โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลำเส้นใยประสาท

ดัชนี ลำเส้นใยประสาท

ลำเส้นใยของเนื้อขาวภายในสมองมนุษย์ ภาพทำด้วย MRI tractography ลำเส้นใยประสาท (nerve tract) เป็นมัดใยประสาท (มัดแอกซอน) ที่เชื่อมนิวเคลียสประสาทต่าง ๆ ของระบบประสาทกลาง เพราะในระบบประสาทรอบนอก มัดใยประสาทเช่นเดียวกันจะเรียกว่า nerve fascicle (มัดใยประสาท) ลำเส้นใยประสาทในระบบประสาทกลางแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ ใยประสาทประสานงาน (association fiber) ใยประสาทเชื่อมซีกสมอง (commissural fiber) และใยประสาทโปรเจ็กชัน (projection fiber) ลำเส้นใยประสาทยังอาจเรียกได้ด้วยว่า commissure (ใยประสาทเชื่อมซีกสมอง), fasciculus (มัดใยประสาท), หรือ decussation (ส่วนไขว้ทแยง) ใยประสาทเชื่อมซีกสมอง เป็นตัวเชื่อมซีกสมองทั้งสองข้างในระดับเดียวกัน ตัวอย่างก็คือ posterior commissure และ คอร์ปัส คาโลซัม ส่วนไขว้ทแยงก็คือใยประสาทที่ข้ามไขว้ทแยงไปยังอีกซีกหนึ่งของสมองที่ไม่ใช่จุดกำเนิด (obliquely) เช่น ดังที่พบใน sensory decussation ที่ใยประสาทจากนิวเคลียส gracile nucleus และ cuneate nucleus ข้ามไขว้ทแยงไปยังซีกตรงข้ามของสมอง ส่วนตัวอย่างของ fasciculus รวมทั้ง subthalamic fasciculus และ lenticular fasciculus.

18 ความสัมพันธ์: กลีบสมองการรับรู้การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็กก้านสมองระบบประสาทกลางระบบประสาทนอกส่วนกลางสมองใหญ่ทาลามัสความจำคอร์ปัส คาโลซัมคอร์เทกซ์ซีกสมองปมประสาทฐานนิวเคลียส (ระบบประสาท)แกนประสาทนำออกไขสันหลังเปลือกสมองเนื้อขาว

กลีบสมอง

กลีบสมอง (Lobes of the brain) เป็นส่วนหนึ่งของสมอง ในการแบ่งกลีบของสมองในระยะดั้งเดิม เป็นการแบ่งตามลักษณะทางกายวิภาค ซึ่งแสดงถึงความเกี่ยวข้องกับหน้าที่ที่ต่างๆ กันของสมอง เทเลนเซฟาลอน ซึ่งเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของสมองมนุษย์แบ่งออกได้เป็นกลีบต่างๆ เช่นเดียวกันกับสมองส่วนซีรีเบลลัม แต่หากไม่ระบุให้เจาะจงลงไป การแบ่งกลีบของสมองมักหมายถึงการแบ่งกลีบเฉพาะของซีรีบรัม เทเลนเซฟาลอนแบ่งออกได้เป็น 4 กลีบ ได้แก่ #73B2F9 ซีรีเบลลัม (cerebellum).

ใหม่!!: ลำเส้นใยประสาทและกลีบสมอง · ดูเพิ่มเติม »

การรับรู้

ลูกบาศก์เนกเกอร์และแจกันรูบินสามารถมองเห็น/รับรู้ได้มากกว่า 1 แบบ การรับรู้ หรือ สัญชาน (Perception จากคำภาษาละตินว่า perceptio) เป็นการจัดระเบียบ ระบุ และแปลผลข้อมูลจากประสาทสัมผัสเพื่อใช้เป็นแบบจำลองและเข้าใจข้อมูลหรือโลกรอบ ๆ ตัว การรับรู้ทุกอย่างจะต้องเกี่ยวกับสัญญาณประสาทที่ส่งไปยังระบบประสาท โดยสัญญาณก็จะเป็นผลของการเร้าระบบรับความรู้สึกทางกายภาพหรือทางเคมี ยกตัวอย่างเช่น การเห็นจะเกี่ยวกับแสงที่มากระทบจอตา การได้กลิ่นจะอำนวยโดยโมเลกุลที่มีกลิ่น และการได้ยินจะเกี่ยวกับคลื่นเสียง การรับรู้ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การรับสัญญาณทางประสาทสัมผัสเฉย ๆ แต่จะได้รับอิทธิพลจากการเรียนรู้ ความทรงจำ ความคาดหวัง และการใส่ใจของบุคคลนั้น ๆ การรับรู้สามารถแบ่งเป็นสองส่วน คือ.

ใหม่!!: ลำเส้นใยประสาทและการรับรู้ · ดูเพิ่มเติม »

การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก

รื่องตรวจ MRI ภาพจากการตรวจด้วย MRI แสดงการเต้นของหัวใจ การสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก หรือ การตรวจเอ็กซ์เรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ เอ็มอาร์ไอ หรือ nuclear magnetic resonance imaging (NMRI), or magnetic resonance tomography (MRT) คือเทคนิคการสร้างภาพทางการแพทย์ที่ใช้ในรังสีวิทยาเพื่อการตรวจทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของร่างกายทั้งในด้านสุขภาพและโรคต่างๆโดยเครื่องตรวจที่ใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุความเข้มสูงในการสร้างภาพเหมือนจริงของอวัยวะภายในต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะ สมอง หัวใจ กระดูก-กล้ามเนื้อ และส่วนที่เป็นมะเร็ง ด้วยคอมพิวเตอร์รายละเอียดและความคมชัดสูง เป็นภาพตามระนาบได้ทั้งแนวขวาง แนวยาวและแนวเฉียง เป็น 3 มิติ ภาพที่ได้จึงจะชัดเจนกว่า การถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ หรือ CT Scan ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยความผิดปกติในร่างกายได้อย่างแม่นยำ การตรวจทางการแพทย์ด้วยเครื่องมือชนิดนี้ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใดๆ แก่ร่างกาย และไม่มีอันตรายจากรังสีตกค้าง.

ใหม่!!: ลำเส้นใยประสาทและการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ก้านสมอง

ก้านสมอง (Brainstem) เป็นส่วนที่อยู่ด้านหลังและล่างของสมอง เชื่อมระหว่าง สมองใหญ่ กับ ไขสันหลัง ประกอบด้วย เมดดูล่าออปลองกาต้า พอนส์ และมิดเบรน ซึ่งเป็นที่อยู่ของเซลล์นิวเคลียสของเส้นประสาทสมอง หมวดหมู่:ประสาทสรีรวิทยา หมวดหมู่:ก้านสมอง หมวดหมู่:สมอง.

ใหม่!!: ลำเส้นใยประสาทและก้านสมอง · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทกลาง

แผนภาพแสดงซีเอ็นเอส:'''1.''' สมอง'''2.''' ระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) '''3.''' ไขสันหลัง ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน.

ใหม่!!: ลำเส้นใยประสาทและระบบประสาทกลาง · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทนอกส่วนกลาง

ระบบประสาทรอบนอก (สีฟ้า) ระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system: PNS) เป็นระบบประสาทที่แตกแขนงออกมาจากระบบประสาทกลาง ประกอบด้วย ประสาทสมอง (cranial nerve) ประสาทไขสันหลัง (spinal nerve) ประสาทกาย (somatic nerve) และเซลล์แกงเกลียน (ganglion cell) โดยระบบประสาทรอบนอกนั้น สามารถแบ่งเป็นระบบประสาทกาย (somatic nervous system) และระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system).

ใหม่!!: ลำเส้นใยประสาทและระบบประสาทนอกส่วนกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สมองใหญ่

ทเลนเซฟาลอน (Telencephalon) เป็นส่วนของสมองส่วนหน้า เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ของสมองซึ่งทำหน้าที่หลากหลาย อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ซีรีบรัม (Cerebrum) หรือ สมองใหญ่ ในทางเทคนิค เทเลนเซฟาลอนหมายถึงซีรีบรัล เฮมิสเฟียร์ (cerebral hemispheres) และโครงสร้างเล็กๆ อื่นๆ ภายในสมอง สมองส่วนนี้เป็นส่วนที่อยู่หน้าสุดในการแบ่งส่วนของสมองในเอ็มบริโอ เจริญมาจากโปรเซนเซฟาลอน.

ใหม่!!: ลำเส้นใยประสาทและสมองใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ทาลามัส

ทาลามัส (Thalamus) เป็นศูนย์รวมกระแสที่ผ่านเข้าออก และแยกกระแสประสาทไปยังสมองที่เกี่ยวกับประสาทนั้น หรืออาจเรียกว่าเป็นสถานีถ่ายถอดกระแสประสาทเพื่อส่งไปยังจุดต่างๆ ในสมอง และยังทำหน้าที่ในการรับรู้ความเจ็บปวด ทำให้มีการสั่งการ และแสดงออกด้านพฤติกรรมด้านความเจ็บปวด ทาลามัสอยู่เป็นคู่ตั้งอยู่ใจกลางสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังรวมทั้งมนุษย์ด้วย ทาลามัสอยู่ระหว่างเปลือกสมองใหญ่ (Cerebral Cortex) กับสมองส่วนกลาง (Mid brain) ที่ตั้งอยู่ใจกลาง และเป็นศูนย์ศูนย์รวมประสาทสั่งการ มีหน้าที่ส่งผ่านกระแสประสาท ประสาทสัมผัสจำเพาะ(Special Sense)และส่งผ่านไปยัง(Cerebral Cortex)หรือเปลือกสมองใหญ่ เป็นไปตามภาวะปกติของความมีสติ (Conciousness) ในยามหลับและยามตื่น ทาลามัสจะห้อมล้อมรอบๆ เซอด เวนตริเคิล (Third Ventricle) มันเป็นผลผลิตหลักของเอ็มบริโอนิค ไดเอนซีฟาโลน (Cmbryonic Diencephalon) หรือตัวอ่อนของสมองส่วนกลางทาลามัสเป็นโครงสร้างใหญ่สุดของสมองส่วนกลาง ซึ่งเป็นส่วนของสมองที่ตั้งอยู่ระหว่างสมองส่วนกลาง (Mid brain) มีเซนซีฟาโลน และสมองส่วนหน้า เทเลซีฟาโลน (Telecephalon) ในมนุษย์ ครึ่งหนึ่งของทาลามัสแต่ละอันมีรูปร่างเหมือนจุกยางกลมๆคล้ายปลายเทอร์โมมิเตอร์ สามารถบีบและคลายตัวได้.

ใหม่!!: ลำเส้นใยประสาทและทาลามัส · ดูเพิ่มเติม »

ความจำ

ประเภทและกิจหน้าที่ของความจำในวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ ในจิตวิทยา ความจำ (memory) เป็นกระบวนการที่ข้อมูลต่าง ๆ รับการเข้ารหัส การเก็บไว้ และการค้นคืน เนื่องจากว่า ในระยะแรกนี้ ข้อมูลจากโลกภายนอกมากระทบกับประสาทสัมผัสต่าง ๆ (มีตาเป็นต้น) ในรูปแบบของสิ่งเร้าเชิงเคมีหรือเชิงกายภาพ จึงต้องมีการเปลี่ยนข้อมูลไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็คือการเข้ารหัส เพื่อที่จะบันทึกข้อมูลไว้ในความจำได้ ระยะที่สองเป็นการเก็บข้อมูลนั้นไว้ ในสภาวะที่สามารถจะรักษาไว้ได้เป็นระยะเวลาหนึ่ง ส่วนระยะสุดท้ายเป็นการค้นคืนข้อมูลที่ได้เก็บเอาไว้ ซึ่งก็คือการสืบหาข้อมูลนั้นที่นำไปสู่การสำนึกรู้ ให้สังเกตว่า การค้นคืนความจำบางอย่างไม่ต้องอาศัยความพยายามภายใต้อำนาจจิตใจ จากมุมมองเกี่ยวกับกระบวนการประมวลข้อมูล มีระยะ 3 ระยะในการสร้างและค้นคืนความจำ คือ.

ใหม่!!: ลำเส้นใยประสาทและความจำ · ดูเพิ่มเติม »

คอร์ปัส คาโลซัม

ำภาษาละตินว่า Corpus callosum (แปลว่า ส่วนแข็ง) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า colossal commissure เป็นกลุ่มใยประสาทที่กว้างและแบนใต้เปลือกสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีรก ประเภท eutheria อยู่ที่ร่อง longitudinal fissure (ที่แบ่งสมองออกเป็น 2 ข้าง) เป็นโครงสร้างที่เชื่อมซีกสมองซ้ายขวาเข้าด้วยกัน และอำนวยให้เขตในสมองทั้งสองซีกสื่อสารกันได้ เป็นส่วนเนื้อขาว (ส่วนในสมองที่โดยมากประกอบด้วยแอกซอน) ที่ใหญ่ที่สุดในสมองมีแอกซอนส่งเชื่อมซีกสมองถึง 200-250 ล้านแอกซอน.

ใหม่!!: ลำเส้นใยประสาทและคอร์ปัส คาโลซัม · ดูเพิ่มเติม »

คอร์เทกซ์

อร์เทกซ์ (cortex) มาจากคำในภาษาละตินที่แปลว่า เปลือก เปลือกไม้ เปลือกผลไม้ เปลือกเนยแข็ง หนังสัตว์ เปลือกหอย แกลบ เปลือกเมล็ด อาจจะหมายถึง.

ใหม่!!: ลำเส้นใยประสาทและคอร์เทกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซีกสมอง

ซีกสมอง หรือ ซีกสมองใหญ่' (cerebral hemisphere, hemispherium cerebri) เป็นคู่ของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ที่แยกออกจากกันโดยระนาบแบ่งซ้ายขวา คือ medial longitudinal fissure (ช่องตามยาวแนวกลาง) ดังนั้น จึงพรรณนาสมองได้ว่าแบ่งออกเป็นสมองซีกซ้าย (left cerebral hemisphere) และสมองซีกขวา (right cerebral hemisphere) สมองแต่ละซีกมีชั้นด้านนอกเป็นเนื้อเทาที่เรียกว่าเปลือกสมอง (cerebral cortex) มีชั้นด้านในเป็นเนื้อขาวที่พยุงรับชั้นด้านนอก.

ใหม่!!: ลำเส้นใยประสาทและซีกสมอง · ดูเพิ่มเติม »

ปมประสาทฐาน

ปมประสาทฐาน หรือ Basal ganglia หรือ basal nuclei (nuclei basales, ตัวย่อ BG) เป็นกลุ่มของนิวเคลียสที่อยู่ในเขตต่าง ๆ ของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังที่ทำกิจหน้าที่เป็นหน่วยเดียวกัน นิวเคลียสเหล่านั้นอยู่ที่ฐานของซีรีบรัม และมีการเชื่อมต่อกันอย่างหนาแน่นกับเปลือกสมอง ทาลามัส และเขตอื่น ๆ ในสมอง basal ganglia มีบทบาทในหน้าที่หลายอย่างรวมทั้ง การสั่งการเคลื่อนไหวใต้อำนาจจิตใจ การเรียนรู้เชิงกระบวนวิธี (procedural learning) ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมซ้ำซากหรือพฤติกรรมเป็นนิสัย เป็นต้นว่าการขบฟัน การเคลื่อนไหวของตา กิจทางประชาน (cognitive functions) และกิจที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก ในปัจจุบัน ทฤษฎีที่ได้รับความนิยมแสดงความเกี่ยวข้องของ basal ganglia ในการเลือกการกระทำ (action selection) ซึ่งก็คือ การตัดสินใจว่า ในบรรดาหลายพฤติกรรมที่เลือกได้ จะลงมือกระทำพฤติกรรมอะไรในเวลานั้น ๆ งานวิจัยแบบทดลองแสดงว่า basal ganglia มีอิทธิพลแบบยับยั้ง (Inhibition) ในระบบสั่งการหลายระบบ และว่า เมื่อการยับยั้งนั้นมีการระงับ ระบบสั่งการหนึ่ง ๆ จึงจะสามารถเริ่มปฏิบัติการได้ การเลือกพฤติกรรมที่เกิดขึ้นใน basal ganglia ได้รับอิทธิพลจากสัญญาณจากส่วนต่าง ๆ จำนวนมากในสมอง รวมทั้ง prefrontal cortex ซึ่งมีบทบาทสำคัญใน executive functions ส่วนประกอบหลักของ basal ganglia ก็คือ striatum (caudate nucleus และ putamen), globus pallidus (หรือเรียกว่า pallidum), substantia nigra, nucleus accumbens, และ subthalamic nucleus.

ใหม่!!: ลำเส้นใยประสาทและปมประสาทฐาน · ดูเพิ่มเติม »

นิวเคลียส (ระบบประสาท)

ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ นิวเคลียส (nucleus) หมายถึงกลุ่มของเซลล์ประสาทที่อยู่กันอย่างหนาแน่นภายในสมอง ในภาพตัดกายวิภาคบริเวณนิวเคลียสจะเป็นส่วนเนื้อเทา (gray matter) ที่ถูกรายล้อมด้วยเนื้อขาว (white matter) ซึ่งเป็นส่วนใยประสาท นิวเคลียสมีลักษณะโครงสร้างซับซ้อนประกอบด้วยเซลล์ประสาทหลายชนิดเรียงตัวกันเป็นกลุ่มหรือเป็นชั้นๆ เพื่อทำหน้าที่ร่วมกัน ในสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังประกอบด้วยนิวเคลียสต่างๆ มากนับร้อยนิวเคลียส คำว่านิวเคลียสในบางครั้งอาจอนุโลมหมายถึงกลุ่มของเซลล์ประสาทที่กระจายตัวเป็นบริเวณกว้างแต่สามารถระบุแยกได้ อาทิ เรติคิวลาร์นิวเคลียสของทาลามัส (reticular nucleus of the thalamus) ซึ่งเป็นชั้นบางๆ ของเซลล์ประสาทชนิดยับยั้ง (inhibitory neuron) ที่อยู่ล้อมรอบทาลามัส ส่วนของสมองที่สำคัญบางตำแหน่งมีลักษณะเป็นกลุ่มของนิวเคลียสที่ทำงานประสาทกันระหว่างโครงสร้าง ได้แก่ ทาลามัสและไฮโปทาลามัสซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างย่อยลงไปอีกมากมาย เมดัลลา ออบลองกาตาและพอนส์ก็ประกอบด้วยนิวเคลียสเล็กๆ จำนวนมากทำหน้าที่ทั้งรับความรู้สึก สั่งการ และการควบคุมการทำงานของร่างกาย ในระบบประสาทนอกส่วนกลางจะเรียกกลุ่มของเซลล์ประสาทว่า ปมประสาท (ganglion) แทน.

ใหม่!!: ลำเส้นใยประสาทและนิวเคลียส (ระบบประสาท) · ดูเพิ่มเติม »

แกนประสาทนำออก

แกนประสาท หรือ แอกซอน หรือ ใยประสาท (axon มาจากภาษากรีกคำว่า ἄξων คือ áxōn แปลว่า แกน) เป็นเส้นใยเรียวยาวที่ยื่นออกจากเซลล์ประสาทหรือนิวรอน และปกติจะส่งกระแสประสาทหรือคำสั่งออกจากตัวเซลล์เพื่อสื่อสารกับเซลล์อื่น ๆ หน้าที่ของมันก็เพื่อส่งข้อมูลไปยังนิวรอน กล้ามเนื้อ และต่อมต่าง ๆ ในเซลล์ประสาทรับความรู้สึกบางอย่างซึ่งมีรูปร่างเป็น pseudounipolar neuron (เซลล์ประสาทขั้วเดียวเทียม) เช่นที่รับความรู้สึกสัมผัสและอุณหภูมิ กระแสประสาทจะวิ่งไปตามแอกซอนจากส่วนปลายเข้าไปยังตัวเซลล์ แล้วก็จะวิ่งออกจากตัวเซลล์ไปยังไขสันหลังตามสาขาอีกสาขาของแอกซอนเดียวกัน ความผิดปกติของแอกซอนอาจเป็นเหตุให้เกิดความผิดปกติทางประสาทซึ่งมีผลต่อทั้งเซลล์ประสาทในส่วนนอกและส่วนกลาง ใยประสาทสามารถจัดเป็นสามหมวดคือ ใยประสาทกลุ่มเอเด็ลตา (A delta) กลุ่มบี (B) และกลุ่มซี (C) โดยกลุ่มเอและบีจะมีปลอกไมอีลินในขณะที่กลุ่มซีจะไร้ปลอก แอกซอนเป็นส่วนยื่นที่ประกอบด้วยโพรโทพลาสซึมอย่างหนึ่งในสองอย่างที่ยื่นออกจากตัวเซลล์ประสาท ส่วนยื่นอีกอย่างเรียกว่า ใยประสาทนำเข้า/เดนไดรต์ (dendrite) แอกซอนจะต่างจากเดนไดรต์หลายอย่าง รวมทั้งรูปร่าง (เดนไดรต์มักจะเรียวลงเทียบกับแอกซอนที่จะคงขนาด) ความยาว (เดนไดรต์มักจะจำกัดอยู่ในปริภูมิเล็ก ๆ รอบ ๆ ตัวเซลล์ ในขณะที่แอกซอนอาจยาวกว่ามาก) และหน้าที่ (เดนไดรต์เป็นส่วนรับสัญญาณในขณะที่แอกซอนจะเป็นส่วนส่งสัญญาณ) แต่ลักษณะที่ว่านี้ทั้งหมดล้วนแต่มีข้อยกเว้น แอกซอนจะหุ้มด้วยเยื่อที่เรียกว่า axolemma ไซโทพลาซึมของแอกซอนมีชื่อโดยเฉพาะว่าแอกโซพลาซึม (axoplasm) ส่วนสุดของแอกซอนที่แตกเป็นสาขา ๆ เรียกว่า telodendron/telodendria ส่วนสุดของ telodendron ซึ่งป่องเรียกว่าปลายแอกซอน (axon terminal) ซึ่งเชื่อมกับ dendron หรือตัวเซลล์ของนิวรอนอีกตัวหนึ่ง จุดเชื่อที่ว่านี้เรียกว่าจุดประสานประสาท/ไซแนปส์ นิวรอนบางอย่างไม่มีแอกซอนและจะส่งสัญญาณผ่านเดนไดรต์ ไม่มีนิวรอนใด ๆ ที่มีแอกซอนมากกว่าหนึ่งอัน แต่ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเช่นแมลงและปลิง แอกซอนบางครั้งจะมีส่วนต่าง ๆ ที่ทำงานแทบเป็นอิสระต่อกันและกัน แอกซอนโดยมากจะแตกสาขา และในบางกรณีจะมีสาขาจำนวนมหาศาล แอกซอนจะเชื่อมกับเซลล์อื่น ๆ โดยปกติกับนิวรอนอื่น ๆ แต่บางครั้งก็เชื่อมกับกล้ามเนื้อหรือเซลล์ต่อม ผ่านจุดต่อที่เรียกว่า จุดประสานประสาท/ไซแนปส์ ที่ไซแนปส์ เยื่อหุ้มเซลล์ของแอกซอนจะเข้าไปเกือบชิดกับเยื่อหุ้มของเซลล์เป้าหมาย และโครงสร้างพิเศษระดับโมเลกุลจะเป็นตัวส่งสัญญาณไฟฟ้าหรือเคมี-ไฟฟ้าข้ามช่อง ยังมีไซแนปส์ในระหว่างอื่น ๆ ของแอกซอนซึ่งไม่ใช่ส่วนปลาย โดยเรียกว่า en passant synapse หรือ in passing synapse ไซแนปส์อื่น ๆ จะอยู่ที่ปลายสาขาต่าง ๆ ของแอกซอน แอกซอนหนึ่งใยพร้อมกับสาขาทั้งหมดรวม ๆ กัน อาจเชื่อมกับส่วนต่าง ๆ ในสมองและมีจุดเชื่อมคือไซแนปส์เป็นพัน.

ใหม่!!: ลำเส้นใยประสาทและแกนประสาทนำออก · ดูเพิ่มเติม »

ไขสันหลัง

ตำแหน่งของไขสันหลังที่อยู่ภายในกระดูกสันหลัง ภาพใกล้ของไขสันหลัง ภาพตัดขวางของไขสันหลังส่วนคอ ลำเส้นใยประสาทในไขสันหลัง ไขสันหลัง (spinal cord)คืออวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อยาวผอม ซึ่งมีเนื้อเยื่อประสาทเป็นส่วนประกอบสำคัญ อันได้แก่ เซลล์ประสาท (neuron) และ เซลล์เกลีย (glia) หรือเซลล์ที่ช่วยค้ำจุนเซลล์ประสาท ซึ่งไขสันหลังจะเป็นส่วนที่ยาวต่อลงมาจากสมอง (brain) สมองและไขสันหลังจะรวมกันเป็นระบบประสาทกลาง (central nervous system) ซึ่งบรรจุภายในและถูกปกป้องโดยกระดูกสันหลัง (vertebral column) หน้าที่หลักของไขสันหลังคือการถ่ายทอดกระแสประสาท (neural signals) ระหว่างสมองและส่วนต่างๆของร่างกาย ทั้งนี้เพียงตัวไขสันหลังเอง ยังสามารถควบคุมการเกิดรีเฟล็กซ์ (reflex) เช่นการยกขาทันทีเมื่อเผลอเหยียบตะปู และศูนย์สร้างรูปแบบการเคลื่อนไหวกลาง (central pattern generator).

ใหม่!!: ลำเส้นใยประสาทและไขสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกสมอง

ปลือกสมอง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑"หรือ ส่วนนอกของสมองใหญ่ หรือ คอร์เทกซ์สมองใหญ่"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ cerebral ว่า "-สมองใหญ่" หรือ "-สมอง" หรือ เซรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือบางครั้งเรียกสั้น ๆ เพียงแค่ว่า คอร์เทกซ์ (แต่คำว่า คอร์เทกซ์ สามารถหมายถึงส่วนย่อยส่วนหนึ่ง ๆ ในเปลือกสมองด้วย) (Cerebral cortex, cortex, Cortex cerebri) เป็นชั้นเนื้อเยื่อเซลล์ประสาทชั้นนอกสุดของซีรีบรัม (หรือเรียกว่าเทเลนฟาลอน) ที่เป็นส่วนของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางพวก เป็นส่วนที่ปกคลุมทั้งซีรีบรัมทั้งซีรีเบลลัม มีอยู่ทั้งซีกซ้ายซีกขวาของสมอง เปลือกสมองมีบทบาทสำคัญในระบบความจำ ความใส่ใจ ความตระหนัก (awareness) ความคิด ภาษา และการรับรู้ (consciousness) เปลือกสมองมี 6 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเซลล์ประสาทต่าง ๆ กัน และการเชื่อมต่อกับสมองส่วนอื่น ๆ ที่ไม่เหมือนกัน เปลือกสมองของมนุษย์มีความหนา 2-4 มิลลิเมตร ในสมองดอง เปลือกสมองมีสีเทา ดังนั้น จึงมีชื่อว่าเนื้อเทา มีสีดังนั้นก็เพราะประกอบด้วยเซลล์ประสาทและแอกซอนที่ไม่มีปลอกไมอีลิน เปรียบเทียบกับเนื้อขาว (white matter) ที่อยู่ใต้เนื้อเทา ซึ่งประกอบด้วยแอกซอนที่โดยมากมีปลอกไมอีลิน ที่เชื่อมโยงกับเซลล์ประสาทในเขตต่าง ๆ ของเปลือกสมองและในเขตอื่น ๆ ของระบบประสาทกลาง ผิวของเปลือกสมองดำรงอยู่เป็นส่วนพับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งว่า ผิวเปลือกสมองของมนุษย์มากกว่าสองในสามส่วน อยู่ใต้ช่องที่เรียกว่า "ร่อง" (sulci) ส่วนใหม่ที่สุดของเปลือกสมองตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ก็คือ คอร์เทกซ์ใหม่ (neocortex) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไอโซคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 6 ชั้น ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดก็คือฮิปโปแคมปัส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาร์คิคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 3 ชั้นเป็นอย่างมาก และแบ่งเขตออกเป็นฟิลด์ย่อยของฮิปโปแคมปัส (Hippocampal subfields) เซลล์ในชั้นต่าง ๆ ของเปลือกสมองเชื่อมต่อกันเป็นแนวตั้ง รวมตัวกันเป็นวงจรประสาทขนาดเล็กที่เรียกว่า "คอลัมน์ในคอร์เทกซ์" (cortical columns) เขตต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์ใหม่ สามารถแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ที่เรียกว่า เขตบร็อดแมนน์ (Brodmann areas) แต่ละเขตมีลักษณะต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า ความหนา ชนิดของเซลล์โดยมาก และตัวบ่งชี้สารเคมีประสาท (neurochemical markers).

ใหม่!!: ลำเส้นใยประสาทและเปลือกสมอง · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อขาว

นื้อขาว"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" (White matter, substantia alba) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสองส่วนของระบบประสาทกลางในสมอง โดยมากประกอบด้วยเซลล์เกลียและแอกซอนหุ้มด้วยปลอกไมอิลิน ที่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณจากเขตหนึ่งในซีรีบรัมไปยังอีกเขตหนึ่ง และส่งสัญญาณระหว่างซีรีบรัมและศูนย์สมองอื่น ๆ ในระดับที่ต่ำกว่า เนื้อขาวของสมองที่ผ่าออกใหม่ ๆ ปรากฏเป็นสีชมพูอมขาวดังที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า ก็เพราะว่าปลอกไมอิลินโดยมากทำด้วยลิพิด (ไขมัน) มีหลอดเลือดฝอยวิ่งผ่าน และที่มีสีขาวก็เพราะดองไว้ในฟอร์มาลดีไฮด์ องค์ประกอบอีกส่วนหนึ่งของสมองก็คือเนื้อเทา (ซึ่งปรากฏเป็นสีชมพูอมน้ำตาลก็เพราะหลอดเลือดฝอย) ซึ่งประกอบด้วยนิวรอน ส่วนที่สามในสมองที่ปรากฏเป็นสีที่ดูเข้มกว่า ก็เพราะมีระดับเม็ดสี melanin ที่สูงกว่าเขตรอบข้าง เป็นส่วนของ substantia nigra ที่มีนิวรอนประเภทที่ใช้โดพามีนเป็นสารสื่อประสาท ให้สังเกตว่าเนื้อขาวบางครั้งปรากฏเป็นสีเข้มกว่าเนื้อเทาเมื่อดูในสไลด์ใต้กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง ก็เพราะเหตุสีที่ย้อม ถึงแม้ว่าเนื้อขาวจะได้รับการพิจารณามานานว่าเป็นส่วนที่ไม่ได้ทำอะไร แต่จริง ๆ ก็ทำหน้าที่มีผลสำคัญต่อการเรียนรู้และการทำงานของสมอง ในขณะที่เนื้อเทาทำหน้าที่เกี่ยวกับการแปลผลและประชาน (คือการรับรู้) เนื้อขาวก็ทำหน้าที่ควบคุมการถ่ายทอดศักยะงาน ที่ประสานการสื่อสารระหว่างเขตต่าง ๆ ของสมอง.

ใหม่!!: ลำเส้นใยประสาทและเนื้อขาว · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Nerve tract

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »