โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ปลากะพงขาว

ดัชนี วงศ์ปลากะพงขาว

วงศ์ปลากะพงขาว (Perch) วงศ์ปลาวงศ์หนึ่ง เป็นปลากินเนื้อในอันดับ Perciformes พบได้ทั้งในน้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล พบกระจายในภูมิภาคเขตร้อนตั้งแต่ทวีปแอฟริกาจนถึงทวีปเอเชีย ทั้งในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ใช้ชื่อวงศ์ว่า Latidae (/เลท-ที-เด-อา/) มีทั้งหมด 11 ชนิด ใน 3 สกุล ได้แก.

21 ความสัมพันธ์: การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์มหาสมุทรอินเดียมหาสมุทรแปซิฟิกสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสปีชีส์อันดับย่อยปลากะพงอันดับปลากะพงธีโอดอร์ กิลล์ทวีปแอฟริกาทวีปเอเชียทะเลปลาปลากะพงขาวปลากะพงขาว (สกุล)ปลากะพงแม่น้ำไนล์ปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำกร่อยน้ำจืดเขตร้อน

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงขาวและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรอินเดีย

มหาสมุทรอินเดีย เป็นผืนน้ำที่มีขนาดกว้างใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก กินพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นน้ำบนโลก ทางเหนือติดกับตอนใต้ของทวีปเอเชีย (อนุทวีปอินเดีย) ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรอาหรับและทวีปแอฟริกา ทางตะวันออกติดกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบทะเลอันดามัน และประเทศออสเตรเลีย ทางใต้ติดกับมหาสมุทรใต้ แยกจากมหาสมุทรแอตแลนติกที่บริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกาบนเส้นเมริเดียน 20° ตะวันออก และแยกจากมหาสมุทรแปซิฟิกที่เส้นเมริเดียน 147° ตะวันออก ตอนเหนือสุดของมหาสมุทรอินเดียอยู่ในอ่าวเปอร์เซีย ที่บริเวณละติจูด 30° เหนือ มหาสมุทรมีความกว้างมากที่สุดอยู่ระหว่างจุดใต้สุดของแอฟริกาและออสเตรเลีย ด้วยระยะทางเกือบ 10,000 กิโลเมตร มีพื้นน้ำ 70,560,000 ตารางกิโลเมตร รวมทะเลแดงและอ่าวเปอร์เซีย แต่ไม่รวมมหาสมุทรใต้หรือ 19.5% ของมหาสมุทรโลก มหาสมุทรอินเดียมีปริมาตรประมาณ 264,000,000 ลูกบาศก์กิโลเมตร หรือ 19.8% ของปริมาณมหาสมุทรโลก มีความลึกเฉลี่ย 3,741 เมตร และมีความลึกสูงสุด 7,906 เมตร.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงขาวและมหาสมุทรอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

มหาสมุทรแปซิฟิก

มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) ตั้งชื่อโดย เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน ว่า Mare Pacificum เป็นภาษาละติน แปลว่า peaceful sea ภาษาฝรั่งเศส pacifique (ปาซีฟีก) หมายถึง "สงบสุข" เป็นผืนน้ำที่กว้างใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นน้ำประมาณ 165,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 1 ใน 3 ของพื้นที่ผิวทั้งหมดของโลก ความยาวในแนวลองจิจูดมีระยะทางประมาณ 15,500 กิโลเมตร จากทะเลเบริงในเขตอาร์กติกที่อยู่ทางเหนือจรดริมฝั่งทะเลรอสส์ในแอนตาร์กติกาที่อยู่ทางใต้ มหาสมุทรแปซิฟิกมีด้านที่กว้างที่สุดตามแนวตะวันออก-ตะวันตก อยู่ ณ บริเวณละติจูด 5 องศาเหนือ ด้วยความยาวประมาณ 19,800 กิโลเมตร จากอินโดนีเซียถึงชายฝั่งโคลอมเบีย สุดเขตด้านตะวันตก คือ ช่องแคบมะละกา จุดที่ลึกที่สุดในโลก คือ ร่องลึกมาเรียนา (Mariana Trench) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก จุดที่ลึกที่สุดวัดได้ 10,911 เมตร มหาสมุทรแปซิฟิก ความเค็มประมาณ 33-37 ส่วนต่อพันส่วน กระแสน้ำที่สำคัญของมหาสมุทรแปซิฟิก คือ กระแสน้ำเย็นฮัมโบลต์ (เปรู) กระแสน้ำอุ่นศูนย์สูตร กระแสน้ำเย็นแคลิฟอร์เนีย กระแสน้ำอุ่นอะแลสกา และกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอะ (กุโรชิโว) มหาสมุทรแปซิฟิกมีเกาะอยู่ประมาณ 25,000 เกาะ (มากกว่าเกาะในมหาสมุทรอื่น ๆ ที่เหลือรวมกัน) ส่วนใหญ่อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ริมมหาสมุทรประกอบด้วยทะเลจำนวนมาก ที่สำคัญ คือ ทะเลเซเลบีส ทะเลคอรัล ทะเลจีนตะวันออก ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนใต้ ทะเลซูลู ทะเลแทสมัน และทะเลเหลือง ทางด้านตะวันตก ช่องแคบมะละกาเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับมหาสมุทรอินเดีย ส่วนทางด้านตะวันออก ช่องแคบมาเจลลันเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกกับ มหาสมุทรแอตแลนติก.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงขาวและมหาสมุทรแปซิฟิก · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงขาวและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงขาวและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงขาวและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงขาวและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับย่อยปลากะพง

อันดับย่อยปลากะพง (Bass, Perch, Snapper, Trevally) เป็นอันดับย่อยของปลากระดูกแข็งในอันดับปลากะพง (Perciformes) จัดเป็น 1 ใน 18 อันดับย่อยของอันดับนี้ ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Percoidei เป็นปลาส่วนใหญ่ในอันดับนี้ พบได้ทั้งน้ำจืด, น้ำกร่อย, ทะเล.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงขาวและอันดับย่อยปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงขาวและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

ธีโอดอร์ กิลล์

ีโอดอร์ กิลล์ (Theodore Gill) นักมีนวิทยาและสัตววิทยาชาวอเมริกัน มีชื่อเต็มว่า ธีโอดอร์ นิโคลัส กิลล์ (Theodore Nicholas Gill) เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม ค.ศ. 1837 ที่นิวยอร์กซิตี้ เริ่มศึกษาภายใต้การสอนของภาคเอกชน กิลล์มีความสนใจในวิชาประวัติศาสตร์ธรรมชาติวิทยา และมีความสัมพันธ์อันดีกับเจ. คาร์สัน เบรวูร์ท ในการจัดเรียงอันดับของกีฏวิทยาและงานสะสมมีนวิทยา ก่อนที่จะเดินทางไปวอชิงตัน ดี.ซี. ในปี ค.ศ. 1863 เพื่อทำงานที่สถาบันสมิธโซเนียน กิลล์ทำงานด้านจัดหมวดหมู่ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, ปลาและหอย และยังเป็นบรรณารักษ์ที่สถาบันแห่งนี้และยังเป็นผู้ช่วยอาวุโสห้องสมุดของสภาคองเกรสอีกด้วย กิลล์เป็นศาสตราจารย์ด้านสัตววิทยาที่มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน และเป็นสมาชิกของสโมสรเมกาเธอเรี่ยม ที่สถาบันสมิธโซเนียน ในวอชิงตัน ดี.ซี.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงขาวและธีโอดอร์ กิลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงขาวและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงขาวและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ทะเล

ทะเลโบฟอร์ต ทะเล เป็นแหล่งน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่ล้อมรอบด้วยพื้นดินทั้งหมดหรือบางส่วน.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงขาวและทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ปลา

ปลา (อังกฤษ: Fish) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำ เป็นสัตว์เลือดเย็น หายใจด้วยเหงือกและมีกระดูกสันหลัง สามารถเคลื่อนไหวไปมาด้วยครีบและกล้ามเนื้อของลำตัว บางชนิดมีเกล็ดปกคลุมทั่วตัว บางชนิดไม่มีเกล็ดแต่ปกคลุมด้วยเมือกลื่น ๆ หรือแผ่นกระดูก มีหัวใจสองห้องและมีขากรรไกร สัตว์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำบางประเภท ถูกเรียกติดปากว่าปลาเช่นเดียวกันเช่น ปลาดาว, โลมา, วาฬและหมึก ซึ่งสัตว์ทั้งหมดนี้ก็มีแหล่งอาศัยอยู่ในน้ำด้วยกันทั้งสิ้น แต่ไม่ได้จัดอยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลา ด้วยลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาที่แตกต่างกันเช่น ปลาดาวเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นเดียวกับปลา มีโครงสร้างที่เป็นหินปูน โลมาและวาฬถูกจัดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สามารถหายใจได้ทางปอดไม่ใช่ทางเหงือก และปลาหมึกจัดเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง แต่ถูกจัดรวมอยู่กับสัตว์ประเภทเดียวกันกับหอ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงขาวและปลา · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะพงขาว

ปลากะพงขาว เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ในน้ำจืดหรือน้ำกร่อยได้ อยู่ในวงศ์ปลากะพงขาว (Latidae) มีรูปร่างลำตัวหนาและด้านข้างแบน หัวโต จะงอยปากค่อนข้างยาวและแหลม นัยน์ตาโต ปากกว้างยืดหดได้ มุมปากอยู่เลยไปทางหลังนัยน์ตา ฟันเป็นฟันเขี้ยวอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง ขอบกระดูกแก้มเป็นหนามแหลม ขอบกระดูกกระพุ้งเหงือกแข็งและคม คอดหางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เกล็ดใหญ่มีขอบหยักเป็นหนามเมื่อลูบจะสากมือ ครีบหลังอันแรกมีก้านครีบเป็นหนามแข็ง ปลายแหลม อันที่สองเป็นครีบอ่อนมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบใหญ่ปลายกลมมน พื้นลำตัวสีขาวเงินปนน้ำตาล แนวสันท้องสีขาวเงิน มีขนาดความยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร พบใหญ่สุดถึง 2 เมตร หนักได้ถึง 60 กิโลกรัม โดยปลาที่พบในทะเลจะมีขนาดใหญ่กว่าปลาที่พบในน้ำจืด พบกระจายทั่วไปในชายฝั่งทะเลของทวีปเอเชียไปจนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย โดยเป็นปลาที่อพยพไปมาระหว่างทะเลกับน้ำจืด โดยพ่อแม่ปลาจะว่ายจากชายฝั่งเข้ามาวางไข่ในป่าชายเลนหรือปากแม่น้ำ จนกระทั่งลูกปลาฟักและเติบโตแข็งแรงดีแล้ว จึงจะว่ายกลับสู่ทะเล บางครั้งพบอยู่ไกลจากทะเลนับเป็นร้อย ๆ กิโลเมตร เช่นที่ แม่น้ำโขง ก็มีเป็นปลากินเนื้อ อาหารได้แก่ สัตว์น้ำ, ปลา, กุ้ง ที่มีขนาดเล็กกว่า เป็นปลาเศรษฐกิจที่กรมประมงส่งเสริมให้เลี้ยง เกษตรกรนิยมผลิตลูกปลาชนิดนี้ส่งไปจำหน่ายยังประเทศมาเลเซียและไต้หวัน เนื้อมีรสชาติดี นำมาประกอบอาหารได้หลายประเภท เช่น แปะซะ, นึ่งบ๊วย เป็นต้น และนิยมตกเป็นเกมกีฬา อีกทั้งยังเลี้ยงเป็นปลาสวยงามได้อีกด้วย ปลากะพงขาวยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ปลากะพงน้ำจืด" ขณะที่ชื่อท้องถิ่นในลุ่มแม่น้ำบางปะกงเรียก "ปลาโจ้โล้".

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงขาวและปลากะพงขาว · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะพงขาว (สกุล)

ปลากะพงขาว สกุลของปลาน้ำจืด, น้ำกร่อย และปลาทะเลจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ปลากะพงขาว (Latidae) ใช้ชื่อสกุลว่า Lates (/ลา-ติส/) มีรูปร่างโดยรวม คือ รูปร่างลำตัวหนาและด้านข้างแบน หัวโต จะงอยปากค่อนข้างยาวและแหลม นัยน์ตาโต ปากกว้างยืดหดได้ มุมปากอยู่เลยไปทางหลังนัยน์ตา ฟันเป็นฟันเขี้ยวอยู่บนขากรรไกรบนและล่าง ขอบกระดูกแก้มเป็นหนามแหลม ขอบกระดูกกระพุ้งเหงือกแข็งและคม คอดหางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง เกล็ดใหญ่มีขอบหยักเป็นหนามเมื่อลูบจะสากมือ ครีบหลังอันแรกมีก้านครีบเป็นหนามแข็ง ปลายแหลม อันที่สองเป็นครีบอ่อนมีขนาดใกล้เคียงกัน ครีบใหญ่ปลายกลมมน มีขนาดตั้งแต่ประมาณ 1 ฟุต ไปจนถึงเกือบ 2 เมตร และมีน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม ในปลากะพงแม่น้ำไนล์ (L. niloticus) ซึ่งจัดว่าเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในสกุลนี้และวงศ์นี้ ที่พบได้ในแหล่งน้ำจืดของทวีปแอฟริกา ปลากะพงขาวมีทั้งหมด 9 สปีชีส์ ซึ่งจัดว่ามีจำนวนสมาชิกมากที่สุดในวงศ์นี้ ทั้งหมดนิยมใช้ตกเป็นปลาเกมกีฬา และนิยมบริโภคเนื้อเป็นอาหาร พบตั้งแต่ทะเลสาบน้ำจืดหลายแห่งในทวีปแอฟริกาไปจนถึงชายฝั่งทะเลในทวีปเอเชีย ไปจนถึงโอเชียเนีย โดยมี 2 ชนิดเท่านั้นที่พบในทวีปเอเชียและโอเชียเนีย ซึ่งคำว่า Lates นั้นมาจากภาษาละตินคำว่า latēre หมายถึง "ถูกซ่อนไว้".

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงขาวและปลากะพงขาว (สกุล) · ดูเพิ่มเติม »

ปลากะพงแม่น้ำไนล์

ปลากะพงแม่น้ำไนล์ (Nile perch, African snook) หรือชื่อในภาษาพื้นเมืองว่า อิมพิวทา (Imputa) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ อยู่ในวงศ์ปลากะพงขาว (Latidae) มีรูปร่างคล้ายปลากะพงขาว (L. calcarifer) ซึ่งเป็นปลาอยู่ในวงศ์เดียวกัน สกุลเดียวกัน ต่างกันที่ปลากะพงแม่น้ำไนล์มีครีบหลังที่ยกสูงกว่า และมีขนาดตัวเมื่อโตเต็มที่ได้ใหญ่กว่ามาก โดยยาวได้ถึง 2 เมตร หนักได้ถึง 200 กิโลกรัม หนักสุดพบ 230 กิโลกรัม จัดเป็นปลาที่มีความใหญ่ที่สุดในวงศ์นี้ อาศัยอยู่ในแม่น้ำไนล์ ในทวีปแอฟริกา พบในอียิปต์, ชาด, เซเนกัล, คองโก, เคนยา เป็นต้น นิยมตกเป็นเกมกีฬา โดยถูกจัดให้เป็นปลาที่สามารถตกด้วยเบ็ดได้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ใช้เนื้อบริโภคเป็นอาหารขึ้นชื่อในท้องถิ่น และส่งออกต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เป็นต้น นอกจากนี้ยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามด้วย ด้วยความใหญ่ในรูปร่าง ในแง่ของปัญหาสิ่งแวดล้อม ปลากะพงแม่น้ำไนล์ถือเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่คุกคามสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ในทะเลสาบแทนกันยีกาและทะเลสาบวิกตอเรีย โดยเพาะอย่าง ปลาในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) เพราะเป็นปลาขนาดใหญ่ที่กินปลาและสัตว์น้ำชนิดอื่นที่เล็กกว่าเป็นอาหาร และกินเป็นจำนวนมาก จึงเป็นต้นเหตุที่ทำให้หลายชนิดต้องอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ เพราะปลากะพงแม่น้ำไนล์มิได้เป็นปลาพื้นถิ่นของทะเลสาบทั้งสองแห่งนี้ แต่ทว่าถูกนำไปปล่อยโดยเมื่อทศวรรษที่ 50.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงขาวและปลากะพงแม่น้ำไนล์ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงขาวและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำกร่อย

ปลาชะลิน(''Chanos chanos'') ปลาน้ำเค็มชนิดหนึ่งที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ปลาน้ำกร่อย หรือ ปลาสองน้ำ (Amphidromous fish) คือ ปลาที่สามารถปรับสภาพให้อาศัยอยู่ได้ทั้งน้ำเค็มหรือในทะเล, น้ำกร่อย และน้ำจืดตามแม่น้ำลำคลอง ปลาน้ำกร่อย อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงขาวและปลาน้ำกร่อย · ดูเพิ่มเติม »

น้ำจืด

น้ำจืดในลำธาร น้ำจืด หมายถึงน้ำในแหล่งน้ำทั่วไปอาทิ บ่อน้ำ ทะเลสาบ แม่น้ำ ลำธาร เป็นต้น ที่ซึ่งมีเกลือและของแข็งอื่นละลายอยู่ในระดับต่ำ มีความหนาแน่นน้อย นั่นคือน้ำจืดไม่ได้เป็นน้ำเค็มและน้ำกร่อย น้ำจืดสามารถเป็นผลผลิตของน้ำทะเลที่เอาเกลือออกแล้วได้ น้ำจืดเป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นส่วนใหญ่ และเป็นที่จำเป็นต่อมนุษย์สำหรับน้ำดื่ม และใช้ในเกษตรกรรม เป็นต้น องค์การสหประชาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่า ประชากรโลกประมาณร้อยละ 18 ขาดแคลนน้ำดื่มที่ปลอดภั.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงขาวและน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

เขตร้อน

แผนที่โลกที่เน้นเขตร้อนด้วยสีแดง เขตร้อนหรือโซนร้อน (tropics) เป็นบริเวณของโลกที่อยู่รอบเส้นศูนย์สูตร จำกัดด้วยเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ในซีกโลกเหนือ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) เหนือ และทรอปิกออฟแคปริคอร์นในซีกโลกใต้ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) ใต้ ละติจูดนี้ใกล้เคียงกับความเอียงของแกนโลก เขตร้อนรวมทุกพื้นที่บนโลกซึ่งดวงอาทิตย์ถึงจุดใต้แสงอาทิตย์ (subsolar point) คือ จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงเหนือศีรษะพอดี อย่างน้อยครั้งหนึ่งในปีสุริยคติ.

ใหม่!!: วงศ์ปลากะพงขาวและเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Latidae

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »