โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซีย

ดัชนี รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซีย

ังดีเปอร์ตวนอากง (Yang di-Pertuan Agong, يڠ د-ڤرتوان اڬوڠ; ยังดีเปร์ตูวันอากง) ในภาษามลายู หมายถึง ผู้ปกครองสูงสุด เป็นตำแหน่งอย่างเป็นทางการของประมุขแห่งรัฐของมาเลเซีย เปรียบเทียบได้กับพระมหากษัตริย์ในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมาจากเจ้าผู้ครองรัฐทั้ง 9 รัฐในมาเลเซียตะวันตก จากทั้งหมด 13 รัฐของมาเลเซีย ดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี และหมุนเวียนกันไปตามลำดับ พระอัครมเหสีในยังดีเปอร์ตวนอากง มีตำแหน่งเรียกว่า รายา ประไหมสุหรี อากง (Raja Permaisuri Agong, راج ڤرماءيسوري اڬوڠ; ราจาเปร์ไมซูรีอากง).

30 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2500พระมหากษัตริย์มาเลเซียตะวันตกรัฐกลันตันรัฐยะโฮร์รัฐตรังกานูรัฐปะลิสรัฐปะหังรัฐเกอดะฮ์รัฐเซอลาโงร์รัฐเปรักรัฐเนอเกอรีเซิมบีลันราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญรายา ประไหมสุหรี อากงสมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตันสมเด็จพระราชาธิบดียะห์ยา เปตราสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน อิสมาอิล นาซีรุดดิน ชาห์สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน ฮีซามุดดิน อาลัม ชาห์สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านมีซัน ไซนัล อาบีดินสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านอัซลัน มูฮิบบุดดิน ชาห์สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัจญี อาห์หมัด ชาห์สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์สมเด็จพระราชาธิบดีอิสกันดาร์สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู อับดุล ระห์มันสมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู จาฟาร์สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู ซัยยิด ซีรอญุดดีนสมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู ซัยยิด ปูตราสมเด็จพระราชาธิบดีซาลาฮุดดีน อับดุล อาซิซประมุขแห่งรัฐประเทศมาเลเซีย

พ.ศ. 2500

ทธศักราช 2500 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1957 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและพ.ศ. 2500 · ดูเพิ่มเติม »

พระมหากษัตริย์

กษัตริย์ หรือ พระมหากษัตริย์ คือประมุขหรือผู้ปกครองสูงสุดของรัฐ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือในราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ปัจจุบันพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มีน้อยมากซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็ก พระมหากษัตริย์เป็นได้ด้วยการสืบสันตติวงศ์หรือโดยการยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์พระองค์เดิมแล้วปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ การสืบสันตติวงศ์ของพระมหากษัตริย์จะสืบทอดต่อกันมาโดยเชื้อพระวงศ์ เรียกว่าพระราชวงศ์ เมื่อสิ้นสุดการสืบทอดโดยเชื้อพระวงศ์ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่จะเป็นตันพระราชวงศ์ใหม่ หรือเป็นผู้สถาปนาพระราชวงศ์ พระมหากษัตริย์อาจมีคำเรียกแตกต่างกัน เช่น พระราชาธิบดี พระจักรพรรดิ พระราชา เจ้ามหาชีวิต เป็นต้น กษัตริย์ ในสังคมฮินดู ยังหมายถึงวรรณะที่ 2 จาก 4 วรรณะ คือวรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและพระมหากษัตริย์ · ดูเพิ่มเติม »

มาเลเซียตะวันตก

มาเลเซียตะวันตก (Semenanjung Malaysia) เป็นภูมิภาคหนึ่งของมาเลเซีย ซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรมลายูโดยมีชายแดนติดต่อกับประเทศไทยทางเหนือ และติดต่อกับสิงคโปร์ทางใต้โดยมีช่องแคบยะโฮร์กั้นอยู่ ทางตะวันตกจรดกับช่องแคบมะละกาและทางตะวันออกจรดกับทะเลจีนใต้ มาเลเซียตะวันตกยังเป็นดินแดนส่วนแรกที่รวมตัวกันเป็นสหภาพมาลายา ก่อนที่มาเลเซียตะวันออกและสิงคโปร์จะเข้าร่วมและกลายเป็นสหพันธรัฐมาลายาในเวลาต่อมา (และภายหลังสิงคโปร์ก็แยกดินแดนออกไปตั้งรัฐของตนเอง).

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและมาเลเซียตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐกลันตัน

กลันตัน (Kelantan; มลายูปัตตานี: كلنتن กลาแต) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเกียรติเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลนาอิม ("ถิ่นที่อยู่ที่สวยงาม") เมืองหลวงและเมืองของเจ้าผู้ครองประจำรัฐคือโกตาบารู (Kota Bharu) รัฐกลันตันตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก มีอาณาเขตติดต่อกับ จังหวัดนราธิวาส ประเทศไทยทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐตรังกานูทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ รัฐเประก์ทางทิศตะวันตก และรัฐปะหังทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือจรดทะเลจีนใต้ จากการที่พรรคอิสลามมาเลเซีย (PAS) มีฐานอำนาจอยู่ในรัฐนี้มานานหลายปี จึงทำให้กลันตันเป็นรัฐที่มีความเป็นอนุรักษนิยมทางสังคมมากที่สุดในประเทศ องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ประกอบด้วยชาวมลายูร้อยละ 95 ชาวไทยร้อยละ 3 ชาวจีนร้อยละ 1.9 และอื่น ๆ ร้อยละ 0.1.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและรัฐกลันตัน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐยะโฮร์

ร์ (Johor, อักษรยาวี: جوهور) เป็นรัฐหนึ่งของประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 1°20" เหนือ และ 2°35" เหนือ เมืองหลวงของรัฐตั้งอยู่ที่เมืองโจโฮร์บะฮ์รู (Johor Bahru) ซึ่งเมื่อก่อนนี้ชื่อเมืองตันจุงปูเตอรี (Tanjung Puteri) เมืองหลวงเก่าคือเมืองยะโฮร์ลามา (Johor Lama) คำเฉลิมเมืองที่เป็นภาษาอาหรับคือ ดารุลตาอาซิม (Darul Ta'azim) ซึ่งแปลว่า ที่สถิตแห่งเกียรติยศ รัฐนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการ SIJORI เพื่อเชื่อมโยงระบบสายส่งไฟฟ้าระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและรัฐยะโฮร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐตรังกานู

ตรังกานู (Terengganu เดิมสะกดว่า Trengganu หรือ Tringganu, อักษรยาวี: ترڠڬانو) เป็นรัฐสุลต่านและเป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลอีมาน ("ถิ่นที่อยู่แห่งความศรัทธา") รัฐตรังกานูตั้งอยู่ริมชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกติดต่อกับรัฐกลันตัน ทางทิศใต้ติดต่อกับรัฐปะหัง และทางทิศตะวันออกจรดทะเลจีนใต้ หมู่เกาะเปอร์เฮินเตียน (Perhentian Islands) เป็นส่วนหนึ่งของรัฐนี้ด้วย ทำให้รัฐตรังกานูมีพื้นที่ทั้งหมดรวม 12,955 ตารางกิโลเมตร องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ในปี พ.ศ. 2538 ได้แก่ ชาวมลายู (859,402 คน หรือร้อยละ 94) ชาวจีน (42,970 คน หรือร้อยละ 5) ชาวอินเดีย (4,355 คน) และอื่น ๆ (3,238 คน) เมืองชายฝั่งกัวลาเตอเริงกานู (Kuala Terengganu) ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำตรังกานูเป็นทั้งเมืองหลวงของรัฐและเมืองของสุลต่าน และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรั.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและรัฐตรังกานู · ดูเพิ่มเติม »

รัฐปะลิส

ปะลิส หรือเดิมสะกดว่า ปลิศ หรือ เปอร์ลิศ (Perlis, ยาวี: فرليس) มีชื่อเต็มคือ เปอร์ลิซอินเดอรากายางัน (Perlis Indera Kayangan; ยาวี: ڤرليس ايندرا كايڠن) เป็นรัฐที่เล็กที่สุดในมาเลเซีย อยู่ทางตอนเหนือสุดของมาเลเซียตะวันตก และติดชายแดนประเทศไทย ประชากรของรัฐมีจำนวน 198,335 คน ในปี 2543 ในจำนวนนี้เป็นชาวมลายูประมาณ 166,200 คนหรือร้อยละ 78, ชาวจีน 24,000 คนหรือร้อยละ 17, ชาวอินเดีย 3,700 คน และอื่น ๆ 5,400 คน) เมืองหลวงของรัฐปะลิสคือ กังการ์ เมืองที่เป็นที่ประทับของเจ้าผู้ครองนครคืออาเรา นอกจากนี้เมืองการค้าสำคัญบริเวณชายไทย-มาเลเซียคือปาดังเบซาร์ ส่วนเมืองท่าของรัฐซึ่งเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของรัฐคือกัวลาปะล.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและรัฐปะลิส · ดูเพิ่มเติม »

รัฐปะหัง

ปะหัง (Pahang, อักษรยาวี: ڨهڠ) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธรัฐมาเลเซีย และเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดบนมาเลเซียตะวันตก ครอบคลุมบริเวณแอ่งแม่น้ำปะหัง มีอาณาเขตติดต่อกับรัฐกลันตันทางทิศเหนือ ติดต่อกับรัฐเประก์ รัฐเซอลาโงร์ และรัฐเนอเกอรีเซิมบีลันทางทิศตะวันตก ติดต่อกับรัฐยะโฮร์ทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันออกติดต่อกับรัฐตรังกานูและทะเลจีนใต้ เมืองหลวงของรัฐคือกวนตัน (Kuantan) ส่วนเมืองของเจ้าผู้ครองตั้งอยู่ที่ปกัน (Pekan) เมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ กัวลาลีปิส เตเมร์โละห์ และรีสอร์ตเชิงเขาที่ที่สูงเกินติง ที่สูงจาเมรอน และเฟรเซอส์ฮิลล์ ชื่อเฉลิมเมืองของรัฐปะหังคือ ดารุลมักมูร์ ("ถิ่นที่อยู่แห่งความเงียบสงบ") องค์ประกอบทางชาติพันธุ์ของผู้คนในรัฐนี้ประมาณอย่างหยาบ ๆ ได้แก่ ชาวมลายู + ภูมิบุตร 1 ล้านคน ชาวจีน 233,000 คน ชาวอินเดีย 68,500 คน อื่น ๆ 13,700 คน และไร้สัญชาติ 68,000 คน.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและรัฐปะหัง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเกอดะฮ์

กอดะฮ์ (Kedah, قدح) หรือ ไทรบุรี มีชื่อเฉลิมเมืองเป็นภาษาอาหรับว่า ดารุลอามัน ("ถิ่นที่อยู่แห่งสันติภาพ") เป็นรัฐหนึ่งในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมาเลเซียตะวันตก ครอบคลุมขนาดเนื้อที่ 9,425 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่บนแผ่นดินใหญ่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบใช้สำหรับปลูกข้าว รวมทั้งเกาะลังกาวี พรมแดนของรัฐเกอดะฮ์ทางทิศเหนือติดต่อกับรัฐปะลิส และติดต่อกับจังหวัดสงขลาและจังหวัดยะลาของประเทศไทย ทิศใต้ติดต่อกับรัฐเประก์ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดต่อกับรัฐปีนัง เมืองหลวงของรัฐคือ อาโลร์เซอตาร์ และเมืองของเจ้าผู้ครองคือ อานักบูกิต เมืองหลักอื่น ๆ ได้แก่ ซูไงเปอตานี (Sungai Petani) และกูลิม (Kulim) บนแผ่นดินใหญ่ รวมทั้งกูวะห์ (Kuah) บนเกาะลังกาวี.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและรัฐเกอดะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเซอลาโงร์

ซอลาโงร์ (Selangor, อักษรยาวี: سلانڠور) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของคาบสมุทรมลายู และล้อมรอบกัวลาลัมเปอร์ไว้ทั้งหมด อาณาเขตของรัฐเซอลาโงร์ ทิศเหนือติดรัฐเปรัก ทิศตะวันออกติดรัฐปะหัง ทิศตะวันตกติดช่องแคบมะละกา ทิศใต้ติดรัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน เมืองหลวงของเซอลาโงร์ชื่อ ชะฮ์อาลัม เมืองเจ้าผู้ครองชื่อ กลัง เป็นรัฐทีใหญ่อันดับ 9 ของมาเลเซีย อีกเมืองหนึ่งที่สำคัญของเซอลาโงร์คือเปอตาลิงจายา ซึ่งได้รับเป็นสถานะเป็นเมืองดีเด่นเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2006.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและรัฐเซอลาโงร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเปรัก

ปรัก หรือ เประก์ (Perak, อักษรยาวี: ڨيرق) เป็นหนึ่งในสิบสามรัฐที่ประกอบขึ้นเป็นประเทศมาเลเซีย มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองบนมาเลเซียตะวันตก ติดต่อกับรัฐเกอดะฮ์และจังหวัดยะลาของประเทศไทยทางทิศเหนือ รัฐปีนังทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ รัฐกลันตันและรัฐปะหังทางทิศตะวันออก รัฐเซอลาโงร์ทางทิศใต้ ส่วนทางทิศตะวันตกจรดช่องแคบมะละกา "เปรัก" (Perak) ในภาษามลายูหมายถึงเงิน ซึ่งน่าจะมาจากสีเงินของแร่ดีบุก แต่บางคนก็ว่าชื่อของรัฐมาจาก "แสงวิบวับของปลาในน้ำ" ซึ่งส่องเป็นประกายเหมือนเงิน ส่วนชื่อเฉลิมเมืองในภาษาอาหรับคือ ดารุลริฎวาน ("ดินแดนแห่งความสง่างาม") เกาะปังกอร์เป็นเกาะเล็ก ๆ ใกล้ชายฝั่ง มีกิจกรรมท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น การดำน้ำ.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและรัฐเปรัก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน

นอเกอรีเซิมบีลัน (Negeri Sembilan, อักษรยาวี: نڬري سمبيلن) เป็น 1 ใน 13 รัฐที่ประกอบขึ้นเป็นสหพันธ์มาเลเซีย ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของมาเลเซียตะวันตก มีพื้นที่ประมาณ 6,650 ตารางกิโลเมตร คำว่า "เนอเกอรีเซิมบีลัน" แปลว่า 9 รัฐ สืบเนื่องจากในสมัยก่อนแบ่งการปกครองเป็น 9 อำเภอ มีเมืองหลวงชื่อ เซอเริมบัน เป็นเมืองท่าที่มีชายฝั่งทะเลสวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อน องค์ประกอบของกลุ่มชาติพันธุ์ในปี..

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและรัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

รายา ประไหมสุหรี อากง

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและรายา ประไหมสุหรี อากง · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน

มเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 (พระนามเดิม เติงกู มูฮัมมัด ฟาริส เปตรา; พระราชสมภพ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2512) เป็นยังดีเปอร์ตวนอากงพระองค์ที่ 15 และพระองค์ปัจจุบันของมาเลเซีย และสุลต่านแห่งรัฐกลันตัน พระองค์ได้รับการราชาภิเษกเป็นสุลต่านแห่งกลันตันเมื่อวันที่ 13 กันยายน..

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและสมเด็จพระราชาธิบดีมูฮัมมัดที่ 5 แห่งกลันตัน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดียะห์ยา เปตรา

thumb พระองค์เป็นยังดี เปอร์ตวน อากง องค์ที่6แห่งมาเลเซียพระองค์เป็นสุลต่านแห่งรัฐกลันตัน พระองค์เกิดเมื่อวันที่10 ธันวาคม.ศ1917 เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน พระองค์ดำรงตำแหน่งยังดี เปอร์ตวน อากง ต่อจากสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัดซัม ชาห์ พระองค์มีภรรยาชื่อเตงกู ไซนับ อิล บินดี เตงกู มูฮัมหมัด เปตรา พระองค์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 29 มีนาคม..1979 ที่กัวลาลัมเปอร์ รวมอายุได้61ปี ศพพระองค์ถูกฝังที่โกตาบารู กลันตัน หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์มาเลเซีย.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและสมเด็จพระราชาธิบดียะห์ยา เปตรา · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน อิสมาอิล นาซีรุดดิน ชาห์

thumb สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน อิสมาอิล นาซีรุดดิน ชาห์ เป็นยังดี เปอร์ตวน อากงองค์ที่4ของมาเลเซีย เป็นสุลต่านแห่งรัฐตรังกานู พระองค์เกิดเมื่อวันที่ 27มกราคมปี.ศ 1906 ประสูติที่ กัวลาเตอเริงกานู รัฐตรังกานู เป็นสุลต่านองค์ที่15ของรัฐตรังกานู เป็นลูกของ สุลต่าน อาลีแห่งตรังกานู พระองค์มีบุตรชื่อสุลต่าน มะห์มุด อัล มักตาฟี บิลลาห์ ชาห์ พระองค์มีรายา ปะไหมสุหรี อากง ชื่อ เตงกู อินทาน ซาฮาราพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 20 กันยายน..

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน อิสมาอิล นาซีรุดดิน ชาห์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน ฮีซามุดดิน อาลัม ชาห์

สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่าน ฮิซามุดดิน อาลัม ชาฮ์ แห่งเซอลังงอร์ มีพระนามเดิมว่า รายา ฮิซามุดดิน ประสูติเมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2441 เป็นพระราชโอรสในสุลต่านอลายุดดิน สุลัยมาน ชาห์ อิบนี อัลมาร์ฮุมรายามุดา มูซา และโต๊ะ คิก หัสนะห์ บินตรี ปิลอง สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่าน ฮิซามุดดิน อาลัม ชาฮ์ แห่งเซอลังงอร์ ได้รับการเสนอพระนามในที่ประชุมเพื่อคัดเลือกสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียเป็นพระองค์ที่ 2 ต่อจากตวนกู อับดุลรามัน ยังดีเปอตวนเบอซาร์ จากทั้งหมด 9 รัฐในมาเลเซีย (ไม่รวมซาบะฮ์ ซาราวะก์ มะละกา และปีนังซึ่งไม่มีสุลต่านเป็นประมุข) ได้รับพระบรมราชาภิเษกเมื่อ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2503 และทรงดำรงตำแหน่งจนเสด็จฑิวงคต ในวันที่ 1 กันยายน ปีเดียวกัน สิริราชสมบัติในตำแหน่งสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียได้ 4 เดือน กับอีก 16 วัน และดำรงพระยศเป็นเจ้าผู้ครองนครรัฐเซอลังงอร์ครั้งแรกตั้งแต่ปี 2480-2485 รวม 5 ปี ครั้งที่สองตั้งแต่ปี 2488-2503 ได้ 15 ปี รวมระยะเวลาทรงราชย์เป็นเจ้าผู้ครองนครรัฐ 20 ปี หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์แห่งรัฐเซอลาโงร์ หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐเซอลาโงร์.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่าน ฮีซามุดดิน อาลัม ชาห์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านมีซัน ไซนัล อาบีดิน

มเด็จพระราชาธิบดี สุลต่าน มีซาน ไซนัล อาบิดีน (พระนามเต็ม: อัล-วาตีกู บิลละฮ์ ตวนกู มีซัน ไซนัล อาบีดิน อิบนี อัลมาร์ฮุม ซุลตัน มะฮ์มุด อัล-มุกตาฟี บิลละฮ์ ชะฮ์) ทรงเป็นเป็นพระมหากษัตริย์มหารายาแห่งรัฐตรังกานู และเป็นพระราชโอรสในสุลต่าน มะห์หมุด อัลมักตาฟี บิลลาห์ ชาห์ พระมหากษัตริย์แห่งตรังกานูองค์ก่อน และพระองค์ทรงเป็นยังดีเปอร์ตวนอากงองค์ที่ 13 ทรงเป็นประมุขแห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549 - 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านมีซัน ไซนัล อาบีดิน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านอัซลัน มูฮิบบุดดิน ชาห์

มเด็จพระราชาธิบดี สุลต่าน อัซลัน มุฮิบบุดดิน ชาห์ แห่งเประก์ มีพระนามเดิมว่า รายา อัซลัน ประสูติเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2471 เป็นพระราชโอรสใน สุลต่านยูซุฟ อิซซุดดิน อิบนิ อัลมรหุม สุลต่าน อับดุล จาอิล นาสรุดดิน มัคห์ตารัม ชาห์ และโต๊ะ ปวน เดวังซา คอดิยะห์ บินติ อะหมัด ณ เมืองบาตูกายะห์ รัฐเประก์ ทรงสำเร็จการศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งนอตติงแฮม ประเทศอังกฤษ สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่าน อัซลัน มุฮิบบุดดิน ชาห์ ได้รับการเสนอพระนามในที่ประชุมเพื่อคัดเลือกสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียเป็นพระองค์ที่ 9 ต่อจาก อิสกันดาร์แห่งยะโฮร์ จากทั้งหมด 9 รัฐในมาเลเซีย (ไม่รวมซาบะฮ์ ซาราวะก์ มะละกา และปีนังซึ่งไม่มีสุลต่านเป็นประมุข) ได้รับพระบรมราชาภิเษกเมื่อ วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2532 และทรงดำรงตำแหน่งจนครบวาระในวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2537 สมเด็จพระราชาธิบดี สุลต่าน อัซลัน มุฮิบบุดดิน ชาห์ ทรงราชาภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชินี ประไหมสุหรี ตวนกู บัยนุน บินติ โมห์ด อาลี มีพระราชโอรสพระราชธิดาดังนี้.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านอัซลัน มูฮิบบุดดิน ชาห์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัจญี อาห์หมัด ชาห์

สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัจญี อาห์หมัด ชาห์ ทรงเป็นสุลต่านแห่งรัฐปะหัง พระองค์ประสูติเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2473 เป็นพระราชโอรสของสุลต่านอะบู บาการ์แห่งปะหัง พระองค์ขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 ต่อจากพระบิดาของพระองค์ สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัจญี อาห์หมัด ชาห์ ทรงอภิเษกสมรสกับคัลซอม บินติ อัลดุลลาห์ มีพระราชโอรสด้วยกัน 1 พระองค์ หมวดหมู่:สุลต่านรัฐปะหัง.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัจญี อาห์หมัด ชาห์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์

ลต่าน อัลมูตัสสิมู บิลลาฮี มูฮิบบุดดิน ตวนกู อัลฮัจญ์ อับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์ อิบนี อัลมาฮูม สุลต่านบาดิร ชาฮ์ ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียลำดับที่ 5 และ 14 และอดีตสุลต่านแห่งรัฐเกอ.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซัม ชาห์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีอิสกันดาร์

มเด็จะราชาธิบดีอิสกันดาร์ พระองค์เป็นสุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์องค์ที่ 24 โดยขึ้นครองราชย์ต่อจากสุลต่านอิสมาอิล พระองค์ประสูติเมื่อวันที่ 8 เมษายน..1922 ที่ยะโฮร์บาห์รู ยะโฮร์ พระองค์เป็นยังดี เปอร์ตวน อากง องค์ที่ 9 ของมาเลเซีย โดยขึ้นครองราชย์ต่อจากสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัจญี อาห์หมัด ชาห์ เมื่อหมดตำแหน่ง สมเด็จพระราชาชาธิบดีอัซลัน มูฮิบบุดดิน ชาห์ พระองค์เสด็จสวรรคตในวันที่ 22 มกราคม ค.ศ.2010 พระชนมายุ 88 พรรษา หมวดหมู่:สุลต่านรัฐยะโฮร์.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและสมเด็จพระราชาธิบดีอิสกันดาร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู อับดุล ระห์มัน

thumb สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู อับดุล ระห์มัน เป็นยังดีเปอร์ตวนเบซาร์แห่งรัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน และเป็นยังดีเปอร์ตวนอากงพระองค์แรกของมาเลเซี.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและสมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู อับดุล ระห์มัน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู จาฟาร์

thumb สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู จาฟาร์ เป็นยังดีเปอร์ตวนอากงพระองค์ที่ 10 ของมาเลเซีย และเป็นสุลต่านพระองค์ที่ 11 ของรัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน เป็นพระโอรสของสุลต่าน ตวนกู อับดุล ระห์มัน พระราชสมภพวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2465 ที่รัฐเซอลาโงร์ ขึ้นครองราชย์ต่อจาก ยังดีเปอร์ตวน เบซาร์ตวนกู มูวาวีร์ พระองค์ได้รับตำแหน่ง ยังดี เปอร์ตวน อากง เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2537 จนถึงวันที่25 เมษายน พ.ศ. 2542 สวรรคตเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2551 รวมพระชนมายุได้ 86 ปี หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์แห่งรัฐเนอเกอรีเซิมบีลัน หมวดหมู่:ศิษย์เก่าจากวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและสมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู จาฟาร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู ซัยยิด ซีรอญุดดีน

มเด็จพระราชาธิบดีตวนกู ซัยยิด ซีรอญุดดีน อิบนี อัลมัรฮูม ตวนกูซัยยิด ปุตรา จามาลัลลาอิล ยังดีเปอร์ตวน อากงที่ 12 ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 12 แห่งสหพันธรัฐมาเลเซีย และอดีตรายารัฐปะลิสเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 3 แห่งมาเลเซีย เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 และทรงขึ้นครองสิริราชสมบัติเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2544 สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู ไซอิด ซิรอญุดดิน อิบนี อัลมาร์ฮูม ตวนกู ไซอิด ปุตรา จามาลุลไลล์ ยังดี เปอร์ตวน อากง แห่งมาเลเซีย เป็นพระราชโอรสในตวนกู เซยิด ปุตรา อิบนิ อัล มรหุม เซยิด ฮัสซัน จามัลุลลาอิล (Tuanku syed Putra Ibni Al Marhum Syed Hassan Jamalullail) อดีตสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 3 และรายารัฐปะลิส กับเติงกู บุดริอะห์ บินติ อัล มรหุม เติงกู อิสมาอิล (Tengku Budriah binti Al – Marhum Tengku Ismail) เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2544 เป็นพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ทรงเป็นสมเด็จพระราชาธิบดีองค์ที่ 12 แห่งมาเลเซี.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและสมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู ซัยยิด ซีรอญุดดีน · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู ซัยยิด ปูตรา

thumb สมเด็จพระราชาธิบดี ตวนกู ซัยยิด ปุตรา ทรงเป็นยังดี เปอร์ตวน อากง พระองค์ที่ 3 แห่งมาเลเซีย และทรงเป็นรายาแห่งรัฐปะลิส พระองค์พระราชสมภพที่เมืองอาเรา รัฐปะลิส พระราชสมภพเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2463 พระองค์ทรงเป็นยังดี เปอร์ตวน อากง เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2503 - 20 กันยายน..

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและสมเด็จพระราชาธิบดีตวนกู ซัยยิด ปูตรา · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชาธิบดีซาลาฮุดดีน อับดุล อาซิซ

มเด็จพระราชาธิบดีซาลาฮุดดีน อับดุล อาซิซพระองค์เป็นสุลต่านแห่งรัฐเซอลาโงร์ พระองค์เป็นบุตรของสุลต่านมูซา เกียฮุดดิน เกียยาด ชาห์ เป็นยังดี เปอร์ตวน อากง องค์ที่11ของมาเลเซีย พระองค์เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม..1926 ที่รัฐเซอลาโงร์ พระองค์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 พฤศจิยายน..2001 รวมพระชนมายุได้75ปี 8 เดือน ที่กัวลาลัมเปอร์ พระมเหสีชื่อ ตวนกู สิตี ไอชาห์ มีบุตรชื่อสุลต่านชะรอฟุดดีน อิดริส ชาห์ หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์แห่งรัฐเซอลาโงร์ หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐเซอลาโงร์.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและสมเด็จพระราชาธิบดีซาลาฮุดดีน อับดุล อาซิซ · ดูเพิ่มเติม »

ประมุขแห่งรัฐ

ประมุขแห่งรัฐ (head of state) เป็นคำที่ใช้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายระหว่างประเทศ รัฐศาสตร์และพิธีการทูตเมื่อหมายถึงข้าราชการ (official) ที่ดำรงตำแหน่งสูงสุดในรัฐเอกราชหนึ่ง ๆ และมีอำนาจเด็ดขาดหรือจำกัดที่จะปฏิบัติเป็นผู้แทนสาธารณะสูงสุด (chief public representative) ของรัฐ ประมุขแห่งรัฐในประเทศส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดาที่ดำรงตำแหน่ง หากในบางประเทศ คณะบุคคลอยู่ในตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ เช่น สภาสหพันธ์สวิตเซอร์แลนด์ ประธานาธิบดีบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และผู้ครองนครร่วม (Captains Regent) ซานมารีโน คำว่า "ประมุขแห่งรัฐ" มักใช้เพื่อแยกความแตกต่างจากคำว่า "หัวหน้ารัฐบาล" ยกตัวอย่าง ในอนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ข้อ 7 และอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกันและลงโทษอาชญากรรมที่กระทำต่อบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองระหว่างประเทศ รวมทั้งตัวแทนทางทูต ข้อ 1 เช่น ระบบรัฐสภาอย่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พระมหากษัตริย์และประธานาธิบดีได้รับการยอมรับเป็นประมุขแห่งรัฐในสองประเทศนี้ตามลำดับ ขณะที่นายกรัฐมนตรีได้รับการยอมรับเป็นหัวหน้ารัฐบาล อย่างไรก็ดี ในสาธารณรัฐที่มีระบบประธานาธิบดี เช่น สหรัฐอเมริกาและสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ประธานาธิบดีได้รับการยอมรับเป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งบุคคลที่เป็นทั้งประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลยังอาจเกิดได้ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชและบางครั้งเช่นเดียวกับระบอบเผด็จการอื่น ๆ บทบาทของประมุขแห่งรัฐโดยทั่วไป รวมทั้งการใช้อำนาจทางการเมือง และหน้าที่ ถูกกำหนดในรัฐธรรมนูญและกฎหมายของประเทศนั้น ๆ อนุสัญญาเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางทูตปฏิบัติภายใต้ข้อสันนิษฐานว่า หัวหน้าคณะทูต (คือ เอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต) ของประเทศผู้ส่งถูกถือว่าเป็นของประมุขแห่งรัฐรัฐผู้รับ มักคิดกันว่าประมุขแห่งรัฐเป็น "ผู้นำ" อย่างเป็นทางการของรัฐชาติหนึ่ง ๆ ปัจจุบัน หลายประเทศคาดหวังให้ประมุขแห่งรัฐของตนรวมค่านิยมของชาติในแบบนิยมที่คล้ายกัน.

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและประมุขแห่งรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ใหม่!!: รายพระนามพระมหากษัตริย์มาเลเซียและประเทศมาเลเซีย · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Yang di-Pertuan Agongยังดี เปอร์ตวน อะกงยังดี เปอร์ตวน อากงยังดีเปอร์ตวนอากง

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »