โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ปลาตั๊กแตนหิน

ดัชนี วงศ์ปลาตั๊กแตนหิน

วงศ์ปลาตั๊กแตนหิน หรือ วงศ์ปลาตุ๊ดตู่ (Combtooth blennies, Scaleless blennies) เป็นวงศ์ของปลาทะเลขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Blenniidae (/เบลน-นิ-อิ-ดี้/) จัดเป็นปลาจำพวกปลาเบลนนี่ หรือปลาตั๊กแตนหิน มีรูปร่างเรียวยาวคล้ายปลาไหลหรือปลาบู่ขนาดเล็ก มีหัวทู่ขนาดใหญ่ ดวงตากลมโตอยู่ด้านหน้าของส่วนหัว เป็นปลาที่ไม่มีเกล็ด มีก้านครีบแข็งจะฝังอยู่ที่ครีบท้อง มีก้านครีบอ่อน 2-4 อัน ครีบท้องเป็นเส้นขนาดเล็ก 2 เส้นแตกต่างจากปลาบู่ อยู่ด้านหน้าครีบอกหรือครีบหู มีก้านครีบแข็งขนาดเล็กที่ครีบหลัง 3-17 อัน มีก้านครีบอ่อน 9-119 อัน มีก้านครีบแข็งที่ครีบก้น 2 อัน ครีบหางเป็นวงกลม ปากอยู่ด้านล่างของส่วนหัว จัดเป็นปลาขนาดเล็ก มีความยาวน้อยกว่า 15 เซนติเมตร ชนิดที่ใหญ่ที่สุดยาวถึง 52 เซนติเมตร มีลักษณะเด่นอีกประการ คือ มีฟันแหลมคมคล้ายหวีติดแน่น หรือขยับกรามที่ขากรรไกรได้ บางชนิดเป็นฟันเขี้ยว สามารถที่จะกัดสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่ามากได้ เช่น ปลาอื่น หรือแม้แต่นักดำน้ำ ขณะที่บางสกุลจะมีต่อมพิษที่ฟันเขี้ยวนี้ ส่วนมากมีสีสันที่สวยงาม โดยเฉพาะในตัวผู้ เป็นปลาทะเลส่วนมาก กระจายพันธุ์ทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิก, แอตแลนติก และอินเดีย จะอาศัยอยู่ตามพื้นทะเลในระดับความลึกตั้งแต่ 2-21 เมตร โดยหลบซ่อนอยู่ในซอกรูหินใต้น้ำ เป็นปลาที่มักไม่ค่อยอยู่นิ่ง จะว่ายเข้าว่ายออกรูที่อาศัยอยู่บ่อย ๆ หรือบางครั้งโผล่มาแต่หัวเพื่อสังเกตการณ์ มีพฤติกรรมวางไข่โดยตัวเมียวางไข่ในเปลือกหอยที่ว่างเปล่า ทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันดูแลไข่ มีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่พบได้ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืด หากินโดยกินตะไคร่น้ำเป็นหลัก แต่หลายชนิดก็สามารถที่จะกินเนื้อหรือสัตว์น้ำตัวเล็ก ๆ หรือแม้แต่เศษอาหารที่ปลาใหญ่กินเหลือได้ โดยหากินใกล้ ๆ รูที่อาศัยอยู่ ถือเป็นวงศ์ที่ใหญ่ ปัจจุบันพบแล้วมากกว่า 300 ชนิด ใน 57 สกุล นับว่ามากที่สุดในบรรดาปลาเบลนนี่ทั้งหมด ปลาในวงศ์นี้ มีความสำคัญในแง่ของการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม โดยมักที่จะนำมาเลี้ยงเพื่อทำความสะอาดตู้เลี้ยงเพื่อให้กำจัดตะไคร่น้ำ.

33 ความสัมพันธ์: ชาลส์ เทต รีกันพ.ศ. 2455การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตั้งชื่อทวินามมหาสมุทรอินเดียมหาสมุทรแอตแลนติกมหาสมุทรแปซิฟิกรูปวงกลมวงศ์ปลาบู่สกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสัตว์น้ำสีสันสปีชีส์หินอันดับปลากะพงอันดับปลาไหลตะไคร่น้ำตู้ปลาปลาปลาสวยงามปลาที่มีก้านครีบปลาตั๊กแตนหินสองสีปลาน้ำเค็มปลาเบลนนี่ปากน้ำกร่อยน้ำจืดเพศชายเกล็ดปลาเมตรเปลือกหอย

ชาลส์ เทต รีกัน

ลส์ เทต รีกัน (Charles Tate Regan) นักมีนวิทยาชาวอังกฤษที่มีชื่อเสียง เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 ที่เมืองเชอร์บอร์น มณฑลดอร์เซต จบการศึกษาจากโรงเรียนดาร์บีและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี ค.ศ. 1901 รีกันได้เข้าทำงานในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ และเป็นนักสัตววิทยาประจำพิพิธภัณฑ์ระหว่างปี ค.ศ. 1927-ค.ศ. 1938 ต่อมาได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกราชสมาคมแห่งลอนดอนในปี ค.ศ. 1917 รีกัน เป็นนักมีนวิทยาที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งคนหนึ่ง โดยเป็นผู้ศึกษาและอนุกรมวิธานปลาชนิดต่าง ๆ มากมาย เช่น ปลาในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae), การบรรยายลักษณะต่าง ๆ ของปลาในวงศ์ปลาตาเหลือกยาว (Elopidae) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอนุกรมวิธานปลากัดไทย หรือ ปลากัดสยาม (Betta splendens) ที่มีชื่อเสียง รีกันได้ร่วมทำงานกับนักมีนวิทยาชาวอังกฤษอีกคนที่มีชื่อเสียง คือ อีเทลเวนน์ เทรวาวาส ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ได้มีปลาจำนวนมากที่ถูกตั้งชื่อชนิดเพื่อเป็นเกียรติแก่รีกัน โดยจะใช้ชื่อว่า regani อาทิ Anadoras regani, Apistogramma regani, Julidochromis regani เป็นต้น ชาลส์ เทต รีกัน เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1943.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและชาลส์ เทต รีกัน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2455

ทธศักราช 2455 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1912 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและพ.ศ. 2455 · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและมหาสมุทรอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

รูปวงกลม

รูปวงกลมที่แสดงถึงรัศมี เส้นผ่านศูนย์กลาง จุดศูนย์กลาง และเส้นรอบวง รูปวงกลม (อังกฤษ: circle) เป็นรูปร่างพื้นฐานอันหนึ่งในเรขาคณิตแบบยุคลิด รูปวงกลมเป็นโลกัส (locus) ของจุดทุกจุดบนระนาบที่มีระยะห่างคงตัวกับจุดที่กำหนดอีกจุดหนึ่ง ระยะห่างนั้นเรียกว่ารัศมี และจุดที่กำหนดเรียกว่าจุดศูนย์กลาง สามจุดใดๆ ที่ไม่อยู่บนเส้นตรงเดียวกัน จะสามารถวาดรูปวงกลมผ่านทั้งสามจุดได้เพียงวงเดียว เส้นรอบวง คือเส้นรอบรูปของรูปวงกลม ส่วนโค้ง (arc) คือส่วนหนึ่งที่เชื่อมต่อกันของเส้นรอบวง คอร์ด (chord) คือส่วนของเส้นตรงที่มีจุดปลายทั้งสองบรรจบอยู่บนเส้นรอบวง เส้นผ่านศูนย์กลาง คือคอร์ดที่ลากผ่านจุดศูนย์กลาง มีความยาวเป็นสองเท่าของรัศมี และเป็นคอร์ดที่ยาวที่สุดในรูปวงกลม รูปวงกลมเป็นเส้นโค้ง (curve) แบบปิดที่แบ่งระนาบออกเป็นพื้นที่ภายในกับพื้นที่ภายนอก พื้นที่ภายในรูปวงกลมเรียกว่า จาน (disk) รูปวงกลมเป็นกรณีพิเศษของรูปวงรีที่มีโฟกัส (focus) อยู่ที่จุดเดียวกันนั่นคือจุดศูนย์กลาง นอกจากนี้รูปวงกลมยังเป็นภาคตัดกรวยที่เกิดจากการตัดด้วยระนาบที่ตั้งฉากกับแกนของทรงกรวย เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและรูปวงกลม · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาบู่

วงศ์ปลาบู่ (Goby) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากที่สุดในโลก พบอาศัยอยู่ทั้งในทะเลลึกกว่า 60 เมตร จนถึงลำธารบนภูเขาสูงกว่า 1,000 เมตร พบทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่นมากกว่า 1,950 ชนิด และพบในประเทศไทยมากกว่า 30 ชนิด ใช้ชื่อวงศ์ว่า Gobiidae (/โก-บิ-ดี้/) มีลักษณะแตกต่างจากปลาอื่น คือ มีลำตัวยาวทรงกระบอก มีส่วนหัวและจะงอยปากมน มีเส้นข้างลำตัวและแถวของเส้นประสาทอยู่บนหัวหลายแถว ครีบหลังแยกเป็น 2 ตอนชัดเจน ครีบหางกลมมน ครีบก้นยาว ครีบอกใหญ่ ครีบท้องส่วนมากจะแยกออกจากกัน แต่ก็มีในบางชนิดที่เชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย เกล็ดมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เป็นปลากินเนื้อ กินแมลง, สัตว์น้ำขนาดเล็ก และปลาอื่นเป็นอาหาร วางไข่โดยตัวผู้และตัวเมียช่วยกันดูแล ไข่มีรูปร่างคล้ายผลองุ่นติดกับวัสุดเป็นแพ เมื่อฟักเป็นตัวจะปล่อยให้หากินเอง ส่วนมากมีขนาดเล็กยาวไม่เกิน 20 เซนติเมตร มักอาศัยอยู่ในทะเลและน้ำกร่อย พบในน้ำจืดเพียงไม่กี่ชนิด เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ นิยมบริโภคด้วยการปรุงสด โดยเฉพาะเมนูอาหารจีน เป็นปลาที่มีรสชาติอร่อย ราคาแพง รวมทั้งมีสรรพคุณในการปรุงยา ในปลาชนิดที่มีขนาดเล็กและสีสันสวยงาม นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและวงศ์ปลาบู่ · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์น้ำ

ัตว์น้ำ (aquatic animal) หมายถึง สัตว์ที่อาศัยในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำ ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและสัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สีสัน

ียวกัน แต่มี'''สีสัน'''ที่เปลี่ยนไป สีสัน หมายถึง ระดับสีภายในช่วงสเปคตรัมแสง หรือ ช่วงแสงที่มองเห็น เป็นการเพิ่มคุณลักษณะเฉพาะของที่ทำให้สีแดงแตกต่างจากสีเหลืองจากสีน้ำเงิน สีสันเหล่านี้ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับความยาวคลื่นเป็นใหญ่ (dominant wavelength) ของแสงที่เปล่งออก หรือสะท้อนจากวัตถุ ตัวอย่างเช่น ในแสงที่มองเห็น ปกติจะอยู่ระหว่างแสงอินฟราเรด (ความยาวคลื่นประมาณ 700 นาโนเมตร) และแสงอัลตราไวโอเลต (ความยาวคลื่นประมาณ 400 นาโนเมตร) คำว่า "สีสัน" อาจหมายถึง สีพิเศษชนิดใดชนิดหนึ่งในสเปคตรัมนั้นก็ได้ ซึ่งกำหนดได้จากความยาวคลื่นหลัก หรือแนวโน้มกลางของความยาวคลื่นรวม ตัวอย่างเช่น คลื่นแสงที่มีแนวโน้มกลางภายใน 565-590 นาโนเมตร จะเป็นสีเหลือง ในทฤษฎีการระบายสี คำว่า "สีสัน" หมายถึง สีบริสุทธิ์ คือสีที่ไม่มีการเติมสีขาว หรือสีดำ เข้ามา สำหรับในปริภูมิสีแบบ RGB นั้น คำว่า "สีสัน" อาจถือได้ว่าเป็นมุมพไซ (φ) ในตำแหน่งมาตรฐาน การคำนวณ φ นั้น ให้ R, G และ B เป็นโคออร์ดิเนตสีในพื้นที่สี RGB ซึ่งกำหนดสเกลจาก 0 ถึง 1 จากนั้น เมื่อได้ค่าความสว่าง (brightness) μ และค่าความอิ่มตัว (saturation) σ แล้ว ก็จะได้สีสัน จากสูตร (เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน) การใช้สูตรนี้ φ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและสีสัน · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หิน

หินทราย หิน เป็นของแข็งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสารผสมที่เกิดจากการเกาะตัวกันแน่นของแร่ตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป หรือ เป็นสารผสมของแร่กับแก้วภูเขาไฟ หรือ แร่กับซากดึกดำบรรพ์ หรือของแข็งอื่น ๆ หินมีหลายลักษณะ รูปร่างที่แตกต่างกันออกไป มีสีสันที่ต่างกันออกไป ตามถิ่นที่อยู่ เราสามารถจำแนกหินที่อยู่บนเปลือกโลกทางธรณีวิทยาออกได้เป็น 3 พวกใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและหิน · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาไหล

อันดับปลาไหล หรือที่นิยมเรียกสั้น ๆ ในชื่อสามัญว่า ปลาไหล เป็นปลากระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง จัดอยู่ในอันดับใหญ่ที่ใช้ชื่อว่า Anguilliformes มีรูปร่างโดยรวมยาวเหมือนงู พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม สามารถแบ่งออกได้เป็นอีกหลายอันดับย่อย ในหลายวงศ์ เช่น ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae), วงศ์ปลาไหลมอเรย์ (Muraenidae), วงศ์ปลาไหลทะเล (Ophichthidae), วงศ์ปลาไหลยอดจาก (Muraenesocidae), วงศ์ปลาไหลสวน (Congridae) เป็นต้น เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ผิวหนังโดยมากเกล็ดจะมีขนาดเล็กแทบมองไม่เห็นและฝังอยู่ใต้ผิวหนัง มีลักษณะลื่น ครีบทั้งหมดมีขนาดเล็กและสั้น มักจะซุกซ่อนตัวอยู่ในวัสดุใต้น้ำประเภทต่าง ๆ เช่น ปะการัง, ก้อนหิน, โพรงไม้ หรือ ซากเรือจม ปลาที่อยู่ในอันดับปลาไหลนี้ พบแล้วประมาณ 4 อันดับย่อย, 19 วงศ์, 110 สกุล และประมาณ 800 ชนิด อนึ่ง ปลาบางประเภทที่มีรูปร่างยาวคล้ายปลาไหล แต่มิได้จัดให้อยู่ในอันดับปลาไหลได้แก่ ปลาไหลนา (Monopterus albus) ที่จัดอยู่ในอันดับปลาไหลนา (Synbranchiformes), ปลาปอด ถูกจัดอยู่ในอันดับ Lepidosireniformes และ Ceratodontiformes, ปลาไหลไฟฟ้า (Electrophorus electricus) อยู่ในอันดับ Gymnotiformes, ปลาไหลผีอะบาอะบา (Gymnarchus niloticus) อยู่ในอันดับ Osteoglossiformes, ปลางู (Pangio spp.) อยู่ในอันดับ Cypriniformes หรือแม้กระทั่ง ปลาแลมป์เพรย์ และแฮคฟิช ถูกจัดอยู่ในชั้น Agnatha ซึ่งอยู่คนละชั้นเลยก็ตาม เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและอันดับปลาไหล · ดูเพิ่มเติม »

ตะไคร่น้ำ

ตะไคร่น้ำ คือ สาหร่ายเซลล์เดียวซึ่งเกาะยึดในพื้นที่ที่มีน้ำไหล เพราะน้ำที่ไหลมีทั้งออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ และสารอาหารไหลเวียนดี แสงดี สาหร่ายพวกนี้จะมายึดเกาะ กลายเป็นผืนเขียว ๆ ตะไคร่น้ำยังประกอบไปด้วยสาหร่ายชนิดต่าง ๆ รวมทั้งพวกไซยาโนแบคทีเรียมาเกาะกลุ่มอยู่รวมตัวกัน บางกลุ่มเกาะยึดในบริเวณที่เปียกชื้น บางกลุ่มอยู่ในน้ำ แต่ละกลุ่มจะมีสีที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าตะไคร่น้ำมีสาหร่ายกลุ่มใดเป็นองค์ประกอบ มักจะสับสนกับเทา ที่ป็นสาหร่ายน้ำจื.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและตะไคร่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ตู้ปลา

ตู้ปลาที่เลี้ยงปลาน้ำจืดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ปลาตะพาก, ปลาตะพัด ในสวนสัตว์บริสตอล ประเทศอังกฤษ ตู้ปลาแบบทั่วไปภายในบ้านเรือน ขนาด 80x30 เซนติเมตร ตู้ปลา (Aquarium) คือ ภาชนะหลักสำหรับการเลี้ยงปลาสวยงาม มีรูปทรงต่าง ๆ กัน โดยมากมักจะทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าโดยผลิตจากวัสดุประเภทกระจกหรืออะครีลิค มีขนาดแตกต่างกันออกไป ตั้งแต่ประมาณ 1 ฟุต จนถึงหลายเมตรในพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ซึ่งตู้ปลาที่มีขนาดใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิภายในน้อยกว่าหรือช้ากว่าตู้ปลาที่มีขนาดเล็ก โดยมากแล้วตู้ปลาที่ผลิตจากกระจกจะเชื่อมต่อกันด้วยกาวซิลิโคนแบบกันน้ำ ซึ่งมีความเหนียวทนทานต่อการละลายของน้ำ ขณะที่ประเภทที่ผลิตจากอะครีลิคจะมีความทนทานกว่า เนื่องจากไม่แตกหักได้ง่าย แต่ก็จะมีราคาขายที่สูงกว่า ซึ่งตู้ปลาแบบที่เป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าด้วยแล้ว จะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและตู้ปลา · ดูเพิ่มเติม »

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและปลา · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตั๊กแตนหินสองสี

ปลาตั๊กแตนหินสองสี หรือ ปลาตุ๊ดตู่สองสี (Bicolor blenny) ปลาทะเลขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตั๊กแตนหิน (Blenniidae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาบู่ แต่ตัวป้อมสั้นกว่าและแบนข้าง ริมฝีปากหนา เหนือตามีติ่งสั้น ๆ เป็นเส้น ครีบหลังเว้าเป็นสองตอน ครีบอกใหญ่ ครีบท้องเป็นเส้นเล็ก ลำตัวแบ่งเป็นสีสองสีชัดเจน คือ ลำตัวช่วงแรกเป็นสีเทา ขณะที่ด้านหลังเป็นสีส้ม มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 10-12 เซนติเมตร อาศัยอยู่ในโพรงหินหรือซอกหินในแนวปะการัง ในความลึกระดับ 1-21 เมตร กินอาหารจำพวก แพลงก์ตอนสัตว์และสัตว์น้ำหน้าดินขนาดเล็ก พบกระจายพันธุ์ในทะเลแถบฟิจิ, อินโดนีเซีย และศรีลังกา ในน่านน้ำไทยพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จัดเป็นปลาที่พบได้บ่อย นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามอีกชนิดหนึ่ง.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและปลาตั๊กแตนหินสองสี · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำเค็ม

ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและปลาน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเบลนนี่

ปลาเบลนนี่ (Blennies) เป็นอันดับย่อยของปลาทะเลกระดูกแข็งจำพวกหนึ่ง ในอันดับปลากะพง (Perciformes) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Blennioidei ปลาเบลนนี่ มีชื่อสามัญในภาษาไทยว่า "ปลาตั๊กแตนหิน" หรือ"ปลาตุ๊ดตู่" จากพฤติกรรมที่อาศัยและมุดไปมาอยู่ในรู เหมือนกับตุ๊ดตู่ มีลักษณะโดยรวม คือ มีลำตัวกลมยาวคล้ายปลาไหลหรือปลาบู่ แต่สั้นกว่ามาก มีขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 3-4 นิ้ว ดวงตากลมโต ปากกว้าง ครีบหลังยาวต่อกันไปตลอดความยาวของลำตัว อาศัยอยู่ในรูหรือซอกหิน หรือเปลือกหอยที่ว่างเปล่า โดยจะโผล่มาแต่ส่วนหัวเพื่อสังเกตการณ์ เป็นปลาออกหากินในเวลากลางวัน โดยมักหากินตามพื้นทะเลใกล้ ๆ กับรูที่อาศัย ตัวผู้มีสีสันสดใสสวยกว่าตัวเมีย และมีขนาดใหญ่กว่าด้วย โดยมากเป็นปลากินพืชเป็นอาหาร มีอาหารหลัก คือ ตะไคร่น้ำ แต่ก็มีบางจำพวกที่กินเนื้อเป็นอาหาร โดยสามารถจำแนกวงศ์ของปลาเบลนนี่ ออกได้ทั้งหมด 6 วงศ์ คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและปลาเบลนนี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปาก

ปาก หรือ ช่องปาก เป็นอวัยวะของสิ่งมีชีวิต โดยทั่วไปใช้กินอาหารและดื่มน้ำ เป็นจุดเริ่มต้นของระบบย่อยอาหาร.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและปาก · ดูเพิ่มเติม »

น้ำกร่อย

น้ำกร่อย (Brackish water) คือน้ำทะเล (น้ำเค็ม) ผสมกับน้ำจืด สามารถพบได้ตามตามปากอ่าวแม่น้ำออกทะเล เช่น สมุทรปราการ (แม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล) บริเวณสมุทรสาคร (แม่น้ำท่าจีนออกทะเล) สมุทรสงคราม (แม่น้ำแม่กลองออกทะเล) โดยทั่วไปแล้ว น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลในสภาพปกติมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ pH ราว 7.3 ไปจนถึง 8.5 เหตุที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ เป็นเพราะในน้ำทะเลมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่ทำให้น้ำเป็นด่างอ่อน เครื่องมือวัดความเค็ม เรียก ซาลิโนมิเตอร์ (Salinometer) หรือ รีแฟรกโตซาลิโนมิเตอร์ (Refractosalinometer) วัดโดยใช้หลักการหักเหของแสง ยิ่งเค็มมาก ยิ่งหักเหมาก แล้วแปลงไปเป็นสเกลของ ppt (part per thousand.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและน้ำกร่อย · ดูเพิ่มเติม »

น้ำจืด

น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

เพศชาย

ัญลักษณ์เพศชาย เพศชาย (♂) หรือเพศผู้ คือเพศหนึ่งของสิ่งมีชีวิต ที่ผลิตเซลล์สืบพันธุ์ขนาดเล็กที่เรียกว่า อสุจิ โดยตัวอสุจิสามารถรวมกับเซลล์สืบพันธุ์ของเพศหญิงที่เรียกว่า เซลล์ไข่ เกิดขั้นตอนที่เรียกว่า การผสมพันธุ์ เพศชายไม่สามารถสืบพันธุ์ได้โดยปราศจากการเข้าถึงเซลล์ไข่ของเพศหญิงอย่างน้อย 1 เซลล์ แต่สิ่งมีชีวิตบางอย่างสามารถสืบพันธุ์ได้โดยอาศัยการสืบพันธุ์หรือไม่อาศัยการสืบพันธุ์ แต่ละสปีชีส์ไม่ได้มีระบบทางเพศที่เหมือนกัน ในมนุษย์และในสัตว์ส่วนใหญ่ การสืบพันธุ์ถือเป็นกลไกทางพันธุกรรมแต่ในบางสปีชีส์แล้วสามารถเกิดในจากทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อมและปัจจัยอื่น.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและเพศชาย · ดูเพิ่มเติม »

เกล็ดปลา

กล็ดแบบกลมที่ปกคลุมปลายี่สกเทศ ผิวหนังของปลาส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยเกล็ด เกล็ดปลาแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกันทั้งด้านขนาด รูปทรง โครงสร้างและขอบเขต โดยมีตั้งแต่แผ่นเกราะแข็งแรงทื่อในปลาอย่างปลามีดโกนและปลาปักเป้ากล่อง ไปจนถึงมีขนาดเล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าหรือไม่มีเลยในปลาอย่างปลาไหลและปลาตกเบ็ด สามารถใช้กายสัณฐานของเกล็ดในการระบุชนิดของปลาได้ ปลากระดูกอ่อน (เช่น ปลาฉลามและปลากระเบน) มีเกล็ดแบนราบ (placoid) ปกคลุม ส่วนปลากระดูกแข็งส่วนใหญ่มีเกล็ดทรงกลม (cycloid) อย่างปลาแซลมอนและปลาคาร์พ หรือเกล็ดแบบซี่ (ctenoid) อย่างปลาเพิร์ช หรือเกล็ดกระดูกแข็ง (ganoid) อย่างปลาสเตอร์เจียนและปลาการ์ บางชนิดมีสคิวต์ (scute) ปกคลุม และบางชนิดไม่มีสิ่งปกคลุมผิวหนัง เกล็ดปลาเป็นส่วนหนึ่งของระบบส่วนห่อหุ้มของปลา และผลิตจากชั้นเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของหนังแท้ ซึ่งทำให้เกล็ดปลาแตกต่างจากเกล็ดสัตว์เลื้อยคลาน การเจริญของเกล็ดอาศัยยีนเดียวกับที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของฟันและขนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เกล็ดแบนราบของปลากระดูกอ่อนยังเรียก เด็นทิเคิลหนังแท้ (dermal denticle) และสมนัยเชิงโครงสร้างกับฟันของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีการเสนอว่า เกล็ดของปลากระดูกแข็งมีโครงสร้างเหมือนกับฟัน แต่อาจกำเนิดจากเนื้อเยื่อคนละชนิดกัน ปลาส่วนใหญ่มีชั้นเมือกป้องกันปกคลุมอยู.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและเกล็ดปลา · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกหอย

ปลือกหอยนานาชนิด เปลือกหอย หรือ ฝาหอย หรือ กาบหอย คือ สสารที่เป็นของแข็งที่ห่อหุ้มลำตัวภายนอกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมมอลลัสคา หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า หอย มีลักษณะแตกต่างกันออกไป ซึ่งหอยจะใช้เป็นเครื่องอำพรางอันตรายจากสัตว์อื่น เป็นสัญลักษณ์สื่อสารระหว่างกัน และช่วยควบคุมอุณหภูมิภายในเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของกระแสน้ำ เปลือกหอยเป็นสิ่งที่ติดตัวกับหอยมานับตั้งแต่ยังเป็นตัวอ่อนและฟักออกมาจากไข่ โดยไม่ต้องลอกคราบเหมือนสัตว์ในไฟลัมอาร์โธพอดหรือ ครัสเตเชียน โดยขนาดจะใหญ่ขึ้นมาตามขนาดของตัวหอย เปลือกหอยประกอบด้วยสารจำพวกแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นส่วนใหญ่ ส่วนที่เหลือเป็นสารอื่น ๆ เช่น แคลเซียมฟอสเฟต, แมกนีเซียมคาร์บอเนต, แมกนีเซียมฟอสเฟต, แมกนีเซียมซิลิเกต, โปรตีนประเภทคอนไคโอลิน เปลือกหอยแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตั๊กแตนหินและเปลือกหอย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Blenniidaeวงศ์ปลาตุ๊ดตู่

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »