โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบ

ดัชนี รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบ

การจับเวลาพัลซาร.

86 ความสัมพันธ์: พัลซาร์กลุ่มดาวกลุ่มดาวพิณกลุ่มดาวกระดูกงูเรือกลุ่มดาวกล้องจุลทรรศน์กลุ่มดาวกิ้งก่ากลุ่มดาวมังกรกลุ่มดาวม้าบินกลุ่มดาวยูนิคอร์นกลุ่มดาวยีราฟกลุ่มดาวสารถีกลุ่มดาวสิงโตกลุ่มดาวหญิงสาวกลุ่มดาวหมาล่าเนื้อกลุ่มดาวหมาจิ้งจอกกลุ่มดาวหมาป่ากลุ่มดาวหมีใหญ่กลุ่มดาวหงส์กลุ่มดาวคันชั่งกลุ่มดาวคนยิงธนูกลุ่มดาวคนครึ่งม้ากลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์กลุ่มดาวงูกลุ่มดาวงูไฮดรากลุ่มดาวปลาใต้กลุ่มดาวปูกลุ่มดาวนกฟีนิกซ์กลุ่มดาวนกอินทรีกลุ่มดาวแมวป่ากลุ่มดาวแมงป่องกลุ่มดาวแม่น้ำกลุ่มดาวแอนดรอมิดากลุ่มดาวแคสซิโอเปียกลุ่มดาวโลมากลุ่มดาวเพอร์ซิอัสกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีสกลีเซอ 581กลีเซอ 581 ดีกลีเซอ 581 ซีการจัดประเภทดาวฤกษ์กึ่งแกนเอกมวลมวลดาวพฤหัสบดีมิเชล เมเยอร์รัศมีวันวิธีตรวจจับดาวเคราะห์นอกระบบสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลหน่วยดาราศาสตร์...อุณหภูมิยังผลองศา (มุม)ดวงอาทิตย์ดับเบิลยูเอเอสพี-11บี/เอชเอที-พี-10บีดับเบิลยูเอเอสพี-12บีดับเบิลยูเอเอสพี-18ดับเบิลยูเอเอสพี-18บีดับเบิลยูเอเอสพี-7บีดาวฤกษ์ดาวเคราะห์ดาวเคราะห์นอกระบบดิดิเยร์ เควลอซความส่องสว่างปรากฏความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรความเร็วแนวเล็งความเอียงของวงโคจรคาบดาราคติปีแสงแถบลำดับหลักโฟมัลฮอตโฟมัลฮอต บีโอแอลพีซีโครอต-7บีไรต์แอสเซนชันเอชอาร์ 8799 บีเอชดี 17156 บีเดคลิเนชันMOA-2007-BLG-400LbPSR B1257+12PSR B1257+12 APSR B1257+12 BPSR B1257+12 C2เอ็ม1207บี51 ม้าบิน51 ม้าบิน บี55 ปู ขยายดัชนี (36 มากกว่า) »

พัลซาร์

แผนภาพของพัลซาร์ ทรงกลมตรงกลางหมายถึงดาวนิวตรอน เส้นโค้งรอบๆ คือเส้นสนามแม่เหล็ก ส่วนรูปกรวยที่พุ่งออกมาคือลำการแผ่รังสี พัลซาร์ (Pulsar; มาจากการรวมกันของ 2 คำ คือ pulsating และ star) คือดาวนิวตรอนที่หมุนรอบตัวเองด้วยความเร็วสูงมาก และแผ่รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาเป็นจังหวะ คาบการหมุนที่สังเกตได้อยู่ระหว่าง 1.4 มิลลิวินาที ถึง 8.5 วินาที เราสามารถสังเกตเห็นการแผ่รังสีได้จากลำรังสีที่ชี้มาทางโลกเท่านั้น ลักษณะปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่า ปรากฏการณ์ประภาคาร (lighthouse effect) และการที่สังเกตเห็นรังสีเป็นช่วงๆ (pulse) นี้เองเป็นที่มาของชื่อพัลซาร์ พัลซาร์บางแห่งมีดาวเคราะห์โคจรอยู่รอบๆ เช่น ดาว PSR B1257+12 เวอร์เนอร์ เบ็คเกอร์ แห่งสถาบันมักซ์ พลังค์เพื่อการศึกษาฟิสิกส์นอกโลก (Max Planck Institute for Extraterrestrial Physics) ได้กล่าวเอาไว้ในปี 2549 ว่า "ทฤษฎีว่าด้วยเหตุที่พัลซาร์แผ่รังสีออกมายังคงเป็นสิ่งลึกลับ แม้จะมีการเฝ้าศึกษามาเป็นเวลากว่า 40 ปีแล้ว".

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและพัลซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาว

กลุ่มดาวนายพราน เป็นกลุ่มดาวที่โดดเด่น สามารถมองเห็นได้จากทั่วโลก (แต่ไม่ตลอดทั้งปี) กลุ่มดาว คือ กลุ่มของดาวฤกษ์ ที่สามารถเชื่อมต่อกันเป็นรูปร่างต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการในอวกาศสามมิต.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาว · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวพิณ

กลุ่มดาวพิณ เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายชื่อกลุ่มดาวสมัยใหม่ 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวนี้มีขนาดเล็ก แต่หาง่ายเพราะมีดาวฤกษ์สว่างอย่างดาวเวกา ซึ่งเป็นปลายด้านหนึ่งของสามเหลี่ยมฤดูร้อน หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวพิณ.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวพิณ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวกระดูกงูเรือ

กลุ่มดาวกระดูกงูเรือ เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าใต้ที่อดีตเคยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มดาวเรืออาร์โก วัตถุท้องฟ้าเด่น คือ ดาวคาโนปัส ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในท้องฟ้ายามค่ำคืน และดาวอีตากระดูกงูเรือ ดาวที่มีมวลสูง อยู่ ณ ใจกลางเนบิวลากระดูกงูเรือ (เอ็นจีซี 3372) หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวกระดูกงูเรือ หมวดหมู่:กลุ่มดาวเรืออาร์โก.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวกระดูกงูเรือ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวกล้องจุลทรรศน์

กลุ่มดาวกล้องจุลทรรศน์ เป็นกลุ่มดาวขนาดเล็กในซีกฟ้าใต้ ตั้งโดยนิโกลา-ลุย เดอ ลากาย ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวกล้องจุลทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวกิ้งก่า

กลุ่มดาวกิ้งก่า อยู่ในซีกฟ้าเหนือ ระหว่างกลุ่มดาวหงส์ กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย และกลุ่มดาวแอนดรอเมดา เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ตั้งชื่อโดยโจแฮนเนส เฮเวลีอุส ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวกิ้งก่า.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวกิ้งก่า · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวมังกร

กลุ่มดาวมังกร เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าเหนือ สามารถเห็นวนรอบขั้วฟ้าจากตำบลที่มีละติจูดสูง ๆ กลุ่มดาวนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายชื่อกลุ่มดาวสมัยใหม่ 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล มังกร หมวดหมู่:กลุ่มดาวมังกร.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวมังกร · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวม้าบิน

กลุ่มดาวม้าบิน เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าเหนือ ตั้งชื่อตามเพกาซัส สัตว์ในเทพนิยายกรีก นับเป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายชื่อกลุ่มดาวสมัยใหม่ 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ดาวฤกษ์สว่าง 4 ดวงในกลุ่ม เรียงกันเป็นดาวเรียงเด่นรู้จักกันในชื่อ จัตุรัสม้าบิน ดาวดวงหนึ่งใน 4 ดวงนี้ เป็นสมาชิกของทั้งกลุ่มดาวแอนดรอเมดาและกลุ่มดาวม้าบิน หมวดหมู่:กลุ่มดาว กลุ่มดาวม้าบิน.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวม้าบิน · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวยูนิคอร์น

กลุ่มดาวยูนิคอร์น เป็นกลุ่มดาวจาง ๆ ที่ปรากฏเด่นชัดในคืนฤดูหนาว ล้อมรอบด้วยกลุ่มดาวนายพรานทางทิศตะวันตก, กลุ่มดาวคนคู่ทางทิศเหนือ, กลุ่มดาวหมาใหญ่ทางทิศใต้ และกลุ่มดาวงูไฮดราทางทิศตะวันออก นอกเหนือจากนี้ กลุ่มดาวอื่นที่อยู่ติดกัน คือ กลุ่มดาวหมาเล็ก, กลุ่มดาวกระต่ายป่า และกลุ่มดาวท้ายเรือ หมวดหมู่:กลุ่มดาว กลุ่มดาวยูนิคอร์น.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวยูนิคอร์น · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวยีราฟ

กลุ่มดาวยีราฟ เป็นกลุ่มดาวขนาดใหญ่ในซีกฟ้าเหนือ แต่ไม่เด่นชัดเพราะดาวฤกษ์สมาชิกมีความสว่างน้อย ปรากฏครั้งแรกในบันทึกของจาคอบ บาร์ตช์ เมื่อ ค.ศ. 1624 แต่อาจกำเนิดขึ้นก่อนหน้านั้นโดย เพทรัส แพลนเซียส หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวยีราฟ.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวยีราฟ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวสารถี

กลุ่มดาวสารถี เป็นกลุ่มดาวทางซีกฟ้าเหนือที่มีทางช้างเผือกพาดผ่าน เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุด คือ ดาวคะเพลลา เกี่ยวข้องกับแพะเพศเมีย ชื่อ อมาลเทีย เรียกดาว 3 ดวง คือ เอปไซลอนสารถี ซีตาสารถี และอีตาสารถี ว่า Haedi (ลูกแพะ) มีดาวที่ใช้ร่วมกับกลุ่มดาววัว1ดวง คือ เอลแน็ท (เบต้า ทอรี่) โชติมาตรปรากฏ 1.62 หมวดหมู่:กลุ่มดาว กลุ่มดาวสารถี.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวสารถี · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวสิงโต

กลุ่มดาวสิงโต หรือ กลุ่มดาวสิงห์ (♌) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี อยู่ระหว่างกลุ่มดาวปูทางทิศตะวันตก กับกลุ่มดาวหญิงสาวทางทิศตะวันออกแและเป็นกลุ่มดาวประจำเดือนสิงหาคม ซึ่งอยู่ในราศีสิงห์ หมวดหมู่:กลุ่มดาว กลุ่มดาวสิงโต.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวสิงโต · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวหญิงสาว

กลุ่มดาวหญิงสาว หรือ กลุ่มดาวกันย์ (♍) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี อยู่ระหว่างกลุ่มดาวสิงโตทางทิศตะวันตก กับกลุ่มดาวตาชั่งทางทิศตะวันออก กลุ่มดาวหญิงสาวเป็นกลุ่มดาวขนาดใหญ่ สังเกตเห็นได้ง่ายโดยอาศัยดาวรวงข้าว ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดในกลุ่ม หมวดหมู่:กลุ่มดาว กลุ่มดาวหญิงสาว.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวหญิงสาว · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวหมาล่าเนื้อ

กลุ่มดาวหมาล่าเนื้อ เป็นกลุ่มดาวขนาดเล็กในซีกฟ้าเหนือ ตั้งชื่อโดยโจแฮนเนส เฮเวลีอุส ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นสัญลักษณ์แทน คาร่า และ แอสเทอเรียน หมาล่าสัตว์ของกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ 200px หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวหมาล่าเนื้อ.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวหมาล่าเนื้อ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวหมาจิ้งจอก

กลุ่มดาวหมาจิ้งจอก เป็นกลุ่มดาวจาง ๆ ในซีกฟ้าเหนือ อยู่ตรงกลางของสามเหลี่ยมฤดูร้อนที่ประกอบขึ้นจากดาวสว่าง 3 ดวง คือ ดาวเดเนบ, ดาวเวกา และดาวตานกอินทรี หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวหมาจิ้งจอก.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวหมาจิ้งจอก · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวหมาป่า

กลุ่มดาวหมาป่า เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าใต้ หนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวนี้อยู่ระหว่างกลุ่มดาวคนครึ่งม้ากับกลุ่มดาวแมงป่อง หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวหมาป่า.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวหมาป่า · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวหมีใหญ่

กลุ่มดาวหมีใหญ่ เป็นกลุ่มดาวที่มีตำนานเกี่ยวข้องกับคัลลิสโตในเทพนิยายกรีก ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุด 7 ดวง ทำให้เกิดดาวเรียงเด่นซึ่งคนไทยเรียกว่า ดาวจระเข้ คนลาว เรียกว่า ดาวหัวช้าง ในสหราชอาณาจักรเรียกว่า คันไถ ในจีนและอเมริกาเหนือ เรียกว่า กระบวยใหญ่ กลุ่มดาวหมีใหญ่ เป็นกลุ่มดาวสำคัญ ช่วยชี้หาดาวเหนือได้ โดยไล่จากขาหน้าขวา (βUMa) ไปทางขาหน้าซ้าย (αUMa) เลยออกไปอีกประมาณ 5 ช่วง นอกจากกลุ่มดาวหมีใหญ่ ยังมีอีกกลุ่มที่ใช้หาดาวเหนือได้คือ กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย หรือดาวค้างคาว สำหรับคนในซีกโลกเหนือ กลุ่มดาวหมีใหญ่เป็นกลุ่มดาวที่มองเห็นได้ตลอดทั้งปีเช่นเดียวกับดาวเหนือ แต่ในทางกลับกันเนื่องจากเป็นกลุ่มดาวที่อยู่ในซีกฟ้าเหนือ ผู้ที่อาศัยอยู่ทางซีกโลกใต้มาก ๆ จะเห็นได้ลำบาก เพราะตำแหน่งดาวบนทรงกลมท้องฟ้า จะอยู่ใต้พื้นโลกเกือบตลอดเวลา สิ่งที่น่ารู้อีกอย่างเกี่ยวกับกลุ่มดาวหมีใหญ่คือ กลุ่มดาวหมีใหญ่มีโลกที่สดใสและเป็นสีชมพูตลอดเวลาเนื่องจากกลุ่มดาวหมีใหญ่มีดาวบีตา(β)ชื่อว่า"มีรัก(Merak)".

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวหมีใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวหงส์

กลุ่มดาวหงส์ เป็นกลุ่มดาวในซีกเหนือของทรงกลมฟ้า เป็นหนึ่งในจำนวนกลุ่มดาว 48 กลุ่มในรายการของทอเลมี (Ptolemy) และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล บางครั้งมีผู้เรียกกลุ่มดาวนี้ว่า กลุ่มดาวกางเขนเหนือ เพื่อให้เข้าคู่กับกลุ่มดาวกางเขนใต้ กลุ่มดาวนี้ มักวาดภาพให้เป็นรูปหงส์กางปีกบินตามแนวของทางช้างเผือก และหันหัวไปทางทิศใต้ หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวหงส์.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวหงส์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวคันชั่ง

กลุ่มดาวคันชั่ง หรือ กลุ่มดาวตุล (♎) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี แต่ไม่เด่นชัดเนื่องจากไม่มีดาวฤกษ์สว่าง กลุ่มดาวคันชั่งอยู่ระหว่างกลุ่มดาวหญิงสาวทางทิศตะวันตก กับกลุ่มดาวแมงป่องทางทิศตะวันออก ในอดีตเคยเป็นส่วนก้ามของแมงป่อง ดังหลักฐานที่ปรากฏหลงเหลือในชื่อดาว คันชั่ง กลุ่มดาวคันชั่ง.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวคันชั่ง · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวคนยิงธนู

ำหรับ Sagittarius ความหมายอื่น ดูที่: ราศีธนู และนกเลขานุการ กลุ่มดาวคนยิงธนู หรือ กลุ่มดาวธนู (♐) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี วาดเป็นรูปคนครึ่งม้ากำลังน้าวคันธนู กลุ่มดาวคนยิงธนูอยู่ระหว่างกลุ่มดาวแมงป่องทางทิศตะวันตก กับกลุ่มดาวแพะทะเลทางทิศตะวันออก ดาวสว่างในกลุ่มดาวนี้เรียงกันเป็นรูปร่างคล้ายกาน้ำ.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวคนยิงธนู · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวคนครึ่งม้า

กลุ่มดาวคนครึ่งม้า เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าใต้ หนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวนี้เป็นกลุ่มดาวที่ขนาดใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งในท้องฟ้า มีดาวสว่างติด 1 ใน 20 อันดับถึง 2 ดวง คือ แอลฟาคนครึ่งม้า (ริเจล เค้นท์) และบีตาคนครึ่งม้า (ฮาดดาร์).

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวคนครึ่งม้า · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ

กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ เมื่อมองจากท้องฟ้าจริง กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ หรือ กลุ่มดาวกุมภ์ (♒) เป็นกลุ่มดาวจักรราศีในแนวเส้นสุริยวิถีซึ่งเป็นที่รู้จักมาช้านานกลุ่มหนึ่ง กลุ่มดาวนี้อยู่ในบริเวณที่เรียกกันว่าทะเลท้องฟ้า ซึ่งได้ชื่อมาจากการที่กลุ่มดาวหลายกลุ่มในบริเวณนี้มีชื่อเกี่ยวข้องกับน้ำ เช่น กลุ่มดาววาฬ กลุ่มดาวปลา กลุ่มดาวแม่น้ำ เป็นต้น บางครั้งสายน้ำของกลุ่มดาวแม่น้ำจะถูกวาดราวกับว่าไหลออกจากหม้อน้ำ (คนโท) ของกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์

กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล ชื่อในภาษาละตินมีรากศัพท์จากอียิปต์ เข้าใจว่าหมายถึงคนเลี้ยงหมี เพราะดูเหมือนหันมองไปยังกลุ่มดาวหมีใหญ่และกลุ่มดาวหมีเล็ก มีดาวดวงแก้วเป็นดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดเป็นอันดับ 4ในท้องฟ้ากลางคืน หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวคนเลี้ยงสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวงู

กลุ่มดาวงู เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายชื่อกลุ่มดาวสมัยใหม่ 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวนี้แยกเป็น 2 ส่วน คือ หัวงู (Serpens Caput) ที่อยู่ทางตะวันออก กับหางงู (Serpens Cauda) ที่อยู่ทางตะวันตก คั่นตรงกลางด้วยกลุ่มดาวคนแบกงู หมวดหมู่:กลุ่มดาว กลุ่มดาวงู.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวงู · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวงูไฮดรา

กลุ่มดาวงูไฮดรา เป็นกลุ่มดาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดากลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล และเป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวงูไฮดรา · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวปลาใต้

กลุ่มดาวปลาใต้ เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวนี้มีดาวฤกษ์สว่างดวงเดียว คือ ดาวโฟมาลออต หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวปลาใต้.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวปลาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวปู

กลุ่มดาวปู หรือ กลุ่มดาวกรกฎ (♋) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี มีขนาดเล็กและไม่สว่าง อยู่ระหว่างกลุ่มดาวคนคู่ทางทิศตะวันตก และกลุ่มดาวสิงโตทางทิศตะวันออก ทางเหนือคือกลุ่มดาวแมวป่า ทางใต้ คือ กลุ่มดาวหมาเล็กและกลุ่มดาวงูไฮดรา หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวปู.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวปู · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวนกฟีนิกซ์

กลุ่มดาวนกฟีนิกซ์ เป็นกลุ่มดาวขนาดเล็กในซีกฟ้าใต้ ตั้งชื่อโดยนักเดินเรือชาวดัตช์ ปีเตอร์ ดีร์กโซน ไกเซอร์ และนกฟีนิกซ์ หมวดหมู่:กลุ่มดาวนกฟีนิกซ์ โครงดาราศาสตร์.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวนกฟีนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวนกอินทรี

กลุ่มดาวนกอินทรี เป็นกลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งในจำนวนกลุ่มดาว 48 กลุ่มในรายการของทอเลมี (Ptolemy) และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวนี้วางตัวอยู่บนเส้นศูนย์สูตรฟ้า ดาวที่สว่างที่สุดในกลุ่มดาวนี้คือดาวตานกอินทรี (Altair) ซึ่งเป็นจุดยอดจุดหนึ่งของ "สามเหลี่ยมฤดูร้อน".

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวนกอินทรี · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวแมวป่า

กลุ่มดาวแมวป่า เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าเหนือ ตั้งชื่อโดยโจแฮนเนส เฮเวลีอุส ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวแมวป่า.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวแมวป่า · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวแมงป่อง

กลุ่มดาวแมงป่อง หรือ กลุ่มดาวพิจิก (♏) เป็นกลุ่มดาวหนึ่งในกลุ่มดาวจักรราศี เป็นกลุ่มดาวอันดับที่ 8 อยู่ระหว่างกลุ่มดาวตาชั่งทางทิศตะวันตกกับกลุ่มดาวคนยิงธนูทางทิศตะวันออก เป็นกลุ่มดาวที่มีขนาดใหญ่ อยู่ในซีกฟ้าใต้ ใกล้กับศูนย์กลางทางช้างเผือก มีดาวที่สำคัญคือดาวปาริชาต ซึ่งมีสีส้มแดง ในขณะที่ดาวดวงอื่นเรียงเป็นแถวยาวโค้งคล้ายกับหางแมงป่อง กลุ่มดาวแมงป่องเป็นหนึ่งในกลุ่มดาวบนฟ้าที่มีลักษณะเด่นที่สุด สังเกตง่าย และถึงแม้จะต่างภาษาและวัฒนธรรมกัน หลายชาติก็เรียกลักษณะของกลุ่มดาวนี้ตรงกันว่ามีรูปร่างคล้ายกับแมงป่อง หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวแมงป่อง.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวแมงป่อง · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวแม่น้ำ

กลุ่มดาวแม่น้ำ เป็นกลุ่มดาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นลำดับที่ 6 ในกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล และเป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี กลุ่มดาวแม่น้ำมีดาวฤกษ์สว่างดวงหนึ่งที่ปลายสุดทางทิศใต้ ชื่อว่า ดาวอะเคอร์นาร์ (α Eri) จัดเป็นดาวที่มีความแป้นมากที่สุดดวงหนึ่ง การวัดรูปร่างด้วยเครื่องมือทางดาราศาสตร์พบว่าความยาวตามแนวเส้นศูนย์สูตรของดาว ยาวกว่าความยาวตามแนวขั้วราว 50% ซึงเป็นผลจากการที่ดาวอะเคอร์นาร์หมุนรอบตัวเองเร็วมาก หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวแม่น้ำ.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวแอนดรอมิดา

กลุ่มดาวแอนดรอมิดา เป็นกลุ่มดาวทางท้องฟ้าทิศเหนือ ใกล้กับกลุ่มดาวม้าบิน เมื่อลากเส้นระหว่างดาวสำคัญ จะเห็นคล้ายรูปตัวเอใหญ่ (A) แต่ผอมยาวกว่า กลุ่มดาวนี้ได้ชื่อตามเจ้าหญิงแอนดรอมิดาในเทพปกรณัมกรีก ดาราจักรแอนดรอมิดาอยู่ในกลุ่มดาวนี้ กลุ่มดาวแอนดรอมิดา จะอยู่สูงที่สุดบนฟ้า เวลาประมาณ สามทุ่มในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ดวงดาวในกลุ่มดาวแอนดรอมิดาเรียงกันเป็นรูปคล้ายผู้หญิง ดาวดวงสว่างที่เห็นได้ชัดเป็นส่วนศีรษะและเข็มขัด ส่วนแขนข้างหนึ่งคล้ายมีอะไรล่ามอยู่ (ทำให้ดูยาวกว่าแขนอีกข้าง) ดูโดยรวมแล้วจึงคล้ายกับสตรีนางหนึ่ง ถูกโซ่ล่ามไว้ ตามตำนานของกรีกนั้นเจ้าหญิงแอนดรอมิดาเป็นธิดาของกษัตริย์ซีฟิอัส (Cepheus) กับราชินีแคสซิโอเปีย (Cassiopeia) แห่งอาณาจักรเอธิโอเปีย (ในตำนาน) เจ้าหญิงแอนดรอมิดาถูกล่ามโซ่ไว้ เพื่อรอเป็นอาหารของปิศาจในทะเลซีตัส (Sea Monster, Cetus) และเธอก็ได้รับความช่วยเหลือจากเพอร์ซิอัส (Perseus) (วีรบุรุษผู้เพิ่งกลับจากการพิชิตกอร์กอน-ปิศาจเมดูซา) ซึ่งต่อมาเจ้าหญิงแอนดรอมิดาได้แต่งงานกับเพอร์ซิอัส มีลูกด้วยกัน 7 คน (ชาย 6 หญิง 1) บุตรชายคนหนึ่งชื่อเพอร์ซีส (Perses) ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเป็นบรรพบุรุษของชาวเปอร์เซีย สิ่งที่น่าสนใจซึ่งดึงดูดนักดูดาวให้ตั้งกล้องส่องมาทางกลุ่มดาวแอนดรอมิดา ได้แก่ ดาราจักรแอนดรอมิดา หรือที่เรียกสั้น ๆ เป็นรหัสว่า M31 ดาราจักรแอนดรอมิดาเป็นดาราจักรรูปเกลียว (Spiral galaxy) คือมีลักษณะกลมแบนเหมือนจานสองใบประกบกัน มีแขนเกลียวยื่นออกมา คล้าย ๆ กันกับดาราจักรทางช้างเผือกของเรา และยังเป็นดาราจักรขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้ทางช้างเผือกของเรามากที่สุด (คืออยู่ห่างไปเพียง 2.2 ล้านปีแสง) คนแรกที่สามารถวัดระยะทางจากโลกไปถึงดาราจักรแอนดรอมิดาได้ คือเอ็ดวิน ฮับเบิล (ซึ่งต่อมากล้องโทรทรรศน์ลอยฟ้าฮับเบิล ก็ตั้งชื่อตามชายผู้นี้) เขาแสดงให้เห็นว่า ระยะทางจากโลกไปยังดาราจักรแอนดรอมิดานั้นมากกว่าขนาดของดาราจักรทางช้างเผือก ดังนั้น ดาราจักรแอนดรอมิดาจึงอยู่นอกทางช้างเผือกของเรา (เป็นอีกดาราจักรหนึ่งต่างหาก) และมีขนาดใหญ่มาก ๆ ถ้าถ่ายภาพดาราจักรแอนดรอมิดาด้วยกล้องดูดาวกำลังขยายสูงมาก ๆ จะพบว่า มันมีดาราจักรเพื่อนบ้านเล็ก ๆ เป็นฝ้าจาง ๆ อีก 2 ดาราจักร คือ M32 (NGC 221) และ M110 (NGC 205).

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวแอนดรอมิดา · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย

กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าเหนือ เช่นเดียวกับ ดาวเหนือ ในซีกโลกเหนือ กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย เป็นกลุ่มดาวที่มองเห็นได้ตลอดทั้งปี แต่ในทางกลับกัน เนื่องจากเป็นกลุ่มดาวบนทรงกลมท้องฟ้าซีกเหนือ ผู้ที่อาศัยอยู่ทางซีกโลกใต้มากๆจะพบได้ลำบาก เพราะตำแหน่งดาวบน ทรงกลมท้องฟ้า จะอยู่ใต้พื้นโลกเกือบตลอดเวลา กลุ่มดาวนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวนี้แทนราชินี แคสซิโอเปีย ในตำนานเทพปกรณัมกรีก ราชินีแคสซิโอเปียเป็นพระชนนีของ เจ้าหญิงแอนโดรมีดา ดูหมิ่นเทพ ทำให้เจ้าหญิงถูกจับสังเวย อสูรวาฬ แต่วีรบุรุษ เพอร์ซิอุส มาช่วยไว้ทัน.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวแคสซิโอเปีย · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวโลมา

กลุ่มดาวโลมา เป็นกลุ่มดาวขนาดเล็กในซีกฟ้าเหนือ ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรฟ้า หนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายการกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวโลมา.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวโลมา · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวเพอร์ซิอัส

กลุ่มดาวเพอร์ซิอัส เป็นกลุ่มดาวในซีกฟ้าเหนือ ตั้งชื่อตามวีรบุรุษกรีกผู้สยบเมดูซา กลุ่มดาวนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มในรายการของทอเลมี และยังเป็นกลุ่มดาวในรายชื่อกลุ่มดาวสมัยใหม่ 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล กลุ่มดาวเพอร์ซิอัสมีดาวแปรแสงซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีชื่อ ดาวอัลกอล (β Per) และเป็นตำแหน่งจุดกระจายดาวตกของฝนดาวตกเพอร์ซิอัส ที่เกิดขึ้นกลางเดือนสิงหาคมของทุกปี หมวดหมู่:กลุ่มดาว กลุ่มดาวเพอร์ซิอัส.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวเพอร์ซิอัส · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส

กลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส เป็นกลุ่มดาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ในกลุ่มดาว 88 กลุ่มที่รับรองโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล และเป็นหนึ่งในกลุ่มดาว 48 กลุ่มที่อยู่ในรายการของทอเลมี ชื่อของกลุ่มดาวมาจากชื่อของเฮอร์คิวลีสในเทพปกรณัมโรมัน ดาวที่สว่างที่สุดของกลุ่มดาวนี้คือดาว"บีตาเฮอร์คิวลิส"หรือ"คอร์โนเฟอรอส(Kornephoros)" ซึ่งดาวดวงนี้ยังเป็นดาวที่เทพที่สุดบนท้องฟ้าอีกด้วย หมวดหมู่:กลุ่มดาว หมวดหมู่:กลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส · ดูเพิ่มเติม »

กลีเซอ 581

กลีเซอ 581 (Gliese 581, กฺลี-เสอะ) เป็นดาวแคระแดงในกลุ่มดาวคันชั่ง อยู่ห่างจากโลก 20.3 ปีแสง มีชนิดสเปกตรัมเป็น M3V ดาวดวงนี้จัดเป็นดาวแปรแสงชนิด เอชโอ ไลเบร ค้นพบเป็นครั้งแรกโดย เฟรดริค วิลเฮล์ม ออกุสต์ อาร์เจแลนเดอร์ ในปี ค.ศ. 1863 และตีพิมพ์ลงในแค็ตตาล็อกดาว บีดี ในชื่อ บีดี-07° 4003 กลีเซอ 581 เมื่อเปรียบเทียบกับดวงอาทิตย์ของเรา ดาวเคราะห์ของกลีเซอ 581 กลีเซอ 581 มีมวลประมาณหนึ่งในสามของดวงอาทิตย์ของเรา และเชื่อว่ามีดาวเคราะห์อย่างน้อย 3 ดวงโคจรอยู่รอบๆ ดวงแรกคือ กลีเซอ 581 บี มีขนาดใกล้เคียงกับดาวเนปจูน ค้นพบในปี พ.ศ. 2549 ดวงที่สองคือ กลีเซอ 581 ซี มีขนาด 1.5 เท่าของโลก ค้นพบในปี พ.ศ. 2550 มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นดาวเคราะห์นอกระบบหินแข็งดวงแรก นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอีกว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีดาวเคราะห์ดวงที่สาม กลีเซอ 581 ดี ซึ่งมีมวลประมาณ 8 เท่าของโลกและมีคาบการโคจร 84 วัน.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลีเซอ 581 · ดูเพิ่มเติม »

กลีเซอ 581 ดี

กลีเซอ 581 ดี (Gliese 581 d) หรือ Gl 581 d เป็นดาวเคราะห์นอกระบบดวงหนึ่ง อยู่ห่างจากโลกราว 20 ปีแสงในทิศทางของกลุ่มดาวคันชั่ง มีมวลขนาดเกือบ 8 เท่าของมวลโลก จึงจัดว่าเป็นดาวเคราะห์แบบ ซูเปอร์เอิร์ธ ในตอนปลายเดือนเมษายน..

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลีเซอ 581 ดี · ดูเพิ่มเติม »

กลีเซอ 581 ซี

กลีเซอ 581 ซี (Gliese 581 c) หรือ Gl 581 c เป็นดาวเคราะห์นอกระบบโคจรรอบดาวแคระแดง กลีเซอ 581 ในกลุ่มดาวคันชั่ง อยู่ห่างจากโลกประมาณ 20.5 ปีแสง ชื่อกลีเซอ 581 เป็นชื่อดาวฤกษ์ในบัญชีดาวของ วิลเฮล์ม กลีเซอ นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกลีเซอ 581 ซี · ดูเพิ่มเติม »

การจัดประเภทดาวฤกษ์

ในวิชาดาราศาสตร์ การจัดประเภทของดาวฤกษ์ คือระบบการจัดกลุ่มดาวฤกษ์โดยพิจารณาจากอุณหภูมิพื้นผิวของดาวและคุณลักษณะทางสเปกตรัมที่เกี่ยวข้อง และอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ ติดตามมาก็ได้ อุณหภูมิของดาวฤกษ์หาได้จาก กฎการแทนที่ของเวียน แต่วิธีการนี้ทำได้ค่อนข้างยากสำหรับดาวที่อยู่ห่างไกลออกไปมากๆ สเปกโตรสโกปีของดาวทำให้เราสามารถจัดประเภทดาวได้จากแถบการดูดกลืนแสง ซึ่งสามารถสังเกตเห็นได้เฉพาะในช่วงอุณหภูมิเฉพาะเจาะจงช่วงหนึ่ง การจัดประเภทของดาวฤกษ์แบบดั้งเดิมมีการจัดระดับตั้งแต่ A ถึง Q ซึ่งเป็นที่มาของการกำหนดรหัสสเปกตรัมในปัจจุบัน.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและการจัดประเภทดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

กึ่งแกนเอก

กึ่งแกนเอกของวงรี ระยะกึ่งแกนเอก (Semi-major axis) ในทางเรขาคณิต หมายถึงความยาวครึ่งหนึ่งของแกนเอก ซึ่งใช้แสดงถึงมิติของวงรีหรือไฮเพอร์โบลา หมวดหมู่:ภาคตัดกรวย.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและกึ่งแกนเอก · ดูเพิ่มเติม »

มวล

มวล เป็นคุณสมบัติหนึ่งของวัตถุ ที่บ่งบอกปริมาณ ของสสารที่วัตถุนั้นมี มวลเป็นแนวคิดหลักอันเป็นหัวใจของกลศาสตร์แบบดั้งเดิม รวมไปถึงแขนงวิชาที่เกี่ยวข้อง หากแจกแจงกันโดยละเอียดแล้ว จะมีปริมาณอยู่ 3 ประเภทที่ถูกนิยามว่า มวล ได้แก.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและมวล · ดูเพิ่มเติม »

มวลดาวพฤหัสบดี

นาดเปรียบเทียบพคร่าน้ โดยประมาณระหว่าง ดาวพฤหัสบดี ดาวแคระน้ำตาล Gliese 229B และ Teide 1 มวลดาวพฤหัสบดี (Jupiter mass; MJ หรือ MJUP) คือหน่วยวัดมวลโดยมีค่าเท่ากับมวลรวมทั้งหมดของดาวพฤหัสบดี คือ 1.8986×1027 กิโลกรัม หรือ 317.83 เท่าของมวลโลก (1 มวลโลกเท่ากับ 0.00315 มวลดาวพฤหัสบดี) เราใช้มวลดาวพฤหัสบดีในการบรรยายถึงมวลของดาวแก๊สยักษ์ เช่น ดาวเคราะห์รอบนอกของระบบสุริยะ และดาวเคราะห์นอกระบบ รวมถึงใช้บรรยายถึงมวลของดาวแคระน้ำตาลด้วย ดาวเคราะห์นอกระบบที่มีมวลมากๆ มักถูกเอ่ยถึงในหน่วยของมวลดาวพฤหัสบดี เพราะทำให้สามารถพิจารณาเปรียบเทียบได้สะดวกกว่า ดาวเคราะห์ที่มีมวลขนาดมวลดาวพฤหัสบดีที่โคจรรอบดาวฤกษ์แม่ลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์ในระยะ 1 หน่วยดาราศาสตร์ จะมีค่า amplitude shift ที่ 28 เมตร/วินาที ซึ่งสามารถตรวจจับได้ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ดาวเคราะห์นอกระบบที่ตรวจจับได้ส่วนมากจะตรวจด้วยวิธีความเร็วแนวเล็ง มักมีมวลมากและมีวงโคจรที่ค่อนข้างแคบ ทำให้เกิดผลกระทบจากปรากฏการณ์การเลือกคือการพบดาวเคราะห์มวลขนาดมวลดาวพฤหัสบดีมากกว่าขนาดอื่นๆ ทำนองเดียวกันกับการตรวจจับด้วยวิธีอื่นเช่น การเคลื่อนผ่าน หรือไมโครเลนส์ ก็ทำให้พบดาวเคราะห์มวลขนาดมวลดาวพฤหัสบดีหรือมากกว่านั้น.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและมวลดาวพฤหัสบดี · ดูเพิ่มเติม »

มิเชล เมเยอร์

มิเชล เมเยอร์ (Michel G. E. Mayor) เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม..

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและมิเชล เมเยอร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัศมี

รูปวงกลมที่แสดงถึงรัศมี เส้นผ่านศูนย์กลาง จุดศูนย์กลาง และเส้นรอบวง รัศมี (อังกฤษ: radius พหูพจน์: radii) ของรูปวงกลมหรือทรงกลม คือส่วนของเส้นตรงใดๆ ที่เชื่อมต่อระหว่างจุดศูนย์กลาง ไปยังเส้นรอบวงหรือพื้นผิวของทรงกลม อีกนัยหนึ่งหมายถึงความยาวของส่วนของเส้นตรงนั้น รัศมีเป็นส่วนครึ่งหนึ่งของเส้นผ่านศูนย์กลาง ในทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มีการใช้คำว่า รัศมีความโค้ง (radius of curvature) แทนความหมายที่คล้ายกับรัศมี ในกรณีทั่วไปที่ไม่ใช่สำหรับรูปวงกลมหรือทรงกลม อาทิ ทรงกระบอก รูปหลายเหลี่ยม กราฟ หรือชิ้นส่วนจักรกลต่างๆ รัศมีสามารถหมายถึงระยะทางที่วัดจากจุดกึ่งกลางหรือแกนสมมาตรไปยังจุดอื่นที่อยู่ภายนอก ซึ่งในกรณีนี้รัศมีอาจมีความยาวมากกว่าครึ่งหนึ่งของเส้นผ่านศูนย์กลางก็ได้ ความสัมพันธ์ระหว่างรัศมี r กับเส้นรอบวง c ของรูปวงกลมคือ.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและรัศมี · ดูเพิ่มเติม »

วัน

วัน คือหน่วยของเวลาที่เท่ากับ 24 ชั่วโมง ถึงแม้หน่วยนี้จะไม่ใช่หน่วยเอสไอ แต่ก็มีการยอมรับเพื่อใช้ประกอบกับหน่วยเอสไออื่น ซึ่งหน่วยเวลาที่เป็นหน่วยเอสไอคือ วินาที คำว่า วัน มาจากภาษาไทยเดิม (ลาว: ວັນ วัน, ไทใหญ่:ဝၼ်း วั้น) คำว่า day ในภาษาอังกฤษมาจากคำในภาษาอังกฤษเก่า dæg ซึ่งสะกดคล้ายกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลภาษาอินโด-ยูโรเปียน ตัวอย่างเช่น dies ในภาษาละตินและ dive ในภาษาสันสกฤต ซึ่งกลายเป็น ทิวา ในภาษาไท.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและวัน · ดูเพิ่มเติม »

วิธีตรวจจับดาวเคราะห์นอกระบบ

นื่องจากดาวเคราะห์นอกระบบจะมีการส่องสว่างในตัวเองน้อยมากๆ เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์แม่ของมัน การตรวจจับจึงเป็นไปได้ยาก ทั้งแสงสว่างจากดาวฤกษ์ยังอาจบดบังและกลบการมองเห็นดาวเคราะห์ไปเสีย ด้วยเหตุนี้ การตรวจจับดาวเคราะห์นอกระบบจึงมักไม่สามารถดำเนินการได้จากการเฝ้าสังเกตโดยตรง นักดาราศาสตร์ได้พัฒนากระบวนวิธีตรวจจับทางอ้อมหลายวิธีเพื่อตรวจหาดาวเคราะห์นอกระบบ ในปัจจุบันมีกระบวนวิธีทางอ้อมหลายวิธีที่สามารถใช้ตรวจจับดาวเคราะห์นอกระบบอย่างได้ผล iOS 9.3.5(13G36) wckadse.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและวิธีตรวจจับดาวเคราะห์นอกระบบ · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล

หพันธ์ดาราศาสตร์สากล (ไอเอยู) (IAU - International Astronomical Union) เป็นองค์กรที่รวมกลุ่มสมาคมดาราศาสตร์ต่าง ๆ จากทั่วโลกเข้าด้วยกัน และเป็นสมาชิกของสภาวิทยาศาสตร์นานาชาติ (ไอซีเอสยู) มีอำนาจในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้อย รวมถึงวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์อื่น ๆ สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลประกอบด้วยคณะทำงานตั้งชื่อระบบดาวเคราะห์ (Working Group for Planetary System Nomenclature - WGPSN) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการในการประชุมตั้งชื่อวัตถุต่าง ๆ และรับผิดชอบระบบโทรเลขดาราศาสตร์ แม้ว่าไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการเองโดยตรง สหพันธ์ดาราศาสตร์สากลก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) จากการควบรวมเข้าด้วยกันระหว่างโครงการในระดับนานาชาติหลายโครงการ ได้แก่ แผนที่ท้องฟ้า (Carte du Ciel) สหพันธ์สุริยะ (Solar Union) และ สำนักงานเวลาสากล (Bureau International de l'Heure) ประธานสหพันธ์คนแรก คือ เบนจามิน เบลลอ.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล · ดูเพิ่มเติม »

หน่วยดาราศาสตร์

หน่วยดาราศาสตร์ (Astronomical Unit; ย่อในภาษาอังกฤษว่า AU หรือ au หรือ a.u. หรือ ua) คือ หน่วยของระยะทาง มีค่า (โดยประมาณ) เท่ากับระยะห่างเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ค่าที่ยอมรับในปัจจุบัน เท่ากับ 149,597,870,691±30 เมตร (ประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 93 ล้านไมล์) สัญลักษณ์ "ua" ได้รับการเสนอจากสำนัก Bureau International des Poids et Mesures แห่งฝรั่งเศส แต่ในสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ที่ใช้ภาษาอังกฤษจะใช้อักษรตัวใหญ่มากกว่า ส่วนสหภาพดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Union) เสนอให้ใช้ "au" ส่วนมาตรฐานนานาชาติ ISO 31-1 นั้นใช้ "AU".

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและหน่วยดาราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

อุณหภูมิยังผล

อุณหภูมิยังผล (Effective Temperature) ของวัตถุเช่นดาวฤกษ์หรือดาวเคราะห์คืออุณภูมิที่หาได้จากพลังงานทั้งหมดของการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าของวัตถุดำ อุณหภูมิยังผลจะใช้บ่อยในการประมาณอุณหภูมิของวัตถุเมื่อไม่ทราบโค้งการแผ่รังสี (emissivity curve) (ที่เป็นฟังก์ชันของความยาวคลื่น).

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและอุณหภูมิยังผล · ดูเพิ่มเติม »

องศา (มุม)

องศา (degree) หรือในชื่อเต็มคือ ดีกรีของส่วนโค้ง (degree of arc, arcdegree) คือหน่วยวัดมุมชนิดหนึ่งบนระนาบสองมิติ หนึ่งองศา แทนการกวาดมุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมไปได้ 1 ส่วนใน 360 ส่วน และเมื่อมุมนั้นอ้างอิงกับเส้นเมอริเดียน องศาจะแสดงให้เห็นถึงตำแหน่งต่างๆ บนวงกลมใหญ่ของทรงกลม อย่างที่มีการใช้อ้างอิงตำแหน่งบนโลก ดาวอังคาร หรือทรงกลมท้องฟ้า เป็นต้น สัญลักษณ์วงกลมเล็ก ° ใช้แทนหน่วยองศาในการเขียน และเป็นหน่วยเดียวที่ไม่ต้องเว้นวรรคระหว่างตัวเลขกับสัญลักษณ์ เช่น 15° แทนมุมขนาด 15 อง.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและองศา (มุม) · ดูเพิ่มเติม »

ดวงอาทิตย์

วงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ ณ ใจกลางระบบสุริยะ เป็นพลาสมาร้อนทรงเกือบกลมสมบูรณ์ โดยมีการเคลื่อนท่พาซึ่งผลิตสนามแม่เหล็กผ่านกระบวนการไดนาโม ปัจจุบันเป็นแหล่งพลังงานสำคัญที่สุดสำหรับสิ่งมีชีวิตบนโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.39 ล้านกิโลเมตร ใหญ่กว่าโลก 109 เท่า และมีมวลประมาณ 330,000 เท่าของโลก คิดเป็นประมาณ 99.86% ของมวลทั้งหมดของระบบสุริยะ มวลประมาณสามในสี่ของดวงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน ส่วนที่เหลือเป็นฮีเลียมเป็นหลัก โดยมีปริมาณธาตุหนักกว่าเล็กน้อย รวมทั้งออกซิเจน คาร์บอน นีออนและเหล็ก ดวงอาทิตย์เป็นดาวฤกษ์ลำดับหลักระดับจี (G2V) ตามการจัดประเภทดาวฤกษ์ ซึ่งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ดาวแคระเหลือง" ดวงอาทิตย์เกิดเมื่อประมาณ 4.6 พันล้านปีก่อนจากการยุบทางความโน้มถ่วงของสสารภายในบริเวณเมฆโมเลกุลขนาดใหญ่ สสารนี้ส่วนใหญ่รวมอยู่ที่ใจกลาง ส่วนที่เหลือแบนลงเป็นแผ่นโคจรซึ่งกลายเป็นระบบสุริยะ มวลใจกลางร้อนและหนาแน่นมากจนเริ่มเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น ณ แก่น ซึ่งเชื่อว่าเป็นกระบวนการเกิดดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ ดวงอาทิตย์มีอายุประมาณครึ่งอายุขัย ไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนักเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปีมาแล้วและจะค่อนข้างเสถียรไปอีก 5 พันล้านปี หลังฟิวชันไฮโดรเจนในแก่นของมันลดลงถึงจุดที่ไม่อยู่ในดุลยภาพอุทกสถิตต่อไป แก่นของดวงอาทิตย์จะมีความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นส่วนชั้นนอกของดวงอาทิตย์จะขยายออกจนสุดท้ายเป็นดาวยักษ์แดง มีการคำนวณว่าดวงอาทิตย์จะใหญ่พอกลืนวงโคจรปัจจุบันของดาวพุทธและดาวศุกร์ และทำให้โลกอาศัยอยู่ไม่ได้ มนุษย์ทราบความสำคัญของดวงอาทิตย์ที่มีโลกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และบางวัฒนธรรมถือดวงอาทิตย์เป็นเทวดา การหมุนของโลกและวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของโลกเป็นรากฐานของปฏิทินสุริยคติ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ใช้กันแพร่หลายในปัจจุบัน.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและดวงอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

ดับเบิลยูเอเอสพี-11บี/เอชเอที-พี-10บี

ับเบิลยูเอเอสพี-11บี/เอชเอที-พี-10บี (WASP-11b/HAT-P-10b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่ค้นพบในปี ค.ศ. 2008 การค้นพบที่มีการประกาศ (ภายใต้ชื่อ ดับเบิลยูเอเอสพี-11บี) จากการแถลงข่าวโดยโครงการ ซุเปอร์WASP ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2008พร้อมกับดาวเคราะห์ดับเบิลยูเอเอสพี-6บี อย่างไรก็ตามในระยะนี้ข้อมูลได้มากขึ้นเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อยืนยันค่าพารามิเตอร์ของดาวเคราะห์และพิกัดที่ไม่ได้กำหน.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและดับเบิลยูเอเอสพี-11บี/เอชเอที-พี-10บี · ดูเพิ่มเติม »

ดับเบิลยูเอเอสพี-12บี

ับเบิลยูเอเอสพี-12บี (WASP-12b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดับเบิลยูเอเอสพี-12 ค้นพบโดย SuperWASP การขนส่งการสำรวจดาวเคราะห์ การค้นพบที่มีการประกาศไว้เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2008 ดาวเคราะห์ที่ใช้เวลาเพียงไม่เกินต่อวันเพื่อโคจรรอบดาวฤกษ์นี้ในทางตรงกันข้ามกับ 365 วันโลกไปยังวงโคจรของดวงอาทิต.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและดับเบิลยูเอเอสพี-12บี · ดูเพิ่มเติม »

ดับเบิลยูเอเอสพี-18

ับเบิลยูเอเอสพี-18 (WASP-18) เป็นดาวฤกษ์ที่มีโชติมาตรเท่ากับ 9 ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวนกฟีนิกซ์ทางซีกโลกใต้ มีมวล 1.25 มวลดวงอาทิต.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและดับเบิลยูเอเอสพี-18 · ดูเพิ่มเติม »

ดับเบิลยูเอเอสพี-18บี

ับเบิลยูเอเอสพี-18บี เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่น่าทึ่งคือมีระยะเวลาการโคจรที่น้อยกว่า 1 วัน มีมวลเท่ากับ 10 มวลดาวพฤหัสบดี เป็นเพียงแค่เส้นเขตแดนระหว่างดาวเคราะห์และดาวแคระน้ำตาลประมาณ 13 เท่าของมวลดาวพฤหัสบดี เนื่องจากการชะลอตัวของน้ำขึ้นน้ำลงคาดว่าจะเป็นเกลียวไปทางและในที่สุดก็รวมกับดาวฤกษ์ของมัน คือ ดับเบิลยูเอเอสพี-18 ในเวลาน้อยกว่าล้านปี ดาวเคราะห์อยู่ห่างจากดาวฤกษ์ของมันประมาณ 3.1 ล้านกิโลเมตร (1.9 ล้านไมล์) และอยู่ห่างจากโลกประมาณ 325 ปีแสง ค้นพบโดย โคล เฮลเลอร์ ศาสตราจารย์ดาราศาสตร์ฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยคีลลี ในประเทศอังกฤษ.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและดับเบิลยูเอเอสพี-18บี · ดูเพิ่มเติม »

ดับเบิลยูเอเอสพี-7บี

ับเบิลยูเอเอสพี-7บี (WASP-7b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่ค้นพบในปี ค.ศ. 2008 ดาวเคราะห์ดวงนี้ระยะเวลา 5 วันมีขนาดเล็กกว่าดาวพฤหัสบดี ประมาณมวลเดียวกันและมีความหนาแน่นมากกว.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและดับเบิลยูเอเอสพี-7บี · ดูเพิ่มเติม »

ดาวฤกษ์

นก่อตัวของดาวฤกษ์ในดาราจักรเมฆแมเจลแลนใหญ่ ภาพจาก NASA/ESA ดาวฤกษ์ คือวัตถุท้องฟ้าที่เป็นก้อนพลาสมาสว่างขนาดใหญ่ที่คงอยู่ได้ด้วยแรงโน้มถ่วง ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานหลักของโลก เราสามารถมองเห็นดาวฤกษ์อื่น ๆ ได้บนท้องฟ้ายามราตรี หากไม่มีแสงจากดวงอาทิตย์บดบัง ในประวัติศาสตร์ ดาวฤกษ์ที่โดดเด่นที่สุดบนทรงกลมท้องฟ้าจะถูกจัดเข้าด้วยกันเป็นกลุ่มดาว และดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุดจะได้รับการตั้งชื่อโดยเฉพาะ นักดาราศาสตร์ได้จัดทำบัญชีรายชื่อดาวฤกษ์เพิ่มเติมขึ้นมากมาย เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการตั้งชื่อดาวฤกษ์ ตลอดอายุขัยส่วนใหญ่ของดาวฤกษ์ มันจะเปล่งแสงได้เนื่องจากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนของดาว ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานจากภายในของดาว จากนั้นจึงแผ่รังสีออกไปสู่อวกาศ ธาตุเคมีเกือบทั้งหมดซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและหนักกว่าฮีเลียมมีกำเนิดมาจากดาวฤกษ์ทั้งสิ้น โดยอาจเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของดาวฤกษ์ระหว่างที่ดาวยังมีชีวิตอยู่ หรือเกิดจากการสังเคราะห์นิวเคลียสของซูเปอร์โนวาหลังจากที่ดาวฤกษ์เกิดการระเบิดหลังสิ้นอายุขัย นักดาราศาสตร์สามารถระบุขนาดของมวล อายุ ส่วนประกอบทางเคมี และคุณสมบัติของดาวฤกษ์อีกหลายประการได้จากการสังเกตสเปกตรัม ความสว่าง และการเคลื่อนที่ในอวกาศ มวลรวมของดาวฤกษ์เป็นตัวกำหนดหลักในลำดับวิวัฒนาการและชะตากรรมในบั้นปลายของดาว ส่วนคุณสมบัติอื่นของดาวฤกษ์ เช่น เส้นผ่านศูนย์กลาง การหมุน การเคลื่อนที่ และอุณหภูมิ ถูกกำหนดจากประวัติวิวัฒนาการของมัน แผนภาพคู่ลำดับระหว่างอุณหภูมิกับความสว่างของดาวฤกษ์จำนวนมาก ที่รู้จักกันในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ (H-R ไดอะแกรม) ช่วยทำให้สามารถระบุอายุและรูปแบบวิวัฒนาการของดาวฤกษ์ได้ ดาวฤกษ์ถือกำเนิดขึ้นจากเมฆโมเลกุลที่ยุบตัวโดยมีไฮโดรเจนเป็นส่วนประกอบหลัก รวมไปถึงฮีเลียม และธาตุอื่นที่หนักกว่าอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อแก่นของดาวฤกษ์มีความหนาแน่นมากเพียงพอ ไฮโดรเจนบางส่วนจะถูกเปลี่ยนเป็นฮีเลียมผ่านกระบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นอย่างต่อเนื่อง ส่วนภายในที่เหลือของดาวฤกษ์จะนำพลังงานออกจากแก่นผ่านทางกระบวนการแผ่รังสีและการพาความร้อนประกอบกัน ความดันภายในของดาวฤกษ์ป้องกันมิให้มันยุบตัวต่อไปจากแรงโน้มถ่วงของมันเอง เมื่อเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แก่นของดาวหมด ดาวฤกษ์ที่มีมวลอย่างน้อย 0.4 เท่าของดวงอาทิตย์ จะพองตัวออกจนกลายเป็นดาวยักษ์แดง ซึ่งในบางกรณี ดาวเหล่านี้จะหลอมธาตุที่หนักกว่าที่แก่นหรือในเปลือกรอบแก่นของดาว จากนั้น ดาวยักษ์แดงจะวิวัฒนาการไปสู่รูปแบบเสื่อม มีการรีไซเคิลบางส่วนของสสารไปสู่สสารระหว่างดาว สสารเหล่านี้จะก่อให้เกิดดาวฤกษ์รุ่นใหม่ซึ่งมีอัตราส่วนของธาตุหนักที่สูงกว่า ระบบดาวคู่และระบบดาวหลายดวงประกอบด้วยดาวฤกษ์สองดวงหรือมากกว่านั้นซึ่งยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง และส่วนใหญ่มักจะโคจรรอบกันในวงโคจรที่เสถียร เมื่อดาวฤกษ์ในระบบดาวดังกล่าวสองดวงมีวงโคจรใกล้กันมากเกินไป ปฏิกิริยาแรงโน้มถ่วงระหว่างดาวฤกษ์อาจส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อวิวัฒนาการของพวกมันได้ ดาวฤกษ์สามารถรวมตัวกันเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในโครงสร้างขนาดใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงโน้มถ่วง เช่น กระจุกดาว หรือ ดาราจักร ได้.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและดาวฤกษ์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์

วเคราะห์ (πλανήτης; planet หรือ "ผู้พเนจร") คือวัตถุขนาดใหญ่ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ก่อนคริสต์ทศวรรษ 1990 มีดาวเคราะห์ที่เรารู้จักเพียง 8 ดวง (ทั้งหมดอยู่ในระบบสุริยะ) ปัจจุบันเรารู้จักดาวเคราะห์ใหม่อีกมากกว่า 100 ดวง ซึ่งเป็นดาวเคราะห์นอกระบบ คือ โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงอื่นที่ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ ในปี..

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและดาวเคราะห์ · ดูเพิ่มเติม »

ดาวเคราะห์นอกระบบ

accessdate.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและดาวเคราะห์นอกระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ดิดิเยร์ เควลอซ

ร์ เควลอซ (Didier Queloz) เกิดเมื่อวันที่ 23 กุมภาพัน..

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและดิดิเยร์ เควลอซ · ดูเพิ่มเติม »

ความส่องสว่างปรากฏ

วามส่องสว่างปรากฏ (apparent magnitude, m) เป็นหน่วยวัดความสว่างของดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ หรือวัตถุท้องฟ้าอื่นในจักรวาล กล่าวอีกนัยหนึ่งคือปริมาณแสดงที่ได้รับจากวัตถุนั้น นิยามให้ความส่องสว่างปรากฏมีค่าเพิ่มขึ้น 5 หน่วยเมื่อความสว่างลดลงเหลือ 1 ใน 100 (นั่นคือเมื่อวัตถุเดียวกันแต่อยู่ไกลขึ้นเป็น 10 เท่า) หรือค่าความส่องสว่างปรากฏเพิ่มขึ้น 1 หน่วยเมื่อความสว่างลดลง 2.512 เท่า โดยที่ 2.512 คือรากที่ห้าของ 100 (1000.2) ปริมาณแสงที่รับได้ จริง ๆ แล้วจะขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นบรรยากาศในทิศทางการมองวัตถุ ดังนั้นความส่องสว่างปรากฏจึงปรับค่าให้ได้ความสว่างเมื่อผู้สังเกตอยู่นอกชั้นบรรยากาศ ยิ่งวัตถุมีแสงจางเท่าไหร่ค่าความส่องสว่างปรากฏก็ยิ่งมีค่ามากเท่านั้น.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและความส่องสว่างปรากฏ · ดูเพิ่มเติม »

ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร

ตัวอย่างค่าความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร ในทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร (Orbital eccentricity) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร มีความหมายถึงความเบี่ยงเบนไปจากวงกลมของวงโคจรของวัตถุนั้น คำนวณโดยลักษณะเดียวกับความเยื้องศูนย์กลางของภาคตัดกรวย โดยวงโคจรของวัตถุจะมีค่าความเยื้องศูนย์กลาง(e\,\!) ดังนี้.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

ความเร็วแนวเล็ง

วามเร็วแนวเล็ง บางครั้งก็เรียกว่า ความเร็วเชิงรัศมี หรือ ความเร็วแนวรัศมี (radial velocity) เป็นความเร็วของวัตถุในทิศทางที่อยู่ตรงแนวสายตาของเรา ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนเข้าหาตัวเราหรือเคลื่อนออกจากตัวเราก็ตาม แสงจากวัตถุที่มีความเร็วแนวเล็งที่แน่นอนสามารถทำให้เกิดปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ได้ โดยความถี่ของแสงจะลดลงขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ห่างออกไป (เรียกว่า การเคลื่อนไปทางแดง) หรือความถี่จะเพิ่มขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนใกล้เข้ามา (เรียกว่า การเคลื่อนไปทางน้ำเงิน) การวัดความเร็วแนวเล็งของดาวฤกษ์หรือวัตถุส่องสว่างอื่นที่อยู่ห่างไกลสามารถทำได้โดยการตรวจสอบสเปกตรัมความละเอียดสูงและเปรียบเทียบคลื่นความถี่ที่ได้กับแถบสเปกตรัมที่เราทราบค่าแล้วจากห้องทดลอง ตามปกติ ความเร็วแนวเล็งที่เป็นบวกหมายถึงวัตถุกำลังเคลื่อนห่างออกไป ถ้าความเร็วแนวเล็งเป็นลบ หมายถึงวัตถุกำลังเคลื่อนใกล้เข้ามา ในระบบดาวคู่หลายแห่ง การเคลื่อนที่ของวงโคจรจะทำให้ความเร็วแนวเล็งแปรค่าไปมาได้หลายกิโลเมตรต่อวินาที เมื่อค่าสเปกตรัมของดาวเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปมาจากผลของปรากฏการณ์ดอปเปลอร์ จึงเรียกเหตุการณ์นี้ว่า spectroscopic binaries การศึกษาความเร็วแนวเล็งใช้เพื่อประมาณค่ามวลของดาวฤกษ์และองค์ประกอบของวงโคจรบางตัว เช่นความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรและค่ากึ่งแกนเอก กระบวนการเดียวกันนี้สามารถนำไปใช้ในการตรวจจับดาวเคราะห์รอบดาวฤกษ์ได้ ด้วยหลักการการตรวจจับความเคลื่อนไหวจะบ่งชี้ถึงคาบดาราคติของดาวเคราะห์ และขนาดของการเคลื่อนที่ทำให้สามารถคำนวณค่าต่ำสุดที่เป็นไปได้ของมวลดาวเคราะห์ได้.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและความเร็วแนวเล็ง · ดูเพิ่มเติม »

ความเอียงของวงโคจร

แสดงความเอียงของวงโคจร ความเอียงของวงโคจร (inclination) เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของวงโคจร หมายถึงมุมระหว่างระนาบของวงโคจรกับระนาบอ้างอิง ความเอียงของวงโคจร เป็นหนึ่งใน 6 องค์ประกอบของวงโคจร ใช้อธิบายถึงรูปร่างและทิศทางของวงโคจรของวัตถุท้องฟ้า นับเป็นระยะเชิงมุมของระนาบวงโคจรเทียบกับระนาบอ้างอิง (โดยมากมักใช้เส้นศูนย์สูตรหรือเส้นสุริยวิถีของดาวฤกษ์แม่ในระบบ และมีหน่วยเป็นองศา) สำหรับระบบสุริยะ ความเอียงของวงโคจร (คือ i ในภาพด้านข้าง) ของดาวเคราะห์ดวงหนึ่งๆ จะเท่ากับมุมระหว่างระนาบของวงโคจรของดาวเคราะห์นั้นกับเส้นสุริยวิถี ซึ่งเป็นระนาบที่เป็นเส้นทางโคจรของโลก นอกจากนี้ยังสามารถวัดได้โดยเปรียบเทียบกับระนาบอื่นๆ เช่น เทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ หรือเทียบกับระนาบโคจรของดาวพฤหัสบดี แต่การใช้เส้นสุริยวิถีในการอ้างอิงจะเหมาะสมกับผู้สังเกตการณ์บนโลกมากกว่า วงโคจรของดาวเคราะห์ส่วนใหญ่ในระบบสุริยะของเรามีค่าความเอียงของวงโคจรค่อนข้างน้อย ไม่ว่าจะเปรียบเทียบกันเองหรือเทียบกับเส้นศูนย์สูตรของดวงอาทิตย์ก็ตาม มีข้อยกเว้นก็เพียงในบรรดาดาวเคราะห์แคระ เช่น พลูโต และ อีรีส ซึ่งมีค่าความเอียงของวงโคจรเทียบกับสุริยวิถีสูงถึง 17 องศาและ 44 องศาตามลำดับ ดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่เช่น พัลลัส ก็มีความเอียงของวงโคจรสูงถึง 34 องศา สำหรับดาวเคราะห์นอกระบบ ยังไม่ค่อยมีการวัดความเอียงของวงโคจร ทราบได้แต่เพียงมวลต่ำสุดของมันเท่านั้น ซึ่งหมายถึง ดาวเคราะห์นอกระบบบางดวงที่แท้อาจเป็นดาวแคระน้ำตาล หรือเป็นดาวแคระแดงที่จางมากๆ ก็ได้ มีแต่เพียงดาวเคราะห์ที่ตรวจพบการเคลื่อนผ่าน และที่ตรวจจับด้วยวิธีมาตรดาราศาสตร์ จึงสามารถทราบถึงความเอียงของวงโคจร และบางทีอาจทราบถึงมวลที่แท้จริงได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010 ข้างหน้านี้ น่าจะมีการตรวจวัดความเอียงของวงโคจรและมวลที่แท้จริงของดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมากได้เพิ่มขึ้น โดยใช้การสังเกตการณ์ในอวกาศผ่านปฏิบัติการต่างๆ เช่น Gaia mission, Space Interferometry Mission, และ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและความเอียงของวงโคจร · ดูเพิ่มเติม »

คาบดาราคติ

ในทางดาราศาสตร์ คาบดาราคติ (orbital period) คือระยะเวลาที่วัตถุหนึ่งใช้ในการโคจรรอบวัตถุอื่นที่ใช้ในทางดาราศาสตร์ ซึ่งคาบดาราคตินั้นมีประโยชน์อย่างมากสำหรับนักดาราศาสตร์ ที่จะต้องใช้คาบดาราคติในการคำนวณระยะเวลาของดาวดวงหนึ่งโคจรรอบดาวอีกดวงหนึ่ง คาบดาราคติยังแบ่งออกได้เป็นหลายแบบ ดังนี้.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและคาบดาราคติ · ดูเพิ่มเติม »

ปีแสง

ปีแสง (อังกฤษ: light-year) คือ หน่วยของระยะทางในทางดาราศาสตร์ 1 ปีแสง เท่ากับระยะทางที่แสงเดินทางในเวลา 1 ปี จากอัตราเร็วแสงที่มีค่า 299,792,458 เมตร/วินาที ระยะทาง 1 ปีแสงจึงมีค่าประมาณ 9.4607 กิโลเมตร.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและปีแสง · ดูเพิ่มเติม »

แถบลำดับหลัก

ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ ที่พล็อตความสว่างแท้จริง (หรือความส่องสว่างสัมบูรณ์) ของดาวฤกษ์เทียบกับดัชนีสี แถบลำดับหลักจะมองเห็นเป็นแถบขวางโดดเด่นวิ่งจากด้านบนซ้ายลงไปยังด้านล่างขวา แถบลำดับหลัก (Main sequence) คือชื่อเรียกแถบต่อเนื่องและมีลักษณะพิเศษที่ปรากฏอยู่บนแผนภาพคู่ลำดับระหว่างสีของดาวฤกษ์กับความสว่าง แผนภาพคู่ลำดับสี-ความสว่างนี้รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ไดอะแกรมของแฮร์ทสชปรุง-รัสเซลล์ หรือ HR Diagram ซึ่งเป็นผลการศึกษาร่วมกันระหว่างเอจนาร์ แฮร์ทสชปรุง กับเฮนรี นอร์ริส รัสเซลล์ ดาวที่อยู่บนแถบนี้จะรู้จักกันว่า ดาวบนแถบลำดับหลัก หรือดาวฤกษ์แคระ หลังจากที่ดาวฤกษ์ก่อตัวขึ้นแล้ว มันจะสร้างพลังงานออกมาจากย่านใจกลางอันหนาแน่นและร้อนจัดโดยปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันของอะตอมไฮโดรเจนไปเป็นฮีเลียม ระหว่างที่กระบวนการนี้ดำเนินไปในช่วงอายุของดาว จะสามารถระบุตำแหน่งบนแถบลำดับหลักได้โดยใช้มวลของดาวเป็นข้อมูลเบื้องต้น ประกอบกับข้อมูลองค์ประกอบทางเคมีและปัจจัยอื่น ๆ อีก โดยทั่วไปยิ่งดาวฤกษ์มีมวลมากก็จะยิ่งมีช่วงอายุบนแถบลำดับหลักสั้นยิ่งขึ้น หลังจากเชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่แกนกลางถูกใช้จนหมดไป ดาวฤกษ์ก็จะเคลื่อนออกไปจากแถบลำดับหลัก บางคราวอาจพิจารณาแถบลำดับหลักออกเป็นแถบบนและแถบล่าง ขึ้นกับกระบวนการที่ดาวฤกษ์ใช้ในการสร้างพลังงาน ดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อยกว่า 1.5 เท่าของมวลดวงอาทิตย์จะหลอมอะตอมไฮโดรเจนเข้าด้วยกันพร้อมกับกระบวนการสร้างฮีเลียม กระบวนการนี้เรียกว่า ปฏิกิริยาลูกโซ่โปรตอน-โปรตอน ถ้าดาวฤกษ์มีมวลมากกว่านี้ ก็จะอยู่ในแถบลำดับหลักบน นิวเคลียร์ฟิวชันจะใช้อะตอมของคาร์บอน ไนโตรเจน และออกซิเจนเป็นสื่อกลางในการผลิตฮีเลียมจากอะตอมไฮโดรเจน เนื่องจากอุณหภูมิของดาวฤกษ์ที่แกนกลางกับที่พื้นผิวดาวนั้นมีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ จึงมีการส่งผ่านพลังงานขึ้นมาอย่างต่อเนื่องผ่านชั้นดาวจนกระทั่งมันแผ่รังสีออกไปจากบรรยากาศของดาว กลไกสองประการที่ใช้ในการส่งผ่านพลังงานเหล่านี้คือ การแผ่รังสี และการพาความร้อน ในประเภทที่ขึ้นกับเงื่อนไขเฉพาะของดาวแต่ละดวง การพาความร้อนจะเกิดขึ้นในบริเวณที่อุณหภูมิมีความแตกต่างกันอย่างมาก หรือเป็นพื้นที่อับแสง หรือทั้งสองอย่าง เมื่อมีการพาความร้อนเกิดขึ้นในแกนกลาง มันจะกระตุ้นเศษเถ้าฮีเลียมขึ้น เป็นการรักษาระดับสัดส่วนของเชื้อเพลิงที่จะนำไปใช้ในปฏิกิริยาฟิวชัน หมวดหมู่:ดาวฤกษ์แถบลำดับหลัก หมวดหมู่:ประเภทของดาวฤกษ์ หมวดหมู่:วิวัฒนาการของดาวฤกษ์.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและแถบลำดับหลัก · ดูเพิ่มเติม »

โฟมัลฮอต

ฟมัลฮอต (Fomalhaut) หรือ อัลฟาปลาใต้ (α PsA / α Piscis Austrini) เป็นดาวฤกษ์สว่างที่สุดในกลุ่มดาวปลาใต้ และเป็นหนึ่งในบรรดาดาวฤกษ์สว่างที่สุดบนท้องฟ้า หากอยู่ในซีกโลกเหนือ จะสามารถมองเห็นดาวโฟมัลฮอตได้ทางเกือบขอบฟ้าด้านทิศใต้ในช่วงเย็นต้นฤดูหนาว ใกล้กับเส้นละติจูด 50˚เหนือ ดาวจะตกลับขอบฟ้าเมื่อดาวซิริอุสปรากฏขึ้น และจะไม่ปรากฏขึ้นอีกจนกว่าดาวปาริชาต (Antares) จะตกลับไป ชื่อ "โฟมัลฮอต" มีความหมายว่า "ปากวาฬ" มาจากคำภาษาอารบิกว่า فم الحوت fum al-ḥawt ดาวฤกษ์นี้จัดเป็นดาวฤกษ์ระดับ A ในแถบลำดับหลัก อยู่ห่างจากโลกประมาณ 25 ปีแสง ถือเป็นดาวฤกษ์แบบคล้ายเวกา ซึ่งแผ่รังสีอินฟราเรดออกมาจำนวนมาก บ่งชี้ว่าดาวนี้มีแผ่นจานฝุ่นล้อมรอบ ดาวโฟมัลฮอตเป็นดาวฤกษ์สำคัญดวงหนึ่งในการศึกษาดาวเคราะห์นอกระบบ เนื่องจากเป็นระบบดาวฤกษ์แห่งแรกที่มีดาวเคราะห์นอกระบบ โฟมัลฮอตบี ซึ่งถูกถ่ายภาพไว้ได้ในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น ภาพนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Science เมื่อเดือนพฤศจิกายน..

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและโฟมัลฮอต · ดูเพิ่มเติม »

โฟมัลฮอต บี

ฟมัลฮอต บี เป็นดาวเคราะห์นอกระบบอยู่ห่างจากโลกประมาณ 25 ปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวปลาใต้ เป็นดาวเคราะห์ที่ค้นพบโคจรรอบดาวโฟมัลฮอต ในปี ค.ศ. 2008 ในภาพถ่ายที่ถ่ายโดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล โฟมัลฮอต บีและดาวเคราะห์ทั้ง 3 โคจรรอบเอชอาร์ 8799 ซึ่งการค้นพบได้ประกาศในเวลาเดียวกัน เป็นดาวเคราะห์วงโคจรแรกที่มีการเคลื่อนไหวได้รับการยืนยันผ่านทางการถ่ายภาพโดยตรง ในขั้นต้นความคิดของมวลก๊าซยักษ์ดาวพฤหัสบดี ข้อสังเกตในปี ค.ศ. 2011 โดยกล้องโทรทรรน์มิลลิเมตรขนาดใหญ่อาตากามา อาร์เรย์ โดยบ่งบอกดาวเคราะห์ต้องมีมวลมากกว่าดาวอังคาร แต่ยังไม่มีอะไรขนาดใหญ่กว่าไม่กี่เท่าของมวลโลก โฟมัลฮอต บี ยังไม่ได้ยืนยันอย่างเป็นอิสร.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและโฟมัลฮอต บี · ดูเพิ่มเติม »

โอแอลพีซี

ตัวอย่างเครื่องแลปทอปในโครงการ OLPC-Laptop XOXO โครงการโอแอลพีซี (OLPC One Laptop Per Child) หรือ XO-1 หรือชื่อเดิมคือโครงการ $100 laptop เป็นโครงการในการจัดการคอมพิวเตอร์แลปทอปราคาประหยัด โดยทางองค์กรในสหรัฐอเมริกาและความร่วมมือกับ เอ็มไอทีแล็บ โดยคอมพิวเตอร์นี้จะใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและโอแอลพีซี · ดูเพิ่มเติม »

โครอต-7บี

รอต-7บี (previously named COROT-Exo-7b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่โคจรรอบดาวฤกษ์ โครอต-7 อยู่ในกลุ่มดาวยูนิคอร์น ตั้งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 489 ปีแสง.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและโครอต-7บี · ดูเพิ่มเติม »

ไรต์แอสเซนชัน

ไรต์แอสเซนชัน (Right ascention; RA, สัญลักษณ์ &alpha) เป็นศัพท์ทางดาราศาสตร์ เป็นหนึ่งในสองพิกัดที่ใช้ในการกำหนดตำแหน่งบนทรงกลมฟ้า พิกัดอีกค่าที่ใช้คู่กันคือ เดคลิเนชัน ไรต์แอสเซนชันเปรียบได้กับลองจิจูด วัดเทียบจากจุดศูนย์ที่เรียกว่า วสันตวิษุวัต (vernal equinox) หน่วยของไรต์แอสเซนชันมีค่าเป็น ชั่วโมง นาที และวินาที ใช้วัดได้ทั้งเวลาและองศา โดยที่ไรต์แอสเซนชันหนึ่งชั่วโมง มีค่าเท่ากับมุม 15 องศา หนึ่งนาที มีค่าเท่ากับมุม 15 ลิปดา และ หนึ่งวินาทีเท่ากับมุม 15 พิลิปดา หมวดหมู่:ระบบพิกัดทรงกลมฟ้า หมวดหมู่:มุม โครงดาราศาสตร์.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและไรต์แอสเซนชัน · ดูเพิ่มเติม »

เอชอาร์ 8799 บี

อชอาร์ 8799 บี เป็นดาวเคราะห์นอกระบบอยู่ห่างจากโลกประมาณ 129 ปีแสง อยู่ในกลุ่มดาวม้าบิน วงโคจรที่ 6 ของความส่องสว่างปรากฏ ของดาวฤกษ์เลมบ์ดา คนเลี้ยงสัตว์ คือเอชอาร์ 8799 มีมวลระหว่าง 4 และ 7 มวลดาวพฤหัสบดีและรัศมีจาก 10 ถึง 30% มีขนาดใหญ่กว่าของดาวพฤหัสบดี มันโคจรใน 68 AU จากดาวเอชอาร์ 8799 หรือ 7 AU ภายในขอบด้านในของแผ่นฝุ่นวงโคจรรอบดาว โดยมีค่า eccentricity ที่ไม่ทราบและระยะเวลา 460 ปี และเป็นดาวเคราะห์ที่รู้จักกันด้านนอกสุดในระบบดาวเคราะห์เอชอาร์ 8799 พร้อมกับสองดาวเคราะห์ดวงอื่นที่โคจรรอบดาวเอชอาร์ 8799 ดาวเคราะห์ดวงนี้ค้นพบเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 โดย Marois et al โดยใช้หอดูดาวเคก และหอดูดาวเมถุน ในฮาวาย ดาวเคราะห์เหล่านี้ถูกค้นพบโดยใช้เทคนิคการถ่ายภาพโดยตรง.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและเอชอาร์ 8799 บี · ดูเพิ่มเติม »

เอชดี 17156 บี

อชดี 17156 บี (HD 17156 b) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 240 ปีแสง ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวแคสซิโอเปีย ดาวเคราะห์ดวงนี้ถูกค้นพบวงโคจรรอบดาวยักษ์เล็กเหลือง เอชดี 17156 ในวันที่ 14 เมษายน..

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและเอชดี 17156 บี · ดูเพิ่มเติม »

เดคลิเนชัน

ในทางดาราศาสตร์ เดคลิเนชัน (declination, dec) เป็นหนึ่งในสองพิกัดในการกำหนดตำแหน่งบนทรงกลมฟ้า พิกัดอีกตัวที่เหลือคือไรต์แอสเซนชัน เดคลิเนชัน เปรียบได้กับละติจูด วัดเป็นองศาเหนือจากเส้นศูนย์สูตรฟ้า ดังนั้นจุดบนฟ้าที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรฟ้าจะมีค่าเดคลิเนชันเป็นบวก ในขณะที่จุดที่อยู่ข้างใต้จะมีค่าเป็นล.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและเดคลิเนชัน · ดูเพิ่มเติม »

MOA-2007-BLG-400Lb

MOA-2007-BLG-400Lb เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 20,000 ปีแสง ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวคนยิงธนู โคจรรอบดาวฤกษ์MOA-2007-BLG-400L.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและMOA-2007-BLG-400Lb · ดูเพิ่มเติม »

PSR B1257+12

PSR B1257+12 หรือบางครั้งเรียกอย่างย่อว่า PSR 1257+12 เป็นพัลซาร์ดวงหนึ่ง อยู่ห่างจากโลกราว 980 ปีแสง ในกลุ่มดาวหญิงสาว ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ อเล็กซานเดอร์ โวลส์ชาน เมื่อปี..

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและPSR B1257+12 · ดูเพิ่มเติม »

PSR B1257+12 A

PSR B1257+12 A เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 980 ปีแสง ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว ดาวเคราะห์นี้นับว่าเป็นวัตถุที่โคจรอยู่ด้านในสุดรอบพัลซาร์ PSR B1257+12 หรืออาจเรียกว่าเป็นดาวเคราะห์พัลซาร์ก็ได้ มวลของดาวเคราะห์นี้เท่ากับประมาณสองเท่าของมวลดวงจันทร์ของโลก นับถึงปี..

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและPSR B1257+12 A · ดูเพิ่มเติม »

PSR B1257+12 B

PSR B1257+12 B เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 980 ปีแสง ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว PSR B1257+12 B ยังเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ดวงแรกที่เคยค้นพบนอกระบบสุริยะ และในปัจจุบันคือวัตถุที่สามที่รู้จักกันในวงโคจรพัลซาร์ PSR B1257+12 ซึ่งมันเป็นวงกลมที่ระยะห่าง 0.36 AU กับระยะเวลาการโคจรประมาณ 66 วัน.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและPSR B1257+12 B · ดูเพิ่มเติม »

PSR B1257+12 C

PSR B1257+12 C เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ห่างจากโลกประมาณ 980 ปีแสง ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวหญิงสาว PSR B1257+12 C ยังเป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ดวงแรกที่เคยค้นพบนอกระบบสุริยะ และในปัจจุบันคือวัตถุที่สามที่รู้จักกันในวงโคจรพัลซาร์ PSR B1257+12 เป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่เท่าโลกเกือบสี่เท.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและPSR B1257+12 C · ดูเพิ่มเติม »

2เอ็ม1207บี

2เอ็ม1207บี เป็นวัตถุมวลดาวเคราะห์ ที่โคจรรอบดาวแคระน้ำตาล 2เอ็ม1207 อยู่ในกลุ่มดาวคนครึ่งม้า อยู่ห่างจากโลกประมาณ 170 ปีแสง, Eric Mamajek, November 8, 2007.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและ2เอ็ม1207บี · ดูเพิ่มเติม »

51 ม้าบิน

ว 51 ม้าบิน 51 ม้าบิน (51 Pegasi) เป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ อยู่ห่างจากโลก 15.4 พาร์เซ็ก (50.1 ปีแสง) ในกลุ่มดาวม้าบิน เป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ดวงแรกที่ตรวจพบว่ามีดาวเคราะห์โคจรอยู่รอบๆ โดยมีการประกาศการค้นพบเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและ51 ม้าบิน · ดูเพิ่มเติม »

51 ม้าบิน บี

51 ม้าบิน บี โดยเคเลสเตีย 51 ม้าบิน บี (51 Pegasi b) หรือบางครั้งเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า เบลเลโรพอน (Bellerophon) เป็นดาวเคราะห์นอกระบบที่อยู่ห่างประมาณ 50 ปีแสงจากโลกในบริเวณกลุ่มดาวม้าบิน เป็นดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกที่ถูกค้นพบในวงโคจรรอบดาวฤกษ์ในแถบลำดับหลัก คือ 51 ม้าบิน ซึ่งเป็นดาวฤกษ์คล้ายดวงอาทิตย์ (ดาวเคราะห์นอกระบบดวงแรกสุดที่มีการค้นพบนั้นโคจรรอบพัลซาร์ PSR 1257 ค้นพบโดย Aleksander Wolszczan เมื่อปี ค.ศ. 1992) ซึ่งเป็นการค้นพบครั้งใหญ่ในงานวิจัยด้านดาราศาสตร์ มันเป็นดาวเคราะห์ต้นแบบสำหรับการจัดระดับดาวเคราะห์ในประเภท ดาวพฤหัสบดีร้อน.

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและ51 ม้าบิน บี · ดูเพิ่มเติม »

55 ปู

55 ปู หรือ โร1 ปู (55 Cancri) เป็นระบบดาวคู่ที่อยู่ห่างจากโลกราว 41 ปีแสงในบริเวณกลุ่มดาวปู ระบบดาวนี้ประกอบด้วยดาวแคระเหลือง 1 ดวง และดาวแคระแดงขนาดเล็กกว่าอีก 1 ดวง ทั้งสองดวง นี้อยู่ห่างกันมากกว่าระยะห่างจากโลกถึงดวงอาทิตย์มากกว่า 1,000 เท่า นับถึง..

ใหม่!!: รายชื่อดาวเคราะห์นอกระบบและ55 ปู · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »