โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลัทธิไศวะ

ดัชนี ลัทธิไศวะ

การบูชาพระศิวะ ในศาสนาฮินดู ลัทธิไศวะ (Shaivism) เป็นลัทธินิกายที่นับถือพระศิวะเป็นพระเป็นเจ้าหรือพรหมัน ศาสนิกชนในลัทธินี้เรียกว่าชาวไศวะ ซึ่งมีรูปแบบความเชื่อและการปฏิบัติแตกต่างกันไปเป็นหลายกลุ่ม เช่น ศิวสิทธานตะที่มีแนวคิดว่าบุคคลจะหลุดพ้นได้โดยการภักดีต่อพระศิวะ แต่ลัทธิโยคะถือว่าทุกสิ่งเป็นส่วนหนึ่งของพรหมันอยู่แล้วGanesh Tagare (2002), The Pratyabhijñā Philosophy, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-1892-7, pages 16–19 ลัทธินี้ถือพระเวทและอาคมเป็นคัมภีร์สำคัญDavid Smith (1996), The Dance of Siva: Religion, Art and Poetry in South India, Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-48234-9, page 116Mariasusai Dhavamony (1999), Hindu Spirituality, Gregorian University and Biblical Press, ISBN 978-88-7652-818-7, pages 31–34 with footnotesMark Dyczkowski (1989), The Canon of the Śaivāgama, Motilal Banarsidass, ISBN 978-81-208-0595-8, pages 43–44 ลัทธิไศวะมีที่มาจากการนับถือพระรุทรในสมัยพระเวท (ราวสองพันปีก่อนคริสต์ศักราช)Peter Bisschop (2011),, Oxford University Press คัมภีร์เศวตาศวตโรปนิษัทซึ่งแต่งขึ้นราวหนึ่งพันปีก่อนคริสต์ศักราชปรากฏคำว่า รุทร ศิวะ มเหศวร แต่การตีความคำเหล่านี้ยังเป็นที่ถกเถียงอยู่D Srinivasan (1997), Many Heads, Arms, and Eyes, Brill, ISBN 978-9004107588, pages 96-97 and Chapter 9 จนถึงคริสต์สหัสวรรษที่ 1 ลัทธิไศวะทั้งสายภักตินิยมและสายโยคะก็เริ่มแพร่หลายในหลายอาณาจักร รวมทั้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่พบโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไศวะหลายพันแห่งในประเทศอินโดนีเซีย กัมพูชา และเวียดนาม ความเชื่อของลัทธิไศวะมีหลายรูปแบบ บางกลุ่มถือว่าพระศิวะคือมหาเทพพระผู้สร้าง รักษา และทำลายล้างโลก บางกลุ่มมองว่าพระศิวะหมายถึงอาตมันอันเป็นภาวะแก่นสารของสรรพสิ่ง ในด้านการปฏิบัติ มีการบูชาพระศิวะรวมถึงพระปารวตีผู้เป็นศักติ (ซึ่งแบบขนบของลัทธิศักติ) ตามโบสถ์พราหมณ์ต่าง ๆ บางกลุ่มเน้นการถือพรตฝึกโยคะเพื่อให้เข้าถึงพระศิวะที่เป็นอาตมันภายในตนเอง.

7 ความสัมพันธ์: พรหมันพระศิวะพระเป็นเจ้าลัทธิศักติศาสนาฮินดูอัตตาโยคะ

พรหมัน

ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู พรหมัน (อ่านว่า พฺรม-มัน; ब्रह्मन्) คือความเป็นจริงสูงสุด เป็นสิ่งสัมบูรณ์ ไม่มีรูปร่าง ไร้ขีดจำกัด เป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นที่มาและจุดหมายปลายทางของสรรพสิ่งในสกลจักรวาล คัมภีร์อุปนิษัทระบุว่าสรรพสัตว์รับรู้พรหมันได้ใน 2 ลักษณะ คือ.

ใหม่!!: ลัทธิไศวะและพรหมัน · ดูเพิ่มเติม »

พระศิวะ

ระศิวะ หรือ พระอิศวร (शिव; Shiva) หนึ่งในตรีมูรติ หรือเทพเจ้าสูงสุดสามพระองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ ได้แก่ พระพรหม และพระวิษณุ) พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระแม่อุมาเทวีประดับโปุรัม ประเทศอินเดีย. พระศิวะ มีรูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว) นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด และมีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่ มีพาหนะ คือ โคอุศุภราช (วัวเพศผู้สีขาวล้วน) มีชายา คือ พระอุมา เทพีแห่งความกล้าหาญ มีโอรสสององค์ คือ พระขันทกุมารและพระพิฆเนศ ประทับอยู่ ณ เขาไกรลาส อันเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ชายาอีกองค์คือพระแม่คงคา มีธิดาคือพระแม่มนสาเทวีหรือพระยามี พระศิวะเป็นเทพที่จะคอยขับไล่สิ่งชั่วร้ายให้ห่างไกล และทำให้เกิดความดีงามเป็นศิริมงคลเกิดขึ้น ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ พระศิวะมีท่าร่ายรำอันเป็นการร่ายรำของเทพเจ้า เรียกว่า "ปางนาฏราช" เมื่อแปลงกายลงไปปราบฤๅษีที่ไม่ประพฤติตนอยู่ในเพศดาบส ซึ่งต่อมาชาวฮินดูได้ถือเอาท่าร่ายรำนี้เป็นต้นแบบของการร่ายรำต่าง ๆ มาตราบจนปัจจุบัน นอกจากนี้แล้ว พระศิวะยังถือว่าเป็นเจ้าแห่งผีหรือปีศาจอีกด้วย โดยมีพระนามเรียกว่า "ปีศาจบดี" หรือ "ภูเตศวร" นอกจากนี้แล้วพระอิศวร ยังมีพระนามอื่นอีก เช่น "รุทร", "ศังกร", "ศุลี", "นิลกัณฐ์", "หระ" หรือ "อีสาน" และยังเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ อีสาน อีกด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังเชื่อว่าพระศอของพระศิวะมีสีดำ ทั้งนี้เนื่องจากพระองค์ได้ยาพิษของพญานาคไว้เมื่อครั้งกวนเกษียรสมุทรทำน้ำอมฤตเพื่อช่วยโลก ซึ่งบทหนึ่งในกามนิต-วาสิฏฐี วรรณกรรมอิงพุทธศาสนาได้อ้างถึง สีของความรักว่าเป็นสีดำ เสมือนสีคอพระศิวะ พระศิวะ ที่ประเทศศรีลังกา อันเป็นประเทศที่ศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาเผยแพร่ก่อน ก่อนที่จะกลายมาเป็นศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักอย่างเช่นในปัจจุบัน พระศิวะในความเชื่อของที่นี่จะมีพาหนะเป็นนกยูง และกลายมาเป็นเทพเจ้าที่ทำหน้าที่ปกปักษ์รักษาพุทธศาสน.

ใหม่!!: ลัทธิไศวะและพระศิวะ · ดูเพิ่มเติม »

พระเป็นเจ้า

ระนามพระยาห์เวห์ในภาษาฮีบรู พระเป็นเจ้า (God) หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ถือเป็นเทวดาเพียงพระองค์เดียวตามความเชื่อแบบเอกเทวนิยม หรือเป็นเทวดาผู้เป็นสารัตถะเดียวของเอกภพตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยมSwinburne, R.G. "God" in Honderich, Ted.

ใหม่!!: ลัทธิไศวะและพระเป็นเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิศักติ

ลัทธิ​ศักติ​ ​คือ​ลัทธิ​ที่​บูชา​เทพี​เป็นหลักสำคัญ ​ปรัชญา​ของ​ลัทธิ​ศักติ​มี​ว่า​ ​ใน​​มหาเทพ​ ​มี​พลัง​อำนาจ​สองชนิด​ ​คือ​ ​พลัง​อำนาจ​ที่​เป็น​ของ​บุรุษ​เพศ​และ​พลัง​อำนาจ​ที่​เป็น​ของ​สตรี​เพศ​ ​เหมือน​มนุษย์​ผู้​ชาย​ทั่ว​ไป​ย่อม​มี​ลักษณะ​นิสัย​ 2 ​ลักษณะ​ ​คือ​ลักษณะ​ที่​เป็น​ชาย​ ​มี​ความ​แข็ง​แรง​ ​กล้า​หาญ​ ​อด​ทน​ ​และ​มี​อารมณ์​ทาง​เพศ​แบบ​ชาย​ ​และ​ลักษณะ​ที่​เป็น​หญิง​ ​มี​ความ​อ่อน​หวาน​ ​นุ่ม​นวล​ ​รัก​สวย​รัก​งาม​ ​ขี้​อาย​ ​และ​มี​อารมณ์​ทาง​เพศ​แบบ​หญิง​ ​ลัทธิ​ศักติ​นำ​พลัง​อำนาจ​ที่​เป็น​ของ​สตรี​เพศ​มา​พัฒนา​เพื่อ​ให้​เกิด​ความ​อุดม​สมบูรณ์​แก่​โลก​ ​โดย​พรรณนา​ว่า​เป็น​​ศักติ​หรือ​​ชายา​ของ​มหาเทพ​ 3 ​องค์​ ​คือ​.

ใหม่!!: ลัทธิไศวะและลัทธิศักติ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: ลัทธิไศวะและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

อัตตา

อัตตา (อตฺตา; อาตฺมนฺ) แปลว่า ตัวตน ร่างกาย รูปลักษณะ ตัวเอง หรือวิญญาณ ตามทฤษฎีของผู้นับถือลัทธิว่าชีวิตเกิดขึ้นด้วยวิญญาณหรืออาตมัน ซึ่งชาวอินเดียทางภาคเหนือได้ยึดถือเช่นนั้น ในคัมภีร์อุปนิษัทอธิบายไว้ว่า อัตตาเป็นตัวตนเล็ก ๆ รูปร่างเหมือนคน อาศัยอยู่ในหัวใจเวลาปกติ และหนีออกจากร่างกายไปในเวลานอนหลับ หรือในเวลาสงบแน่นิ่ง เมื่ออัตตานั้นกลับมาสู่ร่างเหมือนเดิม ชีวิตและการเคลื่อนไหวจึงเกิดขึ้นเป็นไปตามเดิม ในเวลาตายอัตตาก็จะหนีออกจากร่าง ไปใช้ชีวิตในอมตะของตนเองวนเวียนไปอย่างนีโดยไม่มีสิ้นสุด (นัยพจนา. บาลี-อังกฤษ ของสมาคมบาลีปกรณ์) ในศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าเรียกความเชื่อเรื่องอัตตาว่าสัสสตทิฐิ ถือเป็นมิจฉาทิฐิอย่างหนึ่ง และเรียกว่าอัตตวาทุปาทาน ซึ่งถือเป็นความยึดมั่นถือมั่นประการหนึ่ง อัตตาในคำไทยทั่วไปใช้ในรูป อัตต, อัต เช่น อัตตาธิปไตย อัตชีวประวัติ อัตภาพ อัตโนมัต.

ใหม่!!: ลัทธิไศวะและอัตตา · ดูเพิ่มเติม »

โยคะ

(yoga) เป็น กลุ่มของการปฏิบัติหรือการประพฤติทางกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ โดยมีต้นกำเนิดในประเทศอินเดียสมัยโบราณ โยคะมีอยู่ด้วยกันหลานสำหนักซึ่งมีการปฏิบัติและเป้าหมายต่างกันไป ทั้งในศาสนาฮินดู ศาสนาพุทธ และศาสนาเชนStuart Ray Sarbacker, Samādhi: The Numinous and Cessative in Indo-Tibetan Yoga.

ใหม่!!: ลัทธิไศวะและโยคะ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »