โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อเครื่องดนตรี

ดัชนี รายชื่อเครื่องดนตรี

ไม่มีคำอธิบาย.

105 ความสัมพันธ์: บองโกบัณเฑาะว์บาสซูนฟลูตพิณเพียะกระจับปี่กรับกลองชาตรีกลองชุดกลองมลายูกลองยาวกลองสองหน้ากลองสะบัดชัยกลองทัดกลองทิมปานีกลองตะโพนกลองแขกกลองใหญ่กลองเล็กกีตาร์มาราคัสยูโฟเนียมระนาดทุ้มระนาดทุ้มเหล็กระนาดแก้วระนาดเอกระนาดเอกเหล็กรำมะนารือบับรีคอร์เดอร์ลูตวิโอลาวงมังคละสะล้อสามเหลี่ยม (เครื่องดนตรี)หีบเพลงออร์แกนอังกะลุงอิเล็กโทนฮอร์นฮาร์ปฮาร์ปซิคอร์ดจะเข้ทรอมโบนทรัมเป็ตทูบาขลุ่ยหลิบขลุ่ยอู้ขลุ่ยเพียงออขิม...ดับเบิลเบสคอร์ แองเกลส์คอร์เนตคองกาคาวเบลฆ้องมอญฆ้องราวฆ้องวงใหญ่ฆ้องวงเล็กฆ้องคู่ตะโพนตะโพนมอญฉาบฉิ่งซอกันตรึมซอสามสายซออู้ซอด้วงซึงซูซาโฟนปิคโคโลปี่ปี่ชวาปี่กาหลอปี่ภูไทปี่มอญปี่อ้อปี่จุมปี่นอกปี่แนปี่ในปี่ไฉนแมนโดลินแคลฟวิคอร์ดแคลริเน็ตแคนแซกโซโฟนโหม่งโหวดโอโบโทนโปงลางไวโอลินไหซองไซโลโฟนเชลโลเบสเพอร์คัชชันเมโลเดียนเครื่องสายเครื่องดนตรีเครื่องเป่าลมไม้เครื่องเป่าทองเหลืองเปิงมางเปียโน ขยายดัชนี (55 มากกว่า) »

บองโก

องโก (bongó) เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลองจากคิวบา เป็นกลองขนาดเล็ก ขึงหนังกลองหน้าเดียว ประกอบด้วยกลองสองตัวยึดตึดกัน กลองลูกใหญ่มีชื่อในภาษาสเปนว่า "เฮมบรา" (hembra, ตัวเมีย) ลูกเล็กมีชื่อว่า "มาโช" (macho, ตัวผู้) ใช้เคาะด้วยนิ้ว หรือไม้กลอง (ผู้เล่นส่วนใหญ่จะนิยมเคาะด้วยมือ) มักถูกใช้เคาะผสมกับกลองคองกา เพื่อแต่งเติมสีสันให้กับเสียงเพลง เครื่องเคาะรูปแบบนี้ มักถูกพบเห็นได้ในคอนเสิร์ตเพลงแนว ละติน รวมไปถึง คอนเสิร์ตเพลงแนว ดิสโก้, โซล, ฟังค์, แจ๊ส, ป็อบร็อค, เร้กเก้, สกา ในบางครั้ง สำหรับในประเทศไทย บองโก ยังถูกนำไปเคาะผสมกับเพลงเพื่อชีวิต และเพลงลูกทุ่ง อีกด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและบองโก · ดูเพิ่มเติม »

บัณเฑาะว์

ฑมรุจากทิเบต ฑมรุ อยู่ในหัตถ์ขวาของพระศิวะ บัณเฑาะว์ เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลองจากอินเดีย มีลักษณะหัวและท้ายใหญ่ ตรงกลางคอด ขนาดประมาณ 15 เซนติเมตร ใช้เชือกผูกกับลูกตุ้ม กลองชนิดนี้ไม่ใด้ตีด้วยไม้หรือมือ แต่ใช้มือถือพลิกข้อมือกลับไปกลับมา ให้ลูกตุ้มที่ปลายเชือกกระทบหนังหน้ากลองทั้งสองด้าน ชื่อบัณเฑาะว์ มาจากคำบาลีว่า "ปณวะ" ในอินเดียเรียกว่า "ฑมรุ" (อักษรเทวนาครี डमरू; ḍamaru) เป็นเครื่องดนตรีที่พบเห็นในหัตถ์ขวาของพระศิวะ ในประเทศไทย บัณเฑาะว์ใช้เป็นเครื่องให้จังหวะในการบรรเลงประกอบ "ขับไม้" ในงานพระราชพิธี เช่น ขับกล่อมสมโภชพระมหาเศวตฉัตร สมโภชพระยาช้างเผือกและช้างสำคัญ เรียกว่า "ขับไม้บัณเฑาะว์" โดยอาจใช้บัณเฑาะว์ลูกเดียว หรือใช้บัณเฑาะว์ 2 ลูก ไกวพร้อมกันทั้งสองมือ.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและบัณเฑาะว์ · ดูเพิ่มเติม »

บาสซูน

thumb บาสซูน (bassoon) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเป่าลมผ่านลิ้นเช่นเดียวกับโอโบ เป็นปี่ขนาดใหญ่ใช้ลิ้นคู่ (double reed) รูปร่างของบาสซูน ค่อนข้างจะประหลาดกว่าปี่ชนิดอื่น ๆ เนื่องจากความใหญ่โตของท่อลม ซึ่งมีความยาวถึง 109 นิ้ว แต่เพื่อไม่ให้ยาวเกะกะ จึงใช้วิธีทบท่อลิ่มให้เหลือความยาวประมาณ 4 ฟุตเศษ บาสซูนมีน้ำหนักมากจึงต้องมีสายคล้องคอช่วยพยุงน้ำหนัก (sling) เพื่อให้มือทั้งสองของผู้เล่นขยับไปกดแป้นต่าง ๆ ได้สะดวก บาสซูนได้รับฉายาว่าเป็น "ตัวตลกของวงดุริยางค์" (The Clown of the Orchestra) ทั้งนี้เพราะเวลาบรรเลงเสียงสั้น ๆ ห้วน ๆ (staccato) อย่างเร็ว ๆ จะมีเสียงดัง ปูด…ปู๊ด… คล้ายลักษณะท่าทางของตัวตลก ที่มีอากัปกิริยากระโดดเต้นหยอง ๆ ในโรงละครสัตว์ เสียงของบาสซูนต่ำนุ่มลึก ถือเป็นแนวเบสของกลุ่มเครื่องลมไม้ นอกนั้นยังสามารถเล่นทำนองเดียวได้อย่างงดงามอีกด้วย หมวดหมู่:เครื่องดนตรีออร์เคสตรา หมวดหมู่:เครื่องลมไม้.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและบาสซูน · ดูเพิ่มเติม »

ฟลูต

ฟลุต ฟลูต (flute) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าลมไม้ ซึ่งแตกต่างจากเครื่องเป่าลมประเภทอื่น ๆ ที่กำเนิดเสียงจากการสั่นสะเทือนของลิ้น ฟลูต กำเนิดเสียงจากการผิวของลม ลักษณะเสียงของฟลูตจะมีความไพเราะ นุ่มนวล อ่อนหวาน.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและฟลูต · ดูเพิ่มเติม »

พิณเพียะ

ณเปี๊ยะ หรือ พิณเพียะ เป็นเครื่องดนตรีพื้นเมืองล้านนาชนิดหนึ่ง เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด ลักษณะของพิณเปี๊ยะมีคันทวนยาวประมาณ 1 เมตรเศษ ตอนปลายคันทวนทำด้วยเหล็กรูปหัวช้างทองเหลือง สำหรับใช้เป็นที่พาดสาย ใช้สายทองเหลืองเป็นพื้น สายทองเหลืองนี้จะพาดผ่านสลักตรงกะลาแล้วต่อไปผูกกับสลักตรงด้านซ้าย สายของพิณเปี๊ยะมีทั้ง 2 สายและ 4 สาย กะโหลกของพิณเปี๊ยะทำด้วยเปลือกน้ำเต้าตัดครึ่งหรือกะลามะพร้าว ก็ได้ เวลาดีด ใช้กะโหลกประกบติดกับหน้าอก ขยับเปิดปิดให้เกิดเสียงตามต้องการ เช่นเดียวกับพิณน้ำเต้าของภาคกลาง พิณเพียะ ในสมัยก่อนชาวเหนือมักจะใช้พิณเปี๊ยะดีดคลอกับการขับลำนำในขณะที่ไปเที่ยวสาว พิณเปี๊ยะไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรเพราะเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นยาก.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและพิณเพียะ · ดูเพิ่มเติม »

กระจับปี่

กระจับปี่ เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด หรือพิณ 4 สายชนิดหนึ่ง ตัวกะโหลกเป็นรูปกลมรีแบนทั้งหน้าหลัง มีความหนาประมาณ 7 ซม.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและกระจับปี่ · ดูเพิ่มเติม »

กรับ

กรับ เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง ซึ่งกรับนั้นมีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน คือ กรับคู่ กรับพวง และกรั.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและกรับ · ดูเพิ่มเติม »

กลองชาตรี

กลองชาตรี กลองชาตรี เป็นกลองสองหน้า มีรูปร่างเหมือนกลองทัดทุกอย่างแต่ขนาดย่อส่วนเปรียบเหมือนแม่กับลูก กลองชาตรีเป็นลูก มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวประมาณ 20 ซม.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและกลองชาตรี · ดูเพิ่มเติม »

กลองชุด

กลองชุด ประกอบด้วย (1) Bass drum (2) Floor tom (3) Snare (4) Toms (5) Hi-hat (6) Crash cymbal และ Ride cymbal กลองชุด เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีกระทบ ประกอบด้วยตัวกลองและฉาบจำนวนหลายใบ และใช้"ไม้กลอง"เพื่อตีควบคุมจังหวะ กลองชุดเป็นเครื่องดนตรีที่มีเสียงหนักแน่น สามารถเพิ่มพลังให้กับบทเพลงได้หลากหลายแนว เช่น ร็อก, บลูส์, ป็อป, ฟังก์, ดิสโก้ และ แจ๊ส เป็นต้น กลองชุดเป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและกลองชุด · ดูเพิ่มเติม »

กลองมลายู

กลองมลายู กลองมลายู มีลักษณะเดียวกับกลองแขก แต่สั้นและอ้วนกว่า หน้าหนึ่งใหญ่ อีกหน้าหนึ่งเล็กขึ้นหนังสองหน้า เร่งให้ตึงด้วยหนังรูดให้แน่น สายโยงเร่งเสียงทำด้วยหนัง หน้าใหญ่อยู่ทางขวาตีด้วยไม้งอ หน้าเล็กตีด้วยฝ่ามือ ใช้บรรเลงคู่เหมือนกลองแขก ลูกเสียงสูงเรียกว่า"ตัวผู้" ลูกเสียงต่ำเรียกว่า"ตัวเมีย" ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์นางหงส์และวงบัวลอย หมวดหมู่:เครื่องดนตรีไทย.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและกลองมลายู · ดูเพิ่มเติม »

กลองยาว

150px กลองยาว เป็นเครื่องดนตรี สำหรับตีด้วยมือ ตัวกลองทำด้วยไม้ มีลักษณะกลมกลวง ขึงด้วยหนังมีหลายชนิด ถ้าทำด้วยหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมากใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่ากลองยาวหรือเถิดเทิง.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและกลองยาว · ดูเพิ่มเติม »

กลองสองหน้า

กลองสองหน้า กลองสองหน้า สันนิษฐานว่าเริ่มนำมาใชในสมัยรัชกาลที่ 2 มีลักษณะคล้ายลูกเปิงมาง แต่ใหญ่กว่า หน้ากลองด้านกว้างเส้นผ่าศูนย์กลาง 21-24 เซนติเมตร ด้านเล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 20-22 เซนติเมตร ตัวกลองยาว 55-58 เซนติเมตร ใช้ในวงปี่พาทย์เสภาและใช้ตีประกอบจังหวะการเดี่ยวเครื่องดนตรีต่างๆด้วย หมวดหมู่:เครื่องดนตรีไทย.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและกลองสองหน้า · ดูเพิ่มเติม »

กลองสะบัดชัย

กลองสะบัดชัย เป็นกลองที่มีมานานแล้วนับหลายศตวรรษ ในสมัยก่อนใช้ ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็น ขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ ทำนองที่ใช้ในการตี กลองสะบัดชัยโบราณมี 3 ทำนอง คือ ชัยเภรี, ชัย ดิถี และชนะมาร การตีกลองสะบัดชัยเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านล้านนาอย่างหนึ่ง ซึ่งมักจะพบเห็นในขบวนแห่หรืองานแสดงศิลปะพื้นบ้านในระยะหลังโดยทั่วไป ลีลาในการตีมีลักษณะโลดโผนเร้าใจมีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่นศอก เข่า ศีรษะ ประกอบในการตีด้วย ทำให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้ชม จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและกลองสะบัดชัย · ดูเพิ่มเติม »

กลองทัด

กลองทัด เป็นกลองสองหน้าขนาดใหญ่ ขึ้นหน้าทั้งสองข้างด้วยหนังวัวหรือหนังควาย ตรึงด้วยหมุด หุ่นกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง กลึงคว้านข้างในจนเป็นโพรง ป่องตรงกลางนิดหน่อยหมุดที่ตรึง หนังเรียกว่าแส้ ทำด้วยไม้หรืองาหรือกระดูกสัตว์ตรงกลางหุ่น กลองมีห่วงสำหรับแขวน เรียกว่า หูระวิง กลองทัดมีขนาดหน้ากว้างเท่ากันทั้งสองข้าง วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 46 ซม ตัวกลองยาวประมาณ 41 ซม กลองทัดมี 2 ลูก ลูกที่มีเสียงสูง ดัง ตุม เรียกว่า ตัวผู้ และ ลูกที่มีเสียงต่ำตีดัง ต้อม เรียกว่า ตัวเมีย ใช้ไม้ตี 1 คู่ มีขนาดยาวประมาณ 54 ซม กลองทัดใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ โดยเล่นคู่กับตะโพน.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและกลองทัด · ดูเพิ่มเติม »

กลองทิมปานี

ทิมปานี กลองทิมปานี (Timpani) เป็นกลองที่ปรับระดับเสียงได้ มีรูปร่างคล้ายกระทะหรือกาต้มน้ำ จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ตั้งอยู่บนฐาน ตัวกลองทำด้วยทองแดง ใช้หนังลูกวัวขึง มีสกรูอยู่รอบๆ ขอบกลองเพื่อใช้บังคับหนังกลองให้ตึงมากน้อยให้เกิดระดับเสียงที่ต้องการ นอกจากสกรูแล้วที่ฐานยังมีกระเดื่องไว้ให้ผู้เล่นเหยียบเปลี่ยนระดับเสียงอุปกรณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ไม้ตีกลอง (Drum Sticks)ซึ่งมีขนาดแตกต่างกัน (เล็ก กลาง และใหญ่) หัวไม้ตีกลองมักจะหุ้มด้วยสักหลาด ผ้า สำลี ไม้ก๊อก หรือ ฟองน้ำเสียงของทิมปานี จะทุ้มมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเส้นผ่าศูนย์กลาง ของหน้ากลอง ถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางยาวมากเสียงก็จะทุ้มมากถ้าเส้นผ่าศูนย์กลางสั้น เสียงจะมีความทุ้มน้อย เสียงของกลองทิมปานี เทียบได้กับเสียงเบสเป็นเสียงที่แสดงอำนาจตื่นเต้น เร้าใจ กลองทิมปานีจะใช้บรรเลงในวงออร์เคสตรา ในการบรรเลงต้องใช้กลองทิมปานีอย่างน้อย 2 ใบ จึงมีรูปพหูพจน์อยู่เสมอคือ "Timpani" ถ้าเป็นเอกพจน์หรือกลองลูกเดียวเรียกว่า "Timpano" กลองทิมปานีเป็นกลองที่มีระดับเสียงที่นิยมมี 4 ขนาด คือ 20 นิ้ว, 23 นิ้ว, 26 นิ้วและ29นิ้ว กลองแต่ละใบจะมีช่วงห่างของเสียงอยู่ราวคู่ 5 เพอร์เฟค (Perfect) และถ้าต้องการจะให้มีเสียงที่ดีควรจัดให้เสียงอยู่ช่วงกลาง หมวดหมู่:เครื่องดนตรีออร์เคสตรา.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและกลองทิมปานี · ดูเพิ่มเติม »

กลองตะโพน

กลองตะโพน คือตะโพนที่นำมาตีแบบกลองทัด กลองตะโพนใช้ตะโพน 2 ลูก เสียงสูงและเสียงต่ำแล้วนำมาตั้งขึ้นแบบกลองทัด ใช้ไม้ระนาดนวมเป็นไม้ตี ใช้เล่นในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ นอกจากนี้ยังใช้แทนกลองทัดในวงปี่พาทย์ไม้นวมเมื่อบรรเลงภายในอาคาร เพื่อไม่ให้เสียงดังเกินไป.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและกลองตะโพน · ดูเพิ่มเติม »

กลองแขก

กลองแขก เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่มีรูปร่างยาวเป็นรูปทรงกระบอก ขึ้นหนังสองข้างด้วยหนังลูกวัวหรือหนังแ.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและกลองแขก · ดูเพิ่มเติม »

กลองใหญ่

กลองใหญ่ (Bass Drum) คือ เครื่องตีกระทบ มี 2 หน้า ขึงด้วยหนังกลอง กลองใหญ่ที่ใช้ในวงออร์เคสตราและเป็น กระเดื่องในกลองชุดด้วย จะมีขนาดใหญ่ที่สุดกว่า 32 นิ้ว ถ้าใช้ในวงโยธวาทิตและแตรวง จะมีขนาดตั้งแต่ 24 – 32 นิ้ว ตีด้วยไม้ตี ปลายไม้ข้างหนึ่งทำเป็นปมไวัสำหรับใช้ตีกระทบกับหนังกลอง ปมนั้นอาจหุ้มด้วยสักหลาด ไม้ก็อก ผ้านวมหรือฟองน้ำ เสียงกลองตีเน้นย้ำจังหวะเพื่อให้เกิดวามหนักแน่นหรืออาจจะใช้รัวเพื่อให้เกิดความตื่นเต้น รัวเพื่อสร้างจุดสนใจในบทเพลงเพิ่มขึ้นก็ได้ หมวดหมู่:เครื่องดนตรีออร์เคสตรา.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและกลองใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

กลองเล็ก

กลองเล็ก (Snare Drum) เครื่องตีกระทบ มี 2 หน้า ขึงด้วยหนังกลอง ลักษณะเฉพาะก็คือหน้ากลองด้านล่างขึงคาดไว้ด้วยสายสแนร์ ทำด้วยเอ็นสัตว์ ในปัจจุบันสายสแนร์มีทั้งที่ทำด้วยไนล่อนและทำด้วยเส้นลวดโลหะ กลองเล็กมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและกลองเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

กีตาร์

กีตาร์ (guitar) เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง จัดเป็นพวกเครื่องสาย มักจะเล่นด้วยนิ้วมือซ้าย และดีดด้วยนิ้วมือขวาหรือใช้ปิ๊กดีดกีตาร์ เสียงของกีตาร์นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย ทำให้เกิดกำทอน (resonance) แก่ตัวกีตาร์และคอกีตาร์ ยอร์ช กีตาร์นั้น มีทั้งแบบกีตาร์อะคูสติก และกีตาร์ไฟฟ้า บางตัวก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง กีตาร์มีส่วนตัวเป็นกล่องกำทอน ซึ่งในกีตาร์อะคูสติกจะเจาะเป็นช่อง ส่วนกีตาร์ไฟฟ้ามักจะตัน และมีโพรงในส่วนคอกีตาร์ โดยทั่วไปแล้วส่วนหัวของกีตาร์จะยืดขึ้นไปจากคอ เพื่อใส่ลูกบิดหมุนสายสำหรับปรับเสียง กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้แพร่หลาย และใช้กับดนตรีหลากหลายสไตล์ นับเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้บรรเลงเดี่ยวอย่างกว้างขวางที่พบเห็นมากที่สุดคือกีตาร์คลาสสิก และยังเป็นเครื่องดนตรีหลักในวงดนตรีประเภทบลูส์ และดนตรีร็อกอีกด้วย กีตาร์สามารถเล่นในยามว่าง หรือ เป็นงานอดิเรก ได้ดี ปกติกีตาร์จะมี 6 สาย แต่แบบ 4- 7- 8- 10- 12- สายก็มีเช่นกัน ผู้ประดิษฐ์กีตาร์จะเรียกว่า Luthier.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและกีตาร์ · ดูเพิ่มเติม »

มาราคัส

มาราคัส (Maracas) หรือ ลูกแซก คือ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องประกอบจังหวะ จัดอยู่ในกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะที่มีระดับเสียงไม่แน่นอน เดิมทำด้วยผลน้ำเต้าแก่จัดทำให้แห้ง ภายในบรรจุด้วยเมล็ดน้ำเต้า เมล็ดถั่วต่าง ๆ ต่อด้ามไว้สำหรับถือเวลาเล่นใช้เขย่าเพื่อให้เกิดเสียงดังซ่าๆ จะเขย่าด้วยมือทั้งสองข้างให้ดังสลับกัน ในปัจจุบันทำด้วยไม้ หรือพลาสติก มักถูกใช้ประกอบจังหวะกับการแสดงดนตรีอคูสติก และ การแสดงดนตรีของวงคอมโบ มาราคัส เป็นเครื่องประกอบจังหวะอีกหนึ่งชนิดที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก หมวดหมู่:เครื่องดนตรี.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและมาราคัส · ดูเพิ่มเติม »

ยูโฟเนียม

ูโฟเนียม ยูโฟเนียม (euphonium) คือ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง ลักษณะเสียงของยูโฟเนียมจะนุ่มนวล ทุ้มลึก และมีความหนักแน่นมาก สามารถเล่นในระดับเสียง โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง ต่ำได้ดี บางครั้งนำไปใช้ในวงออร์เคสตร้า และแตรวงแทนทูบา คำว่า”ยูโฟเนียม” มาจากภาษากรีกหมายถึง ”เสียงดี” ลักษณะทั่วไปของยูโฟเนียมเหมือนกับเครื่องเป่าทองเหลืองทั่วไป จะมีลูกสูบ 3 – 4 ลูกสูบมีกำพวดเป็นรูปถ้วย ท่อลมกลวงบานปลายเป็นลำโพงเสียง มีเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งชื่อ “บาริโทน” มีเสียงใกล้เคียงกับยูโฟเนียม แต่ท่อลมมีขนาดเล็กกว่า เสียงของบาริโทนจะมีความห้าวมากกว่ายูโฟเนียม พบว่าบ่อยครั้งที่มีการเรียกชื่อสลับกันระหว่างยูโฟเนียมและบาริโทน.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและยูโฟเนียม · ดูเพิ่มเติม »

ระนาดทุ้ม

ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้ม เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นมาในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการสร้างเลียนแบบระนาดเอก ใช้ไม้ชนิดเดียวกันกับระนาดเอก ลูกระนาดทุ้มมีจำนวน 17 ลูก ลูกต้นยาวประมาณ 42 ซม กว้าง 6 ซม และลดหลั่นลงมาจนถึงลูกยอด ที่มีขนาดยาว 34 ซม กว้าง 5 ซม รางระนาดทุ้มนั้นประดิษฐ์ให้มีรูปร่างคล้ายหีบไม้ แต่เว้าตรงกลางให้โค้ง โขนปิดหัวท้ายเพื่อ เป็นที่แขวนผืนระนาดนั้น ถ้าหากวัดจากโขนด้านหนึ่งไปยังโขนอีกด้านหนึ่ง รางระนาดทุ้มจะมีขนาดยาวประมาณ 124 ซม ปาก รางกว้างประมาณ 22 ซม มีเท้าเตี้ย รองไว้ 4 มุมราง หน้าที่ในวงของระนาดทุ้มนั้น ทำหน้าที่เดินทำนองรอง ในทางของตนเองซึ่งจะมีจังหวะโยน ล้อ ขัด ที่ทำให้เกิดความไพเราะและเติมเต็มช่องว่างของเสียง อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของระนาดทุ้ม.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและระนาดทุ้ม · ดูเพิ่มเติม »

ระนาดทุ้มเหล็ก

centerระนาดทุ้มเหล็ก เป็นเครื่องดนตรีที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ 4 มีพระราชดำริให้สร้างขึ้น ลูกระนาดทำอย่างเดียวกับระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็กมีจำนวน 16 หรือ 17 ลูก ลูกต้นยาวประมาณ 35 ซม กว้างประมาณ 6 ซมและลดหลั่นลงไปจนถึงลูกยอดซึ่งยาวประมาณ 29 ซม กว้างประมาณ 5.5 ซม ตัวรางระนาดยาวประมาณ 1 เมตร ปากราง กว้างประมาณ 20 ซม มีชานยื่นออกไปสองข้างราง ถ้านับส่วนกว้างรวมทั้งชานทั้งสองข้างด้วย รางระนาดทุ้มเหล็กจะกว้าง ประมาณ 36 ซม มีเท้ารองติดลูกล้อ 4 เท้า เพื่อให้เคลื่อนที่ไปมาได้สะดวก ตัวรางสูงจากพื้นถึงขอบบนประมาณ 26 ซมระนาด ทุกชนิดที่กล่าวมานั้น จะใช้ไม้ตี 2 อัน ระนาดทุ้มเหล็กทำหน้าที่เดินทำนองคล้ายฆ้องวงใหญ่ เพียงแต่เดินทำนองห่างกว.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและระนาดทุ้มเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ระนาดแก้ว

ระนาดแก้ว เป็นระนาดชนิดหนึ่ง ไม่ปรากฏว่าเริ่มมีในสมัยใด ในตำนานเรื่องมโหรีปี่พาทย์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพระบุไว้ตอนหนึ่งว่า "ในสมัยรัชกาลที่ ๑ กรุงรัตนโกสินทร์ได้เพิ่มเครื่องมโหรีขึ้น แต่ทำขนาดย่อมให้สมกับผู้หญิงเล่น เติมระนาดไม้กับระนาดแก้ว อีกสองอย่าง มโหรีวงหนึ่งเป็น ๘ คน มาในสมัยรัชกาลที่ ๒ เลิกระนาดแก้วเสียใช้ฆ้องวงแทน..." ส่วนประกอบของระนาดแก้วนั้น มีรายละเอียดบอกไว้แต่เพียงว่า รางระนาดทำด้วยไม้รัก มีลูกระนาดทำจากแก้วจำนวน ๑๖ ลูก ซึ่งแต่เดิมระนาดแก้วใช้ในวงมโหรี แต่ภายหลังได้ถูกตัดออกจากวง เนื่องจากเสียงเบาและแตกง.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและระนาดแก้ว · ดูเพิ่มเติม »

ระนาดเอก

ระนาดเอก ระนาดเอกเป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสองอันตีเป็นจังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลาย ๆ อันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่าง ๆ กันนั้นให้ติดกัน และขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมาติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียงไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า ลูกระนาด เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็นแผ่นเดียวกันว่า ผืน ระนาดเอกใช้ในงานมงคล เป็นเครื่องดนตรีเป็นมงคลในบ้าน บรรเลงในวงปี่พาทย์และวงมโหรี โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำวง.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและระนาดเอก · ดูเพิ่มเติม »

ระนาดเอกเหล็ก

ระนาดเอกเหล็ก ระนาดเอกเหล็ก เป็นเครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ขึ้นในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมลูกระนาดทำด้วยทองเหลือง จึงเรียกกันว่าระนาดทอง ในเวลาต่อมาได้มีการประดิษฐ์ลูกระนาดด้วยเหล็ก ระนาดเอกเหล็กมีจำนวน 20 หรือ 21 ลูก โดยวางไว้บนรางที่มีไม้ระกำวางพาดไปตามของราง หากไม่มีไม้ระกำ ก็อาจใช้ผ้าพันไม้แล้วนำมารองลูกระนาดก็ได้ ลูกต้น ของระนาดเอกเหล็กมีขนาด 23.5 ซม กว้างประมาณ 5 ซม ลดหลั่นขึ้นไปจนถึงลูกยอดที่มีขนาด 19 ซม กว้างประมาณ 4 ซม รางของระนาดเอกเหล็กนั้น ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีเท้ารองรับไว้ทั้ง 4 ด้านหรืออาจใส่ลูกล้อเพื่อสะดวกในการขนย้ายก็ได้ ระนาดเอกเหล็กบรรเลงเหมือนระนาดเอกทุกประการ เพียงแต่ไม่ได้ทำหน้าที่ผู้นำ.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและระนาดเอกเหล็ก · ดูเพิ่มเติม »

รำมะนา

รำมะนา (มลายู: Rebana) เป็นกลองที่ขึงหนังหน้าเดียว หน้ากลองที่ขึงหนังผายออก ตัวกลองสั้น รูปร่างคล้ายชามกะละมัง มีอยู่ 2 ชนิด คือ "รำมะนามโหรี" และ "รำมะนาลำตัด" รำมะนามโหรี มีขนาดเล็ก หน้ากว้างประมาณ 26 ซม ตัวรำมะนายาว ประมาณ 7 ซม หนังที่ขึ้นหน้าตรึงด้วยหมุดโดยรอบ จะเร่งหรือลดเสียงให้สูงต่ำไม่ได้ แต่มีเชือกเส้นหนึ่งที่เรียกว่า สนับ สำหรับหนุนข้างในโดยรอบ ช่วยทำให้เสียงสูงได้ บรรเลงใช้ตีด้วยฝ่ามือคู่กับโทนมโหรี ส่วน รำมะนาลำตัด มีขนาดใหญ่ หน้ากว้างประมาณ 48 ซม. ตัวรำมะนายาวประมาณ 13 ซม.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและรำมะนา · ดูเพิ่มเติม »

รือบับ

รือบับ รือบับ (Rebab; الرباب หรือ رباب) เป็นที่เข้าใจกันว่าเป็นเครื่องดนตรีที่มีการละเล่นกันตั้งแต่ในบริเวณสามจังหวัดชายแดนใต้ มาเลเซีย สุมาตราเหนือของประเทศอินโดนีเซีย และชวา ใช้ในการแสดง เมาะโย่งหรือมะโย่ง ซึ่งการละเล่นนี้ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเป็นศิลปะละครรำในวัฒนธรรมหลวงหรือเป็นวัฒนธรรมราษฎร์ของคนถิ่นมลายู แต่ที่ปัตตานีปรากฏหลักฐานการละเล่นนี้ที่หนังสือ ฮิกายัดปัตตานีหรือพงศาวดารปัตตานี ในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 รือบับมีลักษณะโดยรวมคล้ายกับซอสามสายของภาคกลาง.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและรือบับ · ดูเพิ่มเติม »

รีคอร์เดอร์

ลุ่ยรีคอร์เดอร์ (รูปขลุ่ยอันที่ 2 จากล่าง เป็นการแยกส่วน 3 ชิ้นของรีคอร์เดอร์ รีคอร์เดอร์ (Recorder) เป็นเครื่องดนตรีสากล ประเภทเครื่องเป่าลมไม้ รีคอร์เดอร์สร้างขึ้นในปลายศตวรรษที่ 14 ถือกำเนิดในประเทศอังกฤษ นิยมเล่นในสมัยยุคกลาง และมีความเจริญสูงสุดในยุคบาโรค เป็นเครื่องเป่าที่มีลักษณะการเป่าแบบด้านตรง มีรูปแบบการเกิดเสียงแบบเดียวกันกับนกหวีด คือ บริเวณปากเป่านั้นจะทำเป็นช่องลม (Wind Way) เพื่อที่จะพุ่งเข้าไปกระทบกับปากนกแก้ว ทำให้อากาศเกิดการสั่นสะเทือน เกิดเป็นคลื่นเสียงภายในท่อ เกิดเป็นระดับเสียงต่างๆ ท่อของรีคอร์เดอร์มีรูปทรงกรวย คือ จากส่วนปลายของปากเป่าลงมายังส่วนปลายท่อจะค่อยๆ สอบลง และแคบสุดบริเวณปลายของรีคอร์เดอร์ ในปัจจุบันรีคอร์เดอร์เป็นเครื่องดนตรีสำหรับหัดเรียนดนตรีขั้นเบื้องต้น โดยเฉพาะในระดับชั้นมัธยมศึกษ.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและรีคอร์เดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ลูต

ลูต (lute) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่ได้รับความนิยมมากในระหว่างศตวรรษที่ 16 และ 17 สายจะขึ้นไว้เป็นคู่ๆ ลูทมีรูปร่างคล้ายลูกแพร์ และมีส่วนคอเป็นแผ่นแบน มีขีดแบ่งเสียง 7 ขีดหรือมากกว่านั้น หมุดหมุนสายจะเอนไปด้านหลังเพื่อช่วยยึดสายต่างๆไว้และยังมีวิธีการที่ดีดคล้ายกับกีตาร์โปร่งอีกด้วย หมวดหมู่:เครื่องสาย เครื่องมือที่ใช้ในอียิปต์.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและลูต · ดูเพิ่มเติม »

วิโอลา

วิโอลา เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายที่มีรูปร่างคล้ายไวโอลิน แต่มีขนาดที่ใหญ่กว่า นิยมเล่นใน วงออร์เคสตรา และ วงเครื่องสาย ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลิน อันประกอบไปด้วยไวโอลิน วิโอลา เชลโล และ ดับเบิลเบส โดยวิโอลามีระดับเสียงต่ำกว่า ไวโอลิน แต่สูงว่าเชลโลและดับเบิล.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและวิโอลา · ดูเพิ่มเติม »

วงมังคละ

มังคละ มีหลักฐานปรากฏว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เดิมเป็นดนตรีชั้นสูง สำหรับพระมหากษัตริย์สุโขทัยถวายประโคมในพิธีพุทธศาสนา ปัจจุบันใช้ในงานพิธีของชาวบ้าน ทั้งงานมงคลและอวมงคลในเขตภาคเหนือตอนล่างณัฐชยา นัจจนาวากุล. '''"สัตว์เลื้อยคลาน ว่าด้วยตำนาน ศาสตร์และศิลป์ในงานดนตรี"''' ใน สูจิบัตรพิธีไหว้ครูดนตรีไทย ประจำปี ๒๕๕๘. คณะมนุษยศาสตร์: มหาวิทยาลัยนเรศวร. ๒๕๕๘. หน้า ๖๘-๖๙ วงมังคละ หรือ ปี่กลอง, ปี่กลองมังคละ เป็นดนตรีชั้นสูงสำหรับพระพุทธศาสนาของอาณาจักรสุโขทัยโบราณ โดยปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ 1 และศิลาจารึกวัดช้างล้อม สันนิษฐานว่าดนตรีมังคละนั้นรับธรรมเนียม "มงคลเภรี" มาจากศรีลังกา ก่อนที่จะกลายมาเป็นดนตรีพื้นบ้าน ในชุมชนกลุ่มคนที่ใช้สำเนียงอาณาจักรสุโขทัยโบราณ ปัจจุบันพบการละเล่นอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดสุโขทัย พิษณุโลก และอุตรดิตถ์ รวมทั้งพบร่องรอยการละเล่นมังคละในจังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดเพชรบูรณ์ (วงตุ๊บเก่ง) รวมทั้งวงกาหลอ วงมังคละ มีความสัมพันธ์กับกลุ่มคนที่ใช้สำเนียงอาณาจักรสุโขทัยโบราณเทวประภาส มากคล้.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและวงมังคละ · ดูเพิ่มเติม »

สะล้อ

ล้อทั่วไป สะล้อเป็นเครื่องดนตรีเครื่องสีพื้นเมืองล้านนาเพียงชนิดเดียว ซึ่งมีทั้ง 2 สายและ 3 สาย เป็นตัวหลักมักนิยมใช้ขึ้นนำเพลงในวง สะล้อ ซอ ซึง สะล้อมีขนาด 3 ขนาดได้แก่ เล็ก กลาง ใหญ่ ซึ่งมีหน้าที่ในการเล่นในวงไม่เหมือนกัน ส่วนมากมักนิยมผสมกับซึ่ง และขลุ่ยล้านนา มีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ สามารถสื่อเล่าถึงอารมณ์ที่ผู้เล่นต้องสื่อได้ หรือการสีเลียนเสียงมนุษย์ก็สามารถทำได้ สะล้อเป็นเครื่องดนตรีที่ละเอียดอ่อน เพราะพื้นที่วางสะล้อเมื่อเล่นก็มีผลต่อเสียงที่ออกมาทั้งหม.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและสะล้อ · ดูเพิ่มเติม »

สามเหลี่ยม (เครื่องดนตรี)

มเหลี่ยม สามเหลี่ยม (triangle) หรืออีกชื่อว่า "กิ่ง" เป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากแท่งโลหะ ดัดให้เป็นรูปสามเหลี่ยม แท่งโลหะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม. มีตะขอใช้ถือหรือแขวนไว้กับเชือก แล้วตีกระทบด้วยแท่งโลหะ สามเหลี่ยมมีลักษณะเสียงแจ่มใสมีชีวิตชีวา คล้ายเสียงกระดิ่ง มีระดับเสียงที่ไม่แน่นอ หมวดหมู่:เครื่องดนตรีออร์เคสตรา.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและสามเหลี่ยม (เครื่องดนตรี) · ดูเพิ่มเติม »

หีบเพลง

หีบเพลง เป็นชื่อของเครื่องดนตรี อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและหีบเพลง · ดูเพิ่มเติม »

ออร์แกน

ออร์แกน (Organ, กรีก: ὄργανον ออร์กานอน) เป็นเครื่องดนตรีสากล ออร์แกนมีประวัติในการประดิษฐ์ที่ยาวนานมาตั้งแต่สมัยโรมัน และมีความสำคัญควบคู่มากับศาสนาคริสต์เลยทีเดียว คำว่า Organ นั้น ก็มาจากภาษาละติน Organum ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ที่มีชื่อว่า Hydraulis ต้นกำเนิดเสียงของออร์แกนมาจากลม ซึ่งมีแหล่งกำเนิดหลายวิธีซึ่งในสมัยโบราณก็ต้องใช้แรงคนในการผลิตลม เมื่อลมถูกบังคับให้ไหลผ่านท่อที่มีขนาดต่างๆกันก็จะเกิดเสียงที่มีความถี่แตกต่างกัน ท่อที่ใช้ในการสร้างออร์แกนนั้น อาจจะเป็นไม้ หรือโลหะ ก็ได้ ซึ่งจะส่งผลให้มีเสียงที่แตกต่างกัน และออร์แกนหนึ่งเครื่อง สามารถทำเสียงต่าง ๆ ได้เท่า ๆ กับเครื่องดนตรีหลายชิ้นมารวมกัน ดังนั้น ออร์แกนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแนวทำนอง และแนวเดินเบส โดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องดนตรีอื่นใด ดังนั้น ในสมัยก่อนนั้น ออร์แกนจึงถือเป็นเครื่องดนตรีที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในบรรดาเครื่องดนตรีทั้งปวง ออร์แกนได้รับฉายาว่าเป็นราชาแห่งเครื่องดนตรีตะวันตก เนื่องจากมีความซับซ้อนในการประดิษฐ์ และขนาดที่ใหญ่ ออร์แกนที่ใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ที่ แอตแลนติกซิตีคอนเวนชันฮอล ที่เมืองแอตแลนติกซิตี รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา ซี่งมีจำนวนไปป์ถึง 33,000 ไปป์ หมวดหมู่:เครื่องลิ่มนิ้ว หมวดหมู่:เครื่องลม หมวดหมู่:ออร์แกน.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและออร์แกน · ดูเพิ่มเติม »

อังกะลุง

อังกะลุง เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง ทำจากไม้ไผ่ เล่นด้วยการเขย่าให้เกิดเสียง นับเป็นเครีองดนตรีประเภทตี มีที่มาจากประเทศอินโดนีเซีย ใน ภาษาอินโดนีเซียเรียกว่า อังคะลุง หรือ อังกลุง (Angklung).

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและอังกะลุง · ดูเพิ่มเติม »

อิเล็กโทน

อิเล็กโทน (Electone) เป็น เครื่องดนตรีไฟฟ้าประเภทลิ่มนิ้วดีด สามารถปรับแต่งเสียงได้แตกต่างกันมากภายในเครื่องเดียว  มีจังหวะกลอง คอร์ดและเบสแบบอัตโนมัติ  สามารถเล่นเพลงโดยใช้นักดนตรีเพียงคนเดียว ลิ่มนิ้วดีดของอีเล็คโทนจะมีตั้งแต่ 1 - 3 ชั้น  ชั้นล่างสุดเล่นด้วยมือซ้าย กำเนิดเสียงในระดับต่ำ ชั้นกลางเล่นด้วยมือขวา กำเนิดเสียงในระดับกลาง-สูง  ชั้นบนสุดจะเป็นเสียงพิเศษต่างๆ ซึ่งบางรุ่นก็ไม่มี  เท้าข้างขวาทำหน้าที่ควบคุมสวิทช์เท้าปรับความดัง-เบาของเสียงทั้งหมดที่ เกิดขึ้นในขณะที่บรรเลง  เท้าข้างซ้ายทำหน้าที่เล่นเสียงเบส ในกรณีที่ต้องการเสียงเบสแบบอัตโนมัติเท้าข้างซ้ายก็ไม่ต้องทำหน้าที่อะไร  เครื่องหมายการค้า ของออร์แกนไฟฟ้าที่ผลิตโดยยามาฮ่า มีคีย์กด 3 ชั้น.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและอิเล็กโทน · ดูเพิ่มเติม »

ฮอร์น

ฟรนช์ฮอร์น ฮอร์น (Horn) เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งอยู่ในประเภทเครื่องเป่าลมทองเหลือง เป็นเครื่องดนตรี High-Brass มีกำพวดขนาดค่อนข้างเล็ก มีโรเตอร์ (เฟรนช์ฮอร์น) และมีวาล์ว (บี-แฟลตฮอร์น) ในการเปลี่ยนเสียง โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง จนถึงวงออเคสตรา และแตรวง เดิมเครื่องดนตรีชนิดนี้นิยมเรียกว่า เฟรนช์ฮอร์น แต่สมาคมฮอร์นนานาชาติ (International Horn Society, IHS) แนะนำให้ใช้ชื่อว่า ฮอร์น ตั้งแต่ พ.ศ. 2514 ฮอร์นให้เสียงค่อนข้างกว้าง เพราะลำโพงค่อนข้างกว้าง และจะให้เสียงนุ่มนวลในเสียงเบา นิยมใช้บรรเลงในวงซิมโฟนีออร์เคสตร.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและฮอร์น · ดูเพิ่มเติม »

ฮาร์ป

ร์ป ฮาร์ป (harp) หรือ พิณ คือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายของตะวันตกมีเสียงเกิดขึ้นจากการใช้นิ้วดีด สายเสียงของเครื่องดนตรีนี้ปกติแล้วมี 47 สาย และที่เหยียบเพดดัล 7 อัน เพดดัลแต่ละอันจะควบคุมสายเสียงแต่ละชุด เช่น เพดดัล อันหนื่งจะบังคับสายเสียง C ทั้งหมดและอีกอันหนื่งจะบังคับสายเสียง D ทั้งหมด ฮาร์ปเป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ชนิดหนึ่งที่มีการกล่าวถึงตั้งแต่ราว 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ที่มาของเครื่องดนตรีชิ้นนี้น่าจะมาจากประเทศไอยคุปต์ (อียิปต์) เพราะตามภาพฝาผนังใต้สุสานของประเทศไอยคุปต์ที่เห็นจะมีรูปคนดีดพิณชนิดนี้อยู่เยอะมาก ฮาร์ป คือเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายซึ่งแตกต่างจากเครื่องสายประเภทอื่นๆ คือ การขึงของสายจะไม่ผ่านกล่องเสียง (Sounding Board) เหมือนเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ เช่น กีตาร์, ไวโอลิน หรือเปียโน โครงสำหรับขึงสายมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมโค้งงอเล็กน้อยเพื่อให้เกิดความสวยงาม ปกติจะเล่นด้วยการดีดที่สาย คุณภาพเสียงของฮาร์ปมีความแจ่มใสกว่าเสียงของเปียโน ใช้แสดงความสดชื่นแจ่มใส ลักษณะของอาร์พ       โครงสำหรับขึงสายมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม โค้งงอเล็กน้อย มี 47 สาย และ เสียงของฮาร์ปสามารถใช้เพื่อแสดงการไหลของสายน้ำ แสดงความสดชื่นแจ่มใส มีวิวัฒนาการมาจากไลร์ ฮาร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ   1.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและฮาร์ป · ดูเพิ่มเติม »

ฮาร์ปซิคอร์ด

Clavecin fait par Dumont ฮาร์ปซิคอร์ด เป็นเครื่องดนตรีตะวันตก ในยุคบาโรค ประเภทเครื่องดีด โดยมีการพัฒนามาจากเครื่องดนตรีประเภทพิณ และกีตาร์ กลไกการเกิดเสียงจะใช้การเกี่ยวดึงสายโลหะซึ่งมีขนาด และความยาวแตกต่างกันเพื่อให้ได้เสียงความถี่ต่างๆ การเล่นเครื่องดนตรีนี้จะใช้ คีย์บอร์ด (Keyboard) ในการสร้างกลไกในการดึงสาย โดยผู้เล่นสามารถเลือกกดบนแป้นคีย์บอร์ด ซึ่งจะคล้ายคลึงกับการเล่น เปียโน (Piano) แต่จะมีคีย์บอร์ดสองชั้น เหมือน ออร์แกน (Organ) ผู้เล่นไม่สามารถปรับความดังของเสียงได้ด้วยน้ำหนักของการกดคีย์บอร์ด แต่สามารถใช้กลไกอื่นช่วยในการสร้างความแตกต่างของคุณภาพเสียง (Acrustic Quality) ในยุคบาโรคมีการเล่นเครื่องดนตรีนี้อย่างแพร่หลายในบทเพลงประเภทเดี่ยว และวง สำหรับประเภทเดี่ยวได้มีผู้ประพันธ์เพลงที่มีบทบาทสำคัญได้แก่ บาค แฮนเดล สกาลัตตี คูโน แต่งเพลงไว้มากมาย โดยเฉพาะสกาลัตตีได้แต่เพลงประเภท โซนาตา ไว้เป็นจำนวนมาก และเป็นบทเพลงที่มีความซับซ้อนในด้านเทคนิคการเล่นอย่างสูง สำหรับประเภทวง เครื่องดนตรีนี้สามารถเล่นร่วมกับเครื่องดนตรีอื่นๆได้ วงออเครสตราในยุคนั้นได้กำหนดให้มีการเล่นดนตรีประเภท บาสโซคอนทินิวโอ (Basso Continuo) ไม่ได้เฉพาะเครื่องดนตรีเบสอย่างเดียว แต่ได้มีการใส่สัญลักษณ์เป็นตัวเลขเอาไว้เพื่อให้ฮาร์ปซิคอร์ดเล่นประกอบด้วย ถ้าจะเปรียบเทียบกับการเล่นดนตรีในปัจจุบันแล้ว ฮาร์ปซิคอร์ดเป็นเหมือนกับกลองชุด ซึ่งเป็นตัวกำหนดจังหวะของผู้เล่นเครื่องดนตรีอื่น และที่สำคัญที่สุด ผู้อำนวยเพลง (Conductor) ในสมัยบาโรค ก็มักจะประจำที่ฮาร์ปซิคอร์ดด้วย ตัวอย่างเพลงที่สำคัญของเครื่องดนตรีนี้ได้แก่ บทเพลงประเภท ออเครสตราสวิท (Orchestra Suite) ของบาค และ เฮนเดล บราเดนบวกคอนแซโต (Brandenburg Concerto) โดยเฉพาะหมายเลขห้า มีความพิเศษที่บาคนำฮาร์ปซิคอร์ดมาเป็นเครื่องดนตรีโซโลเพื่อฉลองให้กับฮาร์ปซิคอร์ดตัวใหม่ของเขาด้วย ในปัจจุบันก็ยังมีการเล่นฮาร์ปซิคอร์ดกันอยู่เมื่อมีการเล่นดนตรีบาโรคเพราะเสียงที่เป็นเอกลักษณ์ และเทคนิคการเล่นที่ไม่สามารถหาเครื่องดนตรีอื่นมาทดแทนได้.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและฮาร์ปซิคอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

จะเข้

้ของกัมพูชา จะเข้ของมอญ ในวัดพุทธมอญ เมืองฟอร์ตเวย์น, รัฐอินดีแอนา, สหรัฐ จะเข้ เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องดีด มี 3 สาย สันนิษฐานกันว่าได้รับอิทธิพลมาจากมอญ และได้ปรับปรุงแก้ไขมาจากพิณ คือ กระจับปี่ซึ่งมี 4 สาย นำมาวางดีดกับพื้นเพื่อความสะดวก มีประวัติและมีหลักฐานครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยา จะเข้ได้นำเข้าร่วมบรรเลงอยู่ในวงมโหรีคู่กับกระจับปี่ในสมัยรัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ มีผู้นิยมเล่นจะเข้กันมาก ทำให้กระจับปี่ค่อย ๆ หายไปในปัจจุบัน เนื่องจากหาผู้เล่นเป็นน้อย ตัวจะเข้ทำเป็นสองตอน คือตอนหัวและตอนหาง โดยลักษณะทางตอนหัวเป็นกระพุ้งใหญ่ ทำด้วยไม้แก่นขนุน หนาประมาณ 12 ซม.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและจะเข้ · ดูเพิ่มเติม »

ทรอมโบน

ทรอมโบน (Trombone) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าทองเหลือง มีคันชักใช้สำหรับเปลี่ยนระดับเสียง โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง รวมทั้งวงซิมโฟนีออร์เคสตรา และแตรวง ในวงดนตรี ทรอมโบนจะทำหน้าที่ประสานเสียงในกลุ่มแตรด้วยกัน ทรอมโบน เป็นแตรซึ่งใช้มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ในพิธีศาสนาและพิธียุรยาตราร่วมกับแตรโบราณ ทรอมโบนประกอบด้วยท่อลมสวมซ้อนเลื่อนเข้า – ออกได้ (Telescopic slide) ขนาดยาวโค้งได้สองทบ สองในสามของท่อลมนี้เป็นท่อทรงกระบอกเช่นเดียวกับ ทรัมเปตส่วนที่เหลือค่อย ๆ บานออกเป็นปากลำโพง ส่วนที่เป็นท่อลมทรงกระบอกจะเป็นท่อสองชั้นสวมกันไว้ในลักษณะรูปตัว U เลื่อนเข้าออกเพื่อปรับระดับเสียง เมื่อเลื่อนออกจะยาวประมาณ 9 ฟุต แต่เมื่อเลื่อนเข้า จะเหลือเพียง 3 ฟุตเศษ ทรอมโบนเป็นเครื่องดนตรีประเภทท่อทรงกระบอก (Cylindrical Bore) กล่าวคือมีท่อลมที่ขนาดคงที่เกือบทั้งเครื่อง ทำให้มีเสียงที่แข็งและกระด้าง ไม่นิ่มนวลเหมือนฮอร์นหรือยูโฟเนียม แต่ในบางรุ่นอาจมีการขยายขาหนึ่งของ Slide ให้ใหญ่กว่าอีกขาหนึ่ง ทำให้เสมือนหนึ่งเป็นเครื่องดนตรีทรงกรวย (Conical Bore) และให้เสียงที่นุ่มขึ้น.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและทรอมโบน · ดูเพิ่มเติม »

ทรัมเป็ต

ทรัมเป็ต (trumpet) เป็นเครื่องดนตรีสากลในกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง (แตร) ประเภทเสียงสูง (high brass) เช่นเดียวกับเฟรนช์ฮอร์น กำเนิดเสียงโดยอาศัยลมจากการเป่าของผู้เล่นทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของริมฝีปาก โดยทั่วไปมีปุ่มกด (valve) 3 อัน เรียงอยู่ในระนาบเดียวกัน มีทั้งที่เคลือบผิวด้วยทอง, เงิน, นิกเกิล, และแลกเกอร์ ทรัมเป็ตมีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเริ่มจากแตรสัญญาณที่ใช้ในการล่าสัตว์หรือในทางทหาร แต่แตรลักษณะนั้นโดยมากจะไม่มีปุ่มกดเพื่อเปลี่ยนระดับเสียง ทำให้ไม่สามารถสร้างระดับเสียงที่แตกต่างกันได้มากนัก จนกระทั่งมีการคิดประดิษฐ์ปุ่มกดและกลไกต่างๆเข้าไปภายหลังในสมัยยุคกลาง โดยเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง สามารถพบเห็นได้ในวงหลากหลายรูปแบบตั้งแต่วงพื้นบ้านของเม็กซิกัน (mariachi) วงแจ๊ซ วงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง จนถึงวงออเคสตรา และแตรวงขนาดใหญ่ หรือแม้แต่วงดนตรีป๊อป-ร็อคสมัยใหม่ ระดับเสียงของทรัมเป็ตมีช่วงเสียงประมาณ 2-3 ออกเตฟ ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่น ตั้งแต่ F# ต่ำกว่า middle C จนถึง E สูงเหนือบรรทัด 5 เส้นหรือสูงกว่านั้น เสียงของทรัมเป็ตโดยธรรมชาติมีลักษณะดังกังวาน สดใส และเข้มแข็ง แต่ขณะเดียวกันก็สามารถใช้สร้างเสียงที่แสดงออกถึงอารมณ์หม่นเศร้าได้เช่นกัน ที่นิยมใช้กันทั่วไปคือทรัมเป็ตในคีย์ Bb และคีย์ C อาจพบเห็นทรัมเป็ตที่มีขนาดและระดับเสียงแตกต่างกันได้อีกหลายชนิดตั้งแต่ "เบส-ทรัมเป็ต" จนถึง "พิคโคโลทรัมเป็ต" โดยเฉพาะในบทเพลงคลาสสิก ในประเทศไทยมีผู้เล่นทรัมเป็ตที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น อ.วานิช โปตะวณิช, อ.เลิศเกียรติ จงจิรจิต เป็นต้น หมวดหมู่:เครื่องลมทองเหลือง หมวดหมู่:เครื่องดนตรีออร์เคสตรา หมวดหมู่:ดนตรีของกองทัพเรือ.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและทรัมเป็ต · ดูเพิ่มเติม »

ทูบา

F-tubas, ปีค.ศ. 1900 (ซ้าย) และ 2004 (ขวา) ทูบา (tuba) เป็นเครื่องดนตรีตระกูล แซ็กฮอร์น ทูบามีท่อลมขนาดใหญ่ และมีความยาวตั้งแต่ 9,12,14,16 และ 18 ฟุต แล้วแต่ขนาด มีช่วงเสียง โดยมากจะใช้ใน วงโยธวาทิต วงดนตรี ลูกทุ่ง จนถึง วงออเคสตรา และ แตรวง กว้าง 3 ออคเทฟ เศษ ๆ ท่อลมเป็นทรงกรวย เช่นเดียวกับ ฮอร์น ส่วนกลางลำตัวติดลูกสูบบังคับเสียง 3 อัน หรือ 4 อัน ส่วนตรงปลายท่อ บานเป็นลำโพงกำพวดเป็นโลหะรูปถ้วย เสียงของทูบาต่ำ ลึกนุ่มนวล ไม่แตกพร่า เสียงต่ำมากที่เรียกว่า "พีเดิล โทน" (pedal tones) นั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตัวปกติแตรทูบาทำหน้าที่เป็นแนว เบส ให้แก่กลุ่ม เครื่องลมทองเหลือง ทูบาทำมาจากทองเหลืองและเป็นเครื่องมือที่มีเสียงต่ำที่สุดในกลุ่มเครื่องลมทองเหลือง จึงทำหน้าที่เป็นเบสเพื่อให้แนวเบสมีเสียงแน่นขึ้น ผู้เล่นต้องใช้ลมมากเช่นเดียวกับฮอร์น ดังนั้น จึงควรมีช่วงให้หยุดพักหายใจบ้าง.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและทูบา · ดูเพิ่มเติม »

ขลุ่ยหลิบ

ลุ่ยหลิบ หรือ ขลุ่ยหลีก เป็นขลุ่ยที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาขลุ่ยไทยมีความยาวประมาณ 25 เซนติเมตร มีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออเป็นคู่สี่ คือปิดหมดทุกนิ้วเป่าเป็นเสียงฟา นิยมใช้เป่าในวงมโหรีเครื่องคู่ เครื่องใหญ่ และวงเครื่องสายคู่ โดยเป็นเครื่องนำในวงเช่นเดียวกับระนาด หรือซอด้วง นอกจากนี้ยังใช้ในวงเครื่องสายปี่ชวา โดยบรรเลงเป็นพวกหลังเช่นเดียวกับซออู้ ข้อมูลโดยทั่วไป ประเภท - เครื่องเป่า ชนิดเกิดเสียงในตัว ลักษณะทางกายภาพ - ยาว 32-35 cm.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและขลุ่ยหลิบ · ดูเพิ่มเติม »

ขลุ่ยอู้

ขลุ่ยอู้เป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาขลุ่ยทั้งหลาย และเป็นขลุ่ยที่มีเสียงต่ำที่สุดคือต่ำกว่าเสียงโดต่ำของขลุ่ยเพียงออ 2-3 เสียง ขลุ่ยอู้ทำมาจากไม้รวกปล้องใหญ่ยาวประมาณ 60 เซนติเมตร กว้าง 4 เซนติเมตร ขลุ่ยอู้ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ หมวดหมู่:เครื่องดนตรีไทย en:Khlui u.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและขลุ่ยอู้ · ดูเพิ่มเติม »

ขลุ่ยเพียงออ

ขลุ่ยเพียงออ เป็นเครื่องดนตรีไทย ประเภทเครื่องเป่าชนิดไม่มีลิ้น ทำจากไม้รวกปล้องยาวๆ ด้านหน้าเจาะรูเรียงกัน สำหรับปิดเปิดเพื่อเปลี่ยนเสียง ตรงที่เป่าไม่มีลิ้นแต่มีดาก ซึ่งทำด้วยไม้อุดเหลาเป็นท่อนกลมๆยาวประมาณ 2 นิ้ว สอดลงไปอุดที่ปากของขลุ่ย แล้วบากด้านหนึ่งของดากเป็นช่องสี่เหลี่ยมเล็กๆ เราเรียกว่า ปากนกแก้ว เพื่อให้ลมส่วนหนึ่งผ่านเข้าออกทำให้เกิดเสียงขลุ่ยลมอีกส่วนจะวิ่งเข้าไปปลายขลุ่ยประกอบกับนิ้วที่ปิดเปิดบังคับเสียงเกิดเป็นเสียงสูงต่ำตามต้องการใตปากนกแก้วลงมาเจาะ 1 รู เรียกว่า รูนิ้วค้ำ เวลาเป่าต้องใช้หัวแม่มือค้ำปิดเปิดที่รูนี้ บางเลาด้านขวาเจาะเป็นรูเยื่อ ปลายเลาขลุ่ยมีรู 4 รู เจาะตรงกันข้ามแต่เหลื่อมกันเล็กน้อย ใช้สำหรับร้อยเชือกแขวนเก็บหรือคล้องมือจึงเรียกว่า รูร้อยเชือก รวมขลุ่ยเลาหนึ่งมี 14 รูปร่างของขลุ่ยเมือพิจารณาแล้วจะเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง จากหลักฐานที่พบขลุ่ยในหีบศพภรรยาเจ้าเมืองไทยที่ริมฝั่งแม่น้ำฮวงเหอ ซึ่งมีหลักฐานจารึกศักราชไว้ไม่ต่ำกว่า 2,๐๐๐ ปี ปัจจุบันขลุ่ยมีราคาสูง เนื่องจากไม้รวกชนิดที่ทำขลุ่ยมีน้อยลงและใช้เวลาทำมากจึงใช้วัตถุอื่นมาเจาะรูซึ่งรวดเร็วกว่า เช่น ไม้เนื้อแข็ง ไม้ไผ่ ไม้ชิงชัน ไม้พยุง บางครั้งอาจทำจากท่อพลาสติกแต่คุณภาพเสียงไม่ดีเท่าขลุ่ยไม้ ขลุ่ยที่มีเสียงไพเราะมากส่วนใหญ่จะเป็นขลุ่ยผิวไม้แห้งสนิท ขลุ่ยใช้เป่าในวงเครื่องสายไทย วงมโหรี และในวงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ การเทียบเสียงขลุ่ยเพียงออกับระดับเสียงดนตรีสากล เสียงโดของขลุ่ยเพียงออ เทียบได้เท่ากับ เสียง ทีแฟล็ต ในระดับเสียงทางสากล ปัจจุบันได้มีการทำขลุ่ยเพียงออที่มีระดับเสียงเท่ากับระดับเสียงสากล เรียกว่าขลุ่ยเพียงออ ออร์แกนบ้าง หรือขลุ่ยกรวดบ้าง แต่ในทางดนตรีสากลจะเรียกเป็นขลุ่ยไทยหมด จะเอาระดับเสียงมาเป็นตัวแยกขนาดเช่น ขลุ่ยคีย์ C, ขลุ่ยคีย์ D, ขลุ่ยคีย์Bb, ขลุ่ยคีย์ G เป็นต้น 12หน้า หมวดหมู่:เครื่องดนตรีไทย en:Khlui phiang aw.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและขลุ่ยเพียงออ · ดูเพิ่มเติม »

ขิม

ม ขิม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้คำอธิบายไว้ว่า "เครื่องดนตรีจีนชนิดหนึ่ง รูปคล้ายพระจันทร์ครึ่งซีกใช้ตี" ขิมถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยชาวจีนนำมาบรรเลงรวมอยู่ในวงเครื่องสายจีน และประกอบการแสดงงิ้วบ้าง บรรเลงในงานเทศกาล และงานรื่นเริงต่าง ๆ บ้าง คำว่า ขิม มาจากภาษาจีนฮกเกี้ยน ซึ่งมาจากอักษรจีน 琴 ซึ่งในภาษาจีนกลางอ่านว่า ฉิน นักดนตรีไทยนำขิมมาบรรเลงในสมัยต้นรัชกาลที่ 6 โดยแก้ไขบางอย่าง คือเปลี่ยนสายลวดทองเหลืองให้มีขนาดโตขึ้น เทียบเสียงเรียงลำดับ ไปตลอดจน ถึงสายต่ำสุด เสียงคู่แปดมือซ้ายกับมือขวามีระดับเกือบตรงกัน เปลี่ยนไม้ตีให้ใหญ่และก้านแข็งขิ้น หย่องที่หนุนสาย มีความหนา กว่าของเดิมเพื่อให้เกิดความสมดุล และมีความประสงค์ให้เสียงดังมากขึ้น และไม่ให้เสียงที่ออกมาแกร่งกร้าวเกินไปให้ทาบสักหลาดหรือหนังตรงปลายไม้ตี ส่วนที่กระทบกับสาย ทำให้เสียงเกิดความนุ่มนวล และได้รับความนิยม บรรเลงร่วมอยู่ในวงเครื่องสายผสมจนถึงปัจจุบัน เพลงที่นิยมบรรเลงกันมากคือ เพลงขิมเล็ก และเพลงขิมใหญ่ ซึ่งเป็นเพลงสำเนียงจีนที่เกิดขึ้นในราวปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 4 โดยพระประดิษฐ์ไพเราะ ได้จำทำนองการตีขิมของคนจีนแล้วมาแต่งเป็นเพลงในอัตรา 2 ชั้นได้ 2 เพลง ตั้งชื่อว่า เพลงขิมเล็ก และเพลงขิมใหญ่ สำหรับเพลงขิมเล็ก พระประดิษฐ์ไพเราะได้แต่งขยายเป็นอัตรา 3 ชั้น ส่วนเพลงขิมใหญ่ ครูมนตรี ตราโมทได้แต่งตัดลงเป็นอัตราชั้นเดียว จนครบเป็นเพลงเถา เมื่อประมาณปี พุทธศักราช 2478 และได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันนี้.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและขิม · ดูเพิ่มเติม »

ดับเบิลเบส

ับเบิลเบส (Double bass) มีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น สตริงเบส (String Bass) คอนทราเบส (Contra Bass) เบสวิโอล (Bass Viol) ดับเบิลเบสเป็นเครื่องดนตรีที่ที่นิยมเล่นใน วงออร์เคสตรา และ วงเครื่องสาย ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลิน อันประกอบไปด้วยไวโอลิน วิโอล่า เชลโล และ ดับเบิลเบส มีความสูงมาตรฐานประมาณ 74 นิ้ว ดับเบิ้ลเบสเป็นเครื่องดนตรีเพียงชิ้นเดียวที่อาจจะกล่าวได้ว่ามีความสัมพันธ์กับซอวิโอล (Viol) อย่างแท้จริง โดยสืบทอดมาจาก Violone ซอวิโอลขนาดใหญ่ (Big Viol) ซึ่งเล่นในช่วงเสียง 16 ช่วงเสียง (เสียงของมันจะต่ำกว่าโน้ตที่เขียน 1 ช่วงเสียง).

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและดับเบิลเบส · ดูเพิ่มเติม »

คอร์ แองเกลส์

คอร์ แองเกลส์ (Cor Anglais or English horn) เป็นเครื่องดนตรีสากล ประเภทเครื่องเป่าลมไม้ เป็นปี่ประเภทลิ้นคู่ อยู่ในตระกูลเดียวกับโอโบแต่มีขนาดใหญ่กว่า และมีรูปร่างที่แตกต่างไปจากโอโบ ระดับเสียงต่ำกว่าโอโบและเวลาเล่นจะต้องมีสายติดกับลำตัวปี่โยงไปคล้องคอผู้เล่นเพื่อพยุงน้ำหนักของปี่ ปี่ชนิดนี้มีลำตัวยาวกว่าปี่โอโบ ดังนั้นเพื่อง่ายต่อการเป่า ส่วนที่ต่อจากที่เป่า(ลิ้น) กับลำตัวปี่จึงต้องงอโค้งเป็นมุมและเกิดคำว่า “อองเกล (Angle)” ขึ้น ต่อมาคำนี้ได้เพี้ยนไปกลายเป็นอองแกลส์ (Anglais) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า English ส่วนคำว่า “คอร์” (Cor) ในภาษาฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า ฮอร์น (Horn) คอร์ แองเกลส์นอกจากมีชื่อประหลาดแล้วยังมีรูปร่างที่น่าทึ่งอีกด้วย คือส่วนที่ต่อจากที่เป่า (ลิ้นคู่) เป็นท่อลมโลหะโค้งงอติดกับลำตัวปี่ ซึ่งปี่โอโบไม่มี ตรงปลายสุดที่เป็นปากลำโพง (Bell) ป่องเป็นกระเปาะกลมๆ ซึ่งปี่โอโบมีลำโพงคล้ายปี่คลาริเนต หมวดหมู่:เครื่องดนตรี หมวดหมู่:เครื่องลมไม้.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและคอร์ แองเกลส์ · ดูเพิ่มเติม »

คอร์เนต

อร์เนต (Cornet) ลักษณะคล้ายกับทรัมเปตแต่ลำตัวสั้นกว่า คุณภาพของเสียงมีความนุ่มนวล กลมกล่อม เสียงสดใสน้อยกว่าทรัมเป็ท คอร์เน็ทนำมาใช้ในวงออร์เคสตร้าเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ..

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและคอร์เนต · ดูเพิ่มเติม »

คองกา

องกา คองกา (conga) หรือ ทุมบาโดรา (tumbadora) เป็นเครื่องดนตรีประเภทกลองจากคิวบา มีพื้นฐานมาจากกลองมาคูทาที่พัฒนามาจากแอฟริกา เป็นกลองทรงสูง ขึงหนังหน้าเดียว ใช้ตีด้วยนิ้วสี่นิ้ว และด้วยฝ่ามือ ที่กลางผืนหนัง และที่ขอบ ปัจจุบันกลองคองกาเป็นเครื่องดนตรีมาตรฐานสำหรับดนตรีละติน ซึ่งรวมไปถึงซัลซา รุมบา เมอแรงเก และเร็กเก้ (หลายครั้งที่กลองชนิดนี้ถูกใช้เคาะผสมกับดนตรีแนวดิสโก้ ฟังก์ ป็อบ นูแจ๊ส สกา ฯลฯ) วงดนตรีในประเทศไทยที่นำคองกาไปเล่น เช่น เครสเชนโด้ คาราบาว เป็นต้น กลองคองกาในอดีต ทำจากท่อนไม้ขุด ปัจจุบันทำด้วยไม้อัดแผ่นดัดโค้ง หรือไฟเบอร์กลาส ปรับความตึงของหนังกลองด้วยการขันสกรู ในการเล่นจะใช้กลองตั้งแต่สอง ถึง สี่ ตัว กลองคองกา มีหลายขนาด มีชื่อเรียกต่างกัน ดังนี้.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและคองกา · ดูเพิ่มเติม »

คาวเบล

คาวเบล คาวเบล (Cowbell) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ พัฒนามาจากกระดิ่งผูกคอวัว (Cow bell) ที่ใช้ผูกคอวัวเพื่อส่งเสียงให้คนเลี้ยงรู้ตำแหน่ง คาวเบลใช้ตีด้วยไม้กลอง นิยมใช้เล่นกับดนตรีซัลซา ที่เป็นที่นิยมเล่นประกอบการลีลาศแถบละตินอเมริกา และยังใช้เป็นอุปกรณ์ส่วนหนึ่งของกลองชุดอีกด้วย หมวดหมู่:เครื่องเพอร์คัชชัน.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและคาวเบล · ดูเพิ่มเติม »

ฆ้องมอญ

ฆ้องมอญเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับอิทธิพลมาจากมอญมีลักษณะตั้งโค้งขึ้นไป ไม่ตั้งราบกับพื้นแบบฆ้องไทย วงฆ้องทำจากไม้แกะสลักปิดทองอย่างสวยงาม ทางโค้งด้านซ้ายของผู้ตีแกะเป็นรูปต่างๆตามต้องการ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมรูปเทวดา ทางโค้งด้านขวาทำเป็นรูปปลายหาง มีเท้ารองตรงกลางเหมือนระนาดเอก ฆ้องมอญมีลูกฆ้อง 15 ลูก แต่ฆ้องมอญจะไม่เรียงเสียงเหมือนฆ้องไทย ในบางช่วงมีการข้ามเสียง เรียกเสียงที่ข้ามว่า"หลุม" ฆ้องมอญทำหน้าที่เดินทำนองเพลงเช่นเดียวกับฆ้องวงใหญ่ของไทย ฆ้องมอญมี 2 ขนาดเหมือนกับฆ้องไทยคือ ฆ้องมอญใหญ่และฆ้องมอญเล็ก ฆ้องมอญใช้เล่นในวงปี่พาทย์มอญ หมวดหมู่:เครื่องดนตรีไทย.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและฆ้องมอญ · ดูเพิ่มเติม »

ฆ้องราว

ฆ้องราว เป็นฆ้อง 3 ใบ มีขนาดลดหลั่นกัน ใช้แขวนราวเรียงไปตามขนาด เมื่อตีตีเรียงไปตามลำดับแล้วย้อนกลับ จะได้ยินเสียง (เสียงตีฆ้อง) โหม่ง -โม่ง - โม้ง - โมง - โหม่ง เคยใช้บรรเลงในการเล่นมหรสพโบราณ ชื่อ "ระเบง" หรือโอละพ่อ ในงานพระราชพิธี บางครั้งจึงเรียกว่า "ฆ้องระเบง" หมวดหมู่:เครื่องดนตรีไทย.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและฆ้องราว · ดูเพิ่มเติม »

ฆ้องวงใหญ่

ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงใหญ่เป็นเครื่องดนตรีที่วิวัฒนาการมาจากฆ้องรางของอินโดนีเซีย สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ส่วนประกอบของฆ้องวงใหญ่ประกอบด้วยลูกฆ้องและวงฆ้อง ลูกฆ้องมี 16 ลูกทำจากทองเหลือง เรียงจากลูกเล็กด้านขวา วงฆ้องสูงประมาณ 24 เซนติเมตร ใช้หวายโป่งทำเป็นราง ให้หวายเส้นนอกกับเส้นในห่างกัน 14-17 เซนติเมตร ใช้หวาย 4 อัน ด้านล่าง 2 อันขดเป็นวงขนานกัน เว้นที่ไว้ให้นักดนตรีเข้าไปบรรเลง ฆ้องวงใหญ่เป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุด เพราะคนที่จะเล่นดนตรีในวงปี่พาทย์ต้องมาเรียนฆ้องวงใหญ่ก่อน ฆ้องวงใหญ่ทำหน้าที่เดินทำนองหลัก ซึ่งถือเป็นแม่บทของเพลง ฆ้องวงใหญ่ใช้เล่นในวงปี่พาทย์ วงปี่พาทย์นางหงส์ และวงมโหรี หมวดหมู่:เครื่องดนตรีไทย.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและฆ้องวงใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ฆ้องวงเล็ก

้องวงเล็ก ฆ้องวงเล็กเป็นเครื่องดนตรีไทยสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 มีลักษณะเหมือนกับฆ้องวงใหญ่ แต่ลูกฆ้องมีขนาดเล็กกว่า มีลูกฆ้อง 18 ลูก บรรเลงทำนองคล้ายระนาดเอก แต่ตีเก็บถี่กว่าระนาดเอก ฆ้องวงเล็กใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็ง วงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์นางหงส์ และวงมโหรี.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและฆ้องวงเล็ก · ดูเพิ่มเติม »

ฆ้องคู่

ฆ้องคู่ เป็นฆ้องที่มี 2 ใบมีขนาดเล็ก เสียงต่ำใบหนึ่ง เสียงสูงใบหนึ่ง ใช้ตีกำกับจังหวะ ชุดหนึ่งมีสองลูก ลูกใหญ่ให้เสียงต่ำ ลูกเล็กให้เสียงสูง ไม้ตีทำด้วย แผ่นหนังวัว หรือ ใบหนังควายตัดเป็นวงกลม เจาะรูตรงกลางใส่ก้านไม้ ใช้บรรเลงในการเชิดหนังตะลุงและละครโนราชาตรี ชุดหนึ่งมี 2 ลูก, ปักษ์ใต้เรียก โหม่ง หมวดหมู่:เครื่องดนตรีไทย.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและฆ้องคู่ · ดูเพิ่มเติม »

ตะโพน

ตะโพน ตะโพน เป็นเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง ตัวตะโพนทำด้วยไม้สักหรือไม้ขนุน เรียกว่า หุ่น ขุดแต่งให้เป็นโพรงภายใน ขึ้นหนัง 2 หน้า ดึงด้วยสายหนังโยงเร่งเสียงเรียกว่า หนังเรียด หน้าใหญ่มีความกว้างประมาณ 25 ซม เรียกว่า หน้าเท่ง ติดหน้าด้วยข้าวสุกบดผสมกับขี้เถ้าเพื่อถ่วงเสียง อีกหน้าหนึ่งเล็กกว่ามีขนาดประมาณ 22 ซม เรียกว่า หน้ามัด ตัวกลองยาวประมาณ 48 ซม รอบ ๆ ขอบหนังที่ขึ้นหน้า ถักด้วยหนังที่ตีเกลียวเป็นเส้นเล็กๆ เรียกว่า ไส้ละมาน แล้วจึงเอาหนังเรียดร้อยในช่วงของไส้ละมานทั้งสองข้าง โยงเรียงไปโดยรอบจนมองไม่เห็นไม้หุ่น มีหนังพันตรงกลางเรียกว่า รัดอก ข้างบนรัดอกทำเป็นหูหิ้วและมีเท้ารองให้ ตัวตะโพนวางนอนอยู่บนเท้า ใช้ฝ่ามือซ้ายขวาตีได้ทั้งสองหน้า ใช้สำหรับประกอบจังหวะผสมอยู่ในวงปี่พาทย์ ทำหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับต่าง ๆ ตะโพนนี้ ถือเป็นบรมครูทางดุริยางคศิลป์ นับว่าพระประโคนธรรพ เป็นครูตะโพน เมื่อจะเริ่มการบรรเลง จะต้องนำดอกไม้ธูปเทียน บูชาตะโพนก่อนทุกครั้ง และถือเป็นประเพณีสืบต่อกันมา เหตุที่ต้องกราบใหว้บูชาก็เพราะ ตะโพนเป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงร่วมกับ สังข์ บัณเฑาะว์ และ มโหระทึก ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำองค์ของเทพเจ้า และสมมุติเทพ ดังนี้คือ สังข์ประจำพระองค์พระนารายณ์ และพระอินทร์ บัณเฑาะว์ ประจำองค์พระอิศวร มโหระทึก เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบพระอิศริยยศองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งถือเป็นสมมุติเทพส่วนตะโพนนั้นเป็นกลองที่พระคเณศได้เป็นผู้ตีเป็นคนแรก ดังนั้น ตะโพนเมื่อนำมาร่วมบรรเลงในวงปี่พาทย์ จึงถือเป็นบรมครู และทำหน้าที่กำกับหน้าทับต่างๆทั้งหม.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและตะโพน · ดูเพิ่มเติม »

ตะโพนมอญ

ตะโพนมอญ ตะโพนมอญ มีลักษณะคล้ายตะโพนของไทย แต่ใหญ่กว่า และตรงกลางหุ่นป่องน้อยกว่า มีเสียงกังวานลึกกว่าตะโพนไทย หน้าใหญ่เรียกว่า"เมิกโหน่ก" หน้าเล็กเรียกว่า"เมิกโด้ด" เป็นภาษามอญ ตะโพนมอญใช้บรรเลงผสมกับวงปี่พาทย์มอญ มีหน้าที่บรรเลงหน้าทับ และกำกับจังหวะต่างๆ หมวดหมู่:เครื่องดนตรีไทย หมวดหมู่:กลอง.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและตะโพนมอญ · ดูเพิ่มเติม »

ฉาบ

ฉาบแขวน ขนาด 16 นิ้ว ฉาบคู่ ฉาบ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเพอร์คัชชัน มีลักษณะเป็นแผ่นโลหะบางๆ รูปร่างคล้ายจาน โดยส่วนมากจะเป็นเครื่องดนตรีไม่มีระดับเสียง.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและฉาบ · ดูเพิ่มเติม »

ฉิ่ง

ฉิ่ง ฉิ่งเป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทตี ทำด้วยทองเหลือง หล่อหนา ปากผายกลม 1 ชุด มี 2 ฝา ฉิ่งมี 2 ชนิดคือ ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์ และ ฉิ่งที่ใช้สำหรับวงเครื่องสายและวงมโหรี ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์มีขนาดที่วัดฝ่านศูนย์กลาง จากขอบข้างหนึ่งไปสุดขอบอีกข้างหนึ่ง กว้างประมาณ 6 – 6.5 ซม เจาะรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก เพื่อให้จับสะดวกขณะตี ส่วนฉิ่งสำหรับวงเครื่องสายและวงมโหรีนั้น มีขนาดเล็กกว่า วัดผ่านศูนย์กลางได้ขนาดประมาณ 5.5 ซม เนื่องจากการตีฉิ่ง ต้องเอาขอบของฝาข้างหนึ่งกระทบกับอีกฝากหนึ่ง แล้วยกขึ้น ก็จะมีเสียงดังกังวานยาวดัง ฉิ่ง แต่ถ้าเอาทั้ง 2 ฝานั้นกระทบและประกบกันไว้ จะได้ยินเสียงดังสั้นๆดัง ฉับ ดังนั้นการเรียกชื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ว่า ฉิ่ง ก็เพราะเรียกตามเสียงที่เกิดขึ้นนั่นเอง หมวดหมู่:เครื่องดนตรีไทย หมวดหมู่:เครื่องเพอร์คัชชัน.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและฉิ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ซอกันตรึม

ซอกันตรึม เป็นเครื่องดนตรีของกลุ่มชาวไทยเชื้อสายเขมรและชาวไทยอีสาน เป็นเครื่องสายใช้สี ทำด้วยไม้ กะโหลกซอขึงด้วยหนังงูหรือหนังจำพวกตะกวด มีช่องเสียง อยู่ด้านตรงข้ามหน้าซอ ใช้สายลวดมี 2 สาย คันชักอยู่ระหว่างสาย คันซอยาวประมาณ 60 เซนติเมตร มีลูกบิดอยู่ตอนนอกซอใช้รัด ด้วยเชือก ขนาดของซอแตกต่างกันไปตามความ ประสงค์ของผู้สร้าง โดยทั่วไปมี 3 ขนาด คือ ขนาดเล็กเรียก ตรัวจี้ ขนาดกลางเรียกตรัวเอก ขนาดใหญ่เรียกตรัว บางครั้งจะเห็นมีการดัดแปลงประยุกต์กะโหลกซอโดยใช้กระป๋องหรือปี๊บซึ่งอาจเรียกแทนว่า ซอกระป๋องหรือซอปี๊บได้ หมวดหมู่:เครื่องดนตรีไทย.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและซอกันตรึม · ดูเพิ่มเติม »

ซอสามสาย

ซอสามสาย เป็นเครื่องดนตรีไทยชนิดหนึ่ง จำพวกเครื่องสาย มีขนาดใหญ่กว่าซอด้วงหรือซออู้ และมีลักษณะพิเศษ คือมีสามสาย มีคันชักอิสระ กะโหลกซอมีขนาดใหญ่ นับเป็นเครื่องดนตรีที่มีความสง่างามชิ้นหนึ่งในวงเครื่องสาย ผู้เล่นจะอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าของวง.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและซอสามสาย · ดูเพิ่มเติม »

ซออู้

ซออู้ ซออู้ เป็นซอสองสาย ตัวกะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว โดยตัดปาดกะลาออกเสียด้านหนึ่ง และใช้หนังลูกวัวขึงขึ้นหน้าซอ กว้างประมาณ 13 – 14 ซม เจาะกะโหลกให้ทะลุตรงกลาง เพื่อใส่คันทวนที่ทำด้วยไม้จริง ผ่านกะโหลกลงไป ออกทะลุรูตอนล่างใกล้กะโหลก คันทวนซออู้นี้ ยาวประมาณ 79 ซม ใช้สายซอสองสายผูกปลายทวนใต้กะโหลก แล้วพาดผ่านหน้าซอ ขึ้นไปผูกไว้กับ ลูกบิดสองอัน ลูกบิดซออู้นี้ยาวประมาณ 17 –18 ซม โดยเจาะรูคันทวนด้านบน แล้วสอดลูกบิดให้ทะลุผ่านคันทวนออกมา และใช้เชือกผูกรั้งกับทวนตรงกลางเป็นรัดอก เพื่อให้สายซอตึง และสำหรับเป็นที่กดสายใต้รัดอกเวลาสี ส่วนคันสีของซออู้นั้นทำด้วย ไม้จริงยาวประมาณ 70 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 160 - 200 เส้น ตรงหน้าซอใช้ผ้าม้วนกลมๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นหมอนหนุน สายให้พ้นหน้าซอ ด้านหลังของกะโหลกซอ แกะสลักเป็นรูปลวดลายสวยงาม และเป็นช่องทางให้เสียงออกด้านนี้ด้วย ซออู้มีรูปร่างคล้ายๆกับซอของจีนที่เรียกว่า ฮู – ฮู้ (Hu-hu) เหตุที่เรียกว่าซออู้ก็เพราะ เรียกตามเสียงที่ได้ยินนั่นเอง ซอด้วงและซออู้ ได้เข้ามามีบทบาทในวงดนตรีเครื่องสายตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ 4 นี่เอง โดยได้ดัดแปลงมาจาก วงกลองแขกเครื่องใหญ่ ซึ่งมีเครื่องดนตรีที่ทำลำนำประกอบด้วย ซอด้วง ซออู้ จะเข้ และ ปี่อ้อ ต่อมาได้เอากลองแขก ปี่อ้อ ออก และเอา ทับกับรำมะนา และขลุ่ยเข้ามาแทน เรียกวงดนตรีชนิดนี้ว่า วงมโหรีเครื่องสาย มีคนเล่นทั้งหมด 6 คน รวมทั้ง ฉิ่งด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและซออู้ · ดูเพิ่มเติม »

ซอด้วง

ซอด้วง ซอด้วงเป็นซอสองสาย มีเสียงแหลม ก้องกังวาน คันทวนยาวประมาณ 72 ซม คันชักยาวประมาณ 68 ซม ใช้ขนหางม้าประมาณ 120 – 150 เส้น กะโหลกของ ซอด้วงนั้น แต่เดิมใช้กระบอกไม้ไผ่มาทำ ปากกระบอกของซอด้วงกว้างประมาณ 7 ซม ตัวกระบอกยาวประมาณ 13 ซม กะโหลกของซอด้วงนี้ ในปัจจุบันใช้ไม้จริง หรือ งาช้างทำก็ได้ แต่ที่นิยมว่าเสียงดีนั้น กะโหลกซอด้วงต้องทำด้วยไม้ไม้เนื้อแข็ง ส่วนหน้าซอนิยมใช้หนังงูเหลือมขึง เพราะทำให้เกิดเสียงแก้วเกิดความไพเราะอย่างยิ่ง ลักษณะของซอด้วง มีรูปร่างเหมือนกับซอของจีนที่เรียกว่า ฮู – ฉิน (Huchin) ทุกอย่าง เหตุที่เรียกว่า ซอด้วง ก็เพราะมีรูปร่างคล้ายเครื่องดักสัตว์ เพราะตัวด้วงดักสัตว์ ทำด้วยกระบอกไม้ไผ่เหมือนกีน จึงได้เรียกชื่อไปตามลักษณะนั้นนั่นเอง สายซอด้วงนั้น มีเพียงสองสายและมีเสียงอยู่ สองเสียง คือสายเอกจะเป็นเสียง "เร" ส่วนสายทุ้มจะเป็นเสียง "ซอล" โดยใช้สายไหมฟั่นหรือว่าสายเอ็นก็ได้ ซอด้วงใช้ในวงเครื่องสาย วงมโหรี โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำวงและเป็นหลักในการดำเนินทำนองอ้างอิง.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและซอด้วง · ดูเพิ่มเติม »

ซึง

ซึง ซึง เป็นเครื่องดนตรีประเภทดีด มี 4 สาย แต่แบ่งออกเป็น 2 เส้น เส้นละ 2 สาย มีลักษณะคล้าย กระจับปี่ แต่มีขนาดเล็กกว่า ความยาวทั้งคันทวนและกะโหลกรวมกันประมาณ 81 ซม.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและซึง · ดูเพิ่มเติม »

ซูซาโฟน

thumb ซูซาโฟน (Sousaphone) เป็นเครื่องดนตรีกลุ่มเครื่องลมทองเหลืองใช้ในวงโยธวาทิต ตั้งชื่อตามชื่อของจอห์น ฟิลิป ซูซา หัวหน้าวงดุริยางค์นาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา ที่เป็นผู้ออกแบบและสั่งสร้างขึ้น ซูซาโฟนมีลักษณะเป็นรูปวงแหวนขนาดใหญ่ เวลาบรรเลงนักดนตรีต้องคล้องไหล่ ปากลำโพง โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง จนถึงวงออเคสตรา และแตรวง จะหันออกไปด้านหน้า ทำให้นักดนตรีสามารถเคลื่อนไหวหรือเดินแปรขบวนได้สะดวกจอห์น ฟิลิป ซูซา เป็นผู้สั่งให้บริษัท ซี.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและซูซาโฟน · ดูเพิ่มเติม »

ปิคโคโล

ปิคโคโล (Piccolo) เป็นเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องเป่าลมไม้ รูปร่างคล้ายฟลุทแต่ขนาดเล็กกว่า และมีเสียงสูงกว่า 1 ออคเทฟ มีขนาดเล็กกว่าฟลุท 4 เท่า จึงทำให้มีคุณภาพเสียงที่สดใสและแหลมมาก เสียงในระดับต่ำของปิคโคโลจะดังไม่ชัดเจน ปิคโคโลจึงเหมาะที่จะใช้ในการเล่นในระดับเสียงกลางและเสียงสูงมากกว่าในระดับเสียงต่ำ ปิคโคโลในวงออร์เคสตรา คือในศตวรรษที่ 18 ด้วยสุ้มเสียงที่แหลมสูงของปิคโคโลนี้เองทำให้เราสามารถ ที่จะได้ยินเสียงปิคโคโลได้อย่างชัดเจน ถึงแม้ว่าเครื่องดนตรีชิ้นอื่นจะบรรเลงอยู่ก็ตาม หมวดหมู่:เครื่องลมไม้ หมวดหมู่:เครื่องดนตรีออร์เคสตรา.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและปิคโคโล · ดูเพิ่มเติม »

ปี่

ปี่ เป็นเครื่องดนตรีไทย ทำด้วยไม้จริงเช่นไม้ชิงชันหรือไม้พยุง กลึงให้เป็นรูปบานหัวบานท้าย ตรงกลางป่อง เจาะภายในให้กลวงตลอดเลา ทางหัวของปี่เป็นช่องรูเล็กส่วนทาง ปลายของปี่ ปากรูใหญ่ใช้ชันหรือวัสดุอย่างอื่นมาหล่อเสริมขึ้นอีกราวข้างละ ครึ่งซม ส่วนหัวเรียก ทวนบน ส่วนท้ายเรียก ทวนล่าง ตอนกลางของปี่ เจาะรูนิ้วสำหรับเปลี่ยนเสียงลงมาจำนวน 6 รู แต่สามารถเป่าได้เสียงตรง 24 เสียง กับเสียงควงหรือเสียงแทนอีก 8 เสียง รวมเป็น 32 เสียง รูตอนบนเจาะเรียงลงมา 4 รู เว้นระยะห่างเล็กน้อย เจาะรูล่างอีก 2 รู ตรงกลางของเลาปี่ กลึงขวั้นเป็นเกลียวคู่ไว้เป็นจำนวน 14 คู่ เพื่อความสวยงามและกันลื่นอีกด้วย ตรงทวนบนนั้นใส่ลิ้นปี่ที่ทำด้วยใบตาลซ้อนกัน 4 ชั้น ตัดให้กลมแล้วนำไปผูกติดกับท่อลมเล็กๆที่ เรียกว่า กำพวด เรียวยาวประมาณ 5 ซม.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและปี่ · ดูเพิ่มเติม »

ปี่ชวา

ปี่ชวาปี่ชวา เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่งที่มีลิ้น เข้าใจว่าเมืองไทยรับมาในคราวเดียวกับกลองแขก ส่วนประกอบของปี่ชวามีดังนี้.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและปี่ชวา · ดูเพิ่มเติม »

ปี่กาหลอ

ปี่กาหลอ หรือ ปี่ห้อ เป็นเครื่องเป่าชนิดหนึ่งของภาคใต้ของไทย เลาปี่ทำด้วยไม้ยาวประมาณ 13 นิ้ว มีรูบังคับเสียง 7 รู และด้านล่างมีรูนิ้วหัวแม่มือ 1 รู ลิ้นปี่ทำด้วยใบตาล มีบังลมทำด้วยไม้หรือเปลือกหอยมุก ด้านล่างเป็นลำโพงปี่ทำด้วยไม้ปากบาน เพื่อขยายเสียง (เช่นเดียวกับปี่ชวา) นิยมใช้ลูกปัดสีต่าง ๆ ร้อยห้อยที่เลาปี่เพื่อตกแต่งด้วย ปี่กาหลอใช้เป่าบรรเลงในงานศพ หรืองานบวชที่ผู้บวชจะไม่สึก หมวดหมู่:เครื่องดนตรีไทย.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและปี่กาหลอ · ดูเพิ่มเติม »

ปี่ภูไท

ปี่ภูไท หรือ ปี่ลูกแคน เป็นเครื่องดนตรีของชนเผ่าภูไทจังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนม อุดรธานี มุกดาหาร ในภาคอีสานของประเทศไทย และในแขวงสุวรรณเขต แขวงเชียงขวาง และแขวงคำม่วนในประเทศลาว ส่วนใหญ่ปี่ชนิดนี้เริ่มจะหายไปแล้ว เพราะไม้ไผ่ลูกแคนหรือไม้ไผ่เฮี้ยเริ่มหายาก เพราะมีไม่มากเหมือนสมัยก่อน ปี่ภูไทมีลักษณะคล้ายปี่จุมของภาคเหนือ เพราะมีลิ้นที่ทำจากโลหะจำพวก ทอง ทองแดง เงิน และมีเสียง วิธีการเป่าที่คล้ายกัน ปี่ภูไท ใช้บรรเลงกับเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆได้ เช่น แคน พิณ ซอ ปัจจุบันมีปราชญ์ชาวบ้านผู้เชี่ยวชาญ 1 ท่าน อยู่ที่บ้านกุดหว้า ตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ คือ คุณพ่อเมฆ ศรีกำพล ศิลปินมรดกอีสาน สาขาปี่ภูไท มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและปี่ภูไท · ดูเพิ่มเติม »

ปี่มอญ

ปี่มอญ ปี่มอญ เป็นเครื่องเป่าในตระกูลปี่ ไทยได้แบบอย่างมาจากมอญ ปี่ชนิดนี้แบ่งเป็น 2 ท่อน ท่อนแรกเรียกว่า"ตัวเลา" ทำด้วยไม้จริง กลึงให้กลมเรียวยาว ภายในโปร่งตลอด ตอนปลายกลึงผายออกเล็กน้อย ถัดลงมากลึงเป็นลูกแก้วคั่นสำหรับผูกเชือกโยงกับตัวลำโพง ที่ตัวเลาด้านหน้าเจาะรู 7 รู เรียงตามลำดับเพื่อเปิดปิดนิ้วบังคับเสียง ด้านหลังตอนบนเจาะอีก 1 รูเป็น"รูนิ้วคำ" อีกท่อนหนึ่งเรียกว่าลำโพง ทำด้วยทองเหลืองหรือสแตนเลส ลักษณะคล้ายดอกลำโพง แต่ใหญ่กว่า ปลายผายบานงุ้มขึ้น ตอนกลางและตอนปลายตีเป็นลูกแก้ว ตัวเลาปี่จะสอดใส่เข้าไปในลำโพง โดยมีเชือกเคียนเป็นทักษิณาวัฏ ในเงื่อน"สับปลาช่อน" ยึดระหว่างลูกแก้วลำโพงปี่กับลูกแก้วตอนบนของตัวเลาปี่ เพื่อไม่ให้หลุดออกจากกันง่ายๆ เนื่องจากว่าปี่มอญมีขนาดใหญ่และยาวกว่าปี่อื่นๆ ทำให้กำพวดของปี่จึงต้องยาวไปตามส่วนโดยมีความยาวประมาณ 8-9 ซม.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและปี่มอญ · ดูเพิ่มเติม »

ปี่อ้อ

ปี่อ้อ เป็นปี่โบราณของไทยอย่างหนึ่ง ตัวปี่ (เลา) ทำด้วยไม้รวกปล้องเดียว ไม่มีข้อยาวประมาณ 24 เซนติเมตร เขียนลวดลายด้วย การลนไฟให้ไหม้เกรียมเฉพาะที่ต้องการหัวท้ายเลี่ยมด้วยทองเหลืองหรือเงินเพื่อป้องกันมิให้แตก เจาะรูสำหรับเปิดปิด นิ้วเรียงตาม ลำดับด้านหน้า 7 รู และมีนี้วค้ำด้านหลัง 1 รูเช่นเดียวกับขลุ่ย ลิ้นทำด้วยไม้อ้อลำเล็กๆ เหลาให้บางยาว 5 เซนติเมตร ไว้ทางหนึ่งให้ กลมพันด้วยด้ายเพื่อให้กระชับพอที่จะเสียบเข้าไปในเลาปี่ 1 เซนติเมตรพอดีกับรูของตัวปี่ อีกทางหนึ่งผ่าเจียนเป็น 23 ซีก ปลายมน ตัดให้แบนเข้าแนบประกบกว้างราว 2 เซนติเมตรนัยว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ร่วมอยู่ในวงเครื่องสายมาก่อน ต่อมาได้ใช้ขลุ่ยเพียงออและขลุ่ยหลุ่ยหลิบเข้าผสมแทน ปี่อ้อจึงหายไป หมวดหมู่:เครื่องดนตรีไทย.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและปี่อ้อ · ดูเพิ่มเติม »

ปี่จุม

ปี่จุม เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าของภาคเหนือ (ล้านนา) คำว่า "จุม" เป็นภาษาล้านนาหมายถึงการชุมนุม หรือการประชุมกัน ดังนั้น ปี่จุม จึงหมายถึง การนำปี่หลายๆเล่มนำมาเป่ารวมกัน แต่ตอนหลังมาเพี้ยนเป็น'ปี่ชุม' ปี่ชุมทำด้วยไม้รวก ลำเดียว นำมาตัดให้มีขนาดสั้น ยาว เรียงจากขนาดเล็ก(ปลายไม้) ไปหาใหญ่(โคนของลำไม้)มีต่าง ๆ กัน ตามระดับเสียง เรียงจากขนาดเล็ก ซึ่งมีระดับสูง ไปหาขนาดใหญ่ที่มีเสียงต่ำ ดังนี้.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและปี่จุม · ดูเพิ่มเติม »

ปี่นอก

ปี่นอกเป็นปี่ที่มีเสียงสูงสุดในบรรดาเครื่องเป่าตระกูลปี่ใน ลักษณะมีขนาดเล็กและเสียงแหลม มีความยาวประมาณ 31 เซนติเมตร มึความกว้างประมาณ 3.5 เซนติเมตร มีลักษณะบานหัวบานท้ายเช่นเดียวกับปี่ใน บริเวณเลาปี่ที่ป่องเจาะรู 6 รู ปี่นอกใช้เล่นในวงปี่พาทย์ไม้แข็งและวงปี่พาทย์ชาตรี หมวดหมู่:เครื่องดนตรีไทย.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและปี่นอก · ดูเพิ่มเติม »

ปี่แน

ปี่แน เป็นปี่ประเภทลิ้นคู่ทำด้วยใบตาล ซึ่งผ่านกรรมวิธี มีรูบังคับเสียง เช่นเดียวกับปี่ใน นิยมบรรเลงในวงกลองตึ่งนง วงพาทย์เมือง เป็นต้น มี 2 ขนาด ได้แก.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและปี่แน · ดูเพิ่มเติม »

ปี่ใน

ปี่ใน เป็นปี่ที่มีขนาดใหญ่และมีเสียงต่ำ ในบรรดาเครื่องเป่าที่มีลิ้นตระกูลปี่ใน ลักษณะเป็นปี่ท่อนเดียว ลำปี่ที่ทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงเรียกว่า"เลา" เป็นเครื่องเป่าที่มีลิ้น ผสมอยู่ในวงปี่พาทย์มาแต่โบราณ ที่เรียกว่า " ปี่ใน " ก็เพราะว่า ปี่ชนิดนี้ เทียบเสียงตรงกับระดับเสียงที่เรียกว่า " เสียงใน " ซึ่งเป็นระดับเสียงที่วงปี่พาทย์ไม้แข็ง บรรเลงเป็นพื้นฐาน ปี่ในใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์เครี่องห้า วงปี่พาทย์เครื่องคู่ วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ และได้ใช้ประกอบการแสดงละครใน.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและปี่ใน · ดูเพิ่มเติม »

ปี่ไฉน

ปี่ไฉน เป็นปี่สองท่อน ถอดออกจากกันได้ ท่อนบนเรียงยาว ปลายผายออกเล็กน้อยเรียกว่า "เลาปี่" ท่อนล่างปลายบานเรียกว่า "ลำโพง" ทำด้วยไม้หรืองา ปี่ชนิดนี้เข้าใจว่าได้แบบอย่างมาจาก เครื่องดนตรีของอินเดีย ซึ่งเป็นเครื่องเป่าที่ทำด้วยไม้ ไทยใช้ปี่ชนิดนี้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ปัจจุบันใช้ในขบวนแห่ คู่กับปี่ชวา โดยจ่าปีใช้เป่านำกลองชนะในกระบวนพยุหยาตรา หมวดหมู่:เครื่องดนตรีไทย.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและปี่ไฉน · ดูเพิ่มเติม »

แมนโดลิน

200px แมนโดลิน (Mandolin) เป็นเครื่องดนตรีตระกูลลูท มีสาย 4 คู่ (8 สาย) หรือ 6 คู่ (12 สาย) ตั้งเสียงเท่ากันเป็นคู่ มีลูกบิดคล้ายกีตาร์ใช้ในการตั้งเสียง และมีนม (Feat) รองรับสาย เวลาเล่นจะใช้นิ้วมือซ้ายจับตัวแมนโดลินและใช้มือขวาดีด ลักษณะการดีดคล้ายการดีดกีตาร์โดยใช้พิค (Pick) เสียงที่เกิดจากแมนโดลินมีความไพเราะเป็นเสียงที่มีคุณภาพ เร้าอารมณ์ได้ดีโดยเฉพาะอารมณ์โศกเศร้าเกี่ยวกับความรัก แมนโดลินมีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอิตาลี เป็นเครื่องดนตรีที่ชาวอิตาเลียนนิยมแพร่หลายกัน ในปี ค.ศ. 1713 ได้มีผู้นำเอาแมนโดลินมาเล่นผสมในวงคอนเสิร์ตในประเทศอังกฤษ หมวดหมู่:เครื่องสาย.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและแมนโดลิน · ดูเพิ่มเติม »

แคลฟวิคอร์ด

แคลฟวิคอร์ด แคลฟวิคอร์ด (clavichord; เรียกโดยย่อว่า clav แคลฟ หรือ clavi แคลฟวี) เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายเปียโน เป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้ว (Keybroad instruments) ในยุคแรก ๆ ประเภทเกิดเสียงได้ จากการดีดโดยมีสายเสียงที่ขึงไปตามส่วนรูปของกล่องไม้สี่เหลี่ยม กว้างประมาณ 2 ฟุต ยาวประมาณ 4 ฟุต มีแถวของลิ่มนิ้วประมาณ 3 อ็อกเทฟ ส่วนปลายสุดของคีย์จะมีกลไกการงัดหรือแตะของลิ่มทองเหลืองเล็ก ๆ เมื่อผู้เล่นกดคีย์ลงไปลิ่มทองเหลืองนี้ก็จะยกขึ้นและตีไปที่สายเสียงเพื่อทำให้เกิดเสียง แคลฟวิคอร์ดเป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้วประเภทแรกที่สามารถเล่นได้ทั้งเบาและดังโดยเปลี่ยนแปลงน้ำหนักการกดคีย์ เสียงที่ได้จากแคลฟวิคอร์ดมีความไพเราะและนุ่มนวล โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (ค.ศ.1685-1750) ได้ประพันธ์เพลงที่มีชื่อว่า "Well-Tempered Clavier" ซึ่งมี prelude and fugue จำนวน 48 บทสำหรับบรรเลงด้วยแคลฟวิคอร์ดโดยเฉพาะ โดยผลงานชิ้นนี้ถือเป็นผลงานชิ้นสำคัญของบาคเลยทีเดียว เนื่องจากบทเพลงสามารถดึงเอาจุดเด่นของลักษณะเสียงและเทคนิคของแคลฟวิคอร์ดให้บรรเลงได้อย่างไพเราะงดงาม หมวดหมู่:เครื่องสาย หมวดหมู่:เครื่องลิ่มนิ้ว.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและแคลฟวิคอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

แคลริเน็ต

กซ้ายไปขวา คลาริเน็ต Ab Eb และ Bb คลาริเน็ต(Clarinet) เป็นเครื่องดนตรีจำพวกเครื่องเป่าลมไม้(woodwind instruments) ที่พัฒนามาจากเครื่องดนตรีในสมัยกลางเรียกว่า chalumeau แคลริเน็ตเป็นเครื่องดนตรีที่มักทำจากไม้หรือพลาสติก ทำให้เกิดเสียงโดยใช้ลิ้นเดี่ยว (single reed) ซึ่งรัดติดกับปากเป่าเช่นเดียวกับแซกโซโฟน ช่วงเสียงแคลริเน็ต (Bb) เริ่มตั้งแต่ D (เขียนว่า E แต่เล่นแล้วออกเสียง D เนื่องจากเป็นแคลริเน็ตบีแฟลต มีเสียงต่ำกว่าที่เขียนไว้ 1 tone) เรื่อยขึ้นไปประมาณ 3 ½ คู่แป.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและแคลริเน็ต · ดูเพิ่มเติม »

แคน

แคน แคน เป็นเครื่องเป่าหรือเครื่องดนตรีพื้นเมืองของภาคอีสานในประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นเครื่องดนตรีของชาวลาวหรือ สปป.ลาว และถือเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติของชนชาติลาวอีกด้วย โดยเครื่องดนตรีชนิดนี้จะใช้ไม้ซางขนาดต่าง ๆ ประกอบกันเข้าเป็นตัวแคน แคนเป็นเครื่องเป่ามีลิ้นโลหะ เสียงเกิดจากลมผ่านลิ้นโลหะไปตามลำไม้ที่เป็นลูกแคน การเป่าแคนต้องใช้ทั้งเป่าลมเข้าและดูดลมออกด้วย จึงเป่ายากพอสมควรและแคนมีหลายขนาด ถือเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่ให้เสียงไพเราะ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว สร้างเสียงประสานได้ในตัวเอง บ่งบอกถึงวิถีชีวิตของชาวลุ่มแม่น้ำโขงได้เป็นอย่างดี ใครเป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องดนตรีที่เรียกว่า "แคน" เป็น คนแรก และทำไมจึงเรียกว่า "แคน" นั้น ยังไม่มีหลักฐานที่แน่นอนยืนยันได้.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและแคน · ดูเพิ่มเติม »

แซกโซโฟน

รอบครัวแซกโซโฟน (เรียงลำดับใหญ่-เล็ก) คอนทร่าเบสแซกฯ, เบสแซกฯ, บาริโทนแซกฯ, เทนเนอร์แซกฯ, C เทนเนอร์แซก, อัลโต้แซกฯ, F อัลโต้แซก, โซปราโน่แซกฯ, C โซปราโน่แซกฯ และโซปรานิโน่แซกฯ อัลโต้ แซกโซโฟน (ยามาฮ่า รุ่น YAS-275 MK1) แซกโซโฟน (saxophone) เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องลมไม้ ใช้ลิ้นเดี่ยวเหมือนของคลาริเนต แม้ว่าตัวเครื่องมักจะทำด้วยโลหะแต่สุ้มเสียงก็กระเดียดมาทางเครื่องลมไม้ แซกโซโฟนจึงได้รับฉายาว่า "คลาริเนตทองเหลือง" (brass clarinet) โดยมากจะใช้ในวงโยธวาทิต วงดนตรีลูกทุ่ง จนถึงวงออเคสตรา และแตรวง แบร์ลิออซได้กล่าวว่าเสียงของแซกโซโฟนคือการผสมผสานเข้าด้วยกันระหว่าง ซอเชลโล ปี่คอร์อังแกลส์และปี่คลาริเนท แซกโซโฟนจะเล่นกระซิบกระซาบ อ่อนหวานนุ่มนวล หรือจะแผดให้แสบโสตประสาทก็ทำได้ จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการแสดงอย่างมาก CR:"NiCEkUNG.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและแซกโซโฟน · ดูเพิ่มเติม »

โหม่ง

หม่ง เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีชนิดหนึ่ง ใช้ตีประกอบจังหวะ โหม่ง คือ ฆ้องคู่ เสียงต่างกันที่เสียงแหลมเรียกว่า "เสียงโหม่ง" ที่เสียงทุ้มเรียกว่า"เสียงหมุ่ง" หรือ บางครั้งอาจจะเรียกว่าลูกเอกและลูกทุ้มซึ่งมีเสียงแตกต่างกันเป็นคู่ห้า แต่ปัจจุบันเป็นคู่แปด วิธีตีโหม่งในวงเครื่องสายหรือปี่พาทย์ ผู้ตีนั่งขัดสมาธิ ให้โหม่งวางอยู่ตรงหน้า จับไม้ตีตีตรง กลางปุ่มด้วยน้ำหนักพอประมาณเนื่องจากโหม่งชนิดนี้มีเสียงดังกังวานยาวนาน จึงนิยมตีห่างๆ คือสองฉิ่งสอง ฉับต่อการตีโหม่งครั้งหนึ่ง แต่ถ้าเป็นวงกลองยาวหรือวงมังคละ จะนิยมตีลงที่จังหวะหนัก(ฉับ)ตลอดโดยไม่เว้น.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและโหม่ง · ดูเพิ่มเติม »

โหวด

หวด โหวด หรือ "โบด" เป็นเครื่องดนตรีไทยภาคอีสานประเภทเครื่องเป่าหรือแกว่ง มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกคล้ายกับบั้งไฟ ทำจากไม้กู่แคนซึ่งเป็นไม้ซางชนิดเดียวกับที่ใช้ทำแคนด้านบนมีชันโรง (ขี้สูด) มีลักษณะคล้ายกับเครื่องดนตรีกรีกโบราณ ที่เรียกว่า "Pan Pipe" ในสมัยโบราณมักจะใช้ผูกกับเชือกแล้วแกว่งให้เกิดเสียง โหวดเป็นเครื่องดนตรีประจำจังหวัดร้อยเอ็ด ผู้คิดค้นพัฒนาให้โหวดมีลักษณะแบบที่เห็นในปัจจุบันคือ นายทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เครื่องดนตรีชนิดนี้ได้รับความนิยมในเพลงลูกทุ่งในช่วงหลัง นับตั้งแต่ช่วงปี 2540 เป็นต้นม.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและโหวด · ดูเพิ่มเติม »

โอโบ

โอโบ ที่ใช้ในปัจจุบันนี้มีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ใช้ในการแสดงอุปรากรฝรั่งเศส เรียกว่า “Hautbois” หรือ “Hoboy” ในศตวรรษที่ 18 โอโบใช้เป็นเครื่องดนตรีหลักในวงออร์เคสตร้า เป็นเครื่องดนตรีเสียงสูงในกลุ่มเครื่องลมไม้ ซองในขณะนั้นมีรูปิดเปิดเพียง 2- 3 รูเท่านั้น ในศตวรรษที่ 19 โอโบได้พัฒนาในเรื่องระบบกลไก คีย์ กระเดื่อง สำหรับปิดเปิดรู เพื่อเปลี่ยนระดับเสียงให้เล่นสะดวกมากขึ้น จนในที่สุดโอโบคือเครื่องดนตรีหลักที่จะต้องมีในวงดุริยางค์ อ.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและโอโบ · ดูเพิ่มเติม »

โทน

ทนชาตรี โทนมโหรีกับรำมะนา โทน เป็นชื่อของเครื่องหนัง ที่ขึงหนังหน้าเดียว มีสายโยงเร่งเสียงจากขอบหนังถึงคอ มีหางยื่นออกไปและบานปลาย มีชื่อเรียกคู่กันว่า โทนทับ โดยลักษณะรูปร่างนั้น โทนมีชื่อเรียกกันได้ตามรูปร่างที่ปรากฏ 2 ชนิดคือ โทนชาตรี และ โทนมโหรี โทนชาตรีนั้น ตัวโทนทำด้วยไม้ขนุน ไม้สัก หรือ ไม้กะท้อนมีขนาดปากกว้าง 17 ซม ยาวประมาณ 34 ซม มีสายโยงเร่งเสียงใช้หนังเรียด ตีด้วยมือข้างหนึ่ง ส่วนอีกมือหนึ่งคอยปิดเปิด ปลายหางที่เป็นปากลำโพง ช่วยให้เกิดเสียงต่างๆ ใช้สำหรับ บรรเลงประกอบการแสดงละครชาตรี และหนังตะลุง และตีประกอบจังหวะในวงปี่พาทย์ หรือวงเครื่องสาย หรือวงมโหรีที่เล่นเพลงภาษาเขมร หรือ ตะลุง ส่วนโทนมโหรีนั้น ตัวโทนทำด้วยดินเผา ด้านที่ขึงหนังโตกว่า โทนชาตรี ขนาดหน้ากว้างประะมาณ 22 ซม ยาวประมาณ 38 ซม สายโยงเร่งเสียงใช้หวายผ่าเหลาเป็นเส้นเล็กหรือใช้ไหมฟั่นเป็นเกลียว ขึ้นหนังด้วยหนังลูกวัว หนังแพะ หนังงูเหลือม หรือหนังงูงวงช้าง ใช้สำหรับบรรเลงคู่กับรำมะนา โดยตีขัดสอดสลับกัน ตามจังหวะหน้าทั.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและโทน · ดูเพิ่มเติม »

โปงลาง

วนประกอบโปงลาง โปงลาง ดนตรีพื้นเมืองอีสานถือว่าจังหวะสำคัญมาก เครื่องดนตรีประเภทตีใช้ดำเนินทำนองอย่างเดียวคือ โปงลาง โปงลางมีวิวัฒนาการมาจากระฆังแขวนคอสัตว์เพื่อให้เกิดเสียงโปงลางที่ใช้บรรเลงอยู่ในภาคอีสานมี2 ชนิด คือ โปงลางไม้และโปงลางเหล็ก ภาพที่แสดงคือ โปงลางไม้ซึ่งประกอบด้วยลูกโปงลางประมาณสิบสองลูกเรียงตามลำดับเสียงสูง ต่ำ ใช้เชือกร้อยเป็นแผงระนาด แต่โปงลางไม่ใช้รางเพราะเห็นว่าเสียงดังอยู่แล้ว แต่นำมาแขวนกับที่แขวน ซึ่งยึดส่วนปลายกับส่วนโคนให้แผงโปงลางทำมุมกับพื้น 45องศา ไม้ตีโปงลางทำด้วยแก่นไม้มีหัวงอนคล้ายค้อนสำหรับผู้บรรเลงใช้ตีดำเนินทำนอง1 คู่ และอีก 1 คู่สำหรับผู้ช่วยใช้เคาะทำให้เกิดเสียงประสานและจังหวะตามลักษณะของดนตรีพื้นเมืองอีสานที่มีเสียงประสาน.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและโปงลาง · ดูเพิ่มเติม »

ไวโอลิน

วโอลิน เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงระดับเสียงสูงในกลุ่มเครื่องดนตรีคลาสสิกประเภทเครื่องสาย (String instruments) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลินที่เล็กที่สุด อันประกอบไปด้วย ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และ ดับเบิลเบส เมื่อนำทั้งหมดมาเล่นร่วมกันแล้วจะเรียกว่า วงเครื่องสาย(string) ซึ่งเป็นตระกูลเครื่องดนตรีหลักของ วงออร์เคสตร.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและไวโอลิน · ดูเพิ่มเติม »

ไหซอง

หซอง เป็นเครื่องดนตรีไทยภาคอีสาน ทำมาจากไหน้ำปลาหรือไหปลาร้าที่ไม่ใช้แล้ว ขึงด้วยยางหนังสติ๊กหรือยางอื่นๆ บริเวณปากไห จัดเป็นชุด ชุดละหลายใบ โดยมีขนาดลดหลั่นกัน บรรเลงโดยการดีดด้วยนิ้ว ให้เสียงทุ้มคล้ายกีตาร์เบส ทำหน้าที่เป็นเครื่องประกอบจังหวะ ใช้บรรเลงประกอบในวงดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานหรือที่นิยมเรียกว่าวงโปงลาง ไหซอง ปัจจุบันวงโปงลางส่วนใหญ่นิยมใช้พิณเบส แทนการใช้ไหซอง เนื่องจากให้เสียงดังกว่าและสามารถบรรเลงพลิกแพลงได้มากกว่า จึงแทบไม่มีการดีดไหซองเพื่อการบรรเลงจริงๆแล้ว การดีดไหซองในปัจจุบันเป็นเพียงการแสดงลีลาการดีดประกอบท่าฟ้อนรำ นิยมใช้ผู้หญิงเป็นผู้ดีด เรียกว่า นางไห ใช้แสดงในงานรื่นเริงต่าง.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและไหซอง · ดูเพิ่มเติม »

ไซโลโฟน

ซโลโฟน (Xylophone) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบ(Percussion Instruments) ชนิดที่มีระดับเสียงแน่นอน (Definite Pitch) เป็นระนาดไม้ขนาดเล็กของดนตรีตะวันตก ลักษณะทั่วไปจะคล้ายกับมาริมบา หรือไวบราโฟน แต่ไวบราโฟนทำจากโลหะ และมีขนาดใหญ่กว่าไซโลโฟน ลูกระนาดของไซโลโฟนทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น โร้สวูด เป็นต้น จัดเรียงลำดับเสียงตามบันไดเสียงโครมาติก (Chromatic) เช่นเดียวกับเปียโนหรือออร์แกน ใต้ลูกระนาดมีท่อโลหะติดอยู่เพื่อเป็นตัวขยายเสียง คาดว่ามีต้นกำเนิดมาจากแอฟริกา และเอเชีย ไม้ 2 อันที่ใช้ตีเรียกว่า ลูกค้อน ลักษณะตรงปลายเป็นหัวกลม ความกว้างของช่วงเสียงขึ้นอยู่กับขนาดของไซโลโฟน ซึ่งมีด้วยกัน 3 ลักษณะคือ เล็ก กลาง ใหญ่ เสียงของไซโลโฟน คล้ายเสียงระนาดของบ้านเรา คือ แกร่ง คม สั้นห้วน และชัดเจน ใช้เล่นไล่เสียง และเล่น “กลิสซานโต” ได้ดีเป็นพิเศษ และเหมาะที่จะใช้เป็นเครื่องดนตรีเล่นเดี่ยวทำนองเพลงหรือเพิ่มสีสันของวงดุริยางค์ให้งดงามขึ้น แซงท์-ซองส์ได้นำมาใช้ในวงดุริยางค์เป็นครั้งแรกเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและไซโลโฟน · ดูเพิ่มเติม »

เชลโล

วิโอลอนเชลโล (Violoncello) หรือเรียกทั่วไปว่า เชลโล (Cello) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย นิยมเล่นใน วงออร์เคสตราและ วงเครื่องสาย ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากโลกตะวันตก เป็นหนึ่งในเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลิน อันประกอบไปด้วยไวโอลิน, วิโอล่า, เชลโล และ ดับเบิลเบส เชลโลเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่ได้รับความนิยมเช่นเดียวกับไวโอลิน มีโน้ตเพลงที่เขียนไว้สำหรับเชลโลโดยเฉพาะอยู่หลายบทเพลง แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม ถึงอย่างไรก็ตามยังมีการเล่นเชลโลกับดนตรีประเภทแจ๊ส บลูส์ ป๊อป ร็อก ฯลฯ.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและเชลโล · ดูเพิ่มเติม »

เบส

มารถหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและเบส · ดูเพิ่มเติม »

เพอร์คัชชัน

ในทางดนตรี เครื่องเพอร์คัชชัน (percussion) หมายถึงวัตถุที่ให้เสียงจากการตี กระทบ ถู เขย่า หรือการกระทำลักษณะที่ใกล้เคียงกันที่ทำให้วัตถุสั่นและเกิดเสียง เพอร์คัชชันนั้นหมายความรวมทั้งเครื่องดนตรีที่รู้จักกันทั่วไป เช่น กลอง ฉาบ ฆ้อง แทมบูรีน ไซโลโฟน หรือสิ่งของซึ่งถูกนำมาใช้ในดนตรีสมัยใหม่หลายชนิด เช่น ไม้กวาด ท่อโลหะ เป็นต้น เครื่องเพอร์คัชชันมีทั้งเครื่องดนตรีที่มีระดับเสียงและไม่มีระดับเสียง เครื่องดนตรีที่มีระดับเสียง ซึ่งหมายถึงว่าเสียงที่ออกมานั้นมีความถี่ที่ซับซ้อนจนมาสามารถตั้งเป็นตัวโน้ตได้เช่น กลองทิมปานี มาริมบา ไซโลโฟน ระนาด และเครื่องที่ไม่มีระดับเสียง เช่น กลองสแนร์ ฉาบ ไทรแองเกิล เป็นต้น คำว่าเพอร์คัชชัน มีที่มาจากภาษาละตินว่า "percussio" ซึ่งมีความหมายว่า"ตี" ในภาษาอังกฤษ คำว่าเพอร์คัชชันไม่ได้จำกัดการใช้เฉพาะในทางดนตรี ในภาษาไทย บางครั้งจะเรียกเครื่องเพอร์คัชชันว่า เครื่องกระทบ เครื่องตี หรือเครื่องเคาะ รวมถึงเครื่องให้จังหวะ และเครื่องประกอบจังหว.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและเพอร์คัชชัน · ดูเพิ่มเติม »

เมโลเดียน

มโลเดียน (melodeon/melodion) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและเมโลเดียน · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องสาย

รื่องสาย (string instrument) เป็นการจัดประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดยเครื่องดนตรีสากลประเภทเครื่องสายนี้ หมายถึง เครื่องดนตรีที่ทำให้เกิดเสียงโดยการสั่นสะเทือนของสายลวด เชือก เอ็น หรือไนลอน และมีตัวกำธรเสียง ทำหน้าที่ขยายเสียงให้ดังมากขึ้น คุณภาพของเสียงขึ้นอยู่กับรูปร่าง และวัตถุที่ใช้ทำ การสั่นสะเทือนของสายอาจทำได้โดยการสี หรือดีดโดยอาจกระทำโดยตรง หรือเพิ่มกลไกให้ยุ่งยากขึ้น เครื่องสายที่พบเห็นในปัจจุบัน นิยมใช้วิธีทำให้เกิดเสียงได้ 2 วิธี คือ วิธีสี และวิธีดีด เครื่องสายประเภทใช้คันสี เครื่องดนตรีกลุ่มนี้ได้แก.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและเครื่องสาย · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องดนตรี

รื่องดนตรี คือ อุปกรณ์ที่สร้างขึ้นมา หรือปรับจากอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อใช้งานสำหรับการผลิตเสียงดนตรี หรือสร้างเสียงสำหรับใช้ประกอบในการร้องรำทำเพลง โดยหลักการแล้ว อุปกรณ์ใดก็ตามที่สามารถนำมาใช้ผลิตเสียงดนตรี ย่อมเรียกว่า เครื่องดนตรี ได้ทั้งสิ้น ผู้ที่ใช้เครื่องดนตรีนั้น เรียกว่านักดนตรี.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและเครื่องดนตรี · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องเป่าลมไม้

รื่องเป่าลมไม้ (Woodwind Instruments)เป็นการจัดประเภทเครื่องดนตรีสากล โดยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้นี้ แม้ตัวของเครื่องดนตรี อาจทำจากวัสดุต่าง ๆ มากมาย แต่ส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดเสียง คือ ลิ้น (Reed) ซึ่งทำมาจากไม้ จึงได้ชื่อว่า เครื่องเป่าลมไม้นั่นเอง.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและเครื่องเป่าลมไม้ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องเป่าทองเหลือง

รูปภาพ ทรัมเป็ต, ปิคโคโล ทรัมเป็ต, และ ฟลูเกิลฮอร์น เครื่องเป่าทองเหลือง (brass instrument) เป็นการจัดประเภทของเครื่องดนตรีสากล โดยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทองเหลืองจะมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ ท่อลมทำด้วยโลหะขนาดต่าง ๆ กันการเกิดเสียงเกิดจากการเป่าลมให้เกิดการสั่นสะเทือนที่ริมฝีปากของผู้เล่น ผ่านเข้าไปในกำพวด (Mouth Piece) การเป่าเครื่องลมทองเหลืองจึงขึ้นอยู่กับริมฝีปากเป็นสำคัญ.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและเครื่องเป่าทองเหลือง · ดูเพิ่มเติม »

เปิงมาง

เปิงมางคอก เปิงมาง หรือ เปิงมางคอก เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง แต่เดิมเป็นเครื่องดนตรีของชาวมอญ ใช้ตีหยอกล้อกับตะโพนมอญ มีลักษณะเป็นกลองขนาดต่างกัน 7 ลูกผูกเป็นราวในชุดเดียวกัน เรียงจากใหญ่ไปหาเล็ก ตัวกลองขึงด้วยหนังสองหน้า ขึ้นหน้าด้วยหนังเรียดโยงสายเร่งหนังหน้ากลองเป็นแนวยาวตลอด เวลาบรรเลงต้องติดข้าวสุกบดผสมขี้เถ้า คอกเปิงมางทำเป็นรั้ว 3 ชิ้นติดต่อกัน มีตะขอแขวนลูกเปิงเป็นระยะ คอกเป็นรูปเกือบครึ่งวงกลม เปิงมางคอกใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ ป หมวดหมู่:กลอง.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและเปิงมาง · ดูเพิ่มเติม »

เปียโน

ปียโน (ย่อมาจาก เปียโนฟอร์เต) เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงโดยการกดลิ่มนิ้ว (คีย์บอร์ด) มักใช้นิยมบรรเลงเพลงแนว คลาสสิก และ แจ๊ส แม้ว่าเปียโนจะมีขนาดใหญ่และหนักทำให้ไม่สามารถพกพาได้ และมีราคาค่อนข้างแพง แต่เปียโนก็เป็นเครื่องดนตรีที่ได้เปรียบเครื่องดนตรีมากมาย เสียงของเปียโนสามารถเข้ากับเครื่องดนตรีเกือบทุกชนิด ดังนั้นเปียโนจึงสามารถเล่นได้ทั้งแบบบรรเลงเดี่ยว, แชมเบอร์, คลอเสียง หรือแม้กระทั่งร่วมกับวง ออร์เคสตรา ฝาครอบและแผ่นครอบของเปียโนอะคูสติกจะทำมาจากไม้ ในขณะที่กระดานเสียง (soundboard) จะถูกทำจากเหล็กกล้า และขึงด้วยสายโลหะ ลิ่มนิ้วของเปียโนมาตรฐานมีอยู่ทั้งหมด 88 คีย์ (คีย์ขาว 52, คีย์ดำ 36) ช่วงคีย์ปกติจะมีสายโลหะอยู่ 3 เส้นในหนึ่งคีย์ และคีย์เบสจะมีสายโลหะเส้นใหญ่อยู่ 1–2 เส้นในหนึ่งคีย์ เมื่อกดคีย์ จะเกิดเป็นเสียงโน้ตดนตรีที่มีความถี่การสั่นพ้องแตกต่างกันออกไป และเมื่อปล่อยคีย์ เสียงก็จะถูกตัด หากต้องการให้เสียงกังวานและลากยาวก็สามารถทำให้ โดยการเหยียบเพดัลขวา (คันเหยียบ) ที่อยู่บริเวณด้านล่างของเปียโนค้างไว้ กลไกการเกิดเสียงในเปียโนอะคูสติกนั้น เริ่มจากแรงจากการกดคีย์จะถูกส่งผ่านโดยกลไกที่ซับซ้อนไปยังหัวค้อน และหัวค้อนจะตีกระทบกับสายโลหะที่ขึงอยู่บนกระดานเสียงเกิดเป็นเสียงดนตรี ในระหว่างที่คีย์ถูกกดอยู่นั้น กลไกที่เรียกว่า แดมเปอร์ (damper) ของแต่ละคีย์ ซึ่งเดิมจะคอยดันสายโลหะไว้จะถูกยกออก ทำให้สายโลหะเกิดการสั่นพ้องได้ เมื่อใดก็ตามที่ปล่อยคีย์ แดมเปอร์จะกลับมาดันสายโลหะ ทำให้เสียงถูกตัดไป ดังนั้นการเหยียบเพดัลขวา จะเป็นการยกเพดัลของทุกคีย์ออก ทำให้สายโลหะเกิดการสั่นพ้องและกังวานมากขึ้นซึ่งทำให้เพลงมีความไพเราะ อย่างไรก็ตาม การเหยียบเพดัลขวาแช่ไว้ จะทำให้เสียงโน้ตดนตรีกังวานจนตีกับโน้ตดนตรีที่ตามมาทีหลัง ดังนั้นผู้บรรเลงจึงต้องทำการยกเท้าจากเพดัลเป็นจังหวะ ๆ เพื่อเป็นการตัดโน้ตดนตรีไม่ให้ข้ามห้องหรือตีกัน คำว่า เปียโน นั้น เป็นคำย่อจากคำว่า เปียโนฟอร์เต, ซึ่งเป็นภาษาอิตาลี ซึ่งเป็นการประสมคำระหว่างคำว่า เปียโน ที่แปลว่า "นุ่มนวล" กับ ฟอร์เต ที่แปลว่า "แข็งแกร่ง" ซึ่งมีที่มาจากการที่เป็ยโนนั้นมีคุณภาพเสียงที่หลากหลาย คีย์เบสที่ให้เสียงกังวานและทรงพลัง คีย์ปกติที่ให้เสียงนุ่มนวล และคีย์สูงที่ให้เสียงเล็กแหลม.

ใหม่!!: รายชื่อเครื่องดนตรีและเปียโน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รายชื่อเครื่องดนตรีสากล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »