอยขึ้น ก็จะไล่น้ำออกจะถังอับเฉาโดยใช้อากาศอัดมาแทนที่จนเรือมีความถ่วงจำเพาะน้อยกว่าน้ำ ทำให้เรือลอย นอกจากจะใช้กับเรือแล้ว ยังมีการใช้ถังอับเฉาลักษณะคล้ายกันในส่วนฐานของแท่นขุดเจาะน้ำมันและกังหันลมแบบลอยทะเล เพื่อรักษาจุดศูนย์ถ่วงด้ว.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและถังอับเฉา · ดูเพิ่มเติม »

ทะเลอันดามัน

แนวแผ่นดินไหวของเกาะสุมาตรา (2547) ภาพดาวเทียมของทะเลอันดามัน แสดงให้เห็นสาหร่ายสีเขียวและตะกอนจากแม่น้ำอิรวดี ทะเลอันดามัน (Andaman Sea; আন্দামান সাগর; अंडमान सागर) หรือ ทะเลพม่า (မြန်မာပင်လယ်,; มยะหม่าปิ่นแหล่) เป็นทะลที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ่าวเบงกอล เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย ทางเหนือของทะเลติดกับปากแม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า ทางตะวันออกเป็นคาบสมุทรประเทศพม่า ประเทศไทย และประเทศมาเลเซีย ทางตะวันตกเป็นหมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะนิโคบาร์ ภายใต้การปกครองของอินเดีย ทางใต้ติดกับเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย และช่องแคบมะละกา ทะเลอันดามันมีความยาวจากเหนือจรดใต้ประมาณ 1,200 กิโลเมตร กว้าง 645 กิโลเมตร มีพื้นน้ำประมาณ 600,000 ตร.กม. มีความลึกเฉลี่ย 1,096 เมตร จุดที่ลึกที่สุดมีระดับความลึก 4,198 เมตร.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและทะเลอันดามัน · ดูเพิ่มเติม »

ต้นแบบ (ชีววิทยา)

ต้นแบบ (Biological type) คือสิ่งที่เป็นตัวแทนของสิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งถูกอ้างอิงถึงในการอธิบายลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ เป็นตัวแทนในการบ่งบอกถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายในรูปร่างลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ทั้งเรื่องความแตกต่างของลักษณะเพศ, ช่วงอายุ เป็นต้น สามารถใช้ตรวจสอบคุณภาพของเอกสารวิชาการที่กล่าวถึงและตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ ได้ ใช้ในการเปรียบเทียบเมื่อมีการพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่หรือในอีกทางหนึ่งเพื่อยุบรวมสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายกันสองชนิด ในทางชีววิทยา ต้นแบบจะเป็นสิ่งที่ใช้ในการตั้งชื่อทางอนุกรมวิธานตามระบบการตั้งชื่อ ต้นแบบอาจเป็น ตัวอย่าง ภาพวาด สิ่งมีชีวิต หรือรายละเอียดก็ได้ เช่น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติในลอนดอนมีตัวอย่างหมายเลข 1886.6.24.20 ซึ่งเป็นตัวอย่างของเหยี่ยวลาย (Circus assimilis) ตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างต้นแบบแรกของเหยี่ยวชนิดนี้ ชื่อ Circus assimilis โดยคำนิยามถึงชนิดของตัวอย่างที่พิเศษนี้ (assimilis หรือ adsimils แปลว่า คล้าย หรือ เหมือน ความหมาย คือ " ลักษณะคล้ายกับนกต้นแบบ ").

ใหม่!!: หอยงวงช้างและต้นแบบ (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้น.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและซากดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต

ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต หรือ ฟอสซิลที่มีชีวิต (Living fossil) หมายถึงสิ่งมีชีวิตใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ ฟังไจ หรือสาหร่าย ที่ยังคงโครงสร้างร่างกายหรือสรีระแบบบรรพบุรุษดั้งเดิมที่เคยมีชีวิตอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ได้ ซึ่งตรวจสอบได้จากการนำไปเปรียบเทียบกับซากดึกดำบรรพ์ (fossil) หรือมีการเปลี่ยนแปลงไปน้อยมาก จะถูกจัดว่าเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีชีวิต โดยบุคคลแรกที่ใช้ศัพท์คำนี้ คือ ชาลส์ ดาร์วิน ที่กล่าวไว้ในหนังสือ The Origin of Species ที่ว่าถึงทฤษฎีวิวัฒนาการของตนเอง ตอนหนึ่งได้พูดถึงตุ่นปากเป็ด และปลาปอดเอาไว้ว่า โดยชนิดของซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด และมีความฮือฮามากเมื่อถูกค้นพบ คือ ปลาซีลาแคนท์ ที่ถูกค้นพบเมื่อปลายปี..

ใหม่!!: หอยงวงช้างและซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและปลา · ดูเพิ่มเติม »

นอติลอยด์

นอติลอยด์ คือกลุ่มของหอยทะเล (ไฟลั่มมอลลัสก้า) ในชั้นย่อย นอติลอยดี ที่มีเปลือกห่อหุ้มภายนอกที่รู้จักกันดีคือหอยงวงช้างในปัจจุบัน (Nautilus spp.) พบปรากฏโดดเด่นในช่วงต้นของมหายุคพาลีโอโซอิกในฐานะสัตว์นักล่าโดยได้พัฒนาเปลือกกระดองทั้งรูปแบบและรูปร่างที่หลากหลาย พบเป็นซากดึกดำบรรพ์ประมาณ 2,500 ชนิด แต่อยู่รอดมาจนถึงปัจจุบันเพียง 6 ชนิดเท่านั้น.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและนอติลอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำ

น้ำในสองสถานะ: ของเหลว (รวมทั้งก้อนเมฆซึ่งเป็นตัวอย่างของละอองลอย) และของแข็ง (น้ำแข็ง) น้ำเป็นสิ่งที่โปร่งใส ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น และเกือบจะไม่มีสี ซึ่งเป็นสารเคมีที่เป็นองค์ประกอบหลักของลำธาร, แม่น้ำ, และมหาสมุทรในโลก เป็นต้น และยังเป็นของเหลวในสิ่งมีชีวิต มีสูตรเคมีคือ H2O โมเลกุลของน้ำประกอบด้วยออกซิเจน 1 อะตอมและไฮโดรเจน 2 อะตอมเชื่อมติดกันด้วยพันธะโควาเลนต์ น้ำเป็นของเหลวที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน แต่พบบนโลกที่สถานะของแข็ง (น้ำแข็ง) และสถานะแก๊ส (ไอน้ำ) น้ำยังมีในสถานะของผลึกของเหลวที่บริเวณพื้นผิวที่ขอบน้ำ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น หิมะ, ธารน้ำแข็ง, และภูเขาน้ำแข็ง, ก้อนเมฆ, หมอก, น้ำค้าง, ชั้นหินอุ้มน้ำ และ ความชื้นในบรรยากาศ น้ำปกคลุม 71% บนพื้นผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อชีวิต น้ำบนโลก 96.5% พบในมหาสมุทร 1.7% ในน้ำใต้ดิน 1.7% ในธารน้ำแข็งและชั้นน้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเศษส่วนเล็กน้อยบนผิวน้ำขนาดใหญ่ และ 0.001% พบในอากาศเป็นไอน้ำ ก้อนเมฆ (ก่อตัวขึ้นจากอนุภาคน้ำในสถานะของแข็งและของเหลวแขวนลอยอยู่บนอากาศ) และหยาดน้ำฟ้า น้ำบนโลกเพียง 2.5% เป็นน้ำจืด และ 98.8% ของน้ำจำนวนนั้นพบในน้ำแข็งและน้ำใต้ดิน น้ำจืดน้อยกว่า 0.3% พบในแม่น้ำ ทะเลสาบ และชั้นบรรยากาศ และน้ำจืดบนโลกในปริมาณที่เล็กลงไปอีก (0.003%) พบในร่างกายของสิ่งมีชีวิตและผลิตภัณฑ์ น้ำบนโลกเคลื่อนที่ต่อเนื่องตามวัฏจักรของการระเหยเป็นไอและการคายน้ำ (การคายระเหย) การควบแน่น การตกตะกอน และการไหลผ่าน โดยปกติจะไปถึงทะเล การระเหยและการคายน้ำนำมาซึ่งการตกตะกอนลงสู่พื้นดิน น้ำดื่มสะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แม้ว่าน้ำจะไม่มีแคลอรีหรือสารอาหารที่เป็นสารประกอบอินทรีย์ใดๆ การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้เปลี่ยนแปลงไปในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมาในเกือบทุกส่วนของโลก แต่ประชากรประมาณ 1 พันล้านคนยังคงขาดแคลนน้ำดื่มสะอาดและกว่า 2.5 พันล้านคนขาดแคลนสุขอนามัยที่เพียงพอ มีความเกี่ยวพันกันเรื่องน้ำสะอาดและค่า GDP ต่อคน อย่างไรก็ดี นักสังเกตบางคนประมาณไว้ว่าภายในปี..

ใหม่!!: หอยงวงช้างและน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

เพศชาย

ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและเพศชาย · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เรือดำน้ำ

รือดำน้ำชั้นไต้ฝุ่นของกองทัพเรือรัสเซีย เรือดำน้ำขนาดเล็ก เรือดำน้ำ เป็นเรือรบที่สามารถปฏิบัติการในขณะที่อยู่ใต้ผิวน้ำได้ สร้างจากเหล็กแต่มีความสามารถในการเคลื่อนที่ภายใต้น้ำ เรือดำน้ำ ถูกนำมาใช้ในการสงครามและการค้นคว้าสำรวจใต้ทะเลลึกในบริเวณที่มนุษย์เราไม่สามารถดำลงไปได้ด้วยการสวมเพียงชุดดำน้ำ ด้วยคุณสมบัติที่พิเศษเหนือกว่ายานพาหนะชนิดอื่นคือ มันสามารถที่จะอยู่ได้ทั้งบนผิวน้ำและใต้น้ำ นับตั้งแต่ ปี..

ใหม่!!: หอยงวงช้างและเรือดำน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มบริโอ

อ็มบริโอของมนุษย์อายุ 6 สัปดาห์ เอ็มบริโอ (แปลว่า สิ่งที่เติบโต) คือระยะแรกในพัฒนาการของสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์จำพวกยูคาริโอต ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มมีการแบ่งเซลล์จนกระทั่งเกิด, ฟักออกจากไข่, หรืองอกในกรณีของพืช สำหรับในมนุษย์ระยะเอ็มบริโอเริ่มหลังจากการปฏิสนธิจนกระทั่งสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 8 ซึ่งหลังจากนั้นจะเรียกสิ่งมีชีวิตว่าระยะทารกในครรภ์ หรือฟีตัส (fetus).

ใหม่!!: หอยงวงช้างและเอ็มบริโอ · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกหอย

ปลือกหอยนานาชนิด เปลือกหอย หรือ ฝาหอย หรือ กาบหอย คือ สสารที่เป็นของแข็งที่ห่อหุ้มลำตัวภายนอกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมมอลลัสคา หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า หอย มีลักษณะแตกต่างกันออกไป ซึ่งหอยจะใช้เป็นเครื่องอำพรางอันตรายจากสัตว์อื่น เป็นสัญลักษณ์สื่อสารระหว่างกัน และช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ เปลือกหอยเป็นสิ่งที่ติดตัวกับหอยมานับตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนและฟักออกมาจากไข่ โดยไม่ต้องลอกคราบเหมือนสัตว์ในไฟลัมอาร์โธพอดหรือ ครัสเตเชียน โดยขนาดจะใหญ่ขึ้นมาตามขนาดของตัวหอย เปลือกหอยประกอบด้วยสารจำพวกแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่เหลือเป็นสารอื่น ๆ เช่น แคลเซียมฟอสเฟต, แมกนีเซียมคาร์บอเนต, แมกนีเซียมฟอสเฟต, แมกนีเซียมซิลิเกต, โปรตีนประเภทคอนไคโอลิน เปลือกหอยแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ.

ใหม่!!: หอยงวงช้างและเปลือกหอย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

EutrephoceratidaeNautilidaeNautilinaNautilusวงศ์หอยงวงช้างหอยนอติลุสอันดับย่อยหอยงวงช้างนอติลุส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »