โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลุ่มแม่น้ำลัวร์

ดัชนี ลุ่มแม่น้ำลัวร์

ลุ่มแม่น้ำลัวร์ (Loire Valley หรือ Garden of France, Vallée de la Loire) เป็นบริเวณทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีจากคุณค่าของสถาปัตยกรรมและเมืองโบราณที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่รวมทั้งเมืองอองบัวส์, อองแชร์, บลัวส์, ชินง, นานต์ส์, ออร์เลอองส์, โซมัวร์ และ ตูร์ แต่ที่สำคัญคือพระราชวัง, วัง, ปราสาท และึคฤหาสน์ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วโลกที่รวมทั้งพระราชวังชองบอร์ด หรือ วังเชอนงโซซื่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรืองทางวัฒนธรรมของฝรั่งเศสในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและยุคเรืองปัญญาที่มีต่อการออกแบบและการสร้างสถาปัตยกรรม ในปี ค.ศ. 2000 องค์การยูเนสโกขึ้นทะเบียนบริเวณตอนกลางของลุ่มแม่น้ำลัวร์ระหว่างแมน (Maine River) และ ซุลลีย์-เซอร์-ลัวร์ให้เป็นมรดกโลก ในการเลือกภูมิภาคลุ่มแม่น้ำลัวร์ที่ครอบคลุมจังหวัดลัวเรต์, ลัว-เรต์-แชร์, แองดร์-เอต์-ลัวร์, and แมน-เนต์-ลัวร์ ทางคณะกรรมการกล่าวถึงภูมิภาคลุ่มแม่น้ำลัวร์ว่าเป็นบริเวณที่ “มีความงามของภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมอันเด่น, และมีความสวยงามอันเลอเลิศที่ประกอบด้วยเมืองและหมู่บ้านสำคัญในประวัติศาสตร์, อนุสรณ์ทางสถาปัตยกรรมอันสำคัญ - ชาโต - และแผ่นดินที่ได้รับการพัฒนาทางการเกษตรกรรมและเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างผู้ตั้งถิ่นฐานในท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อมรอบข้าง โดยเฉพาะตัวแม่น้ำลัวร์เอง”.

30 ความสัมพันธ์: บลัวพ.ศ. 2543พระราชวังบลัวพระราชวังช็องบอร์พระราชวังอ็องบวซพระราชวังแวร์ซายพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสการปฏิวัติฝรั่งเศสมรดกโลกยุคเรืองปัญญาวังวังวาล็องแซวังอาแซ-เลอ-รีโดวังโชมงวังเชอนงโซสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในฝรั่งเศสสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโลกครั้งที่หนึ่งออร์เลอ็ององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติจังหวัดลัวแรจังหวัดลัวเรแชร์จังหวัดของประเทศฝรั่งเศสจังหวัดแมเนลัวร์จังหวัดแอ็งเดรลัวร์ปราสาทป้อมสนามน็องต์โรงแรม

บลัว

ลัว (Blois) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดลัวเรแชร์ในแคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส เมืองบลัวตั้งอยู่ทางตอนกลางของฝรั่งเศสบนฝั่งแม่น้ำลัวร์ระหว่างออร์เลอ็องกับตูร.

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และบลัว · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2543

ทธศักราช 2543 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2000 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และพ.ศ. 2543 · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังบลัว

ระราชวังบลัว (Château de Blois) เป็นวังที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำลัวร์ในเมืองบลัวในจังหวัดลัวเรแชร์ ประเทศฝรั่งเศส พระราชวังบลัวเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสหลายพระองค์ที่รวมทั้งพระเจ้าหลุยส์ที่ 12 และเป็นสถานที่ที่นักบุญโยนออฟอาร์คเดินทางไปรับพรจากอาร์ชบิชอปแห่งแร็งส์ในปี..

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และพระราชวังบลัว · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังช็องบอร์

ระราชวังช็องบอร์ (Château de Chambord) เป็นวังที่ตั้งอยู่ที่บนฝั่งแม่น้ำลัวร์ในช็องบอร์ในจังหวัดลัวเรแชร์ ประเทศฝรั่งเศส พระราชวังช็องบอร์เป็นวังที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดวังหนึ่งในโลกจากลักษณะสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาที่เป็นเอกลักษณ์ของสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะผสานระหว่างการก่อสร้างแบบยุคกลางของฝรั่งเศสกับสถาปัตยกรรมคลาสสิกของอิตาลี พระราชวังช็องบอร์สร้างโดยพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศสสำหรับเป็นที่ประทับที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากโกลด โรอ็อง พระสนมเคาน์เทสส์แห่งตูรี ภรรยาของฌูว์เลียง เคานต์แห่งแกลร์มง ซึ่งเป็นตระกูลสำคัญตระกูลหนึ่งของฝรั่งเศส ที่พำนักอยู่ที่วังมุยด์ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลนัก ตราอาร์มของโคลดใช้ตกแต่งพระราชวัง ช็องบอร์เป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาวังต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำลัวร์ แต่เดิมเป็นเพียงตำหนักล่าสัตว์ของพระเจ้าฟร็องซัว ผู้ทรงมีที่ประทับอยู่ที่พระราชวังบลัวและพระราชวังอ็องบวซ กล่าวกันว่าช็องบอร์เดิมออกแบบโดยโดเมนีโก ดา กอร์โตนา ผู้ที่มีจำลองไม้ที่มีอายุยืนพอที่จะให้อ็องเดร เฟลีเบียงวาดในคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่นักเขียนบางท่านกล่าวว่าผู้มีส่วนสำคัญในการออกแบบคือสถาปนิกยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวฝรั่งเศสฟีลีแบร์ เดอลอร์ม ในระยะยี่สิบปีของการก่อสร้างระหว่างปี..

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และพระราชวังช็องบอร์ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังอ็องบวซ

ระราชวังอ็องบวซ (Château d'Amboise) เป็นวังที่ตั้งอยู่ที่บนฝั่งแม่น้ำลัวร์ในอ็องบวซในจังหวัดลัวเรแชร์ ประเทศฝรั่ง.

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และพระราชวังอ็องบวซ · ดูเพิ่มเติม »

พระราชวังแวร์ซาย

ระราชวังแวร์ซาย (Château de Versailles) เป็นพระราชวังหลวงแห่งหนึ่งของประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่แวร์ซาย ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของกรุงปารีส พระราชวังแวร์ซายเป็นพระราชวังที่ยิ่งใหญ่และสวยงามแห่งหนึ่งของโลก.

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และพระราชวังแวร์ซาย · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส (François Ier) (12 กันยายน ค.ศ. 1494 ถึง 31 มีนาคม ค.ศ. 1547) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสตั้งแต่ ค.ศ. 1515 ถึงค.ศ. 1547 พระเจ้าฟรองซัวส์ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ พระองค์แรกของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาฝรั่ง.

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Louis XIV de France; หลุยส์กาโตร์ซเดอฟร็องส์, 5 กันยายน พ.ศ. 2181 – 1 กันยายน พ.ศ. 2258) หรือเรียกว่า หลุยส์มหาราช (Louis le Grand; หลุยส์ เลอ กร็อง) หรือ สุริยกษัตริยาธิราช (le Roi Soleil) เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสและนาวาร์ ทรงครองราชย์เมื่อมีพระชนมายุได้เพียง 5 ชันษา เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 ของราชวงศ์บูร์บงแห่งราชวงศ์กาเปเตียง เสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2186 และทรงครองราชย์นานถึง 72 ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในยุโรป และในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์เป็นช่วงที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้นำทางด้านศูนย์กลางการรวมอำนาจของแผ่นดิน พระเจ้าหลุยส์เริ่มบริหารประเทศด้วยตัวของพระองค์เองเมื่อปี พ.ศ. 2204 หลังจากการเสียชีวิตของหัวหน้าคณะรัฐมนตรีของพระองค์นั่นก็คือ พระคาดินัล เมเซริน ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดของเทวสิทธิราชย์ ถึงต้นกำเนิดกษัตริย์ผู้มีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศต่อพระเจ้าหลุยส์มาอย่างต่อเนื่อง การทำงานของพระองค์ได้สร้าง อำนาจรัฐ ภายใต้การควบคุมของเมืองหลวง พระองค์ทรงพยายามที่จะขจัดเศษของระบบศักดินา ที่คงอยู่ในฝรั่งเศสและเต็มไปด้วยสมาชิกของชนชั้นสูงสังคม ที่อาศัยอยู่อย่างฟุ่มเฟือยภายในพระราชวังแวร์ซายของพระองค์ (เดิมเป็นกระท่อมล่าสัตว์ของพระบิดาของพระเจ้าหลุยส์) และทรงประสบความสำเร็จในการปลอบสมาชิกเหล่าขุนนางได้จำนวนมากที่มีส่วนร่วมในฟรอนด์ ซึ่งเกิดจากการจลาจลของชนกลุ่มน้อยของพระเจ้าหลุยส์ โดยวิธีการดังกล่าวทรงได้กลายเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและรวมระบอบของระบบกษัตริย์ในฝรั่งเศสที่ทนกว่าจะมีการการปฏิวัติฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สวรรคตก่อนที่จะถึงวันครบรอบพระราชสมภพครบ 77 พรรษา และพระราชปนัดดาของเขาก็ครองราชย์สืบต่อเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 โดยในรัชสมัยอันยาวยาวนานของพระองค์ ทรงมีรัชทายาทต่อราชบัลลังก์มาแล้วกว่า 3 พระองค์ ได้แก่ พระราชโอรสของพระองค์ หลุยส์ โดแฟ็งใหญ่แห่งฝรั่งเศส, พระโอรสในของโดแฟ็งใหญ่ ได้แก่ หลุยส์ โดแฟ็งน้อย, และพระโอรสองค์โตในโดแฟ็งน้อย ได้แก่ เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งเบรอตาญ.

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติฝรั่งเศส

การปฏิวัติฝรั่งเศส (Révolution française) ระหว่าง..

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และการปฏิวัติฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

มรดกโลก

ตราสัญลักษณ์ แหล่งมรดกโลก หรือ มรดกโลก (World Heritage Site; Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2560) มีมรดกโลกทั้งหมด 1073 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก ซึ่งแบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 832 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 206 แห่ง และอีก 35 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท, UNESCO World Heritage Sites official sites.

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และมรดกโลก · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเรืองปัญญา

ฌ็อง-ฌัก รูโซ บุคคลสำคัญจากยุคเรืองปัญญา ยุคเรืองปัญญา (Age of Enlightenment; Siècle des Lumières) คือการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมการใช้หลักเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต, ความเชื่อ และการเปิดเผยจากพระเจ้า รวมไปถึงส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง การเคลื่อนไหวยังสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้หรือการใช้ปัญญา ต่อต้านความเชื่อทางไสยศาสตร์, โมหาคติ และการชักนำให้ผิดเพี้ยนจากคริสตจักรและรัฐบาล ยุคเรืองปัญญาเริ่มตั้นขึ้นในช่วงประมาณปี..

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และยุคเรืองปัญญา · ดูเพิ่มเติม »

วัง

้านหน้าของพระราชวังดุสิต วัง หรือ พระราชวัง เป็นสิ่งก่อสร้างสำหรับที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยของประมุขของประเทศหรือผู้นำผู้มีตำแหน่งสูงในหลายประเทศในยุโรปเช่นประเทศฝรั่งเศส และ อิตาลี นอกจากนั้นยังเป็นคำที่ใช้สำหรับสิ่งก่อสร้างที่ใหญ่แต่ไม่จำเป็นต้องใหญ่มากในตัวเมืองที่สร้างสำหรับเจ้านาย หรือผู้มีตระกูล ในปัจจุบันวังหรือพระราชวังหลายแห่งเปลี่ยนไปใช้เป็นพิพิธภัณฑ์หรือสำนักงานรัฐบาล หรือโรงแรม.

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และวัง · ดูเพิ่มเติม »

วังวาล็องแซ

วังวาล็องแซ (Château de Valençay) เป็นคฤหาสน์ที่พำนักของตระกูลเดต็องป์แห่งวาล็องแซและตาแลร็อง-เปรีกอร์ที่ตั้งอยู่ที่วาล็องแซในจังหวัดแอ็งดร์ทางตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส แม้ว่าที่ตั้งของวังจะอยู่ในจังหวัดแบรีแต่ลักษณะทางสถาปัตยกรรมดูคล้ายคลึงกับสิ่งก่อสร้างแบบเรอเนซองซ์แบบเดียวกับปราสาทและวังแห่งลุ่มแม่น้ำลัวร์โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับพระราชวังช็องบอร์ คฤหาสน์วาล็องแซได้รับการสรรเสริญโดยนักประพันธ์ชาวฝรั่งเศสฌอร์ฌ ซ็องด์ว่าเป็น "สิ่งก่อสร้างที่งดงามที่สุดในโลก" และกล่าวต่อไปว่า "ไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดที่เป็นเจ้าของอุทยานอันงดงามมากไปกว่าอุทยานของวาล็องแซ".

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และวังวาล็องแซ · ดูเพิ่มเติม »

วังอาแซ-เลอ-รีโด

วังอาแซ-เลอ-รีโด (Château d'Azay-le-Rideau) เป็นวังที่ตั้งอยู่ที่เมืองอาแซ-เลอ-รีโดในจังหวัดแอ็งเดรลัวร์ ทางตอนกลางของประเทศฝรั่งเศส วังอาแซ-เลอ-รีโดก่อสร้างระหว่างปี ค.ศ. 1515 ถึง ค.ศ. 1527 สำหรับค.ศ. 1527 เป็นวังในสมัยแรกแห่งหนึ่งที่สร้างขึ้นในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของฝรั่งเศสบนเกาะกลางน้ำของแม่น้ำแอ็งดร์ ฐานปราสาทลอยตรงขึ้นจากพื้นน้ำ.

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และวังอาแซ-เลอ-รีโด · ดูเพิ่มเติม »

วังโชมง

วังโชมง (Château de Chaumont) เป็นวังที่ตั้งอยู่ที่บนฝั่งแม่น้ำลัวร์ในโชมง-ซูร์-ลัวร์ในจังหวัดลัวเรแชร์ ประเทศฝรั่งเศส ปราสาทโชมงก่อสร้างโดย Eudes II เคานต์แห่งบลัว ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 เพื่อใช้เป็นป้อมสำหรับป้องกันบลัวจากการโจมตี.

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และวังโชมง · ดูเพิ่มเติม »

วังเชอนงโซ

วังเชอนงโซ (Château de Chenonceau) ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านเชอนงโซ (Chenonceaux) ในจังหวัดแอ็งเดรลัวร์ แคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส วังเดิมสร้างบนโรงป่นแป้งเก่าบนฝั่งแม่น้ำแชร์ และสร้างมาก่อนหน้าที่จะมีหลักฐานทางเอกสารเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 11 วังปัจจุบันออกแบบโดยฟีลีแบร์ เดอ ลอร์ม (Philibert De l'Orme) สถาปนิกเรอเนซองซ.

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และวังเชอนงโซ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในฝรั่งเศส

มัยฟื้นฟูศิลปวิทยาฝรั่งเศส (French Renaissance) หมายถึงการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมและศิลปะ ระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 จนถึง ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ที่เป็นส่วนหนึ่งของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุโรป ที่นักประวัติศาสตร์เชื่อกันว่าเริ่มต้นขึ้นในอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 14 สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของฝรั่งเศสตามปกติแล้วถือว่าเริ่มขึ้น ตั้งแต่การรุกรานของฝรั่งเศสเข้าไปในอิตาลีในปี..

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ออร์เลอ็อง

ออร์เลอ็อง (Orléans) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส ราว 130 ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงปารีส เป็นเมืองหลักของจังหวัดลัวแรในแคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ ตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำลัวร์ ตรงที่แม่น้ำโค้งไปทางใต้ไปยังมาซิฟซ็องทราล.

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และออร์เลอ็อง · ดูเพิ่มเติม »

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ

งของยูเนสโก องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) เป็นทบวงการชำนัญพิเศษของสหประชาชาติ ก่อตั้งโดยได้มีการลงนามในธรรมนูญขององค์การ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลัวแร

ลัวแร (Loiret) เป็นจังหวัดในแคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ในประเทศฝรั่งเศส จังหวัดลัวแรตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำลัวแรทางตอนกลางค่อนไปทางเหนือของประเทศ โดยมีออร์เลอ็องเป็นเมืองหลักของจังหวัด ลัวแรเป็นหนึ่งใน 83 จังหวัดเดิมที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1790 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส ที่ก่อตั้งขึ้นจากอดีตจังหวัดออร์เลออแน (Orléanais) สถานที่สำคัญและน่าสนใจของลัวแรก็ได้แก่อารามแซ็ง-เบอนัว-ซูร์-ลัวร์ ซึ่งเป็นอารามของลัทธิเบเนดิกตินที่สร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 7.

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และจังหวัดลัวแร · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดลัวเรแชร์

ลัวเรแชร์ (Loir-et-Cher) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในแคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ในประเทศฝรั่งเศส จังหวัดลัวเรแชร์ตั้งตามชื่อแม่น้ำลัวร์และแม่น้ำแชร์ ตัวจังหวัดตั้งอยู่ทางเหนือตอนกลางค่อนไปทางเหนือของประเทศ โดยมีบลัวเป็นเมืองหลัก ลัวเรแชร์เป็นหนึ่งใน 83 จังหวัดที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1790 จากบางส่วนของอดีตจังหวัดออร์เลอาแนและตูแรน สถานที่สำคัญและน่าสนใจในจังหวัดลัวเรแชร์ก็ได้แก่ปราสาทและวังแห่งลุ่มแม่น้ำลัวร์ที่เป็นมรดกโลก ที่รวมทั้งพระราชวังช็องบอร์และพระราชวังบลัว.

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และจังหวัดลัวเรแชร์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดของประเทศฝรั่งเศส

ังหวัดในประเทศฝรั่งเศส (départements; departments) ในบริบทของการเมืองและภูมิศาสตร์คือหน่วยการบริหาร (administrative division) ของประเทศฝรั่งเศสและอดีตอาณานิคมในระดับรองจากแคว้น ในปัจจุบันประกอบด้วย 101 จังหวัด แบ่งเป็นจังหวัดในฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ 96 จังหวัด และจังหวัดโพ้นทะเล (départements d'outre-mer, DOM) 5 จังหวัด แต่ละจังหวัด (ยกเว้นมายอต) แบ่งย่อยออกเป็นเขต (arrondissements) รวม 335 เขต.

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และจังหวัดของประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดแมเนลัวร์

แมเนลัวร์ (Maine-et-Loire) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในแคว้นเปอีเดอลาลัวร์ในประเทศฝรั่งเศส ตัวจังหวัดตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของประเทศ โดยมีอ็องเฌเป็นเมืองหลวง แมเนลัวร์ที่เป็นหนึ่งใน 83 จังหวัดที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1790 เดิมชื่อมาแยเนลัวร์ แต่ถูกเปลี่ยนเป็นแมเนลัวร์ในปี..

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และจังหวัดแมเนลัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดแอ็งเดรลัวร์

แอ็งเดรลัวร์ (Indre-et-Loire) เป็นจังหวัดในแคว้นซ็องทร์-วาลเดอลัวร์ในประเทศฝรั่งเศส แอ็งเดรลัวร์ตั้งตามชื่อแม่น้ำแอ็งดร์และแม่น้ำลัวร์ ตัวจังหวัดตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตกของประเทศ โดยมีเมืองหลักอยู่ที่เมืองตูร์ ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางทางการศึกษามาตั้งแต่ยุคกลาง แอ็งเดรลัวร์เป็นหนึ่งใน 83 จังหวัดเดิมที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1790 ระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส ที่ก่อตั้งขึ้นจากบางส่วนของอดีตจังหวัดตูแรน (Touraine).

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และจังหวัดแอ็งเดรลัวร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปราสาท

ปราสาทคาร์คาโซนในฝรั่งเศส ปราสาท คือสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการป้องกันข้าศึกซึ่งเป็นสัญลักษณ์หลักของสมัยกลาง ความหมายของคำว่าปราสาทยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการถึงความหมายที่แท้จริง แต่โดยทั่วไปแล้วปราสาทมีความหมายต่างจากคำว่า “ป้อม” (fort) และ “ป้อมปราการ” (fortress) ตรงที่ปราสาทเป็นที่ประทับหรือที่พำนักของพระมหากษัตริย์หรือขุนนางในบริเวณที่เป็นจุดที่ต้องมีการป้องกันจากข้าศึก สิ่งก่อสร้างที่เป็นที่มาของปราสาทคือป้อมโรมัน (Roman fort) และ ป้อมเนิน (Hill fort) ที่สร้างกันทั่วยุโรปที่มาจากคริสต์ศตวรรษที่ 9 ในสมัยจักรวรรดิคาโรลินเจียน แต่การวิวัฒนาการของปืนใหญ่และดินปืนในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นการเปลี่ยนลักษณะการสงครามในยุโรปและทำให้สมรรถภาพของปราสาทในการใช้เป็นสิ่งป้องกันการโจมตีจากข้าศึกลดลง และทำให้การสร้างป้อมเป็นที่นิยมกันมากขึ้น สิ่งก่อสร้างในรัสเซียที่เรียกว่า “เคร็มลิน” (Kremlin) หรือในญี่ปุ่นที่เรียกว่า “ชิโร” (Shiro) ก็ถือว่าเป็นปราสาท.

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และปราสาท · ดูเพิ่มเติม »

ป้อมสนาม

กำแพงเมืองจีน ที่มีหอสังเกตการณ์ประเป็นระยะๆ เป็น “ระบบป้อมปราการ” ชนิดหนึ่ง ป้อมสนาม (Fortification) คือสิ่งก่อสร้างทางยุทธศาสตร์หรือตึกที่ออกแบบเพื่อการป้องกันตนเองในยามสงครามหรือใช้เป็นที่มั่น การสร้างระบบป้อมปราการเป็นการก่อสร้างที่เริ่มทำกันมาเป็นเวลาหลายพันปีในรูปแบบที่เริ่มตั้งแต่เพียงโครงสร้างง่ายๆ มาจนเป็นระบบที่สลับซับซ้อน เช่นในการสร้างป้อมดาวในยุคกลาง ในภาษาอังกฤษ “Fortification” แผลงมาจากภาษาลาติน “Fortis” ที่แปลว่า “แข็งแรง” และคำว่า “Facere” ที่แปลว่า “สร้าง”.

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และป้อมสนาม · ดูเพิ่มเติม »

น็องต์

น็องต์ (Nantes) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดลัวรัตล็องติกในแคว้นเปอีเดอลาลัวร์ในประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำลัวร์ทางตะวันตกของฝรั่งเศส ราว 50 กิโลเมตรจากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก น็องต์เป็นเมืองที่ใหญ่เป็นที่หกของฝรั่งเศส ขณะที่เป็นลำดับที่แปดเมื่อนับจำนวนประชากร 804,833 คนในปี..

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และน็องต์ · ดูเพิ่มเติม »

โรงแรม

รงแรม ห้องพักภายในโรงแรม The Oriental Bangkok โรงแรม หมายถึง สถานที่ประกอบการเชิงการค้าที่นักธุรกิจตั้งขึ้น เพื่อบริการผู้เดินทางในเรื่องของที่พักอาศัย อาหาร และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพักอาศัยและเดินทาง หรืออาคารที่มีห้องนอนหลายห้อง ติดต่อเรียงรายกันในอาคารหนึ่งหลังหรือหลายหลัง ซึ่งมีบริการต่าง ๆ เพื่อความสะดวกของผู้ที่มาพัก ซึ่งเรียกว่า "แขก" (guest) คำว่า hotel หรือ โรงแรมมีที่มาจากภาษาฝรั่งเศสซึ่งแปลว่า คฤหาสน์ โรงแรมแห่งแรกในยุโรปคือ Hotel de Hanri IV (โฮเทล เดอ อองรี กัต) เมื่อปี..

ใหม่!!: ลุ่มแม่น้ำลัวร์และโรงแรม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Châteaux of the Loire ValleyLoire ValleyVal de Loireวังแห่งลุ่มแม่น้ำลัวร์ปราสาทและวังแห่งลุ่มแม่น้ำลัวร์ปราสาทแห่งลุ่มแม่น้ำลัวร์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »