โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ปลาอินทรี

ดัชนี วงศ์ปลาอินทรี

วงศ์ปลาอินทรี (Mackerels, Tunas, King mackerels) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scombridae มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวเพรียวยาวเป็นทรงกระสวย นัยน์ตากลมโต มีครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยตอนหลังมีลักษณะแข็งและมีขนาดเล็ก มีครีบท้องและครีบก้น กล้ามเนื้อก่อนถึงโคนหางมีเนื้อเยื่อขวางอยู่เรียกว่า "คีล" (Keel) โคนครีบหางกิ่วเล็กแต่แข็งแรง มีครีบแบ่งเป็นแฉก 2 แฉกเว้าลึก ครีบท้องขนานยาวไปกับความยาวลำตัว มีขนาดความยาวแตกต่างกันตั้งแต่ 20 เซนติเมตร ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร บางสกุลอาจมีลวดลายตามความยาวหรือแนวลำตัว ในปากมีฟันและกรามที่แข็งแรง มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ในทะเลเปิดในเขตอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่น ในปลาขนาดเล็กกินแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า และในปลาขนาดใหญ่จะไล่กินปลาขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร ว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็ว เพราะใช้ครีบและหางแนบกับลำตัวเมื่อว่ายน้ำ โดยมีสถิติสูงสุดที่บันทึกได้คือ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยปลาในวงศ์นี้ เป็นที่รู้จักกันในชื่อสามัญภาษาไทยโดยรวมกัน คือ ปลาทู, ปลาโอ, ปลาทูน่า และปลาอินทรี เป็นต้น เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นปลาที่มนุษย์ใช้ในการบริโภค ทั้งปรุงสุดหรืออาหารกระป๋อง รวมทั้งทำอาหารสัตว์ และตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย ปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 55 ชนิด 15 สกุล และแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (Thunnus thynnus) ที่มีรายงานยาวเต็มที่ที่เคยพบคือ 458 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 684 กิโลกรัม.

38 ความสัมพันธ์: ชั่วโมงชั้นปลากระดูกแข็งกระสวยกล้ามเนื้อการว่ายน้ำการจับปลาการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตั้งชื่อทวินามกิโลกรัมกิโลเมตรมนุษย์วงศ์ปลาอินทรีสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์น้ำสปีชีส์อัปโหลดและดาวน์โหลดอันดับย่อยปลาทูน่าอันดับปลากะพงอาหารสัตว์ทะเลปลาวาฮูปลาอินทรีปลาทูปลาทู (สกุล)ปลาทูน่าปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือปลาทูน่าแท้ปลาทูน่าเขี้ยวหมาปลาที่มีก้านครีบปลาซาบะปลาแมกเคอเรลปลาโอแถบน้ำหนักแพลงก์ตอนเมตรเนื้อเยื่อ

ชั่วโมง

ั่วโมง อักษรย่อ ชม. (Hour: h หรือ hr) เป็นหน่วยของเวล.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและชั่วโมง · ดูเพิ่มเติม »

ชั้นปลากระดูกแข็ง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและชั้นปลากระดูกแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

กระสวย

250px กระสวย เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งใช้ในการทอผ้า ทำด้วยไม้ ปลายสองด้านมน ตรงกลางกลวง สำหรับบรรจุหลอดด้ายพุ่ง หรือด้ายพุ่งพิเศษ มีน้ำหนักและขนาดเหมาะมือ ใช้พุ่งไปมาระหว่างการยกเส้นด้ายยืนขึ้นลง ในประเทศไทย ส่วนใหญ่พบกระสวยสองแบบ คือ แบบดั้งเดิม มีลักษณะเรียว ยาว ปลายงอน คล้ายเรือ นิยมใช้กับการทอผ้าขิดผ้ายก ที่ไม่ต้อวการความรวดเร็ว กับแบบใหม่ มีลักษณะป้อม ปลายมนคล้ายดินสองทั้งสองด้าน มักพบในการทอด้วยกี่กระตุก เพราะสามารถสอดไว้ในช่องใส่กระสวย เพื่อให้ชักกระสวยไปมาได้สะดวกในระหว่างเหยียบกี่เพื่อยกด้ายยืน ในการทอผ้าพื้นที่ไม่ต้องการลวดลายมาก อาจมีกระสวยใช้เพียงหนึ่งหรือสองอัน แต่การทอผ้าที่ต้องการสีสันและลวดลายแปลกๆ จะต้องมีกระสวยจำนวนมาก พอกับจำนวนด้ายและสีที่ใช้ ส่วนการทอด้วยกี่เอวนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้กระสวยเป็นพิเศษแต่อย่างใด หมวดหมู่:การทอผ้า.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและกระสวย · ดูเพิ่มเติม »

กล้ามเนื้อ

การจัดลำดับของกล้ามเนื้อโครงสร้าง กล้ามเนื้อ (muscle; มาจากภาษาละติน musculus "หนูตัวเล็ก") เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อการเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย แบ่งออกเป็นกล้ามเนื้อโครงร่าง (skeletal muscle), กล้ามเนื้อเรียบ (smooth muscle), และกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) ทำหน้าที่หดตัวเพื่อให้เกิดแรงและทำให้เกิดการเคลื่อนที่ (motion) รวมถึงการเคลื่อนที่และการหดตัวของอวัยวะภายใน กล้ามเนื้อจำนวนมากหดตัวได้นอกอำนาจจิตใจ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น การบีบตัวของหัวใจ หรือการบีบรูด (peristalsis) ทำให้เกิดการผลักดันอาหารเข้าไปภายในทางเดินอาหาร การหดตัวของกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจมีประโยชน์ในการเคลื่อนที่ของร่างกาย และสามารถควบคุมการหดตัวได้ เช่นการกลอกตา หรือการหดตัวของกล้ามเนื้อควอดริเซ็บ (quadriceps muscle) ที่ต้นขา ใยกล้ามเนื้อ (muscle fiber) ที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภทคือ กล้ามเนื้อ fast twitch และกล้ามเนื้อ slow twitch กล้ามเนื้อ slow twitch สามารถหดตัวได้เป็นระยะเวลานานแต่ให้แรงน้อย ในขณะที่กล้ามเนื้อ fast twitch สามารถหดตัวได้รวดเร็วและให้แรงมาก แต่ล้าได้ง.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและกล้ามเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

การว่ายน้ำ

การว่ายน้ำท่ากบ การว่ายน้ำ (Swimming) เป็นกระบวนการในการเคลื่อนที่ในน้ำของมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตอื่น การว่ายน้ำของมนุษย์มีจุดประสงค์หลายอย่าง เช่น นันทนาการ การแข่งขัน การออกกำลังกาย การว่ายน้ำนั้นมีการแบ่งออกเป็นท่าต่าง ๆ โดยท่าที่ใช้สำหรับแข่งขันนั้นได้แก่ ท่าฟรีสไตล์ ท่ากบ ท่ากรรเชียง และท่าผีเสื้อ การแข่งขันอีกประเภทหนึ่งคือการแข่งขันแบบ "ฟรีสไตล์" ซึ่งผู้เข้าแข่งขันสามารถว่ายน้ำแบบใดก็ได้ นักว่ายน้ำส่วนใหญ่เลือกใช้ท่าฟรอนท์ครอล (front crawl) ทำให้มักเรียกการว่ายน้ำแบบนี้ว่าฟรีสไตล์ สหพันธ์ว่ายน้ำระหว่างประเทศ (FINA) เป็นจัดการแข่งขันว่ายน้ำ (และกีฬาทางน้ำอื่น) ในระดับนานาชาติ การแข่งขันว่ายน้ำเป็นหนึ่งในการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและการว่ายน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

การจับปลา

การตกปลา เป็นการจับปลาและเป็นกีฬาที่เป็นที่นิยมชนิดหนึ่ง กระทำโดยการใช้เหยื่อล่อ โดยใช้ได้ทั้งที่เป็นเหยื่อสด เหยื่อหมัก และเหยื่อปลอม หมวดหมู่:การประมง หมวดหมู่:การตกปลา.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและการจับปลา · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

กิโลกรัม

กิโลกรัม อักษรย่อ กก. (kilogram: kg) เป็นหน่วยฐานเอสไอของมวล นิยามไว้เท่ากับมวลของมวลต้นแบบระหว่างชาติของกิโลกรัม โดยสร้างจากโลหะเจือแพลตินัม-อิริเดียม.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและกิโลกรัม · ดูเพิ่มเติม »

กิโลเมตร

กิโลเมตร อักษรย่อ กม. (mètre, km) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 × 103 เมตร.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาอินทรี

วงศ์ปลาอินทรี (Mackerels, Tunas, King mackerels) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scombridae มีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวเพรียวยาวเป็นทรงกระสวย นัยน์ตากลมโต มีครีบหลังแบ่งออกเป็น 2 ตอน โดยตอนหลังมีลักษณะแข็งและมีขนาดเล็ก มีครีบท้องและครีบก้น กล้ามเนื้อก่อนถึงโคนหางมีเนื้อเยื่อขวางอยู่เรียกว่า "คีล" (Keel) โคนครีบหางกิ่วเล็กแต่แข็งแรง มีครีบแบ่งเป็นแฉก 2 แฉกเว้าลึก ครีบท้องขนานยาวไปกับความยาวลำตัว มีขนาดความยาวแตกต่างกันตั้งแต่ 20 เซนติเมตร ไปจนถึงเกือบ 3 เมตร บางสกุลอาจมีลวดลายตามความยาวหรือแนวลำตัว ในปากมีฟันและกรามที่แข็งแรง มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ในทะเลเปิดในเขตอบอุ่นทั่วโลก เป็นปลาที่มีการอพยพย้ายถิ่น ในปลาขนาดเล็กกินแพลงก์ตอนและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า และในปลาขนาดใหญ่จะไล่กินปลาขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร ว่ายน้ำได้อย่างรวดเร็ว เพราะใช้ครีบและหางแนบกับลำตัวเมื่อว่ายน้ำ โดยมีสถิติสูงสุดที่บันทึกได้คือ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยปลาในวงศ์นี้ เป็นที่รู้จักกันในชื่อสามัญภาษาไทยโดยรวมกัน คือ ปลาทู, ปลาโอ, ปลาทูน่า และปลาอินทรี เป็นต้น เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เพราะเป็นปลาที่มนุษย์ใช้ในการบริโภค ทั้งปรุงสุดหรืออาหารกระป๋อง รวมทั้งทำอาหารสัตว์ และตกกันเป็นเกมกีฬาด้วย ปัจจุบันแบ่งออกได้เป็น 55 ชนิด 15 สกุล และแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ (Thunnus thynnus) ที่มีรายงานยาวเต็มที่ที่เคยพบคือ 458 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 684 กิโลกรัม.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและวงศ์ปลาอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์น้ำ

ัตว์น้ำ (aquatic animal) หมายถึง สัตว์ที่อาศัยในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำ ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและสัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อัปโหลดและดาวน์โหลด

ในทางคอมพิวเตอร์ อัปโหลด (upload; ศัพท์บัญญัติว่า บรรจุขึ้น) และ ดาวน์โหลด (download, ศัพท์บัญญัติว่า บรรจุลง) เป็นการส่งผ่านข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างคอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง การส่งข้อมูล แฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรม จากคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ หมายถึงการอัปโหลด ขณะเดียวกัน การรับข้อมูล แฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ หมายถึงการดาวน์โหลด ตัวอย่างเช่นว่าคัดลอกจากคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเข้ามาเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของเราเอง สำหรับทาง ไอเอสพี กำหนดการส่งข้อมูลจากลูกค้า เรียกว่าการอัปโหลด และการรับข้อมูลถือเป็นการดาวน์โหลด โดยทั่วไปที่เข้าใจกัน คำว่าดาวน์โหลดหมายถึงการรับไฟล์ และอัปโหลดหมายถึงการส่งไฟล์ การดาวน์โหลดต่างๆ ได้ทั้งเรื่องการศึกษา ความบันเทิง เช่น ในกรณีดาวน์โหลด ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถทำได้ เช่น ดาวน์โหลดเพลง MP3 ดาวน์โหลดโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น หรือในกรณีดาวน์โหลดลงโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็ทำได้ เช่น ดาวน์โหลดริงโทน ดาวน์โหลดวอลล์เปเปอร์ ต่างๆ หรือจะเป็น ดาวน์โหลดSMS เป็นต้น หมวดหมู่:การส่งผ่านข้อมูล หมวดหมู่:คำศัพท์ de:Herunterladen es:Descargar (archivos) ru:Скачивание.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและอัปโหลดและดาวน์โหลด · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยปลาทูน่า

อันดับย่อยปลาทูน่า (Tuna, Mackerel) เป็นอันดับย่อยของปลาทะเลกระดูกแข็ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Scombroidei แบ่งออกเป็นวงศ์ต่าง ๆ ได้ดังนี้.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและอันดับย่อยปลาทูน่า · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

อาหารสัตว์

ตัวอย่างอาหารสัตว์ที่ผลิตขึ้นเอง อาหารสัตว์มีความสำคัญ และจำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของสัตว์ อาหารของสัตว์อาจได้มาทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและหรือเกิดขึ้นจากการแปรรูปที่ได้จากพืช หรือสัตว์ เป็นสิ่งที่มีสารอาหารและเป็นประโยชน์ในการบำรุงร่างกายแก่สัตว์ ซึ่งอาหารสัตว์ส่วนมากจะได้มาจากพืช ได้แก่ มันสำปะหลัง รำ ปลายข้าว เป็นต้น อาหารสัตว์มี 2 ประเภท ได้แก่ แบ่งตามส่วนประกอบทางเคมีของสารอาหารและแบ่งตามปริมาณเยื่อใย อาหารสัตว์มี 2 แบบ คือ แบบหยาบและแบบข้น เมื่อสัตว์ได้กินอาหารเข้าไปแล้วและอาหารก็เปลี่ยนเป็นพลังงาน และพร้อมที่จะนำไปใช้ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่ การเจริญเติบโต อาหารสัตว์ถูกใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นส่วนของหนัง โครงกระดูก และอวัยวะภายใน สัตว์แต่ละวัยมีความต้องการของจำนวนและปริมาณของอาหารที่ต่างกัน จึงควรจัดหาอาหารให้ถูกต้องและประหยัด การดำรงชีพ การให้พลังงานในการทำงานของอวัยวะส่วนต่าง ๆ เพื่อสามารถให้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้ เช่น การหายใจ การเคลื่อนไหว การสืบพันธุ์ สัตว์ที่มีวัยที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ จำเป็นต้องการอาหารเพื่อให้กระบวนการของอวัยวะสืบพันธุ์ทำงานได้เป็นปกติ ทั้งสัตว์เพศผู้และเพศเมีย การให้ผลผลิต เมื่ออาหารเข้าสู่ร่างกายแล้วจะส่งเสริมให้สุขภาพ ร่างกายของสัตว์มีความเจริญเติบโต ไม่ว่าจะเป็นเนื้อของสัตว์ ปริมาณนมจากสัตว์ เป็นต้น ดังนั้นอาหารสัตว์จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง จึงต้องมีการพัฒนาอาหารสัตว์ให้มีคุณค่าแก่สัตว์มากที่สุด เช่น การนำมันสำปะหลังมาทำเป็นมันหมัก หมวดหมู่:อาหาร หมวดหมู่:อาหารสัตว์.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและอาหารสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาวาฮู

ปลาวาฮู หรือ ปลาอินทรีน้ำลึก (Wahoo) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Acanthocybium solandri อยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาในสกุลปลาอินทรี (Scomberomorus spp.) อย่างมาก โดยมีความแตกต่างกันคือ ครีบหลังของปลาวาฮูในตอนแรกจะมีความสูงกว่า และมีที่ว่างของครีบหลังตอนแรกและตอนหลังมากกว่าปลาในสกุลปลาอินทรี ครีบหางมีลักษณะเว้าที่ตื้นกว่า มีส่วนของจะงอยปากแลดูแหลมคมกว่า และรูปร่างที่เพรียวบางกว่า จัดเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Acanthocybium มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 2.5 เมตร และมีน้ำหนักถึง 83 กิโลกรัม เป็นปลาที่อาศัยอยู่เป็นฝูงในเขตน้ำลึกได้ถึง 80 เมตร ในทะเลเปิดเขตอบอุ่นและกึ่งอบอุ่นทั่วโลก โดยในฮาวายจะเรียกว่า "Ono" ขณะที่แถบทะเลแคริบเบียนและอเมริกากลางจะเรียกว่า "Peto" ว่ายน้ำได้รวดเร็วมาก เป็นปลาที่นิยมตกเป็นเกมกีฬา ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและปลาวาฮู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาอินทรี

วามหมายอื่น อินทรี ปลาอินทรี (Indo-Pacific king mackerels, Spotted mackerels, Seerfishes) เป็นปลาทะเลจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในสกุล Scomberomorus (/สะ-คอม-บี-โร-โม-รัส/) ในวงศ์ Scombridae ปลาอินทรีมีรูปร่างโดยรวม คือ มีลำตัวแบนข้างเรียวยาว คอดหางกิ่ว ปลายหางเว้าเป็นแฉกลึก ส่วนหัวและปลายปากแหลม ภายในปากในบางชนิดและปลาขนาดใหญ่จะเห็นฟันแหลมคมอย่างชัดเจน อาศัยอยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ มีลวดลายเป็นจุดหรือบั้งตามแต่ชนิด จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่สกุลหนึ่งในวงศ์ คือ มีความยาวโดยเฉลี่ยประมาณ 1 เมตร หาอาหารโดยไล่กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า อาศัยอยู่ในทะเลเปิดทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่ง โดยในประเทศไทยนิยมนำมาทอดหรือทำเป็นปลาเค็ม ซึ่งในภาษาแต้จิ๋วจะเรียกว่า "เบกาฮื้อ" (馬鮫魚; พินอิน: Mǎ jiāo yú) และนิยมตกเป็นเกมกีฬาด้ว.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและปลาอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทู

ปลาทู, ปลาทูตัวสั้น หรือ ปลาทูสั้น เป็นปลาทูชนิดที่ชาวไทยนิยมบริโภคมากที.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและปลาทู · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทู (สกุล)

ปลาทู (Rastrelliger) เป็นสกุลปลาทะเลสกุลหนึ่งในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับปลาอินทรี, ปลาโอ และปลาทูน่า มีพฤติกรรมมักอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงบริเวณกลางน้ำถึงผิวน้ำ ตั้งแต่บริเวณชายฝั่งจนถึงระดับความลึก 200 เมตร ในน่านน้ำไทยพบทั้งหมด 3 ชนิด ปลาในสกุลนี้เป็นปลาที่ผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นอาหารทะเลหลักของคนไทยมาช้านาน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและปลาทู (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทูน่า

ปลาทูน่า หรือ ปลาโอ (tuna; マグロ) เป็นปลาทะเลกลุ่มหนึ่ง ในเผ่า Thunnini วงศ์ Scombridae โดยเฉพาะในสกุล Thunnus จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมาก เนื้อของปลาทูน่าจะมีสีชมพูหรือแดงเข้ม ต่างจากปลาทั่วไปที่มักจะมีเนื้อสีขาว นิยมเอามาทำเป็นปลากระป๋อง หรือปรุงสดต่าง ๆ เช่น ซาชิมิ ปลาทูน่า มีลักษณะรวม คือ อาศัยอยู่เป็นฝูงในทะเลหรือมหาสมุทรห่างจากชายฝั่ง มีรูปร่างเพรียวคล้ายกระสวย บริเวณฐานครีบหูมีกลุ่มเกล็ดเล็ก ๆ ครีบหางเว้าลึก เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้รวดเร็วว่องไวมาก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและปลาทูน่า · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ

ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ หรือ ปลาทูน่ายักษ์ (Northern bluefin tuna, Atlantic bluefin tuna, Giant blufin tuna; タイセイヨウクロマグロ) ปลาทะเลกระดูกแข็งขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาโอหรือปลาทูน่าชนิดหนึ่ง พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรเขตอบอุ่นระหว่างละติจูดที่ 5-50 องศาเหนือ สามารถอยู่อาศัยบริเวณผิวน้ำในระยะอุณหภูมิกว้างมากพบการแพร่กระจายบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกฝั่งตะวันตกและมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันออก มีลักษณะพิเศษที่เห็นได้เด่นชัดคือ ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่ทางตอนต้นของครีบหลังอันที่หนึ่ง ตัวค่อนข้างอ้วนสั้น หัวโต ตาโต ครีบหลังแยกออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน ที่คอดหางมีสีดำ มีขนาดความยาวที่สุดมากกว่า 300 เซนติเมตร แต่ที่พบทั่วไปมีขนาด 200 เซนติเมตร โดยตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่บันทึกได้ คือ ยาว 458 เซนติเมตร และมีน้ำหนักถึง 684 กิโลกรัม มีอายุยืนยาวกว่า 30 ปี และเป็นสัตว์เลือดอุ่น เพราะร่างกายมีระบบปรับอุณหภูมิอย่างยอดเยี่ยม สามารถดูดซึมออกซิเจนไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงสูง มีกลไกการทำงานของหัวใจที่ยอดเยี่ยม จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ ปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ นั้นเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับปลาทูน่าชนิดอื่น ๆ โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่น เป็นปลาที่ชาวญี่ปุ่นทำการประมงมานานกว่า 5,000 ปี โดยชาวพื้นเมืองชาวไฮดาในแถบแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือหน้า 18 เรื่องเล่าจากต่างแดน, ราชาแห่งมัจฉ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและปลาทูน่าครีบน้ำเงินเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทูน่าแท้

ปลาทูน่าแท้ (true tuna, real tuna) เป็นสกุลของปลาทะเลขนาดใหญ่สกุลหนึ่ง จำพวกปลาทูน่า ใช้ชื่อสกุลว่า Thunnus จัดอยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) ปลาทูน่าแท้เป็นปลาที่มีวิวัฒนาการชั้นสูง ทำให้มีรูปร่างปราดเปรียวเพรียวยาวเหมือนตอร์ปิโด ลำตัวสีเงินแวววาว ถือเป็นปลาที่เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีเหงือกมีขนาดใหญ่ ร่างกายมีระบบปรับอุณหภูมิที่ดีเยี่ยม สามารถดูดซึมออกซิเจนไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงสูง และมีกลไกการทำงานของหัวใจที่ดีเยี่ยม มีครีบแข็งทรงโค้งทั้งครีบทวารและครีบหลังอันที่สอง ส่วนครีบหางที่ใช้แหวกว่ายหักเลี้ยวได้อย่างว่องไวเป็นตัวขับเคลื่อนไปข้างหน้า ด้วยสรีระดังกล่าว จึงทำให้ปลาทูน่าแท้เป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วมากกลุ่มหนึ่งในมหาสมุทร โดยสามารถทำความเร็วไปข้างหน้าได้ราว 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสูงถึงเกือบ 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 70-74 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นรองเพียงปลากระโทงแทง ซึ่งเป็นปลาที่ว่ายน้ำได้เร็วที่สุดในโลกเท่านั้นซึ่งคำว่า Thunnus นั้นมาจากคำ 2 คำในภาษาละตินหรือภาษากรีกโบราณคำว่า θύννος (thýnnos) แปลว่า “ปลาทูน่า” และ θύνω (thynō) แปลว่า "ที่พุ่ง; ที่โผ" ทั้งหมดเป็นปลาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเป็นปลาเศรษฐกิจ ทั้งในการประมงและตกเป็นเกมกีฬา มีราคาซื้อขายกันที่สูงมาก และสามารถปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ ได้หลากหลายทั้งรับประทานเนื้อสด ๆ แบบปลาดิบของญี่ปุ่น และปรุงเป็นเมนูอาหารต่าง.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและปลาทูน่าแท้ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาทูน่าเขี้ยวหมา

ปลาทูน่าเขี้ยวหมา หรือ ปลาโอฟันหมา (Dogtooth tuna, Scaleless tuna) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาโอ หรือปลาทูน่าชนิดหนึ่ง ที่มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในสกุล Gymnosarda มีรูปร่างเพรียวยาวเป็นทรงกระสวยหรือตอร์ปิโดป้อม ครีบหลังตอนท้ายคล้ายกับของปลาทู ครีบหางเว้าลึก โคนครีบมีสันเล็ก ๆ ผิวเรียบ บริเวณครีบอกมีแถบเกล็ดหนา ครีบอกมีขนาดเล็ก ลำตัวสีเงินอมฟ้า มีลายเส้นสีคล้ำที่ด้านท้าย ด้านท้องสีจาง ครีบสีคล้ำ มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 100 เซนติเมตร หรือ 1 เมตร โตเต็มที่ได้ถึง 160 เซนติเมตร หรือ 1.6 เมตร เป็นปลาที่อาศัยอยู่ลำพังเพียงตัวเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในระดับกลางน้ำในทะเลเปิดในแนวปะการังที่ค่อนข้างลึก หรือข้างเกาะ พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบได้เฉพาะฝั่งทะเลอันดามัน เป็นปลาที่พบได้น้อย นิยมตกเป็นเกมกีฬา และบริโภคเป็นปลาเศรษฐก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและปลาทูน่าเขี้ยวหมา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาซาบะ

ปลาซาบะ (さば Saba) เป็นชื่อของปลาทะเลสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Scomber จัดอยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาแมคเคอเรลจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายกระสวยหรือจรวด เป็นปลาผิวน้ำ อาศัยอยู่เป็นฝูง ว่ายน้ำได้รวดเร็ว กินปลาขนาดเล็กและสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร รวมถึงแพลงก์ตอนสัตว์ เช่น โคพีพอด ด้วย โดยมากเป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรและน่านน้ำเขตหนาว เช่น มหาสมุทรแอตแลนติกทางตอนเหนือ แถบส่วนเหนือของทวีปแอฟริกา ไล่เรียงขึ้นไปทางทวีปยุโรป จนถึงแถบสแกนดิเนเวีย แต่ก็มีประชากรบางส่วนพบที่มหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ญี่ปุ่น หรือจีน และสหรัฐอเมริกา หรือซีกโลกทางใต้ เช่น นิวซีแลนด์ ด้ว.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและปลาซาบะ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแมกเคอเรล

ปลาอินทรีทะเลสาบเขมร (''Scomberomorus sinensis'') จัดเป็นปลาแมกเคอเรลชนิดหนึ่งในวงศ์ Scombridae ปลาแมกเคอเรล (mackerel) เป็นชื่อเรียกสามัญในภาษาอังกฤษของปลาทะเลหลายชนิดในวงศ์ Scombridae (เป็นส่วนใหญ่), Carangidae, Hexagrammidae และ Gempylidae ซึ่งมีลักษณะคล้ายกันคือ ผิวเป็นเกล็ดละเอียดสีเงินมันวาว ตัวเรียวยาวกลมคล้ายทรงกระบอก หัวแหลมท้ายแหลม มีครีบกระโดงหนึ่งครีบ ครีบท้องหนึ่งครีบ ครีบข้างหนึ่งคู่ หางสองแฉก อาศัยอยู่ทั่วไปตามชายฝั่งทะเล อยู่รวมเป็นฝูงใหญ่ ปลาทูก็อยู่ในวงศ์ Scombridae ดังนั้นจึงจัดเป็นปลาแมกเคอเรลเช่นกัน ส่วนปลาซาร์ดีนอยู่ในวงศ์ Clupeidae ที่มีขนาดเล็กกว่า ไม่จัดว่าเป็นปลาแมกเคอเรล ปลาแมกเคอเรลเป็นปลาที่มนุษย์รับประทานได้ สามารถนำมาทำเป็นปลากระป๋อง โดยเก็บเนื้อปลาในซอสมะเขือเทศ ซึ่งเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและปลาแมกเคอเรล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโอแถบ

ปลาโอแถบ หรือ ปลาทูน่าท้องแถบ (Skipjack tuna, Arctic bonito, Striped tuna, Victor fish) เป็นปลากระดูกแข็งทะเลชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae) จัดเป็นปลาโอหรือปลาทูน่าชนิดหนึ่ง และเป็นเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Katsuwonus มีรูปร่างกลมและยาวเพรียวแบบรูปกระสวย ปากกว้าง นัยน์ตาขนาดปานกลาง ครีบหลังอันที่สองมีขนาดเล็กและไม่สูงครีบหูมีขนาดเล็ก ปลายแหลมเรียว ครีบท้องเล็ก ครีบก้นมีจุดเริ่มต้นอยู่ประมาณกลางครีบหลังอันที่สอง มีเกล็ดเฉพาะบริเวณใต้ครีบหลังอันแรกและบริเวณเส้นข้างลำตัวมีแถบสีดำ ประมาณ 4-6 แถบ อยู่ใต้เส้นข้างตัว แลดูเด่นเป็นลักษณะเฉพาะ เป็นปลาที่มีพฤติกรรมรวมฝูงขนาดใหญ่เป็นพันหรือหมื่นตัวกันหากินตามผิวน้ำ และชอบกระโดดพร้อมกันทีเดียว มีขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 40-80 เซนติเมตร โตเต็มที่ได้ถึง 110 เซนติเมตร เป็นปลาที่มีการกระจายพันธุ์กว้างขวางมาก ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ในน่านน้ำไทยจะพบชุกชุมที่ทะเลอันดามันแถบจังหวัดระนอง, พังงา, ภูเก็ตถึงสตูล.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและปลาโอแถบ · ดูเพิ่มเติม »

น้ำหนัก

เครื่องชั่งสปริงเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้วัดขนาดของน้ำหนัก ในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ น้ำหนัก หมายถึงแรงบนวัตถุอันเนื่องมาจากความโน้มถ่วง ขนาดของน้ำหนักในปริมาณสเกลาร์ มักเขียนแทนด้วย W แบบตัวเอน คือผลคูณของมวลของวัตถุ m กับขนาดของความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วง g นั่นคือ ถ้าหากพิจารณาน้ำหนักว่าเป็นเวกเตอร์ จะเขียนแทนด้วย W แบบตัวหนา หน่วยวัดของน้ำหนักใช้อย่างเดียวกันกับหน่วยวัดของแรง ซึ่งหน่วยเอสไอก็คือนิวตัน ยกตัวอย่าง วัตถุหนึ่งมีมวลเท่ากับ 1 กิโลกรัม มีน้ำหนักประมาณ 9.8 นิวตันบนพื้นผิวโลก มีน้ำหนักประมาณหนึ่งในหกเท่าบนพื้นผิวดวงจันทร์ และมีน้ำหนักที่เกือบจะเป็นศูนย์ในห้วงอวกาศที่ไกลออกไปจากเทหวัตถุอันจะส่งผลให้เกิดความโน้มถ่วง ในทางนิติศาสตร์และการพาณิชย์ น้ำหนัก มีความหมายเดียวกันกับมวล The National Standard of Canada, CAN/CSA-Z234.1-89 Canadian Metric Practice Guide, January 1989.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและน้ำหนัก · ดูเพิ่มเติม »

แพลงก์ตอน

แพลงก์ตอน แพลงก์ตอน (plankton) มาจากคำว่า πλανκτος ("planktos") ในภาษากรีกแปลว่า wanderer หรือผู้ท่องเที่ยวไปโดยไร้จุดหมาย คือสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ที่ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ไม่สามารถว่ายน้ำไปยังทิศทางที่ต้องการอย่างอิสร.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและแพลงก์ตอน · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อ

นื้อเยื่อ ในทางชีววิทยาคือกลุ่มของเซลล์ที่ทำหน้าที่ร่วมกันในสิ่งมีชีวิต วิชาการศึกษาเนื้อเยื่อ เรียกว่า มิญชวิทยา (Histology) หรือ จุลกายวิภาคศาสตร์ (Microanatomy) หรือหากเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรคเรียกว่า จุลพยาธิวิทยา (histopathology) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อโดยทั่วไปคือ แท่งขี้ผึ้ง (wax block), สีย้อมเนื้อเยื่อ (tissue stain), กล้องจุลทรรศน์แบบแสง (optical microscope) ซึ่งต่อมามีการพัฒนาเป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopy), immunofluorescence, และการตัดตรวจเนื้อเย็นแข็ง (frozen section) เป็นเทคนิคและความรู้ใหม่ที่เพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เราสามารถตรวจพยาธิสภาพ เพื่อการวินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้.

ใหม่!!: วงศ์ปลาอินทรีและเนื้อเยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

CybiidaeScombridaeScombrinaeThunnidae

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »