โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

วงศ์ชะมดและอีเห็น

ดัชนี วงศ์ชะมดและอีเห็น

มดและอีเห็น เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับสัตว์กินเนื้อจำพวกหนึ่ง.

57 ความสัมพันธ์: ชะมดแผงสันหางดำชะมดแผงหางปล้องชะมดแปลงชะมดแปลงลายจุดชะมดแปลงลายแถบชะมดเช็ดชื่อสามัญฟันพ.ศ. 2364พืชกลิ่นชะมดการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์กาแฟกาแฟขี้ชะมดภาษาชวาภาษามลายูภาษาไทยถิ่นอีสานภาษาไทยถิ่นใต้ยุโรปใต้ลินเส็งวงศ์ย่อยชะมดวงศ์ย่อยอีเห็นวงศ์ย่อยอีเห็นลายเสือโคร่งวงศ์เสือและแมวสมัยอีโอซีนสมุนไพรสัตว์สัตว์กินเนื้อสัตว์มีแกนสันหลังสัตว์น้ำสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมสารเคมีสีดำสีน้ำตาลสีเทาสปีชีส์หมาหมีขออวัยวะเพศอีเห็นอีเห็นลายเสือโคร่งอีเห็นหน้าขาวอีเห็นข้างลายอีเห็นน้ำมลายูอีเห็นเครือจังหวัดเพชรบูรณ์ทวีปแอฟริกาทวีปเอเชียประเทศอินโดนีเซียประเทศไทย...ประเทศเวียดนามป่าไฟลัมไม้ต้นเกษตรกรรมเอนไซม์เอเอสทีวีผู้จัดการ ขยายดัชนี (7 มากกว่า) »

ชะมดแผงสันหางดำ

มดแผงสันหางดำ (Large-spotted civet) เป็นชะมดชนิดหนึ่ง มีรูปร่างและลักษณะคล้ายคลึงกับชะมดแผงหางปล้อง (V. zibetha) แต่ต่างกันที่บริเวณหาง โดยหางของชะมดแผงสันหางดำจะมีลายขวางสีดำบริเวณด้านบนของหางลากยาวมาจากโคนหางถึงปลายหาง ทำให้ปล้องหางไม่แยกขาดจากกันเหมือนชะมดแผงหางปล้อง ปลายหางมีสีดำและมีลายจุดสีดำกระจายไปทั่วตัว มีความยาวลำตัวและส่วนหัว 72-85 เซนติเมตร ความยาวส่วนหาง 30-36.9 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 8-9 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์อยู่ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สามารถอาศัยอยู่ได้ในป่าหลากหลายประเภท ทั้งป่าสมบูรณ์ และตามสวนเกษตรกรรมต่าง ๆ เช่น สวนยางพารา หรือสวนปาล์มน้ำมัน แต่ส่วนมากมักพบเห็นตามพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 80-200 เมตร จากระดับน้ำทะเล โดยปกติแล้วมักอาศัยและหากินตามลำพัง ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือเลี้ยงดูลูกอ่อน จะอยู่ด้วยกันเป็นคู่ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและชะมดแผงสันหางดำ · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดแผงหางปล้อง

มดแผงหางปล้อง (Large indian civet;; อีสาน: เหง็นแผงหางก่าน) เป็นชะมดชนิดหนึ่ง มีลำตัวสีเทาค่อนข้างดำ มีลายสีดำข้างลำตัว ข้างลำคอมีเส้นสีดำสามแถบพาดผ่านในแนวขวาง มีจุดเด่น คือ ส่วนหางมีลายสีดำสลับกับขาวเป็นปล้อง ๆ 5-6 ปล้อง มีขนสีดำสนิทพาดตั้งแต่กึ่งกลางหลังจนถึงโคนหาง เท้ามีสีดำ ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย จัดเป็นชะมดที่มีขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีความยาวลำตัวและหัว 75-85 เซนติเมตร ความยาวหาง 38-46 เซนติเมตร น้ำหนักตัว 8-10 กิโลกรัม พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่อนุทวีปอินเดีย, อินโดจีน, ประเทศจีน, ฮ่องกง, มาเลเซีย และสิงคโปร์ สามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ในป่าหลากหลายประเภท แม้กระทั่งใกล้ชุมชนของมนุษย์ หากินในเวลากลางคืน กินอาหารได้หลากหลาย โดยจับเหยื่อจะใช้ฟันกัดและสะบัดอย่างแรงจนเหยื่อตายมากกว่าจะใช้เล็บตะปบ ตอนกลางวันจะนอนหลับตามโพรงไม้หรือโพรงหินหรือในถ้ำ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและชะมดแผงหางปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดแปลง

มดแปลง (Asiatic linsang) เป็นสกุลของสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์ชะมดและอีเห็น (Viverridae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Prionodon (/ไพร-โอ-โน-ดอน/) ในวงศ์ย่อย Prionodontinae (หรือแยกออกมาเป็นวงศ์ต่างหาก คือ Prionodontidae) ชะมดแปลง เป็นชะมดจำพวกหนึ่งที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับชะมดส่วนใหญ่ทั่วไป แต่มีรูปร่างเพรียว มีหางยาว ความยาวลำตัวไม่เกิน 30 เซนติเมตร อาศัยและหากินส่วนใหญ่บนต้นไม้ ด้วยรูปร่างที่เพรียวยาวจึงทำให้ดูเผิน ๆ เหมือนงูไต่ตามต้นไม้มากกว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อุ้งตีนมีซองเก็บเล็บได้เหมือนสัตว์ตระกูลแมว มีสีขนตามลำตัวเป็นจุดหรือลายแถบคดเคี้ยวแตกต่างไปตามชนิด ส่วนหางเป็นปล้อง ๆ ไม่มีขนแผงคอหรือขนที่สันหลัง และมีลักษณะเด่นเฉพาะ คือ ไม่มีต่อมผลิตกลิ่น เหมือนชะมดหรืออีเห็นชนิดอื่น ๆ จึงได้ชื่อว่า ชะมดแปลงหน้า 82-84, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและชะมดแปลง · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดแปลงลายจุด

มดแปลงลายจุด หรือ อีเห็นลายเสือ (Spotted linsang) เป็นชะมดชนิดหนึ่ง เป็นชะมดที่ไม่มีต่อมกลิ่นเช่นเดียวกับชะมดแปลงลายแถบ (P. linsang) และมีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ส่วนหัวมีขนสีน้ำตาลอ่อน ลักษณะเด่นคือ มีจุดสีน้ำตาลเข้มหรือดำขึ้นอยู่ประปรายตามลำตัว หางยาวและมีแถบสีขาวสลับดำ หรือน้ำตาลเข้มเป็นปล้องประมาณ 7 ปล้อง มีความยาวลำตัวและหัวประมาณ 35-37 เซนติเมตร ความยาวส่วนหาง 31-34 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 700 กรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่เนปาล, แคว้นสิกขิมและแคว้นอัสสัมของอินเดีย, ภาคใต้ของจีน, ภาคเหนือของพม่า, ไทย, ลาว และเวียดนาม มักอาศัยอยู่ตามลำพังเพียงตัวเดียว ยกเว้นในฤดูผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนอาจอยู่เป็นคู่หรือหลายตัว มักพบในพื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,500-2,700 เมตร ล่าสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กระรอก, หนู, นก และแมลงต่าง ๆ เป็นอาหาร ออกหากินในเวลากลางคืน ส่วนใหญ่จะหากินเป็นหลักบนต้นไม้ นานครั้งจึงจะลงมาบนพื้นดิน มีฤดูผสมพันธุ์ในเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม ออกลูกครั้งละ 2 ตัว ใช้โพรงไม้ในการเลี้ยงดูลูกอ่อน จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและชะมดแปลงลายจุด · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดแปลงลายแถบ

มดแปลงลายแถบ หรือ อีเห็นลายเมฆ เป็นชะมดแปลงชนิดหนึ่งที่มีการกระจายพันธุ์ในแถบมาเลเซียตะวันตก, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว และชวาตะวันตก รวมทั้งในประเทศไทยตั้งแต่บริเวณคอคอดกระลงไป ชะมดแปลงลายแถบ จัดเป็นชะมดที่ไม่มีต่อมกลิ่น มีลายเป็นแถบคดเคี้ยวขวางบริเวณหลังทั้งหมด 5 แถบ และตามด้านข้างของคอและลำตัว จุดจะติดกัน กลายเป็นแถบคดเคี้ยวมีอยู่ด้านละ 2 แถบ สีพื้นของตัวเป็นสีน้ำตาลแกมเหลืองซีด ๆ หางมีปล้องสีขาวสลับดำอยู่ 7 ปล้อง ไม่มีขนแผงคอหรือแผงหลัง มีขนาดตัวยาวจากหัวถึงหาง 74 เซนติเมตร อาศัยและหากินบนต้นไม้มากกว่าจะลงมาพื้นดิน กินอาหาร ได้แก่ กระรอก, หนู, นก และจิ้งจก มีฤดูผสมพันธุ์อยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม สร้างรังออกด้วยเรียวไม้และใบไม้อยู่ในโพรงดินโคนต้นไม้ใหญ่ ออกลูกครั้งละ 2–3 ตัว มีอายุยืนเกือบ 10 ปี เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและชะมดแปลงลายแถบ · ดูเพิ่มเติม »

ชะมดเช็ด

มดเช็ด หรือ ชะมดเชียง หรือ มูสัง (Indian small civet) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดหนึ่ง จัดเป็นชะมดขนาดเล็ก ขาสั้น หูทั้งสองข้างอยู่ใกล้กัน เมื่อมองไกล ๆ อาจคล้ายแมว จนตามลำตัวมีสีน้ำตาลเหลือง และมีจุดสีดำขนาดเล็กแทรกอยู่ทั่วไปตามลำตัว มีแถบสีดำและขาวบริเวณลำคอ หางมีวงสีดำ 6-9 ปล้องพาดขวางอยู่ ทำให้มีดูมีลักษณะเป็นปล้องสีดำ ไม่มีขนแผงสันหลัง ปลายหางมีสีขาว ขาหลังมีต่อมกลิ่นที่ใช้สื่อสารระหว่างพวกเดียวกัน และจัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล ViverriculaBlanford, W. T. (1888–91).

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและชะมดเช็ด · ดูเพิ่มเติม »

ชื่อสามัญ

ื่อสามัญ (Common name) หมายถึง ชื่อที่เรียกกันทั่วไปในการอนุกรมวิธานสิ่งมีชีวิต ใช้ชื่ออาจให้ชื่อตามลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ เช่น ต้นแปรงขวด, ว่านหางจระเข้ หรืออาจเรียกชื่อตามถิ่นกำเนิด เช่น ผักตบชวา, มันฝรั่ง หรืออาจเรียกตามชื่อที่อยู่ เช่น ดาวทะเล, ทากบก นอกจากนี้ในแต่ละถิ่นยังเรียกชื่อต่างกันเช่น แมลงปอ ภาคใต้เรียกว่า "แมงพี้" ภาคเหนือเรียก "แมงกะบี้" เป็นต้น ซึ่งชื่อสามัญอาจจะซ้ำซ้อนกันได้ จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อระบุให้ถูกต้อง.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและชื่อสามัญ · ดูเพิ่มเติม »

ฟัน

แสดงโครงสร้างของเหงือกและฟัน ฟัน เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องปากของคนและสัตว์ มีส่วนรากติดอยู่กับขากรรไกรและมีตัวฟันโผล่พ้นเหงือกออกมา ฟันเป็นอวัยวะที่เจริญมาจากเนื้อเยื้อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกล็ดปลา ฟันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อยอาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บด อาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพูดออกเสียงด้วย ลักษณะของฟันมีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะอาหารของสัตว์แต่ละประเภทเช่นเดียวกับวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น พืชนั้นยากที่จะย่อยดังนั้น สัตว์กินพืช (Herbivore) จึงต้องมีฟันกรามหลายซี่เพื่อใช้ในการเคี้ยว ส่วนสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) ต้องมีฟันเขี้ยวเพื่อฆ่าและฉีกเหยื่อและเนื้อนั้นให้ย่อยง่าย พวกมันจึงกลืนได้โดยที่ไม่ต้องใช้ฟันกรามเคี้ยวมากนัก.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและฟัน · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2364

ทธศักราช 2364 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1821.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและพ.ศ. 2364 · ดูเพิ่มเติม »

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและพืช · ดูเพิ่มเติม »

กลิ่นชะมด

''Moschus moschiferus'', กวางชะมดไซบีเรีย กลิ่นชะมด (Musk) เดิมเป็นชื่อเรียกสารที่มีกลิ่นแรงที่ได้มาจากต่อมของกวางชะมดตัวผู้ซึ่งอยู่ระหว่างท้องและอวัยวะเพศ สารนี้ใช้ในการทำน้ำหอมมาตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นสารจากสัตว์ที่มีราคาสูงที่สุดสารหนึ่งในโลก คำว่า “muṣká” มาจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า “อัณฑะ” ที่มาหมายถึงสารหลายอย่างที่มีกลิ่นคล้ายกันแม้ว่าจะมีโครงสร้างทางเคมีต่างกัน และอาจจะเป็นสารที่ได้จากสัตว์อื่นที่ไม่ใช่กวาง หรืออาจจะได้จากพืช หรือจากสิ่งที่ทำขึ้นที่ให้กลิ่นเดียวกับกลิ่นดังว่า กลิ่นชะมดธรรมชาติเป็นสิ่งที่ใช้ในการทำน้ำหอมกันอย่างกว้างขวางมาจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ปัญหาทางราคาและทางจริยธรรมทำให้ต้องหันกันมาใช้กลิ่นชะมดสังเคราะห์แทนที.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและกลิ่นชะมด · ดูเพิ่มเติม »

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

กาแฟ

กาแฟดำ ซึ่งบรรจุในถ้วย กาแฟ เป็นเครื่องดื่มที่ทำจากเมล็ดซึ่งได้จาก ต้นกาแฟ หรือมักเรียกว่า เมล็ดกาแฟ คั่ว มีการปลูกต้นกาแฟในมากกว่า 70 ประเทศทั่วโลก กาแฟเขียว (กาแฟซึ่งยังไม่ผ่านการคั่ว) เป็นหนึ่งในสินค้าทางการเกษตรซึ่งมีการซื้อขายกันมากที่สุดในโลก กาแฟมีส่วนประกอบของคาเฟอีน ทำให้มีสรรพคุณชูกำลังในมนุษย์ ปัจจุบันกาแฟเป็นเครื่องดื่มซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เป็นที่เชื่อกันว่าสรรพคุณชูกำลังจากเมล็ดของต้นกาแฟนั้นถูกพบเป็นครั้งแรกใน เยเมน แถบอาระเบีย และทางตะวันออกเฉียงเหนือของ เอธิโอเปีย และการปลูกต้นกาแฟในสมัยแรกได้แพร่ขยายในโลกอาหรับ หลักฐานบันทึกว่าการดื่มกาแฟได้ปรากฏขึ้นราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อันเป็นหลักฐานซึ่งเชื่อถือได้และเก่าแก่ที่สุด ถูกพบในวิหาร ซูฟี ในเยเมน แถบอาระเบีย จาก โลกมุสลิม กาแฟได้แพร่ขยายไปยังทวีปยุโรป อินโดนีเซีย และทวีปอเมริกา ในระหว่างที่กาแฟเริ่มเดินทางจากทวีปอเมริกาเหนือและตะวันออกกลางสู่ทวีปยุโรป กาแฟได้ถูกส่งผ่านไปยังซิซิลีและอิตาลีในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากนั้นผ่านตุรกีไปยังกรีซ ฮังการี และออสเตรียในตอนปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 จากอิตาลีและออสเตรีย กาแฟได้แพร่ขยายไปยังส่วนที่เหลือของทวีปยุโรป กาแฟได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในสังคมหลายแห่งตลอดประวัติศาสตร์ ในแอฟริกาและเยเมน มันถูกใช้ร่วมกับพิธีกรรมทางศาสนา ผลที่ตามมาคือ ศาสนจักรเอธิโอเปีย ได้สั่งห้ามการบริโภคกาแฟตลอดกาล จนกระทั่งถึงรัชสมัยของ จักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 มันยังได้ถูกห้ามใน จักรวรรดิออตโตมันระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 เนื่องจากสาเหตุทางการเมือง และมีส่วนเกี่ยวพันกับกิจกรรมทางการเมืองหัวรุนแรงในทวีปยุโรป ผลกาแฟ ซึ่งบรรจุเมล็ดกาแฟ เป็นผลผลิตจากไม้พุ่มไม่ผลัดใบขนาดเล็กใน จีนัส Coffea หลายสปีชีส์ โดยสายพันธุ์ที่มีการปลูกโดยทั่วไปมากที่สุด ได้แก่ Coffea arabica และกาแฟ "โรบัสต้า" ที่ได้จากชนิด Coffea canephora ซึ่งมีรสเข้มกว่า สายพันธุ์ดังกล่าวมีความทนทานต่อราสนิมใบกาแฟ (Hemileia vastatrix) ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง สายพันธุ์กาแฟทั้งคู่มีการปลูกในละตินอเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปแอฟริกา เมื่อสุกแล้ว ผลดังกล่าวจะถูกเก็บรวบรวม นำไปผ่านกรรมวิธีและทำให้แห้ง หลังจากนั้น เมล็ดจะถูกคั่วในอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรสชาติที่ต้องการ และจะถูกบดและบ่มเพื่อผลิตกาแฟ กาแฟสามารถตระเตรียมและนำเสนอได้ในหลายวิธี กาแฟเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของโลก โดยในปี คริสต์ศักราช 2004 กาแฟเป็นสินค้าการเกษตรส่งออกที่ทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งในจำนวน 12 ประเทศ และเป็นพืชที่มีการส่งออกอย่างถูกต้องตามกฎหมายซึ่งมีมูลค่าสูงที่สุดเป็นอันดับ 7 ของโลก ในปี คริสต์ศักราช 2005 กาแฟได้รับการโต้เถียงบางส่วนในด้านการเพาะปลูกต้นกาแฟและผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และมีการศึกษาจำนวนมากที่ระบุถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภคกาแฟกับข้อจำกัดทางยาอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ก็ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่ากาแฟให้คุณหรือให้โทษกันแน.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและกาแฟ · ดูเพิ่มเติม »

กาแฟขี้ชะมด

วไร่กาแฟขี้ชะมดที่เกาะสุมาตราแสดงมูลที่ชะมดถ่ายออกมา มีเมล็ดกาแฟอยู่ภายในแต่ยังไม่ได้ล้าง กาแฟขี้ชะมด หรือ กาแฟชะมด (Kopi Luwak, civet coffee) หมายถึงเมล็ดกาแฟที่สัตว์กลุ่มชะมดโดยเฉพาะคืออีเห็นข้างลาย (Paradoxurus hermaphroditus) ได้กินและถ่ายออกมาแล้ว นอกจากนั้นแล้ว ยังหมายถึงเครื่องดื่มกาแฟที่ทำมาจากเมล็ดกาแฟชนิดนี้ โดยที่คนอินโดนีเซียเรียกกาแฟชนิดนี้ว่า Kopi Luwak (โกปิ ลูวะก์) (ซึ่งคำว่า Kupi เป็นภาษาอินโดนีเซีย แปลว่า กาแฟ ส่วนคำว่า Luwak หมายถึงอีเห็นข้างลาย) มีราคาซื้อขายที่สูงมาก เมื่อขายปลีกเป็นกาแฟปรุงสำเร็จถ้วยละ 500-1,500 บาท และขายเป็นเมล็ดกาแฟ กิโลกรัมละ 100,000 บาท (ราคาในประเทศไทย) ผู้ผลิตการแฟอ้างว่า วิธีการที่ให้กำเนิดกาแฟนี้ เพิ่มคุณภาพผ่านกลไกสองอย่างคือ การคัดเลือกเมล็ด และการย่อย คือ ชะมดจะเลือกกินเมล็ดกาแฟซึ่งมีคุณภาพที่ดีกว่า และกลไกการย่อยของชะมดอาจจะเพิ่มรสชาติของเมล็ดกาแฟ คือ ชะมดจะกินเมล็ดกาแฟพร้อมกับเนื้อเข้าไป และจะเกิดการหมักในทางเดินอาหาร เอนไซม์ Protease ซึ่งช่วยย่อยโปรตีนจะซึมเข้าไปในเมล็ด ทำให้เกิดเพปไทด์ที่สั้นกว่าและจำนวนกรดอะมิโนอิสระที่มากกว่า ส่วนเมล็ดจะผ่านระบบทางเดินอาหารของตัวชะมดจนกระทั่งถ่ายออกมา ซึ่งชาวไร่จะเก็บและนำผ่านกระบวนการผลิตต่อไป วิธีการผลิตกาแฟดั้งเดิมที่เก็บมูลชะมดในป่า ได้เปลี่ยนไปเป็นกระบวนการขังชะมดไว้ในกรงแล้วบังคับให้กินเมล็ดกาแฟ ซึ่งได้สร้างปัญหาด้านจริยธรรมเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงชะมด เพราะชะมดถูกบังคับให้อยู่ใน "สิ่งแวดล้อมที่น่าสะพรึงกลัว" รวมทั้งการถูกขังแยก อาหารที่ไม่ดี กรงที่เล็ก และอัตราการตายในระดับสูง ในปี..

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและกาแฟขี้ชะมด · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาชวา

ษาชวา คือภาษาพูด ของผู้ที่อาศัยอยู่บนตอนกลางและตะวันออกของเกาะชวาในประเทศอินโดนีเซีย เป็นภาษาแม่ของมากกว่า 75,500,000 คน ภาษาชวาอยู่ในภาษากลุ่มออสโตรนีเซียน จึงสัมพันธ์กับภาษาอินโดนีเซียและภาษามลายู ผู้พูดภาษาชวา พูดภาษาอินโดนีเซียด้วย สำหรับวัตถุประสงค์ทางการและธุรกิจ และเพื่อสื่อสารกับชาวอินโดนีเซียอื่น ๆ มีชุมชนผู้พูดภาษาชวาขนาดใหญ่ในประเทศมาเลเซีย โดยเฉพาะรัฐเซอลาโงร์และยะโฮร์ (คีร์ โตโย รัฐมนตรีของเซอลาโงร์ เป็นชนพื้นเมืองของชวา) อย่างไรก็ดี ภาษาชวาไม่สามารถเข้าใจกันกับภาษามลายูได้.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและภาษาชวา · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามลายู

ษามลายู (Bahasa Melayu) เป็นภาษาหลักภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน มีสถานะเป็นภาษาราชการในบรูไน, มาเลเซีย, สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย มีผู้พูดประมาณ 200–250 ล้านคน (ณ ปี พ.ศ. 2552) โดยเป็นภาษาแม่ของผู้คนตลอดสองฟากช่องแคบมะละกา ซึ่งได้แก่ ชายฝั่งคาบสมุทรมลายูของมาเลเซียและชายฝั่งตะวันออกของเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และได้รับการยอมรับเป็นภาษาแม่ในชายฝั่งตะวันตกของซาราวะก์และกาลีมันตันตะวันตกในเกาะบอร์เนียว นอกจากนี้ยังใช้เป็นภาษาการค้าในภาคใต้ของฟิลิปปินส์ ซึ่งได้แก่ ตอนใต้ของคาบสมุทรซัมบวงกา, กลุ่มเกาะซูลู และเมืองบาตาราซาและบาลาบัก (ซึ่งมีชาวมุสลิมอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่) ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะปาลาวัน ในฐานะที่เป็นภาษาประจำชาติ (Bahasa Kebangsaan หรือ Bahasa Nasional) ของรัฐเอกราชหลายรัฐ ภาษามลายูมาตรฐานมีชื่อทางการแตกต่างกันไป ในบรูไนและสิงคโปร์เรียกว่า "ภาษามลายู" (Bahasa Melayu) ในมาเลเซียเรียกว่า "ภาษามาเลเซีย" (Bahasa Malaysia) และในอินโดนีเซียเรียกว่า "ภาษาอินโดนีเซีย" (Bahasa Indonesia) อย่างไรก็ตาม ในหลายพื้นที่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะสุมาตราที่ซึ่งภาษามลายูเป็นภาษาพื้นเมือง ชาวอินโดนีเซียจะเรียกภาษานี้ว่า "ภาษามลายู" และมองว่าเป็นภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาประจำภูมิภาคของตน ภาษามลายูมาตรฐาน (หรือที่เรียกว่าภาษามลายูราชสำนัก) เคยเป็นวิธภาษามาตรฐานในวรรณกรรมของรัฐสุลต่านมะละกาและยะโฮร์สมัยก่อนอาณานิคม ดังนั้น บางครั้งจึงเรียกว่าภาษานี้ว่าภาษามลายูมะละกา, ภาษามลายูยะโฮร์ หรือภาษามลายูเรียว (หรือชื่ออื่น ๆ ที่ใช้ชื่อเหล่านี้ประกอบกัน) เพื่อแยกให้แตกต่างกับภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาในกลุ่มภาษามลายู จากข้อมูลของเอ็ทนอล็อก (Ethnologue) วิธภาษามลายูต่าง ๆ ซึ่งในปัจจุบันมีรายชื่อเป็นภาษาแยกต่างหาก (รวมถึงวิธภาษาโอรังอัซลีในมาเลเซียตะวันตก) มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกับภาษามลายูมาตรฐานมากจนอาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นภาษาถิ่นของภาษาเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีภาษามลายูการค้าและภาษาครีโอล (creole) จากภาษามลายูอีกจำนวนมากซึ่งมีพื้นฐานจากภาษากลางที่พัฒนามาจากภาษามลายูตามแบบแผนดั้งเดิม เช่นเดียวกับภาษามลายูมากัสซาร์ซึ่งปรากฏว่าเป็นภาษาผสม.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและภาษามลายู · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นอีสาน

ษาไทยถิ่นอีสาน หรือ ภาษาลาวอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เป็นภาษาลาวสำเนียงหนึ่งในสำเนียงภาษาถิ่นของภาษาลาวซึ่งแบ่งเป็น 6 สำเนียงใหญ่ คือ.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและภาษาไทยถิ่นอีสาน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทยถิ่นใต้

ษาไทยถิ่นใต้ หรือ ภาษาตามโพร (Dambro) เป็นภาษาถิ่น ที่ใช้ในภาคใต้ของประเทศไทย นับแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงชายแดนประเทศมาเลเซียรวม 14 จังหวัด และตอนล่างของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อีกทั้งบางหมู่บ้าน ในรัฐกลันตัน, รัฐปะลิส, รัฐเกอดะฮ์ (ไทรบุรี), รัฐเประก์ และรัฐตรังกานู ประเทศมาเลเซีย รวมถึงบางหมู่บ้าน ในเขตตะนาวศรี ทางตอนใต้ของประเทศพม่าด้วย ภาษาไทยถิ่นใต้ มีเพียงภาษาพูดเท่านั้น ไม่มีตัวอักษรเขียนเฉ.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและภาษาไทยถิ่นใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปใต้

รปใต้ ยุโรปใต้เป็นภูมิภาคหนึ่งในทวีปยุโรป ซึ่งมีดินแดนติดต่อกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและอยู่ในคาบสมุทรใหญ่ 3 คาบสมุทรคือ คาบสมุทรไอบีเรีย คาบสมุทรอิตาลี คาบสมุทรบอลข่าน อยู่ในละติจูดที่ 35 องศาเหนือถึง 47 องศาเหนือ มีพื้นที่ประมาณ 1,316,290 ตารางกิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเชื้อสายเมดิเตอร์เรเนียน ประกอบไปด้วย 16 ประเทศดังนี้.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและยุโรปใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ลินเส็ง

ลินเส็ง (Linsang) เป็นภาษาชวาที่หมายถึง ชะมด หรืออีเห็น แต่จริง ๆ แล้วลินเส็งหมายถึง ชะมดแปลง ซึ่งเป็นชะมดที่ไม่มีต่อมกลิ่นเหมือนชะมดหรืออีเห็นทั่วไป ลินเส็ง แบ่งออกได้เป็น 2 สกุล คือ.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและลินเส็ง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยชะมด

วงศ์ย่อยชะมด เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์ชะมดและอีเห็น (Viverridae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Viverrinae นับเป็นวงศ์ย่อยที่มีสมาชิกที่หลากหลายและมากที่สุดในวงศ์นี้ แบ่งออกได้เป็น 22 ชนิด พบกระจายพันธุ์ทั้งในทวีปแอฟริกาและเอเชีย ขนาดความยาวสูงสุดได้ถึง 84 เซนติเมตร (33 นิ้ว) น้ำหนัก 18 กิโลกรัม (40 กรัม) พบในแอฟริกา เป็นสัตว์ที่มีฟันแหลม สามารถเขียนเป็นสูตรได้ว.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและวงศ์ย่อยชะมด · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยอีเห็น

วงศ์ย่อยอีเห็น เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์กินเนื้อ ในวงศ์ชะมดและอีเห็น (Viverridae) ใช้ชื่อวงศ์ว่า Paradoxurinae การจำแนก.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและวงศ์ย่อยอีเห็น · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยอีเห็นลายเสือโคร่ง

วงศ์ย่อยอีเห็นลายเสือโคร่ง เป็นวงศ์ย่อยของสัตว์กินเนื้อขนาดเล็ก ในวงศ์ชะมดและอีเห็น (Viverridae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemigalinae สามารถจำแนกได้ดังนี้.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและวงศ์ย่อยอีเห็นลายเสือโคร่ง · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์เสือและแมว

วงศ์เสือและแมว (Cat, Felid, Feline) เป็นวงศ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภท เสือ, สิงโต, ลิงซ์ และแมว โดยทั้งหมดอยู่ในอันดับสัตว์กินเนื้อ (Carnivora) โดยปรากฏครั้งแรกในสมัยโอลิโกซีน เมื่อประมาณ 30 ล้านปีก่อน ใช้ชื่อวงศ์ว่า Felidae.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและวงศ์เสือและแมว · ดูเพิ่มเติม »

สมัยอีโอซีน

''Basilosaurus'' ''Prorastomus'', an early sirenian สมัยอีโอซีน (Eocene) เป็นสมัยหนึ่งของยุคพาลีโอจีนในธรณีกาลระหว่าง 56 ถึง 33.9 ล้านปีก่อนถึงปัจจุบัน สมัยอีโอซีนเป็นสมัยที่สองของยุคพาลีโอจีน ซึ่งเป็นยุคแรกของมหายุคซีโนโซอิก สมัยอีโอซีนต่อมาจากสมัยพาลีโอซีนและตามด้วยสมัยโอลิโกซีน ชื่อ Eocene มาจากกรีกโบราณἠώς (ēṓs, "รุ่งอรุณ") และκαινός (kainós, "ใหม่") และหมายถึง "รุ่งอรุณ" ของสัตว์สมัยใหม่ที่ปรากฏในช่วงยุคนี้.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและสมัยอีโอซีน · ดูเพิ่มเติม »

สมุนไพร

ต้นหอม สมุนไพรที่ใช้ในการปรุงอาหาร สมุนไพร หมายถึง "ผลิตผลธรรมชาติ ได้จาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ ที่ใช้เป็นยา หรือผสมกับสารอื่นตามตำรับยา เพื่อบำบัดโรค บำรุง ร่างกาย หรือใช้เป็นยาพิษ" หากนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า ยา ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า เภสัชวัตถุ พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและสมุนไพร · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์กินเนื้อ

ัตว์กินเนื้อ หรือ คาร์นิวอรา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Order Carnivora) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม หมายถึงสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหารหลัก ไม่ว่าเนื้อสัตว์นั้นจะมาจากสัตว์ที่มีชีวิตอยู่หรือว่าตายแล้ว สัตว์บางชนิดจำเป็นที่จะต้องกินเนื้อเพื่อความอยู่รอด อันเนื่องมาจากพันธุกรรม เราเรียกสัตว์ในกลุ่มนี้ว่า "true carnivore" (สัตว์กินเนื้อแท้) หรือ "obligate carnivores" (สัตว์กินเนื้อโดยบังคับ) สัตว์ในกลุ่มนี้อาจกินพืชผักหรืออาหารชนิดอื่นได้ แต่มันจะต้องกินเนื้อเพื่อเป็นแหล่งสารอาหารหลักของมัน กายวิภาคของสัตว์ในกลุ่มนี้ ทำให้มันไม่สามารถย่อยอาหารจำพวกพืชได้อย่างมีประสิท.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและสัตว์กินเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์น้ำ

ัตว์น้ำ (aquatic animal) หมายถึง สัตว์ที่อาศัยในน้ำหรือมีวงจรชีวิตส่วนหนึ่งอยู่ในน้ำหรืออาศัยอยู่ในบริเวณที่น้ำท่วมถึง เช่น ปลา กุ้ง ปู แมงดาทะเล หอย เต่า ตะพาบน้ำ จระเข้ รวมทั้งไข่ของสัตว์น้ำนั้น สัตว์น้ำจำพวกเลี้ยงลูกด้วยนม ปลิงทะเล ฟองน้ำ หินปะการัง กัลปังหา และสาหร่ายทะเล ทั้งนี้ รวมทั้งซากหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของสัตว์น้ำเหล่านั้น และหมายความรวมถึงพันธุ์ไม้น้ำ ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีการะบุชื่อ.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและสัตว์น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

ัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammalia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Mammalia มาจากคำว่า Mamma ที่มีความหมายว่า "หน้าอก" เป็นกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ที่มีการวิวัฒนาการและพัฒนาร่างกายที่ดีหลากหลายประการ รวมทั้งมีระบบประสาทที่เจริญก้าวหน้า สามารถดำรงชีวิตได้ในทุกสภาพสิ่งแวดล้อมสัตววิทยา (สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม), บพิธ-นันทพร จารุพันธุ์, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2547, หน้า 411 มีขนาดของร่างกายและรูปพรรณสัณฐานที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย ที่มีการปรับเปลี่ยนไปตามลักษณะของสายพันธุ์ มีลักษณะเด่นคือมีต่อมน้ำนมที่มีเฉพาะในเพศเมียเท่านั้น เพื่อผลิตน้ำนมเพื่อใช้เลี้ยงลูกวัยแรกเกิด เป็นสัตว์เลือดอุ่น มีขนเป็นเส้น ๆ (hair) หรือขนอ่อน (fur) ปกคลุมทั่วทั้งร่างกาย เพื่อเป็นการรักษาอุณหภูมิในร่างกาย ยกเว้นสัตว์น้ำที่ไม่มีขน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ไม่จัดอยู่ในประเภทสัตว์กลุ่มใหญ่ คือมีจำนวนประชากรประมาณ 4,500 ชนิด ซึ่งถือว่าเป็นปริมาณน้อยมากเมื่อเทียบกับนก ที่มีประมาณ 9,200 ชนิด และปลาอีกประมาณ 20,000 ชนิด รวมทั้งแมลงอีกประมาณ 800,000 ชนิด ส่วนใหญ่เป็นสัตว์บก เช่น สุนัข ช้าง ลิง เสือ สิงโต จิงโจ้ เม่น หนู ฯลฯ สำหรับสัตว์น้ำที่จัดเป็นเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ได้แก่ โลมา วาฬ มานาทีและพะยูน แต่สำหรับสัตว์ปีกประเภทเดียวที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมคือค้างคาว ซึ่งกระรอกบินและบ่างนั้น ไม่จัดอยู่ในประเภทของสัตว์ปีก เนื่องจากใช้ปีกในการร่อนไปได้เพียงแค่ระยะหนึ่งเท่านั้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ออกลูกเป็นตัว ยกเว้นตุ่นปากเป็ดและอีคิดนาเท่านั้นที่ออกลูกเป็น.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม · ดูเพิ่มเติม »

สารเคมี

รเคมี (chemical substance) เป็นสสารวัสดุ ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือได้จากกระบวนการเคมี อาท.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและสารเคมี · ดูเพิ่มเติม »

สีดำ

ีดำ เป็นสีของวัตถุที่ไม่สะท้อนแสงที่สเปกตรัมสะท้อนออกมา วัตถุสีดำจะดูดกลืนทุกสีในสเปกตรัม จึงไม่สะท้อนสีใด ๆ ออกมาเลย หลายคนคิดว่าสีดำคือ "การผสมทุกสีเข้าด้วยกัน" แต่ความเป็นจริงแล้ว สีที่สามารถสะท้อนแสงคืนได้หมดทุกสีคือ สีขาว บางครั้งสีดำบ่งบอกถึงความว่างเปล่า และไม่มีสีสัน แต่สีดำเป็นสีสีหนึ่ง สามารถบ่งบอกคุณลักษณ์ต่างๆ ของวัตถุ เช่น แมวสีดำ หรือภาพศิลป์สีดำ.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและสีดำ · ดูเพิ่มเติม »

สีน้ำตาล

ีน้ำตาล (Brown) เป็นสีชนิดหนึ่งที่คล้ายกับสีของลำต้นของต้นไม้ ออกสีส้มแก่ๆ ผสมกับสีเขียวไปด้วย พบเห็นได้ทั่วไป เช่น กิ่งและลำต้นของต้นไม้ เป็นต้น เป็นสีที่ไม่ค่อยจะสะท้อนแสงเท่าไรนัก จัดอยู่ในกลุ่มจำพวกสีเย็น.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและสีน้ำตาล · ดูเพิ่มเติม »

สีเทา

ีเทา เป็นสีที่อยู่ระหว่างสีขาวและสีดำซึ่งเป็นสีที่ไม่มีสีสัน สีเทาในภาษาอังกฤษสะกดได้สองอย่างคือ grey (อังกฤษบริเตน) และ gray (อังกฤษอเมริกัน) ไทยสมัยโบราณมีคำเรียก "สีเหล็ก" หมายถึงสีเทาออกดำ.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและสีเทา · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

หมา

หมา หรือคำสุภาพว่า สุนัข (ชื่อวิทยาศาสตร์: malie suimak หรือ Canis familiaris)Wang, Xiaoming; Tedford, Richard H.; Dogs: Their Fossil Relatives and Evolutionary History.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและหมา · ดูเพิ่มเติม »

หมีขอ

หมีขอ หรือ บินตุรง หรือ หมีกระรอก (Binturong, Bearcat;; อีสาน: เหง็นหางขอ, เหง็นหมี) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม แม้จะมีหน้าตาคล้ายหมีจนได้ชื่อว่าหมี แต่เป็นสัตว์จำพวกชะมดและอีเห็น (Viverridae) ที่ใหญ่ที่สุด จัดเป็นสัตว์เพียงชนิดเดียวในสกุล Arctictis มีหางยาวเป็นพวงคล้ายกระรอก ขนตามลำตัวค่อนข้างยาวสีดำและหยาบ สีขนบริเวณหัวอาจมีสีเทา หูกลม บริเวณขอบหูมีสีขาว หางที่ยาวสามารถใช้เกาะเกี่ยวต้นไม้ได้เป็นอย่างดี มีความยาวลำตัวและหัว 61-96.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 50-84 เซนติเมตร น้ำหนัก 9-20 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูฐาน, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ภาคตะวันตกของพม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, พรมแดนระหว่างเวียดนามติดกับลาวและกัมพูชา, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียวในอินโดนีเซีย และเกาะปาลาวันในฟิลิปปินส์ หมีขอเป็นสัตว์หากินในเวลากลางคืน อาศัยและหากินตามลำพัง แต่ในบางครั้งอาจอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ประกอบไปด้วย แม่และลูก ในเวลากลางวันจะอาศัยโพรงไม้เป็นที่หลับนอน อาหารได้แก่ ผลไม้และสัตว์ที่มีขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ บนต้นไม้ทั้งแมลงและสัตว์เลื้อยคลาน ปีนต้นไม้ได้เก่งมาก โดยใช้หางที่ยาวเกาะเกี่ยวกิ่งไม้จากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง นอกจากนี้ยังสามารถว่ายน้ำได้อีกด้วย มีการผสมพันธุ์กันได้ตลอดทั้งปี ใช้เวลาตั้งท้องนาน 92 วัน ออกลูกครั้งละ 1-3 ตัว หมีขอตัวเมียจะมีเต้านมทั้งหมด 2 คู่ ลูกที่เกิดใหม่ยังไม่สามารถขาและหางเกี่ยวกิ่งไม้ได้ชำนาญเหมือนตัวพ่อแม่ หมีขอเป็นสัตว์ที่เลี้ยงตั้งแต่เล็กแล้วจะเชื่อง จนสามารถนำมาฝึกให้แสดงโชว์ต่าง ๆ ได้ตามสวนสัตว์ สถานะปัจจุบันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ 2 ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและหมีขอ · ดูเพิ่มเติม »

อวัยวะเพศ

อวัยวะเพศ (sex organ) หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ (reproductive organ, primary sex organ, primary sexual characteristic) เป็นโครงสร้างทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ในร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่มีความซับซ้อน และเป็นส่วนหนึ่งของระบบสืบพันธุ์ อวัยวะที่เห็นได้จากด้านนอกในเพศหญิงและชายเรียกว่าเป็น อวัยวะเพศปฐมภูมิ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ (genitals, genitalia) ส่วนอวัยวะภายในเรียกว่าเป็น อวัยวะเพศทุติยภูมิ หรือ อวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ลักษณะที่เริ่มเกิดขึ้นในวัยเริ่มเจริญพันธุ์ เช่น ขนหัวหน่าวในผู้หญิงและผู้ชาย และหนวดในผู้ชาย เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางเพศทุติยภูมิ (secondary sex characteristics) มอสส์, เฟิร์น และพืชบางชนิดที่คล้ายกันมีอับเซลล์สืบพันธุ์ (gametangia) เป็นอวัยวะสืบพันธุ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแกมีโทไฟต์ (gametophyte) ดอกไม้ของพืชดอกสร้างละอองเรณูและเซลล์ไข่ ทว่าอวัยวะเพศอยู่ข้างในแกมีโทไฟต์ภายในละอองเรณูและออวุล (ovule) พืชจำพวกสนก็ผลิตโครงสร้างการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศข้างในแกมีโทไฟต์ภายในลูกสนและละอองเรณู โดยลูกสนและละอองเรณูเองไม่ใช่อวัยว.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและอวัยวะเพศ · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็น

อีเห็น หรือ กระเห็น(Palm civet.; อีสาน: เหง็น; ใต้: มูสัง) เป็นสกุลของสัตว์กินเนื้อสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Paradoxurus ในวงศ์ชะมดและอีเห็น (Viverridae) อีเห็น มีความแตกต่างจากชะมด (Viverra spp.) ซึ่งเป็นสัตว์อีกสกุลในวงศ์นี้ คือ อุ้งตีนมีลักษณะเหมาะสมสำหรับการปีนป่าย โดยเฉพาะนิ้วที่ 3 และ 4 ของตีนหลังบางส่วนมีพังผืดเชื่อมติดกัน อุ้งตีนแยกออกเป็น 4 ส่วน อีเห็นจะมีนิ้วตีนทั้งหมดที่อุ้งตีนข้างละ 5 นิ้ว มีเล็บคมยาวไว้ปีนป่าย ขนาดอุ้งตีนของอีเห็นจะเล็กกว่าชะมด เพราะอีเห็นจะปีนป่ายต้นไม้หากินมากกว่าชะมด ที่หากินตามพื้นดิน แต่ทั้ง 2 สกุลนี้ เมื่อลงพื้นดิน โดยเฉพาะดินที่อ่อนนุ่ม จะฝากรอยเท้าทิ้งเอาไว้ให้สังเกตเห็นได้ง่าย อีกทั้ง อีเห็นจะเป็นสัตว์กินพืชและผลไม้มากกว่าชะมด ขณะที่ชะมดจะกินสัตว์ต่าง ๆ เช่น กบ หรือเขียด หรือปลา เป็นอาหารมากกว่าพืช อีเห็น เป็นสัตว์ที่กระจายพันธุ์ทั้งแต่เอเชียใต้ จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งที่เป็นแผ่นดินใหญ่ และหมู่เกาะต่าง ๆ นอกจากนี้แล้วในบางประเทศ เช่น อินโดนีเซีย หรือ เวียดนาม มีการเลี้ยงอีเห็นในสกุลนี้ให้กินเมล็ดกาแฟ เมื่อถ่ายมูลออกมาแล้ว เมล็ดกาแฟจะไม่ถูกย่อยสลาย จะออกมาเป็นเมล็ดเหมือนเดิม จากนั้นจะนำไปล้างและคั่วเป็นกาแฟสำหรับจำหน่าย ซึ่งกาแฟลักษณะนี้เรียกว่า "กาแฟขี้ชะมด" เป็นกาแฟที่มีรสชาติกลมกล่อม หอมหวาน อร่อยกว่ากาแฟทั่วไป จึงมีราคาขายที่แพงกว่ากาแฟปกติทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากในระบบย่อยอาหารของอีเห็นมีเอนไซม์ที่ทำให้เมล็ดกาแฟมีรสชาติที่หอมหวาน.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและอีเห็น · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นลายเสือโคร่ง

อีเห็นลายเสือโคร่ง หรือ อีเห็นลายพาด (Banded palm civet) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่งในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemigalus derbyanus มีรูปร่างหน้าตาเหมือนสัตว์จำพวกอีเห็นหรือชะมดทั่วไป แต่มีหน้ายาวและมีรูปร่างเพรียวบางกว่า ขนตามลำตัวสีน้ำตาลอ่อน มีลักษณะเด่น คือ มีแถบสีดำ 7-8 แถบพาดขวางลำตัว โดยแถบดังกล่าวมีรูปทรงเป็นสามเหลี่ยมยาว ๆ และมีแถบสีดำพาดยาวผ่านใบหน้าและหน้าผาก 2 เส้น ด้านล่างของลำตัวและขามีสีอ่อนกว่าบริเวณหลัง มีหูยาวและมีประสิทธิภาพในการฟังเสียงที่สูง ตามีขนาดใหญ่ ส่วนโคนหางจะมีแถบสีดำเป็นปล้อง ๆ มีต้อมกลิ่นขนาดเล็ก สามารถหดเล็บเก็บได้เหมือนพวกแมว มีความยาวลำตัวและหัว 45-50 เซนติเมตร ความยาวหาง 25-32.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 1-3 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่ภาคใต้ของพม่า ภาคตะวันตกและภาคใต้ของไทย, มาเลเซีย, เกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว มักอาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นใกล้แหล่งน้ำ มักอาศัยและออกหากินตามลำพัง นอกจากในฤดูผสมพันธุ์ หรือ มีลูกอ่อนที่อาจพบว่ามีอยู่ด้วยกัน 2 หรือ 3 ตัว ออกหากินในเวลากลางคืน มีลิ้นที่สากเหมือนพวกแมว กินสัตว์ขนาดเล็กจำพวกแมลง, ไส้เดือน, มด, แมงมุม, สัตว์น้ำขนาดเล็ก หอยทาก รวมทั้งพืช อย่าง ผลไม้เป็นต้น ปัจจุบัน การศึกษานิเวศวิทยาของอีเห็นลายเสือโคร่งนั้นยังมีอยู่น้อยมาก เนื่องจากเป็นสัตว์ที่พบเห็นตัวได้ยาก เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและอีเห็นลายเสือโคร่ง · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นหน้าขาว

อีเห็นหน้าขาว หรือ อีเห็นหูด่าง (Small-toothed palm civet) เป็นสัตว์จำพวกชะมดและอีเห็น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Arctogalidia trivirgata มีรูปร่างหน้าตาคล้ายอีเห็นเครือ (Paguma larvata) แต่มีขนาดเล็กกว่า มีสีขนที่แตกต่างหลากหลายออกไป ในบางตัวอาจมีสีน้ำตาลแดง บางตัวเป็นสีน้ำตาลดำ มีลักษณะเด่นคือ ขอบใบหูจะมีสีขาว บริเวณหลังมีแถบสีดำ 3 เส้นพาดเป็นทางยาวจนถึงโคนหาง บางตัวอาจมีลายเส้นสีขาวพาดยาวมาจรดปลายจมูก หางมีความยาวมากใช้สำหรับทรงตัวบนต้นไม้ ตัวเมียจะมีเต้านม 2 คู่ และมีต่อมกลิ่นด้วย มีความยาวลำตัวและหัว 43-53 เซนติเมตร ความยาวหาง 51-56 เซนติเมตร น้ำหนัก 2-2.5 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ตั้งแต่รัฐอัสสัม, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวาและเกาะบอร์เนียว มีชนิดย่อยทั้งหมด 14 ชนิด (ดูในตาราง) มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ในป่าที่อุดมสมบูรณ์ เช่น ป่าดิบชื้น, ป่าเบญจพรรณ ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ตามลำพังและหากินบนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นในช่วงผสมพันธุ์หรือมีลูกอ่อนที่จะอยู่ด้วยกันเป็นคู่ ออกหากินในเวลากลางคืน มีความปราดเปรียวว่องไวกว่าอีเห็นธรรมดา (Paradoxurus hermaphroditus) มาก โดยมักล่าสัตว์ที่อยู่บนต้นไม้เป็นอาหาร เช่น หนู, กระรอก, นก และช่วยควบคุมปริมาณกระรอกที่ทำลายสวนมะพร้าวไม่ให้มีมากไป สามารถผสมพันธุ์ได้ทั้งปี ใช้เวลาตั้งท้องนาน 45 วัน ออกลูกครั้งละ 2-3 ตัว จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและอีเห็นหน้าขาว · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นข้างลาย

อีเห็นข้างลาย หรือ อีเห็นธรรมดา หรือ มูสังหอม ในภาษาใต้ (Asian palm civet) เป็นอีเห็นขนาดเล็ก สีขนตามลำตัวเป็นสีเทาเข้มจนเกือบดำ ยกเว้นบริเวณรอบจมูก หู ขา และปลายหางมีสีดำมีลายสีขาวพาดขวางบริเวณหน้าผาก หลังมีจุดเล็ก ๆ สีดำเรียงตัวเป็นแนวยาว 3 เส้น จากไหล่ถึงโคนหาง หางมีความยาวพอ ๆ กับลำตัว ขนปลายหางบางตัวอาจมีสีขาว มีต่อมน้ำมันและจะส่งกลิ่นออกมาเมื่อเวลาตกใจ ซึ่งต่อมน้ำมันนี้จะแตกต่างจากชะมดหรืออีเห็นชนิดอื่น ๆ ตัวเมียมีเต้านม 3 คู่ มีความยาวลำตัวและหัว 43–71 เซนติเมตร ความยาวหาง 40.6–66 เซนติเมตร น้ำหนัก 2–5 กิโลกรัม อีเห็นข้างลายมีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวางมาก โดยพบตั้งแต่รัฐชัมมูและกัศมีร์ และภาคใต้ของอินเดีย, ศรีลังกา, เนปาล, รัฐสิกขิม, ภูฏาน, พม่า, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, เกาะสุมาตรา, เกาะชวา, เกาะบอร์เนียว, เกาะซูลาเวซี และหมู่เกาะซุนดาน้อย และมีชนิดย่อยมากถึง 30 ชนิด (ดูในตาราง) มีพฤติกรรมมักอาศัยและหากินตามลำพัง สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ ตั้งแต่ ป่าดิบชื้น, ป่าดิบแล้ง ไปจนถึงชายป่าที่ใกล้กับพื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์ กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ เช่น สัตว์ขนาดเล็กจำพวกแมลง และน้ำหวานของเกสรดอกไม้ ออกหากินในเวลากลางคืน นอนหลับในเวลากลางวัน ใช้เวลาส่วนมากตามพื้นดินและจะใช้เวลาน้อยมากอยู่บนต้นไม้ ออกลูกครั้งละ 2–4 ตัว โดยจะเลี้ยงลูกอ่อนไว้ตามโพรงไม้หรือโพรงหิน อีเห็นข้างลายไม่ได้ถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2546 ปัจจุบันทางสวนสัตว์เชียงใหม่ได้มีโครงการในการเพาะเลี้ยงอีเห็นข้างลาย เพื่อผลิต "กาแฟขี้ชะมด" ซึ่งเป็นกาแฟที่ได้จากมูลของอีเห็นข้างลาย มีราคาซื้อขายที่สูงมาก และในการเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์ในการนี้ที่จังหวัดตรังโดยเอกชนด้วยหน้า 27, อะเมซซิง..."กาแฟขี้ชะมดตรัง" โดย มนตรี สังขาว.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและอีเห็นข้างลาย · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นน้ำมลายู

อีเห็นน้ำมลายู หรือ อีเห็นน้ำซุนดา (Otter civet) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีกระดูกสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่ในอันดับสัตว์กินเนื้อ มีรูปร่างอ้วน ขาสั้น ขนตามลำตัวเป็นสีน้ำตาลเข้ม หรือดำสนิท ลักษณะเด่นคือ หัวค่อนข้างแบน จมูกและปากยื่นออกมามีสีขาว จมูกมีขนาดใหญ่ รูจมูกด้านบนเปิดขึ้นและสามารถปิดได้เมื่ออยู่ใต้น้ำ ใบหูมีขนาดเล็กและมีลิ้นปิดหูไม่ให้น้ำเข้าขณะว่ายน้ำ ห่างค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบกับความยาวลำตัว มีพังผืดยืดระหว่างนิ้วคล้ายกับนิ้วเท้าของนากเล็กเล็บสั้น (Amblonyx cinerea) มีความยาวลำตัวและหัว 70-80 เซนติเมตร ความยาวหาง 12-20 เซนติเมตร น้ำหนัก 3-5 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์อยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำของภาคใต้ของไทย, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะชวาและเกาะบอร์เนียว มีพฤติกรรมอาศัยและหากินตามลำพัง โดยล่าพวกสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เช่น กุ้ง, หอย, ปู, ปลา และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เช่น หนู สามารถปรับตัวให้อาศัยแบะหากินอยู่ในน้ำได้ดีเช่นเดียวกับนาก มักอาศัยอยู่ในป่าพรุหรือพื้นที่ชุ่มน้ำอื่น ๆ ปีนต้นไม้ได้เก่ง บางครั้งพบว่าอาจปีนต้นไม้เพื่อกินผลไม้สุกได้.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและอีเห็นน้ำมลายู · ดูเพิ่มเติม »

อีเห็นเครือ

อีเห็นเครือ (Masked palm civet) สัตว์จำพวกชะมดและอีเห็นชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Paguma larvata จัดเป็นสัตว์ขนาดใหญ่ในสัตว์จำพวกนี้ ขนตามลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ไม่มีจุดหรือลวดลายใด ๆ บริเวณท้องมีสีอ่อนกว่าส่วนหลัง หลังหูและหลังคอมีสีเข้ม ม่านตามีสีน้ำตาลแดง มีหนวดเป็นเส้นยาวบริเวณจมูกและแก้ม ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย ตัวเมียมีเต้านม 2 คู่ ขนาดลำตัวและหัวยาว 50.8-76.2 เซนติเมตร ความยาวหาง 50.8-63.6 เซนติเมตร น้ำหนัก 3-5 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง พบตั้งแต่ภาคเหนือของอินเดีย, ปากีสถาน, ตะวันออกของอัฟกานิสถาน, ไต้หวัน, ตะวันออกของจีน, ไทย, ลาว, กัมพูชา, เวียดนาม, มาเลเซีย, เกาะสุมาตรา, เกาะบอร์เนียว, ตะวันตกของพม่า, สิกขิม, ภูฐาน, เนปาล มีชนิดย่อยทั้งหมด 4 ชนิด (ดูในตาราง) สามารถปรับตัวให้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายได้ ตั้งแต่ป่าเบญจพรรณ, ป่าดิบแล้ง ไปจนถึงชายป่าที่ติดกับพื้นที่ทำการเกษตรกรรม สามารถปีนต้นไม้ได้คล่องแคล่ว และจะใช้เวลาส่วนใหญ่บนต้นไม้ โดยจะกินทั้งพืชและสัตว์ แต่ในบางครั้งอาจมาหากินบนพื้นดินด้วย จากการศึกษาในเนปาลพบว่า มีการผสมพันธุ์กันในฤดูร้อน โดยในช่วงปลายฤดูฝนอีเห็นเครือตัวเมียจะสร้างรังในโพรงไม้ เพื่อใช้เลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาตั้งท้องนาน 2 เดือน ออกลูกครั้งละ 2-4 ตัว อีเห็นเครือถูกสันนิษฐานว่าเป็นสัตว์ที่เป็นต้นตอแพร่เชื้อของโรคซาร์สที่ระบาดในฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่ ในช่วงปี พ.ศ. 2546 เพราะชาวจีนนิยมกินเนื้ออีเห็นเครือและสัตว์ในตระกูลนี้มาก ถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและอีเห็นเครือ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดเพชรบูรณ์

ังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางตอนบนของประเทศไทย มีพื้นที่ประมาณ 12,668 ตารางกิโลเมตร ซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 9 ของประเทศ มีประชากร 994,397 คน แบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ และมีเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์เป็นศูนย์กลางของจังหวัด เป็นจังหวัดที่มีทรัพยากรธรรมชาติ มีความอุดมสมบูรณ์ และมีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและจังหวัดเพชรบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอฟริกา

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปแอฟริกา ภาพถ่ายทวีปแอฟริกาจากนอกโลก แอฟริกา (Africa) เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมดSayre, April Pulley.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและทวีปแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปเอเชีย

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชีย เอเชีย (Asia; Ασία อาเซีย) เป็นทวีปใหญ่และมีประชากรมากที่สุดในโลก พื้นที่ส่วนมากตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชียตั้งอยู่ในทวีปยูเรเชียรวมกับทวีปยุโรป และอยู่ในทวีปแอฟโฟร-ยูเรเชียร่วมกับยุโรปและแอฟริกา ทวีปเอเชียมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 44,579,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 30% ของแผ่นดินทั่วโลกหรือคิดเป็น 8.7% ของผิวโลกทั้งหมด ทวีปเอเชียเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มานานและเป็นแหล่งกำเนินอารยธรรมแรก ๆ ของโลกหลายแห่ง เอเชียไม่ได้เพียงแค่มีขนานใหญ่และมีประชากรเยอะแต่ยังมีสถานที่ ๆ ตั้งถิ่นฐานหนาแน่นและมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่ยังมีบริเวณที่ประชากรตั้งถิ่นฐานเบาบางด้วย ทั้งนี้ทวีปเอเชียมีประชากรราว 4.5 พันล้านคน คิดเป็น 60% ของประชากรโลก โดยทั้วไปทางตะวันออกของทวีปติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก ทางใต้ติดมหาสมุทรอินเดียและทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก บริเวณชายแดนระหว่างเอเชียและยุโรปมีประวัติศาสตร์และโครงสร้างวัฒนธรรมมากมายเพราะไม่มีการแยกกันด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่ง เขตแดนที่เด่นชัดของเอเชียคือตั้งแต่ฝั่งตะวันออกของคลองสุเอซ, แม่น้ำยูรัล, เทือกเขายูรัล, ช่องแคบตุรกี, ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส, ทะเลดำและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68–69); "Asia" (pp. 90–91): "A commonly accepted division between Asia and Europe is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles." จีนและอินเดียเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 1 ถึง 1800 จีนเป็นประเทศที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจที่สำคัญและดึงดูดผู้คนจำนวนมากให้ไปทางตะวันออก และตำนาน ความมั่งคั่งและความรุ่งเรืองของวัฒนธรรมโบราณของอินเดียกลายเป็นสัญลักษณ์ของเอเชีย สิ่งเหล่านี้จึงดึงดูดการค้า การสำรวจและการล่าอาณานิคมของชาวยุโรป การค้นพบเส้นทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยบังเอิญจากยุโรปไปอเมริกาของโคลัมบัสในขณะที่กำลังค้นหาเส้นทางไปยังอินเดียแสดงให้เห็นความดึงดูดใจเหล่านี้ เส้นทางสายไหมกลายเป็นเส้นทางการค้าหลักของฝั่งตะวันออกกับฝั่งตะวันตกในขณะที่ช่องแคบมะละกากลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ ช่วงศตวรรษที่ 20 ความแข็งแรงของประชากรเอเชียและเศรษฐกิจ (โดยเฉพาะเอเชียตะวันออก) เติบโตเป็นอย่างมากแต่การเติบโตของประชากรโดยรวมลดลงเรื่อย ๆ เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาหลักบนโลกหลายศาสนา อาทิศาสนาคริสต์, ศาสนาอิสลาม, ศาสนายูดาห์, ศาสนาฮินดู, ศาสนาพุทธ, ลัทธิขงจื๊อ, ลัทธิเต๋า, ศาสนาเชน, ศาสนาซิกข์, ศาสนาโซโรอัสเตอร์และศาสนาอื่น ๆ อีกมากมาย เนื่องเอเชียจากมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายทางแนวคิด ภูมินามวิทยาของเอเชียมีตั้งแต่สมัยคลาสสิกซึ่งคาดว่าน่าจะตั้งตามลักษณะผู้คนมากกว่าลักษณะทางกายภาพ เอเชียมีความแตกต่างกันอย่างมากทั้งด้านภูมิภาค กลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม, สภาพแวดล้อม, เศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และระบบรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันอย่างมากเช่น พื้นเขตร้อนหรือทะเลทรายในตะวันออกกลาง, ภูมิอากาศแบบอบอุ่นทางตะวันออก ภูมิอากาศแบบกึ่งอารกติกทางตอนกลางของทวีปและภูมิอากาศแบบขั่วโลกในไซบีเรี.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและทวีปเอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและประเทศไทย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและประเทศเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

ป่า

ป่า ป่าไม้ ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ หมายถึง ที่ดินที่ไม่มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ครอบครองตามกฎหมายที่ดิน โดยทั่วไป หมายถึง บริเวณที่มีความชุ่มชื้น และปกด้วยใบไม้สีเขียว ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่นและกว้างใหญ่พอที่จะมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้น เช่น ความเปลี่ยนแปลงของลมฟ้าอากาศ ความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ มีสัตว์ป่าและสิ่งมีชีวิตอื่นซึ่งมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและป่า · ดูเพิ่มเติม »

ไฟลัม

ฟลัม (phylum) เป็นขั้นอนุกรมวิธานขั้นหนึ่งในการจำแนกสัตว์ในทางวิทยาศาสตร์ (ในทางพืชนิยมใช้คำว่า ส่วน แทนไฟลัม ไฟลัมถือเป็นการจัดกลุ่มในขั้นสูงที่สุดแยกตามสายวิวัฒนาการ แต่บางครั้งก็มีการรวมไฟลัมเป็นไฟลัมใหญ่ (superphylum) อีกทีหนึ่ง เช่น สัตว์ที่มีการลอกคราบในการเจริญเติบโต (Echdysozoa) ประกอบด้วยสัตว์มีเปลือกแข็งและหนอนตัวกลม และ สัตว์ที่มีช่องปากเกิดภายหลังช่องทวาร (Deuterostomia) ประกอบด้วยปลาดาวและสัตว์มีแกนสันหลัง ไฟลัมของสัตว์ที่รู้จักกันมากที่สุด ได้แก่ มอลลัสกา, ฟองน้ำ, ไนดาเรีย, หนอนตัวแบน, นีมาโทดา, หนอนปล้อง, สัตว์ขาปล้อง, เอคคิโนเดอร์มาทา และสัตว์มีแกนสันหลัง (ซึ่งมนุษย์อยู่ในไฟลัมนี้) ถึงแม้ว่าจะมีไฟลัมทั้งหมดประมาณ 35 ไฟล่า (หน่วยของไฟลัม) ไฟลัมที่กล่าวทั้ง 9 ตัวนี้ครอบคลุมสปีชีส์ส่วนใหญ่ และทุกไฟลัมยกเว้นหนอนกำมะหยี่ ต่างก็มีสมาชิกอาศัยในมหาสมุทร.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและไฟลัม · ดูเพิ่มเติม »

ไม้ต้น

ต้นซากุระ ไม้ต้น คือ พืชนานปีซึ่งมีลำต้นยาว กิ่งและใบในสปีชีส์ส่วนใหญ่ บางครั้ง นิยามคำว่าไม้ต้นอาจแคบลง โดยรวมเฉพาะพืชไม้ (woody plant) เท่านั้น คือ พืชที่ใช้เป็นไม้หรืความสูงกว่าที่กำหนด ในความหมายกว้างที่สุด ไม้ต้นรวมปาล์ม เฟิร์นต้น กล้วยและไผ่ ไม้ต้นมักมีอายุยืน บางต้นอยู่ได้หลายพันปี ต้นที่สูงที่สุดบนโลกมีความสูง 115.6 เมตร และมีความสูงได้มากที่สุดตามทฤษฎี 130 เมตร ไม้ต้นอุบัติขึ้นบนโลกเป็นเวลาราว 370 ล้านปีแล้ว ไม้ต้นมิใช่กลุ่มทางอนุกรมวิธาน แต่เป็นกลุ่มพืชไม่เกี่ยวข้องกันที่วิวัฒนาลำต้นและกิ่งไม้เพื่อให้สูงเหนือพืชอื่นและใช้ประโยชน์จากแสงอาทิตย์ให้ได้มากที.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและไม้ต้น · ดูเพิ่มเติม »

เกษตรกรรม

กษตรกรรม (agriculture) เป็นการเพาะปลูกพืช เห็ดรา เลี้ยงสัตว์ และรูปแบบของชีวิตแบบอื่น ๆ เพื่อเป็นอาหาร เส้นใย เชื้อเพลิงชีวภาพ ยารักษาโรคและผลิตภัณฑ์อื่นเพื่อความยั่งยืนและเพิ่มสมรรถนะชีวิตมนุษย์ เกษตรกรรมเป็นพัฒนาการที่สำคัญในความเจริญของอารยธรรมมนุษย์ที่ไม่ย้ายที่อยู่ซึ่งการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ในสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่องได้ผลิตอาหารส่วนเกิน ซึ่งช่วยหล่อเลี้ยงพัฒนาการของอารยธรรม การศึกษาด้านเกษตรกรรมถูกเรียกว่า เกษตรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ของเกษตรกรรมย้อนกลับไปหลายพันปี และการพัฒนาของมันได้ถูกขับเคลื่อนโดยความแตกต่างอย่างมากของภูมิอากาศ วัฒนธรรมและเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม เกษตรกรรมทั้งหมดโดยทั่วไปพึ่งพาเทคนิคต่างๆเพื่อการขยายและบำรุงที่ดินที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่อง สำหรับพืช เทคนิคนี้มักอาศัยการชลประทานบางรูปแบบ แม้จะมีหลายวิธีการของเกษตรกรรมในพื้นที่แห้งแล้งอยู่ก็ตาม ปศุสัตว์จะถูกเลี้ยงในระบบทุ่งหญ้าผสมกับระบบที่ไม่เป็นเจ้าของที่ดิน ในอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่เกือบหนึ่งในสามของพื้นที่ที่ปราศจากน้ำแข็งและปราศจากน้ำของโลก ในโลกพัฒนาแล้วเกษตรอุตสาหกรรมที่ยึดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ได้กลายเป็นระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่ที่โดดเด่น แม้ว่าจะมีแรงสนับสนุนที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับเกษตรกรรมแบบยั่งยืน รวมถึงเกษตรถาวรและเกษตรกรรมอินทรีย์ จนกระทั่งมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ของประชากรมนุษย์ทำงานในภาคการเกษตร การเกษตรแบบก่อน-อุตสาหกรรมโดยทั่วไปเป็นการเกษตรเพื่อการดำรงชีวิต/การพึ่งตัวเองในที่ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืชเพื่อการบริโภคของตัวเองแทน'พืชเงินสด'เพื่อการค้า การปรับเปลี่ยนที่โดดเด่นในการปฏิบัติทางการเกษตรได้เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาในการตอบสนองต่อเทคโนโลยีใหม่ๆและการพัฒนาของตลาดโลก มันยังได้นำไปสู่การปรับปรุงด้านเทคโนโลยีในเทคนิคการเกษตร เช่นวิธีของ 'ฮาเบอร์-Bosch' สำหรับการสังเคราะห์แอมโมเนียมไนเตรตซึ่งทำให้การปฏิบัติแบบดั้งเดิมของสารอาหารที่รีไซเคิลด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนและมูลสัตว์มีความสำคัญน้อยลง เศรษฐศาสตร์การเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืช เกษตรเคมีเช่นยาฆ่าแมลงและปุ๋ยและการปรับปรุงเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้เพิ่มอัตราผลตอบแทนอย่างรวดเร็วจากการเพาะปลูก แต่ในเวลาเดียวกันได้ทำให้เกิดความเสียหายของระบบนิเวศอย่างกว้างขวางและผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ในเชิงลบ การคัดเลือกพันธุ์และการปฏิบัติที่ทันสมัยในการเลี้ยงสัตว์ได้เพิ่มขึ้นในทำนองเดียวกันของการส่งออกของเนื้อ แต่ได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับสวัสดิภาพของสัตว์และผลกระทบต่อสุขภาพของยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมนที่สร้างการเจริญเติบโต และสารเคมีอื่นๆที่ใช้ทั่วไปในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเป็นองค์ประกอบที่เพิ่มขึ้นของการเกษตร แม้ว่าพวกมันจะเป็นสิ่งต้องห้ามในหลายประเทศ การผลิตอาหารการเกษตรและการจัดการน้ำจะได้กลายเป็นเป็นปัญหาระดับโลกเพิ่มขึ้นที่ได้รับการสนับสนุนให้เกิดการอภิปรายเกี่ยวกับจำนวนของ fronts การเสื่อมสลายอย่างมีนัยสำคัญของทรัพยากรดินและน้ำ รวมถึงการหายไปของชั้นหินอุ้มน้ำ ได้รับการตั้งข้อสังเกตในทศวรรษที่ผ่านมา และผลกระทบของภาวะโลกร้อนกับการเกษตรและผลของการเกษตรต่อภาวะโลกร้อนยังคงไม่เป็นที่เข้าใจอย่างเต็มที่ สินค้าเกษตรที่สำคัญสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มกว้างๆได้แก่อาหาร เส้นใย เชื้อเพลิง และวัตถุดิบ อาหารที่เฉพาะได้แก่(เมล็ด)ธัญพืช ผัก ผลไม้ น้ำมันปรุงอาหาร เนื้อสัตว์และเครื่องเทศ เส้นใยรวมถึงผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ ป่าน ผ้าไหมและผ้าลินิน วัตถุดิบได้แก่ ไม้และไม้ไผ่ วัสดุที่มีประโยชน์อื่นๆมีการผลิตจากพืช เช่นเรซิน สีธรรมชาติ ยา น้ำหอม เชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตภัณฑ์ใช้ประดับเช่นไม้ตัดดอกและพืชเรือนเพาะชำ กว่าหนึ่งในสามของคนงานในโลกมีการจ้างงานในภาคเกษตร เป็นที่สองรองจากภาคบริการเท่านั้น แม้ว่าร้อยละของแรงงานเกษตรในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านม.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและเกษตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เอนไซม์

TIM. Factor D enzyme crystal prevents the immune system from inappropriately running out of control. เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เป็นคำในภาษากรีก ένζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo (":en:leaven" หรือ ":en:yeast") เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปกติ (malfunction) เช่น.

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและเอนไซม์ · ดูเพิ่มเติม »

เอเอสทีวีผู้จัดการ

ผู้จัดการ 360° เป็นหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวันภาษาไทย ในเครือผู้จัดการ วางแผง(วันจันทร์-วันเสาร์)โดยฉบับ(วันเสาร์จะควบวันอาทิตย์) วางจำหน่ายฉบับปฐมฤกษ์ (ในชื่อเอเอสทีวีผู้จัดการ) เมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: วงศ์ชะมดและอีเห็นและเอเอสทีวีผู้จัดการ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Viverridaeมุดสัง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »