โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ปลาตาเหลือก

ดัชนี วงศ์ปลาตาเหลือก

วงศ์ปลาตาเหลือก (Tarpon, Oxeye) วงศ์ปลากระดูกแข็งในอันดับ Elopiformes ในชื่อวงศ์ว่า Megalopidae เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ ที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ มีรูปร่างโดยรวมป้อม ปากกว้าง ที่ใต้คางระหว่างกระดูกกรามล่างมีแผ่นกระดูกแข็ง 1 ชิ้น และมีก้านครีบหลังอันสุดท้ายยื่นยาวเป็นเส้น เกล็ดเป็นสีเงินแวววาวตลอดทั้งลำตัว ตามีขนาดโต และมีเยื่อไขมันคลุมตาในปลาตาเหลือก (Megalops cyprinoides) เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร แต่ไม่มีฟัน เมื่อจับเหยื่อจะใช้เพียงกรามนั้นงับ ปลาในวงศ์นี้มีอยู่เพียงแค่สองชนิดเท่านั้น จัดอยู่แค่ในสกุลเดียว คือ Megalops ได้แก่ ปลาตาเหลือก (M. cyprinoides) หรือ ปลาแปซิฟิกทาร์ปอน กระจายพันธุ์อยู่แถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก ขนาดเมื่อโตเต็มที่ได้ 1.5 เมตร และ ปลาแอตแลนติกทาร์ปอน (M. atlanticus) กระจายพันธุ์อยู่ที่มหาสมุทรแอตแลนติกตั้งแต่แอฟริกาตะวันตก, อเมริกาเหนือจนถึงอเมริกาใต้ ซึ่งทั้งหมดนิยมตกเป็นเกมกีฬา และมีการเลี้ยงเป็นปลาตู้เนื่องจากความใหญ่ในรูปร่างและความสวยงามด้านสีเงินที่แวววาวของเกล็ด อีกทั้งยังมีพฤติกรรมการกินอาหารที่ว่องไว.

18 ความสัมพันธ์: ชั้นปลากระดูกแข็งฟันพ.ศ. 2390มหาสมุทรแอตแลนติกมหาสมุทรแปซิฟิกวงศ์ปลาตาเหลือกยาวสมัยไมโอซีนสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับปลาตาเหลือกทวีปอเมริกาใต้ทวีปอเมริกาเหนือปลาที่มีก้านครีบปลาตาเหลือกปลาแอตแลนติกทาร์ปอนน้ำกร่อยแอฟริกาตะวันตก

ชั้นปลากระดูกแข็ง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตาเหลือกและชั้นปลากระดูกแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ฟัน

แสดงโครงสร้างของเหงือกและฟัน ฟัน เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องปากของคนและสัตว์ มีส่วนรากติดอยู่กับขากรรไกรและมีตัวฟันโผล่พ้นเหงือกออกมา ฟันเป็นอวัยวะที่เจริญมาจากเนื้อเยื้อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกล็ดปลา ฟันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อยอาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บด อาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพูดออกเสียงด้วย ลักษณะของฟันมีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะอาหารของสัตว์แต่ละประเภทเช่นเดียวกับวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น พืชนั้นยากที่จะย่อยดังนั้น สัตว์กินพืช (Herbivore) จึงต้องมีฟันกรามหลายซี่เพื่อใช้ในการเคี้ยว ส่วนสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) ต้องมีฟันเขี้ยวเพื่อฆ่าและฉีกเหยื่อและเนื้อนั้นให้ย่อยง่าย พวกมันจึงกลืนได้โดยที่ไม่ต้องใช้ฟันกรามเคี้ยวมากนัก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตาเหลือกและฟัน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2390

ทธศักราช 2390 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตาเหลือกและพ.ศ. 2390 · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแอตแลนติก

มหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) เป็นมหาสมุทรที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของพื้นผิวโลก ชื่อของมหาสมุทรมาจากนิยายปรัมปรากรีก หมายถึง "ทะเลของแอตลาส" มหาสมุทรแอตแลนติกเป็นแอ่งที่มีรูปร่างเหมือนตัวเอส (S) ติดกับทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ทางตะวันตก ส่วนทางตะวันออกติดกับ ทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ปัจจุบันมีการแบ่งมหาสมุทรแอตแลนติกเป็น 2 ส่วน คือ แอตแลนติกเหนือและแอตแลนติกใต้ โดยใช้บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนทิศของกระแสน้ำที่ละติจูด 8° เหนือเป็นแนวแบ่ง มหาสมุทรแอตแลนติกเชื่อมกับมหาสมุทรแปซิฟิกทางมหาสมุทรอาร์กติกซึ่งอยู่ทางเหนือ ส่วนทางใต้เชื่อมทางช่องแคบเดรก จุดเชื่อมต่ออีกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์ คือ คลองปานามา เส้นแบ่งระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับมหาสมุทรอินเดีย คือ เส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรอาร์กติกด้วยเส้นที่ลากจากกรีนแลนด์ ผ่านตอนใต้สุดของสฟาลบาร์ (Svalbard) ไปยังตอนเหนือของนอร์เวย์ มหาสมุทรแอตแลนติกมีพื้นน้ำประมาณ 106,460,000 ตารางกิโลเมตร ปริมาตรของมหาสมุทรเมื่อรวมทะเลที่อยู่ติดกันมีค่า 310,410,900 ลูกบาศก์กิโลเมตร มีความลึกเฉลี่ย 3,646 เมตร จุดที่ลึกที่สุดคือปวยร์โตรีโกเทรนช์มีความลึก 8,486 เมตร (27,840 ฟุต).

ใหม่!!: วงศ์ปลาตาเหลือกและมหาสมุทรแอตแลนติก · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตาเหลือกและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาตาเหลือกยาว

วงศ์ปลาตาเหลือกยาว (Ladyfish, Tenpounder, Bigeyed herring, Tarpon, วงศ์: Elopidae) เป็นวงศ์ของปลากระดูกแข็ง ในอันดับปลาตาเหลือก (Elopiformes) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Elopidae เป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายกับปลาในวงศ์ปลาตาเหลือก (Megalopidae) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในอันดับเดียวกัน กล่าวคือ มีรูปร่างเพรียวยาว ปลายหางแฉกเป็นสองแฉกเว้าลึก แบนข้าง เกล็ดมีสีเงินแวววาว ตามีความกลมโต ปากกว้าง ที่ใต้คางระหว่างกระดูกขากรรไกรล่างมีแผ่นกระดูกแข็ง 1 ชิ้น เหมือนกัน แต่มีลำยาวยาวกว่า และที่ก้านครีบหลังก้านสุดท้ายไม่มีเส้นครีบยื่นยาวออกมา เป็นปลาขนาดใหญ่ มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 1 เมตร น้ำหนักเต็มที่ประมาณ 10 กิโลกรัม มีความปราดเปรียวว่องไว หากินโดยกินปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เป็นอาหาร พบกระจายพันธุ์ในทะเลแถบเขตร้อนและเขตอบอุ่น และสามารถปรับตัวให้อาศัยอยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ มีทั้งหมด 1 สกุล 7 ชน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตาเหลือกและวงศ์ปลาตาเหลือกยาว · ดูเพิ่มเติม »

สมัยไมโอซีน

รรดาสัตว์สมัยไมโอซีนในอเมริกาเหนือ สมัยไมโอซีน (Miocene) เป็นสมัยแรกของยุคนีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 23.03 ถึง 5.333 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน เป็นสมัยที่ต่อมาจากสมัยโอลิโกซีนและตามด้วยสมัยไพลโอซีน ชาร์ลส์ ไลแอลได้นำจากคำภาษากรีก คำว่าμείων (meiōn, “น้อย”) และคำว่า καινός (kainos, “ใหม่”)มาตั้งชื่อให้กับสมัยนี้ สาเหตุที่ใช้คำว่า"น้อย"เพราะว่ามีสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังสมัยใหม่น้อยกว่าสมัยไพลโอซีน 18% ขณะที่เวลาได้ผ่านตั้งแต่สมัยโอลิโกซีนมาถึงไมโอซีนและผ่านไปยังสมัยไพลโอซีนอากาศค่อย ๆ เย็นลงซึ่งเป็นผลมาจากยุคน้ำแข็ง การแบ่งยุคสามยุคนี้ออกจากกันนั้นไม่ได้ใช้เหตุการณ์ระดับโลกในการแบ่งแต่ใช้ระดับอุณหภูมิในการแบ่งโดยสมัยโอลิโกซีนอุ่นกว่าไมโอซีนและไมโอซีนอุ่นกว่าสมัยไพลโอซีน เอปได้เกิดและมีความหลากหลายขึ้นในยุดนี้จากนั้นก็เริ่มแพร่พันธุ์ไปทั่วพื้นที่โลกเก่า ในช่วงท้ายของสมัยนี้บรรพบุรุษของมนุษย์ได้เริ่มแยกตัวออกจากบรรพบุรุษของลิงชิมแปนซี (ช่วงประมาณ 7.5 ถึง 5.6 ล้านปีก่อน) สมัยนี้มีลักษณะเหมือนสมัยโอลิโกซีนคือทุ่งหญ้าขนายตัวขึ้นและป่าไม้ลดน้อยลง ทะเลในสมัยนี้ป่าสาหร่ายเริ่มปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกและกลายเป็นระบบนิเวศที่สำคัญมากที่สุดแบบหนึ่งของโลก พืชและสัตว์ยุคนี้มีวิวัฒนาการแบบใหม่มากขึ้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนกสามารถพบได้มาก สาหร่ายทะเล วาฬและสัตว์ตีนครีบเริ่มแพร่พันธุ์ไปทั่ว ยุคนี้มีเป็นยุคที่มีความน่าสนใจเกี่ยวกับธรณีวิทยาและภูมิอากาศบรรพกาลวิทยาเป็นอย่างมากเนื่องจากยุคนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญของการเกิดเทือกเขาหิมาลัยซึ่งส่งผลกระทบต่อรูปแบบของมรสุมในเอเชียซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขยายตัวของธารน้ำแข็งในซีกโลกเหนือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตาเหลือกและสมัยไมโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตาเหลือกและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตาเหลือกและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: วงศ์ปลาตาเหลือกและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลาตาเหลือก

อันดับปลาตาเหลือก (Tarpon, Ladyfish; อันดับ: Elopiformes) เป็นอันดับของปลากระดูกแข็งขนาดใหญ่อันดับหนึ่ง ใช้ชื่ออันดับว่า Elopiformes มีรูปร่างโดยรวม คือ มีปากกว้าง ที่ใต้คางระหว่างกระดูกกรามล่างมีแผ่นกระดูกแข็ง 1 ชิ้น เกล็ดมีสีเงินแวววาวตลอดทั้งลำตัว ตามีขนาดโต และมีเยื่อไขมันคลุมตาในบางชนิด เป็นปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร ในเมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อน จะมีรูปร่างคล้ายกับปลาไหล ปัจจุบัน เหลือเพียง 2 วงศ์ 2 สกุล 9 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตาเหลือกและอันดับปลาตาเหลือก · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตาเหลือกและทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาเหนือ

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาเหนือ (North America; Amérique du Nord; América del Norte; Nordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 23 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตาเหลือกและทวีปอเมริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตาเหลือกและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาตาเหลือก

ปลาตาเหลือก หรือ ปลาตาเหลือกสั้น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Megalops cyprinoides; Indo-Pacific tarpon, Pacific tarpon, Oxeye) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อยู่ในวงศ์ปลาตาเหลือก (Megalopidae) มีรูปร่างป้อม ปากกว้าง ที่ใต้คางระหว่างกระดูกกรามล่างมีแผ่นกระดูกแข็ง 1 ชิ้น และมีก้านครีบหลังอันสุดท้ายยื่นยาวเป็นเส้น เกล็ดเป็นสีเงินแวววาวตลอดทั้งลำตัว ตามีขนาดโต จึงเป็นที่มาของชื่อ ขนาดโตเต็มที่ได้ถึง 1.5 เมตร น้ำหนักเต็มที่ประมาณ 15 กิโลกรัม อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิก แถบทะเลแดง ชายฝั่งทวีปแอฟริกาและเอเชีย และยังสามารถปรับตัวให้อยู่น้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ด้วย โดยบางครั้งพบว่ายเข้ามาในลำคลองที่ติดกับทะเลหรือนากุ้ง นาเกลือของชาวบ้าน ปลาจะผสมพันธุ์ วางไข่ และลูกปลาวัยอ่อนจะเติบโตที่บริเวณปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน เป็นปลากินเนื้อ อาหารได้แก่ ลูกปลา ลูกกุ้งขนาดเล็ก นิยมตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย มีชื่อเรียกแตกต่างไปอีกเช่น "ข้าวเหนียวบูด" ภาษาใต้เรียก "เดือน" และภาษายาวีเรียก "บุหลัน" ซึ่งหมายถึง "ดวงจันทร์" เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตาเหลือกและปลาตาเหลือก · ดูเพิ่มเติม »

ปลาแอตแลนติกทาร์ปอน

ปลาแอตแลนติกทาร์ปอน (Atlantic tarpon) ปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Megalops atlanticus ในวงศ์ปลาตาเหลือก (Megalopidae) จัดเป็น 1 ใน 2 ชนิดของปลาในวงศ์นี้ มีรูปร่างเหมือนปลาตาเหลือกซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกัน ต่างกันเพียงปลาแอตแลนติกทาร์ปอนมีดวงตาขนาดเล็กกว่าเมื่อเทียบเป็นสัดส่วนกับขนาดของหัว ส่วนหัวมีขนาดเล็กกว่าเมื่อเทียบกับสัดส่วนของลำตัว ส่วนหัวตรงบริเวณหน้าผากเหนือตา มีลักษณเป็นหยัก ทำให้ปากดูเชิดขึ้นด้านบนมากกว่าและจะชัดเจนมากเมื่อปลาโตขึ้น ลำตัวค่อนข้างเพรียวยาวกว่าชัดเจน ไม่ป้อมสั้นและไม่มีเยื่อไขมันคลุมตาเหมือนปลาตาเหลือก อีกทั้งรูปร่างเมื่อโตขึ้นมาเต็มที่อาจยาวได้ถึง 2.5 เมตร หนักถึง 161 กิโลกรัม ซึ่งใหญ่กว่าปลาตาเหลือกมาก จนได้รับฉายาในภาษาอังกฤษว่า "ราชาสีเงิน" (Silver king) มีการแพร่กระจายพันธุ์ในแถบมหาสมุทรแอตแลนติกแถบชายฝั่งทะเลตั้งแต่แอฟริกาตะวันตก, ทวีปอเมริกาเหนือจนถึงแคนาดาและจนถึงทวีปอเมริกาใต้ เป็นปลากินเนื้อ กินสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร นิยมตกเป็นเกมกีฬา สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำกร่อยหรือน้ำจืดได้ และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ซึ่งเป็นปลาที่มีราคาขายแพงมาก.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตาเหลือกและปลาแอตแลนติกทาร์ปอน · ดูเพิ่มเติม »

น้ำกร่อย

น้ำกร่อย (Brackish water) คือน้ำทะเล (น้ำเค็ม) ผสมกับน้ำจืด สามารถพบได้ตามตามปากอ่าวแม่น้ำออกทะเล เช่น สมุทรปราการ (แม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล) บริเวณสมุทรสาคร (แม่น้ำท่าจีนออกทะเล) สมุทรสงคราม (แม่น้ำแม่กลองออกทะเล) โดยทั่วไปแล้ว น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลในสภาพปกติมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ pH ราว 7.3 ไปจนถึง 8.5 เหตุที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ เป็นเพราะในน้ำทะเลมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่ทำให้น้ำเป็นด่างอ่อน เครื่องมือวัดความเค็ม เรียก ซาลิโนมิเตอร์ (Salinometer) หรือ รีแฟรกโตซาลิโนมิเตอร์ (Refractosalinometer) วัดโดยใช้หลักการหักเหของแสง ยิ่งเค็มมาก ยิ่งหักเหมาก แล้วแปลงไปเป็นสเกลของ ppt (part per thousand.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตาเหลือกและน้ำกร่อย · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาตะวันตก

นแดนแอฟริกาตะวันตก แอฟริกาตะวันตก เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตะวันตกของทวีปแอฟริกา ซึ่งประกอบไปด้วย 15 ประเทศคือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลาตาเหลือกและแอฟริกาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

MegalopidaeMegalopsTarponทาร์ปอนปลาทาร์ปอน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »