โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่

ดัชนี รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่

ไม่มีคำอธิบาย.

128 ความสัมพันธ์: ชาห์นาเดอร์ฟินิเชียรัฐฉู่รัฐเคาะลีฟะฮ์รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาติมียะห์รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีนรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบาราชวงศ์ชางราชวงศ์ชิงราชวงศ์กอญัรราชวงศ์การอแล็งเฌียงราชวงศ์สุยราชวงศ์หมิงราชวงศ์หยวนราชวงศ์หยวนเหนือราชวงศ์หลิวซ่งราชวงศ์ฮั่นราชวงศ์ฮั่นยุคหลังราชวงศ์จาลุกยะราชวงศ์จินราชวงศ์จิ้นยุคหลังราชวงศ์จิ้นตะวันออกราชวงศ์จิ้นตะวันตกราชวงศ์ถังราชวงศ์ถังยุคหลังราชวงศ์ทอเลมีราชวงศ์ตองอูราชวงศ์ตีมูร์ราชวงศ์ฉินราชวงศ์ซัฟฟาริดราชวงศ์ซาฟาวิดราชวงศ์ซินราชวงศ์ซ่งราชวงศ์นันทะราชวงศ์โกนบองราชวงศ์โมริยะราชวงศ์โจวยุคหลังราชวงศ์โจวตะวันตกราชวงศ์โจฬะราชวงศ์เมรอแว็งเฌียงราชวงศ์เหลียวราชวงศ์เหลียงยุคหลังราชวงศ์เหงียนราชวงศ์เซี่ยราชอาณาจักรวิซิกอทวุยก๊กสมัยกลางสมัยใหม่...สมัยโบราณสหภาพคาลมาร์สำมะโนอัสซีเรียอาวาร์ยูเรเชียอาณาจักรพุกามอาณาจักรมัชปาหิตอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)อาณาจักรศรีวิชัยอาณาจักรอักซุมอาณาจักรน่านเจ้าอาณาจักรโคกูรยออาณานิคมโพ้นทะเลของเบลเยียมจักรวรรดิจักรวรรดิบราซิลจักรวรรดิบริติชจักรวรรดิบรูไนจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2จักรวรรดิกาสนาวิยะห์จักรวรรดิกุษาณะจักรวรรดิญี่ปุ่นจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่งจักรวรรดิมราฐาจักรวรรดิมองโกลจักรวรรดิมาลีจักรวรรดิรัสเซียจักรวรรดิละตินจักรวรรดิวิชัยนครจักรวรรดิศุงคะจักรวรรดิสวีเดนจักรวรรดิสเปนจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีจักรวรรดิออตโตมันจักรวรรดิอะคีเมนิดจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันจักรวรรดิอาณานิคมเดนมาร์กจักรวรรดิอิตาลีจักรวรรดิอินคาจักรวรรดิอียิปต์จักรวรรดิฮันจักรวรรดิขแมร์จักรวรรดิข่านอิลจักรวรรดิข่านจักกาไทจักรวรรดิดัตช์จักรวรรดิคุปตะจักรวรรดิซองไฮจักรวรรดิซิกข์จักรวรรดิปาละจักรวรรดิแอกแคดจักรวรรดิแอซเท็กจักรวรรดิแซสซานิดจักรวรรดิโมกุลจักรวรรดิโรมันจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิโรมันตะวันตกจักรวรรดิโปรตุเกสจักรวรรดิไบแซนไทน์จักรวรรดิเยอรมันจักรวรรดิเคียฟรุสจักรวรรดิเซลจุคจักรวรรดิเซอร์เบียจักรวรรดิเปอร์เชียจ๊กก๊กซฺยงหนูประเทศอัฟกานิสถานประเทศอิรักประเทศอิหร่านประเทศอุรุกวัยประเทศเกาหลีนาซีเยอรมนีแกรนด์ดัชชีมอสโกโกลเดนฮอร์ดเอลามเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนียเซี่ยตะวันตก ขยายดัชนี (78 มากกว่า) »

ชาห์นาเดอร์

ห์นาเดอร์แห่งเปอร์เซีย หรือ ชาห์นาเดอร์มหาราช (تهماسپ قلی خان หรือ نادر قلی بیگ หรือ نادر شاه افشار; Nader Shah หรือ Nāder Shāh Afshār the Great หรือ Nāder Qoli Beg หรือ Tahmāsp Qoli Khān) (พฤศจิกายน ค.ศ. 1688 หรือ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1698 – 19 มิถุนายน ค.ศ. 1747) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอิหร่านผู้ก่อตั้งราชวงศ์อาฟชาริยะห์ (Afsharid dynasty) ผู้ครองราชย์ระหว่างปี ค.ศ. 1736 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1747 ชาห์นาเดอร์ที่มีพระปรีชาสามารถในทางการทหารที่ทำให้นักประวัติศาสตร์บางคนบรรยายพระองค์ว่าทรงเป็น “จักรพรรดินโปเลียนแห่งเปอร์เซีย” หรือ “อเล็กซานเดอร์ที่สอง” ชาห์นาเดอร์ทรงเป็นชาวเติร์กเมน เผ่าอาฟชาร์ (Afshar tribe) จากทางตอนเหนือของเปอร์เซีย ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่จัดความมีอำนาจทางการทหารให้แก่จักรวรรดิซาฟาวิยะห์มาตั้งแต่รัชสมัยของชาห์อิสมาอิลที่ 1 แห่งเปอร์เซีย ชาห์นาเดอร์ทรงทรงเรืองอำนาจขึ้นมาในระหว่างที่เปอร์เซียเป็นอนาธิปไตย หลังจากการแข็งข้อของอัฟกาน (Pashtun people) ผู้โค่นราชบัลลังก์ของชาห์ฮุสเซน และขณะที่ทั้งจักรวรรดิออตโตมัน และ จักรวรรดิรัสเซีย ต่างก็ยึดส่วนต่างๆ ของเปอร์เซียเป็นของตนเอง ชาห์นาเดอร์ทรงรวบรวมจักรวรรดิเปอร์เซียเข้าด้วยกันและทรงขจัดศัตรูออกจากจักรวรรดิ และทรงมีอำนาจพอที่จะตัดสินใจโค่นราชบัลลังก์ของชาห์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ที่ปกครองจักรวรรดิเปอร์เซียมากว่า 200 ปีและกลายเป็นชาห์ในปี ค.ศ. 1736 การรณรงค์ทางทหารของพระองค์ทำให้จักรวรรดิเปอร์เซียกลายเป็นจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ที่มีดินแดนไม่แต่ในอิหร่านปัจจุบัน แต่ยังครอบคลุมไปถึงอัฟกานิสถาน, ปากีสถาน, บางส่วนของภูมิภาคคอเคซัส และบางส่วนของเอเชียกลาง แต่ค่าใช้จ่ายทางการทหารมีผลต่อการทำลายทางเศรษฐกิจของ ชาห์นาเดอร์ทรงมีความชื่นชมในวีรบุรุษเช่นเจงกีส ข่าน และ ตีมูร์ ผู้พิชิตเอเชียกลางมาก่อนหน้าพระองค์ พระองค์ทรงเรียนรู้ยุทธวิธีทางการทหารจากทั้งสองพระองค์โดยเฉพาะในตอนปลายรัชสมัยของพระองค์—ความทารุณ การพิชิตดินแดนต่างๆ ของชาห์นาเดอร์ทำให้ทรงเป็นผู้นำของตะวันออกกลางผู้มีอำนาจมากที่สุดในยุคนั้น แต่จักรวรรดิของพระองค์ก็สลายตัวลงอย่างรวดเร็วหลังจากที่ทรงถูกลอบปลงพระชนม์ในปี ค.ศ. 1747 พระองค์ทรงได้รับการบรรยายว่าเป็น “ผู้นำทางการทหารผู้ยิ่งใหญ่คนสุดท้ายของเอเชีย”.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และชาห์นาเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟินิเชีย

ฟินิเชีย (Phoenicia) เป็นเซเมติกสาขาหนึ่ง อพยพมาจากทะเลทรายอาหรับ เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล เข้ามาตั้งหลักแหล่งในบริเวณตะวันตกของทวีปเอเชียบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มปัญญาชนของเอเชียตะวันตก สร้างเมืองสำคัญ ๆ เช่น ไทรน์ ไซดอน ไบบลอส เป็นพวกที่ร่ำรวย มีชื่อเสียงทางด้านการเดินเรือและค้าขาย มีการตั้งอาณานิคมในส่วนอื่น ๆ เช่น กาดิซในสเปน คาร์เทจทางตอนเหนือของแอฟริกา มรดกชิ้นสำคัญของชาวฟินิเชียคือ ตัวอักษร ซึ่งกรีกและลาตินใช้เป็นแบบในการสร้างตัวอักษรของตนในสมัยต่อมา ตัวอักษรในยุโรปปัจจุบันก็มาจากตัวอักษรเหล่านี้.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และฟินิเชีย · ดูเพิ่มเติม »

รัฐฉู่

รัฐฉู่ (State of Chu, 1030 – 223 ปีก่อนคริสตกาล) รัฐศักดินาโบราณของจีนในช่วง ยุควสันตสารท – ยุครณรัฐ ทรงอำนาจและอิทธิพลอย่างมากทั้งทางด้านการทหารและการปกครองก่อนจะถูก รัฐฉิน พิชิตเมื่อ 223 ปีก่อนคริสตกาล ในช่วงปลาย ราชวงศ์ฉิน ราว 206 ปีก่อนคริสตกาล ได้มีเชื้อพระวงศ์คนหนึ่งของอดีตรัฐฉู่นามว่า เซี่ยงอวี่ ได้ตั้งตนเองเป็นกษัตริย์แห่งรัฐฉู่ตะวันตกและสามารถโค่นล้มราชวงศ์ฉินลงได้สำเร็จขณะเดียวกันมีชาวนาซึ่งมาจากอดีตรัฐฉู่เช่นกันนามว่า หลิวปัง ได้ตั้งตนเป็นใหญ่และต่อสู้กับเซี่ยงอวี่หรือ ฌ้อปาอ๋อง นานถึง 4 ปีก็ได้ชัยชนะเหนือเซี่ยงอวี่อย่างเด็ดขาดและตั้งตนเองเป็นปฐมจักรพรรดิแห่ง ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก พระนามว่า จักรพรรดิฮั่นเก.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และรัฐฉู่ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์

รัฐเคาะลีฟะฮ์ (Caliphate จาก خليفة khilāfa) เป็นเขตการปกครองแบบหนึ่งในอาณาจักรมุสลิมที่มีประมุขเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่มาจากปรัชญาว่าเป็นผู้สืบอำนาจมาจากนบีมุฮัมมัดศาสดาของศาสนาอิสลาม ซุนนีย์ระบุว่าเคาะลีฟะฮ์ควรจะเป็นผู้ที่ได้รับเลือกโดยชูรา ผู้ได้รับเลือกโดยมุสลิมหรือผู้แทน ชีอะฮ์เชื่อว่าเคาะลีฟะฮ์คืออิมามผู้สืบเชื้อสายมาจากอะฮฺลุลบัยตฺ (Ahl al-Bayt) ตั้งแต่สมัยมุฮัมมัดมาจนถึงปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และรัฐเคาะลีฟะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาติมียะห์

การปกครองฟาฏิมียะห์คือขบวนการปกครองที่เริ่มตนขึ้นเมื่อปี ๙๐๙ (ค.ศ)และทำการปกครองเป็นเวลาสองศตวรรษ(จนถึงปี ๑๑๗๑ ค.ศ)โดยปกครองภาคเหนือของแอฟริกาและเอเชียตะวันออกกลาง รวมถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ผู้ปกครองฟาฏิมีคือผู้นำชีอะห์นิกายอิสมาอีลียะห์ และชื่อขบวนการของพวกเขาคือ ฟาฏิมี หมายถึงท่านหญิงฟาฏีมะห์(ซ)บุตรสาวของท่านศาสดา(ศ็อลฯ) พวกเขาได้ก่อตั้งรัฐบาลขึ้นถึงมากกว่าสองศตวรรษในแถบตะวันออกกลางและทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และมีความรักต่อวิชาความรู้และการค้าขายเป็นอย่างมาก ไคโรเมืองหลวงของประเทศอียิปต์ ถูกก่อตั้งโดย การปกครองฟาฏิมี คอลีฟะห์ การปกครองฟาฏิมี ถูกก่อตั้งเมื่อปี ๙๐๙ (ค.ศ) ณ แอฟริกาเหนือ และขยายตัวอย่างรวดเร็วสู่ ประเทศ ซิซิลี ปาเลสไตน์ อียิปต์ และ ซีเรีย และมีอิทธิพลมากที่สุดในยุคคอลีฟะห์คนที่แปด คือ อัลมุสตันศัร บิลลาฮ์ (เสียชีวิตเมื่อปี ๑๐๙๔)ในช่วงสองศตวรรษแห่งการปกครอง พวกเขาได้ทำการปกครองที่ราบรื่นสดใส่ บนรากฐานของสติปัญญา เศรษฐกิจที่สมบูร์ และวัฒนธรรมที่น่าสนใจ ฟาฏีมียอนคือกลุ่มชีอะห์นิการอิสมาอีลียะห์ ซึ่งเป็นผู้ที่คัดค้านการปกครองของอับบาซีโดยอ้างว่าพวกเขาคือผู้ปกครองที่เป็นธรรม การปกครองอันยาวนานของฟาฏิมีทำให้นิกายชีอะห์ถูกเผยแพร่อย่างกว้างขว้าง ในยุคดังกล่าวสถาบันการศึกษาอิสลามที่ยิ่งใหญ่ อาธิ ญาเมะอฺ อัลอัซฮัร ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อเผยแพร่แนวทางอิสมาอีลียะห์ ซึ่งมีผลงานการเขียนมากมายเกี่ยวกับอิสมาอีลียะ กลุ่มฟาฏีมีมุ่งมั่นในการเผยแพร่จึงส่งทูตของตนไปยังประเทศ และ เมืองต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่แนวคิดของตนและสามารถขยายความเชื่ออิสมาอีลียะอย่างกว้างขว้างในประเทศ เยเมน อินเดีย และภาคตะวันออกของประเทศอิหร่าน ผู้นำของฟาฏีมี อัลมะฮ์ดี บิลลาฮ อะบูมุฮัมหมัด อุบัยดัลลอฮ               ปกครองเมื่อปี ๙๐๙ (ค.ศ) อัลกออิม บิอัมริลลาฮ อะบูกอเซ็มมุฮัมหมัด ปกครองเมื่อปี ๙๓๔(ค.ศ) อัลมันศูรบิลลาฮ อะบูฏอฮิรอิสมาอีล                              ปกครองเมื่อปี ๙๔๖(ค.ศ) อัลมุอิซ ลิดีนิลลาฮ์ อะบูตะมีม มุอิด                               ปกครองเมื่อปี ๙๕๓(ค.ศ) อัลอะซีซ บิลลาฮ์ อะบูมันศูร นิซาร์                                ปกครองเมื่อปี ๙๗๕ (ค.ศ) อัลฮากิม บิอัมริลลาฮ์ อะบูอาลีมันศูร                              ปกครองเมื่อปี ๙๙๖ (ค.ศ) อัซซอฮิร ลา อิรอซ ดีนิลลาฮ์ อะบูลฮะซัน อะลี           ปกครองเมื่อปี ๑๐๒๑ อัลมุซตันศิร บิลลาฮ์ อะบูตะมีม มุอิด                             ปกครองเมื่อปี ๑๐๓๖ อัลมุสตะอฺลี บิลลาฮ์ อะบูกอเซ็มอะห์หมัด                    ปกครองเมื่อปี ๑๐๙๔ อัลอัมร์ บิอะห์กามิลลาฮ์ อะบูอะลี มันศูร                      ปกครองเมื่อปี ๑๑๐๑ (ค.ศ) อัลฮาฟิซ ลิดีนิลลาฮ์ อะบูอัลมัยมูน อับดุลมะญีด         ปกครองเมื่อปี ๑๑๓๐(ค.ศ) อัลซิฟิร บิอัมริลลาฮ์ อะบูมันศูร อิสมาอีล                     ปกครองเมื่อปี ๑๑๔๙(ค.ศ) อัลฟาอิร บินัศริลลาฮ์ อะบูกอเซ็ม อีซา                          ปกครองเมื่อปี ๑๑๕๔(ค.ศ) อัลอาฎิด ลิดีนิลลาฮ์ อะบูมุฮัมหมัดอับดุลลอฮ              ปกครองเมื่อปี ๑๑๖๐-๑๑๗๑(ค.ศ)  .

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และรัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาติมียะห์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน

รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน (الخلافة الراشدية, Rashidun Caliphate) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์รัฐแรกในสี่รัฐเคาะลีฟะฮ์ ก่อตั้งขึ้นหลังจากการเสียชีวิตของมุฮัมมัดในปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดีน · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์

รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์(الخلافة العباسية: al-Khilāfah al-‘Abbāsīyyah) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์ราชวงศ์ที่สามของศาสนาอิสลาม ที่มีเมืองหลวงที่แบกแดดหลังจากที่โค่นราชวงศ์อุมัยยะฮ์ออกจากบริเวณต่าง ๆ ยกเว้นอัล-อันดะลุส (Al-Andalus) รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะห์ก่อตั้งโดยผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากอับบาส อิบน์ อับดุลมุฏฏอลิบ (العباس بن عبد المطلب‎ – Abbas ibn Abd al-Muttalib) ลุงคนเล็กของมุฮัมมัด โดยก่อตั้งขึ้นในฮาร์รานในปี ค.ศ. 750 และย้ายเมืองหลวงจากฮาร์รานไปแบกแดดในปี ค.ศ. 762 รัฐเคาะลีฟะฮ์นี้รุ่งเรืองอยู่ราวสองร้อยปีแต่ก็มาเสื่อมโทรมลงเมื่ออำนาจของตุรกีแข็งแกร่งขึ้น ภายใน 150 ปีทีแผ่ขยายอำนาจไปทั่วเปอร์เชีย รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะห์ก็สูญเสียอำนาจให้แก่จักรวรรดิมองโกล ในปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์

รัฐอุมัยยะห์ (بنو أمية‎) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งแรกที่ถูกสถาปนาโดยมุอาวียะห์ อิบนุ อบี สุฟยาน (Muahwiya Ibn Abi Sufyan I, ค.ศ. 661 - ค.ศ. 680) หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของอะลีย์ บุตรเขยของมุฮัมหมัด ราชวงศ์นี้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางในช่วงต้น อีกทั้งราชวงศ์ยังรักษาธรรมเนียมปฏิบัติของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด แต่พอถึงปลายยุคเคาะลีฟะฮ์กลับเสวยแต่น้ำจัณฑ์ ล่าสัตว์ ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยไม่ปฏิบัติตามหลักศาสนา จึงถูกลูกหลานของน้าของศาสนทูตมุฮัมหมัดโค่นล้มราชวงศ์ลงในสมัยมัรวานที่ 2 ในปี ค.ศ. 750 (พ.ศ. 1293) อุมัยยะห์เป็นหนึ่งในสี่รัฐเคาะลีฟะฮ์ของอิสลามที่ก่อตั้งหลังจากการเสียชีวิตของมุฮัมหมัด ศาสนทูตของศาสนาอิสลามที่ปกครองโดยราชวงศ์อุมัยยะห์ ที่ได้รับชื่อจาก Umayya ibn Abd Shams ผู้เป็นทวดของคอลีฟะฮ์อุมัยยะห์คนแรก แม้ว่าตระกูลอุมัยยะห์เดิมจะมาจากมักกะฮ์ แต่ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐ หลังจากอุมัยยะห์ถูกโค่นโดยรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะห์ก็ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่อัล-อันดะลุส (Al-Andalus) และก่อตั้งเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา ภายหลังจากที่ท่านอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ เคาะลีฟะฮ์รอชิดีนคนที่ 4 เสียชีวิต ท่านหะสัน อิบนุ อะลี บุตรของท่านอาลีได้รับเลือกตั้งเป็นเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป แต่ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ได้ไม่กี่เดือนก็ยอมสละตำแหน่งให้แก่ท่านมุอาวียะฮ์ อิบนุ อบี สุฟยาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในรัฐอิสลาม พร้อมกับหลีกเลี่ยงความแตกแยกและการสูญเสียเลือดระหว่างชาวมุสลิมด้วยกันมากกว่านี้ มุอาวิยะฮ์เป็นเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกในราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านสืบเชื้อสายจากตระกูลอุมัยยะห์ บุตรของอับดุซซัม ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ราชวงศ์อุมัยยะฮ์" ในสมัยการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านมุอาวียะฮ์ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากสาธารณรัฐเป็นราชอาณาจักร ท่านทำให้ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์กลายเป็นตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืบสันติวงศ์ ท่านได้ทรงแต่งตั้งยะซิด โอรสของท่านให้เป็นกษัตริย์ ต่อมาการแต่งตั้งแบบนี้ได้กลายเป็นตัวอย่างการแต่งตั้งเคาะลีฟะฮ์มาตลอดราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ทั้งรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้สร้างตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืบสันติวงศ์ขึ้นในประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม การปกครองแบบประชาธิปไตยระหว่างเผ่าของเคาะลีฟะฮ์ท่านก่อน ๆ ก็หมดสิ้นไป กลายเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิร.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา

รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา (خلافة قرطبة, Khilāfat Qurṭuba) ปกครองคาบสมุทรไอบีเรียและแอฟริกาเหนือจากเมืองกอร์โดบา ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชาง

ราชวงศ์ชาง (Shang dynasty) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์เซี่ย ปกครองดินแดนแถบแม่น้ำเหลืองเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนคริสตกาล บางครั้งเรียกว่า "ราชวงศ์อิน" (Yin dynasty) ราชวงศ์นี้เป็นยุคแห่งไสยศาสตร์โดยแท้ นิยมการเสี่ยงทายด้วยกระดองเต่ากันมาก จากหลักฐานที่ขุดได้ พบเป็นแผ่นจารึกตัวอักษรโบราณ และเศษกระดองเต่า มีรอยแตกอยู่ทั่วไป แสดงถึงความเชื่อในอำนาจแห่งสวรรค์ ถือว่าทุกสิ่ง สวรรค์เป็นผู้กำหนด ราชวงศ์ชางมีกษัตริย์ 30 องค์ กษัตริย์องค์สุดท้ายชื่อ พระเจ้าอินโจวหรือ โจ้ว (ติวอ๋อง) ซึ่งในประวัติศาสตร์ประณามไว้ว่า เป็นคนโหดร้ายทารุณมาก นิยมการสงคราม และหลงใหลในอิสตรี โดยเฉพาะสนมเอกชื่อ ต๋าจี หรือขันกี ซึ่งเป็นคนวิปริตผิดมนุษย์ คอยยุยงให้โจ้วฆ่าคนเป็นผักปลา สร้างสระเหล้าดงเนื้อขึ้น (เอาน้ำเหล้ามาใส่ในสระ แล้วเอาเนื้อสัตว์มาห้อยไว้ตามต้นไม้) ต่อมาโจวอู่หวัง เจ้าผู้ครองแคว้นโจวทางตะวันตก ได้ยกทัพมาปราบโจ้วอ๋อง โดยอ้างว่า ได้รับ "อาณัติ" หรือ "เทียนมิ่ง" จากสวรรค์ให้มาปราบ และได้ชัยชนะ โจ้วอ๋องจึงฆ่าตัวตายโดยกระโดดลงกองไฟ แต่จริง ๆ แล้ว นักประวัติศาสตร์ยังไม่แน่ใจนัก ว่าโจ้วอ๋องจะโหดร้ายเช่นนั้นจริงหรือไม่ เพราะไม่มีหลักฐานชัดเจน รวมทั้งเรื่องเกี่ยวกับต๋าจีด้วย เรื่องราวในตอนท้ายราชวงศ์ชางนี้ ได้มีการนำไปแต่งเป็นนิยายหลายเรื่อง หนึ่งในเรื่องนั้นก็คือ "นาจา" และ "เทพประยุทธ์พิชิตฟ้า" นั่นเอง และหนังสือพงศาวดารชื่อว่า "ฮ่องสิน" โดยจะเน้นหนักไปทางอิทธิปาฏิหาริย์เสียมาก หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:ราชวงศ์ชาง หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในศตวรรษที่ 16 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:สิ้นสุดในศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประวัติศาสตร์จีน.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์ชาง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ชิง

ราชวงศ์ชิง (พ.ศ. 2187 - 2455)(ภาษาแมนจู: 16px daicing gurun; ภาษาจีน:清朝; พินอิน: qīng cháo ชิงเฉา) หรือบางครั้งเรียกว่า ราชวงศ์แมนจู ปกครองแผ่นดินจีนต่อจากราชวงศ์หมิง และถือเป็นราชวงศ์สุดท้ายของประเทศจีน ตั้งแต..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์ชิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์กอญัร

ราชวงศ์กอญัร เป็นราชวงศ์ที่ปกครองอิหร่านในปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์กอญัร · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์การอแล็งเฌียง

ราชวงศ์กาโรแล็งเฌียง (หรือ ฌีแย็ง) (Carolingiens /ka.ʁɔ.lɛ̃,ʒjɛ̃/) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรแฟรงก์ในยุโรปหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน เป็นอาณาจักรที่นับถิอศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก สืบทอดอำนาจมาจากราชวงศ์เมโรแว็งเฌียง ราชวงศ์เมโรแว็งเฌียงเป็นราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรแฟรงก์ ก่อตั้งโดยพระเจ้าคลอวิสที่ 1 เมื่อพระองค์ขึ้นปกครองแคว้นกอทหรืออาณาจักรแฟรงก์ พระองค์หันไปนับถือศาสนาคริสต์และนำศาสนาคริสต์เข้ามาเผยแพร่ในอาณาจักร อย่างไรก็ตาม เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลง อำนาจทั้งหมดตกไปอยู่ในมือของขุนนางตระกูลคาโรลินเจียน โดยเฉพาะชาร์ล มาร์แตลที่สามารถยกกองทัพไปต้านทานการรุกรานของชาวมุสลิมจากคาบสมุทรไอบีเรีย ต่อมาใน พ.ศ. 1294 เปแปงร่างเตี้ยบุตรของชาร์ล มาร์เตลได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ล้มล้างราชวงศ์เมโรแว็งเฌียง ตั้งราชวงศ์กาโรแล็งเฌียงขึ้นมาใหม่ ทั้งนี้ สันตะปาปาได้ให้การสนับสนุนราชวงศ์ใหม่นี้ด้วย กษัตริย์ราชวงศ์นี้ได้ให้การอุปถัมภ์ศาสนาคริสต์และสนับสนุนอำนาจของสันตะปาปาจนทำให้สันตะปาปามีอำนาจทางโลกมากขึ้น จนในที่สุดสันตะปาปาลีโอที่ 3 ได้สถาปนาพระเจ้าชาร์เลอมาญพระราชโอรสของพระเจ้าเปแปงขึ้นเป็นจักรพรรดิของชาวโรมันในวันตริสต์มาส พ.ศ. 1343 จักรวรรดิแฟรงก์ในยุคของราชวงศ์กาโรแล็งเฌียงเริ่มเสื่อมสลายเมื่อจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาแบ่งดินแดนให้โอรส 3 พระองค์ตามสนธิสัญญาแวร์เดิง พ.ศ. 1386 หลังจากนั้น เมื่อถูกพวกไวกิ้งรุกราน การรวมศูนย์อำนาจจึงล่มสลาย อำนาจตกไปอยู่ในมือของพวกขุนนาง จนเข้าสูการปกครองระบอบฟิวดัลในที.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์การอแล็งเฌียง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์สุย

ราชวงศ์สุย (Sui Dynasty, ค.ศ. 581 – ค.ศ. 618) (37 ปี) เป็นราชวงศ์ที่ทรงอำนาจทางการทหารแต่มีระยะเวลาการปกครองที่ค่อนข้างสั้น สถาปนาขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 581 ภายหลังจากยุคสามก๊ก โดยจักรพรรดิสุยเหวินตี้(หยางเจียน) อดีตแม่ทัพแห่งราชวงศ์โจวเหนือ โดยในรัชกาลของพระองค์ทรงสามารถรวบรวมแผ่นดินจีนให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้ง แต่ราชวงศ์สุยมีอันต้องล่มสลายลงในปี ค.ศ. 617 ในรัชกาลจักรพรรดิสุยหยางตี้(หยางกว่าง) พระราชโอรสองค์รองของสุยเหวินตี้ ฮ่องเต้หยางเจียน ทรงดำเนินนโยบายอย่างแยบยล โดยการหล่อหลอมเอาวัฒนธรรมแต่ละแคว้นเข้าด้วยกัน เพื่อผสมผสานให้แต่ละแคว้นมีความเป็นปึกแผ่น หลังจากที่แตกสลายหลังสิ้นสุดราชวงศ์ฮั่น โดยมีการผสมผสานหลักการของศาสนาพุทธที่หยางเจียนนับถือ เข้ากับลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า แล้วนำมาพัฒนาเป็นการสร้างความมั่นคงให้แก่กฎหมายของราชวงศ์ โดยแม้ต่อมา ราชวงศ์ถังจะสถาปนาขึ้น ก็ยังรับเอาวัฒนธรรมการหล่อหลอมคำสอนศาสนามาใช้ต่อเนื่อง หลังจากนั้น ทรงดำเนินนโยบายให้ขุนนางในราชสำนักรวมไปถึงเชื้อพระวงศ์ได้แต่งงานกับชนเผ่าต่าง ๆ เพื่อเป็นการเจริญสัมพันธไมตรี เพราะโดยพื้นเพเดิมนั้น ทั้งหยางเจียนและพระมเหสี ก็ทรงเป็นตระกูลจีนแท้ผสมกับชนเผ่าเติร์กอยู่แล้ว หยางเจียนทรงดำเนินนโยบาย ขุดคลองต้ายุ่นเหอขนาดมหึมา ยาวกว่า 1,800 กิโลเมตร เชื่อมต่อกรุงปักกิ่ง ซึ่งอยู่ในจีนซีกเหนือ กับเมืองหางโจว ซึ่งเป็นจีนซีกใต้ เพื่อเป็นการเชื่อมแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซีเกียง เพื่อผูกขาดเศรษฐกิจของจีนให้เป็นหนึ่งเดียว รวมไปถึง การสร้างยุ้งฉางกักตุนสินค้าขนาดใหญ่โต เพื่อรองรับสินค้าเกือบตลอดแนวคลอง มีการริเริ่มการสอบจอหงวน เป็นครั้งแรก ทั่วราชอาณาจักร เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีความสามารถเข้ามารับราชการในตำแหน่งขุนนาง ทำให้แต่เดิม ที่ขุนนางจะมีเพียงแต่ชนชั้นสูงที่สืบทอดสกุลต่อกันมา ทำให้อาจจะมีแต่ตำแหน่งแต่ไร้ความสามารถ จึงได้ผู้ที่มีฝีมือและความรู้อย่างแท้จริง ซ้ำยังทำให้ประชาชนได้มีโอกาสมารับราชการในราชวัง นับว่าเป็นการลดการเหลื่อมล้ำทางสังคมอีกด้วย แต่ต่อมา เมื่อหยางกว่างขึ้นครองราชย์ ทรงประกาศสงครามกับชนเผ่าต่าง ๆ ทำให้ทรงขยายพื้นที่ทางด้านตะวันตกได้พอสมควร ซ้ำยังยกทัพไปบุกเกาหลีและแมนจู แต่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะด้วยประสบกับความหนาวเหน็บ ซ้ำยังไม่มีการควบคุมทัพที่ดีพอ ทำให้พ่ายศึก ตามพงศาวดารกล่าวไว้ว่า ซึ่งสุยหยางตี้บัญชาให้ยกทัพขนาดมหึมานี้ ถึง 4 ครั้ง ทำให้ราชวงศ์สุย เสียหายอย่างหนัก ด้วยเหตุนี้ จึงการการก่อจลาจลทั่วทุกหัวระแหง ที่ใหญ่ ๆ มี 3 กลุ่ม อันได้แก่ กองกำลังหวากัง นำโดยใจ๋หยางและหลี่มี่ กองกำลังเจียงไหว นำโดยตู้ฝูเว่ย และกองกำลังเหอเป่ย นำโดยโต้วเจี้ยนเต๋อ รวมไปถึงการก่อกบฏในราชสำนักเองอีกด้วย สุดท้าย สุยหยางตี้ถูกลอบปลงพระชนม์โดยพระประยูรฐาติของพระองค์ นำโดยอวี้เหวินฮั่วจี๋ ราชวงศ์สุยถึงกาลอาวสาน เมื่อปีพ.ศ. 1161.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์สุย · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หมิง

ราชวงศ์หมิง หรือ ราชวงศ์เบ๋ง (ฮกเกี้ยน) หรือ ราชวงศ์เม้ง (แต้จิ๋ว) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิต้าหมิง เป็นราชวงศ์ที่ปกครองจักรวรรดิจีน ระหว่าง พ.ศ. 1911 (ค.ศ. 1368) ถึง พ.ศ. 2187 (ค.ศ. 1644) ดำรงอยู่เป็นเวลารวม 276 ปี โดยปกครองต่อจากราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล และพ่ายแพ้ให้กับราชวงศ์ชิงของชาวแมนจูในภายหลัง ราชวงศ์หมิงเป็นราชวงศ์ที่รุ่งเรืองในด้านวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก ในยุคนี้มีการสำรวจทางทะเลอย่างกว้างขวาง ราชวงศ์หมิงในตอนต้น (1368 - 1464) ถือเป็นอาณาจักรที่ก้าวหน้าที่สุดในโลก ณ ช่วงเวลานั้น ราชวงศ์หมิงถือเป็นหนึ่งในยุคที่ถูกจัดโดยนักวิชาการชาวตะวันตกว่ามีการปกครองที่เป็นระบบและสังคมที่มีเสถียรภาพในประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติก่อนที่จะล่มสลาย ราชวงศ์หมิงถือเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศจีนราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองโดยชาวฮั่น ปฐมจักรพรรดิต้าหมิง จูหยวนจาง หรือ จักรพรรดิหงหวู่ หลังจากที่ได้ทรงประกาศปลดแอกชาวฮั่นจากภายใต้การปกครองของราชวงศ์หยวนของชาวมองโกล ได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น พระองค์ได้ทรงพยายามปฏิรูปการปกครองอาณาจักรเสียใหม่ ทรงพยายามสร้างระบบสังคมชุมชนชนบทแบบพึ่งพาตนเอง ปฏิรูประบบราชการ, กฎหมาย จักรพรรดิหงหวู่ได้สร้างระบบที่เป็นระเบียบที่ยืดหยุ่นเปลี่ยนแปลงได้ที่จะสามารถรองรับและสนับสนุนการทหารของราชวงศ์หมิงอย่างยั่งยืน ทำให้ด้านการทหารในช่วงนั้นราชวงศ์หมิงประสบความสำเร็จมีกองทัพภาคพื้นดินเกินกว่า 1 ล้านคนและกองทัพเรือมีอู่ต่อเรือที่หนานจิงเป็นอู่ต่อเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกในขณะนั้น พระองค์ยังได้ทรงตระหนักถึงการลดทอนอำนาจของเหล่าขันทีในราชสำนักCrawford, Robert.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์หมิง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หยวน

ตแดนของจักรวรรดิจีนสมัยราชวงศ์หยวน เครื่องปั้นดินเผา สมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หยวน (หยวนเฉา) (พ.ศ. 1814 - 1911) คือหนึ่งในราชวงศ์ของจักรวรรดิจีน ก่อตั้งขึ้นเมื่อกุบไลข่านผู้นำเผ่าชาวมองโกล ได้โค่นอำนาจราชวงศ์ซ่งลง แล้วเปิดศักราชชาวมองโกลครองประเทศจีน ชาวมองโกลได้เข้ายึดครองภาคเหนือของจีนเป็นเวลากว่าทศวรรษ ได้มีความพยายามเปลี่ยนเป็นจีน ตั้งแต่สมัย มองเกอ ข่าน พระเชษฐาของกุบไลข่าน แต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งในสมัยของกุบไลข่าน ในปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์หยวน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หยวนเหนือ

ราชวงศ์หยวนเหนือ (Northen Yuan dynasty) ราชวงศ์ที่ถูกสถาปนาขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์หยวนเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์หลิวซ่ง

ราชวงศ์หลิวซ่ง (Liu Song Dynasty, 963 - 1022) หนึ่งในสี่ราชวงศ์แห่ง ยุคราชวงศ์ใต้ ใน ยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ ปกครองประเทศจีนระหว่าง พ.ศ. 963 - พ.ศ. 1022 โดยมี จักรพรรดิหลิวซ่งอู่ เป็นปฐมจักรพรรดิ จักรพรรดิราชวงศ์นี้สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ฮั่นโดยสืบสันติวงศ์มาจากฉู่อ๋องเล่าเจี้ยวพระอนุชาของฮั่นโกโจฮ่องเต้ ราชวงศ์หลิวซ่งสถาปนาขึ้นภายหลังการล่มสลายของ ราชวงศ์จิ้นตะวันออก หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์จีน.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์หลิวซ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่น

มเด็จพระจักรพรรดิฮั่นเกาจู ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น เขตแดนของราชวงศ์ฮั่นสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิฮั่นอู่ตี้ ราชวงศ์ฮั่น (ภาษาจีน: 漢朝 พ.ศ. 337 - พ.ศ. 763) เป็นราชวงศ์จีนที่ปกครองต่อจากราชวงศ์ฉิน.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์ฮั่น · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง

ราชวงศ์โฮ่วฮั่น (ค.ศ. 947 - 950) เป็นราชวงศ์ที่ 4 ในยุคห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร ปกครองจีนอยู่เพียง 3 ปี และมีจักรพรรดิปกครองเพียง 2 พระองค์คือ จักรพรรดิเกาจู่แห่งโฮ่วฮั่น และจักรพรรดิฮั่นหยินตี้ ก่อนเสียเอกราชให้กับจักรพรรดิโจวไท่จู่ แห่งราชวงศ์โฮ่วโจว หมวดหมู่:ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์จาลุกยะ

ราชวงศ์จาลุกยะ (กันนาดา: ಚಾಲುಕ್ಯರು, Chalukya dynasty) คือราชวงศ์อินเดียผู้ปกครองดินแดนอันกว้างใหญ่ในอินเดียใต้และอินเดียกลางระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 แม้ว่าความเห็นในเรื่องต้นกำเนิดของราชวงศ์จาลุกยะจะมีด้วยกันหลายทฤษฎีแต่โดยทั่วไปแล้วต่างก็เห็นพ้องกันว่าผู้ก่อตั้งจักรวรรดิที่บาดามีเป็นผู้ที่มาจากบริเวณรัฐกรณาฏกะN.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์จาลุกยะ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์จิน

ราชวงศ์จิน เป็นราชวงศ์ที่ถูกก่อตั้งโดยชนเผ่าหนี่เจิน ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของพวกแมนจู ในปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์จิน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์จิ้นยุคหลัง

ราชวงศ์จิ้นยุคหลัง (Later Jin Dynasty) ราชวงศ์ที่ 3 ใน ยุคห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร สถาปนาโดยจักรพรรดิจิ้นเกาจู่ (สือจิ้งถัง) เชื้อพระวงศ์องค์หนึ่งในราชวงศ์โฮ่วถัง โดยมีเมืองไคฟงเป็นเมืองหลวง ราชวงศ์นี้มีจักรพรรดิปกครองเพียง 2 พระองค์คือ จักรพรรดิจิ้นเกาจู่ และจักรพรรดิจิ้นฉู่ตี้ และปกครองจีนอยู่เพียง 11 ปี ก่อนเสียเอกราชให้กับจักรพรรดิเกาจู่ (หลิวจื้อหยวน) แห่งราชวงศ์โฮ่วฮั่น หมวดหมู่:ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์จิ้นยุคหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์จิ้นตะวันออก

การล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ทำให้แผ่นดินจีนตกอยู่ในภาวะแตกเป็นเสี่ยง ๆ ราชสำนักจิ้นย้ายฐานที่มั่นทางการปกครองและเมืองหลวงลงไปทางใต้ สถาปนาราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ.317-420) ขณะที่สถานการณ์ทางตอนเหนือวุ่นวายหนัก แผ่นดินที่แตกออกเป็นแว่นแคว้น ที่ปกครองโดยชนกลุ่มน้อยจากชนเผ่าต่างๆ ผลัดกันรุกรับ ผ่านการล้มล้างแล้วก่อตั้งครั้งแล้วครั้งเล่า สู่การหลอมรวมทางชนชาติครั้งใหญ่ของจีน สำหรับห้าชนเผ่าในที่นี้ได้แก่ ซงหนูเซียนเปย เจี๋ยตี เชียง 16 แคว้น และเมื่อรวมกับแว่นแคว้นที่สถาปนาโดยชาวฮั่นแล้ว ได้แก่ เฉิงฮั่น ตี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์จิ้นตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์จิ้นตะวันตก

ราว ๆ ช่วง..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์จิ้นตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ถัง

ราชวงศ์ถัง (พ.ศ. 1161-1450) ราชวงศ์นี้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้จีนอย่างมาก ทั้งด้านศิลปกรรม วัฒนธรรม และอีกหลาย ๆ ด้าน หลี่ยวนได้ตั้งตัวเองเป็น จักรพรรดิถังเกาจู่ หลังจากรวมแผ่นดินให้เป็นปึกแผ่นแล้ว ก็เกิดการแย่งชิงตำแหน่งรัชทายาทขึ้น ระหว่างโอรสหลี่เจี้ยนเฉิง หลี่ซื่อหมิน และหลี่หยวนจี๋ หลี่ซื่อหมินนั้น มีความดีความชอบมาก เนื่องจากรบชนะมาหลายครั้ง ต่อมา ถังเกาจู่ก็สละราชสมบัติ ตั้งตนเองเป็นไท่ช่างหวง ราชวงศ์ถังปกครองประเทศนานถึง 289 ปีตั้งแต..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์ถัง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ถังยุคหลัง

ราชวงศ์โฮ่วถัง (Later Tang Dynasty) (ค.ศ. 923 - 936) เป็นราชวงศ์ที่ 2 ในยุคห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร สถาปนาโดย จักรพรรดิถังซวงจง (หลี่คุนซู) เมื่อ..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์ถังยุคหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ทอเลมี

ทอเลมีที่ 1ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ทอเลมี ราชวงศ์ทอเลมี (Πτολεμαῖοι หรือ Λαγίδαι, Ptolemaic dynasty หรือ Lagids) หรือบางครั้งก็เรียกว่า ราชวงศ์ลากิดส์ ซึ่งมาจาก ลากัส ชื่อของพระราชบิดาของทอเลมีที่ 1 ราชวงศ์ทอเลมีเป็นราชวงศ์กรีก ผู้ปกครองจักรวรรดิทอเลมีในอียิปต์ระหว่างสมัยกรีก ราชวงศ์ทอเลมีรุ่งเรืองอยู่เกือบ 300 ปี จากตั้งแต่ 305 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนถึง 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทอเลมี หนึ่งในองครักษ์เจ็ดคนผู้รับราชการเป็นนายพลและผู้ช่วยภายใต้อเล็กซานเดอร์มหาราช ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงของอียิปต์ หลังจากที่อเล็กซานเดอร์เสด็จสวรรคตในปี 323 ก่อนคริสต์ศักราช ในปี 305 ก่อนคริสต์ศักราช ทอเลมีก็ประกาศตนเป็นพระเจ้าทอเลมี และต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “โซเตอร์” ที่แปลว่าผู้มาช่วย ต่อมาชาวอียิปต์ก็ยอมรับราชวงศ์ทอเลมีว่าเป็นราชวงศ์ที่สืบการเป็นฟาโรห์ของอียิปต์ ราชวงศ์ทอเลมีปกครองอียิปต์จนมาถูกพิชิตโดยโรมัน ในปี 30 ก่อนคริสต์ศักราช ประมุขผู้เป็นชายทุกองค์ใช้ชื่อทอเลมี ที่เป็นสตรีบางคนก็เป็นพระขนิษฐาของพระราชสวามีมักจะใช้ชื่อ “คลีโอพัตรา” หรือ “อาร์ซิโนเอ” หรือ “เบเรนิเซ” สมาชิกคนสำคัญที่สุดของราชวงศ์คือ พระราชินีองค์สุดท้ายคลีโอพัตราที่ 7 ที่เป็นที่รู้จักกันจากการมีบทบาทในความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์ และ ปอมเปย์ และต่อมาระหว่าง อ็อคเตเวียน และ มาร์ก แอนโทนี การฆ่าตัวตายคลีโอพัตราเป็นการสิ้นสุดการครองอียิปต์ของราชวงศ์ทอเลมี.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์ทอเลมี · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ตองอู

ราชวงศ์ตองอู (Toungoo Dynasty; တောင်ငူခေတ်) ราชวงศ์ที่ 2 ในประวัติศาสตร์พม่า ภายหลังจากราชวงศ์พุกาม ราชวงศ์แรกล่มสลายลงจากการรุกรานของชาวมองโกลโดยกุบไลข่าน พระเจ้าเมงจีโย ได้รวบรวมชาวพม่าที่หลงเหลืออยู่อย่างกระจัดกระจาย โดยสถาปนาเมืองตองอูขึ้นเป็นราชธานี เพราะเป็นเมืองที่อยู่ในขุนเขาซึ่งเป็นปราการที่เข้มแข็ง ตองอูเข้มแข็งขึ้นมารัชสมัยของ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ พระโอรสของพระองค์ที่ขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรขยายไปรอบด้าน เช่น แปร, พะสิม อังวะ, ยะไข่ และที่สำคัญที่สุดคือ หงสาวดี อันเป็นอาณาจักรเดิมของมอญ ซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญของพม่า ยุคสมัยของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้ครอบคลุมอาณาจักรพม่าทั้งตอนบนและตอนล่างลุ่มน้ำอิระวดี อีกทั้งได้บุคลากรที่สำคัญ เช่น มหาอุปราชาบุเรงนอง, เมงเยสีหตู ร่วมกันสร้างอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่ เข้มแข็ง และได้ย้ายเมืองหลวงจากตองอูมายังหงสาวดี ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ เมืองต่าง ๆ ที่เคยขึ้นต่ออาณาจักร ก็แข็งเมืองไม่ยอมขึ้นตรงต่อไป มีกบฏเกิดขึ้นมากมาย มหาอุปราชาบุเรงนองต้องใช้เวลาปราบปรามอยู่ราวอีก 2-3 ปี จึงจะได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง ได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรตองอู ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยครอบคลุมตั้งแต่ลุ่มน้ำอิระวดี ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไปจรดถึงลุ่มน้ำโขงในลาว มีเมืองเป็นประเทศราชต่าง ๆ มากมาย เช่น เชียงใหม่, ฉาน, อยุธยา, ล้านช้าง, กัมพุช เป็นต้น จนได้การขนานพระนามว่าเป็น "พระเจ้าชนะสิบทิศ" แต่ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบุเรงนอง ศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรถูกสั่นคลอน เนื่องจากการปกครองอย่างแข็งกร้าว ไร้ไมตรีของพระเจ้านันทบุเรง พระราชโอรสของพระองค์ เมืองที่เคยขึ้นเป็นประเทศราชต่าง ๆ ต่างแข็งเมืองและได้ประกาศอิสรภาพ ทำสงครามรบพุ่งกันตลอดมา เช่น แปร, อังวะ, อยุธยา เป็นต้น ในที่สุดเมืองทั้งหลายเหล่านี้ก็แตกแยกกระจัดกระจายออกไป และภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้านันทบุเรง ราชวงศ์ตองอูก็ยังได้สืบราชสมบัติต่อมา แต่ไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดที่เข้มแข็งพอที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำกอบกู้อาณาจักรขึ้นมา แม้นจะมีความพยายามจากพระเจ้าอโนเพตลุน ราชนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งเรียกกันว่า "ยุคนยองยาน" (Nyaungyan Dynasty) แต่ก็สำเร็จเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากยุคนี้แล้ว มอญสามารถตั้งตัวได้และขึ้นมาเป็นใหญ่แทน ก่อนที่ทางพม่าจะสถาปนาศูนย์กลางอำนาจขึ้นมาอีกครั้งในสมัยพระเจ้าอลองพญา ในทางวิชาการ นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งราชวงศ์ตองอูไว้เป็น 2 ยุค คือ ราชวงศ์ตองอูตอนต้น กินระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2029 - พ.ศ. 2142 คือตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าเมงจีโยจนถึงพระเจ้านันทบุเรง และราชวงศ์ตองอูตอนปลายหรือยุคหลัง ตั้งแต่ พ.ศ. 2140 - พ.ศ. 2295 ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้านยองยานจนถึงการสถาปนาอำนาจขึ้นมาของพระเจ้าอลองพญ.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์ตองอู · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ตีมูร์

ราชวงศ์ตีมูร์ หรือ จักรวรรดิตีมูร์ (Timurid dynasty, تیموریان ตั้งตนเป็นGurkānī, گوركانى) เป็นราชวงศ์หนึ่งของจักรวรรดิเปอร์เชียของซุนนีย์มุสลิมในเอเชียกลางที่เดิมมาจากผู้สืบเชื้อสายจากราชวงศ์เติร์ก-มองโกล (Turko-Mongol)Encyclopædia Britannica, "", Online Academic Edition, 2007.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์ตีมูร์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ฉิน

เขตแดนราชวงศ์ฉิน ราชวงศ์ฉิน (Qin Dynasty; 秦朝) หรือจิ๋น เป็นราชวงศ์ที่ปกครองแผ่นดินจีนระหว่าง พ.ศ. 323–พ.ศ. 338 (221 ปีก่อนค.ศ. – 207 ปีก่อนค.ศ.) ก่อนหน้านี้จีนได้แตกแยกออกเป็น 7 รัฐและทำสงครามกันอยู่เนืองๆ ต่อมากษัตริย์แห่งรัฐฉินได้ทำสงครามรวบรวมแผ่นดินให้เป็นหนึ่งเดียว และสถาปนาตนเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฉินโดยใช้พระนามว่า ฉินสื่อหวงตี้ คนไทยจึงออกเสียงเพี้ยนเป็น จิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ จิ๋นซีฮ่องเต้ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 322–พ.ศ. 333 ในช่วงนี้แผ่นดินจีนมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาก แต่เมื่อจิ๋นซีฮ่องเต้เสด็จสวรรคต ราชวงศ์ฉินก็สั่นคลอนอย่างหนัก และล่มสลายลงใน พ.ศ. 337 อ๋องแห่งรัฐฉิน ได้รวมประเทศจีนเป็นหนึ่งเดียวเป็นครั้งแรก และสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิ (ฮ่องเต้) คือ จิ๋นซีฮ่องเต้ หรือ ฉินซีฮ่องเต้ นั่นเอง นครหลวงอยู่ที่เมืองเสียนหยาง (หรือซีอานในปัจจุบัน) ฉินอ๋องได้หาชื่อใหม่ให้ตนเอง เนื่องจากเห็นว่า ตนสามารถรวบรวมแผ่นดินเป็นปึกแผ่นได้ คำว่า อ๋อง ไม่ยิ่งใหญ่พอ จึงได้เลือกคำว่า หวงตี้ (ฮ่องเต้) ซึ่งแปลว่า "เจ้าแผ่นดิน หวาง หรือ อ๋อง แปลว่า เจ้า ตี๋ลี่ หรือ ตี้ แปลว่า แผ่นดิน" มาใช้ แล้วเรียกชื่อตน ตามชื่อราชวงศ์ว่า ฉินซีฮ่องเต้ ฮ่องเต้เรียกตัวเองว่า "เจิ้น" (เดิมเรียกว่า "กู") เป็นการเปิดฉากโอรสแห่งสวรรค์ครองเมือง มีการปฏิรูประบบตัวอักษร ระบบชั่ง, ตวง, วัด (เช่น เพลารถ) ให้เหมือนกันทั้งประเทศ (สำหรับตัวอักษรนั้น อ่านออกเสียงต่างกันได้ แต่จะต้องเขียนเหมือนกัน เช่นเลข 1 เขียนด้วยขีดแนวนอนขีดเดียว จีนกลางออกเสียงว่า "อิ๊" แต่แต้จิ๋วอ่านว่า "เจ๊ก") และแบ่งการปกครองเป็นระบบจังหวัด, อำเภอ นับเป็นผลงานอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ ต่อมาฉินซีฮ่องเต้ได้ให้ขุนศึกเหมิงเถียนหรือเม่งเถียน ยกทัพไปปราบชนเผ่าซ่งหนู (เฉียนหนู) แล้วก่อสร้างกำแพงเมืองจีนขึ้น เพื่อป้องกันการรุกรานของอนารยชน ฉินซีฮ่องเต้ ได้ชื่อว่า เป็นทรราชที่โหดร้ายทารุณมาก ปกครองด้วยความเฉียบขาด อำมหิต กล่าวกันว่า แค่มีคนจับกลุ่มคุยกัน ก็จะถูกจับไปประหารทันที ข้อหาให้ร้ายราชสำนัก มีการยัดเยียดข้อหาแล้วประหารทั้งโคตร การประหารมีทั้งตัดหัว, ตัดหัวเสียบประจาน หรือ "ห้าม้าแยกร่าง" (เอาเชือกมัดแขนขาไว้กับม้าหรือรถม้า 5 ทิศ แล้วให้ม้าควบไป ฉีกร่างออกเป็นชิ้นๆ) และกรณีที่อื้อฉาวมากคือ การเผาตำราสำนักขงจื๊อ แล้วจับบัณฑิตสำนักขงจื๊อสังหารหมู่ ด้วยการเผาทั้งเป็น, ฝังทั้งเป็น หรือฝังดินแล้วตัดหัว แม้แต่รัชทายาทฝูซู (พระโอรสองค์โต) ยังถูกเนรเทศไปชายแดน ไป "ช่วย" เหมิงเถียนสร้างกำแพงเมืองจีน ด้วยข้อหา ขัดแย้งกับพระองค์ จึงมีคนหาทางปลงพระชนม์ตลอดเวลา แม้แต่พระสหายที่สนิทก็ตาม นอกจากนี้ พระองค์ยังกลัวความตายมาก พยายามเสาะแสวงหายาอายุวัฒนะมาทุกวิถีทาง แต่สุดท้าย ฉินซีฮ่องเต้ก็ป่วยหนัก และสิ้นพระชนม์ลง ในระหว่างที่ออกตามหายาอายุวัฒนะ ในแดนทุรกันดารนั่นเอง และได้มีพระราชโองการเรียกฝูซู รัชทายาทกลับมา เพื่อสืบราชบัลลังก์ (โอรสองค์นี้มีนิสัยอ่อนโยนกว่าบิดา และยังเก่งกาจอีกด้วย จึงเป็นที่คาดหวังจากราษฎรเป็นอย่างมาก) แต่หูไห่ โอรสอีกองค์ ได้ร่วมมือกับเจ้าเกา ขันทีและอัครเสนาบดี และหลี่ซือ ปลอมราชโองการ ให้ฝูซูและเหมิงเถียนฆ่าตัวตาย แล้วตั้งหูไห่เป็นฮ่องเต้องค์ถัดมา เรียกว่า พระเจ้าฉินที่สอง หรือฉินเอ้อซื่อ ซึ่งเป็นฮ่องเต้ที่โหดเหี้ยม แต่ไร้สามารถ ผิดกับพระบิดา แถมยังอยู่ใต้การชักใยของขันทีเจ้าเกา ทำให้ราชวงศ์ฉินล่มจม หูไห่ได้ใช้เงินทองจำนวนมหาศาล ในการก่อสร้างสุสานของฉินซีฮ่องเต้ และยังรีดภาษีจากราษฎรอีก ทำให้ประชาชนก่อกบฏขึ้น ในเวลานั้น มีกบฏอยู่หลายชุด มีข้อตกลงกันว่า หากใครบุกเข้าทางกวนจง ของราชวงศ์ฉินได้ก่อน จะได้เป็นใหญ่ หลิวปัง ได้ก่อกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉินขึ้น และได้ผู้ช่วยมือดีมา 3 คน คือ หานซิ่น จางเหลียง และเซียวเหอ มาช่วยในการวางแผนรบ และประสานงานต่างๆ จึงโค่นราชวงศ์ฉินลงได้ โดยเจ้าเกาได้ฆ่าหลี่ซือ ปลงพระชนม์หูไห่ แล้วตั้งจื่ออิง หลานของหูไห่เป็นฮ่องเต้แทน แต่เจ้าเกาก็ถูกจื่ออิงฆ่าตาย จื่ออิงยอมสวามิภักดิ์ต่อหลิวปัง เวลาเดียวกัน เซี่ยงอี้ ได้ละเมิดข้อตกลง โดยตั้งตัวเป็นซีฉู่ป้าอ๋อง หรือฌ้อป้าอ๋อง (แปลว่า อ๋องแห่งแคว้นฉู่ ที่ยิ่งใหญ่เหนืออ๋องอื่นๆ ว่ากันว่า เซี่ยงอี้นิยมสงคราม และคิดจะทำให้แผ่นดินแตกแยก กลับไปสู่ยุคจ้านกว๋ออีกครั้ง) เซี่ยงอี้ได้เผาพระราชวังอาฝางกงของฉินซีฮ่องเต้ ปลงพระชนม์จื่ออิง แล้วสู้รบกับหลิวปัง การสู้รบได้ยืดเยื้ออยู่นาน เซี่ยงอี้คิดจะแบ่งแผ่นดินปกครองกับหลิวปัง แต่ในที่สุด หลิวปังได้ยกทัพเข้าสู้รบขั้นเด็ดขาด ทำให้เซี่ยงอี้ต้องฆ่าตัวตายในที่สุด เรื่องราวสมัยราชวงศ์ฉิน มีอยู่ในวรรณกรรมไซ่ฮั่น ซึ่งกล่าวถึงการสิ้นสุดราชวงศ์ฉินและการสถาปนาราชวงศ์ฮั่น ปัจจุบัน ราชวงศ์ฉินได้รับการยอมรับจากนักประวัติศาสตร์ให้เป็นราชวงศ์แรกของจีน ด้วยมีหลักฐานทางโบรารคดีและประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการมากที่สุดและแผ่นดินก็ยงได้ถูกรวมเป็นหนึ่งครั้งแรก และยกให้ จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีนด้วย ด้วยคำว่า "China" ในภาษาอังกฤษ หรือคำว่า "จีน" ในภาษาไทยก็ล้วนเพี้ยนมาจากคำว่าฉินนี้ทั้งสิ้น หมวดหมู่:อาณาจักรโบราณ หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:ราชวงศ์ฉิน หมวดหมู่:ยุคเหล็ก หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 323 หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่สิ้นสุดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:สิ้นสุดในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์ฉิน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ซัฟฟาริด

ราชวงศ์ซาฟฟาริยะห์ (سلسله صفاریان, Saffarid dynasty) เป็นจักรวรรดิเปอร์เชีย ที่ปกครองในซิสถาน (Sistan) ระหว่างปี ค.ศ. 861 และรุ่งเรืองมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1003 ในบริเวณประวัติศาสตร์ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของอิหร่าน และทางด้านตะวันตกเฉียงใต้ของอัฟกานิสถาน โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ซารันจ์ (Zaranj) ราชวงศ์ซาฟฟาริยะห์ก่อตั้งโดย และได้ชื่อมาจากยะอกูป อิบนุ ลัยษ อัส-ซาฟฟาร์ (یعقوب لیث صفاری - Ya'qub bin Laith as-Saffar) ผู้มาจากชนชั้นรองในสังคมที่เริ่มจากการเป็นช่างทองแดง และค่อยสร้างฐานะจนกลายเป็นขุนศึก (warlord) ยะอกูปยึดอำนาจในบริเวณซิสถาน และยึดอัฟกานิสถานได้ทั้งหมด, อิหร่านปัจจุบัน และบางส่วนของปากีสถาน และมาใช้ซารันจ์เป็นฐานในการขยายดินแดนครั้งใหญ่ไปทางตะวันออกและตะวันตก ต่อมายะอกูปก็โค่นราชวงศ์ทาฮิริยะห์ (Tahirid dynasty) และผนวกบริเวณเกรตเตอร์โคราซาน (greater Khorasan) ในปี ค.ศ. 873 เมื่อเสียชีวิตยะอกูปก็พิชิตดินแดนต่างๆ ได้มากมายที่รวมทั้งหุบเขาคาบูล (Kabulistan) สินธ์, ตอคาริสถาน (Tocharistan), มาครัน (บาโบคิสถาน), เคอร์มัน, ฟาร์ส, โคราสถาน จนเกือบถึงแบกแดด แต่ก็มาได้รับความพ่ายแพ้ จักรวรรดิซาฟฟาริยะห์รุ่งเรืองอยู่เพียงระยะเวลาอันสั้นหลังจากการเสียชีวิตของยะอกูป อัมร บิน ลัยษ (عمرو لیث صفاری - Amr bin Laith) ผู้เป็นผู้นำต่อจากพี่ชายพ่ายแพ้ต่อราชวงศ์ซามานิยะห์ (Samanids) ในปี ค.ศ. 900 อัมรจึงจำต้องยกดินแดนทั้งหมดให้แก่ผู้ชนะคนใหม่ ต่อมาอาณาบริเวณของซาฟฟาริยะห์ก็จำกัดอยู่แต่ในบริเวณใจกลางของซิสถานและต้องลดฐานะลงเป็นเพียงรัฐบริวารของราชวงศ์ซามานิยะห์และผู้มีอำนาจต่อม.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์ซัฟฟาริด · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ซาฟาวิด

ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ (صفویان; صفوی‌لر; სეფიანთა დინასტია; Safavid dynasty) เป็นหนึ่งในราชวงศ์ที่ปกครองอิหร่านในอดีต ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ปกครองจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่ที่สุดจักรวรรดิหนึ่งตั้งแต่การพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียของอิสลาม (Islamic conquest of Persia) เป็นต้นมา และเป็นผู้ก่อตั้ง “Ithnāˤashari” (อิมามชีอะหฺ) R.M. Savory, Safavids, Encyclopedia of Islam, 2nd edition ซึ่งเป็นลัทธิทางการของจักรวรรดิ ซึ่งเป็นจุดสำคัญของประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์มาจากหลายเผ่าพันธุ์ (ชาวอาเซอร์ไบจาน,ชาวเซอร์คาสเซียน/ชาวจอร์เจียRUDI MATTHEE, "GEORGIANS IN THE SAFAVID ADMINISTRATION" in Encyclopedia Iranica, ชาวกรีก,ชาวเคิร์ด) และมีอำนาจปกครองอิหร่านระหว่างปี ค.ศ. 1501/ค.ศ. 1502 มาจนถึงกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1722 ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์มีรากฐานมาจากการก่อตั้งลัทธิซูฟีย์ (Safaviya sufi order) ในเมืองอาร์ดาบิล (Ardabil) ในบริเวณอาเซอร์ไบจานของอิหร่าน จากนั้นราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ก็ขยายอิทธิพลออกไปอย่างกว้างขวางจนสามารถครอบครองจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด และริเริ่มการก่อตั้งวัฒนธรรมของความเป็นอิหร่านในบริเวณที่ปกครอง ราชวงศ์ซาฟาวิยะห์จึงกลายเป็นราชวงศ์แรกของอิหร่านตั้งแต่ซาสซานิยะห์ที่เริ่มการรวบรวมอิหร่านเข้าเป็นรัฐที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แม้ว่าการปกครองของราชวงศ์ซาฟาวิยะห์จะสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1736 แต่ก็ได้ทิ้งร่องรอยมาจนถึงสมัยปัจจุบันโดยการก่อตั้งและเผยแพร่ชีอะหฺในบริเวณส่วนใหญ่ของคอเคซัส และเอเชียตะวันออกและโดยเฉพาะในอิหร่านเอง.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์ซาฟาวิด · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ซิน

ราชวงศ์ซิน ถูกสถาปนาโดย จักรพรรดิซินเกาจู่ หรือ หวังหมั่ง (พ.ศ. 543 - 567) ซึ่งสืบเชื้อสายจากขุนนางสกุลหวังในรัชสมัย จักรพรรดิฮั่นเฉิงตี้ เมื่อจักรพรรดิหยูจื่ออิงจักรพรรดิองค์ที่ 12 องค์สุดท้ายแห่ง ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนม์เพียง 7 พรรษา หวังหมั่งในฐานะ อัครมหาเสนาบดี จึงใช้โอกาสนี้ปลดหยูจื่ออิงออกจากราชสมบัติและสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิซินเกาจู่ ตลอดรัชกาลเป็นรัชกาลที่อ่อนแอและเหี้ยมโหด เมื่อซินเกาจู่สวรรรคตลงในปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์ซิน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ซ่ง

ราชวงศ์ซ่ง ตามสำเนียงกลาง หรือ ซ้อง ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นหนึ่งในราชวงศ์ซึ่งปกครองประเทศจีนอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1503 ถึง ปีพ.ศ. 1822 รัฐบาลซ่งเป็นรัฐบาลแรกในโลกที่ใช้เงินตราแบบกระดาษ เจ้า ควงอิ้น ได้ชื่อว่า พระเจ้าซ่งไท่จู่ ได้พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมขึ้นมาใหม่ แต่กลับตัดทอนอำนาจทางการทหาร ของแม่ทัพ เนื่องจากความระแวง กลัวจะยึดอำนาจ ทำให้การทหารอ่อนแอ อย่างไรก็ดี ในราชวงศ์นี้ ศิลปกรรมและวัฒนธรรมรุ่งเรืองมาก การศึกษาของประชาชนดีขึ้น และเปาบุ้นจิ้น ก็ได้มาเกิดในยุคในสมัยของจักรพรรดิซ่งเหรินจง ซึ่งเป็นยุคที่ฮ่องเต้อ่อนแอ อำนาจอยู่ในมือพวกกังฉิน ท่านตัดสินคดีอย่างยุติธรรม และเด็ดขาด ไม่เกรงหน้าอินทร์หน้าพรหมใดๆ จนเป็นที่เลื่องลือมาถึงปัจจุบัน ในสมัยราชวงศ์ซ่ง จีนถูกรุกรานโดยชนเผ่าต่างๆ คือ พวกเซี่ย พวกชิตัน (เมืองเหลียว) จึงมีศึกอยู่ตลอดมา แถมยังต้องยอมเซ็นสัญญาสงบศึกกับ "คนป่าเถื่อน" ต้องส่งบรรณาการให้ ทำให้การเงินไม่คล่องตัว จนมีนักปฏิรูปชื่อ "หวังอั้นจี่" ออกกฎหมายมาควบคุมการใช้เงิน ของบรรดาเชื้อพระวงศ์ แต่สุดท้าย ก็ต้องยกเลิก เพราะไปขัดผลประโยชน์เจ้าใหญ่นายโต ครั้นต่อมา มีชนเผ่าจินหรือกิม (บรรพบุรุษของแมนจู) เข้ามาตี และเนื่องจากมีขุนนางกังฉิน ไปเข้ากับศัตรู (ดังเช่น ฉินไคว่ กังฉินชื่อดัง ซึ่งใส่ความแม่ทัพงักฮุย และสังหารงักฮุยกับลูกชายเสีย ทำให้ชาวจีนเคียดแค้นชิงชังอย่างยิ่ง) บวกกับการทหารที่อ่อนแออยู่แล้ว (ผสมกับฮ่องเต้ที่ไร้สามารถ หูเบา เชื่อฟังกังฉิน) ทำให้พวกจินสามารถบุกจนถึงเมืองไคฟง (เมืองหลวง) จึงต้องย้ายเมืองหลวง ไปอยู่ทางทิศใต้ มีชื่อเรียกว่า ซ่งใต้ ซึ่งพวกจินก็ยังตามล้างผลาญตลอด แต่ต่อมา ในที่สุด พวกจิน, เซี่ยกับชิตันก็ถูกมองโกล ซึ่งนำโดย เจงกิสข่าน (เตมูจิน) เข้าตี แล้วหันมาตีจีนต่อจนถึงปักกิ่ง หลังจากนั้น กุบไลข่าน หลานปู่ของเจงกิสข่าน ได้โจมตีราชวงศ์ซ่งใต้ โดยได้ความร่วมมือจากขุนนาง และทหารของราชวงศ์ซ่งบางคน ที่กลับลำหันมาช่วยเหลือมองโกล โจมตีพวกของตัวเอง จนสิ้นราชวงศ์ในที่สุด แล้วกุบไลข่านจึงตั้งราชวงศ์หยวนขึ้นมาแทน.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์ซ่ง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์นันทะ

ักรวรรดินันทะในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าธนนันทะราว 323 ปีก่อนคริสต์ศักราช ราชวงศ์นันทะ หรือ จักรวรรดินันทะ (Nanda Dynasty) มีรากฐานมาจากแคว้นมคธของอินเดียที่รุ่งเรืองระหว่างศตวรรษที่ 5 จนถึง ศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าธนนันทะจักรวรรดินันทะมีอาณาบริเวณตั้งแต่รัฐพิหารและเบงกอลทางตะวันออกไปจนถึงแคว้นสินธุและบาลูจิสถานทางตะวันตก จักรวรรดินันทะต่อมาถูกพิชิตโดยพระเจ้าจันทรคุปต์เมารยะผู้ทรงก่อตั้งจักรวรรดิโมร.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์นันทะ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โกนบอง

ราชวงศ์โกนบอง (ကုန်းဘောင်ခေတ်,; Konbaung Dynasty) เป็นราชวงศ์ที่ 3 ในประวัติศาสตร์พม่า และเป็นราชวงศ์สุดท้ายของพม่า ก่อนที่จะตกเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักร และสิ้นสุดการปกครองระบอบราชาธิปไตยของพม่า ราชวงศ์อลองพญานั้นได้รับการสถาปนาขึ้นโดยการเสวยราชสมบัติของพระเจ้าอลองพญาในปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์โกนบอง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โมริยะ

มริยะ (เขียนตามภาษาบาลี) หรือ เมารยะ (เขียนตามภาษาสันสกฤต: मौर्य, เมารฺย) เป็นจักรวรรดิซึ่งมีเนื้อที่กว้างใหญ่และมีอิทธิพลมากที่สุดจักรวรรดิหนึ่งในอินเดีย ปกครองโดยราชวงศ์โมริยะ (मौर्य राजवंश, เมารฺย ราชวํศ) ตั้งแต..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์โมริยะ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โจวยุคหลัง

ราชวงศ์โฮ่วโจว (ค.ศ. 951 - 960) ราชวงศ์ที่ 5 และราชวงศ์สุดท้ายในยุคห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร จักรพรรดิองค์แรกของราชวงศ์นี้คือจักรพรรดิโจวไท่จู่ ราชวงศ์นี้ปกครองจีนอยู่เพียง 9 ปีก่อนที่ เจ้ากวงยิ่น (จักรพรรดิซ่งไท่จู่) จะโค่นล้มราชวงศ์โฮ่วโจว และสถาปนาราชวงศ์ซ่งเหนือ ขึ้นในปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์โจวยุคหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โจวตะวันตก

ราชวงศ์โจวตะวันตก(Western Zhou Dynasty, 1046 - 771 ปีก่อน ค.ศ.) สถาปนาโดย จี ฟา หรือ พระเจ้าโจวอู่หวัง เมื่อ 1046 ปีก่อน..หลังจากสามารถโค่น ราชวงศ์ซาง ลงได้สำเร็จ ราชวงศ์นี้ถือเป็นราชวงศ์แรกที่เริ่มใช้ระบบ ศักดินา และเป็นราชวงศ์แรกที่เริ่มแบ่งดินแดนออกเป็นแคว้นและแต่งตั้งเชื้อพระวงศ์แซ่เดียวกันขึ้นเป็น อ๋อง พร้อมกับส่งอ๋องเหล่านั้นไป ปกครองแคว้นต่างๆ ราชวงศ์นี้มีกษัตริย์ปกครองทั้งสิ้น 12 พระองค์ก่อนที่จะสิ้นสุดราชวงศ์ในรัชสมัยของ พระเจ้าโจวอิวหวัง และได้ย้ายราชธานีไปอยู่ลั่วหยาง ซึ่งอยู่ทางตะวันออกทำให้ราชวงศ์โจวตะวันตกสิ้นสุดลง หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:สิ้นสุดในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสตกาล ca:Zhou.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์โจวตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์โจฬะ

ราชวงศ์โจฬะ (Chola Dynasty, சோழர் குலம்) เป็นราชวงศ์ทมิฬทราวิฑที่ส่วนใหญ่ปกครองทางตอนใต้ของอินเดียมาจนกระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถิ่นกำเนิดของราชวงศ์อยู่ที่ลุ่มแม่น้ำกาเวรี (Kaveri River) พระเจ้าการิกาลาโจฬะ (Karikala Chola) เป็นบุคคลสำคัญที่สุดในยุคโจฬะตอนต้น ขณะที่จักรพรรดิองค์อื่นๆ หลายองค์ทรงมีชื่อเสียงในยุคกลาง ราชวงศ์โจฬะรุ่งเรืองตลอดมาตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 9 มาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13K.A. Nilakanta Sastri, A History of South India, p 5 ในรัชสมัยของพระเจ้าราชาราชะโจฬะที่ 1 และพระเจ้าราเชนทระโจฬะที่ 1 ผู้เป็นพระราชโอรส ราชวงศ์โจฬะก็กลายเป็นมหาอำนาจทางการทหาร เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของเอเชียKulke and Rothermund, p 115Keay, p 215 ระหว่างปี ค.ศ. 1010 ถึงปี ค.ศ. 1200 ดินแดนของจักรวรรดิโจฬะก็ครอบคลุมตั้งแต่เกาะมัลดีฟส์ทางตอนใต้ขึ้นไปทางเหนือจนจรดแม่น้ำโคทาวารีในรัฐอานธรประเทศMajumdar, p 407 พระเจ้าราชาราชะโจฬะที่ 1 ทรงพิชิตคาบสมุทรอินเดียใต้ ผนวกดินแดนที่ปัจจุบันคือศรีลังกา และยึดครองมัลดีฟส์ ต่อมาพระเจ้าราเชนทระโจฬะที่ 1 ทรงรณรงค์ขึ้นไปทางเหนือของอินเดียจนไปถึงแม่น้ำคงคาและสามารถพิชิตนครหลวงปาฏลีบุตรแห่งจักรวรรดิปาละ นอกจากนั้นก็ยังทรงไปรุกรานราชอาณาจักรของกลุ่มเกาะมลายู และขยายดินแดนไปถึงพม่า และ เวียดนามและภาคใต้ของไทย The kadaram campaign is first mentioned in Rajendra's inscriptions dating from his 14th year. The name of the Srivijaya king was Sangrama Vijayatungavarman. K.A. Nilakanta Sastri, The CōĻas, pp 211–220Meyer, p 73 ราชวงศ์โจฬะมาเริ่มเสื่อมโทรมลงเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 และสลายตัวไปเมื่อราชอาณาจักรปัณฑยะและจักรวรรดิฮอยซาลาขึ้นมาเรืองอำนาจK.A. Nilakanta Sastri, A History of South India, p 192 สิ่งที่สำคัญของราชวงศ์โจฬะคือการเป็นผู้อุปถัมภ์วรรณคดีทมิฬ และการก่อสร้างวัด พระมหากษัตริย์ของราชวงศ์โจฬะทรงนิยมสร้างวัด ที่ไม่แต่จะเป็นสถานที่สำหรับการสักการะ แต่ยังเป็นศูนย์กลางของกิจการทางเศรษฐกิจด้วยVasudevan, pp 20-22 และ ยังริเริ่มระบบการปกครองจากศูนย์กลางและระบบราชการที่เป็นระเบียบแบบแผน.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์โจฬะ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง

ราชวงศ์เมโรวินเจียน (Merovingian; Mérovingiens) (ค.ศ. 481 - ค.ศ. 751) (พ.ศ. 1024 - พ.ศ. 1294) ราชวงศ์เมโรวินเจียนเป็นราชวงศ์ของชนเผ่าแฟรงก์หรือฟรอง ปกครองดินแดนฝรั่งเศสเป็นราชวงศ์แรกหลังเข้ายึดดินแดนโกล กษัตริย์พระองค์แรกของราชวงศ์คือพระเจ้าโคลวิสที่ 1 (Clovis I) ทรงประกาศพระองค์เป็นคริสต์ศาสนิกชน ได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์จากสมเด็จพระสันตะปาปา พระเจ้าโคลวิสทรงขยายอาณาเขตของฝรั่งเศสไปเกือบครอบคลุมอาณาเขตประเทศในปัจจุบันและดินแดนทางตะวันตกของเยอรมนี หลังสิ้นพระชนม์อาณาจักรฝรั่งเศสแบ่งแยกเป็นส่วน ๆ อยู่ภายใต้การปกครองของพระโอรสหลายพระองค์ ก่อนที่จะรวมเป็นปึกแผ่นอีกครั้งในสมัยพระเจ้าโกลแตร์ที่ 1 (Clotaire I) กษัตริย์ในยุคหลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือพระเจ้าดาโกแบร์ที่ 1 (Dagobert I) (ครองราชย์ พ.ศ. 1172-1182) หลังจากรัชสมัยของพระองค์ อาณาจักรฝรั่งเศสถูกแบ่งแยกเป็นเขตต่าง ๆ อยู่ในอำนาจของขุนนางนักรบหลายตระกูล ตระกูลที่มีอำนาจมากที่สุดคือตระกูลคาโรลินเจียน (Carolingian) ขุนนางในตระกูลนี้เริ่มดำรงตำแหน่งสำคัญในราชสำนักและควบคุมกษัตริย์เมโรวินเจียนจนไร้พระราชอำนาจ ในที่สุด เปแปง หัวหน้าตระกูลจึงถอดถอนพระเจ้าชิลเดริกที่ 3 (Childeric III) ออกจากราชบัลลังก์และตั้งตนเป็นกษัตริย์องค์ใหม่แห่งราชวงศ์คาโรลินเจียน.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์เมรอแว็งเฌียง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เหลียว

ราชวงศ์เหลียว (Liao Dynasty; ชี่ตัน: Mos Jælud; มองโกล: Ляо Улс/Lyao Uls) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ จักรวรรดิชี่ตัน (Khitan Empire; ชี่ตัน: Mos diau-d kitai huldʒi gur; มองโกล: Хятан (Khyatan) Гүрэн, Кидан (Kidan) Гүрэн) เป็นชื่อจักรวรรดิหนึ่งในเอเชียตะวันออก มีอำนาจในมองโกเลีย ภาคตะวันออกไกลบางส่วนของรัสเซีย เกาหลีเหนือ และภาคเหนือของจีนส่วนในตั้งแต่ปี 907 ถึง 1125 พระเจ้าไท่จู่ (Taizu) ข่านแห่งชาวชี่ตัน สถาปนาจักรวรรดินี้ขึ้นหลังจากราชวงศ์ถังของประเทศจีนล่มสลาย และไม่ช้าไม่นานหลังก่อตั้งขึ้น ราชวงศ์เหลียวก็เริ่มขยายดินแดน โดยพระเจ้าไท่จู่ทรงเอาชัยเหนือพวกพัลแฮ (Balhae) เป็นผลสำเร็จ พระเจ้าแผ่นดินองค์ถัด ๆ มายังทรงได้สิบหกมณฑลของจีนไว้โดยใช้วิธียุแยงให้รัฐที่สามส่งการก่อกวนเข้ามา แล้วราชวงศ์เหลียวจึงคอยตีกิน ทำให้ราชวงศ์ถังอวสานลง และราชวงศ์โครยอ (Goryeo) แห่งเกาหลี กับราชวงศ์ซ่ง (Song) แห่งจีน ตกเป็นเมืองออกของราชวงศ์เหลียวในที่สุด คำว่า "เหลียว" นี้ในภาษาจีนหมายความว่า ห่าง หรือไกล จุดเด่นของราชวงศ์เหลียว คือ ความตึงเครียดระหว่างจารีตประเพณีทางสังคมและการเมืองแบบชี่ตันกับแบบจีนซึ่งนำไปสู่วิกฤติการณ์ทางการสืบสันตติวงศ์ เพราะพระเจ้าแผ่นดินเหลียวฝักใฝ่คติบุตรหัวปีเป็นใหญ่ตามแบบจีน แต่ผู้ลากมากดีชาวชี่ตันส่วนใหญ่นิยมประเพณีที่ให้ผู้แข็งแกร่งที่สุดสืบเชื้อสาย ความแตกต่างกันระหว่างจารีตประเพณีชี่ตันและจีนนี้ยังเป็นเหตุให้พระเจ้าไท่จู่แห่งราชวงศ์เหลียวทรงตั้งการปกครองสองแบบขนานกัน ภาคเหนือซึ่งเป็นอาณาเขตชี่ตันให้ปกครองตามประเพณีชี่ตัน ภาคใต้ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ไม่ใช่ชี่ตันให้ปกครองตามประเพณีจีน ความแตกต่างทางสังคมแบบชี่ตันกับแบบจีนยังได้แก่ บทบาทของบุคคลแต่ละเพศและยุทธวิธี ชาวชี่ตันเห็นว่า บุคคลเสมอภาคกันไม่ว่าเพศใด ขณะที่ประเพณีทางวัฒนธรรมจีนถือว่า สตรีต้องอยู่ในโอวาทบุรุษ ฉะนั้น หญิงชี่ตันจึงเล่าเรียนการรบ ทั้งยังจัดการทรัพย์สินครัวเรือน และดำรงตำแหน่งทางทหาร ทั้งยังไม่มีการคลุมถุงชน ตลอดจนสตรีไม่จำต้องครองความบริสุทธิ์ทางเพศไว้จนถึงการสมรสครั้งแรก กับมีสิทธิที่จะหย่าและสมรสใหม่ด้วย ในปี 1125 ชาวนฺหวี่เจิน (Jurchen) จากราชวงศ์จิน (Jin) ของพวกแมนจู จับกุมพระเจ้าเทียนจั้ว (Tianzuo) แห่งเหลียวไว้ได้ และทำลายราชวงศ์เหลียวลงสิ้น แต่ชาวชี่ตันที่ยังเหลืออยู่มีเยลฺวี่ ต้าฉือ (Yelü Dashi) เป็นผู้นำ พากันก่อตั้งราชวงศ์ใหม่เรียกว่า "เหลียวตะวันตก" (Western Liao) ปกครองกันอยู่ในเอเชียกลางบางส่วนเป็นเวลายาวนานเกือบหนึ่งศตวรรษ ก่อนจะถูกทัพพระเจ้าไท่จู่ (Taizu) แห่งราชวงศ์หยวนของพวกมองโกล เข้ายึดครอง แม้ความสำเร็จทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับราชวงศ์เหลียวจะสลักสำคัญ กับทั้งเครื่องปั้นและศิลปวัตถุอื่น ๆ ก็มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์และสถานสะสมต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก แต่สภาพที่แท้จริงและขอบข่ายของอิทธิพลที่วัฒนธรรมเหลียวมีต่อพัฒนาการในระยะหลัง ๆ เช่น ด้านศิลปะการแสดงและการสังคีตนั้น ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างยิ่ง.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์เหลียว · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เหลียงยุคหลัง

ราชวงศ์โฮ่วเหลียง (เหลียงยุคหลัง) (Later Liang Dynasty) (ค.ศ. 907 - 923) ถูกสถาปนาโดยจูเวินหรือจูเหวียนจง (ค.ศ.852-912) ผู้โค่นล้มราชวงศ์ถัง เดิมเหลียงไท่จู่ (จูเหวียนจง)เป็นหนึ่งในขุนพลของกองทัพกบฏหวงเฉา ต่อมาได้สวามิภักดิ์กับราชวงศ์ และร่วมมือกับหลี่เค่อยัง หัวหน้าเผ่าซาถัวปราบปรามกบฏจนหมดสิ้น และได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่า เหวียนจง แปลว่าผู้ซื่อสัตย์จงรักภักดี ต่อมาเขาเริ่มมีอิทธิพลในราชสำนักและในที่สุดเขาก็ปลดจักรพรรดิถังอัยตี้ จักรพรรดิองค์สุดท้ายลงจากราชบัลลังก์ ทำให้ราชวงศ์ถังสิ้นสุดลง และเขาก็ได้สถาปนาตนเอง ขึ้นเป็นจักรพรรดิองค์แรกแห่งราชวงศ์โฮ่วเหลียง พระนามว่าจักรพรรดิเหลียงไท่จู่ ราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์แรกในยุคที่เรียกว่า ยุคห้าราชวงศ์และสิบอาณาจักร แต่ราชวงศ์นี้มีจักรพรรดิปกครองเพียง 2 พระองค์ หมวดหมู่:ราชวงศ์จีน หมวดหมู่:ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์เหลียงยุคหลัง · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เหงียน

ราชวงศ์เหงียน (Nhà Nguyễn, หญ่า-งฺเหวียน; จื๋อโนม: 阮朝, Nguyễn triều, งฺเหวียนเจี่ยว) เป็นราชวงศ์สุดท้ายของเวียดนามที่ปกครองเวียดนามมา 143 ปี เริ่มจากในปี ค.ศ. 1802 เมื่อจักรพรรดิซา ล็อง ทรงปราบดาภิเษกหลังจากปราบปรามกบฏไตเซินแล้ว และสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1945 เมื่อจักรพรรดิบ๋าว ดั่ยทรงสละราชสมบัติ และมอบอำนาจให้กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ในระหว่างรัชกาลของจักรพรรดิซา ล็อง เวียดนามมีชื่อว่า เวียดนาม (越南) อยู่อย่างปัจจุบัน แต่ในรัชสมัยของจักรพรรดิมิญ หมั่ง พระองค์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ดั่ยนาม (大南, แปลว่า "ชาติยิ่งใหญ่ทางตอนใต้") การปกครองของราชวงศ์เหงียนถูกจำกัดโดยอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของนักล่าอาณานิคมฝรั่งเศส ประเทศได้ถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ โคชินไชนาเป็นรัฐอาณานิคมโดยตรงขณะที่อันนามและตังเกี๋ยกลายเป็นรัฐอารักขาซึ่งมีอิสระเพียงในนาม.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์เหงียน · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เซี่ย

ตแดนราชวงศ์เซี่ย (สีเหลือง) ราชวงศ์เซี่ย (ภาษาอังกฤษ: Xia Dynasty) (ภาษาจีนกลาง: 夏朝) (พินอิน: xià cháo) เป็นราชวงศ์แรกของจีน ปกครองประเทศจีนในช่วง 2100-1600 ปีก่อนคริสตกาล มีอายุอยู่ได้ราว 500 ปี ในอดีตนักวิชาการและบุคคลโดยทั่วไปเชื่อว่าเรื่องราวของราชวงศ์เซี่ยเป็นเพียงเรื่องแต่งหรือปรัมปราที่เล่าสืบต่อกันมา แต่ปัจจุบันมีการขุดค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่เชื่อถือได้ ในปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชวงศ์เซี่ย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรวิซิกอท

ราชอาณาจักรวิซิกอท (Visigothic kingdom) เป็นอำนาจของยุโรปตะวันตกที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 8 เป็นหนึ่งในรัฐที่ตามมาจากจักรวรรดิโรมันตะวันตก เดิมก่อตั้งขึ้นโดยการการตั้งถิ่นฐานของวิซิกอทภายใต้ประมุขของตนเองในอากีแตน (กอลตอนใต้) โดยรัฐบาลของโรมัน ต่อมาก็ขยายดินแดนออกไปโดยการพิชิตในคาบสมุทรไอบีเรีย ราชอาณาจักรสามารถดำรงตัวเป็นอิสระจากจักรวรรดิไบแซนไทน์เมื่อไบแซนไทน์พยายามรื้อฟื้นอำนาจของโรมันในไอบีเรียประสบความล้มเหลว แต่เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 ชนแฟรงค์ในกอลก็สามารถได้รับชัยชนะต่อราชอาณาจักรวิซิกอททั้งหมดยกเว้นเซ็พติมาเนีย ในที่สุดราชอาณาจักรวิซิกอทก็ล่มสลายระหว่างการโจมตีของการรุกรานของอิสลาม (Umayyad conquest of Hispania) จากโมร็อกโก ต่อมาราชอาณาจักรอัสตูเรียสก็กลายเป็นอาณาจักรที่สืบต่อจากราชอาณาจักรวิซิกอท ราชอาณาจักรวิซิกอทปกครองโดยพระมหากษัตริย์ที่มาจากการเลือกตั้งและต้องเป็นชนกอธโดยมี “เซเนท” เป็นที่ปรึกษาราชการที่ประกอบด้วยสังฆราช และขุนนาง แม้ว่าพระมหากษัตริย์จะพยายามก่อตั้งราชวงศ์แต่ก็ไม่มีผู้ใดทำสำเร็จ พระมหากษัตริย์องค์แรก ๆ นับถือคริสต์ศาสนานิกาย Arianism หลังจากนั้นก็เปลี่ยนเป็นลัทธิไนเซียน (Nicene Creed) ซึ่งทางสถาบันศาสนาพยายามสร้างอำนาจมากขึ้นจากการประชุมสภาสงฆ์แห่งโตเลโด (Councils of Toledo) แต่กระนั้นวิซิกอทก็เป็นชาติที่มีการวิวัฒนาการทางกฎหมายทางโลกที่ก้าวหน้าที่สุดในยุโรปตะวันตก “Liber Iudiciorum” กลายมาเป็นรากฐานของกฎหมายของสเปนตลอดยุคกลาง.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และราชอาณาจักรวิซิกอท · ดูเพิ่มเติม »

วุยก๊ก

วุยก๊ก หรือ เฉาเวย (พินอิน: Cáo Wèi) จัดเป็นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ในระหว่างปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 808 (ปี ค.ศ. 220-265) วุยก๊กครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นราชวงศ์วุยโดยพระเจ้าโจผีและได้สถาปนาโจโฉเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์วุย, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และวุยก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

สมัยกลาง

แบบจำลองของหมวกหุ้มเกราะซึ่งถูกพบที่ซัททันฮู ในหลุมศพของผู้นำชาวแองโกล-แซกซัน สันนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์ราวปี ค.ศ. 620 ในช่วงต้นสมัยกลางNees ''Early Medieval Art'' pp. 109–112 สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages) ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้ ช่วงต้นสมัยกลางซึ่งเริ่มขึ้นหลังคริสต์ศตวรรษที่ 10 ประชากรของยุโรปขยายตัวอย่างมากจากการที่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีและทางการเกษตรทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองและการทำเรือกสวนไร่นาขยายตัว ระบบมาเนอร์ - องค์กรของชาวนาตามหมู่บ้านที่ติดค้างค่าเช่าที่ดินและหน้าที่ด้านแรงงานแก่ขุนนาง และระบบเจ้าขุนมูลนาย - โครงสร้างทางการเมืองที่ซึ่งอัศวินและขุนนางศักดิ์ต่ำกว่าติดค้างหน้าที่ด้านการทหารแก่เจ้านายผู้มีศักดิ์สูงกว่าของพวกเขาแลกกับสิทธิ์ในการเก็บค่าเช่าที่ดินและชาวนาใต้ปกครอง สองระบบนี้คือระเบียบของสังคมที่ใช้กันในยุคกลางตอนกลาง ต่อมาอาณาจักรเริ่มรวมศูนย์อำนาจมากขึ้นภายหลังการล่มสลายลงของจักรวรรดิคาโรแล็งเชียง สงครามครูเสดซึ่งเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และสมัยกลาง · ดูเพิ่มเติม »

สมัยใหม่

กาลิเลโอ กาลิเลอี บิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ สมัยใหม่ เป็นช่วงเวลาหนึ่งของอารยธรรมต่างๆ ซึ่งในช่วงนี้ อารยธรรมนั้น ๆ จะเริ่มมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เริ่มมีแนวคิดที่ยึดหลักความจริง หลุดพ้นจากความเชื่องมงายหลายอย่างในอดีต นักวิชาการได้กำหนดช่วงเวลาที่เป็น "สมัยใหม่" ของสากลโลกไว้ให้เป็นช่วง ค.ศ. 1453-ค.ศ. 1945 โดยเริ่มนับจากการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์และสิ้นสุดลงหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ นับตั้งแต่สมัยกลางตอนปลายเป็นต้นมา ผู้คนเริ่มสงสัยในความเชื่อและเนื้อหาตำราเรียนแบบเก่า ๆ ที่เชื่อกันมายาวนาน และไม่นาน ความเชื่อเก่าๆ และอำนาจการปกครองที่เด็ดขาดของศาสนจักรเริ่มเสื่อมถอยลง ผู้คนเริ่มคิดได้ว่ามนุษย์สามารถลิขิตชีวิตของตนได้ด้วยการกระทำของตนเอง จึงเริ่มดิ้นรนเพื่อชีวิตที่ดีกว่า และมีการคิดค้นทฤษฎี สิ่งประดิษฐ์ รวมไปถึงศิลปะขึ้นมากมาย ทำให้เข้าสู่สมัยใหม่ในที่สุด ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เป็นช่วงเวลาหนึ่งที่อยู่ในช่วงปลายสมัยกลางถึงต้นสมัยใหม่ ซึ่งการเริ่มต้นของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในช่วงปลายสมัยกลาง เป็นปัจจัยสำคัญที่ชักนำโลกเข้าสู่สมัยใหม่ คือ วิทยาการต่างๆ จากโรมัน เริ่มถูกฟื้นฟูขึ้นมาและแผ่กระจายไปในแถบยุโรป เทคโนโลยีถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนในช่วงปลายของสมัยใหม่ วิทยาการถูกใช้ไปในทางการเข่นฆ่ากันเองของมนุษย์ เกิดสงครามโลก สังหารผู้คนไปหลายสิบล้านคน จนในที่สุดก็มีการตระหนักถึงการใช้วิทยาการอย่างถูกทาง และมีการควบคุมเทคโนโลยีที่อาจก่ออันตราย แต่ในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สมัยใหม่สิ้นสุดลง และเข้าสู่ สมัยปัจจุบัน ตั้งแต่ ค.ศ. 1945 เป็นต้นมา หมวดหมู่:ยุคสมัยในประวัติศาสตร์.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และสมัยใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยโบราณ

ฟาโรห์ ผู้ปกครองอารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมที่โด่งดังในสมัยโบราณ สาธารณรัฐโรมัน อารยธรรมที่โด่งดังอีกแห่งในสมัยโบราณ สมัยโบราณ (Ancient history) ในความหมายที่เป็นสากล จะหมายถึง ช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักการตั้งถิ่นฐานถาวร สร้างอารยธรรม วัฒนธรรม อักษรต่าง ๆ ขึ้นมา ซึ่งในแต่ละประเทศ สมัยโบราณจะมาถึงเร็วหรือช้า จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าช่วงเวลาใดทีประเทศนั้นอยู่ในช่วงสร้างและประดิษฐ์อารยธรรมที่จะเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่าอารยธรรมของประเทศนี้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ช่วงเวลานั้น ของประเทศนั้น ก็จะจัดอยู่ในช่วงสมัยโบราณ สมัยโบราณโดยเฉลี่ยของโลกจะตรงกับ 3,500 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 476 เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว อารยรรมที่โด่งดังจำนวนมากของโลกถือกำเนิดในช่วงนี้ เช่น อารยธรรมโรมัน กรีก เมโสโปเตเมีย จีน อินเดีย อียิปต์ ฯลฯ นักประวัติศาสตร์ทั่วโลกจึงกำหนดช่วงเวลาดังกล่าวให้เป็นสมัยโบราณโดยเฉลี่ยของโลก สมัยโบราณโดยเฉลี่ยของโลก สิ้นสุดใน ค.ศ. 476 เมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายลง เหลือแต่จักรวรรดิโรมันตะวันออก ที่เปิดเมืองรับเอาศาสนาคริสต์เข้ามามีบทบาทสูงในสังคมโรมัน และอิทธิพลของโรมันก็แผ่ขยายไปทั่วยุโรป และไปทั่วโลก ทำให้โลกโดยรวมออกจากสมัยโบราณ เข้าสู่สมัยกลาง (Middle Ages) ทางด้านอารยธรรมสมัยโบราณของต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบยุโรป มีอารยธรรมที่น่าสนใจเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น อารยธรรมอียิปต์ กรีก โรมัน บุคคลที่มีชีวิตอยู่ในช่วงหลายพันปีก่อน แล้วยังมีชื่อเสียงอยู่จนถึงปัจจุบันมีมากมาย เช่น จูเลียส ซีซาร์, คลีโอพัตรา รวมทั้งฟาโรห์หลายพระองค์แห่งอียิปต.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และสมัยโบราณ · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพคาลมาร์

สหภาพคาลมาร์ (Kalmarunionen) คือรัฐร่วมประมุขที่รุ่งเรืองระหว่าง ค.ศ. 1397 จนถึง ค.ศ. 1523 เกิดจากการรวมประเทศเดนมาร์ก ประเทศนอร์เวย์ (รวมถึงไอซ์แลนด์ กรีนแลนด์ หมู่เกาะฟาโร เชตแลนด์ และออร์กนีย์) และสวีเดน (รวมบางส่วนของฟินแลนด์) เข้าอยู่ภายใต้พระมหากษัตริย์พระองค์เดียวกัน หมวดหมู่:ประเทศกลุ่มนอร์ดิก หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประเทศสวีเดน หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประเทศนอร์เวย์ หมวดหมู่:รัฐสิ้นสภาพในประเทศเดนมาร์ก หมวดหมู่:รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 14 หมวดหมู่:สิ้นสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 16.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และสหภาพคาลมาร์ · ดูเพิ่มเติม »

สำมะโน

ผู้เก็บข้อมูลสำมะโนขณะเยี่ยมครอบครัวชาวโรมานีที่อาศัยอยู่ในคาราวาน ประเทศเนเธอร์แลนด์ ค.ศ. 1925 สำมะโน (census) เป็นวิธีดำเนินการได้มาซึ่งและบันทึกสารสนเทศอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับสมาชิกของประชากรหนึ่ง ๆ คำนี้ใช้เชื่อมโยงกับสำมะโนประชากรและเคหะมากที่สุด แต่สำมะโนที่พบบ่อยชนิดอื่นได้แก่ สำมะโนเกษตรกรรม ธุรกิจและจราจร สหประชาชาตินิยามลักษณะสำคัญของสำมะโนประชากรและเคหะว่า "การแจกนับปัจเจกซึ่งเป็นสากลในดินแดนตามที่กำหนด ความเป็นเวลาเดียวกันและมีภาวะเป็นคาบตามที่กำหนด" และแนะนำให้จัดทำสำมะโนประชากรอย่างน้อยทุก 10 ปี ข้อแนะนำของสหประชาชาติยังครอบคลุมหัวข้อสำมะโนที่ควรรวบรวม บทนิยามอย่งเป็นทางการ และสารสนเทศที่เป็นประโยชน์อย่างอื่นเพื่อประสานงานการปฏิบัติระหว่างประเทศ คำว่า "census" เป็นคำภาษาละติน ระหว่างสาธารณรัฐโรมัน เซนซัสเป็นรายการที่เก็บติดตามชายฉกรรจ์ที่พร้อมรับราชการทหาร สำมะโนสมัยใหม่มีความสำคัญต่อการเปรียบเทียบระหว่างประเทศสำหรับสถิติทุกชนิด และสำมะโนเก็บข้อมูลลักษณะเฉพาะหลายอย่างของประชากร ไม่เพียงแต่ว่ามีจำนวนประชากรเท่าใดเท่านั้น แต่ปัจจุบันสำมะโนเกิดในระบบแบบสำรวจซึ่งตรงแบบเริ่มต้นด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลประชากรศาสตร์ของชาติเท่านั้น แม้ประมาณการประชากรยังเป็นหน้าที่สำคัญของสำมะโน รวมทั้งการรวมการกระจายทางภูมิศาสตร์อย่างแน่ชัดของประชากร แต่สถิติยังสามารถสร้างได้จากการรวมลักษณะเฉพาะ เช่น การศึกษาแบ่งตามอายุและเพศในภูมิภาคต่าง ๆ ระบบข้อมูลบริหารราชการแผ่นดินปัจจุบันทำให้การแจงนับแนวทางอื่นมีระดับรายละเอียดเดียวกัน แต่ทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับภาวะเฉพาะส่วนตัวและโอกาสที่ประมาณการเกิดความลำเอียงได้ สำมะโนอาจแตกต่างจากการชักตัวอย่างที่สารสนเทศจะได้มาจากเซตย่อยของประชากรเท่านั้น ซึ่งตรงแบบประมาณการประชากรหลักมีการปรับตามประมาณการระหว่างสำมะโนดังกล่าว ข้อมูลสำมะโนสมัยใหม่มีใช้แพร่หลายเพื่อการวิจัย การตลาดธุรกิจ และการวางแผน และเป็นเส้นฐานสำหรับออกแบบแบบสำรวจตัวอย่างโดยให้กรอบชักตัวอย่าง เช่น ทะเบียนเลขที่อยู่ ยอดของสำมะโนจำเป็นต่อการปรับตัวอย่างเพื่อให้เป็นตัวแทนของประชากรโดยการถ่วงน้ำหนักที่ใช้บ่อยในการสำรวจความเห็น ในทำนองเดียวกัน การจัดช่วงชั้นต้องอาศัยความรู้ขนาดโดยสัมพัทธ์ของช่วงชั้นประชากรต่าง ๆ ซึ่งได้มาจากการแจงนับในสำมะโน สำมะโนในบางประเทศยังให้ยอดอย่างเป็นทางการที่ใช้กำหนดจำนวนผู้แทนตามส่วนของพลเมือง (apportion) แก่ภูมิภาคต่าง ๆ ในหลายกรณี ตัวอย่างที่สุ่มเลือกอย่างระมัดระวังสามารถให้สารสนเทศแม่นยำกว่าพยายามทำสำมะโนประชากร.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และสำมะโน · ดูเพิ่มเติม »

อัสซีเรีย

อัสซีเรีย หรือ จักรวรรดิอัสซีเรีย (Assyria หรือ Assyrian Empire) เป็นอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ที่แม่น้ำไทกริสในเมโสโปเตเมีย (อิรัก) ที่มามีอำนาจปกครองจักรวรรดิเป็นช่วงๆ หลายครั้งในประวัติศาสตร์ “อัสซีเรีย” เป็นชื่อที่ตั้งตามชื่อเมืองหลวงเดิม “อัสเซอร์” (Assur) (Aššur; أشور; אַשּׁוּר) นอกจากนั้นคำว่า “อัสซีเรีย” ก็ยังหมายถึงภูมิภาคทางภูมิศาสตร์หรือดินแดนที่เป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิด้วย ระหว่างสมัยอัสซีเรียเก่าระหว่างศตวรรษที่ 20 ถึง 15 ก่อนคริสต์ศักราชอัสเซอร์มีอำนาจในบริเวณส่วนใหญ่ของเมโสโปเตเมียเหนือ ในยุคกลางของอัสซีเรียระหว่างศตวรรษที่ 15 ถึง 10 ก่อนคริสต์ศักราชอำนาจของอัสซีเรียก็เสื่อมโทรมลง แต่ต่อมาก็สามารถกู้ดินแดนที่เสียไปคืนได้ในชัยชนะที่ได้รับหลายครั้ง เมื่อมาถึงสมัยจักรวรรดิอัสซีเรียในยุคเหล็กตอนต้นระหว่างปี 911 ถึง 612 ก่อนคริสต์ศักราชอัสซีเรียก็ขยายอำนาจไกลออกไป และภายใต้การปกครองของอัสเชอร์บานิปาล (Ashurbanipal) (ปกครอง 668 – 627 ก่อนคริสต์ศักราช) อัสซีเรียก็ปกครอง Fertile Crescent ทั้งหมด รวมทั้งอียิปต์จนกระทั่งมาพ่ายแพ้เมื่อจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ และเปอร์เชียขยายอำนาจ และในที่สุดก็มาล่มสลายเมื่อราชวงศ์ชาลเดียของจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ปล้นทำลายเมืองนิเนเวห์ในปี 612 ก่อนคริสต์ศักร.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และอัสซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

อาวาร์ยูเรเชีย

แผนที่แสดงตำแหน่งของอาณาจักรข่านของอาวาร์ราว ค.ศ. 600 อาวาร์ยูเรเชีย หรือ อาวาร์ยุโรป หรือ อาวาร์โบราณ (Eurasian Avars หรือ European Avars หรือ Ancient Avars) เป็นกลุ่มชนที่มีระบบสังคมที่มีระเบียบแบบแผน และเป็นสหพันธ์ของกลุ่มชนที่มีอำนาจที่มาจากหลายชาติพันธุ์ที่มีความสัมพันธ์กับชนบัลการ์, ชนคาซาร์ และกลุ่มชนที่พูดภาษาโอเกอร์ (Oghur languages) ในขณะนั้น อาวาร์ยูเรเชียปกครองโดยประมุขที่มีตำแหน่งเป็น “คากาน” หรือ “มหาข่าน” (Khagan หรือ Great Khan) ผู้ล้อมรอบตัวด้วยนักการทหารที่มาจากกลุ่มชนเร่ร่อน (nomad) ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับระบบของกลุ่มชนชนเตอร์กิกโดยทั่วไป อาวาร์ยูเรเชียปรากฏเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในชื่อรูราน (Rouran) ที่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณพรมแดนทางตอนเหนือของจีนและมีอำนาจอยู่ในบริเวณนั้นอยู่ราวสองร้อยปี ก่อนที่จะมาปรากฏตัวในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออกในคริสต์ศตวรรษที่ 6 และมามีอิทธิพลในบริเวณส่วนใหญ่ของที่ราบแพนโนเนียน (Pannonian Plain) มาจนกระทั่งถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 นอกจากในยุโรปแล้วอาวาร์ยูเรเชียยังปรากฏในอินเดียในชื่ออาเฮอร์ (ahir).

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และอาวาร์ยูเรเชีย · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรพุกาม

อาณาจักรพุกาม (Pagan Kingdom; ပုဂံခေတ်) เป็นอาณาจักรโบราณในช่วง..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และอาณาจักรพุกาม · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรมัชปาหิต

อาณาจักรมัชปาหิต เป็นอาณาจักรในชวาตะวันออก มีอำนาจอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1293 ถึงประมาณ ค.ศ. 1500.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และอาณาจักรมัชปาหิต · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)

ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรศรีวิชัย

อาณาจักรศรีวิชัย หรือ อาณาจักรศรีโพธิ์ เกิดในปี พ.ศ. 1202 (ราวพุทธศตวรรษที่ 13) ก่อตั้งโดยราชวงศ์ไศเลนทร์ ในช่วงที่อาณาจักรฟูนันล่มสลาย เป็นอาณาจักรของชาติพันธุ์มลายูโบราณ มีอาณาเขตครอบคลุมมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และบริเวณภาคใต้ของประเทศไทย พื้นที่อาณาจักรแบ่งได้สามส่วน คือส่วนคาบสมุทรมลายู เกาะสุมาตรา และหมู่เกาะชวา โดยส่วนของชวาได้แยกตัวออกไปตั้งเป็นอาณาจักรมัชปาหิต ต่อมาเมื่ออาณาจักรศรีวิชัยอ่อนแอลง อาณาจักรมัชปาหิตได้ยกทัพเข้ามาตีศรีวิชัย ได้ดินแดนสุมาตราและบางส่วนของคาบสมุทรมลายูไป และทำให้ศรีวิชัยล่มสลายไปในที่สุด ส่วนพื้นที่คาบสมุทรที่เหลือ ต่อมาเชื้อพระวงศ์จากอาณาจักรเพชรบุรี ได้เสด็จมาฟื้นฟูและตั้งเป็นอาณาจักรนครศรีธรรมร.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และอาณาจักรศรีวิชัย · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอักซุม

ักรวรรดิอัคซูไมท์ (Aksumite Empire หรือ Axumite Empire) เป็นจักรวรรดิสำคัญทางการค้าขายที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแอฟริกาที่เริ่มก่อตัวมาตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสต์ศักราชและมารุ่งเรืองเอาเมื่อคริสต์ศักราชที่ 1 เมืองหลวงเก่าก่อตั้งทางตอนเหนือของเอธิโอเปีย อาณาจักรใช้คำว่า “เอธิโอเปีย” มาตั้งแต่คริสต์ศักราชที่ 4Stuart Munro-Hay, Aksum: An African Civilization of Late Antiquity.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และอาณาจักรอักซุม · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรน่านเจ้า

อาณาจักรต่างๆสมัยก่อนมองโกล น่านเจ้าอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน อาณาจักรน่านเจ้า หรือเจ้าทางใต้ (南詔) หรือจีนเรียกว่า สานสานโกวะ ตั้งขึ้นประมาณ พ.ศ. 1192 โดยพระเจ้าสีนุโล แห่งเหม่งแซ ต่อมาพระเจ้าพีล่อโก๊ะได้รวบรวมเมืองต่างๆ ที่แยกกันตั้งอยู่เป็นอิสระ 6 แคว้นคือ เหม่งแซ (Mengshe;蒙舍) ม่งซุย (Mengsui;蒙嶲) ลางเซียง (Langqiong;浪穹) เต็งตัน (Dengtan;邆賧) ซีล่าง (Shilang;施浪) และ ยู่ซี (Yuexi;越析) เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเหม่งแซได้สำเร็จ ตั้งเป็นอาณาจักรใหม่ขึ้น เรียกว่า อาณาจักรน่านเจ้า ในยุคแรกๆนั้น น่านเจ้าก็มีสัมพันธ์กับรัฐรอบๆ ทั้งราชวงศ์ฝ่ายใต้ของจีน และแคว้นเล็กๆในสุวรรณภูมิ ในรัชกาลของจักรพรรดิถังเสวียนจง ราชสำนักถังพยายามขยายอำนาจลงใต้ และมีการส่งกองทัพมาพิชิตอาณาจักรน่านเจ้า 2 ครั้งใหญ่ๆ แต่กองทัพถังก็พ่ายแพ้ยับเยินกลับไป..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และอาณาจักรน่านเจ้า · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรโคกูรยอ

กูรยอ (เสียงอ่าน::; 37 ปีก่อนค.ศ. - ค.ศ. 668) เป็นอาณาจักรเกาหลีโบราณที่พระเจ้าทงมย็องซ็องทรงสถาปนาขึ้น ปัจจุบันดินแดนส่วนใหญ่อยู่ในประเทศเกาหลีเหนือและคาบสมุทรเหลียวตงของประเทศจีน ราชวงศ์นี้มีอาณาเขตตั้งแต่เกาหลีเหนือปัจจุบันแมนจูเรียถึงรัสเซียบางส่วนเป็นราชวงศ์แรก ที่ถูกบันทึกหลักฐานราชวงศ์นี้มีพระมหากษัตริย์ที่เป็นมหาราชพระองค์แรกของเกาหลีคือพระเจ้าควังแกโทมหาราช รัชกาลที่ 19 ของราชวงศ์ ผู้ทรงพระปรีชาสามารถทั้งเรื่องรบและเรื่องรัก ทรงขยายพระราชอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางต่อมาจักรวรรดินี้เริ่มมีปัญหารบรากับอาณาจักรแพ็กเจและอาณาจักรชิลลา ในสมัยราชวงศ์ถัง (618-907) ในขณะนั้นตรงกับรัชสมัยจักรพรรดิถังเกาจง (หลี่จื้อ) จักรพรรดิองค์ที่ 3 ประมาณปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และอาณาจักรโคกูรยอ · ดูเพิ่มเติม »

อาณานิคมโพ้นทะเลของเบลเยียม

อาณานิคมโพ้นทะเลของเบลเยียม (Belgian overseas colonies) เป็นดินแดนสามอาณานิคมของเบลเยียมระหว่างปี..1885-1962 คือ คองโกของเบลเยียม (ปัจจุบันคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก), รวันดา-บุรุนดี, เทียนจิน และ แทนเจียร.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และอาณานิคมโพ้นทะเลของเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิ

ักรวรรดิ (อ่านว่า จัก-กฺระ-หฺวัด, อังกฤษ: empire) ถูกนิยามว่าหมายถึง "กลุ่มชาติรัฐหรือชาติพันธุ์ที่อยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิหรืออธิปไตยของรัฐอื่นๆที่ทรงอิทธิพล โดยทั่วไปมีอาณาเขตกว้างใหญ่กว่าราชอาณาจักร" นักวิชาการได้ถกเถียงกันมานานเกี่ยวกับคำว่า “Empire” ในภาษาอังกฤษหรือ “จักรวรรดิ” ในภาษาไทย (จากคำภาษาละติน “imperium” ที่หมายถึงสายการบังคับบัญชาทางการทหารของรัฐบาลโรมันโบราณ) โดยทั่วไปมักนิยามให้เป็นรัฐที่มีอาณาจักรอื่นที่มีประชากรและวัฒนธรรมที่แตกต่างชัดเจนอยู่ภายใต้อิทธิพลอำนาจการปกครองหรืออยู่ในเครือจักรภพ เช่นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษในปัจจุบัน นิยามอีกรูปแบบหนึ่งอาจเน้นปัจจัยทางเศรษฐกิจหรือการเมือง แต่โดยทั่วไปมักหมายถึงการครอบงำทางอำนาจการทหาร เช่นเดียวกับรัฐทั่วไป จักรวรรดิจะมีโครงสร้างทางการเมืองของตนเอง หรืออย่างน้อยก็โดยวิธีกดขี่บังคับให้อยู่ใต้อำนาจ จักรวรรดิบนแผ่นดินใหญ่ (เช่นจักรวรรดิมองโกล หรือจักรวรรดิอาคีเมนิดเปอร์เชีย – Achaemenid Persia) มักจะขยายไปตามอาณาเขตที่ประชิดต่อเนื่องกัน ส่วนจักรวรรดิทางทะเล (เช่น จักรวรรดิเอเธนีเนียน จักรวรรดิโปรตุเกสและจักรวรรดิอังกฤษ) อาจมีอาณาเขตกระจัดกระจายหลวมๆ แต่อยู่ในอำนาจการควบคุมทางกองทัพเรือเป็นต้น จักรวรรดิที่มีมาก่อนจักรวรรดิโรมันหลายร้อยปี ได้แก่จักรวรรดิอียิปต์ซึ่งได้ก่อตั้งจักรวรรดิเมื่อประมาณ 1000 ปีก่อน..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิบราซิล

ักรวรรดิบราซิล (Empire of Brazil) เป็นจักรวรรดิที่เป็นประเทศบราซิลปัจจุบัน จักรวรรดิบราซิลที่ปกครองโดยจักรพรรดิเปดรูที่ 1 และพระราชโอรสจักรพรรดิเปดรูที่ 2 เป็นจักรวรรดิที่ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1822 และต่อมาแทนที่ด้วยสาธารณรัฐในปี ค.ศ. 1889 หลังจากการยึดครองโปรตุเกสโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ราชวงศ์บราแกนซาก็ย้ายราชสำนักลี้ภัยไปตั้งอยู่ที่บราซิลซึ่งเป็นอาณานิคมที่สำคัญที่สุดของโปรตุเกส หลังจากนั้นบราซิลก็กลายเป็นเมืองหลวงของสหราชอาณาจักรโปรตุเกส บราซิล และแอลการ์ฟ ซึ่งเป็นฐานะใหม่และเป็นการมีรัฐบาลที่ปกครองตนเองโดยไม่ต้องคำนึงถึงอำนาจจากลิสบอน ความคิดที่ว่ารัฐบาลจะกลับไปตั้งอยู่ในโปรตุเกสเมื่อนโปเลียนถูกโค่นจึงเป็นความคิดที่ไม่เป็นที่ต้องใจเท่าใดนัก ฉะนั้นแม้ว่าจะได้รับการปกครองจากสมาชิกของราชวงศ์โปรตุเกสแต่บราซิลก็มีความรู้สึกว่าเป็นอิสระจากโปรตุเกส หลังจากที่ได้รับอิสรภาพจากโปรตุเกสเมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1822 แล้วบราซิลก็ปกครองโดยระบอบราชาธิปไตย จักรวรรดิบราซิลรุ่งเรืองมาจนถึงการก่อตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิบราซิล · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิบริติช

ักรวรรดิบริติช (British Empire) หรือ จักรวรรดิอังกฤษ ประกอบด้วยประเทศในเครือจักรภพ, คราวน์โคโลนี, รัฐในอารักขา, รัฐในอาณัติ และดินแดนอื่นซึ่งสหราชอาณาจักรปกครองหรือบริหาร จักรวรรดิกำเนิดจากดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลและสถานีการค้าที่ราชอาณาจักรอังกฤษก่อตั้งระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในช่วงที่เจริญถึงขีดสุด จักรวรรดิบริติชเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นมหาอำนาจโลกชั้นแนวหน้านานกว่าหนึ่งศตวรรษ ใน..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิบริติช · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิบรูไน

ักรวรรดิบรูไน (Bruneian Empire) จัดตั้งขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 12 บนเกาะบอร์เนียว ในยุคแรกปกครองโดยกษัตริย์ที่นับถือศาสนาฮินดู ก่อนจะเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งได้รับอิทธิพลทั้งจากมุสลิมอินเดียและชาวอาหรับที่เข้ามาค้าขาย ไม่มีหลักฐานในท้องถิ่นที่จะยืนยันการมีอยู่ แต่ในเอกสารจีนได้อ้างถึงบรูไนในยุคเริ่มแรก โบนี (Boni) ในภาษาจีนอ้างถึงดินแดนเกาะบอร์เนียว ในขณะที่ โปลี (Poli 婆利) ที่อาจจะตั้งอยู่ที่เกาะสุมาตรา มักจะถูกกล่าวว่าหมายถึงบรูไนด้วย หลักฐานเก่าสุดที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างบอร์เนียว (โบนี 渤泥) และจีนบีนทึกไว้ใน (Taiping huanyuji 太平環宇記) ในสมัยของสุลต่านโบลเกียห์ ซึ่งเป็นสุลต่านองค์ที่ 5 ของบรูไน บรูไนมีอำนาจครอบคลุมเกาะบอร์เนียวทั้งหมด และบางส่วนของฟิลิปปินส์ เช่น เกาะมินดาเนา ซึ่งถือเป็นยุคทองของบรูไน กองทัพบรูไนมีกองทัพเรือที่แข็งแกร่ง บางส่วนเป็นโจรสลัดในทะเลจีนใต้ และชายฝั่งของเกาะบอร์เนียว หลักฐานทางตะวันตกชิ้นแรกที่กล่าวถึงบรูไนคืองานเขียนของชาวอิตาลี ลูโดวิโก ดี วาร์เทมา ผู้เดินทางมายังหมู่เกาะโมลุกกะและแวะพักที่เกาะบอร์เนียวเมื่อราว..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิบรูไน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1

ักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 (First Bulgarian Empire, Първo Българско царство, Părvo Bălgarsko Tsarstvo) เป็นอาณาจักรในยุคกลางของบัลแกเรียที่ก่อตั้งในปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2

ักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 หรือ อาณาจักรซาร์แห่งบัลแกเรีย (Second Bulgarian Empire, Второ българско царство, Vtorо Balgarskо Tsartsvo) เป็นจักรวรรดิในในยุคกลางของบัลแกเรียที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1185 และรุ่งเรืองมาจนถึงปี ค.ศ. 1396 (หรือ ค.ศ. 1422) จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 เป็นจักรวรรดิที่สืบต่อจากจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 1 และมามีอำนาจรุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิคาโลยัน และ สมเด็จพระจักรพรรดิไอวาน อาเซนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย ก่อนที่มาจะค่อยๆ เสื่อมโทรมลงจนในที่สุดก็ถูกพิชิตโดยจักรวรรดิออตโตมันในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 จักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 ตามมาด้วยราชอาณาจักรที่ปกครองโดยเจ้าชายและต่อมาโดยพระมหากษัตริย์เป็นราชอาณาจักรบัลแกเรียในปี ค.ศ. 1878 มาจนถึงปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิบัลแกเรียที่ 2 · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิกาสนาวิยะห์

กาสนาวิยะห์ (غزنویان, Ghaznavids) เป็นราชวงศ์อิสลามและเปอร์เชียของชนเตอร์กิกมามลุค ผู้รุ่งเรืองระหว่าง..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิกาสนาวิยะห์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิกุษาณะ

ที่ตั้งอาณาจักรโบราณของอินเดีย อาณาจักรกุษาณะ (กุชาน หรือ กุษาณ) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย (เมืองหลวงของอาณาจักรนี้ปัจจุบันคือเมืองเปศวาร์ในปากีสถาน).

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิกุษาณะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิญี่ปุ่น

ักรวรรดิญี่ปุ่น หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ มหาจักรวรรดิญี่ปุ่น เป็นจักรวรรดิที่อยู่ทางตะวันออกที่สุดและเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของโลก ในคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 สถาปนาขึ้นภายหลังจากการปฏิรูปเมจิ เมื่อวันที่ 3 มกราคม..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง

ักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง (Premier Empire) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า (L'Empire des Français; ล็องปีร์เดส์ฟร็องแซส์ แปลว่า จักรวรรดิแห่งชาวฝรั่งเศส) ยังรู้จักกันในนาม มหาจักรวรรดิฝรั่งเศส และ จักรวรรดินโปเลียน โดยเป็นจักรวรรดิที่สถาปนาขึ้นโดย จักรพรรดินโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ภายหลังจากที่พระองค์ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งฝรั่งเศส โดยเป็นจักรวรรดิที่มีส่วนสำคัญและมีอำนาจอย่างมากในทวีปยุโรปในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยเปลี่ยนผ่านมาจากคณะกงสุลฝรั่งเศส จักรวรรดิยังเป็นผู้ริเริ่มการทำสงครามมากมายในยุโรปจากนโยบายการต่างประเทศของจักรพรรดินโปเลียน ที่มุ่งเน้นจะยึดครองทวีปยุโรปไว้กับฝรั่งเศสแต่เพียงผู้เดียว.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิมราฐา

ักรวรรดิมราฐา (मराठा साम्राज्य;Maratha Empire) เป็นจักรวรรดิที่มีอำนาจในช่วง ค.ศ. 1674 - ค.ศ. 1818 โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของประเทศอินเดีย บางส่วนของประเทศปากีสถาน และพื้นที่บางส่วนของประเทศบังกลาเทศในปัจจุบัน มีจักรพรรดิองค์แรกคือ สมเด็จพระจักรพรรดิศิวาจี.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิมราฐา · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิมองโกล

อาณาเขตของจักรวรรดิมองโกล จักรวรรดิมองโกล (มองโกล: Mongolyn Ezent Güren; Mongol Empire) ซึ่งมีอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 และ 14 เป็นจักรวรรดิทางบกที่มีอาณาเขตต่อเนื่องใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ กำเนิดในสเต็ปป์เอเชียกลาง สุดท้ายจักวรรดิมองโกลมีอาณาเขตครอบคลุมยุโรปตะวันออกจนถึงทะเลญี่ปุ่น ขยายไปทางเหนือเข้าไปในไซบีเรีย ทางตะวันออกและใต้เข้าไปในอนุทวีปอินเดีย อินโดจีนและที่ราบสูงอิหร่าน และทางตะวันตกไปไกลถึงเลแวนต์และคาบสมุทรอาหรับ จักรวรรดิรวมเผ่าชนเร่ร่อนมองโกเลียในประวัติศาสตร์ภายใต้การนำของเจงกิสข่าน ผู้ได้รับประกาศเป็นผู้ปกครองชาวมองโกลทั้งปวงใน..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิมองโกล · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิมาลี

ักรวรรดิมาลี หรือ จักรวรรดิมานดิง หรือ มานเดนคูรูฟา (Mali Empire หรือ Manding Empire หรือ Manden Kurufa) คือวัฒนธรรมแอฟริกาตะวันตกของชนมันดิงคา ที่รุ่งเรืองระหว่างราว คริสต์ทศวรรษ 1230 จนถึง คริสต์ทศวรรษ 1600 จักรวรรดิก่อตั้งโดย Sundiata Keita และมีชื่อเสียงถึงความมั่งคั่งของประมุขโดยเฉพาะมันซามูซา จักรวรรดิมาลีมีอิทธิพลทางวัฒนธรรมอันลึกซึ้งต่อแอฟริกาตะวันตก ซึ่งทำให้เกิดการเผยแพร่ของภาษา กฎหมาย และประเพณีตามลำแม่น้ำไนเจอร์ อาณาบริเวณของมาลีรวมกันมีขนาดใหญ่กว่ายุโรปตะวันตกและประกอบด้วยอาณาจักรบริวารและจังหวัดต่าง.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิมาลี · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิรัสเซีย

ักรวรรดิรัสเซีย (Российская империя; Russian Empire) คืออดีตประเทศรัสเซียก่อนที่จะมีการปฏิวัติการปกครองของซาร์นิโคลัสที่ 2 เป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในปี 1917 จักรวรรดิรัสเซียสถาปนาขึ้นในปี 1721 โดยจักรพรรดิซาร์ปีเตอร์มหาราชสถาปนาขึ้นแทนที่อาณาจักรซาร์แห่งรัสเซีย จักรวรรดิรัสเซียมีพื้นที่กว้างใหญ่ครอบคลุมยุโรปตะวันออก, เอเชีย จนไปถึงทวีปอเมริกา นับได้ว่าเป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นจักรวรรดิหนึ่งที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์รัสเซี.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิละติน

ักรวรรดิละติน หรือ จักรวรรดิละตินแห่งคอนสแตนติโนเปิล (Latin Empire หรือ Latin Empire of Constantinople, Imperium Romaniae (จักรวรรดิโรมาเนีย)) เป็นชื่อที่ใช้โดยนักประวัติศาสตร์ที่หมายถึงนครรัฐครูเสดที่ก่อตั้งโดยผู้นำต่างๆ ของสงครามครูเสดครั้งที่ 4 จากบริเวณที่ยึดได้จากจักรวรรดิไบแซนไทน์ จักรวรรดิละตินก่อตั้งขึ้นหลังการยึดเมืองคอนสแตนติโนเปิลใน..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิละติน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิวิชัยนคร

ักรวรรดิวิชัยนคร (ವಿಜಯನಗರ ಸಾಮ್ರಾಜ್ಯ, విజయనగర సామ్రాజ్యము, Vijayanagara Empire) เป็นจักรวรรดิที่ตั้งอยู่บนที่ราบสูงเด็คคาน (มทุไร นาย) ทางตอนใต้ของประเทศอินเดียปัจจุบัน จักรวรรดิวิชัยนครก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1336 โดยพระเจ้าหริหระราชาที่ 1และพระอนุชาพระเจ้าบุคคราชาที่ 1 (Bukka Raya I) และรุ่งเรืองต่อมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1646 แม้ว่าอำนาจจะลดถอยลงบ้างเมื่อพ่ายแพ้ต่ออาณาจักรสุลต่านแห่งเด็คคาน (Deccan sultanates) จักรวรรดิตั้งตามชื่อเมืองหลวงวิชัยนคร ซึ่งยังคงมีร่องรอยเหลือให้เห็นในรัฐกรณาฏกะในประเทศอินเดียปัจจุบัน บันทึกของนักเดินทางชาวยุโรปเป็นแหล่งสำคัญของข้อมูลที่เกี่ยวกับจักรวรรดิ ควบกับหลักฐานที่พบทางโบราณคดีทำให้ทราบถึงอำนาจและความมั่งคั่งของจักรวรรดิวิชัยนคร.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิวิชัยนคร · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิศุงคะ

ักรวรรดิศุงคะ (शुंग राजवंश, Sunga Empire หรือ Shunga Empire) เป็นราชวงศ์มคธที่ปกครองทางตอนกลางเหนือและตะวันออกของอินเดีย และบางส่วนของทางตะวันตกเฉียงเหนือที่ปัจจุบันคือปากีสถานตั้งแต่ราว 185 ปีก่อนคริสต์ศักราชมาจนถึง 73 ปีก่อนคริสต์ศักราช จักรวรรดิศุงคะก่อตั้งขึ้นหลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโมริยะ เมืองหลวงตั้งอยู่ที่ปาตลีบุตร ต่อมาพระมหากษัตริย์เช่นพระเจ้าภคภัทระ (Bhagabhadra) ก็ทรงตั้งราชสำนักที่วิทิศา ระหว่างสมัยของจักรวรรดิศุงคะเป็นสมัยของการสงครามทั้งกับต่างประเทศและกับศัตรูภายในท้องถิ่น.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิศุงคะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิสวีเดน

ักรวรรดิสวีเดน หรือ ราชอาณาจักรสวีเดน ในช่วงระหว่างปีค.ศ. 1561 (หลังจากสวีเดนยึดเอสโตเนีย) และในปีค.ศ. 1721 (เมื่อสวีเดนยกพื้นที่ขนาดใหญ่ในบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของฟินแลนด์ต่อมหาอำนาจรัสเซีย) ระหว่างนั้น สวีเดนเป็นหนึ่งในมหาอำนาจของยุโรป ในสวีเดน สมัยก่อนจะเรียกว่า stormaktstiden ซึ่งหมายถึง มหาอำนาจที่ยิ่งใหญ่ โดยเริ่มต้นในปี 1611 (เมื่อ กุสตาวัส อาดอลฟัส ขึ้นเป็นกษัตริย์) และจบลงในปีค.ศ. 1718 (การสวรรคตของพระเจ้าคาร์ลที่ 12 แห่งสวีเดน และจุดจบของมหาสงครามเหนือ) โดยการเพิ่มอำนาจทางการเมือง จุดประเด็นสำคัญคือการกลายเป็นหนึ่งในสองอำนาจเพื่อค้ำประกันสันติภาพแห่งเวสต์ฟาเลีย (Peace of Westphalia) ซึ่งถูกเข้าร่วมเพื่อเพิ่มดินแดนที่อนุญาตให้อยู่ใกล้ได้อย่างสมบูรณ์ตามแนวคิดทะเลบอลติก เป็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของระยะเวลาที่แตกต่างกันในประวัติศาสตร์ยุโรป หลังจากการตายของกุสตาวัส อดอลฟัส ในปี 1632 จักรวรรดิที่ยืนยาวนี้ถูกควบคุมโดยพวกขุนนางชั้นสูง โดยส่วนมากเป็นพวกของตระกูลออกเซนสเตียร์นาเป็นผู้สำเร็จราชการแทน ความน่าสนใจของขุนนางชั้นสูงตรงกันข้ามกับวิถีทางแห่งเท่าเทียมกัน เช่น การส่งเสริมความเท่าเทียมกันแบบดั้งเดิมในที่ดินภายในสวีเดนถูกเห็นชอบโดยพระมหากษัตริย์และชาวบ้านในพื้นที่ที่ได้รับในช่วงระหว่างสมัยกฎตระกูลเดอ แฟคโต ระบบข้าแผ่นดินไม่ถูกยกเลิก และมีแนวโน้มที่จะจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมถูกกฎหมายในสวีเดนอย่างชอบธรรม แต่การปรับปรุงครั้งใหญ่ในปีค.ศ. 1680 ผลักดันให้ความพยายามของชนชั้นสูงสิ้นสุดลง และเรียกร้องพวกเขาให้คืนนิคมอุตสาหกรรมที่พวกเขาได้รับจากมกุฎกษัตริย์ ระบบข้าแผ่นดินนี้ อย่างไรก็ตาม ยังคงถูกบังคับใช้ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และชาวสวีดิชในเอสโตเนีย ที่ที่ใช้ประโยชน์จากผลพลอยได้ของวิถีทางแห่งความเท่าเทียมกันถูกขัดขวางโดนสนธิสัญญาจากสิ่งที่พวกเขาได้รั.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิสวีเดน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิสเปน

ักรวรรดิสเปน (Imperio Español, Spanish Empire) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก และเป็นหนึ่งในจักรวรรดิโลก (global empire) จักรวรรดิแรก ที่มีดินแดนและอาณานิคมในยุโรป, อเมริกา, เอเชีย และ โอเชียเนีย มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 ส่วนอาณานิคมในแอฟริกาเป็นดินแดนที่ได้มาในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 20 สเปนก่อตัวขึ้นเป็นสหอาณาจักรในปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิสเปน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

ักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี (Austria-Hungary) เป็นจักรวรรดิที่มีระบอบการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2410 จนถึง พ.ศ. 2461 หลังจากนั้น จักรวรรดินี้ถูกล้มล้างหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจากจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ. 1804-ค.ศ. 1867) โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน โดยมีต้นกำเนิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี เมื่อปีพ.ศ. 2410 ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาช้านาน โดยเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียว โดยจักรวรรดินี้เป็นอาณาจักรที่มีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองขีดสุด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ราชวงศ์ฮับส์บูร์กนั้นได้ปกครองประเทศในฐานะจักรพรรดิแห่งออสเตรีย (Emperor of Austria) และราชอาณาจักรฮังการีในฐานะกษัตริย์แห่งฮังการี (Apostolic King of Hungary) ผู้ทรงเปรียบเสมือนเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า นอกจากนั้นยังได้ปกครองทั่วทั้งทางตะวันตกและทางเหนือ รวมทั้งครึ่งหนึ่งของทวีปยุโรปเลยทีเดียว โดยทุกประเทศที่อยู่ภายใต้จักรวรรดินี้ มีรัฐบาลเป็นของตนเอง มิได้มีรัฐบาลและศูนย์กลางทางการเมืองหรือรัฐบาลที่ประเทศเดียว เมืองหลวงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้น มีอยู่ 2 เมืองด้วยกันคือ กรุงเวียนนา ที่ประเทศออสเตรีย และกรุงบูดาเปสต์ที่ประเทศฮังการี จักรวรรดินี้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจักรวรรดิรัสเซีย และเป็นอาณาจักรที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 3 รองจากจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งปัจจุบันนี้ พื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดินั้นมีประชากรรวมทั้งหมดถึง 73 ล้านคน.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออตโตมัน

ักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire, Osmanlı İmparatorluğu, โอสมานลือ อิมพาราโทรลู) ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบแซนไทน์ ซึ่งมีคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูล) เป็นเมืองหลวง สุลต่านเมห์เหม็ดที่ 2 เป็นผู้นำในการทำสงคราม ตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบูล และเปลี่ยนโบสถ์ฮาเจีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิดในศาสนาอิสลาม จักรวรรดิออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา และยุโรป ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตก นครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้ จักรวรรดิออตโตมันล่มสลายในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) มีจักรพรรดิเมห์เหม็ดที่ 6 เป็นจักรพรรดิองค์สุดท้าย และมีสาธารณรัฐตุรกี ขึ้นมาแทนที่ และมีมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิออตโตมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอะคีเมนิด

ักรวรรดิอะคีเมนียะห์ หรือ จักรวรรดิเปอร์เชียอะคีเมนียะห์ (Achaemenid Empire หรือ Achaemenid Persian Empire, هخامنشیان) (550–330 ก.ค.ศ.) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของเกรตเตอร์อิหร่านที่ตามมาจากจักรวรรดิมีเดีย ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิอะคีเมนียะห์มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7.5 ล้านตารางกิโลเมตร ที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และเป็นจักรวรรดิที่วางรากฐานของระบบการปกครองจากศูนย์กลางSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty) จักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชครอบคลุมอาณาบริเวณสามทวีปที่รวมทั้งดินแดนในอัฟกานิสถาน และ ปากีสถาน, บางส่วนของเอเชียกลาง, อานาโตเลีย, เธรซ, บริเวณริมฝั่งทะเลดำส่วนใหญ่, อิรัก, ตอนเหนือของซาอุดีอาระเบีย, จอร์แดน, ปาเลสไตน์, เลบานอน, ซีเรีย และอียิปต์ไปจนถึงลิเบีย จักรวรรดิอะคีเมนียะห์เป็นศัตรูของนครรัฐกรีกในสงครามกรีซ-เปอร์เชีย เพราะไปปล่อยชาวยิวจากบาบิโลเนีย และในการก่อตั้งให้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษาราชการ และพ่ายแพ้ต่ออเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 330 ก่อนคริสต์ศักราช ความสำคัญทางประวัติศาสตร์โลกของจักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชก็คือกาวางรากฐานที่ได้รับความสำเร็จของระบบการบริหารการปกครองจากศูนย์กลาง และของรัฐบาลที่มีปรัชญาในการสร้างประโยชน์ให้แก่มวลชนSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty).

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิอะคีเมนิด · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่

ักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ (Neo-Assyrian Empire) เป็นสมัยประวัติศาสตร์ของเมโสโปเตเมียที่เริ่มขึ้นในปี 934 ก่อนคริสต์ศักราช และสิ้นสุดลงเมื่อปี 609 ก่อนคริสต์ศักราช ระหว่างช่วงเวลานี้อัสซีเรียเป็นมหาอำนาจในบริเวณดังกล่าวระหว่างบาบิโลเนียและอำนาจรองอื่น ๆ แต่ก็มิได้มีอำนาจอย่างจริงจังมาจนถึงการปฏิรูปโดย Tiglath-Pileser III ในศตวรรษที่ 8 ก่อนคริสต์ศักราช เมื่ออัสซีเรียกลายมาเป็นมหาอำนาจของจักรวรรดิอันใหญ่หลวง ในสมัยอัสซีเรียกลางระหว่างยุคสัมริดตอนปลายอัสซีเรียเป็นเพียงราชอาณาจักรรองทางตอนเหนือของเมโสโปเตมีย (อิรักปัจจุบัน) ที่แข่งขันการมีอิทธิพลกับราชอาณาจักรอื่นในทางตอนใต้ของเมโสโปเตมียและบาบิโลเนียคู่อริ เริ่มด้วยการรณรงค์ของอดัด-นิรานิที่ 2 (Adad-nirari II) อัสซีเรียก็เริ่มขยายอำนาจและเริ่มกลายเป็นศัตรูสำคัญต่อความมั่นคงของอียิปต์ จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่เป็นจักรวรรดิที่สืบต่อจากสมัยอัสซีเรียกลาง ที่รุ่งเรืองระหว่างศตวรรษที่ 14 ถึง 10 ก่อนคริสต์ศักราช นักวิชาการบางท่านเช่นริชาร์ด เนลสัน ฟราย์มีความเห็นว่าจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่เป็นจักรวรรดิที่แท้จริงจักรวรรดิแรกในประวัติศาสตร์ ระหว่างช่วงเวลานี้ภาษาอราเมอิกก็กลายมาเป็นภาษาราชการของจักรวรรดิร่วมกับภาษาอัคคาเดียน ในที่สุดจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ก็มาล่มสลายลงเมื่อจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่รุ่งเรืองขึ้น นินาเวห์เสียเมืองในปี 612 ก่อนคริสต์ศักราช กว่าห้าสิบปีต่อมาทั้งบาบิโลเนียและอัสซีเรียก็กลายเป็นจังหวัดของจักรวรรดิเปอร์เชีย แม้ว่าอัสซีเรียในรัชสมัยของอัสเชอร์บานิปาล (Ashurbanipal) จะทำลายวัฒนธรรมของเอลาม แต่วัฒนธรรมของอัสซีเรียก็มิได้มามีอิทธิพลต่อชนมีดีสและเปอร์เชียของกลุ่มชนอินโด-อิหร่านต่อม.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส

ักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส (French colonial empire) ประกอบด้วยอาณานิคมโพ้นทะเล, รัฐในอารักขา และ รัฐบริวารที่อยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลฝรั่งเศสในกรุงปารีส ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในศตวรรษที่ 16 โดยจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสถูกแบ่งออกเป็นสองยุค คือจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศสที่หนึ่ง ซึ่งสิ้นสุดลงในปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิอาณานิคมฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอาณานิคมเยอรมัน

ักรวรรดิอาณานิคมเยอรมัน (German colonial empire) เป็นดินแดนโพ้นทะเลของจักรวรรดินิยมเยอรมัน ซึ่งเยอรมันมีความพยายามในการสร้างอาณานิคมที่เริ่มมาตั้งแต่ก่อนหน้านั้โดยนครรัฐต่างๆ ในเยอรมนีไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก เยอรมันมีอาณานิคมโพ้นทะเลอยู่ในทวีปแอฟริกา, เอเชีย และโอเชียเนี.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอาณานิคมเดนมาร์ก

ักรวรรดิอาณานิคมเดนมาร์กช่วงที่อาณาเขตกว้างขวางที่สุดเมื่อกลางศตวรรษที่ 18 จักรวรรดิอาณานิคมเดนมาร์ก (Danish colonial empire) เป็นจักรวรรดิของเดนมาร์ก (หรือเดนมาร์ก-นอร์เวย์จนถึงปี1814) โดยเริ่มตั้งแต่ปี..1536-1945 ช่วงที่อาณาเขตกว้างขวางที่สุดจักรวรรดินั้นครอบคลุม ยุโรป, อเมริกาใต้, แอฟริกา และ เอเชี.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิอาณานิคมเดนมาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอิตาลี

ักรวรรดิอิตาลี (Italian Empire) ก่อตั้งขึ้นโดยราชอาณาจักรอิตาลี (อิตาลีสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นจากการรวมชาติอิตาลี (Italian unification) ที่เพิ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1861) โดยอิตาลีได้ร่วมมือกับมหาอำนาจอื่นๆ ในยุโรปใน “การล่าอาณานิคมในแอฟริกา” ในช่วงนี้จักรวรรดิโปรตุเกส, สเปน, เนเธอร์แลนด์, อังกฤษ และ ฝรั่งเศส ต่างก็เป็นเจ้าของอาณานิคมกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว ดินแดนสุดท้ายที่ยังคงเหลือสำหรับยึดเป็นอาณานิคมคือทวีปแอฟริกาเท่านั้น เมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเริ่มขึ้นในปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอินคา

ักรวรรดิอินคา (Inca Empire; Imperio Incar) (ค.ศ. 1438-1533) เป็นจักรวรรดิโบราณที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ในยุคก่อนโคลัมบัส จักรวรรดิอินคามีอำนาจขึ้นบริเวณที่ราบสูงของประเทศเปรูในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ช่วงปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิอินคา · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอียิปต์

แผนที่แสดงบรเวณเมื่อมีอำนาจมากที่สุดในศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสต์ศักราช จักรวรรดิอียิปต์ หรือ ราชอาณาจักรใหม่ (New Kingdom หรือ Egyptian Empire) เป็นสมัยประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณที่รุ่งเรืองระหว่าง 1600 ปีก่อนคริสต์ศักราชมาจนถึง 1100 ปีก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของอียิปต์และเป็นจุดสูงสุดของมหาอำนาจในประวัติศาสตร.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิอียิปต์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิฮัน

ักรวรรดิฮัน (Hunnic Empire) เป็นจักรวรรดิที่ก่อตั้งโดยชาวฮัน ฮันเป็นสมาพันธ์ของกลุ่มชนยูเรเชียที่ส่วนใหญ่อาจจะพูดภาษากลุ่มเตอร์กิกที่มีลักษณะอื่นที่มาจากภาษากลุ่มอื่นผสม ฮันที่มาจากทุ่งหญ้าสเตปป์ในเอเชียกลางเป็นกลุ่มชนที่มีความสามารถทางการใช้อาวุธที่ก้าวหน้ากว่าชนกลุ่มอื่นในช่วงเวลานั้นซึ่งทำให้สามารถเข้ารุกรานและยึดครองอาณาบริเวณต่างๆ ของชนเผ่าอื่น ได้เป็นจำนวนมหาศาล หลังจากกลางคริสต์ศตวรรษที่ 4 ชนฮันก็เริ่มอพยพเข้ามาในบริเวณยุโรปจากทางแม่น้ำวอลกา มาเริ่มการรุกรานโดยการโจมตีชนอาลานี (Alani) ผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณที่ราบระหว่างแม่น้ำวอลกาและแม่น้ำดอน หลังจากนั้นก็สามารถโค่นจักรวรรดิของออสโตรกอธที่ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำดอน และแม่น้ำนีสเตอร์ได้ ราวปี ค.ศ. 376 ฮันก็ได้รับชัยชนะต่อวิซิกอธผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณโรเมเนียปัจจุบันซึ่งก็เท่ากับมาถึงเขตแดนแม่น้ำดานูบของจักรวรรดิโรมัน การโยกย้ายถิ่นฐานครั้งใหญ่เข้ามาในยุโรปของฮันที่นำโดยอัตติลาเป็นการนำมาซึ่งความวุ่นวายทางการเมืองและการเปลี่ยนแปลงทางชาติพันธุ์ครั้งสำคัญของยุโรป.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิฮัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิขแมร์

ักรวรรดิขแมร์ หรือ อาณาจักรเขมร หรือบางแหล่งเรียกว่า อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ เริ่มต้นขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนัน มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ ประเทศไทย ลาว และบางส่วนของเวียดนามในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้อ่อนกำลังลงจนเสียดินแดนบางส่วนให้กับอาณาจักรสุโขทัย และแตกสลายในที่สุดเมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรเขมรสืบทอดอำนาจจากอาณาจักรเจนฬา มีสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะกับอาณาจักรข้างเคียง เช่น อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรจามปา มรดกที่สำคัญที่สุดของอาณาจักรเขมรคือ นครวัด และ นครธม ซึ่งเคยเป็นนครหลวงเมื่อครั้งอาณาจักรแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด และยังมีลัทธิความเชื่อต่างๆ อย่างหลากหลาย ศาสนาหลักของอาณาจักรนี้ได้แก่ ศาสนาฮินดู พุทธศาสนามหายาน และพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งได้รับจากศรีลังกา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิขแมร์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิข่านอิล

ักรวรรดิข่านอิล (Ilkhanate; ایلخانان, "Ilkhanan"; มองโกเลีย: Хүлэгийн улс, "ดินแดนของฮูเลกู" (Hulagu-yn Ulus)) เป็นรัฐที่แตกมาจากจักรวรรดิมองโกล ครอบคลุมพื้นที่ในตะวันออกกลาง บริเวณประเทศอิหร่านในปัจจุบันเป็นส่วนใหญ่ คำว่า "อิลข่าน" มาจากนามที่กุบไลข่านประทานให้แก่ฮูเลกู ข่าน ผู้ปกครองคนแรก จุดเริ่มต้นของจักรวรรดิข่านอิลมีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 เมื่อเจงกีส ข่าน รบชนะจักรวรรดิควาเรซม์ และพิชิตดินแดนในเอเชียกลางและตะวันออกกลาง ล่วงมาจนถึงฮูเลกู ข่าน พระนัดดา (หลาน) ของเจงกีส ข่าน เมื่อเขารบชนะราชวงศ์อับบาซียะฮ์ที่ครองกรุงแบกแดด ฮูเลกูก็ขยายอำนาจไปในปาเลสไตน์ ก่อนจะพ่ายให้กับชาวแมมลุกในยุทธการที่เอนจาลูต หลังมองเกอ ข่านสวรรคต จักรวรรดิมองโกลก็เกิดสงครามกลางเมือง และแตกออกเป็นหลายอาณาจักร ในปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิข่านอิล · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิข่านจักกาไท

ักรวรรดิข่านจักกาไท (Chagatai Khanate หรือ Chagata, Chugta, Chagta, Djagatai, Jagatai, Chaghtai) เป็นจักรวรรดิมองโกลแต่ต่อมาเปลี่ยนไปเป็นเตอร์กิก จักรวรรดิข่านปกครองโดยข่านจักกาไทพระราชโอรสองค์ที่สองของเจงกีส ข่าน และผู้สืบเชื้อสายต่อจากพระองค์ เดิมจักรวรรดิข่านจักกาไทเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมองโกลแต่ต่อมาแยกตัวมาเป็นอาณาจักรอิสระ ในจุดที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 จักรวรรดิข่านมีอาณาบริเวณตั้งแต่แม่น้ำอามูดาร์ยา (Amu Darya) ทางใต้ของทะเลอารัลไปจนถึงเทือกเขาอัลไตในบริเวณเขตแดนที่ปัจจุบันคือมองโกเลียและจีน จักรวรรดิข่านรุ่งเรืองในรูปใดรูปหนึ่งมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1220 จนกระทั่งถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 17 แม้ว่าทางครึ่งตะวันตกของจักรวรรดิจะเสียไปกับตีมูร์ ในคริสต์ทศวรรษ 1360 แต่ครึ่งตะวันออกยังคงอยู่ในมือของข่านจักกาไทที่บางครั้งก็เป็นปฏิปักษ์ต่อหรือบางครั้งก็เป็นพันธมิตรกับผู้ครองจักรวรรดิตีมูร์ต่อมา ในที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 17 จักรวรรดิข่านจักกาไทที่ยังคงเหลือก็ตกไปอยู่ภายใต้การปกครองของระบบเทวาธิปไตยของ Apaq Khoja และผู้สืบเชื้อสาย, โคจิจัน (Khojijan) ผู้ครองเติร์กสถานตะวันออก (East Turkestan) ภายใต้ดซุงการ์ (Dzungar) และในที่สุดประมุขของแมนจู.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิข่านจักกาไท · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิดัตช์

ักรวรรดิดัตช์ (Dutch Empire) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิอาณานิคมของโลกที่เป็นดินแดนโพ้นทะเลของสาธารณรัฐดัตช์ซึ่งได้ประกาศเอกราชจากจักรวรรดิสเปน และเป็นมหาอำนาจทางทะเลเช่นเดียวกับ สเปน โปรตุเกสและสหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์เป็นมหาอำนาจทางทะเลและเศรษฐกิจชั้นนำของยุโรปในเวลานั้น และกรุงอัมสเตอร์ดัมก็ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางการเงินของยุโรป จนมีนักเศรษฐศาสตร์หลายคนถือให้เนเธอแลนด์เป็นประเทศระบอบทุนนิยมประเทศแรกของโลก.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิดัตช์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิคุปตะ

ักรวรรดิคุปตะ (Gupta Empire) เป็นจักรวรรดิอินเดียโบราณที่รุ่งเรืองระหว่างปี ค.ศ. 280 จนกระทั่งปี ค.ศ. 550 จักรวรรดิ โดยมีอาณาบริเวณที่ครอบคลุมตางตอนเหนือและตอนกลางของอินเดียทั้งหมด และบังคลาเทศปัจจุบัน จักรวรรดิก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้าศรีคุปต์ โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่ปาฏลีบุตรที่ปัจจุบันคือปัฏนาทางตอนเหนือของรัฐพิหาร ความรุ่งเรืองของจักรวรรดิภายใต้การนำของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์คุปตะทำให้มีความเจริญในด้านวิทยาศาสตร์และศิลปะ ในด้านความเจริญทางด้านวัฒนธรรมนักประวัติศาสตร์จัดราชวงศ์คุปตะในระดับเดียวกับราชวงศ์ฮั่น, ราชวงศ์ถัง และจักรวรรดิโรมัน สมัยจักรวรรดิคุปตะถือกันโดยนักวิชาการบางคนว่าเป็นยุคทองของอินเดียในด้านวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรม, ศิลปะ, วรรณคดี, ตรรกศาสตร์, คณิตศาสตร์, ดาราศาสตร์, ศาสนา และปรัชญ.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิคุปตะ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิซองไฮ

ักรวรรดิซองไฮ หรือ จักรวรรดิซองเฮย์ (Songhai Empire หรือ Songhay Empire) เป็นจักรวรรดิที่ตั้งอยู่ในบริเวณแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือ ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 จักรวรรดิซองไฮก็เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาจักรวรรดิของแอฟริกาโดยมีเมืองหลวงอยู่ที่กาว ชื่อจักรวรรดิเป็นชื่อเดียวกับกลุ่มชาติพันธุ์ชาวซองไฮ ที่เดิมเป็นรัฐเล็กๆ มาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 บริเวณที่มีอำนาจอยู่ตรงโค้งแม่น้ำไนเจอร์ที่ปัจจุบันคือประเทศไนเจอร์และบูร์กินาฟาโซ.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิซองไฮ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิซิกข์

ักรวรรดิซิกข์ (Sikh Empire; امپراتوری سیک; سکھ سلطنت) เป็นจักรวรรดิที่ตั้งอยู่ในเอเชียใต้ รอบ ๆ ภูมิภาคปัญจาบ ดำรงอยู่ระหว่างปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิซิกข์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิปาละ

ักรวรรดิปาละ (Pala Empire) เป็นจักรวรรดิที่ปกครองบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของเอเชียใต้ ปาละมักจะได้รับการบรรยายโดยศัตรูว่าเป็น “ประมุขแห่งกวาดา” (Gaur, West Bengal) คำว่า “ปาละ” ในภาษาเบงกอล (পাল pal) แปลว่า “ผู้พิทักษ์” และใช้เป็นสร้อยพระนามของกษัตริย์ทุกพระองค์ ปาละเป็นผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายานและลัทธิตันตระ พระเจ้าโคปาละทรงเป็นกษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์ผู้ขึ้นครองราชย์ในปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิปาละ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิแอกแคด

ักรวรรดิแอกแคด (Akkadian Empire) เป็นจักรวรรดิในสมัยโบราณมีเมืองศูนย์กลางอยู่ที่เมืองแอกแคด ตั้งอยู่บริเวณดินแดนเมโสโปเตเมีย หรือประเทศอิรักในปัจจุบัน ประชาชนในจักรวรรดิทั้งหมดพูดภาษาเดียวกัน และอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันMish, Frederick C., Editor in Chief.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิแอกแคด · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิแอซเท็ก

แอซเท็ก (Aztec Empire) เป็นคำที่หมายถึงกลุ่มชาติพันธ์ในทางตอนกลางของเม็กซิโกโดยเฉพาะกลุ่มที่พูดภาษานาวาตล์ (Nahuatl) ผู้มีอำนาจทางการเมืองและทางการทหารในบริเวณเมโสอเมริกา ในคริสต์ศตวรรษที่ 14, 15 และ 16 ในสมัยที่เรียกว่าปลายยุคคลาสสิกตอนหลังในลำดับเหตุการณ์ในเมโสอเมริกา (Mesoamerican chronology) ส่วนใหญ่แล้ว “แอซเท็ก” มักจะหมายถึงเฉพาะชาวเตนอชตีตลัน (Tenochtitlan) ที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บนเกาะในทะเลสาบเท็กซ์โคโคที่เรียกตนเองว่า “เม็กซิกาเทน็อคคา” หรือ “โคลฮูอาเม็กซิกาเทน็อคคา” บางครั้งคำนี้ก็รวมทั้งผู้ที่พำนักอาศัยของเตนอชตีตลันในนครรัฐพันธมิตรอีกสองเมือง Acolhua แห่ง เตซโกโก และ เทพาเน็คแห่งทลาโคพานที่รวมกันเป็นสามพันธมิตรแอซเท็ก (Aztec Triple Alliance) หรือที่เรียกกันว่า “จักรวรรดิแอซเท็ก” กลุ่มกองกิสตาดอร์ หรือนักสำรวจดินแดนชาวสเปนนำโดย เอร์นัน กอร์เตส เข้ารุกรานและยึดครองจักรวรรดิแอซเท็ก จนกระทั่งล่มสลายในปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิแอซเท็ก · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิแซสซานิด

ักรวรรดิซาสซานิยะห์ (ساسانیان, Sassanid Empire) ที่เป็นหนึ่งในจักรวรรดิเปอร์เชียและที่เป็นจักวรรดิสุดท้ายก่อนที่ศาสนาอิสลามจะเริ่มขึ้นเป็นหนึ่งในสองมหาอำนาจของเอเชียตะวันตกเป็นเวลากว่าสี่ร้อยปี ราชวงศ์ซาสซานิยะห์ก่อตั้งโดยอาร์ดาเชอร์ที่ 1 (Ardashir I) หลังจากที่ทรงได้รับชัยชนะต่อจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิพาร์เธียนองค์สุดท้ายอาร์ตาบานัสที่ 4 (Artabanus IV) และมาสิ้นสุดลงเมื่อยาซเดเกิร์ดที่ 3 (Yazdegerd III) มาพ่ายแพ้หลังจากที่ทรงใช้เวลาถึงสิบสี่ปีในการต่อต้านจักรวรรดิกาหลิปรอชิดีนซึ่งเป็นหนึ่งในจักรวรรดิกาหลิปอิสลามที่ตามกันมา จักรวรรดิซาสซานิยะห์หรือที่เรียกว่า “Eranshahr” (“จักรวรรดิอิหร่าน”) ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นปัจจุบันคืออิหร่าน, อิรัก, อาร์มีเนีย, ทางตอนใต้ของคอเคซัส (รวมทั้งทางตอนใต้ของดาเกสถาน), ตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียกลาง, ตะวันตกของอัฟกานิสถาน, บางส่วนของตุรกี, บางส่วนของซีเรีย, บริเวณริมฝั่งทะเลของคาบสมุทรอาหรับ, บริเวณอ่าวเปอร์เซีย และบางส่วนของทางตะวันตกเฉียงใต้ของปากีสถาน สมัยการปกครองของซาสซานิยะห์เป็นสมัยอันยาวนานของปลายสมัยโบราณและถือกันว่าเป็นสมัยที่สำคัญที่สุดและมีอิทธิพลที่สุดทางประวัติศาสตร์สมัยหนึ่งของ เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของวัฒนธรรมของเปอร์เซียแ ละเป็นจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่จักรวรรดิสุดท้ายก่อนที่จะเริ่มยุคการพิชิตของมุสลิมและการยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม วัฒนธรรมของเปอร์เซียมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของโรมันเป็นอันมากในยุคซาสซานิยะห์J.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิแซสซานิด · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโมกุล

ักรวรรดิโมกุล (เปอร์เซีย: سلطنت مغولی هند; อูรดู: مغلیہ سلطنت; Mughal Empire) เป็นจักรวรรดิซึ่งปกครองบริเวณอนุทวีปอินเดียในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 19 จักรวรรดินี้สืบทอดอำนาจมาจากราชวงศ์ตีมูร์ เริ่มก่อตั้งอาณาจักรในปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิโมกุล · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันตะวันตก

ักรวรรดิโรมันตะวันตก (Western Roman Empire) หมายถึงครึ่งตะวันตกของจักรวรรดิโรมันหลังจากการแบ่งโดยไดโอคลีเชียนในปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิโรมันตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโปรตุเกส

ักรวรรดิโปรตุเกส (Portuguese Empire, Império Português) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิอาณานิคมของโลกจักรวรรดิแรกที่มีดินแดนในหลายทวีปที่รวมทั้งอเมริกาใต้, แอฟริกา, อินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้การปกครอง และเป็นจักรวรรดิอาณานิคมที่รุ่งเรืองอยู่นานที่สุดในยุโรปที่รุ่งเรืองอยู่เป็นเวลาเกือบห้าร้อยปีตั้งแต่การพบบราซิลในปี ค.ศ. 1500 จนกระทั่งถึงการคืนมาเก๊าในปี ค.ศ. 1999 ซึ่งเป็นระยะเวลายาวนานกว่าจักรวรรดิสเปน และ จักรวรรดิฝรั่งเศส ความต้องการที่จะขยายดินแดนไปทั่วโลกของโปรตุเกสเริ่มขึ้นอย่างจริงจังเมื่อนักสำรวจเริ่มดินทางไปสำรวจทางฝั่งทะเลของแอฟริกาในปี ค.ศ. 1419 หลังจากที่ได้รับชัยชนะต่อเมืองเซวตา (Ceuta) ทางตอนเหนือของแอฟริกาในปี ค.ศ. 1415 โปรตุเกสใช้ความก้าวหน้าล่าสุดทางการเดินเรือ, การเขียนแผนที่ และเทคโนโลยีทางทะเลเช่นการใช้เรือคาราเวล (Caravel) ในการแสวงหาเส้นทางการค้าขายเครื่องเทศซึ่งเป็นสินค้าที่มีค่าที่สุดในยุคนั้น ในปี ค.ศ. 1488 บาร์ตูลูเมว ดีอัช (Bartolomeu Dias) เดินทางรอบแหลมกูดโฮปสำเร็จ และในปี ค.ศ. 1498 วาสโก ดา กามาก็เดินทางรอบอินเดีย ขณะที่การสำรวจเหล่านี้เป็นการแสดงถึงอำนาจของโปรตุเกสในต่างประเทศแต่จุดประสงค์ที่แท้จริงของการสำรวจก็เพื่อเป็นการขยายเส้นทางการค้าที่เน้นการแสวงหาเส้นทางใหม่ไปยังตะวันออกไกล โดยไม่ต้องเดินทางผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่ขณะนั้นอยู่ภายใต้อิทธิพลของอำนาจของฝ่ายปฏิปักษ์โดยเฉพาะจักรวรรดิออตโตมัน ความเปลี่ยนแปลงในปี ค.ศ. 1500 เกิดขึ้นเมื่อมีผู้พบฝั่งทะเลอเมริกาใต้โดยบังเอิญ และเมื่อเปดรู อัลวาเรซ กาบรัลเป็นผู้เดินทางสำรวจไปพบและยึดบราซิลเป็นอาณานิคม นโยบายที่เคยเป็นการสำรวจเพื่อการค้าจึงเริ่มเปลี่ยนไปเป็นการสำรวจเพื่อแสวงหาอาณานิคม ในช่วงเวลาหลายสิบปีต่อมานักเดินเรือชาวโปรตุเกสก็ดำเนินการสำรวจฝั่งทะเลและเกาะต่างๆ ในเอเชียตะวันออกต่อไป ก่อตั้งป้อม และ สถานีการค้า (trading post) ขึ้นตามสถานที่ต่างๆ ที่พบ ภายในปี ค.ศ. 1571 โปรตุเกสก็มีสถานีการค้าระไปตั้งแต่ลิสบอนเองไปจนถึงนะงะซะกิในญี่ปุ่น การขยายดินแดนทำให้โปรตุเกสกลายเป็นจักรวรรดิโลกที่มีความมั่งคั่งอันมหาศาล ระหว่างปี ค.ศ. 1580 ถึงปี ค.ศ. 1640 โปรตุเกสก็กลายเป็นพันธมิตรรองของสเปนของสองราชบัลลังก์ในการรวมตัวกันเป็นสหภาพไอบีเรีย (Iberian Union) แม้ว่าสองราชอาณาจักรนี้จะมีการบริหารแยกกันแต่อาณานิคมของโปรตุเกสก็กลายเป็นเป้าในการโจมตีโดยศัตรูของสเปนในยุโรปผู้มีความไม่พึงพอใจต่อความสำเร็จในอำนาจทางทะเลในต่างประเทศของจักรวรรดิในคาบสมุทรไอบีเรียที่รวมทั้งจักรวรรดิดัตช์ (ผู้ในที่สุดก็เข้าสงครามสงครามอิสรภาพต่อต้านสเปน), จักรวรรดิอังกฤษ และ จักรวรรดิฝรั่งเศส แต่โปรตุเกสเป็นประเทศเล็กและมีประชากรเพียงจำนวนไม่มากนักซึ่งทำให้ไม่สามารถป้องกันอาณานิคมในการปกครองของตนเองในดินแดนต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ ซึ่งในที่สุดก็เป็นผลทำให้อำนาจของโปรตุเกสเริ่มลดถอยลง นอกจากนั้นการสูญเสียบราซิลซึ่งเป็นอาณานิคมที่ใหญ่ที่สุดและสร้างผลกำไรให้มากที่สุดแก่โปรตุเกสในปี ค.ศ. 1822 ในช่วงการปลดปล่อยอาณานิคมในอเมริกา (Decolonization of the Americas) เป็นความสูญเสียอันใหญ่หลวงที่ทำให้โปรตุเกสไม่อาจฟื้นตัวขึ้นได้หลังจากนั้น การล่าอาณานิคมในแอฟริกาที่เริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ทำให้โปรตุเกสพอจะได้ดินแดนมาบ้าง ดินแดนส่วนใหญ่ในแอฟริกาที่ได้มาตกอยู่ภายใต้การบริหารและอิทธิพลของโปรตุเกสเป็นเวลาหลายร้อยปี เมืองเช่นลูอันดา (Luanda) และ เบงเกลา (Benguela) และที่ตั้งถิ่นฐานต่างๆ หลายแห่งได้รับการก่อตั้งขึ้นและปกครองโดยโปรตุเกสมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง อันโตนิโอ เดอ โอลิเวรา ซาลาซาร์ (António de Oliveira Salazar) ผู้นำของโปรตุเกสก็ยังพยายามรักษาจักรวรรดิโปรตุเกสไว้โดยไม่ยอมเปลี่ยนแปลงในขณะที่ประเทศต่างๆ ในยุโรปเริ่มถอนตัวจากอาณานิคมต่างๆ ในปี ค.ศ. 1961 กองกำลังจำนวนเพียงเล็กน้อยของโปรตุเกสที่ประจำอยู่ที่รัฐกัวก็ไม่สามารถต้านทานกองทหารอินเดียที่รุกเข้ามาในอาณานิคมได้ ซาลาซาร์จึงเริ่มสงครามอาณานิคมโปรตุเกสอันเป็นสงครามนองเลือดอันยาวนานเพื่อที่จะปราบปรามนักต่อต้านอาณานิคมในอาณานิคมแอฟริกา สงครามอันไม่เป็นที่นิยมมาสิ้นสุดลงเมื่อคณะรัฐบาลของซาลาซาร์ถูกโค่นอำนาจในปี ค.ศ. 1974 ที่เรียกกันว่าการปฏิวัติคาร์เนชัน (Carnation Revolution) หลังจากนั้นรัฐบาลโปรตุเกสก็เปลี่ยนนโยบายทันทีและอนุมัติอิสรภาพของประเทศต่างๆ ในอาณานิคมโปรตุเกสทั้งหมดยกเว้นมาเก๊าที่มาคืนให้แก่ประเทศจีนในปี ค.ศ. 1999 ซึ่งเท่ากับเป็นการสิ้นสุดของจักรวรรดิโปรตุเก.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิโปรตุเกส · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเยอรมัน

ักรวรรดิเยอรมัน (Deutsches Kaiserreich) เป็นชื่ออย่างไม่เป็นทางการที่ใช้เรียกแผ่นดินของชาวเยอรมัน ตั้งแต่ที่พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ได้สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมันใน..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเคียฟรุส

ักรวรรดิเคียฟรุส (Кіеўская Русь, Ки́евская Русь, Ки́ївська Русь) เป็นจักรวรรดิในยุคกลางที่รุ่งเรืองระหว่างคริสต์ทศวรรษ 880 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 ที่ก่อตั้งขึ้นโดยพ่อค้าสแกนดิเนเวีย (วารังเจียน) ที่เรียกว่า “ชนรุส” โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เคียฟ (ปัจจุบันเป็นเมืองหลวงของยูเครน) รัฐรุสถือว่าเป็นต้นตอของชาติพันธุ์สลาฟตะวันออกในปัจจุบันสามชาติพันธุ์ ได้แก่ ชาวเบลารุส, รัสเซีย, และ ยูเครน รัชสมัยของวลาดิเมียร์มหาราช (ค.ศ. 980–ค.ศ. 1015) และ พระราชโอรสยาโรสลาฟที่ 1 เดอะไวส์ (ค.ศ. 1019–ค.ศ. 1054) ถือกันว่าเป็นยุคทองของเคียฟ สมัยนี้เป็นสมัยที่จักรวรรดิเคียฟรุสยอมรับนับถือคริสต์ศาสนา และมีการรวบรวมประมวลกฎหมายที่เขียนเป็นภาษาสลาฟตะวันออกที่เรียกว่า “ประมวลกฎหมายรุสสคายา” (Russkaya Pravda) ผู้นำสมัยแรกของจักรวรรดิเคียฟรุสสันนิษฐานกันว่าสืบเชื้อสายมาจากชนชั้นผู้นำสแกนดิเนเวียที่ปกครองข้าแผ่นดินที่เป็นชนสลาฟ และมีอำนาจต่อมาจนกระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 11.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิเคียฟรุส · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเซลจุค

มหาจักรวรรดิเซลจุค (سلجوقیان.) เป็นจักรวรรดิแบบเปอร์เชียM.A. Amir-Moezzi, "Shahrbanu", Encyclopaedia Iranica, Online Edition,: "...

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิเซลจุค · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเซอร์เบีย

ักรวรรดิเซอร์เบีย (Serbian Empire, เซอร์เบีย: Српско царство) เป็นจักรวรรดิของยุคกลางที่ตั้งอยู่ในคาบสมุทรบอลข่านที่มีที่มาจากราชอาณาจักรเซอร์เบียในคริสต์ศตวรรษที่ 14 จักรวรรดิเซอร์เบียก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1346 และรุ่งเรืองมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1371.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิเซอร์เบีย · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิเปอร์เชีย

ักรวรรดิเปอร์เชีย (Persian Empire) คือจักรวรรดิและอาณาจักรต่างๆในประวัติศาสตร์ของเปอร์เชียที่ปกครองต่อเนื่องกันมาในบริเวณที่ราบสูงอิหร่าน, ถิ่นกำเนิดของเปอร์เชีย และไกลไปทางเอเชียตะวันตก, เอเชียใต้, เอเชียกลาง และ บริเวณคอเคซัส จักรวรรดิเปอร์เชียจักรวรรดิแรกก่อตั้งภายใต้จักรวรรดิมีเดีย (728–559 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หลังจากการโค่นจักรวรรดิอัสซีเรียด้วยความช่วยเหลือของบาบิโลเนีย จักรวรรดิเปอร์เชียอคีเมนียะห์ (550–330 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และมารุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าดาไรอัสมหาราช และ พระเจ้าเซอร์ซีสมหาราช — ผู้มีชื่อเสียงว่าเป็นศัตรูคนสำคัญของรัฐกรีกโบราณ (ดู สงครามกรีก-เปอร์เชีย) บริเวณที่ตั้งเดิมอยู่ในบริเวณที่ในปัจจุบันรู้จักกันว่าจังหวัดพาร์ส (จังหวัดฟาร์ส) ในประเทศอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิเปอร์เชียก่อตั้งภายใต้พระเจ้าไซรัสมหาราชผู้ทรงยึดจักรวรรดิจากชนมีดีส (Medes) และทรงขยายดินแดนออกไปทางตะวันออกกลางที่รวมทั้งดินแดนของบาบิโบเนีย, อัสซีเรีย, ฟินิเซีย และ ลิเดีย หลังจากนั้นพระเจ้าแคมไบซีสที่ 2 แห่งเปอร์เชีย (Cambyses II of Persia) พระราชโอรสในพระเจ้าไซรัสก็ทรงดำเนินนโยบายการขยายดินแดนต่อไปยังอียิปต์ จักรวรรดิอคีเมนียะห์มาสิ้นสุดลงระหว่างสงครามอเล็กซานเดอร์มหาราช แต่ก็มาฟื้นตัวอีกครั้งในรูปของจักรวรรดิพาร์เธียน และ จักรวรรดิซาสซานิยะห์ แห่ง อิหร่าน ที่ตามมาด้วยยุคประวัติศาสตร์หลังศาสนาอิสลามของจักรวรรดิต่างๆ เช่น จักรวรรดิทาฮิริยะห์, จักรวรรดิซาฟาริยะห์, จักรวรรดิไบอิยะห์, จักรวรรดิซามานิยะห์, จักรวรรดิกาสนาวิยะห์, จักรวรรดิเซลจุค และ จักรวรรดิควาเรซเมีย มาจนถึงอิหร่านปัจจุบัน จักรวรรดิต่างๆ ที่รุ่งเรืองต่อเนื่องกันมาในเกรตเตอร์อิหร่าน ก่อนเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจักรวรรดิเปอร์เชีย · ดูเพิ่มเติม »

จ๊กก๊ก

กก๊ก หรือ สู่ฮั่น (พินอิน: Shǔ Hàn) เป็นหนึ่งในอาณาจักรสามก๊ก สถาปนาโดยพระเจ้าเล่าปี่ เชื้อพระวงศ์แห่งราชวงศ์ฮั่น ปกครองในระหว่างปี พ.ศ. 764 - พ.ศ. 806 (ปี ค.ศ. 221-263) จ๊กก๊กครอบครองพื้นที่ทางภาคตะวันตกของประเทศจีน บริเวณมณฑลเสฉวน มีแม่น้ำทั้งหกสายไหลผ่าน จ๊กก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 2 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์ฮั่น, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และจ๊กก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

ซฺยงหนู

thumb ซฺยงหนู ตามสำเนียงกลาง หรือ เฮงโน้ว ตามสำเนียงฮกเกี้ยน เป็นชื่อเรียกกลุ่มชนโบราณซึ่งมีพวกร่อนเร่เป็นพื้น และตั้งตัวกันเป็นรัฐหรือสหพันธรัฐ อยู่ในภาคเหนือของประเทศจีน ข้อมูลข่าวสารส่วนใหญ่เกี่ยวกับพวกซฺยงหนูจึงมาจากจีน กับทั้งชื่อเสียงเรียงนามของคนเหล่านั้นก็เป็นที่ทราบกันไม่มาก จึงใช้ตามที่จีนทับศัพท์มาจากภาษาซฺยงหนูอีกทอดหนึ่ง อัตลักษณ์ของแกนกลางทางชาติพันธุ์ซฺยงหนูนั้นเป็นแต่สมมุมติฐานกันไปในหลายทาง เพราะภาษาซฺยงหนู โดยเฉพาะชื่อแซ่บุคคลนั้น ปรากฏในแหล่งข้อมูลจีนน้อยมาก นักวิชาการเสนอว่า คนซฺยงหนูอาจใช้ภาษาเติร์ก (Turkic), มองโกล (Mongolic), เยนีเซย์ (Yeniseian), Beckwith 2009: 404-405, nn.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และซฺยงหนู · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถาน (Afghanistan; افغانستان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกจรดประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และตะวันออกติดปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน อัฟกานิสถานเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ระหว่างการล้มตอลิบานโดยการรุกรานอัฟกานิสถานของสหรัฐอเมริกา และความสำเร็จของโลยา จีร์กา ในปี พ.ศ. 2546 ชาวตะวันตกเรียกอัฟกานิสถานว่า Transitional Islamic State of Afghanistan อย่างไรก็ดี ภายใต้รัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถานฉบับปัจจุบัน ประเทศนี้เรียกว่า สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน ในปัจจุบันเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และประเทศอัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิรัก

ประเทศอิรัก (العراق; عێراق อังกฤษ: Iraq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอิรัก (جمهورية العراق; كؤماری عێراق) เป็นประเทศในตะวันออกกลาง มีอาณาเขตทางทิศเหนือจดประเทศตุรกี ทางทิศตะวันออกจดประเทศอิหร่าน ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จดประเทศคูเวต ทางทิศใต้จดประเทศซาอุดีอาระเบีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้จดประเทศจอร์แดน และทางทิศตะวันตกจดประเทศซีเรีย กรุงแบกแดด ซึ่งเป็นเมืองหลวง ตั้งอยู่ในกลางประเทศ ราว 97% ของประชากรอิรัก 36 ล้านคนเป็นชาวมุสลิม ส่วนใหญ่มีเชื้อสายซุนนีย์ ชีอะฮ์และเคิร์ด ประเทศอิรักมีแนวชายฝั่งส่วนแคบวัดความยาวได้ 58 กิโลเมตรทางเหนือของอ่าวเปอร์เซีย และอาณาเขตของประเทศครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเมโสโปเตเมีย ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเทือกเขาซากรอส และทะเลทรายซีเรียส่วนตะวันออก สองแม่น้ำหลัก แม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ไหลลงใต้ผ่านใจกลางประเทศและไหลลงสู่ชัฏฏุลอะร็อบใกล้อ่าวเปอร์เซีย แม่น้ำเหล่านี้ทำให้ประเทศอิรักมีดินแดนอุดมสมบูรณ์มากมาย ภูมิภาคระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีสมักเรยกว่า เมโสโปเตเมีย และคาดว่าเป็นบ่อเกิดของการเขียนและอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดของโลก พื้นที่นี้ยังเป็นที่ตั้งของอารยธรรมที่สืบทอดต่อกันมานับแต่ 6 สหัสวรรษก่อนคริสตกาล ในแต่ละช่วงของประวัติศาสตร์ อิรักเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิอัคคาเดีย ซูเมเรีย อัสซีเรีย และบาบิโลเนีย นอกจากนี้ยังเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมีเดีย อะคีเมนิด เฮลเลนนิสติก พาร์เธีย แซสซานิด โรมัน รอชิดีน อุมัยยะฮ์ อับบาซียะห์ มองโกล ซาฟาวิด อาฟชาริยะห์และออตโตมัน และเคยเป็นอาณาเขตในอาณัติสันนิบาตชาติภายใต้การควบคุมของอังกฤษ พรมแดนสมัยใหม่ของประเทศอิรักส่วนใหญ่ปักใน..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และประเทศอิรัก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิหร่าน

อิหร่าน (ایران, อีรอน) หรือ เปอร์เซีย มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (جمهوری اسلامی ايران) เป็นประเทศในเอเชียตะวันตก มีเขตแดนติดกับประเทศอาร์มีเนีย สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคโดยพฤตินัย และอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ติดประเทศคาซัคสถานและรัสเซียโดยมีทะเลแคสเปียนคั่น ติดประเทศเติร์กเมนิสถานทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ติดประเทศอัฟกานิสถานและปากีสถานทางทิศตะวันออก ติดอ่าวเปอร์เซียและอ่าวโอมานทางทิศใต้ และติดประเทศตุรกีและอิรักทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ดินแดน 1,648,195 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศใหญ่ที่สุดอันดับที่สองในตะวันออกกลางและอันดับที่ 18 ในโลก มีประชากร 78.4 ล้านคน มากที่สุดเป็นอันดับที่ 17 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีชายฝั่งทะเลแคสเปียนและมหาสมุทรอินเดีย ประเทศอิหร่านมีความสำคัญทางภูมิรัฐศาสตร์มาช้านานเนื่องจากที่ตั้งอยู่ในกลางยูเรเชียและเอเชียตะวันตก และอยู่ใกล้กับช่องแคบฮอร์มุซ อิหร่านเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมหลากหลายที่มีกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาต่างๆมากมาย เปอร์เซียที่ใหญ่ที่สุด (61%) อาเซอร์ไบจาน (16%), Kurds (10%) และ Lorestan (6%) ประเทศอิหร่านเป็นที่ตั้งของอารยธรรมเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เริ่มต้นด้วยการตั้งราชอาณาจักรก่อนเอลามและเอลามใน 3200–2800 ปีก่อน..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และประเทศอิหร่าน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอุรุกวัย

อุรุกวัย (Uruguay) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐบูรพาอุรุกวัย (República Oriental del Uruguay) เป็นประเทศเล็ก ๆ ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ มีอาณาเขตจรดประเทศบราซิลทางทิศเหนือ จรดแม่น้ำอุรุกวัยทางทิศตะวันตก จรดปากแม่น้ำรีโอเดลาปลาตา (มีความหมายตามตัวอักษรว่า "แม่น้ำแห่งแร่เงิน" แต่มักเป็นที่รู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า "แม่น้ำเพลต") ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีอาณาเขตของประเทศอาร์เจนตินาอยู่อีกฝั่ง และจรดมหาสมุทรแอตแลนติกใต้ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประชากรประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศอาศัยอยู่ในเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดคือ กรุงมอนเตวิเดโอ อุรุกวัยเป็นประเทศที่มีขนาดเล็กที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของทวีปอเมริกาใต้ และเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบการเมืองและระบบเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพที.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และประเทศอุรุกวัย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเกาหลี

แผนที่ประเทศเกาหลีก่อนที่จะถูกแบ่งออกเป็นเกาหลีเหนือและ เกาหลีใต้ ธงรวมเกาหลี ธงสัญลักษณ์ร่วมสำหรับเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ในการแข่งขันกีฬานานาชาตินับตั้งแต่ ค.ศ. 1994 ประเทศเกาหลี (한국 หรือ 조선, ฮันกุก หรือ โชซ็อน) เป็นอดีตประเทศ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรเกาหลี ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศเกาหลีถูกแบ่งออกเป็นประเทศเกาหลีเหนือและประเทศเกาหลีใต้.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และประเทศเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แกรนด์ดัชชีมอสโก

แกรนด์ดัชชีแห่งมอสโก (Великое Княжество Московское หรือ Velikoye Knyazhestvo Moskovskoye, Grand Duchy of Moscow) เป็นแกรนด์ดัชชีของรัสเซียในยุคกลางที่รุ่งเรืองระหว่างปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และแกรนด์ดัชชีมอสโก · ดูเพิ่มเติม »

โกลเดนฮอร์ด

กลเดนฮอร์ด (Алтан Орд, Altan Ord; Алтын Урда, Altın Urda; Золотая Орда, Zolotaya Orda, Golden Horde หรือ Ulus of Jochi) เป็นคำที่สลาฟตะวันออกใช้เรียกมองโกล"", The Columbia Encyclopedia, Sixth Edition, 2001-05.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และโกลเดนฮอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

เอลาม

อลาม หรือ จักรวรรดิเอลาไมท์ (Elam หรือ Elamite Empire) เป็นอารยธรรมโบราณที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่านปัจจุบัน เอลามเป็นศูนย์กลางทางตะวันตกสุดและทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่านปัจจุบันที่ครอบคลุมตั้งแต่ที่ลุ่มคูเซสสถาน (Khuzestan) และ จังหวัดอิลาม (Ilam Province) ที่เป็นต้นกำเนิดของคำว่า “เอลาม” ไปจนถึงจิรอฟท์ในจังหวัดเคอร์มาน (Kerman province) และเบอร์เนดในซาโบล (Zabol) และรวมทั้งบางส่วนเล็กน้อยของทางใต้ของอิรัก จักรวรรดิเอลาไมท์รุ่งเรืองอยู่ระหว่าง 2800 ปีจนถึง 550 ปีก่อนคริสต์ศักราช ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมโสโปเตเมียเอลามเป็นส่วนหนึ่งของเมืองในตะวันออกโบราณระหว่างยุคทองแดง (Chalcolithic) การเริ่มใช้บันทึกโดยตัวอักษรจากตั้งแต่ 3000 ปีก่อนคริสต์ศักราชประจวบกับประวัติศาสตร์ของเมโสโปเตเมีย ในสมัยเอลาไมท์โบราณ (ยุคสัมริดตอนกลาง) เอลามประกอบด้วยกลุ่มราชอาณาจักรบนที่ราบสูงอิหร่านที่มีศูนย์กลางอยู่ที่อันชาน และจากราวศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราชศูนย์กลางก็ย้ายไปอยู่ที่ซูซา (Susa) บนที่ราบต่ำคูเซสสถาน วัฒนธรรมของเอลามมีบทบาทสำคัญในหมู่ชนกูเทียน (Gutian people) โดยเฉพาะในสมัยที่จักรวรรดิอคีเมนียะห์เข้ามาแทนที่และภาษาเอลาไมท์ยังคงใช้เป็นภาษาราชการ ภาษาเอลาไมท์ไม่มีความเกี่ยวข้องกับตระกูลภาษาใดๆ และดูเหมือนจะเป็นภาษาอิสระเช่นภาษาสุเมเรียน แต่นักค้นคว้าบางคนเชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของภาษาเอลาโม-ดราวิเดียน (Elamo-Dravidian).

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และเอลาม · ดูเพิ่มเติม »

เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย

รือจักรภพโปแลนด์-ลิทัวเนีย (Rzeczpospolita Obojga Narodów; Polish-Lithuanian Commonwealth) มีชื่อเป็นทางการว่า “Rzeczpospolita Korony Polskiej i Wielkiego Księstwa Litewskiego” หรือที่รู้จักกันในนาม “สาธารณรัฐโปแลนด์ที่หนึ่ง” (First Polish Republic) หรือ “สาธารณรัฐแห่งสองชาติ” (Republic of the Two Nations) (Pierwsza Rzeczpospolita หรือ Rzeczpospolita Obojga Narodów; Abiejų tautų respublika) เป็นเครือจักรภพที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุด, accessed on 19 March 2006: At its apogee, the Polish-Lithuanian Commonwealth comprised some 400000 sqare mile and a multi-ethnic population of 11 million. For population comparisons, see also those maps:,. แห่งหนี่งในยุโรปในคริสต์ศตวรรษที่ 17 โครงสร้างทางการเมืองเป็นกึ่งสหพันธรัฐ กึ่งราชาธิปไตย เครือจักรภพก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย · ดูเพิ่มเติม »

เซี่ยตะวันตก

ซี่ยตะวันตก (Western Xia) เป็นชื่ออาณาจักรแห่งหนึ่งซึ่งดำรงอยู่ตั้งแต่ปี 1038 ถึงปี 1227 ณ บริเวณที่ปัจจุบันเป็นเขตกานซู ชิงไห่ ซินเจียง มองโกเลียนอก มองโกเลียใน ส่านซี และหนิงเซี่ย ของสาธารณรัฐประชาชนจีน กินพื้นที่ราวแปดแสนตารางกิโลเมตร อาณาจักรเซี่ยตะวันตกถูกพวกมองโกลจากอาณาจักรมองโกลทำลายโดยสิ้นเชิง เป็นเหตุให้บันทึกและสถาปัตยกรรมล้วนดับสูญ ฉะนั้น ประวัติศาสตร์ของอาณาจักรนี้จึงเป็นที่โต้เถียงเรื่อยมา จนกระทั่งมีการสำรวจขนานใหญ่จากฝรั่งและคนจ?ีนเอง จึงพบว่า อาณาจักรเซี่ยตะวันตกประสบความส??سเร็จอย่างใหญ่หลวงในด้านน?าฏกรรม วรรณกรรม ศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม ชนิดที่นักประวัติศาสตร์ถือกันว่า เป็นผลงานที่ "รุ่งโรจน์เรืองรอง" (shining and sparkling) อนึ่ง ยังพบว่า อาณาจักรเซี่ยตะวันตกสามารถจัดระเบียบกองทัพอย่างเป็นระบบ กองทัพเซี่ยมีทั้งพลธนู พลปืน (ติดตั้งปืนใหญ่ไว้บนหลังอูฐ) พลม้า พลรถ พลโล่ และทแกล้??اทหารที่เก่งทั้งน้ำและบก อาณาจักรเซี่ยตะวันตกจึงรุกรานอาณาจัก?รรอบข้าง เช่น จิน ซ่ง และเหลียว ?ได้อย่างมีประสิท.

ใหม่!!: รายชื่อจักรวรรดิเรียงตามพื้นที่และเซี่ยตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »