โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ปลากะพงสลิด

ดัชนี วงศ์ปลากะพงสลิด

ระวังสับสนกับ ปลาสลิดทะเล วงศ์ปลากะพงสลิด หรือ วงศ์ปลาหางเสือ (Drummer, Sea chub, Rudderfish) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็งทะเลวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Kyphosidae ซึ่งมาจากภาษากรีกคำว่า κυφος (kyphos) หมายถึง "โหนก" มีลักษณะโดยรวม คือ เป็นปลาขนาดกลาง ลำตัวป้อม แบนข้าง ครีบหางเว้าตื้น ส่วนหัวมน ปากมีขนาดเล็กคล้ายปลาสลิดทะเล ครีบหลังเชื่อมต่อเป็นครีบเดียว เป็นปลาทะเลทั้งหมด มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง มักหากินอยู่กลางน้ำ ถึงใกล้ผิวน้ำในแนวปะการัง, กองหินใต้น้ำ และวัสดุลอยน้ำต่าง ๆ หลายชนิดพบตามแนวปะทะคลื่น หรือ อ่าวที่มีคลื่นลมรุนแรง กินแพลงก์ตอนสัตว์และเศษอาหารบนผิวน้ำเป็นอาหาร ในแหล่งดำน้ำหลายแห่งมักพบปลาในวงศ์นี้กินขนมปังจากนักท่องเที่ยวเป็นอาหาร สามารถแบ่งออกได้เป็น 42 ชนิด จากทั้งหมด 15 สกุล ซึ่งยังสามารถแบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อยอีก 5 วงศ์ด้วยกัน คือ.

18 ความสัมพันธ์: ชั้นปลากระดูกแข็งพืดหินปะการังการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตั้งชื่อทวินามภาษากรีกวงศ์ปลาสลิดทะเลสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับย่อยปลากะพงอันดับปลากะพงอ่าวขนมปังปลาสีนวลปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำเค็มแพลงก์ตอน

ชั้นปลากระดูกแข็ง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงสลิดและชั้นปลากระดูกแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

พืดหินปะการัง

แผนที่แสดงการกระจายตัวของแนวปะการังทั่วโลก แนวปะการัง หรือ พืดหินปะการัง เป็นระบบนิเวศที่ซับซ้อน และมีความหลากหลายมากที่สุดในทะเล แนวปะการังจัดเป็นสิ่งก่อสร้างของสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นหินปูนที่มีความแข็ง โดยสัตว์ทะเลขนาดเล็กคือ ปะการัง รวมถึงซากของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในทะเลอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น สาหร่ายหินปูน, หอยที่มีเปลือกแข็ง เป็นต้น ทั้งปะการังเองและสิ่งมีชีวิตที่สร้างหินปูนได้ เมื่อตายไปแล้วจะยังคงเหลือซากหินปูนทับถมพอกพูน ซึ่งถือว่าเป็นขบวนการสร้างแนวปะการัง ซากหินปูนเหล่านั้นค่อย ๆ ผุกร่อนเป็นผงตะกอน ซึ่งส่วนหนึ่งก็ยังคงสะสมพอกพูนในแนวปะการัง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจถูกพัดพาล่องลอยไปตามกระแสน้ำไปทับถมพอกพูนเป็นชายหาด การเจริญเติบโตของแนวปะการังเป็นไปอย่างช้า ๆ ในแต่ละปี ปะการังบางชนิดอาจเพิ่มขนาดของตนเองขึ้นมาได้เพียง 2-5 เซนติเมตรเท่านั้น ซึ่งกว่าที่ปะการังจะสร้างตนเองจนแข็งแรงเป็นแนวพืดได้ต้องใช้เวลานับหมื่น ๆ ปี โดยแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือ เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ที่มีเนื้อที่กว้างขวางกว่า 1,562 ไมล์ (2,500 กิโลเมตร) มีแนวปะการังมากกว่า 2,900 แนว ซึ่งได้รับการประกาศให้เป็นมรกดกโลกทางธรรมชาติ และแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของโลก คือ สามเหลี่ยมปะการัง ที่ครอบคลุมพื้นที่ระหว่างน่านน้ำของฟิลิปปินส์ เช่น อุทยานธรรมชาติปะการังตุบบาตาฮา, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ปาปัวนิวกินี, หมู่เกาะโซโลมอน และติมอร์เลสเต คิดเป็น 1 ใน 3 ของแนวปะการังที่มีอยู่ในโลก และมีความหลากหลายของชนิดปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังคิดเป็นร้อยละ 35 ของปลาที่อาศัยในแนวปะการังทั้งหมดทั่วโลก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงสลิดและพืดหินปะการัง · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงสลิดและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงสลิดและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงสลิดและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาสลิดทะเล

ระวังสับสนกับ ปลาสลิดหิน ปลาวงศ์อื่น ดูที่ วงศ์ปลากะพงสลิด วงศ์ปลาสลิดทะเล หรือ วงศ์ปลาสลิดหิน (Rabbitfish, Spinefish) เป็นวงศ์ของปลาทะเลกระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Siganidae (/ซิ-กะ-นิ-ดี้/) มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวแบบรูปไข่และแบนด้านข้าง หัวมีขนาดเล็ก เกล็ดมีขนาดเล็ก ครีบหางมีทั้งแบบตัดตรงและเว้าลึก ครีบหลังมีหนามแหลมคมและจะกางออก ซึ่งจะมีต่อมพิษที่เงี่ยงของครีบหลัง ครีบก้น และครีบท้อง เพื่อใช้ในการป้องกันตัว เป็นปลาที่กินพืชเป็นอาหารหลัก โดยมีพฤติกรรมการกินแบบแทะเล็มคล้ายกระต่าย อันเป็นที่มาของชื่อสามัญในภาษาอังกฤษ มักพบในเขตชายฝั่งตามพื้นท้องทะเล, กองหินหรือแนวปะการัง และในดงหญ้าทะเล เป็นปลาที่สามารถรับประทานได้ แต่จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์เมื่อมือเปล่าจับ หนามเหล่านี้จะทิ่มตำ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงสลิดและวงศ์ปลาสลิดทะเล · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงสลิดและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงสลิดและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงสลิดและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงสลิดและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยปลากะพง

อันดับย่อยปลากะพง (Bass, Perch, Snapper, Trevally) เป็นอันดับย่อยของปลากระดูกแข็งในอันดับปลากะพง (Perciformes) จัดเป็น 1 ใน 18 อันดับย่อยของอันดับนี้ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Percoidei เป็นปลาส่วนใหญ่ในอันดับนี้ พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย, ทะเล.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงสลิดและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงสลิดและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

อ่าว

อ่าวไทย อ่าว (Bay) หมายถึงส่วนพื้นที่ของทะเลที่ล้อมรอบโดยแผ่นดินใกล้เคียง คลื่นทะเลในอ่าวมักจะสงบกว่าทะเลหรือมหาสมุทรที่อยู่ภายนอกเนื่องจากแผ่นดินต้านแรงคลื่นและแรงลมบางส่วนเอาไว้ อ่าวมีลักษณะที่เว้าโค้งเป็นรูปต่างๆ กัน ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะนิยมเรียกอ่าวตามลักษณะที่เกิดขึ้นเช่น "อ่าวเขาควาย" จะมีลักษณะชายหาดที่งุ้มเหมือนเขาควาย "อ่าวมะนาว" มีลักษณะของทะเลที่เว้าเข้าไปในแผ่นดินเป็นรูปมะนาว เวิ้งน้ำขนาดใหญ่สามารถเรียกว่าอ่าว (bay, gulf) ทะเล (sea) บึงหรือทะเลสาบ (lake) ในขณะที่อ่าวขนาดเล็กที่เว้าเข้าตามชายฝั่ง (coast) รูปร่างโค้งรีและทางออกแคบเรียกว่าหาด (cove) ซึ่งมักจะมีชายหาดหรือหาดทราย (beach) อยู่ภายในเป็นบริเวณกว้าง ถ้าฝั่งสูงชันโดยตลอดอาจเรียกว่าฟยอร์ด (fjord) พบได้ตามเขตขั้วโลก อ่าวถูกสร้างขึ้นได้ทั้งโดยธรรมชาติและโดยมนุษย์ โดยธรรมชาติเกิดจากน้ำทะเลที่เข้ามาท่วมระหว่างแนวเทือกเขาใต้ทะเลและบนแผ่นดิน หรือการกัดเซาะแนวชายฝั่ง ซึ่งส่วนที่กัดเซาะได้ง่ายจะเว้าลึกเข้าไปมากกว่าส่วนที่กัดเซาะยาก เมื่อนานเข้าก็ทำให้เกิดอ่าวขึ้น สำหรับฟยอร์ดเกิดจากการเคลื่อนตัวและการกัดเซาะของธารน้ำแข็ง และโดยมนุษย์คือการก่อสร้างสิ่งกีดขวางเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณโดยรอบที่ไม่ได้ป้องกันจะถูกกัดเซาะเป็นเวิ้งน้ำ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงสลิดและอ่าว · ดูเพิ่มเติม »

ขนมปัง

นมปัง ขนมปัง หรือ ปัง เป็นอาหารที่ทำจากแป้งสาลีที่ผสมกับน้ำและยีสต์ หรือผงฟู นอกจากนี้ยังมีการใช้ส่วนผสมอื่น ๆ เพื่อแต่งสี รสชาติและกลิ่น แตกต่างกันไปตามแต่ละประเภทของขนมปัง และ แต่ละประเทศที่ทำ โดยนำส่วนผสมมาตีให้เข้ากันและนำไปอบ ขนมปังมีหลายประเภท เช่น ขนมปังฝรั่งเศส ขนมปังไรย์ หรือแม้กระทั่งเพรตเซิล ของขึ้นชื่อประเทศเยอรมนี เป็นต้น ชาวสวิสที่อาศัยอยู่ตามทะเลสาบในยุคหินเป็นผู้ริเริ่มนำเมล็ดข้าวสาลีมาบดโดยใช้ครกหยาบ ๆ ตำ แล้วนำไปผสมน้ำ แล้วนำไปเทลงบนหินร้อนๆเพื่อให้สุก ผลที่ได้คือขนมปังที่ขึ้นฟูโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งค้นพบมากว่า 3,000 ปี ก่อนคริสตกาล ประวัติที่ยอมรับสืบเนื่องกันมาก็คือพวกทาสในสมัยราชวงศ์อียีปต์ ได้ผสมก้อนแป้งที่ลืมทิ้งไว้ลงไปในแป้งที่ผสมเสร็จใหม่ๆ ผลที่ได้คือแป้งที่เบาและรสชาติดี.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงสลิดและขนมปัง · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสีนวล

ปลาสีนวล หรือ ปลากะพงสลิดลายน้ำเงิน หรือ ปลาสลิดทะเลน้ำเงิน (Bluefish, Topsail drummer) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะพงสลิด (Kyphosidae) มีลำตัวหนาแบนข้าง รูปร่างเป็นทรงรูปไข่ ครีบหลังและครีบก้นตอนท้ายปลายเรียว ครีบหางเว้าลึก ครีบหลังแบ่งออกเป็นสองตอนชัดเจน เกล็ดมีขนาดเล็ก ปากมีขนาดเล็ก มีฟันซี่เล็ก ๆ เป็นขน ลำตัวสีเทาคล้ำ มีแถบสีน้ำตาลตามแนวเกล็ดหลายแถบ ครีบต่าง ๆ มีสีคล้ำ มีขนาดความยาวเต็มที่ได้ถึง 50 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 45 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดง, แอฟริกาตะวันออก, ฮาวาย, ทะเลญี่ปุ่น และตอนเหนือของออสเตรเลีย ในน่านน้ำไทยพบได้ชุกชุมทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เป็นปลาที่มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่ ว่ายไปไหนมาไหนด้วยกันทั้งฝูง มักรวมตัวกันบริเวณกองหินหรือแนวปะการังใกล้ชายฝั่ง กินสาหร่ายเป็นอาหารหลัก เป็นปลาที่มีความสำคัญทางการประมงเพียงเล็กน้อ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงสลิดและปลาสีนวล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงสลิดและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำเค็ม

ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงสลิดและปลาน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

แพลงก์ตอน

แพลงก์ตอน แพลงก์ตอน (plankton) มาจากคำว่า πλανκτος ("planktos") ในภาษากรีกแปลว่า wanderer หรือผู้ท่องเที่ยวไปโดยไร้จุดหมาย คือสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ที่ล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ไม่สามารถว่ายน้ำไปยังทิศทางที่ต้องการอย่างอิสร.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงสลิดและแพลงก์ตอน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Kyphosidaeวงศ์ปลาหางเสือปลากะพงสลิดปลาหางเสือ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »