โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ปลากะรัง

ดัชนี วงศ์ปลากะรัง

วงศ์ปลากะรัง หรือ วงศ์ปลาเก๋า (Groupers, Sea basses) วงศ์ปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ในอันดับปลากะพง จัดเป็นวงศ์ใหญ่ สามารถแบ่งออกเป็นวงศ์ย่อยได้อีกหลายวงศ์ (ดูในเนื้อหา) พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Serranidae เป็นปลากินเนื้อเป็นอาหาร มีรูปร่างโดยรวม ลำตัวยาวป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัว และครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำทึบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด ครีบหลังแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกเป็นก้านครีบแข็ง ตอนหลังเป็นครีบอ่อนมีลักษณะโปร่งใส มีเกล็ดขนาดเล็กเป็นแบบเรียบและแบบสาก ปากกว้าง มีฟันเล็กบนขากรรไกร เพดานปาก มีฟันเขี้ยวด้านหน้า ครีบท้องมีตำแหน่งอยู่ใต้หรืออยู่หน้าหรืออยู่หลังครีบอก มีขนาดแตกต่างกันมากตั้งแต่มีความยาวเพียงไม่กี่เซนติเมตร จนถึง 2.5 หรือ 3 เมตร หนักถึง 400 กิโลกรัม คือ ปลาหมอทะเล (Epinephelus lanceolatus) ซึ่งเป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบในวงศ์นี้ ในบางชนิดสามารถปรับเปลี่ยนเพศได้ตามวัย เช่น ปลากะรังจุดน้ำตาล (E. malabaricus) ในวัยเล็กจะเป็นเพศเมีย แต่เมื่อโตขึ้นน้ำหนักราว 7 กิโลกรัม จะกลายเป็นเพศผู้ สำหรับปลาที่พบในทะเล มักมีพฤติกรรมชอบตามลำพังหรือเป็นคู่เพียงไม่กี่ตัวตามโขดหิน แนวปะการังหรือกองหิน กองซากปรักหักพังใต้น้ำ ออกหากินในเวลากลางคืน สามารถพบได้จนถึงบริเวณปากแม่น้ำ หรือป่าชายเลน มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยหลายชนิดนิยมบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ เช่น ปลากะรังปากแม่น้ำ (E. tauvina) หรือ ปลาเก๋าเสือ (E. fuscoguttatus) เป็นต้น จึงมีการเพาะเลี้ยงเป็นปลาอาชีพ โดยนิยมเลี้ยงในกระชัง มีชื่อสามัญในภาษาไทยอื่น ๆ เช่น "ปลาเก๋า" หรือ "ปลาตุ๊กแก".

31 ความสัมพันธ์: ชั้นปลากระดูกแข็งชื่อสามัญการสูญพันธุ์การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์การตั้งชื่อทวินามกิโลกรัมภาษาไทยวงศ์ย่อยปลากะรังวงศ์ย่อยปลากะรังจิ๋วสกุลปลาทองทะเลสัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับย่อยปลากะพงอันดับปลากะพงทะเลปลากะรังลายจุดปลากะรังหน้างอนปลากะรังปากแม่น้ำปลากุดสลาดปลาหมอทะเลปลาหมอทะเล (สกุล)ปลาที่มีก้านครีบปลาเก๋าเสือปะการังป่าชายเลนน้ำกร่อยน้ำจืดแม่น้ำเกล็ดปลาเมตร

ชั้นปลากระดูกแข็ง

ปลากระดูกแข็ง (ชั้น: Osteichthyes, Bony fish) จัดอยู่ในอาณาจักรสัตว์ซึ่งอยู่ในไฟลัมคอร์ดาตา เป็นปลาที่จัดอยู่ในชั้น Osteichthyes พบทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม โครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งทั้งหมด ก้านครีบอาจเป็นกระดูกอ่อนหรือกระดูกแข็งก็ได้ มีกระดูกสันหลัง ปากอยู่ปลายสุดด้านหน้า มีฟัน ตาขนาดใหญ่ ไม่มีหนังตา ขากรรไกรเจริญดี หายใจด้วยเหงือก มีฝาปิดเหงือก หัวใจมี 2 ห้อง เม็ดเลือดแดงมีนิวเคลียส เส้นประสาทสมองมี 10 คู่ มีถุงรับกลิ่น 1 คู่ แยกเพศ ปฏิสนธิภายนอก ออกลูกเป็นไข่ มีบางชนิดที่ออกลูกเป็นตัว.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและชั้นปลากระดูกแข็ง · ดูเพิ่มเติม »

ชื่อสามัญ

ื่อสามัญ (Common name) หมายถึง ชื่อที่เรียกกันทั่วไปในการอนุกรมวิธานสิ่งมีชีวิต ใช้ชื่ออาจให้ชื่อตามลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ เช่น ต้นแปรงขวด, ว่านหางจระเข้ หรืออาจเรียกชื่อตามถิ่นกำเนิด เช่น ผักตบชวา, มันฝรั่ง หรืออาจเรียกตามชื่อที่อยู่ เช่น ดาวทะเล, ทากบก นอกจากนี้ในแต่ละถิ่นยังเรียกชื่อต่างกันเช่น แมลงปอ ภาคใต้เรียกว่า "แมงพี้" ภาคเหนือเรียก "แมงกะบี้" เป็นต้น ซึ่งชื่อสามัญอาจจะซ้ำซ้อนกันได้ จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อระบุให้ถูกต้อง.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและชื่อสามัญ · ดูเพิ่มเติม »

การสูญพันธุ์

ียน นกโดโด้ ตัวอย่างของการสูญพันธุ์ยุคใกล้ การสูญพันธุ์ (Extinction) ในทางชีววิทยาและนิเวศวิทยา คือการสิ้นสุดของการดำรงอยู่ของสปีชีส์หรือของสิ่งมีชีวิต ซึ่งทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง โดยทั่วไปแล้ว ถือว่าชั่วขณะของการสูญพันธุ์คือชั่วขณะความตายของสิ่งมีชีวิตตัวสุดท้ายในสปีชีส์นั้น แม้ว่าความสามารถในการผสมพันธุ์และฟื้นตัวอาจจะสูญเสียไปแล้วก่อนหน้านั้นก็ตาม.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและการสูญพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งชื่อทวินาม

ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม (Binomial nomenclature) เป็นระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแต่ละสปีชีส์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ชื่อแต่ละชื่อในระบบนี้เรียกว่า ชื่อทวินาม (Binomial name) หรือ ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) คือชื่อที่ใช้เรียกแทนสิ่งมีชีวิตในสปีชีส์ต่าง ๆ อย่างเป็นทางการ ชื่อทวินามจะเป็นภาษาละติน ประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำ คือ สกุล และ สปีชีส์ ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตที่ต้องการระบุ โดยรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันออกไปบ้าง.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและการตั้งชื่อทวินาม · ดูเพิ่มเติม »

กิโลกรัม

กิโลกรัม อักษรย่อ กก. (kilogram: kg) เป็นหน่วยฐานเอสไอของมวล นิยามไว้เท่ากับมวลของมวลต้นแบบระหว่างชาติของกิโลกรัม โดยสร้างจากโลหะเจือแพลตินัม-อิริเดียม.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและกิโลกรัม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลากะรัง

วงศ์ย่อยปลากะรัง หรือ วงศ์ย่อยปลาเก๋า (Groupers) เป็นวงศ์ย่อยของปลากระดูกแข็งทะเลในวงศ์ Serranidae หรือ ปลากะรัง หรือปลาเก๋า ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epinephelinae ลักษณะโดยทั่วไปมีลำตัวสั้นและแบนทางด้านข้าง เกล็ดขนาดเล็ก ปากกว้างและมักมีฟันเขี้ยวตรงปลายปาก ขนาดโดยทั่วไป 30-60 เซนติเมตร ยกเว้นบางชนิดที่มีขนาดใหญ่ได้ถึง 3 เมตร พื้นลำตัวอาจมีจุด บั้ง ลายเส้นตามยาวบ้าง ตามขวางบ้างแตกต่างกันไป สีส่วนใหญ่มีสีน้ำตาล และบางชนิดมีสีสันสะดุดตาเป็นสีแดง ครีบหลังเริ่มต้นด้วยครีบแข็ง ตามด้วยครีบอ่อนเป็นรูปมนมาจรดโคนหาง และรับกับครีบทวารด้านล่าง ส่วนครีบหางมักเป็นรูปพัดโค้งหรือรูปตัด การดำรงชีวิตส่วนใหญ่ของปลากะรัง อาศัยอยู่ใกล้พื้นทะเลที่อาจเป็นดินโคน ดินทราย และมักหลบซ่อนอยู่ตามกองวัสดุใต้น้ำและซอกปะการัง อย่างไรก็ตามในสภาพธรรมชาติสามารถเปลี่ยนสีของลำตัวให้เข้มหรือจางได้ เพื่อให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมที่อาศัยอยู่ นอกจากนี้ในแต่ละระยะของการเจริญเติบโต สีและลวดลายบนตัวปลาอาจเปลี่ยนแปลงไปตามวัย เช่น ในวัยระยะรุ่นอาจมีคาดตามขวางเด่นชัด แต่เมื่อโตเต็มวัยคาดตามขวางจะค่อย ๆ เลื่อนหายไป เป็นต้น เป็นปลาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ โดยนิยมนำมาบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ ที่มาของชื่อ "ปลากะรัง" เชื่อว่า มาจากสภาพแวดล้อมที่อาศัยตามแนวปะการังหรือกะรัง นั่นเอง ส่วนคำว่า "grouper" มาจากภาษาโปรตุเกสคำว่า garoupa จากอเมริกาใต้.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและวงศ์ย่อยปลากะรัง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลากะรังจิ๋ว

วงศ์ย่อยปลากะรังจิ๋วหรือ วงศ์ย่อยปลาทองทะเล (Basslet, Anthias) เป็นวงศ์ย่อยของปลากระดูกแข็งทะเลในวงศ์ Serranidae หรือ วงศ์ปลากะรัง หรือปลาเก๋า ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Anthiinae เป็นปลาที่มีขนาดเล็กที่สุดในวงศ์ มีสีสันสดใส มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ยไม่เกิน 15 เซนติเมตร อาศัยอยู่เป็นฝูงในแนวปะการัง โดยมีตัวผู้เป็นจ่าฝูง เป็นปลาที่ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ แต่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและวงศ์ย่อยปลากะรังจิ๋ว · ดูเพิ่มเติม »

สกุลปลาทองทะเล

ปลาทองทะเล เป็นสกุลของปลาทะเลขนาดเล็กที่อยู่ในสกุล Pseudanthias ในวงศ์ย่อย Anthiinae ของวงศ์ปลากะรัง หรือปลาเก๋า (Serranidae) เป็นปลาขนาดเล็กมีสีสันและลวดลายสดใส พบได้ในแนวปะการังของมหาสมุทรอินเดีย และแถบอินโด-แปซิฟิก จึงเป็นที่นิยมของนักประดาน้ำและการเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม หลายชนิดจัดเป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและสกุลปลาทองทะเล · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยปลากะพง

อันดับย่อยปลากะพง (Bass, Perch, Snapper, Trevally) เป็นอันดับย่อยของปลากระดูกแข็งในอันดับปลากะพง (Perciformes) จัดเป็น 1 ใน 18 อันดับย่อยของอันดับนี้ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Percoidei เป็นปลาส่วนใหญ่ในอันดับนี้ พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย, ทะเล.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะรังลายจุด

ปลากะรังลายจุด หรือ ปลากะรังน้ำกร่อย (Brown spotted grouper, Estuary grouper, Malabar grouper, Greasy cod, Spotted river cod, Estuary rock cod) ปลาทะเลและปลาน้ำกร่อยขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลากะรังทั่วไป พบกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในบริเวณชายฝั่งหรือปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อย ตั้งแต่ทะเลแดง, อินโด-แปซิฟิก จนถึงทะเลญี่ปุ่น และออสเตรเลีย กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่าเป็นอาหาร มีขนาดโตเต็มที่ได้มากกว่า 120 เซนติเมตร และมีน้ำหนักมากกว่า 150 กิโลกรัม นับเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่งในวงศ์นี้ โดยลูกปลาขนาดเล็กจะเลี้ยงตัวเองในบริเวณที่เป็นปากแม่น้ำหรือป่าชายเลน โดยปลาที่โตเต็มวัยจะผสมพันธุ์และวางไข่ในทะเล และที่สำคัญยังสามารถเปลี่ยนเพศได้อีกตามวัย โดยลูกปลาที่อยู่ในวัยไม่เกิน 3 ปี น้ำหนักตัวประมาณ 3 กิโลกรัม จะเป็นเพศเมียทั้งหมด และเมื่อเติบโตขึ้นมาจนน้ำหนักเกิน 7 กิโลกรัมขึ้นไป จะกลายเป็นเพศผู้ การผสมพันธุ์จะเกิดจากปลาเพศผู้ที่มีขนาดใหญ่กว่าปลาเพศเมีย เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง ที่มีการนิยมเพาะเลี้ยงกันอย่างกว้างขวางในกระชังหรือบ่อดินริมทะเบหรือบริเวณน้ำกร่อยในหลายพื้นที.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและปลากะรังลายจุด · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะรังหน้างอน

ปลากะรังหน้างอน หรือ ปลากะรังหงส์ หรือ ปลาเก๋าหงส์ (Humpback grouper, Barramundi cod, Panther grouper) อยู่ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีรูปร่างหัวเรียวแหลม ปากเล็ก ตาเล็ก ครีบหลังต่อเป็นแผ่นเดียว ลำตัวสีเทาอ่อน แต้มด้วยจุดสีดำกระจายทั่วทั้งตัวและครีบ จัดเป็นปลาชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Cromileptes มีความยาวเต็มที่ 70 เซนติเมตร ใช้เวลาโตเต็มที่ประมาณ 2 ปี น้ำหนักกว่า 2.5 กิโลกรัม พบกระจายอยู่ตามชายฝั่งทะเลบริเวณแนวปะการังหรือกองหินที่มีน้ำขุ่น ความลึกตั้งแต่ 2–40 เมตร พบกระจายอยู่ทั่วไปในทะเลจีน, ญี่ปุ่น, ปาปัวนิวกินี, มหาสมุทรอินเดีย, หมู่เกาะนิโคบาร์, ออสเตรเลียตอนเหนือ, ไทย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย ปลากะรังหน้างอนเป็นปลาที่มีความโดดเด่นที่สีสันที่มีความสวยงาม โดยเฉพาะเมื่อยังเล็ก พื้นลำตัวจะเป็นสีขาวตัดกับจุดกลมสีดำเห็นชัดเจน จึงนิยมเลี้ยงเป็นปลาตู้สวยงาม ประกอบกับเนื้อมีรสชาติอร่อย จึงนิยมจับเพื่อรับประทานเป็นอาหารอีกด้วย ซึ่งในอดีตที่ผ่านมาตัวที่ถูกจับได้ในธรรมชาติจะมีราคาสูงถึงตัวละ 2,400–2,800 บาท ดังนั้น สถานะในธรรมชาติของปลากะรังหน้างอนจึงอยู่ในสภาพใกล้สูญพันธุ์เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยถูกคุกคาม แต่ในปัจจุบัน กรมประมงสามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและปลากะรังหน้างอน · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะรังปากแม่น้ำ

ปลากะรังปากแม่น้ำ (Arabian grouper, Greasy grouper; ชื่อวิทยาศาสตร์: Epinephelus tauvina) ปลาทะเลชนิดหนึ่งในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) วงศ์ย่อย Epinephelinae มีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น "ปลาเก๋าลายจุด", "ปลาเก๋าจุดน้ำตาล" มีพื้นลำตัวเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีจุดดำและลายปื้นสีเขียวกระจายไปทั่วตัว จัดเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งในวงศ์นี้ โดยสามารถยาวได้ถึง 80 เซนติเมตร มีพฤติกรรมกินเหยื่อโดยการฮุบกินไปทั้งตัว พบกระจายอยู่ตั้งแต่ทะเลแดง, แอฟริกาใต้ ในทวีปเอเชียพบได้จนถึงประเทศญี่ปุ่น โดยอาศัยอยู่ในทะเลที่มีความลึกตั้งแต่ 1–300 เมตร อีกทั้งยังสามารถพบได้ในบริเวณปากแม่น้ำหรือป่าชายเลนที่มีสภาพเป็นน้ำกร่อยด้วย สำหรับในประเทศไทยพบชุกชุมที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา นิยมบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ มีการเพาะเลี้ยงในกระชัง.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและปลากะรังปากแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ปลากุดสลาด

ปลากุดสลาด, ปลากุดสลาก หรือ ปลาอุณรุท (coral grouper, coral trout) เป็นปลาทะเลในสกุล Plectropomus ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae).

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและปลากุดสลาด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอทะเล

ปลาหมอทะเล หรือ ปลาเก๋ามังกร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Epinephelus lanceolatus ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับปลาชนิดอื่นที่อยู่ในวงศ์เดียวกัน มีหัวค่อนข้างโต ปากกว้าง ตาเล็ก ครีบหลังมีก้านครีบแข็งอยู่ตอนหน้าตามด้วยก้านครีบแข็งและต่อด้วยครีบอ่อนเช่นเดียวกัน ครีบหางค่อนข้างใหญ่เป็นรูปกลมมน ลำตัวสีเทาอมดำ เมื่อยังเล็กอยู่ ตามลำตัวมีลายสีเหลืองสลับทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณครีบต่าง ๆ ปลาหมอทะเลเป็นปลาในวงศ์ปลากะรังที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 2.5 เมตร น้ำหนักหนักถึง 400 กิโลกรัม ถือเป็นปลาที่พบได้ในแนวปะการังที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นปลากินเนื้อ มีพฤติกรรมกินอาหารโดยการฮุบกลืนเข้าไปทั้งตัว อาจจะกินปลาฉลามขนาดเล็กหรือเต่าทะเลวัยอ่อนได้ ฟันในปากมีขนาดเล็ก เป็นปลาที่สายตาไม่ดี ออกหากินในเวลากลางคืน แม้จะเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่แต่มีนิสัยไม่ดุร้าย เวลาขู่จะแสดงออกด้วยการพองครีบพองเหงือกคล้ายปลากัด ในธรรมชาติมักอาศัยอยู่ตามซากโป๊ะ หรือกองหินใต้น้ำ โดยว่ายน้ำไปมาอย่างเชื่องช้า หรือลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ พบในระดับความลึกตั้งแต่ 4–100 เมตร และยังชอบที่จะขุดหลุมคล้ายปลานิล พื้นหลุมแข็งบริเวณข้างหลุมเป็นเลนค่อนข้างหนา ปากหลุมกว้างประมาณ 50–100 เซนติเมตร สีเมื่อยังเป็นปลาวัยอ่อน พบอาศัยอยู่ในทะเลเขตร้อนและเขตอบอุ่นในแถบอินโด-แปซิฟิก, ออสเตรเลียทางตอนเหนือ จนถึงอ่าวเปอร์เซีย นิยมบริโภคด้วยการปรุงสดเหมือนปลาในวงศ์นี้ชนิดอื่น ๆ เป็นปลาที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และด้วยความใหญ่โตของร่างกาย ปลาหมอทะเลจึงมักนิยมเลี้ยงในตู้ขนาดใหญ่หรือในอุโมงค์ของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก เช่น พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ทางทะเล ภายในมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี เป็นต้น และนิยมเลี้ยงลูกปลาขนาดเล็กในน้ำจืดเหมือนปลาสวยงามทั่วไปด้วย แต่ทว่าก็จะเลี้ยงได้เพียงระยะหนึ่งเท่านั้น เมื่อโตขึ้น หากยังเลี้ยงในน้ำจืดอยู่ ปลาก็จะตายในที่สุด นอกจากนี้แล้ว ทางกรมประมงยังได้เพาะขยายพันธุ์ลูกผสมระหว่างปลาหมอทะเลกับปลากะรังดอกแดง ซึ่งเป็นปลาในวงศ์เดียวกัน ได้เป็นผลสำเร็จ โดยลูกปลาขนาดเล็กจะมีลวดลายคล้ายกับปลาเสือตอ ซึ่งเป็นปลาสวยงามน้ำจืดที่มีชื่อเสียง ที่อยู่ต่างวงศ์กัน จนได้รับการเรียกชื่อว่า "ปลาเสือตอทะเล" โดยปลาเสือตอทะเลนั้นได้นำมาเปิดตัวครั้งแรกในงานประมงน้อมเกล้าฯ ครั้งที่ 25 ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน–8 กรกฎาคม..

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและปลาหมอทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอทะเล (สกุล)

ปลาหมอทะเล (Epinephelus) เป็นสกุลของปลาทะเลจำพวกหนึ่งในวงศ์ Serranidae นับเป็นปลาขนาดใหญ่ มีรูปร่างโดยรวม คือ ร่างยาวอ้วนป้อม แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดมีขนาดเล็ก สีตามตัวและครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคล้ำทึบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด พบอาศัยอยู่ตามบริเวณแนวปะการัง โขดหินใกล้ชายฝั่งหรือเกาะ บางครั้งอาจพบว่ายเข้ามาหากินบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นน้ำกร่อยได้ด้วย ปลาหมอทะเลกระจายพันธุ์ในทะเลและมหาสมุทรเขตอบอุ่นทั่วโลก ทั้ง มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย มีจำนวนสมาชิกในสกุลนี้ราว 99 ชนิด นับว่ามากที่สุดในวงศ์นี้ โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาหมอทะเล (E. lanceolatus) ที่ใหญ่ที่สุดได้เกือบ 3 เมตร และหนักได้ราว 200 กิโลกรัม สำหรับในภาษาไทยจะคุ้นเคยเรียกชื่อปลาในสกุลนี้เป็นอย่างดีในชื่อ "ปลาเก๋า" หรือ "ปลากะรัง".

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและปลาหมอทะเล (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาเก๋าเสือ

ปลาเก๋าเสือ หรือ ปลากะรังลายน้ำตาล (Brown-marbled grouper, Tiger grouper) เป็นปลาทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลากะรัง (Serranidae) มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลากะรังทั่วไป สีพื้นลำตัวเป็นสีเหลืองน้ำตาล มีจุดสีน้ำตาลเข้ม ส่วนหัวและแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีน้ำตาลขนาดเล็ก ไปจนถึงครีบต่าง ๆ และครีบหาง มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 120 เซนติเมตร แต่ขนาดโดยเฉลี่ยประมาณ 50 เซนนติเมตร พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ทะเลแดงในแอฟริกาตะวันออก, อ่าวเปอร์เซีย, ซามัว, ทะเลญี่ปุ่น, นิวแคลิโดเนีย, อินโด-แปซิฟิก จนถึงออสเตรเลีย เป็นปลาเศรษฐกิจชนิดหนึ่ง ที่มีการเพาะเลี้ยงอย่างปลากะรังชนิดอื่น ๆ โดยมีราคาขายตัวละ 400-600 บาท รวมถึงมีการผสมข้ามสายพันธุ์กับปลาหมอทะเล หรือปลาเก๋ายักษ์ (E. lanceolatus) ซึ่งเป็นปลาในสกุลเดียวกันแต่ตัวใหญ่กว่า เพื่อให้ได้ปลาลูกผสมที่เรียกว่า  ปลาเก๋ามุกมังกร ที่เนื้อมีความนุ่มอร่อยกว่า และราคาถูกกว.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและปลาเก๋าเสือ · ดูเพิ่มเติม »

ปะการัง

ปะการัง หรือ กะรัง เป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล จัดอยู่ในชั้นแอนโธซัวและจัดเป็นพวกดอกไม้ทะเล มีขนาดเล็กเรียกว่าโพลิฟ แต่จะอาศัยรวมกันอยู่เป็นโคโลนีที่ประกอบไปด้วยโพลิฟเดี่ยว ๆ จำนวนมาก เป็นกลุ่มที่สร้างแนวปะการังที่สำคัญพบในทะเลเขตร้อนที่สามารถดึงสารแคลเซียมคาร์บอเนตจากน้ำทะเลมาสร้างเป็นโครงสร้างแข็งเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้ หัวของปะการังหนึ่ง ๆ โดยปรกติจะสังเกตเห็นเป็นสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆอันหนึ่ง แต่ที่จริงนั้นมันประกอบขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตเดี่ยวๆขนาดเล็กนับเป็นพัน ๆ โพลิฟโดยในทางพันธุ์ศาสตร์แล้วจะเป็นโพลิฟชนิดพันธุ์เดียวกันทั้งหมด โพลิฟจะสร้างโครงสร้างแข็งที่มีลักษณะเฉพาะของปะการังแต่ละชนิด หัวของปะการังหนึ่งๆมีการเจริญเติบโตโดยการสืบพันธุ์แบบไม่ใช้เพศของโพลิฟเดี่ยวๆ แต่ปะการังก็สามารถสืบพันธุ์ออกลูกหลานโดยการใช้เพศกับปะการังชนิดเดียวกันด้วยการปล่อยเซลล์สืบพันธุ์พร้อม ๆ กันตลอดหนึ่งคืนหรือหลาย ๆ คืนในช่วงเดือนเพ็ญ แม้ว่าปะการังจะสามารถจับปลาและสัตว์เล็ก ๆ ขนาดแพลงตอนได้โดยใช้เข็มพิษ (เนมาโตซิสต์) ที่อยู่บนหนวดของมัน แต่ส่วนใหญ่แล้วปะการังจะได้รับสารอาหารจากสาหร่ายเซลล์เดียวที่สังเคราะห์แสงได้ที่เรียกว่าซูแซนทาลา นั่นทำให้ปะการังทั้งหลายมีการดำรงชีวิตที่ขึ้นตรงต่อแสงอาทิตย์และจะเจริญเติบโตได้ในน้ำทะเลใสตื้น ๆ โดยปรกติแล้วจะอาศัยอยู่บริเวณที่มีความลึกน้อยกว่า 60 เมตร ปะการังเหล่านี้ถือว่าเป็นผู้สร้างโครงสร้างทางกายภาพของแนวปะการังที่พัฒนาขึ้นมาในทะเลเขตร้อนและเขตกึ่งร้อนอย่างเช่นเกรตแบริเออร์รีฟบริเวณนอกชายฝั่งของรัฐควีนส์แลนด์ของประเทศออสเตรเลีย แต่ก็มีปะการังบางชนิดที่ดำรงชีวิตอยู่ได้โดยไม่เกี่ยวข้องกับสาหร่ายเนื่องจากอยู่ในทะเลลึกอย่างในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ปะการังสกุล “โลเฟเลีย” ที่อยู่ได้ในน้ำเย็นๆที่ระดับความลึกได้มากถึง 3000 เมตร ตัวอย่างของปะการังเหล่านี้สามารถพบได้ที่ดาร์วินมาวด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเคพแวร็ธในสก๊อตแลนด์ และยังพบได้บริเวณนอกชายฝั่งรัฐวอชิงตันและที่หมู่เกาะอะลูเชียนของอะแลสก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและปะการัง · ดูเพิ่มเติม »

ป่าชายเลน

ป่าชายเลน ป่าชายเลน คือเป็นกลุ่มสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุดและน้ำขึ้นสูงสุด บริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำหรืออ่าว อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง สังคมพืชที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพวกที่มีใบเขียวตลอดปี (evergreen species) ซึ่งมีลักษณะทางสรีรวิทยาและความต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง (Rhizophora spp.) เป็นไม้สำคัญและมีไม้ตระกูลอื่นบ้าง ได้มีการค้นพบป่าประเภทนี้มาตั้งแต่เมื่อคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางมาบริเวณชายฝั่งตะวันตกของเกาะคิวบา ต่อมา เซอร์ วอลเตอร์ เรลห์ ได้พบป่าชนิดเดียวกันนี้อยู่บริเวณปากแม่น้ำในตรินิแดดและเกียนา คำว่า "mangrove" เป็นคำจากภาษาโปรตุเกสคำว่า "mangue" ซึ่งหมายถึงกลุ่มสังคมพืชที่ขึ้นอยู่ตามชายฝั่งทะเลดินเลน และใช้กันแพร่หลายในประเทศแถบลาตินอเมริกา ส่วนประเทศอื่น ๆ ก็ใช้เรียกตามภาษาของตัวเอง เช่น ประเทศมาเลเซียใช้คำว่า "manggi-manggi" ประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเรียกป่าชายเลนว่า "mangrove" ส่วนภาษาไทยเรียกป่าชนิดนี้ว่า "ป่าชายเลน" หรือ "ป่าโกงกาง" บริเวณที่พบป่าชายเลนโดยทั่วไป คือตามชายฝั่ง ทะเล บริเวณปากน้ำ อ่าว ทะเลสาบ และเกาะ ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำทะเลท่วมถึงของประเทศ ในแถบภูมิภาคเขตร้อน ส่วนเขตเหนือหรือใต้เขตร้อน จะพบป่าชายเลนอยู่บ้างแต่ไม่มาก โดยพื้นที่ที่พบป่าชายเลนเช่น ในกลุ่มประเทศของภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย พม่า และ ไทย เป็นต้น สำหรับพื้นที่ป่าชายเลนของโลกทั้งหมดมีประมาณ 113,428,089 ไร่ อยู่ใน เขตร้อน 3 เขตใหญ่ คือ เขตร้อนแถบเอเชียพื้นที่ประมาณ 52,559,339 ไร่ หรือร้อยละ 46.4 ของป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศอินโดนีเซียมีป่าชายเลนมากที่สุด ถึง 26,568,818 ไร่ สำหรับในเขตร้อนอเมริกามีพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมดประมาณ 39,606,250 ไร่ หรือร้อยละ 34.9 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด ในเขตร้อนอเมริกาประเทศที่มีพื้นที่ โดยประเทศบราซิล มีพื้นที่ป่าชายเลนประมาณ 15,625,000 ไร่ รองจากอินโดนีเซีย ส่วนเขตร้อนอัฟริกามีพื้นที่ ป่าชายเลนน้อยที่สุดประมาณ 21,262,500 ไร่ หรือร้อยละ 18.7 ของพื้นที่ป่าชายเลนทั้งหมด โดยประเทศไนจีเรีย มีพื้นที่ป่าชายเลน 6,062,500 ไร่ มากที่สุดในโซนนี้ โดยป่าชายเลนที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ ซันดาร์บานส์ ซึ่งเป็นปากแม่น้ำคงคาระหว่างประเทศอินเดียกับบังกลาเทศ ซึ่งมีเนื้อที่ 10,000 ตารางกิโลเมตร (3,900 ตารางไมล์) ซึ่งถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติโดยองค์การยูเนสโก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและป่าชายเลน · ดูเพิ่มเติม »

น้ำกร่อย

น้ำกร่อย (Brackish water) คือน้ำทะเล (น้ำเค็ม) ผสมกับน้ำจืด สามารถพบได้ตามตามปากอ่าวแม่น้ำออกทะเล เช่น สมุทรปราการ (แม่น้ำเจ้าพระยาออกทะเล) บริเวณสมุทรสาคร (แม่น้ำท่าจีนออกทะเล) สมุทรสงคราม (แม่น้ำแม่กลองออกทะเล) โดยทั่วไปแล้ว น้ำกร่อยหรือน้ำทะเลในสภาพปกติมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ pH ราว 7.3 ไปจนถึง 8.5 เหตุที่น้ำทะเลมีสภาพเป็นด่างอ่อน ๆ เป็นเพราะในน้ำทะเลมีแร่ธาตุหลายชนิด ที่ทำให้น้ำเป็นด่างอ่อน เครื่องมือวัดความเค็ม เรียก ซาลิโนมิเตอร์ (Salinometer) หรือ รีแฟรกโตซาลิโนมิเตอร์ (Refractosalinometer) วัดโดยใช้หลักการหักเหของแสง ยิ่งเค็มมาก ยิ่งหักเหมาก แล้วแปลงไปเป็นสเกลของ ppt (part per thousand.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและน้ำกร่อย · ดูเพิ่มเติม »

น้ำจืด

น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำ

แม่น้ำตาปี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำ (river) เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินจะไหลไปยังแม่น้ำแล้วออกสู่มหาสมุทรหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำมีส่วนประกอบโดยพื้นฐานหลายส่วน อาจมีแหล่งกำเนิดจากต้นน้ำหรือน้ำซับ แล้วไหลสู่กระแสน้ำหลัก ลำธารสายเล็กที่ไหลลงสู่แม่น้ำเรียกว่าแคว โดยปกติกระแสน้ำจะไหลไปตามร่องน้ำที่ขนาบข้างด้วยตลิ่ง ที่จุดสิ้นสุดของแม่น้ำหรือปากแม่น้ำ มักมีลักษณะแผ่ขยายออก เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) หรือชะวากทะเล (Estuary).

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

เกล็ดปลา

กล็ดแบบกลมที่ปกคลุมปลายี่สกเทศ ผิวหนังของปลาส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยเกล็ด เกล็ดปลาแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกันทั้งด้านขนาด รูปทรง โครงสร้างและขอบเขต โดยมีตั้งแต่แผ่นเกราะแข็งแรงทื่อในปลาอย่างปลามีดโกนและปลาปักเป้ากล่อง ไปจนถึงมีขนาดเล็กจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่าหรือไม่มีเลยในปลาอย่างปลาไหลและปลาตกเบ็ด สามารถใช้กายสัณฐานของเกล็ดในการระบุชนิดของปลาได้ ปลากระดูกอ่อน (เช่น ปลาฉลามและปลากระเบน) มีเกล็ดแบนราบ (placoid) ปกคลุม ส่วนปลากระดูกแข็งส่วนใหญ่มีเกล็ดทรงกลม (cycloid) อย่างปลาแซลมอนและปลาคาร์พ หรือเกล็ดแบบซี่ (ctenoid) อย่างปลาเพิร์ช หรือเกล็ดกระดูกแข็ง (ganoid) อย่างปลาสเตอร์เจียนและปลาการ์ บางชนิดมีสคิวต์ (scute) ปกคลุม และบางชนิดไม่มีสิ่งปกคลุมผิวหนัง เกล็ดปลาเป็นส่วนหนึ่งของระบบส่วนห่อหุ้มของปลา และผลิตจากชั้นเมโซเดิร์ม (mesoderm) ของหนังแท้ ซึ่งทำให้เกล็ดปลาแตกต่างจากเกล็ดสัตว์เลื้อยคลาน การเจริญของเกล็ดอาศัยยีนเดียวกับที่เกี่ยวข้องกับการเจริญของฟันและขนในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เกล็ดแบนราบของปลากระดูกอ่อนยังเรียก เด็นทิเคิลหนังแท้ (dermal denticle) และสมนัยเชิงโครงสร้างกับฟันของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีการเสนอว่า เกล็ดของปลากระดูกแข็งมีโครงสร้างเหมือนกับฟัน แต่อาจกำเนิดจากเนื้อเยื่อคนละชนิดกัน ปลาส่วนใหญ่มีชั้นเมือกป้องกันปกคลุมอยู.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและเกล็ดปลา · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะรังและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

GrammistidaePseudogrammidaeSerranidaeวงศ์ปลาเก๋าปลาเก๋า

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »