โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ปลากดทะเล

ดัชนี วงศ์ปลากดทะเล

วงศ์ปลากดทะเล หรือ วงศ์ปลาอุก (Sea catfishes, Crucifix catfishes, Fork-tailed catfishes) จัดอยู่ในกลุ่มปลาที่มีก้านครีบ ในอันดับปลาหนัง ซึ่งเป็นปลาที่หากินตามพื้นน้ำ โดยมากจะไม่มีเกล็ด มีครีบแข็งที่ก้านครีบอก มีหนวด โดยมากเป็นปลากินซาก ทั้งซากพืช ซากสัตว์ พบทั้งน้ำจืด, น้ำเค็ม และน้ำกร่อย ทั่วเขตอบอุ่นของโลก ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ariidae (/อา-รี-อาย-ดี้/) สำหรับปลาในวงศ์นี้ เป็นปลาที่อาศัยในบริเวณน้ำกร่อย เช่น ปากแม่น้ำ และในทะเล ส่วนมากมีรูปร่างคล้ายปลาสวายแต่มีส่วนหัวที่โตกว่าและแบนราบเล็กน้อย ครีบหลังยกสูงมีก้านแข็งคมเช่นเดียวกับครีบอก ครีบไขมันใหญ่ ครีบก้นสั้น ครีบหางเว้าลึก มีหนวด 1-3 คู่รอบปาก บนเพดานมีฟันเป็นแถบแข็งรูปกลมรี โดยการแพร่พันธุ์ ตัวผู้จะอมไข่ไว้ในปาก รอจนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว โดยหลังจากการผสมพันธุ์ภายนอกแล้วตัวเมียจะใช้ครีบก้นที่มีขนาดใหญ่และหนากว่าตัวผู้อุ้มไข่ไว้แล้วให้ตัวผู้มารับไป ไข่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.5-1 เซนติเมตร แล้วแต่ชนิด กระจายพันธุ์ทั่วเขตร้อนของโลก พบในประเทศไทยประมาณ 20 ชนิด เช่น ปลาริวกิว หรือปลาลู่ทู (Arius thalassinus) และพบในน้ำจืดราว 10 ชนิด เช่น ปลากดหัวโต (Ketengus typus), ปลาอุก (Cephalocassis borneensis), ปลาอุกจุดดำ (Arius maculatus), ปลาอุกหัวกบ (Batrachocephalus mino) และ ปลากดหัวผาน (Hemiarius verrucosus) เป็นต้น จินตภาพของกะโหลกปลากดทะเล (ขวา) ที่มองเห็นเป็นรูปพระเยซูตรึงกางเขน (ซ้าย) โดยมากปลาในวงศ์นี้ จะถูกเรียกรวมกันว่า "อุก" เนื่องจากเมื่อถูกจับพ้นน้ำได้แล้วจะส่งเสียงร้องได้ โดยส่งเสียงว่า "อุก อุก" นอกจากนี้แล้ว ในมุมมองของชาวตะวันตก เมื่อมองกะโหลกของปลาในวงศ์นี้ซึ่งเป็นกระดูกแข็ง ก่อให้เกิดเป็นจินตภาพเห็นภาพมีคนหรือพระเยซูตรึงกางเขนอยู่ อันเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาอังกฤษที่ว่า "Crucifix catfish".

24 ความสัมพันธ์: ชวลิต วิทยานนท์พ.ศ. 2488พ.ศ. 2501พ.ศ. 2544กรุงเทพสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับปลาหนังฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำประเทศไทยปลากดหัวกบปลากดหัวลิงปลากดหัวผานปลากดหัวแข็งปลากดทะเลหัวแข็งปลาริวกิวปลาสวายปลาอุกปลาที่มีก้านครีบแพริโดเลียเมตร

ชวลิต วิทยานนท์

ร.ชวลิต วิทยานนท์ ชวลิต วิทยานนท์ (ชื่อเล่น: แฟรงก์) เกิดที่กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2502 จบการศึกษาในระดับประถมและมัธยมจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและโททางวิทยาศาสตร์ทางทะเล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ทางทะเลและเทคโนโลยี โตเกียว กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ดร.ชวลิต วิทยานนท์ ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพของปลามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และค้นพบปลาชนิดใหม่จากประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงรวมกันแล้วถึงวันนี้ไม่ต่ำกว่า 20 ชนิด และร่วมการค้นพบฟอสซิลเอปโคราช Khoratpithecus piriyai Chaimanee, Suteethorn, Jintasakul, Vidthayanon, Marandat & Jaeger, 2004 โดยมีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะปลาในอันดับปลาหนัง มีผลงานการเขียนบทความตามวารสารต่าง ๆ เช่น สารคดี, Cichlid World เป็นต้น มีผลงานทางหนังสือ ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่า, ปลาน้ำจืดไทย (พ.ศ. 2544), คู่มือปลาน้ำจืด (พ.ศ. 2547), คู่มือปลาทะเล (พ.ศ. 2551), ปลาไทย ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา (พ.ศ. 2553) และมีผลงานทางด้านสื่อต่าง ๆ เช่น ซีดีฐานข้อมูลปลาในลุ่มแม่น้ำโขงและสนับสนุนข้อมูลด้านอนุกรมวิธานปลาในการจัดนิทรรศการในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ และจัดทำเอกสารเผยแพร่ของหน่วยราชการหลายแห่ง รวมถึงองค์กรชุมชนต่าง ๆ ให้เป็นองค์ความรู้ในการเคลื่อนไหวเพื่ออนุรักษ์ถิ่นอาศัยของสัตว์น้ำในท้องถิ่น เช่น บ้านกรูด บ่อนอก ลุ่มแม่น้ำสงคราม ปากมูล และเชียงของ เป็นกรรมการวิทยานิพนธ์และอาจารย์พิเศษในสาขามีนวิทยาและสัตววิทยาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อีกทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายอนุรักษ์ทางทะเลและแหล่งน้ำจืด ของกองทุนสัตว์ป่าโลก (Worldwide Fund for Nature - WWF-Greater Mekong สำนักงานประเทศไทย) รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีฯ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และปัจจุบันเป็นผู้เชี่ยวชาญอาวุโส ประจำโครงงานสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมาธิการลุมแม่น้ำโขง (Environment Programme Mekong River Commission) สำนักงานใหญ่กรุงเวียงจันทน์ สปป.

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและชวลิต วิทยานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2488

ทธศักราช 2488 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1945 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและพ.ศ. 2488 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2501

ทธศักราช 2501 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1958 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและพ.ศ. 2501 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2544

ทธศักราช 2544 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2001 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและพ.ศ. 2544 · ดูเพิ่มเติม »

กรุงเทพ

กรุงเทพ อาจหมายถึง; ดินแดนและการปกครอง.

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและกรุงเทพ · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาหนัง

อันดับปลาหนัง หรือ ตระกูลปลาหนัง (Catfish) เป็นอันดับทางอนุกรมวิธานของปลากระดูกแข็งอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siluriformes (/ซิ-ลู-ริ-ฟอร์-เมส/) อันดับปลาหนังเป็นอันดับที่มีจำนวนปลามากถึง 35 วงศ์ และ 2,867 ชนิด ซึ่งประกอบไปด้วยปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ปลาดุก, ปลาสวาย, ปลาบึก, ปลาเนื้ออ่อน, ปลาก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและอันดับปลาหนัง · ดูเพิ่มเติม »

ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ

ร. ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ (ื่อย่อ: H.M. Smith) (21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2408 / ค.ศ. 1865 -28 กันยายน พ.ศ. 2484 / ค.ศ. 1941) นักชีววิทยา ชาวอเมริกัน อธิบดีสำนักงานประมง (the Bureau of Fisheries) แห่งสหรัฐอเมริกา ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ หรือ ดร.ฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ เกิดที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2431 (ค.ศ. 1888) ได้จบการศึกษาปริญญาเอกแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ (Georgetown University) และจบการศึกษาระดับปริญญาเอกนิติศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) เริ่มต้นทำงานที่ สำนักประมง สหรัฐอเมริกา (U. S. Fish Commission) ปี พ.ศ. 2429 (ค.ศ. 1886) ในตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์ 1897-1903 หัวหน้าห้องปฏิบัติการชีววิทยาทางทะเล (Marine Biological Laboratory ที่ Wood Hole, และโดยเป็นผู้กำกับดูแลงานทางด้านการศึกษาและสำรวจธรรมชาติในทางวิทยาศาสตร์ ในสถาบันการศึกษาชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ระหว่างปี พ.ศ. 2450 (ค.ศ. 1907) ถึงปี พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) ได้เดินทางพร้อมคณะนักสำรวจมาที่ฟิลิปปินส์ ด้วยเรือชื่อ USS Albatross ด้วยเป็นกรรมการสมาคมเนชั่นแนล จีโอกราฟิก เพื่อสำรวจความหลากหลายของธรรมชาติในภูมิภาคแถบนี้.

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและฮิวจ์ แมคคอร์มิค สมิธ · ดูเพิ่มเติม »

ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ

right right right ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ (river delta) จะเกิดเฉพาะกับแม่น้ำที่พัดพาเอาตะกอนขนาดเล็ก ๆ จำพวกทรายละเอียดและโคลนมากับลำน้ำเป็นปริมาณมาก แล้วมาตกตะกอนทับถมกันบริเวณปากแม่น้ำ เมื่อแม่น้ำไหลลงสู่ทะเลหรือทะเลสาบ ความเร็วของน้ำในแม่น้ำจะลดลงและตะกอนที่แม่น้ำพัดมาจะค่อย ๆ สะสมตัวบริเวณดังกล่าว ในบางแห่งขณะน้ำขึ้นน้ำลง กระแสน้ำจะพัดพาเอาทรายและโคลนออกไปสู่ทะเลไกลออกไปจึงไม่มีดินดอนปากแม่น้ำเกิดขึ้น ถ้าในกรณีที่กระแสน้ำขึ้นลงไม่ส่งอิทธิพลรุนแรง แม่น้ำก็จะพัดพาเอาตะกอนมาสะสมอยู่เรื่อย ๆ โดยทรายหยาบจะตกตะกอนลงเป็นพวกแรกและนาน ๆ เข้าก็จะปรากฏเป็นสันทรายบริเวณปากแม่น้ำ ในที่สุดแม่น้ำก็จะแตกแขนงออกเป็นสองสาขาในเวลาต่อมา ในเวลาต่อมาแม่น้ำทั้งสองสาขาก็จะถูกปิดกั้นด้วยสันทราย ทำให้สาขาแม่น้ำแตกออกเป็นสาขาลำน้ำย่อยลงไปอีก ดินดอนโดยทั่วไปมักมีสาขาของลำน้ำที่แตกแขนงจากแม่น้ำใหญ่ โคลนเนื้อละเอียดจะถูกพัดพาไปไกลจากสันทรายและตกตะกอนสะสมตัวกันแผ่คลุมท้องทะเลหรือทะเลสาบในบริเวณที่กว้างขวางเป็นรูปคล้ายพัดหรืองอกตัวลงทะเลตลอดเวลา โดยธรรมดาแล้วแม่น้ำทุกสายที่ไหลลงทะเลหรือทะเลสาบจะมีดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเกิดขึ้นเสมอ ที่เราเรียกกันว่า "เดลต้า" (delta) เพราะว่าบริเวณดังกล่าวมีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม ซึ่งถึงแม้ว่าดินดอนจะไม่เป็นรูปสามเหลี่ยมนักภูมิศาสตร์โดยทั่วไปก็เรียกว่า "เดลต้า" แม่น้ำสายใหญ่ ๆ เช่นในเอเชีย เช่น แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสในอิรัก ซึ่งเดิมเมืองโบราณชื่ออัวร์ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 6,000 ปีที่แล้วอยู่ติดทะเล แต่ปัจจุบันเมืองดังกล่าวอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน 240 กิโลเมตร แม่น้ำพรหมบุตรใน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ปลากดหัวกบ

ปลากดหัวกบ หรือ ปลาอุกหน้ากบ หรือ ปลากดยิ้ม (Beardless sea catfish) เป็นปลาเพียงชนิดเดียวในสกุล Batrachocephalus ในวงศ์ Ariidae ปลาชนิดนี้พบได้ในอ่าวเบงกอล และบางบริเวณของมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตก ตามแนวชายฝั่ง และปากแม่น้ำ พบใน ปากีสถาน, อินเดีย, ศรีลังกา, บังกลาเทศ, พม่า, มาเลเซีย, ไทย และ อินโดนีเซีย ในประเทศไทยเป็นปลาหายาก เคยพบที่นนทบุรี, กระบี่, สงขลาและจันทบุรี ปลาชนิดนี้ยาวถึง 25.0 เซนติเมตร (9.8 นิ้ว) ตัวขาว หัวโตกว้างแล้วแบนลง ปากสั้น ทู่ ตาไม่มีหนังหุ้ม ขากรรไกรล่างยื่นล้ำขากรรไกรบน รูจมูกสองคู่อยู่ติดกัน ใกล้กับตา ลำตัวด้านหลังสีน้ำตาลและน้ำเงิน ครีบสีเหลืองมีจุดดำประ ปลากดหัวกบกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและปลาขนาดเล็กเป็นอาหาร จัดเป็นปลาที่มีคุณค่าทางเศรษฐก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและปลากดหัวกบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากดหัวลิง

ปลากดหัวลิง หรือ ปลากดหัวโต (Bigmouth sea-catfish) เป็นปลาหนังขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) จัดเป็นปลาขนาดเล็กในวงศ์นี้ชนิดหนึ่ง และเป็นเพียงชนิดเดียวในสกุล Ketengus มีส่วนหัวที่ใหญ่และปากที่กว้าง มีขนาดโตเต็มที่ไม่เกิน 25 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์บริเวณปากแม่น้ำหรือใกล้ชายฝั่งที่เป็นน้ำกร่อยในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินเดีย, หมู่เกาะอันดามัน, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และไทย เป็นปลาที่กินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและปลาขนาดเล็ก รวมถึงเกล็ดปลาชนิดอื่นเป็นอาหารอีกด้วย ในประเทศไทยถือว่าเป็นปลาที่หายาก อยู่ในเครือข่ายใกล้สูญพัน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและปลากดหัวลิง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากดหัวผาน

ปลากดหัวผาน (Shovelnose sea catfish) ปลาน้ำจืดและน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemiarius verrucosus อยู่ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae).

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและปลากดหัวผาน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากดหัวแข็ง

ปลากดหัวแข็ง (Spotted catfish) เป็นปลาหนังมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arius maculatus ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) มีรูปร่างและพฤติกรรมทั่วไปคล้ายปลาอุก (Cephalocassis borneensis) ที่เป็นปลาในวงศ์เดียวกัน ต่างกันตรงที่มีจุดสีดำอยู่ที่ครีบไขมัน มีความยาวประมาณ 35 เซนติเมตร ขนาดโตเต็มที่ยาวได้ถึง 80 เซนติเมตร พบในแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำโขงตอนล่าง รวมถึงทะเลสาบสงขลา หากินอยู่บริเวณพื้นน้ำ โดยกินสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลังต่าง ๆ เป็นอาหาร ปลากดหัวแข็ง มีชื่อเฉพาะในวงการปลาสวยงามว่า "ปลาอุกจุดดำ".

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและปลากดหัวแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ปลากดทะเลหัวแข็ง

ปลากดทะเลหัวแข็ง (Hardhead catfishes) เป็นสกุลของปลาน้ำเค็มและน้ำกร่อย ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arius (/อา-เรียส/) ลักษณะสำคัญของปลาในสกุลนี้ ได้แก่ มีฟันที่เพดานปากอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม และมีจำนวนหนวดซึ่งมีอยู่ 3 คู่ ที่ริมฝีปากบน 1 คู่ ริมฝีปากล่าง 1 คู่ และที่คาง 1 คู่ รูจมูกอยู่ใกล้กัน ปลาในสกุลนี้ แม้จะเป็นปลาทะเล แต่ก็มีหลายชนิดที่เข้ามาหากินและอาศัยอยู่ในพื้นที่น้ำจืดที่ห่างไกลทะเลมาก เช่น แม่น้ำสาละวิน ตัวผู้จะทำหน้าที่อมไข่ที่ผ่านการปฏิสนธิแล้ว จนกระทั่งฟักเป็นตัว การจำแนกชนิดกระทำได้จากการสังเกตจากรูปร่างและขนาดของหัว ตำแหน่งและรูปร่างของครีบบางครีบ และครีบท้องเปลี่ยนรูปเป็นอวัยวะพิเศษผิดไปจากเดิม พบกระจายพันธุ์ในชายฝั่งของแอฟริกาตะวันออกไปจนถึงเอเชียอาคเน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและปลากดทะเลหัวแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาริวกิว

ปลาริวกิว หรือ ปลาเรียวเซียว หรือ ปลาลู่ทู (Giant catfish, Giant sea catfish, Giant salmon catfish) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง จำพวกปลาหนัง ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) มีรูปร่างคล้ายคลึงกับปลากดหรือปลาแขยงที่พบในน้ำจืด หรือปลากดทะเลชนิดอื่น ๆ แต่มีขนาดใหญ่มากกว่า มีลำตัวยาวและค่อยข้างกลม หางแบนข้างและหัวใหญ่ ด้านหลังตรงหัวเป็นกระดูกแข็ง หน้าแหลม จะงอยปากยาว ปากกว้าง ฟันมีขนาดเล็กและสั้น มีหนวดใต้คาง 2 คู่และริมฝีปากบน 1 คู่ ครีบหลังและครีบอกมีเงี่ยงเป็นหนามแหลมครีบละหนึ่งอัน ครีบไขมันเล็กอยู่ใต้โคนหาง ครีบหางเป็นแฉกลึก พื้นลำตัวสีน้ำตาลปนเทา ท้องสีขาวนวล ครีบต่าง ๆ สีเทาคล้ำ ครีบไขมันสีดำ กินปลาและสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ตามบริเวณหน้าดินเป็นอาหาร จัดเป็นปลาอุก หรือปลากดทะเลที่มีขนาดใหญ่ มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 1.2 เมตร แต่ความยาวเฉลี่ย 30–40 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามพื้นทะเลที่เป็นโคลน หรือโคลนเหลว บางครั้งอาจพบได้ในบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อยหรือน้ำจืด ในน่านน้ำไทยพบทั้งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่ใช้เนื้อในการบริโภคกันจนเป็นที่รู้จักดี รวมถึงแปรรูปเป็นปลาเค็มหรือปลาหวาน ไข่ของปลาริวกิวนิยมนำมาทำเป็นแกงส้มเหมือนปลากดทะเลชนิดอื่น ๆ แต่ไข่ปลาริวกิวนั้นมีความคาวมาก เมื่อจะนำมาปรุงอาหารต้องล้างน้ำหลาย ๆ ครั้ง ปลาจะมีไข่ได้ทุกฤดูกาล แต่ช่วงที่ีไข่สมบูรณ์มากที่สุด คือ ช่วงฤดูหนาวหรือช่วงปลายฝนต้นหนาว.

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและปลาริวกิว · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวาย

ปลาสวาย (Iridescent shark, Striped catfish, Sutchi catfish) ปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) มีส่วนหัวค่อนข้างเล็ก แนวบริเวณหัวถึงครีบหลังลาดตรง ตาอยู่เสมอหรือสูงกว่ามุมปาก ปากแคบกว่าปลาบึก ที่อยู่สกุลเดียวกัน รูปร่างเพรียวแต่ป้อมสั้นในปลาขนาดใหญ่ ก้านครีบท้องมี 8-9 เส้น ครีบก้นยาว ปลาขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเงิน ด้านข้างลำตัวสีจางและมีแถบสีคล้ำตามยาว ครีบสีจาง ครีบหางมีแถบสีคล้ำตามแนวยาวทั้งตอนบนและล่าง ปลาขนาดใหญ่มีสีเทาหรือคล้ำอมน้ำตาล ด้านข้างลำตัวสีจาง มีขนาดประมาณ 50 เซนติเมตร ใหญ่สุด 1.5 เมตร พบในแม่น้ำและลำคลองสายใหญ่ ทั่วประเทศไทย เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่ซึ่งมีการเพาะเลี้ยงกันมานานกว่า 50 ปี แล้ว โดยเพาะขยายพันธุ์ได้สำเร็จในปี พ.ศ. 2509 โดยถือเป็นสัตว์น้ำชนิดแรกที่ทางกรมประมงของไทยผสมเทียมประสบความสำเร็จเป็นชนิดแรกด้วย ปลาในธรรมชาติมีฤดูวางไข่ในเดือนกรกฎาคม นิยมบริโภคโดยปรุงสดและรมควัน ในธรรมชาติ มักพบชุกชุมตามอุทยานปลาหรือหน้าวัดต่าง ๆ ที่ติดริมน้ำ โดยในบางพื้นที่อาจมีปลาเทโพเข้ามาร่วมฝูงด้วย และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับปลาที่สีกลายเป็นสีเผือก และจากการศึกษาล่าสุดพบว่า ในเนื้อปลาสวายนั้นมีโอเมกา 3 คิดเป็นปริมาณแล้วสูงกว่าในปลาทะเลเสียอีก โดยมีถึง 2,570 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนัก 100 กรัม.

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและปลาสวาย · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอุก

ปลาอุก ปลาน้ำกร่อยชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cephalocassis borneensis อยู่ในวงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) มีรูปร่างเพรียว หางคอดเล็ก หลังยกสูงเล็กน้อย จะงอยปากยื่นยาว หัวโตแบนราบเล็กน้อย ปากเล็ก ตาเล็กอยู่กลางหัว ครีบหลังมีก้านแข็งหนาและยาว ครีบไขมันเล็กมีสีคล้ำเล็กน้อย ครีบท้องใหญ่ ครีบหางเว้าลึก ตัวมีสีเทาอมเหลืองอ่อน ด้านท้องสีจาง ครีบสีจาง มีขนาดประมาณ 10 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 20 เซนติเมตร อาศัยในแม่น้ำตอนล่าง พบในแม่น้ำแม่กลองถึงแม่น้ำบางปะกง ในแม่น้ำเจ้าพระยาพบขึ้นไปสูงสุดจนถึง จังหวัดชัยนาท นิยมบริโภคตัวผู้ที่มีไข่ในปากเรียก "ไข่ปลาอุก" โดยนิยมนำมาทำแกงส้ม พบจับขึ้นมาขายเป็นครั้งคราวในตลาดของชัยนาท อยุธยา และ อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา และพบได้ในภาคใต้จนถึงเกาะบอร์เนียว และพบมีการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม มีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "อุกแดง", "อุกชมพู" หรือ "กดโป๊ะ".

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและปลาอุก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

แพริโดเลีย

รูปถ่ายจากดาวเทียมของที่ราบสูงไซโดเนียบนดาวอังคาร ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "Face on Mars (ใบหน้าบนดาวอังคาร)" ส่วนรูปที่ถ่ายมาจากมุมอื่น ๆ จะไม่สามารถเห็นภาพลวงตานี้ แพริโดเลีย หรือ แพไรโดเลีย (Pareidolia) เป็นปรากฏการณ์ทางจิต ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้สิ่งเร้าเช่นภาพหรือเสียงที่ไม่ชัดเจนและไม่มีรูปแบบ (คือบังเอิญ สุ่ม) ว่ามีความหมายมีความสำคัญ เป็นการรับรู้แบบหนึ่งของ apophenia ซึ่งเป็นการเห็นรูปแบบหรือความสัมพันธ์กันในข้อมูลสุ่มที่ไม่มีความหมาย ตัวอย่างที่สามัญอย่างหนึ่งคือการเห็นรูปสัตว์หรือใบหน้าในก้อนเมฆ ชายบนดวงจันทร์ กระต่ายบนดวงจันทร์ และการได้ยินข้อความที่ซ่อนไว้บนแผ่นเสียงไวนิลที่เล่นย้อนทาง คำว่า Pareidolia มาจากคำในภาษากรีกว่า para- (παρά, แปลว่า "ข้าง ๆ, ไปเป็นหน้ากระดาน, แทนที่") ซึ่งในที่นี้หมายถึงอะไรที่บกพร่อง ผิดพลาด หรือเกิดขึ้นแทนที่ และคำนามว่า eidōlon (εἴδωλον แปลว่า "ภาพ, รูปร่าง, สัณฐาน") ซึ่งมีความหมายเป็นส่วนย่อยของคำว่า eidos.

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและแพริโดเลีย · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: วงศ์ปลากดทะเลและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

AriidaeAriinaeCrucifix catfishSea catfishTachysuridaeวงศ์ปลาอุกปลากดทะเล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »