โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์

ดัชนี รายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์

วทมนตร์คาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์ เกิดขึ้นในชุดวรรณกรรมโดยผู้ประพันธ์ เจ. เค. โรว์ลิง การกล่าวถึงหลักของ "เวทมนตร์คาถา" ในเรื่องนั้นประกอบด้วยท่าทางประกอบการใช้ไม้กายสิทธิ์ของตัวละคร ประกอบกับการร่ายเวทมนตร์โดยออกเสียงหรือในใจ ในหนังสือและชุดภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้อง ชื่อของเวทมนตร์คาถาหรือการเปล่งเสียงส่วนใหญ่นำมาจากตันติภาษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษาละติน ชื่อเหล่านี้ไม่ได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ในภาษาใด ๆ วลีที่ใช้ในการร่ายเวทมนตร์ส่วนใหญ่คล้ายกับคำภาษาละตินที่มีความหมายแต่ไม่ใช่คำภาษาละตินในตัวของมันเอง ในแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม ได้มีการเสนอแนวคิดการร่ายเวทมนตร์โดยไม่ต้องออกเสียง (คาถาไร้เสียง) ทำให้เวทมนตร์คาถาบางบทไม่มีการออกเสียง โดยก่อนหน้านั้น ทุกคาถาที่ร่ายออกมาโดยตัวละครสำคัญล้วนมีการท่องคาถาอย่างเหมาะสม แม้ผู้ใช้เวทมนตร์ผู้ใหญ่ระดับก้าวหน้าอาจใช้คาถาโดยไม่ต้องเปล่งเสียงออกมาในหนังสือเล่มก่อน ๆ ด้วยเหตุนี้ คำร่ายคาถาซึ่งใช้สำหรับเวทมนตร์บางบทที่พบในเจ้าชายเลือดผสมและเรื่องต่อเนื่อง เครื่องรางยมทูต จึงไม่มี เวทมนตร์คาถาที่อยู่ในรายการด้านล่างนี้เรียงตามคำร่ายคาถาในภาษาอังกฤษ โดยมีชื่อทั่วไปอยู่ในวงเล็บ คาถาบางบทไม่รู้คำร่ายคาถา และเพียงกล่าวถึงในข้อความเฉพาะชื่อไม่เป็นทางการ ซึ่งอาจเป็นเพราะปรากฏในเรื่องเฉพาะเมื่อร่ายแบบไม่เปล่งเสียงเท่านั้น หรือเพราะไม่เคยกล่าวถึงในหนังสือ เพียงแต่กล่าวถึงเท่านั้น เวทมนตร์คาถาส่วนใหญ่ที่ร่ายระหว่างตัวละครผู้ใหญ่ในหนังสือทั้งเจ็ดเล่มดูเหมือนจะไม่เปล่งเสียงออกมาเลย มีเพียงผลของคาถาเท่านั้นที่สามารถระบุได้.

15 ความสัมพันธ์: ภาษากรีกภาษาละตินภาษาคลาสสิกสัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่อวัจนภาษาควิดดิชในยุคต่าง ๆแฮร์รี่ พอตเตอร์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับแฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนีแฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบันแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสมแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูตเจ. เค. โรว์ลิง

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: รายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์และภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: รายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์และภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาคลาสสิก

ษาคลาสสิก (classical language) หมายถึง ภาษาเก่าแก่ที่เป็นรากฐานของภาษาอื่น ๆ เช่น ภาษาสันสกฤต ภาษาละติน แม้ปัจจุบันจะไม่ได้มีการใช้สนทนากัน แต่ก็ถือว่ามีคุณค่าในทางวรรณคดี.

ใหม่!!: รายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์และภาษาคลาสสิก · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่

ัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ (Fantastic Beasts and Where to Find Them) เป็นหนังสือชุดพิเศษในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่เขียนโดยเจ. เค. โรว์ลิ่ง ซึ่งเขียนมอบให้แก่การกุศล โดยสมมติว่าหนังสือเล่มนี้เป็นสมบัติของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ในหนังสือเล่มนี้เป็นของโรงเรียนฮอกวอตส์ที่นักเรียนปีหนึ่งทุกคนต้องซื้อ มีชื่อสัตว์เรียงลำดับตัวอักษร A ถึง Z ที่มีชีวิตอยู่ และยังแยกประเภทความดุร้ายไว้ด้วย รวมถึงบอกเล่าความเป็นมาอย่างละเอียดของสัตว์วิเศษหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น บาสิลิสก์ ฮิปโปกริฟฟ์ เซนเทอร์ ยูนิคอร์น กัปปะ พิกซี่ มนุษย์หมาป่า เป็นต้น รายได้ของหนังสือเล่มนี้ได้ถูกมอบให้แก่การกุศล.

ใหม่!!: รายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์และสัตว์มหัศจรรย์และถิ่นที่อยู่ · ดูเพิ่มเติม »

อวัจนภาษา

ป้ายจราจรเป็นอวัจนภาษาที่ใช้เป็นสากล อวัจนภาษา (nonverbal communication, NVC) หมายถึงการสื่อสารโดยไม่ใช้การฟัง การพูด การอ่านตามตัวหนังสือ และการเขียนเป็นตัวหนังสือ หรือหมายถึงการสื่อสารโดยไม่ใช้ระบบคำและประโยค ตัวอย่างเช่น ป้ายจราจร ภาษามือ สไมลี่ เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์และอวัจนภาษา · ดูเพิ่มเติม »

ควิดดิชในยุคต่าง ๆ

วิดดิชในยุคต่าง ๆ (Quidditch Through the Ages) เป็นหนังสือจำลองจากหนังสือเรียนใน โรงเรียนเวทมนตร์คาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ ที่รวบรวมประวัติความเป็นมาของไม้กวาด อธิบายวิวัฒนาการของควิดดิชในแต่ละยุค รวมไปถึงกฎกติกาและการเล่นสมัยใหม่ ตำนานของควิดดิช กีฬาสุดฮิตในโลกของพ่อมดแม่มด ลูกสนิชสีทอง พัฒนากรของควิดดิช จวบจนกระทั่งเป็นควิดดิชในปัจจุบัน ซึ่งทั้งหมดนี้ผ่านช่วงเวลาต่าง ๆ นานกว่าหกศตวรรษ นอกจากนี้ ยังอธิบายวิธีเล่ อย่างละเอียด กลเม็ดต่าง ๆ ที่ใช้กันในปัจจุบัน ทีมควิดดิชที่เป็นขวัญใจของพ่อมดแม่มดทั่วโลก สุดยอดทีมควิดดิชของเอเชียและที่อื่น.

ใหม่!!: รายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์และควิดดิชในยุคต่าง ๆ · ดูเพิ่มเติม »

แฮร์รี่ พอตเตอร์

แฮร์รี่ พอตเตอร์ เป็นชุดนวนิยายแฟนตาซีจำนวนเจ็ดเล่ม ประพันธ์โดยนักเขียนชาวอังกฤษ เจ. เค. โรว์ลิง เป็นเรื่องราวการผจญภัยของพ่อมดวัยรุ่น แฮร์รี่ พอตเตอร์ กับเพื่อนสองคน รอน วีสลีย์ และเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ ซึ่งทั้งหมดเป็นนักเรียนโรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ โครงเรื่องหลักเกี่ยวกับภารกิจของแฮร์รี่ในการเอาชนะพ่อมดศาสตร์มืดที่ชั่วร้าย ลอร์ดโวลเดอมอร์ ผู้ที่ต้องการจะมีชีวิตอมตะ มีเป้าหมายเพื่อพิชิตมักเกิ้ล หรือประชากรที่ไม่มีอำนาจวิเศษ พิชิตโลกพ่อมดและทำลายทุกคนที่ขัดขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ หนังสือเล่มแรกในชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ วางจำหน่ายในฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน..

ใหม่!!: รายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์และแฮร์รี่ พอตเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ ฉบับภาษาอังกฤษ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ (Harry Potter and the Order of the Phoenix) คือหนังสือเล่มที่ห้าในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง และแปลเป็นภาษาไทยโดยสุมาลี จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ เป็นภาคที่ยาวที่สุด ออกวางจำหน่ายเมื่อ 21 มิถุนายน ค.ศ. 2003 15 มิถุนายน..

ใหม่!!: รายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ (Harry Potter and the Philosopher's Stone) เป็นนวนิยายเล่มแรกในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ และนวนิยายประเดิมของเจ. เค. โรว์ลิง โครงเรื่องติดตามแฮร์รี่ พอตเตอร์ พ่อมดหนุ่มผู้ค้นพบมรดกเวทมนตร์ของเขา พร้อมกับสร้างเพื่อนสนิทและศัตรูจำนวนหนึ่งในปีแรกที่โรงเรียนคาถาพ่อมดแม่มดและเวทมนตร์ศาสตร์ฮอกวอตส์ ด้วยความช่วยเหลือของมิตร แฮร์รี่เผชิญกับความพยายามหวนคืนของพ่อมดมืด ลอร์ดโวลเดอมอร์ ซึ่งฆ่าบิดามารดาของแฮร์รี่ แต่ไม่สามารถฆ่าเขาได้เมื่ออายุหนึ่งขวบ บลูมส์บิวรีในกรุงลอนดอนจัดพิมพ์หนังสือดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2540 ในปี 2541 บริษัทสกอลาสติกจัดพิมพ์ฉบับสำหรับตลาดสหรัฐอเมริกาภายใต้ชื่อเรื่อง Harry Potter and the Sorcerer's Stone นวนิยายดังกล่าวชนะรางวัลหนังสืออังกฤษส่วนใหญ่ซึ่งตัดสินโดยเด็ก และรางวัลอื่นในสหรัฐอเมริกา หนังสือนี้แตะอันดับ 1 รายการบันเทิงคดีขายดีของนิวยอร์กไทมส์ ในเดือนสิงหาคม 2542 และอยู่ใกล้อันดับ 1 เป็นส่วนใหญ่ของปี 2542 และ 2543 มีการแปลเป็นภาษาอื่นอีกหลายภาษา และมีการสร้างเป็นภาพยนตร์ชื่อเดียวกัน บทปริทัศน์ส่วนใหญ่ชื่นชอบมาก โดยออกความเห็นต่อจินตนาการ ความขบขัน ความเรียบง่าย ลีลาตรงไปตรงมาและการสร้างโครงเรื่องที่ฉลาดของโรว์ลิง แม้บ้างติว่า บทท้าย ๆ ดูรวบรัด มีการเปรียบเทียบงานนี้กับงานของเจน ออสเตน ซึ่งเป็นผู้ประพันธ์คนโปรดคนหนึ่งของโรว์ลิง หรือโรอาลด์ ดาห์ล ซึ่งงานของเขาครอบงำเรื่องสำหรับเด็กก่อนมีแฮร์รี่ พอตเตอร์ และโฮเมอร์ นักเล่านิยายกรีกโบราณ แม้นักวิจารณ์บางส่วนคิดว่า หนังสือนี้ดูย้อนกลับไปเรื่องโรงเรียนกินนอนสมัยวิกตอเรียและเอ็ดเวิร์ด แต่นักวิจารณ์อื่น ๆ คิดว่า หนังสือนี้วางประเภทอยู่ในโลกสมัยใหม่อย่างแนบแน่นโดยมีลักษณะประเด็นจริยธรรมและสังคมร่วมสมัย แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ ร่วมกับที่เหลือของชุดถูกกลุ่มศาสนาหลายกลุ่มโจมตีและห้ามในบางประเทศเพราะกล่าวหาว่านวนิยายนี้ส่งเสริมเวทมนตร์คาถา แต่นักวิจารณ์คริสตศาสนิกบางคนเขียนว่า หนังสือนี้ยกตัวอย่างมุมมองที่สำคัญของศาสนาคริสต์หลายอย่าง ซึ่งรวมอำนาจของการสละตนเองและวิธีซึ่งการตัดสินใจของบุคคลก่อเป็นบุคลิกภาพของเขา นักการศึกษาถือว่า แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ และหนังสือตามมาเป็นตัวช่วยพัฒนาการรู้หนังสือที่สำคัญเพราะความนิยม นอกจากนี้ ยังใช้หนังสือชุดนี้เป็นแหล่งตัวอย่างในเทคนิคการศึกษา การวิเคราะห์สังคมวิทยาและการตล.

ใหม่!!: รายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ คือหนังสือเล่มที่สองของหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่แต่งโดย เจ. เค. โรว์ลิ่ง และแปลโดย สุมาลี (สุมาลี บำรุงสุข) ตีพิมพ์และจัดจำหน่ายในประเทศไทยโดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ตีพิมพ์และวางจำหน่ายเป็นฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกในปี พ.ศ. 2541 และฉบับภาษาไทยในเดือนกันยายน พ.ศ. 2543 หนังสือเล่มนี้ดำเนินเรื่องต่อจากหนังสือเล่มแรกของชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์กับศิลาอาถรร.

ใหม่!!: รายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ · ดูเพิ่มเติม »

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี คือหนังสือเล่มที่สี่ในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง และแปลโดยงามพรรณ เวชชาชีวะจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ตีพิมพ์และวางจำหน่ายเป็นฉบับภาษาอังกฤษครั้งแรกในปี พ.ศ. 2543 และเป็นฉบับภาษาไทยในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544 วรรณกรรมชุดนี้ถือว่ายาวมากอย่างไม่น่าจะมีใครทำมาก่อน โดยในฉบับภาษาไทยมีความยาวทั้งหมดถึง 832 หน้า (ฉบับบลูมส์บูรี่มีความยาวทั้งหมด 636 หน้า) หนังสือเล่มนี้สร้างสถิติโดยเป็นหนังสือเล่มแรกที่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนมากกว่าชิ้นงานวรรณกรรมเยาวชนอื่นๆ มีเพียงหนังสือเล่มต่อๆ มาในชุดเดียวกันนี้เท่านั้นที่สามารถลบสถิตินี้ได้ นั่นคือแฮร์รี่ พอตเตอร์กับภาคีนกฟีนิกซ์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม โดยเฉพาะจากการที.

ใหม่!!: รายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับถ้วยอัคนี · ดูเพิ่มเติม »

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน

แฮรี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน เป็นหนังสือเล่มที่สามในหนังสือชุด แฮร์รี่ พอตเตอร์ ซึ่งประพันธ์โดย เจ. เค. โรว์ลิ่ง ได้รับการตีพิมพ์และวางจำหน่ายเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 (1999) โดยสำนักพิมพ์บลูมส์บิวรี่ ฉบับภาษาไทยแปลโดย วลีพร หวังซื่อกุล จัดพิมพ์และจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ ต่อมาในปีพ.ศ. 2547(2004)ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์โดยวอร์เนอร์ บราเธอร์สและออกฉายไปทั่วโลก หนังสือเล่มนี้ดำเนินเรื่องต่อจากภาคที่สองคือ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ โดยภาคนี้มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกี่ยวกับตัวของแฮรี่ รวมทั้งมีการแทรกเรื่องของความรักไว้เล็กน้อย แล..โรว์ลิ่งยังได้นำตำนานความเชื่อของกรีกโบราณมาใช้ในการเขียนด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับนักโทษแห่งอัซคาบัน · ดูเพิ่มเติม »

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม เป็นหนังสือเล่มที่หกในหนังสือชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ โดย เจ.เค. โรว์ลิ่ง ออกวางจำหน่ายเมื่อ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 หนังสือเล่มนี้ขายได้ถึง 9 ล้านเล่มภายใน 24 ชั่วโมงแรก ถือเป็นสถิติสูงสุดในขณะนั้น ซึ่งตอนนี้ภาคที่ตามมา แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต ได้ทำลายสถิตินั้นลงไปเรียบร้อยแล้ว แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม ฉบับภาษาไทยแปลโดย "สุมาลี" จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์นานมีบุ๊คส์ เรื่องราวในภาคนี้เป็นเรื่องของแฮร์รี่ในชั้นปีที่ 6 ที่โรงเรียนฮอกวอตส์ เล่าถึงอดีตของลอร์ดโวลเดอมอร์และการเตรียมพร้อมรับสงครามครั้งสุดท้ายของแฮร์รี่ พร้อมทั้งสอดแทรกเรื่องราวเกี่ยวกับความรัก ความสับสนทางอารมณ์ และความขัดแย้งของตัวละครต่างๆ ซึ่งอยู่ในช่วงวัยรุ่นไว้ด้ว.

ใหม่!!: รายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเจ้าชายเลือดผสม · ดูเพิ่มเติม »

แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต

หน้าปกหนังสือ ฉบับสำนักพิมพ์บลูมสบิวรี ปกอังกฤษ(ครึ่ง) หน้าปกหนังสือ ฉบับอเมริกา แฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต เป็นหนังสือเล่มที่เจ็ด และเป็นเล่มสุดท้ายในชุดแฮร์รี่ พอตเตอร์ของเจ. เค. โรว์ลิ่ง ฉบับภาษาอังกฤษออกวางจำหน่ายในวันที่ 21 กรกฎาคมพ.ศ. 2550ฉบับภาษาไทยออกจำหน่ายวันที่ 7 ธันวาคมพ.ศ. 2550 ชื่อของหนังสือนั้นประกาศบนเว็บไซต์ของโรว์ลิ่งในวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2549 และหลังจากนั้นบนเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ โรว์ลิ่งได้กล่าวว่าภาคนี้ ซึ่งถือเป็นภาคสุดท้าย มีความเกี่ยวพันกับภาคที่ผ่านมาสูงมาก "ราวกับว่าเป็นครึ่งหลังของนิยายเล่มเดียวกัน" ก่อนหนังสือจะออก มีการคาดเดาเกี่ยวกับความหมายของชื่อ Deathly Hallows ผู้แต่งได้ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า "การอธิบายความหมายของ Hallows จะเผยเนื้อเรื่องมากเกินไป" และปฏิเสธที่จะตอบคำถาม ก่อนการประกาศชื่อเรื่อง โรว์ลิ่งเคยแถลงว่ามีชื่อเรื่องที่คิดไว้สามชื่อ คือ Harry Potter and the Deathly Hallows,Harry Potter and the Peverell Quest และ Harry Potter and the Elder Wand.

ใหม่!!: รายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์และแฮร์รี่ พอตเตอร์กับเครื่องรางยมทูต · ดูเพิ่มเติม »

เจ. เค. โรว์ลิง

แอนน์ "โจ" โรว์ลิง (Joanne "Jo" Rowling, OBE FRSL) หรือนามปากก.

ใหม่!!: รายชื่อคาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์และเจ. เค. โรว์ลิง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รายชื่อเวทมนตร์คาถาในแฮร์รี่ พอตเตอร์คำสาปพิฆาต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »