โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ริสเพอริโดน

ดัชนี ริสเพอริโดน

ริสเพอริโดน (Risperidone) หรือชื่อทางการค้าคือ ไรสเปอร์ดัล (Risperdal) เป็นยาระงับอาการทางจิต ใช้โดยหลักเพื่อรักษาโรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้ว และความหงุดหงิดของคนไข้โรคออทิซึม --> เป็นยาที่ใช้รับประทานหรือฉีดในกล้ามเนื้อ โดยแบบฉีดมีฤทธิ์ยาวนานประมาณ 2 อาทิตย์ ผลข้างเคียงที่สามัญรวมทั้งปัญหาการเคลื่อนไหว (extrapyramidal symptoms) ความง่วง ปัญหาในการมองเห็น ท้องผูก และน้ำหนักเพิ่ม ผลข้างเคียงหนักอาจรวมความพิการทางการเคลื่อนไหวแบบถาวรคืออาการยึกยือเหตุยา (tardive dyskinesia) กลุ่มอาการร้ายจากยารักษาโรคจิต (neuroleptic malignant syndrome) โอกาสเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงขึ้น และภาวะเลือดมีน้ำตาลมาก (hyperglycemia) ในผู้สูงอายุที่มีอาการโรคจิต (psychosis) เนื่องจากภาวะสมองเสื่อม อาจจะเพิ่มโอกาสเสียชีวิต --> ยังไม่ชัดเจนว่ายาปลอดภัยที่จะใช้ระหว่างมีครรภ์หรือไม่ --> ริสเพอริโดนเป็นยากลุ่ม atypical antipsychotic --> กลไกการออกฤทธิ์ของมันยังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่าเกี่ยวกับความเป็นปฏิปักษ์ต่อระบบโดพามีน (dopamine antagonist) งานศึกษาเกี่ยวกับยาเริ่มขึ้นในปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 และได้รับอนุญาตให้ขายในสหรัฐอเมริกาในปี..

54 ความสัมพันธ์: กระดูกกลุ่มอาการเซโรโทนินการทบทวนวรรณกรรมการตั้งครรภ์การปริทัศน์เป็นระบบภาวะสมองเสื่อมยาระงับอาการทางจิตยาลดความดันยาหลอกยาแก้ซึมเศร้าระบบประสาทกลางรัฐอาร์คันซอรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบลูกขุนศาลสูงสุดสหรัฐสารสื่อประสาทสิทธิบัตรสถิติศาสตร์หนังสือพิมพ์หน่วยรับความรู้สึกอารมณ์องค์การอาหารและยาจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสันดอลลาร์สหรัฐคริสต์ทศวรรษครึ่งชีวิตความชุกของโรคความผิดปกติทางบุคลิกภาพความดันโลหิตต่ำความง่วงความตายคาร์บามาเซพีนคำพิพากษาตับประชานประเทศกำลังพัฒนานมน้ำเลือดโพรแลกตินโรคย้ำคิดย้ำทำโรควิตกกังวลโรคหลอดเลือดสมองโรคออทิซึมโรคอารมณ์สองขั้วโรคจิตเภทโรคซึมเศร้าโดพามีนไตเมแทบอลิซึม...เอนไซม์เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลเซโรโทนินSelective serotonin re-uptake inhibitors ขยายดัชนี (4 มากกว่า) »

กระดูก

กระดูกต้นขาของมนุษย์ กระดูก เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด กระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก (osseous tissue) ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา การเจริญพัฒนาของเนื้อเยื่อกระดูกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้กระดูกเป็นอวัยวะที่มีหลายรูปร่างลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกันกับการทำงานของกระดูกในแต่ละส่วน เช่นกะโหลกศีรษะ (skull) ที่มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของสมอง หรือกระดูกต้นขา (femur) ที่มีลักษณะยาวเพื่อเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของรยางค์ล่าง เป็นต้น.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มอาการเซโรโทนิน

กลุ่มอาการเซโรโทนิน หรือ เซโรโทนินเป็นพิษ (Serotonin syndrome ตัวย่อ SS หรือ serotonin toxicity) เป็นกลุ่มอาการที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการใช้ยาที่มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทที่ใช้เซโรโทนิน (serotonergic) เป็นสารสื่อประสาท อาการอาจจะมีจากน้อยจนถึงรุนแรง รวมทั้ง ตัวร้อน อยู่ไม่สุข ไวรีเฟล็กซ์ สั่น เหงื่อออก รูม่านตาขยาย และท้องร่วง อุณหภูมิร่างกายสามารถเพิ่มขึ้นเกิน 41.1 องศาเซลเซียส ซึ่งมีผลเป็นภาวะแทรกซ้อนคือ การชัก และการเสียกล้ามเนื้ออย่างทั่วไป (rhabdomyolysis) กลุ่มอาการปกติมีเหตุมาจากการใช้ยาที่มีฤทธิ์ต่อระบบเซโรโทนิน 2 ชนิดหรือมากกว่านั้น ซึ่งอาจรวม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI), monoamine oxidase inhibitor (MAOI), tricyclic antidepressants (TCAs), แอมเฟตามีน, meperidine, ทรามาดอล, dextromethorphan, buspirone, ยาสมุนไพร Hypericum perforatum (St. John's wort), triptans, MDMA (ecstasy), metoclopramide, ondansetron, หรือโคเคน โดยเกิดขึ้นในอัตรา 15% สำหรับผู้ที่ใช้ยากลุ่ม SSRI เกิน อาการจะเริ่มขึ้นปกติภายในหนึ่งวันหลังจากมีเซโรโทนินในระบบประสาทกลางมากเกิน การวินิจฉัยอาศัยอาการคนไข้และประวัติการให้ยา แพทย์ต้องกันอาการที่คล้ายกันอื่น ๆ เช่น กลุ่มอาการร้ายจากยาระงับอาการทางจิต (neuroleptic malignant syndrome) ไข้สูงอย่างร้าย แอนติโคลิเนอร์จิกเป็นพิษ (anticholinergic toxicity) โรคลมเหตุร้อน และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ยังไม่มีการทดสอบในแล็บที่สามารถยืนยันการวินิจฉัยได้ การรักษาเบื้องต้นก็คือหยุดยาที่อาจเป็นเหตุ ในคนที่อยู่ไม่เป็นสุข สามารถใช้ยากลุ่มเบ็นโซไดอาเซพีน แต่ถ้ายังไม่พอ ยาต้านเซโรโทนิน (serotonin antagonist) เช่น cyproheptadine ก็สามารถใช้ได้ ในบุคคลที่อุณหภูมิกายสูง อาจต้องใช้วิธีที่ทำให้ตัวเย็น จำนวนคนไข้ที่มีอาการแต่ละปียังไม่ชัดเจน ถ้าได้การรักษาที่ถูกต้อง โอกาสเสียชีวิตมีน้อยกว่า 1% การเสียชีวิตของหญิงวัยรุ่นอายุ 18 ปี (Libby Zion) ที่โด่งดังเพราะอาการนี้ มีผลเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษาแพทย์ในรัฐนิวยอร์ก.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและกลุ่มอาการเซโรโทนิน · ดูเพิ่มเติม »

การทบทวนวรรณกรรม

การทบทวนวรรณกรรม (literature review) เป็นเนื้อหาหลักส่วนหนึ่งในการเขียนรายงานการวิจัย โดยเน้นอธิบายเกี่ยวกับงานวิจัยหรือความรู้ในหัวข้อเดียวกันหรือใกล้เคียงในอดีต โดยการทบทวนวรรณกรรมนั้นมีจุดหมายในการรวบรวมข้อมูลปัจจุบันของผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนวรรณกรรมมักจะพบได้ในงานเขียนด้านวิชาการ เช่นในวิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ หรือผลงานในวารสารวิชาการ การทบทวนวรรณกรรมมักจะถูกลำดับเป็นส่วนที่สองของงานเขียนต่อจากบทนำ และมักจะอยู่ก่อนหน้าเป้าหมายงานวิจัย และขั้นตอนการวิจั.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและการทบทวนวรรณกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การตั้งครรภ์

การตั้งครรภ์ คือ การเจริญของลูกตั้งแต่หนึ่ง ที่เรียก เอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์ ในมดลูกของหญิง เป็นชื่อสามัญของการตั้งครรภ์ในมนุษย์ การตั้งครรภ์แฝดเกี่ยวข้องกับการมีเอ็มบริโอหรือตัวอ่อนมากกว่าหนึ่งในการตั้งครรภ์ครั้งเดียว เช่น ฝาแฝด การคลอดปกติเกิดราว 38 สัปดาห์หลังการเริ่มตั้งท้อง หรือ 40 สัปดาห์หลังเริ่มระยะมีประจำเดือนปกติครั้งสุดท้ายในหญิงซึ่งมีความยาวรอบประจำเดือนสี่สัปดาห์ การร่วมเพศหรือเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทำให้เกิดการเริ่มตั้งท้อง เอ็มบริโอเป็นลูกที่กำลังเจริญในช่วง 8 สัปดาห์แรกหลังเริ่มตั้งท้อง จากนั้นใช้คำว่า ทารกในครรภ์ จนกระทั่งคลอด นิยามทางการแพทย์หรือกฎหมายของหลายสังคมมีว่า การตั้งครรภ์ของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ไตรมาสเพื่อง่ายต่อการอ้างอิงช่วงการเจริญก่อนเกิด ไตรมาสแรกมีความเสี่ยงการแท้งเอง (การตายธรรมชาติของตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์) สูงสุด ในไตรมาสที่สองเริ่มเฝ้าสังเกตและวินิจฉัยการเจริญของทารกในครรภ์ได้ง่ายขึ้น ไตรมาสที่สามมีการเจริญของทารกในครรภ์เพิ่มและการเจริญของแหล่งสะสมไขมันของทารกในครรภ์ จุดความอยู่รอดได้ของทารกในครรภ์ (point of fetal viability) หรือจุดเวลาที่ทารกในครรภ์สามารถดำรงชีวิตได้นอกมดลูก ปกติตรงกับปลายไตรมาสที่ 2 หรือต้นไตรมาสที่ 3 ทารกที่คลอดก่อนจุดนี้มีความเสี่ยงสูงต่อภาวะทางการแพทย์หรือตาย ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร 40% ของการตั้งครรภ์เป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจ และระหว่าง 25% ถึง 50% ของการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ตั้งใจเหล่านี้เป็นการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดในสหรัฐอเมริกา หญิง 60% ใช้การคุมกำเนิดระหว่างเดือนที่เกิดการตั้งครร.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและการตั้งครรภ์ · ดูเพิ่มเติม »

การปริทัศน์เป็นระบบ

การปริทัศน์เป็นระบบ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ review ว่า "การปริทัศน์" และของ systematic ว่า "-เป็นระบบ" (systematic review) เป็นการปริทัศน์สิ่งตีพิมพ์หลาย ๆ งานที่พุ่งความสนใจไปยังประเด็นปัญหาหนึ่งทางการวิจัย มีจุดประสงค์เพื่อจะหา ประเมิน เลือกสรร และรวบรวมหลักฐานงานวิจัยมีคุณภาพทั้งหมด ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหานั้น ๆ การปริทัศน์ผลงานการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) เป็นกระบวนการที่ขาดไม่ได้ทางแพทยศาสตร์อาศัยหลักฐาน (evidence-based medicine) ความเข้าใจในเรื่องการปริทัศน์อย่างเป็นระบบและวิธีการดำเนินงานปริทัศน์จริง ๆ เริ่มกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้มีอาชีพเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล นอกจากจะเป็นงานเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลระดับรายบุคคลแล้ว การปริทัศน์อย่างเป็นระบบอาจจะรวบรวมข้อมูลของการทดลองทางคลินิก การรักษาพยาบาลในระดับกลุ่มชน การรักษาพยาบาลทางสังคม ผลที่ไม่พึงประสงค์จากการรักษาพยาบาล และการประเมินผลทางเศรษฐกิจ.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและการปริทัศน์เป็นระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะสมองเสื่อม

วะสมองเสื่อม หรือ โรคสมองเสื่อม (มาจากภาษาละติน de- "ออกไป" และ mens มาจาก mentis "จิตใจ") เป็นภาวะการเสื่อมถอยของหน้าที่การรับรู้อันเนื่องมาจากความเสียหายหรือโรคที่เกิดในสมองซึ่งมักเกิดจากการเสื่อมถอยไปตามอายุ แม้ว่าภาวะสมองเสื่อมจะเกิดขึ้นโดยปกติในประชากรผู้สูงอายุ แต่ก็อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ใหญ่ในทุกระยะ สำหรับกลุ่มอาการที่คล้ายคลึงกันอันเนื่องมาจากหน้าที่ของสมองผิดปกติในประชากรที่อายุน้อยกว่าวัยผู้ใหญ่จะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ความผิดปกติในพัฒนาการ (developmental disorders) ภาวะสมองเสื่อมเป็นกลุ่มอาการที่ไม่จำเพาะซึ่งเกิดจากความเสื่อมของการรับรู้ไม่ว่าจะเป็นความจำ, ความใส่ใจ, ภาษา, และการแก้ปัญหา ซึ่งหน้าที่การรับรู้ในระดับสูงจะได้รับผลกระทบก่อน ในระยะท้ายๆ ของภาวะสมองเสื่อมผู้ป่วยจะมีอาการไม่รับรู้เวลา (ไม่รู้ว่าเป็นวัน เดือน หรือปีอะไร) สถานที่ (ไม่รู้ว่ากำลังอยู่ที่ไหน) และบุคคล (ไม่รู้จักบุคคลว่าเป็นใคร) กลุ่มอาการของภาวะสมองเสื่อมนั้นจัดแบ่งออกได้เป็นประเภทย้อนกลับได้ และย้อนกลับไม่ได้ ซึ่งขึ้นกับสมุฏฐานโรค (etiology) ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมน้อยกว่าร้อยละ 10 ซึ่งสามารถกลับมาเป็นปกติหลังจากการรักษาได้ สาเหตุของโรคเกิดจากการดำเนินโรคที่จำเพาะที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกับการทำหน้าที่ผิดปรกติของอวัยวะอื่นๆ เช่น อาการหายใจสั้น, ดีซ่าน, หรืออาการปวดซึ่งเกิดมาจากสมุฏฐานต่างๆ กัน หากแพทย์เก็บประวัติผู้ป่วยได้ไม่ดีอาจทำให้สับสนกับกลุ่มอาการเพ้อ (delirium) เนื่องจากมีอาการแสดงที่คล้ายคลึงกันมาก อาการป่วยทางจิต (mental illness) บางชนิด เช่น ภาวะซึมเศร้า (depression) และโรคจิต (psychosis) อาจทำให้เกิดอาการแสดงซึ่งต้องแยกออกจากภาวะสมองเสื่อมและอาการเพ้อ.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและภาวะสมองเสื่อม · ดูเพิ่มเติม »

ยาระงับอาการทางจิต

ระงับอาการทางจิต (Antipsychotic หรือ Neuroleptic) หรือ ยากล่อมประสาทหลัก (Major tranquilizer) เป็นยาประเภทหนึ่งที่ใช้รักษาโรคจิต (ได้แก่อาการหลงผิด, ประสาทหลอน, อาการจิตหวาดระแวง หรือ ความผิดปรกติในความคิด) โดยเฉพาะโรคจิตเภทและโรคอารมณ์สองขั้ว อย่างไรก็ตาม มีการใช้ยานี้เพื่อรักษาโรคอื่นๆที่ไม่ใช่โรคจิตเช่นกัน การใช้ยาประเภทนี้ติดต่อกันในระยะยาวอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงอันได้แก่ การเคลื่อนไหวนอกอำนาจจิตใจ, เต้านมโต, และโรคอ้วนลงพุง ผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมจากการใช้ยาประเภทนี้.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและยาระงับอาการทางจิต · ดูเพิ่มเติม »

ยาลดความดัน

ลดความดัน (antihypertensives) เป็นกลุ่มของยาที่ใช้ในทางการแพทย์ และ เภสัชกรรมเพื่อใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและยาลดความดัน · ดูเพิ่มเติม »

ยาหลอก

หลอก (placebo) เป็นการรักษาโรคหรืออาการอื่นทางการแพทย์ที่ไม่แท้หรือไม่มีผลทางการแพทย์ โดยตั้งใจให้หลอกผู้รับการรักษา บางครั้ง ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาปลอมจะมีการพัฒนาของอาการทางการแพทย์ที่รับรู้หรือแท้จริง ปรากฏการณ์ดังกล่าวโดยทั่วไปเรียกว่า ปรากฏการณ์ยาหลอก ในการวิจัยทางการแพทย์ มีการให้ยาหลอกเป็นการรักษาควบคุมและขึ้นอยู่กับการหลอกที่ควบคุมได้ ยาหลอกสามัญรวมถึง ยาเม็ดเฉื่อย การผ่าตัดหลอก และกระบวนการอื่นที่ใช้สารสนเทศเท็จ อย่างไรก็ดี ยาหลอกสามารถมีผลทางบวกอย่างน่าประหลาดใจต่อผู้ป่วยที่ทราบว่า การรักษาที่ให้แก่ตนนั้นปราศจากยาออกฤทธิ์ใด ๆ เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ทราบว่าไม่ได้รับยาหลอก.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและยาหลอก · ดูเพิ่มเติม »

ยาแก้ซึมเศร้า

แผงยาโปรแซ็ก (ฟลูอ๊อกซิติน) ซึ่งเป็นยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) โครงสร้างทางเคมีของ venlafaxine ซึ่งเป็นยาแก้ซึมเศร้ากลุ่ม Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitor (SNRI) ยาแก้ซึมเศร้า (Antidepressant) เป็นยาเพื่อรักษาโรคซึมเศร้าและโรคอื่น ๆ รวมทั้ง dysthymia, โรควิตกกังวล, โรคย้ำคิดย้ำทำ, ความผิดปกติในการรับประทาน (eating disorder), ความเจ็บปวดเรื้อรัง, ความเจ็บปวดเหตุประสาท (neuropathic pain), และในบางกรณี อาการปวดระดู การกรน โรคไมเกรน โรคสมาธิสั้น การติด การติดสารเสพติด และความผิดปกติในการนอน โดยสามารถใช้เดี่ยว ๆ หรือรวมกับยาชนิดอื่น ๆ ตามที่แพทย์สั่ง กลุ่มยาแก้ซึมเศร้าที่สำคัญที่สุดรวมทั้ง selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs), serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs), tricyclic antidepressants (TCAs), monoamine oxidase inhibitors (MAOIs), reversible monoamine oxidase A inhibitors (rMAO-A inhibitors), tetracyclic antidepressants (TeCAs), และ noradrenergic and specific serotonergic antidepressant (NaSSAs) โดยมียาสมุนไพรจากพืช Hypericum perforatum (St John's wort) ที่ใช้รักษาโรคซึมเศร้าเหมือนกัน.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและยาแก้ซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

ระบบประสาทกลาง

แผนภาพแสดงซีเอ็นเอส:'''1.''' สมอง'''2.''' ระบบประสาทกลาง (สมองและไขสันหลัง) '''3.''' ไขสันหลัง ระบบประสาทกลาง หรือ ระบบประสาทส่วนกลาง หรือ ซีเอ็นเอส (central nervous system; ตัวย่อ: CNS) เป็นโครงสร้างที่ใหญ่ที่สุดของระบบประสาท ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง ทำหน้าที่ร่วมกับระบบประสาทนอกส่วนกลาง (peripheral nervous system) ในการควบคุมพฤติกรรม โครงสร้างของระบบประสาทกลางจะอยู่ภายในช่องลำตัวด้านหลัง (dorsal cavity) สมองอยู่ในช่องลำตัวด้านศีรษะ (cranial cavity) และไขสันหลังอยู่ในช่องไขสันหลัง (spinal cavity) โครงสร้างเหล่านี้ถูกปกคลุมด้วยเยื่อหุ้มสมองและไขสันหลัง (meninges) สมองยังถูกปกคลุมด้วยกะโหลกศีรษะและไขสันหลังยังมีกระดูกสันหลังช่วยป้องกันการกระทบกระเทือน.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและระบบประสาทกลาง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอาร์คันซอ

รัฐอาร์คันซอ (Arkansas) เป็นรัฐทางตอนใต้ของสหรัฐอเมริกา มีประชากร 2,752,629 (สัมมโนปี พ.ศ. 2547) อาร์คันซอเข้าร่วมเป็นหนึ่งในสหรัฐอเมริกาเป็นอันดับที่ 25 ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2379 (ค.ศ. 1836) อาร์คันซอเป็นชื่อที่ตั้งจากชาวฝรั่งเศสในช่วงที่บุกเบิกดินแดน ซึ่งมีความหมายว่า "ปลายน้ำ" อาร์คันซอเป็นบ้านเกิดของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา บิล คลินตัน และแซม วอลตัน เจ้าของธุรกิจ วอล-มาร์ต และ พอล คลิปช์ ผู้ก่อตั้งบริษัทเครื่องเสียง คลิปช์ (Klipsch) (ปัจจุบันย้ายไปที่ รัฐอินดีแอนา).

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและรัฐอาร์คันซอ · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ลูกขุน

ลูกขุน คือบุคคลผู้พิจารณาความจริงจากคำถามที่ศาลให้ในชั้นศาล หมวดหมู่:วิธีพิจารณาความ.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและลูกขุน · ดูเพิ่มเติม »

ศาลสูงสุด

ลสูงสุด (supreme court) คือ ศาลซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นอุทธรณ์ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการอุทธรณ์ต่อศาลสูงสุด นอกจากนี้ ยังมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลสูงสุดมีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่น.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและศาลสูงสุด · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สารสื่อประสาท

รสื่อประสาท (neurotransmitter) คือ สารเคมีที่มีหน้าที่ในการนำ, ขยาย และควบคุมสัญญาณไฟฟ้าจากเซลล์ประสาทเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง ตามระบอบความเชื่อ ที่ตั้งขึ้นในทศวรรษที่ 1960 โดยที่สารเคมีนั้นจะเป็นสารสื่อประสาทได้จะต้องเป็นจริงตามเงื่อนไขดังนี้.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและสารสื่อประสาท · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิบัตร

ทธิบัตร (patent) หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้นหรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มีลักษณะตามที่กำหนดในกฎหมาย กฎกระทรวง และระเบียบว่าด้วยสิทธิบัตร..

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและสิทธิบัตร · ดูเพิ่มเติม »

สถิติศาสตร์

ติศาสตร์ (Statistic Science) เป็นการศึกษาการเก็บ การวิเคราะห์ การตีความ การนำเสนอและการจัดระเบียบข้อมูล ในการประยุกต์สถิติศาสตร์กับปัญหาทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมหรือสังคม ฯลฯ จำเป็นต้องเริ่มด้วยประชากรหรือกระบวนการที่จะศึกษา ประชากรเป็นได้หลากหลาย เช่น "ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศหนึ่ง" หรือ "ทุกอะตอมซึ่งประกอบเป็นผลึก" สถิติศาสตร์ว่าด้วยทุกแง่มุมของข้อมูลซึ่งรวมการวางแผนการเก็บข้อมูลในแง่การออกแบบการสำรวจและการทดลอง ในกรณีไม่สามารถเก็บข้อมูลสำมะโนได้ นักสถิติศาสตร์เก็บข้อมูลโดยการพัฒนาการออกแบบการทดลองจำเพาะและตัวอย่างสำรวจ การชักตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนประกันว่าการอนุมานและการสรุปสามารถขยายจากตัวอย่างไปยังประชากรโดยรวมได้โดยปลอดภัย การศึกษาทดลองเกี่ยวข้องกับการวัดระบบที่กำลังศึกษา จัดดำเนินการระบบ แล้ววัดเพิ่มโดยใช้วิธีดำเนินการเดียวกันเพื่อตัดสินว่าการจัดดำเนินการดัดแปรค่าของการวัดหรือไม่ ในทางกลับกัน การศึกษาสังเกตไม่เกี่ยวข้องกับการจัดดำเนินการทดลอง มีการใช้ระเบียบวิธีสถิติศาสตร์สองอย่างหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติศาสตร์พรรณนา ซึ่งสรุปข้อมูลจากตัวอย่างโดยใช้ดัชนีอย่างค่าเฉลี่ยหรือค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติศาสตร์อนุมาน ซึ่งดึงข้อสรุปจากข้อมูลซึ่งมีการกระจายสุ่ม (เช่น ข้อผิดพลาดสังเกต การกระจายการชักตัวอย่าง) สถิติศาสตร์พรรณนาส่วนใหญ่ว่าด้วยชุดคุณสมบัติของการกระจายสองชุด ได้แก่ แนวโน้มสู่ส่วนกลางซึ่งมุ่งให้ลักษระค่ากลางหรือตรงแบบของการกระจาย ขณะที่การกระจายให้ลักษณะขอบเขตซึ่งสมาชิกของการกระจายอยู่ห่างจากส่วนกลางและสมาชิกอื่น การอนุมานสถิติศาสตร์คณิตศาสตร์กระทำภายใต้กรอบทฤษฎีความน่าจะเป็น ซึ่งว่าด้วยการวิเคราะห์ปรากฏการณ์สุ่ม ในการอนุมานปริมาณไม่ทราบค่า มีการประเมินค่าตัวประมาณค่าตั้งแต่หนึ่งตัวโดยใช้ตัวอย่าง 1.สถิติ (Statistics) 2.เซตและการให้เหตุผล (Set and reasoning) 3.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและสถิติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือพิมพ์

ร้านจำหน่ายหนังสือพิมพ์และนิตยสาร ในเมืองแพดดิงตัน กรุงลอนดอน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 หนังสือพิมพ์ คือสิ่งพิมพ์ที่เสนอข่าว การเคลื่อนไหวใหม่ๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ มีกำหนดการออกที่แน่นอนตายตัว โดยส่วนใหญ่จะออกเป็นรายวัน นอกจากนี้แล้วยังมีหนังสือพิมพ์รายสามวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์ และรายเดือน หนังสือพิมพ์มักจะพิมพ์ลงในกระดาษสำหรับพิมพ์หนังสือพิมพ์โดยเฉพาะ ซึ่งมีราคาถูก เนื้อหาหลักของหนังสือพิมพ์คือข่าวสารบ้านเมืองและเหตุการณ์ปัจจุบันในด้านต่างๆ อาทิ ข่าวการเมือง ข่าวอาชญากรรม ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวกีฬา และข่าวบันเทิง มีการใช้รูปภาพประกอบเนื้อหา ทำให้เนื้อหาชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้แล้วอาจมีส่วนต่างๆ เพิ่มเติมเป็นพิเศษ เช่น พยากรณ์อากาศ และ การ์ตูน ซึ่งโดยทั่วไปเป็นการ์ตูนล้อเลียนการเมือง.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและหนังสือพิมพ์ · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยรับความรู้สึก

หน่วยรับความรู้สึก, ตัวรับหรือที่รับ (receptor) ในชีวเคมี เป็นโปรตีนที่อยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ หรือในไซโทพลาสซึมหรือนิวเคลียสที่จะเชื่อมต่อกับโมเลกุลเฉพาะซึ่งเรียกว่า ลิแกนด์ (ligand) เช่น สารสื่อประสาท, ฮอร์โมน หรือสารประกอบอื่นๆ และทำให้เกิดการเริ่มต้นตอบสนองของเซลล์ต่อลิแกนด์นั้น.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและหน่วยรับความรู้สึก · ดูเพิ่มเติม »

อารมณ์

ตัวอย่างอารมณ์พื้นฐาน ในทางจิตวิทยา ปรัชญา และสาขาย่อยอื่น ๆ อารมณ์ หมายถึงประสบการณ์ในความรู้สำนึกและอัตวิสัยที่ถูกกำหนดลักษณะเฉพาะโดยการแสดงออกทางจิตสรีรวิทยา ปฏิกิริยาทางชีววิทยา และสภาพจิตใจ อารมณ์มักจะเกี่ยวข้องและถูกจัดว่ามีอิทธิพลซึ่งกันและกันกับพื้นอารมณ์ พื้นอารมณ์แต่กำเนิด บุคลิกภาพ นิสัย และแรงจูงใจ เช่นเดียวกับที่ได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนและสารสื่อประสาท อาทิ โดพามีน นอราดรีนาลีน เซโรโทนิน ออกซิโทซิน และคอร์ซิทอล อารมณ์มักเป็นพลังขับดันเบื้องหลังพฤติกรรมไม่ว่าเชิงบวกหรือเชิงลบ Gaulin, Steven J. C. and Donald H. McBurney.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและอารมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การอาหารและยา

องค์การอาหารและยา หรือ อ. อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและองค์การอาหารและยา · ดูเพิ่มเติม »

จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน

อห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson) เป็นบริษัทข้ามชาติใน อุตสาหกรรมยา, เครื่องมือแพทย์ และสินค้าอุปโภคบริโภค ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1886 หุ้นสามัญของบริษัทฯ เปิดซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ดาวโจนส์ (Dow Jones Industrial Average) และเป็นบริษัทนหนึ่งใน 500 ของบริษัทระดับโลกจัดอันดับโดย ฟอร์จูน 500 (Fortune 500) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองนิวบรันสวิค รัฐนิวเจอร์ซีย์ มี บริษัทสาขา (subsidiary) ประมาณ 200 บริษัทซึ่งเปิดดำเนินการอยู่ในมากกว่า 90 ประเทศทั่วโลก และมีสินค้าของบริษัทฯวางจำหน่ายอยู่มากกว่า 175 ประเทศทั่วโลก.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน · ดูเพิ่มเติม »

ดอลลาร์สหรัฐ

100 ดอลลาร์สหรัฐ ธนบัตรที่มีค่ามากสุดในสหรัฐในปัจจุบัน ดอลลาร์สหรัฐ (United States dollar; ในเอกสารเก่าอาจพบการใช้ เหรียญสหรัฐ) เป็นสกุลเงินของประเทศสหรัฐอเมริกา และยังใช้เป็นสกุลเงินสำรองในหลายประเทศทั่วโลก รหัสสากลคือ ISO 4217 ใช้ตัวย่อว่า USD และสัญลักษณ์ $ โดย 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับเกือบ 34 บาท (baht) สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่ใช้หน่วยเงิน ดอลลาร์ เป็นสกุลเงินประจำชาติ และยังมีประเทศอื่นที่มีเงินดอลลาร์เช่นกัน แต่ใช้ชื่อเรียกอื่น เช่น ดอลลาร์สิงคโปร์ ดอลลาร์ฮ่องกง ดอลลาร์ไต้หวัน นอกจากนี้ ดอลลาร์สหรัฐ ยังเป็นสกุลเงินหลักในหลายประเทศ และในบางประเทศถึงแม้ว่าดอลลาร์สหรัฐไม่ใช่สกุลเงินหลัก แต่ยังมีการยอมรับในการใช้จ่ายสินค้าทั่วไป ชื่อเล่นที่ชาวอเมริกันเรียก 1 เซนต์ ว่า "เพนนี" (penny), 5 เซนต์ ว่า "นิกเกิล" (nickel), 10 เซนต์ ว่า "ไดม์" (dime), 25 เซนต์ ว่า "ควอเตอร์" (quarter), 1 ดอลลาร์สหรัฐ ว่า "บั๊ก (ภาษาสแลง, ภาษาพูด)" (buck) และเรียก หนึ่งพันดอลลาร์สหรัฐ ว่า แกรนด์ (grand).

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและดอลลาร์สหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ทศวรรษ

ริสต์ทศวรรษ เป็นช่วงสิบปีของ คริสต์ศักราช ในการกล่าวถึงประวัติศาสตร์บางครั้งนิยมกล่าวถึงในลักษณะช่วงของทศวรรษซึ่งเป็นการเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาหลายปี.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและคริสต์ทศวรรษ · ดูเพิ่มเติม »

ครึ่งชีวิต

ครึ่งชีวิต (t½) (Half-life) คือเวลาที่สารกัมมันตรังสีใช้ในการสลายตัวเหลือครึ่งหนึ่งของที่มีอยู่เดิม มักถูกใช้เพื่ออธิบายคุณสมบัติของการสลายตัวของสารกัมมันตรังสี แต่อาจจะใช้เพื่ออธิบายปริมาณใด ๆ ก็ตามที่มีสลายตัวแบบเอ็กโพเนนเชียลด้วย จุดกำเนิดของคำศัพท์คำนี้ ได้ระบุไว้ว่าเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ดได้ค้นพบหลักการนี้ในปี 1907 และเรียกว่า "ช่วงเวลาครึ่งชีวิต" (half-life period) ต่อมาคำนี้ถูกย่อให้สั้นลงเหลือเป็น "ครึ่งชีวิต" (half-life) ในช่วงต้นทศวรรษปี 1950 หมวดหมู่:กัมมันตรังสี หมวดหมู่:นิวเคลียร์เคมี หมวดหมู่:ฟิสิกส์นิวเคลียร์ หมวดหมู่:การยกกำลัง.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและครึ่งชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

ความชุกของโรค

ในทางระบาดวิทยา ความชุกของโรค (Prevalence) หมายถึงจำนวนกรณีผู้ป่วยที่เป็นโรคทั้งหมดในประชากร ณ เวลาหนึ่งๆ หรือกล่าวคือจำนวนผู้ป่วยในประชากรหนึ่งๆ หารด้วยจำนวนประชากรทั้งหมด ค่านี้ใช้ประมาณว่าโรคนี้เกิดบ่อยมากเพียงใดในประชากรที่ช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งช่วยให้แพทย์ทราบความน่าจะเป็นในการวินิจฉัยโรคและข้อมูลนี้ยังใช้ในงานของนักระบาดวิทยา ผู้ให้บริการสาธารณสุข ภาครัฐ และบริษัทประกันภัย สูตรคณิตศาสตร์ในการคำนวณความชุกของโรคคือ ให้ a.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและความชุกของโรค · ดูเพิ่มเติม »

ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ

วามผิดปกติทางบุคลิกภาพ (personality disorders, ตัวย่อ PD) เป็นหมวดหมู่ของความผิดปกติทางจิตต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นรูปแบบพฤติกรรม รูปแบบทางประชาน และรูปแบบประสบการณ์ทางใจที่ปรับตัวอย่างไม่เหมาะสม (maladaptive) ที่ยั่งยืน โดยปรากฏในสถานการณ์ต่าง ๆ หลายอย่าง และออกนอกลู่นอกทางอย่างสำคัญจากที่ยอมรับได้ในสังคมและวัฒนธรรมของบุคคลนั้น รูปแบบเหล่านี้จะพัฒนาขึ้นตั้งแต่เบื้องต้นของชีวิต ยืดหยุ่นไม่ได้ และสัมพันธ์กับความทุกข์กับความพิการในระดับสำคัญ แต่ว่านิยามที่จำเพาะอาจจะต่างกันได้แล้วแต่ที่มา เกณฑ์วินิจฉัยความผิดปกติทางบุคลิกภาพอยู่ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (DSM) ที่จัดพิมพ์โดยสมาคมจิตเวชอเมริกัน (American Psychiatric Association ตัวย่อ APA) และในหัวข้อ "ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรม (mental and behavioral disorders)" ในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง (ตัวย่อ ICD) ที่เผยแพร่โดยองค์การอนามัยโลก DSM-5 รุ่นที่พิมพ์ในปี 2556 กำหนดความผิดปกติทางบุคลิกภาพเช่นเดียวกับความผิดปกติทางจิต (mental disorders) อื่น ๆ แทนที่จะอยู่ใน "axis" ที่ต่างกันตามที่เคยทำมาก่อน ๆ บุคลิกภาพตามนิยามของจิตวิทยา เป็นเซตของลักษณะทางพฤติกรรมและทางจิตที่คงทน ที่ทำให้มนุษย์แต่ละคนต่างกัน ดังนั้น ความผิดปกติทางบุคลิกภาพจึงกำหนดโดยประสบการณ์ (ทางใจ) และพฤติกรรม ที่ต่างจากมาตรฐานและความคาดหวังของสังคม คนผิดปกติเช่นนี้ อาจประสบความยากลำบากทางประชาน (cognition) ความไวอารมณ์ (emotiveness) ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (interpersonal functioning) และการควบคุมความหุนหันพลันแล่น (impulse control) โดยทั่วไปแล้ว คนไข้จิตเวชร้อยละ 40-60 จะได้รับวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติเช่นนี้ จึงเป็นกลุ่มโรคที่วินิจฉัยบ่อยครั้งที่สุดในบรรดาโรคจิตเวช ความผิดปกติทางบุคลิกภาพกำหนดโดยรูปแบบพฤติกรรมที่คงทน บ่อยครั้งสัมพันธ์กับความขัดข้องในชีวิตส่วนตัว ชีวิตทางสังคม หรือทางอาชีพ นอกจากนั้นแล้ว ความผิดปกติเช่นนี้ยืดหยุ่นไม่ได้ และแพร่กระจายไปในสถานการณ์มากมาย ซึ่งส่วนใหญ่อาจจะมาจากเหตุที่ว่า พฤติกรรมเช่นนี้เข้ากับทัศนคติเกี่ยวกับตน (ego-syntonic) ของบุคคลนั้นได้ ดังนั้น บุคคลนั้นจึงพิจารณาว่าเป็นพฤติกรรมที่เหมาะสม แต่เป็นพฤติกรรมที่อาจมีผลเป็นทักษะจัดการปัญหาและความเครียด (coping skill) ที่ปรับตัวได้อย่างไม่เหมาะสม และนำไปสู่ปัญหาส่วนตัวที่สร้างความวิตกกังวล ความทุกข์ และความเศร้าซึมอย่างรุนแรง รูปแบบพฤติกรรมเช่นนี้จะกำหนดได้ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่นและต้นวัยผู้ใหญ่ และในบางกรณีที่พิเศษ ในช่วงวัยเด็ก มีประเด็นปัญหาหลายอย่างในการจัดหมวดหมู่ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ คือมีนิยามต่าง ๆ หลายแบบ และเพราะว่าทฤษฎีและการวินิจฉัยเกี่ยวกับความผิดปกติจะต้องเกิดภายในความคาดหวังปกติของสังคม นักวิชาการบางท่านจึงคัดค้านความสมเหตุสมผลของทฤษฎีและการวินิจฉัย เพราะว่าเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องอาศัยมูลฐานบางอย่างที่เป็นอัตวิสัย (subjective) คือพวกเขาอ้างว่า ทฤษฎีและการวินิจฉัยมีมูลฐานอยู่ที่พิจารณาญาณทางสังคม หรือทางสังคม-การเมืองและทางเศรษฐกิจ (ดังนั้น จึงอาจจะไม่ใช่ปัญหาทางการแพทย์).

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและความผิดปกติทางบุคลิกภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตต่ำ

วามดันโลหิตต่ำ (hypotension) ในทางสรีรวิทยาและแพทยศาสตร์ คือ ภาวะที่มีความดันเลือดต่ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลอดเลือดแดงของระบบไหลเวียนโลหิต ความดันเลือด คือ แรงที่เลือดผลักผนังหลอดเลือดแดงเมื่อหัวใจสูบฉีดเลือด มักถือว่าความดันโลหิตต่ำ หมายถึง มีความดันช่วงหัวใจบีบต่ำกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท หรือความดันช่วงหัวใจคลายต่ำกว่า 60 มิลลิเมตรปรอท อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ การพิจารณาว่าความดันเลือดต่ำหรือไม่นั้นดูจากอาการแสดงที่สังเกตได้เป็นหลัก.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและความดันโลหิตต่ำ · ดูเพิ่มเติม »

ความง่วง

วามง่วงหรืออาการง่วงซึม (somnolence, sleepiness, หรือ drowsiness) เป็นภาวะที่ร่างกายต้องการหลับอย่างแรง หรือหลับเป็นเวลานานผิดปกติ (เทียบกับอาการนอนมาก) ความง่วงมีความหมายและสาเหตุแยกกัน สามารถหมายถึงภาวะปกติก่อนหลับ สภาพที่อยู่ในภาวะง่วงเนื่องจากความผิดปกติของจังหวะรอบวัน หรือกลุ่มอาการของปัญหาสุขภาพอื่น ความง่วงสามารถเกิดร่วมกับภาวะง่วงงุน (lethargy) ความอ่อนเปลี้ยและการขาดความคล่องทางจิต (lack of mental agility) มักมองว่าความง่วงเป็นอาการมากกว่าโรคด้วยตัวมันเอง ทว่า มโนทัศน์ความง่วงเกิดซ้ำในบางเวลาจากสาเหตุบางอย่างประกอบเป็นความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ความง่วงกลางวันมากเกิน (excessive daytime sleepiness) โรคหลับงานกะ (shift work sleep disorder) ฯลฯ และมีรหัสการแพทย์สำหรับความง่วงที่ถือเป็นโรค ความง่วงอาจเป็นอันตรายเมื่อดำเนินงานที่ต้องอาศัยสมาธิต่อเนื่อง เช่น การขับยานพาหนะ เมื่อบุคคลรู้สึกล้าระดับหนึ่ง อาจประสบการหลับเล็ก (microsleep) ได้.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและความง่วง · ดูเพิ่มเติม »

ความตาย

กะโหลกศีรษะมนุษย์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความตาย ความตาย หรือ การเสียชีวิต เป็นการสิ้นสุดการทำหน้าที่ทางชีวภาพอันคงไว้ซึ่งสิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์สามัญที่นำมาซึ่งความตาย ได้แก่ โรคชรา การถูกล่า ทุพโภชนาการ โรคภัย อัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ฆาตกรรม ความอดอยาก การขาดน้ำ และอุบัติเหตุ หรือการบาดเจ็บภายในร่างกาย ร่างกายหรือศพของสิ่งมีชีวิตจะเริ่มเน่าสลายไม่นานหลังเสียชีวิต ความตายถือว่าเป็นโอกาสที่เศร้าหรือไม่น่ายินดีโอกาสหนึ่ง สาเหตุมาจากความผูกพันหรือความรักที่มีต่อบุคคลผู้เสียชีวิตนั้น หรือการกลัวความตาย โรคกลัวศพ ความกังวลใจ ความเศร้าโศก ความเจ็บปวดทางจิต ภาวะซึมเศร้า ความเห็นอกเห็นใจ ความสงสาร หรือความโดดเดี่ยว สาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุดคือโรคหัวใจ ตามมาด้วยโรคหลอดเลือดสมอง และโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดในสมอง และลำดับที่สามคือภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจตอนล่าง.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและความตาย · ดูเพิ่มเติม »

คาร์บามาเซพีน

ร์บามาเซพีน (Carbamazepine) หรือชื่อทางการค้าคือ เทเกรทอล (Tegretol) เป็นยาสามัญใช้สำหรับรักษาโรคลมชักและอาการปวดเส้นประสาท แต่ไม่เหมาะสำหรับใช้รักษาโรคชักเหม่อและกล้ามเนื้อกระตุกรัว นอกจากนี้ ยังถูกใช้ควบคู่กับยาอื่นๆในการรักษาโรคจิตเภทและเป็นยารองในการรักษาโรคอารมณ์สองขั้ว ยาคาร์บามาเซพีนมีการทำงานเหมือนกับยาเฟนิโทอินและวาลโปรเอท ผลข้างเคียงจากการใช้ยาคาร์บามาเซพีนได้แก่คลื่นไส้และง่วง ผลข้างเคียงขั้นรุนแรงได้แก่ เป็นผื่นคัน, ไขกระดูกลดลง, คิดฆ่าตัวตาย หรือเกิดภาวะสับสน ยาชนิดนี้ไม่เหมาะที่จะใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติโรคเกี่ยวกับไขสันหลัง สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงยาชนิดนี้ อย่างไรก็ตาม สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคชักเหม่อไม่ควรหยุดใช้ยาชนิดนี้โดยทันที ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับไตหรือตับควรใช้อย่างระมัดระวังภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ยาชนิดนี้ยังทำให้การได้ยินเสียงผิดเพี้ยนไปจากเดิมได้ด้วย คาร์บามาเซพีนถูกค้นพบในปี..

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและคาร์บามาเซพีน · ดูเพิ่มเติม »

คำพิพากษา

ำพิพากษา (judgment, judgement) หรือ คำวินิจฉัย (decision) เป็นการชี้ขาดของศาลในประเด็นแห่งคดีที่ฟ้องต่อศาล เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องและผู้ถูกร้องเป็นต้น อันจะยุติกระบวนพิจารณาในชั้นของศาลนั้น ๆ ขณะเดียวกัน ในคดีบางประเภท ศาลอาจยุติกระบวนพิจารณาด้วยคำสั่งศาลก็ได้ ในสหรัฐอเมริกา ตามระเบียบว่าด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งที่ใช้กันในศาลระดับสหรัฐ และศาลส่วนใหญ่ในระดับรัฐ คำพิพากษาเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดสุดท้ายที่ศาลจะมีในคดีนั้น ๆ และด้วยคำพิพากษานี้ จะไม่เหลือประเด็นโต้แย้งใด ๆ ให้ดำเนินการต่อไปในชั้นนั้นอีก และเมื่อใดที่คำพิพากษาถึงที่สุด เมื่อนั้นก็อุทธรณ์ได้ แตกต่างจากฝ่ายซีวิลลอว์ ที่ถือว่า คำพิพากษาจะไม่ถึงที่สุด จนกว่าจะอุทธรณ์กันเสร็จสิ้น หรือสละสิทธิอุทธรณ์เสี.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและคำพิพากษา · ดูเพิ่มเติม »

ตับ

ตับ (liver) เป็นอวัยวะสำคัญที่พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังและสัตว์บางชนิด ในร่างกายมนุษย์ อยู่ในช่องท้องซีกขวาด้านบนใต้กระบังลม มีหน้าที่หลายอย่างรวมทั้งการกำจัดพิษในเมแทบอไลท์ (metabolites) (สารที่ได้จากขบวนการเมแทบอลิซึม) การสังเคราะห์โปรตีน และการผลิตสารชีวเคมีต่างๆที่จำเป็นในกระบวนการย่อยอาหาร ถ้าตับล้มเหลว หน้าที่ของตับไม่สามารถทดแทนได้ในระยะยาว โดยที่เทคนิคการฟอกตับ (liver dialysis) อาจช่วยได้ในระยะสั้น ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ มีหน้าที่สำคัญในขบวนการเมแทบอลิซึมหลายประการในร่างกาย เช่นการควบคุมปริมาณไกลโคเจนสะสม การสลายเซลล์เม็ดเลือดแดง การสังเคราะห์พลาสมาโปรตีน การผลิตฮอร์โมน และการกำจัดพิษ ตับยังเป็นต่อมช่วยย่อยอาหารโดยผลิตน้ำดีซึ่งเป็นสารประกอบอัลคาไลน์ช่วยย่อยอาหารผลิตโดยขบวนการผสมกับไขมัน (emulsification of lipids) ถุงนํ้าดีจะใช้เป็นที่เก็บน้ำดีนี้ ถุงน้ำดีมีลักษณะเป็นถุงอยู่ใต้ตับ ก่อนอาหารถุงน้ำดีจะป่องมีขนาดเท่าผลลูกแพร์เล็กเต็มไปด้วยน้ำดี หลังอาหาร น้ำดีจะถูกนำไปใช้หมด ถุงน้ำดีจะแฟบ เนื้อเยื่อของตับมีความเป็นพิเศษอย่างมาก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย hepatocytes ที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีปริมาณสูง รวมทั้งการสังเคราะห์และการแตกตัวของโมเลกุลที่ซับซ้อนขนาดเล็กที่จำเป็นอย่างมากในการทำงานเพื่อการดำรงชีวิตปกติ หน้าที่การทำงานทั้งหมดอาจแตกต่างกันไป แต่ในตำราประมาณว่ามีจำนวนประมาณ 500 อย่าง.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและตับ · ดูเพิ่มเติม »

ประชาน

ประชาน หรือ ปริชาน หรือ การรับรู้ (Cognition) เป็น "การกระทำหรือกระบวนการทางใจเพื่อให้ได้ความรู้ความเข้าใจผ่านความคิด ประสบการณ์ และประสาทสัมผัส" ซึ่งรวมกระบวนการต่าง ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและประชาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกำลังพัฒนา

ประเทศสีเหลือง/ส้ม มีการพัฒนามนุษย์ในระดับกลาง และประเทศสีแดง มีการพัฒนามนุษย์ในระดับต่ำ ประเทศกำลังพัฒนา หรือ ประเทศพัฒนาน้อยกว่า หรือ ประเทศด้อยพัฒนา เป็นคำที่ใช้เรียกประเทศที่มีมาตรฐานการดำรงชีวิตปานกลาง-ต่ำ พื้นฐานอุตสาหกรรมยังไม่พัฒนา และมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ (Human Development Index) อยู่ในระดับปานกลาง-ต่ำ คำนี้มีแนวโน้มที่จะถูกแทนใช้ที่คำอื่น ๆ ที่เคยใช้ก่อนหน้า ซึ่งรวมถึงคำว่า "โลกที่สาม" ซึ่งเกิดขึ้นในยุคสงครามเย็น เนื่องจากไม่มีคำจำกัดความใดๆมากำหนด คำว่าประเทศพัฒนานาแล้ว อาจเป็นไปได้ว่า ระดับของคำว่า พัฒนาแล้ว จะมีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดมากกว่า คำว่า กำลังพัฒนาด้วย สำหรับบางประเทศที่ถูกเรียกว่า เป็นประเทศกำลังพัฒนา ยังพบว่ามีค่าเฉลี่ยของมาตรฐานการดำรงชีวิตอยู่ในระดับสูงเช่นกัน ส่วนประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจที่จัดอยู่ในระดับก้าวหน้ามากกว่าประเทศที่กำลังพัฒนา แต่ยังไม่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มของ ประเทศพัฒนาแล้ว จะถูกจัดให้อยู่กลุ่มที่ใช้คำจำกัดความว่า ประเทศอุตสาหกรรมใหม.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและประเทศกำลังพัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

นม

นมในแก้ว นม หรือ น้ำนม หมายถึงของเหลวสีขาวที่ประกอบด้วยสารอาหารที่ออกมาจากเต้านมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นมจะประกอบไปด้วยสารอาหารหลักที่จำเป็นสำหรับเด็กหรือสัตว์เกิดใหม่ ซึ่งนมสามารถนำไปสร้างผลิตภัณฑ์อื่นได้แก่ ครีม เนย โยเกิร์ต ไอศกรีม ชีส นอกจากนี้นมยังสามารถหมายถึงเครื่องดื่มอื่นที่นำมาใช้ทดแทนนม เช่น นมถั่วเหลือง นมข้าว นมข้าวโพด นมแอลมอนด์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่ให้นม อาทิ วัว มนุษย์ แพะ ควาย แกะ ม้า ลา อูฐ จามรี ยามา เรนเดียร์ ฯลฯ โดยนมจากม้าและลาเป็นนมที่มีไขมันต่ำ ในขณะที่นมจากแมวน้ำจะมีไขมันสูงถึง 50% นอกจากนี้ในประเทศรัสเซียและประเทศสวีเดน มีการกินนมกวางมูส มีบางคนที่ไม่มีน้ำย่อยแลกโทส จะไม่สามารถดื่มนมวัวได้ ก็จะหันมาดื่มนมสัตว์ชนิดอื่นแทน เช่น นมแ.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและนม · ดูเพิ่มเติม »

น้ำเลือด

น้ำเลือด หรือ พลาสมา (plasma) คือ ส่วนประกอบของเลือดที่เป็นของเหลว โดยปกติจะมีลักษณะเป็นสีเหลืองใส แต่ถ้าพบไขมันก็จะเห็นเป็นสีขาว มีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 55 ในเลือด พลาสมาได้จากการนำเลือด (blood)ไปปั่นเหวี่ยงและเติมสารป้องกันการแข็งตัวของเลือดลงไป ทำให้พลาสมาสามารถแยกชั้นจากเซลล์เม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และ เซลล์เม็ดเลือดแดง ไปอยู่ชั้นบนสุดได้ ส่วนซีรั่มก็คือพลาสมาที่ปราศจากไฟบริโนเจน (fibrinogen) หรือเป็นของเหลวที่เกิดจากการแข็งตัวของเลือ.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและน้ำเลือด · ดูเพิ่มเติม »

โพรแลกติน

รงสร้างโพรแลกติน โพรแลกติน (บางตำราอ่านเป็น โพรแลกทิน)(prolactin ชื่อย่อ PRL) เป็นฮอร์โมนกลุ่มโปรตีน มีโครงสร้างคล้ายกับโกรทฮอร์โมน ประกอบด้วยกรดอะมิโนประมาณ 199 หน่วย จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า มีหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างและหลั่งต่อมน้ำนม (lactation) ให้นมบุตร เพื่อเลี้ยงลูกอ่อนหลังคลอด โดย PRL มีผลโดยตรงต่อเนื้อเยื่อและต้องอาศัยการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนอื่น ร่วมด้วย เช่นอีสโทรเจน(estrogen) โพรเจสเทอโรน(progesterone) คอร์ติโคสเตอโรน (corticosterone) และอินซูลิน (insulin) เมื่อต่อมน้ำนมได้รับฮอร์โมนเหล่านี้ก่อนแล้ว PRL จึงจะทำให้เกิดการหลั่งน้ำนมได้ อีกทั้งการทำงานของโพรแลกตินมีการทำงานคล้ายกับออกซิโทซิน การหลั่งของ PRL ถูกควบคุมโดยโพรแลกทิน รีลิสซิงฮอร์โมน แฟคเตอร์(prolactin releasing hormone factor: PRF) และโพรแลกทิน อินฮิบิทิงฮอร์โมน(prolactin inhibiting hormone:PIF) จากไฮโพทาลามัส โดยมีการเปลี่ยนแปลงการหลั่งตามการเปลี่ยนแปลงของ ฮอร์โมนเพศในรอบเดือน (menstruation cycle) ในช่วงระยะที่มีการเพิ่มของเซลล์เยื่อบุมดลูกก่อนที่มีการตกไข่ จะมีPIF จากไฮโพทาลามัส ไปยับยั้งการหลั่ง PRF ที่ต่อมใต้สมองส่วนหน้า เมื่อระดับอีสโทรเจนและโพรเจสเทอโรนลดน้อยลง ในระยะท้ายของหลังไข่ตก การหลั่ง PIF จะลดน้อยลง ระดับของ PRF จะสูงขึ้น อย่างไรก็ตามระดับของPRF ในเลือดไม่นานพอที่จะมีผลต่อเต้านม แต่ในบางคนอาจทำให้เต้านมนุ่มในรอบก่อนที่จะมีประจำเดือน.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและโพรแลกติน · ดูเพิ่มเติม »

โรคย้ำคิดย้ำทำ

รคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive–compulsive disorder หรือ OCD) คือความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยต้องตรวจสอบสิ่งรอบตัวซ้ำ ๆ, มีความคิดผุดขึ้นมา, หรือมีความรู้สึกอยากทำในสิ่งที่ทำไปแล้วซ้ำไปซ้ำมา --> ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมและความคิดของตนเองได้ --> พฤติกรรมซึ่งพบเห็นได้บ่อย อาทิ การล้างมือ, การนับสิ่งของ, การตรวจสอบว่าประตูล็อกแล้วหรือยัง --> บางรายรู้สึกยากลำบากในการทิ้งสิ่งของ --> โดยพฤติกรรมเหล่านี้ส่งผลเสียต่อชีวิตประจำวันของผู้ป่วย หลายครั้งพฤติกรรมเหล่านี้กินเวลาในแต่ละวันไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง ผู้ใหญ่หลายคนรู้ตัวว่าพฤติกรรมของพวกเขาไม่มีเหตุผล ความเจ็บป่วยนั้นเกี่ยวเนื่องกับอาการกระตุกบนใบหน้า, โรควิตกกังวล และการฆ่าตัวต.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและโรคย้ำคิดย้ำทำ · ดูเพิ่มเติม »

โรควิตกกังวล

รควิตกกังวล (Anxiety disorders) เป็นกลุ่มความผิดปกติทางจิตกำหนดโดยความวิตกกังวลและความกลัว ความวิตกกังวล (anxiety) เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคตและความกลัว (fear) เป็นปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน --> ความรู้สึกเช่นนี้อาจทำให้เกิดอาการทางกาย เช่น หัวใจเต้นเร็วและตัวสั่น --> มีโรควิตกกังวลหลายอย่าง รวมทั้งโรควิตกกังวลไปทั่ว (GAD), โรคกลัว (phobia) ที่เฉพาะเจาะจง, โรคกลัวการเข้าสังคม (social anxiety disorder), โรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก (separation anxiety disorder), โรคกลัวที่ชุมชน (agoraphobia), และโรคตื่นตระหนก (panic disorder) --> โดยโรคจะต่าง ๆ กันตามอาการ --> แต่คนไข้มักจะมีโรควิตกกังวลมากกว่าหนึ่งชนิด โรคมีปัจจัยจากกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ปัจจัยเสี่ยงรวมทั้งประวัติถูกทารุณกรรมในวัยเด็ก ประวัติความผิดปกติทางจิตในครอบครัว และความยากจน --> โรคมักเกิดร่วมกับความผิดปกติทางจิตอื่น ๆ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า (MDD) ความผิดปกติทางบุคลิกภาพ (PD) และการเสพสารเสพติด (substance use disorder) เพื่อจะวินิจฉัยว่าเป็นโรค จะต้องมีอาการอย่างน้อย 6 เดือน มีความวิตกกังวลเกินเหตุ และมีปัญหาในการดำเนินชีวิต แต่ก็มีปัญหาทางจิตเวชและทางแพทย์อื่น ๆ ที่อาจมีอาการคล้าย ๆ กันรวมทั้งอาการไฮเปอร์ไทรอยด์, โรคหัวใจ, การเสพกาเฟอีน แอลกอฮอล์ และกัญชา, และการขาดยา (withdrawal) บางประเภท ถ้าไม่รักษา โรคมักจะไม่หาย การรักษารวมทั้งการเปลี่ยนสไตล์ชีวิต จิตบำบัด และการทานยา --> จิตบำบัดมักจะเป็นรูปแบบหนึ่งของการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ยาเช่นยาแก้ซึมเศร้าหรือเบต้า บล็อกเกอร์ อาจช่วยให้อาการดีขึ้น คนประมาณ 12% มีโรคทุก ๆ ปี โดยเกิดในหญิงมากกว่าชาย 2 เท่า และทั่วไปเริ่มก่อนอายุ 25 ปี ประเภทโรคที่สามัญที่สุดคือโรคกลัวที่เฉพาะเจาะจงซึ่งเกิดในคน 12% และโรคกลัวการเข้าสังคม (SAD) ซึ่งเกิดในคน 10% ในช่วงหนึ่งในชีวิต --> โดยเกิดกับบุคคลอายุ 15-35 ปีมากที่สุด และเกิดขึ้นน้อยหลังถึงอายุ 55 ปี --> อัตราการเกิดดูจะสูงกว่าในสหรัฐอเมริกาและทวีปยุโรป สีหน้าของบุคคลที่มีความวิตกกังวลเรื้อรัง.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและโรควิตกกังวล · ดูเพิ่มเติม »

โรคหลอดเลือดสมอง

รคลมปัจจุบัน หรือ โรคลมเหตุหลอดเลือดสมอง หรือ โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) เป็นการหยุดการทำงานของสมองอย่างฉับพลันโดยมีสาเหตุจากการรบกวนหลอดเลือดที่เลี้ยงสมอง โรคนี้อาจเกิดจากการขาดเลือดเฉพาะที่ของสมอง (ischemia) ซึ่งมีสาเหตุจากภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด (thrombosis) หรือภาวะมีสิ่งหลุดอุดหลอดเลือด (embolism) หรืออาจเกิดจากการตกเลือด (hemorrhage) ในสมอง ผลจากภาวะดังกล่าวทำให้สมองส่วนที่ขาดเลือดหรือตกเลือดทำงานไม่ได้ และอาจส่งผลทำให้อัมพาตครึ่งซีก (hemiplegia; ไม่สามารถขยับแขนขาส่วนใดส่วนหนึ่งหรือซีกใดซีกหนึ่ง) ไม่สามารถที่จะทำความเข้าใจหรือพูดได้ หรือตาบอดครึ่งซีก (hemianopsia; ไม่สามารถมองเห็นครึ่งซีกหนึ่งของลานสายตา) ทั้งนี้ถ้ามีความรุนแรงมาก อาจทำให้ถึงตายได้ โรคลมปัจจุบันเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ซึ่งสามารถทำให้เสียการทำงานของระบบประสาทอย่างถาวร อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนมากมายทำให้พิการและเสียชีวิตได้ นับเป็นสาเหตุหลักของความพิการในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และเป็นสาเหตุการตายอันดับที่สองของทั่วโลก และกำลังจะขึ้นเป็นสาเหตุการตายอันดับแรกในไม่ช้.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและโรคหลอดเลือดสมอง · ดูเพิ่มเติม »

โรคออทิซึม

รคออทิซึม (Autism) เป็นความผิดปกติในการเจริญของระบบประสาท โดยมีลักษณะเด่นคือความบกพร่องด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการสื่อสาร และมีพฤติกรรมทำกิจกรรมบางอย่างซ้ำๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักเรียกกันว่าผู้ป่วยออทิสติก อาการแสดงดังกล่าวมักปรากฏในวัยเด็กก่อนอายุ 3 ปี นอกจากนี้ยังมีความบกพร่องด้านสังคมและการสื่อสารที่จัดในกลุ่มใกล้เคียงโรคออทิซึม เรียกว่า Autism spectrum disorder (ASD) อาทิกลุ่มอาการแอสเปอร์เจอร์ (Asperger syndrome) ที่มีอาการและอาการแสดงน้อยกว่า โรคออทิซึมมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมอย่างมาก แม้ว่าการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจะมีความซับซ้อนและยังไม่สามารถอธิบายกลุ่มอาการ ASD ได้จากปฏิสัมพันธ์หลายยีนหรือการกลายพันธุ์ ผู้ป่วยจำนวนน้อยพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับสารก่อวิรูป (สารที่ก่อให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิด) บางแหล่งข้อมูลเสนอสาเหตุของโรคออทิซึมไว้หลากหลาย เช่น การให้วัคซีนในวัยเด็ก ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันในปัจจุบัน และสมมติฐานดังกล่าวยังขาดหลักฐานที่เชื่อถือได้ทางวิทยาศาสตร์ ความชุกของกลุ่มอาการ ASD เกิดราว 6 ใน 1,000 คน และเป็นในเด็กชายเป็น 4 เท่าของเด็กหญิง จำนวนผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคออทิซึมพบว่าเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 ทั้งนี้บางส่วนเนื่องจากการเปลี่ยนวิธีการวินิจฉัย แต่ความชุกแท้จริงเพิ่มขึ้นหรือไม่นั้นยังไม่เป็นที่ทราบ ผู้ป่วยโรคออทิซึมมีความผิดปกติที่หลายส่วนของสมองซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุ ผู้ปกครองมักสังเกตอาการผู้ป่วยได้ในช่วงอายุ 2 ขวบปีแรก แม้ว่าการบำบัดด้วยพฤติกรรมและการรับรู้โดยนักกายภาพบำบัดและนักจิตวิทยาคลินิกตั้งแต่เยาว์วัยจะช่วยพัฒนาให้ผู้ป่วยดูแลตนเอง มีทักษะด้านสังคมและการสื่อสารได้ แต่การรักษาที่แท้จริงยังไม่เป็นที่ทราบ เด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้น้อยรายที่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระหลังเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แต่ก็มีบางส่วนที่ประสบความสำเร็.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและโรคออทิซึม · ดูเพิ่มเติม »

โรคอารมณ์สองขั้ว

รคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder) เดิมเรียก ความเจ็บป่วยฟุ้งพล่าน-ซึมเศร้า (manic-depressive illness) เป็นโรคจิตซึ่งมีลักษณะ คือ มีช่วงที่ครึ้มใจและช่วงที่ซึมเศร้า อารมณ์ครึ้มใจมีความสำคัญและเรียก อาการฟุ้งพล่าน (mania) หรือภาวะไฮโปเมเนีย (hypomania) ขึ้นอยู่กับความรุนแรงหรือมีโรคจิตหรือไม่ ระหว่างภาวะฟุ้งพล่าน ปัจเจกบุคคลรู้สึกหรือแสดงออกว่ามีความสุข มีกำลังหรือหงุดหงิดผิดปกติ มักตัดสินใจไม่ดีโดยไม่คำนึงถึงผลลัพธ์ ความต้องการนอนหลับมักลดลง ระหว่างช่วงซึมเศร้า อาจมีการร้องไห้ เลี่ยงการสบตากับผู้อื่นและมองชีวิตในแง่ลบ ความเสี่ยงการฆ่าตัวตายในผู้ป่วยโรคนี้สูงที่กว่า 6% ในเวลา 20 ปี ขณะที่การทำร้ายตัวเองเกิด 30–40% โรคนี้ปกติสัมพันธ์กับปัญหาสุขภาพจิตอื่น เช่น โรควิตกกังวลและโรคการใช้สารเสพต.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและโรคอารมณ์สองขั้ว · ดูเพิ่มเติม »

โรคจิตเภท

รคจิตเภท เป็นความผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่งซึ่งทำให้มีการแตกแยกของกระบวนการคิดและการตอบสนองทางอารมณ์ ส่วนใหญ่แสดงอาการเป็นหูแว่ว หวาดระแวง หลงผิดแบบแปลกประหลาด หรือมีการพูดและการคิดที่เสียโครงสร้าง และมักนำไปสู่การสูญเสียความสามารถในการเข้าสังคมหรือการประกอบอาชีพ มักเริ่มแสดงอาการในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น โดยมีความชุกตลอดชีวิตอยู่ที่ประมาณ 0.3-0.7% การวินิจฉัยทำโดยการสังเกตพฤติกรรมและรายงานประสบการณ์ที่ได้จากตัวผู้ป่วยเอง เชื่อกันว่าปัจจัยทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อมในวัยเด็ก ประสาทชีววิทยา ปัจจัยทางจิตใจ และกระบวนการทางสังคม เป็นปัจจัยที่สำคัญในการเกิดโรค ยาเสพติดและยาบางชนิดอาจเป็นสาเหตุหรือทำให้อาการแย่ลงได้ งานวิจัยในปัจจุบันเน้นไปทางบทบาทของประสาทชีววิทยา แม้จะยังไม่สามารถหาสาเหตุทางกายที่เป็นสาเหตุเดี่ยวๆ ของโรคได้ก็ตาม เนื่องจากโรคนี้มีการแสดงออกของอาการได้หลายรูปแบบ จึงยังเป็นที่ถกเถียงว่าคำวินิจฉัยโรคจิตเภทนี้เป็นโรคเพียงโรคเดียวหรือเป็นกลุ่มของโรคหลายๆ โรค ถึงแม้คำภาษาอังกฤษของ schizophrenia จะมาจากภาษากรีกที่แปลว่าการแบ่งแยกของจิตใจ แต่โรคนี้ไม่ใช่โรคที่ทำให้มีหลายบุคลิกอย่างที่สังคมบางส่วนเข้าใจ แนวทางการรักษาในปัจจุบันคือการใช้ยาต้านโรคจิต ส่วนใหญ่ทำงานโดยยับยั้งผลของโดปามีน การใช้จิตบำบัดและการบำบัดการเข้าสังคมก็มีส่วนสำคัญในการรักษาผู้ป่วยจิตเภท ในกรณีป่วยรุนแรงจนมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่นอาจจำเป็นต้องได้รับการกักตัวไว้ในโรงพยาบาล อย่างไรก็ดีการนอนโรงพยาบาลในปัจจุบันใช้เวลาสั้นกว่าในสมัยก่อนมาก เชื่อว่าโรคนี้มีผลต่อการรู้เป็นสำคัญ แต่หลายครั้งก็ทำให้เกิดปัญญาทางด้านพฤติกรรมและอารมณ์อย่างเรื้อรังได้ ผู้ป่วยจิตเภทมักมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่นโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล มีอัตราการใช้สารเสพติดรวมตลอดชีวิตถึง 50% ของผู้ป่วย ปัญหาทางสังคม เช่นการว่างงาน ความยากจน และไม่มีที่อยู่อาศัยนั้นพบได้บ่อย อายุขัยโดยเฉลี่ยของผู้ป่วยน้อยกว่าคนทั่วไปอยู่ 12-15 ปี ซึ่งเป็นผลจากปัญหาสุขภาพและอัตราการฆ่าตัวตายที่มากขึ้น (ประมาณ 5%).

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและโรคจิตเภท · ดูเพิ่มเติม »

โรคซึมเศร้า

รคซึมเศร้า (major depressive disorder ตัวย่อ MDD) เป็นความผิดปกติทางจิตซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอารมณ์ซึมเศร้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ในแทบทุกสถานการณ์ มักเกิดร่วมกับการขาดความภูมิใจแห่งตน การเสียความสนใจในกิจกรรมที่ปกติทำให้เพลิดเพลินใจ อาการไร้เรี่ยวแรง และอาการปวดซึ่งไม่มีสาเหตุชัดเจน ผู้ป่วยอาจมีอาการหลงผิดหรือมีอาการประสาทหลอน ผู้ป่วยบางรายมีช่วงเวลาที่มีอารมณ์ซึมเศร้าห่างกันเป็นปี ๆ ส่วนบางรายอาจมีอาการตลอดเวลา โรคซึมเศร้าสามารถส่งผลกระทบในแง่ลบให้แก่ผู้ป่วยในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ชีวิตส่วนตัว ชีวิตในที่ทำงานหรือโรงเรียน ตลอดจนการหลับ อุปนิสัยการกิน และสุขภาพโดยทั่วไป ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าผู้ใหญ่ประมาณ 2–7% เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย และประมาณ 60% ของผู้ฆ่าตัวตายกลุ่มนี้มีโรคซึมเศร้าร่วมกับความผิดปกติทางอารมณ์ชนิดอื่น คำว่า ความซึมเศร้า สามารถใช้ได้หลายทาง คือ มักใช้เพื่อหมายถึงกลุ่มอาการนี้ แต่อาจหมายถึงความผิดปกติทางจิตอื่นหรือหมายถึงเพียงภาวะซึมเศร้าก็ได้ โรคซึมเศร้าเป็นภาวะทำให้พิการ (disabling) ซึ่งมีผลเสียต่อครอบครัว งานหรือชีวิตโรงเรียน นิสัยการหลับและกิน และสุขภาพโดยรวมของบุคคล ในสหรัฐอเมริกา ราว 3.4% ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าฆ่าตัวตาย และมากถึง 60% ของผู้ที่ฆ่าตัวตายนั้นมีภาวะซึมเศร้าหรือความผิดปกติทางอารมณ์อย่างอื่น ในประเทศไทย โรคซึมเศร้าเป็นความผิดปกติทางจิตที่พบมากที่สุด (3.7% ที่เข้าถึงบริการ) เป็นโรคที่สร้างภาระโรค (DALY) สูงสุด 10 อันดับแรกโดยเป็นอันดับ 1 ในหญิง และอันดับ 4 ในชาย การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าอาศัยประสบการณ์ที่รายงานของบุคคลและการทดสอบสภาพจิต ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคซึมเศร้า ทว่า แพทย์อาจส่งตรวจเพื่อแยกภาวะทางกายซึ่งสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกันออก ควรแยกโรคซึมเศร้าจากความเศร้าซึ่งเป็นธรรมดาของชีวิตและไม่รุนแรงเท่า มีการตั้งชื่อ อธิบาย และจัดกลุ่มอาการซึมเศร้าว่าเป็นความผิดปกติทางอารมณ์ (mood disorder) ในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิตปี 2523 ของสมาคมจิตแพทย์อเมริกัน คณะทำงานบริการป้องกันสหรัฐ (USPSTF) แนะนำให้คัดกรองโรคซึมเศร้าในบุคคลอายุมากกว่า 12 ปี แต่บทปฏิทัศน์คอเครนก่อนหน้านี้ไม่พบหลักฐานเพียงพอสำหรับการคัดกรองโรค โดยทั่วไป โรคซึมเศร้ารักษาได้ด้วยจิตบำบัดและยาแก้ซึมเศร้า ดูเหมือนยาจะมีประสิทธิภาพ แต่ฤทธิ์อาจสำคัญเฉพาะในผู้ที่ซึมเศร้ารุนแรงมาก ๆ เท่านั้น ไม่ชัดเจนว่ายาส่งผลต่อความเสี่ยงการฆ่าตัวตายหรือไม่ ชนิดของจิตบำบัดที่ใช้มีการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) และการบำบัดระหว่างบุคคล หากมาตรการอื่นไม่เป็นผล อาจทดลองให้การรักษาทางจิตเวชด้วยไฟฟ้า (ECT) อาจจำเป็นต้องให้ผู้ป่วยที่มีควมเสี่ยงทำร้ายตนเองเข้าโรงพยาบาลแม้บางทีอาจขัดต่อความประสงค์ของบุคคล ความเข้าใจถึงธรรมชาติและสาเหตุของความซึมเศร้าได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าจะยังไม่สมบูรณ์และยังมีประเด็นมากมายที่ยังต้องวิจัย เหตุที่เสนอรวมทั้งเป็นปัญหาทางจิต ทางจิต-สังคม ทางกรรมพันธุ์ ทางวิวัฒนาการ และปัจจัยอื่น ๆ ทางชีวภาพ การใช้สารเสพติดเป็นเวลานานอาจเป็นเหตุหรือทำอาการเศร้าซึมให้แย่ลง การบำบัดทางจิตอาศัยทฤษฎีต่าง ๆ เกี่ยวกับบุคลิกภาพ การสื่อสารระหว่างบุคคล และการเรียนรู้ ทฤษฎีทางชีววิทยามักจะพุ่งความสนใจไปที่สารสื่อประสาทแบบโมโนอะมีน คือ เซโรโทนิน นอร์เอพิเนฟริน และโดพามีน ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติในสมองและช่วยการสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาท.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและโรคซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

โดพามีน

มีน (Dopamine) เป็นสารประกอบอินทรีย์ในกลุ่มเดียวกัน แคทิคอลลามีน และ เฟนเอทิลเอมีน ซึ่งมีความสำคัญกับสมองและร่างกาย ซื่อโดพามีน ได้จากโครงสร้างทางเคมี ซึ่งสังเคราะห์โดยการเปลี่ยนหมู่กรดอินทรีย์ของ L-DOPA ( L-3,4-dihydroxyphenylalanine) ให้เป็นหมู่อะมิโน ซึ่งเป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้นในสมองและไต และพบว่าพืชและสัตว์บางชนิดก็สามารถสังเคราะห์ได้เช่นกัน ในสมอง โดพามีนทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitter) คอยกระตุ้น ตัวรับโดพามีน (dopamine receptor) โดพามีนทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนประสาท (neurohormone) ที่หลั่งมาจากสมองส่วนไฮโปทาลามัส (hypothalamus) หน้าที่หลักของฮอร์โมนตัวนี้คือยับยั้งการหลั่งโปรแลคติน (prolactin) จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary) โดพามีนสามารถใช้เป็นยา ซึ่งมีผลต่อระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system) โดยมีผลลัพธ์คือ อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น แรงดันโลหิตเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อโดพามีนไม่สามารถผ่านโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดและสมอง (blood-brain barrier) โดพามีนที่ใช้เป็นยา จะไม่มีผลโดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลาง การเพิ่มปริมาณของโดพามีนในสมองของผู้ป่วยที่เป็นโรคต่างๆ เช่น พาร์คินสัน สามารถให้สารตั้งต้นแบบสังเคราะห์แก่โดพามีน เช่น L-DOPA เพื่อให้สามารถผ่านโครงสร้างกั้นระหว่างเลือดและสมองได้ โดพามีนเป็นสารสื่อประสาทกลุ่มแคทีโคลามีน (catecholamines) ที่สร้างมาจากกรดอะมิโนไทโรซีน (tyrosine) โดยอาศัยการทำงานของเอนไซม์ไทโรซีนไฮดรอกซิเลส (tyrosine hydroxylase) ในสมอง มีปริมาณโดพามีนประมาณร้อยละ 80 ของสารกลุ่มแคทีโคลามีนที่ถูกสร้างขึ้นทั้งหมด นอกจากนี้โดพามีนยังจัดเป็นนิวโรฮอร์โมน (neurohormone) ที่หลั่งจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งการหลั่งโปรแลกตินจากกลีบส่วนหน้าของต่อมพิทูอิตารี เมื่อโดพามีนถูกปลดปล่อยจากเซลล์ประสาทโดพามีนแล้ว จะมีผลต่อสมองส่วนต่างๆ ในหลายด้าน ซึ่งได้แก.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและโดพามีน · ดูเพิ่มเติม »

ไต

ตเป็นอวัยวะรูปถั่วซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสำคัญหลายอย่างในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ไตนำโมเลกุลอินทรีย์ส่วนเกิน (เช่น กลูโคส) ออก และด้วยฤทธิ์นี้เองที่เป็นการทำหน้าที่ที่ทราบกันดีที่สุดของไต คือ การขับของเสียจากเมแทบอลิซึม (เช่น ยูเรีย แม้ 90% ของปริมาณที่กรองถูกดูดกลับที่หน่วยไต) ออกจากร่างกาย ไตเป็นอวัยวะสำคัญในระบบปัสสาวะและยังมีหน้าที่ธำรงดุล เช่น การกำกับอิเล็กโทรไลต์ การรักษาสมดุลกรด–เบส และการกำกับความดันเลือด (ผ่านการรักษาสมดุลเกลือและน้ำ) ไตทำหน้าที่เป็นตัวกรองเลือดตามธรรมชาติ และนำของเสียที่ละลายได้ในน้ำออก ซึ่งจะถูกส่งไปยังกระเพาะปัสสาวะ ในการผลิตปัสสาวะ ไตขับของเสีย เช่น ยูเรียและแอมโมเนียม และยังทำหน้าที่ดูดน้ำ กลูโคสและกรดอะมิโนกลับ ไตยังผลิตฮอร์โมน เช่น แคลซิไตรออล อีริโธรพอยอิติน และเอนไซม์เรนิน ซึ่งเรนินออกฤทธิ์ต่อไตโดยอ้อมในการยับยั้งป้อนกลับ (negative feedback) ไตอยู่หลังช่องท้องในหลังเยื่อบุช่องท้อง (retroperitoneum) ไตรับเลือดจากคู่หลอดเลือดแดงไต และเทเข้าสู่คู่หลอดเลือดดำไต ไตแต่ละข้างขับปัสสาวะสู่ท่อไต อันเป็นโครงสร้างคู่และเทเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ สรีรวิทยาไตเป็นการศึกษาการทำหน้าที่ของไต ขณะที่วักกวิทยา (nephrology) เป็นแพทยศาสตร์เฉพาะทางว่าด้วยโรคไต โรคของไตมีหลากหลาย แต่ผู้ที่มีโรคไตแสดงลักษณะพิเศษทางคลินิกบ่อยครั้ง ปัญหาทางคลินิกเกี่ยวกับไตที่พบบ่อย รวมถึงกลุ่มอาการไตอักเสบ (nephritic) และเนโฟรติก (nephrotic) ถุงน้ำไต ไตบาดเจ็บเฉียบพลัน โรคไตเรื้อรัง การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ โรคนิ่วไต และการอุดกั้นทางเดินปัสสาวะ มีมะเร็งของไตหลายอย่าง มะเร็งของไตในผู้ใหญ่ที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเซลล์ไต มะเร็ง ถุงน้ำและปัญหาของไตอื่นบางอย่างสามารถรักษาได้ด้วยการตัดไต เมื่อการทำหน้าที่ของไต ซึ่งวัดได้โดยอัตราการกรองของโกลเมอรูลัส (glomerular filtration rate) ต่ำอย่างต่อเนื่อง การแยกสารผ่านเยื่อและการปลูกถ่ายไตอาจเป็นทางเลือกการรักษา นิ่วในไตปกติไม่เป็นอันตราย แต่อาจทำให้เกิดการปวด และการเกิดนิ่วซ้ำ ๆ เรื้อรังสามารถทำให้ไตเกิดแผลเป็น การนำนิ่วในไตออกเกี่ยวข้องกับการรักษาด้วยอัลตราซาวน์เพื่อสลายนิ่วเป็นชิ้นที่เล็กลง ซึ่งจะผ่านทางเดินปัสสาวะ กลุ่มอาการทั่วไปหนึ่งของนิ่วในไต คือ การปวดแปลบ (sharp) ถึงปวดจนรบกวนการใช้ชีวิต (disabling pain) ในตอนกลาง/ข้างของหลังส่วนล่างหรือขาหนี.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและไต · ดูเพิ่มเติม »

เมแทบอลิซึม

กระบวนการสร้างและสลาย หรือ เมแทบอลิซึม (metabolism) มาจากภาษากรีก μεταβολή ("metabolē") มีความหมายว่า "เปลี่ยนแปลง" เป็นกลุ่มปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นในเซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อค้ำจุนชีวิต วัตถุประสงค์หลักสามประการของเมแทบอลิซึม ได้แก่ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงให้เป็นพลังงานในการดำเนินกระบวนการของเซลล์ การเปลี่ยนอาหารและเชื้อเพลิงเป็นหน่วยย่อยของโปรตีน ลิพิด กรดนิวคลิอิกและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด และการขจัดของเสียไนโตรเจน ปฏิกิริยาเหล่านี้มีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเติบโตและเจริญพันธุ์ คงไว้ซึ่งโครงสร้างและตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม "เมแทบอลิซึม" ยังสามารถหมายถึง ผลรวมของปฏิกิริยาเคมีทั้งหมดที่เกิดในสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการย่อยและการขนส่งสสารเข้าสู่เซลล์และระหว่างเซลล์ กลุ่มปฏิกิริยาเหล่านี้เรียกว่า เมแทบอลิซึมสารอินเทอร์มีเดียต (intermediary หรือ intermediate metabolism) โดยปกติ เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็นสองประเภท คือ แคแทบอลิซึม (catabolism) ที่เป็นการสลายสสารอินทรีย์ ตัวอย่างเช่น การสลายกลูโคสให้เป็นไพรูเวต เพื่อให้ได้พลังงานในการหายใจระดับเซลล์ และแอแนบอลิซึม (anabolism) ที่หมายถึงการสร้างส่วนประกอบของเซลล์ เช่น โปรตีนและกรดนิวคลีอิก ทั้งนี้ การเกิดแคแทบอลิซึมส่วนใหญ่มักมีการปลดปล่อยพลังงานออกมา ส่วนการเกิดแอแนบอลิซึมนั้นจะมีการใช้พลังงานเพื่อเกิดปฏิกิริยา ปฏิกิริยาเคมีของเมแทบอลิซึมถูกจัดอยู่ในวิถีเมแทบอลิซึม (metabolic pathway) ซึ่งสารเคมีชนิดหนึ่งๆ จะถูกเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอนจนกลายเป็นสารชนิดอื่น โดยอาศัยการเข้าทำปฏิกิริยาของใช้เอนไซม์หลายชนิด ทั้งนี้ เอนไซม์ชนิดต่างๆ นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเกิดเมแทบอลิซึม เพราะเอนไซม์จะเป็นตัวกระตุ้นการเกิดปฏิกิริยาเคมีเหล่านั้น โดยการเข้าจับกับปฏิกิริยาที่เกิดเองได้ (spontaneous process) อยู่แล้วในร่างกาย และหลังการเกิดปฏิกิริยาจะมีปลดปล่อยพลังงานออกมา พลังงานที่เกิดขึ้นนี้จะถูกนำไปใช้ในปฏิกิริยาเคมีอื่นของสิ่งมีชีวิตที่ไม่อาจเกิดขึ้นได้เองหากปราศจากพลังงาน จึงอาจกล่าวได้ว่า เอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ของร่างกายดำเนินไปอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เอนไซม์ยังทำหน้าที่ควบคุมวิถีเมแทบอลิซึมในกระบวนการการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสิ่งแวดล้อมของเซลล์หรือสัญญาณจากเซลล์อื่น ระบบเมแทบอลิซึมของสิ่งมีชีวิตจะเป็นตัวกำหนดว่า สารใดที่มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพิษสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น โปรคาริโอตบางชนิดใช้ไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นสารอาหาร ทว่าแก๊สดังกล่าวกลับเป็นสารที่ก่อให้เกิดพิษแก่สัตว์ ทั้งนี้ ความเร็วของเมแทบอลิซึม หรืออัตราเมแทบอลิกนั้น ส่งผลต่อปริมาณอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ รวมไปถึงวิธีที่สิ่งมีชีวิตนั้นจะได้อาหารมาด้วย คุณลักษณะที่โดดเด่นของเมแทบอลิซึม คือ ความคล้ายคลึงกันของวิถีเมแทบอลิซึมและส่วนประกอบพื้นฐาน แม้จะในสปีชีส์ที่ต่างกันมากก็ตาม ตัวอย่างเช่น กลุ่มกรดคาร์บอกซิลิกที่ทราบกันดีว่าเป็นสารตัวกลางในวัฏจักรเครปส์นั้นพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีการศึกษาในปัจจุบัน ตั้งแต่สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวอย่างแบคทีเรีย Escherichia coli ไปจนถึงสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ขนาดใหญ่อย่างช้าง ความคล้ายคลึงกันอย่างน่าประหลาดใจของวิถีเมแทบอลิซึมเหล่านี้เป็นไปได้ว่าอาจเป็นผลเนื่องมาจากวิถีเมแทบอลิซึมที่ปรากฏขึ้นในช่วงแรกของประวัติศาสตร์วิวัฒนาการ และสืบมาจนถึงปัจจุบันเพราะประสิทธิผลของกระบวนการนี้.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและเมแทบอลิซึม · ดูเพิ่มเติม »

เอนไซม์

TIM. Factor D enzyme crystal prevents the immune system from inappropriately running out of control. เอนไซม์ (อังกฤษ: enzyme) เป็นโปรตีน 99 เปอร์เซนต์ เป็น ส่วนใหญ่ ที่ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมี เป็นคำในภาษากรีก ένζυμο หรือ énsymo ซึ่งมาจาก én ("ที่" หรือ "ใน") และ simo (":en:leaven" หรือ ":en:yeast") เอนไซม์มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต เพราะว่าปฏิกิริยาเคมีส่วนใหญ่ในเซลล์จะเกิดช้ามาก หรือถ้าไม่มีเอนไซม์อาจทำให้ผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยากลายเป็นสารเคมีชนิดอื่น ซึ่งถ้าขาดเอนไซม์ระบบการทำงานของเซลล์จะผิดปกติ (malfunction) เช่น.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและเอนไซม์ · ดูเพิ่มเติม »

เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล

ปกเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลฉบับแรก 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2432 เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล (The Wall Street Journal) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันระหว่างประเทศภาษาอังกฤษที่มีต้นกำเนิดในสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กโดยดาวโจนส์แอนด์คอมพานี ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของนิวส์คอร์ปอเรชัน เช่นเดียวกับรุ่นเอเชียและยุโรปของหนังสือพิมพ์ เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัลเป็นหนังสือพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกาหากคิดตามยอดจัดจำหน่าย ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติยอดจำหน่ายสิ่งพิมพ์ (Audit Bureau of Circulations) หนังสือพิมพ์ดังกล่าวมียอดจำหน่าย 2,092,523 ฉบับ (รวม 400,000 ฉบับที่บอกรับสมาชิกออนไลน์แบบเสียค่าใช้จ่าย) จนถึงเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล · ดูเพิ่มเติม »

เซโรโทนิน

ซโรโทนิน (serotonin) (5-hydroxytryptamine, or 5-HT) เป็นสารสื่อประสาทที่มีโครงสร้างทางเคมีเป็นโมโนอะมีน (monoamine neurotransmitter) พบมากในระบบทางเดินอาหารของสัตว์ (gastrointestinal tract of animals) และประมาณ 80-90% ของปริมาณเซโรโทนินรวมในร่างกายมนุษย์พบใน enterochromaffin cells ซึ่งเป็นเซลล์ในทางเดินอาหาร (gut) ซึ่งมันทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนไหวของทางเดินอาหาร ส่วนเซโรโทนินในร่างกายอีก 10-20% นั้น ถูกสังเคราะห์ในระบบประสาทส่วนกลางจากเซลล์ประสาทที่สามารถสร้างเซโรโทนินได้ (serotonergic neurons) ซึ่งทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาท ซึ่งมีบทบาทหลายหน้าที่เช่น การควบคุมความหิว อารมณ์ และความโกรธ เซโรโทนินยังพบในเห็ดและพืชผักผลไม้ต่างๆอีกด้ว.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและเซโรโทนิน · ดูเพิ่มเติม »

Selective serotonin re-uptake inhibitors

Selective serotonin re-uptake inhibitors หรือ serotonin-specific reuptake inhibitors (ตัวย่อ SSRI, SSRIs) เป็นกลุ่มยา (class of drugs) ที่ปกติใช้เป็นยาแก้ซึมเศร้าเพื่อรักษาโรคซึมเศร้า (MDD) และโรควิตกกังวล กลไกการทำงานของ SSRIs ยังเป็นเรื่องไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่า SSRI เพิ่มระดับสารสื่อประสาทเซโรโทนินนอกเซลล์ประสาทโดยจำกัดการนำไปใช้ใหม่ในเซลล์ก่อนไซแนปส์ (presynaptic) เป็นการเพิ่มระดับเซโรโทนินในช่องไซแนปส์ (synaptic cleft) ที่สามารถเข้ายึดกับตัวรับ (receptor) ของเซลล์หลังไซแนปส์ (postsynaptic) ได้ ยาแต่ละประเภทมีการเลือกสรร (selectivity) ในระดับต่าง ๆ กันต่อตัวขนส่งโมโนอะมีนประเภทอื่น ๆ แต่ SSRIs แบบบริสุทธิ์จะมีสัมพรรคภาพ (affinity) ที่อ่อนต่อโปรตีนขนส่งนอร์เอพิเนฟรินและโปรตีนขนส่งโดพามีน SSRIs เป็นยาแก้ซึมเศร้าที่แพทย์สั่งให้คนไข้มากที่สุดในประเทศหลาย ๆ ประเทศ แต่ประสิทธิผลของ SSRIs ต่อโรคซึมเศร้าในระดับอ่อนหรือปานกลางยังเป็นเรื่องขัดแย้ง.

ใหม่!!: ริสเพอริโดนและSelective serotonin re-uptake inhibitors · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Risperidoneริสเพริโดนริสเปริโดนริสเปอริโดน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »