โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายชื่อความเอนเอียงทางประชาน

ดัชนี รายชื่อความเอนเอียงทางประชาน

วามเอนเอียงทางประชาน (cognitive biase) เป็นความโน้มเอียงที่จะคิดในรูปแบบที่มีผลเป็นความคลาดเคลื่อนอย่างเป็นระบบ จากความมีเหตุผลโดยทั่วไป หรือจากการประเมินการตัดสินใจที่ดี บ่อยครั้งเป็นประเด็นการศึกษาในสาขาจิตวิทยาและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม แม้ว่าความเอนเอียงเหล่านี้จะมีอยู่จริง ๆ โดยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ทำซ้ำได้ แต่ก็มักจะมีข้อโต้เถียงว่า ควรจะจัดประเภทหรืออธิบายความเอนเอียงเหล่านี้ได้อย่างไร ความเอนเอียงบางอย่างเป็นกฎการประมวลข้อมูล หรือเป็นทางลัดการประมวลผลที่เรียกว่า ฮิวริสติก ที่สมองใช้เพื่อการประเมินและการตัดสินใจ ปรากฏการณ์เหล่านี้เรียกว่า ความเอนเอียงทางประชาน ความเอนเอียงในการประเมินหรือการตัดสินใจ อาจจะเกิดจากแรงจูงใจ เช่นเมื่อความเชื่อเกิดบิดเบือนเพราะเหตุแห่งการคิดตามความปรารถนา (wishful thinking) ความเอนเอียงบางอย่างอาจจะอธิบายได้โดยหลักทางประชาน (cognitive หรือที่เรียกว่า cold) หรือโดยหลักทางแรงจูงใจ (motivational หรือเรียกว่า hot) แต่เหตุทั้งสองสามารถเกิดร่วมกัน ยังมีข้อถกเถียงกันอีกด้วยว่า ความเอนเอียงเหล่านี้จัดเป็นความไม่สมเหตุผลโดยส่วนเดียว หรือว่า จริง ๆ มีผลเป็นทัศนคติและพฤติกรรมที่เหมาะสมได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อทำความรู้จักกับคนใหม่ ๆ เรามักจะถามคำถามที่ชี้คำตอบที่ต้องการ ที่ดูเหมือนจะเอนเอียงไปเพื่อยืนยันสันนิษฐานของเราเกี่ยวกับบุคคลนั้น ๆ แต่ว่า ปรากฏการณ์ที่บางครั้งเรียกว่า ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน (confirmation bias) เช่นนี้ สามารถมองได้ว่าเป็นทักษะทางสังคมที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ งานวิจัยในเรื่องความเอนเอียงเหล่านี้ มักจะทำในมนุษย์ แต่ผลที่พบในมนุษย์ บางครั้งก็พบในสัตว์อื่นเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น hyperbolic discounting (การลดค่าแบบไฮเพอร์โบลา) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เราให้ค่าของที่ได้ในปัจจุบันสูงกว่าที่จะได้ในอนาคต ก็พบด้วยในหนู นกพิราบ และลิง.

63 ความสัมพันธ์: Anchoringพฤติกรรมการกำหนดความสมเหตุสมผลโดยอัตวิสัยการลวงประสาทเหมือนเวลาหยุดการหลีกเลี่ยงการเสียการทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา)การแปลการพินิจภายในผิดการแปลสิ่งเร้าผิดการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้กูเกิลภาษาอังกฤษรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบลิงสภาวะตื่นตัวสมมติฐานสมมติฐานโลกยุติธรรมสมองสถิติศาสตร์หนูออนไลน์และออฟไลน์อารมณ์อินเทอร์เน็ตอิเกียฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่ายจิตวิทยาจุดบอดต่อความเอนเอียงธุรกิจทฤษฎีสารสนเทศทฤษฎีคาดหวังทัศนคติความซึมเศร้าความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผลความน่าจะเป็นความเชื่อความเอนเอียงความเอนเอียงรับใช้ตนเองความเอนเอียงจากการอยู่รอดความเอนเอียงทางประชานความเอนเอียงในการตีพิมพ์ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดีความเอนเอียงโดยการใส่ใจความเอนเอียงเพื่อยืนยันคำคล้องจองตลับเทปตัวกระตุ้นตัวแปรกวนประชานศาสตร์ปรากฏการณ์ฟอเรอร์ปรากฏการณ์การวางกรอบ...นกพิราบแพริโดเลียโหราศาสตร์เศรษฐกิจเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมเสิร์ชเอนจินเหตุผลวิบัติเหตุผลวิบัติของนักการพนันเหตุผลวิบัติในการวางแผนเหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐานเครื่องเรือนRepresentativeness heuristicSaccade ขยายดัชนี (13 มากกว่า) »

Anchoring

ในสาขาจิตวิทยา คำภาษาอังกฤษว่า Anchoring (แปลว่า การตั้งหลัก) หรือ focalism หมายถึงความเอนเอียงทางประชานของมนุษย์ ความมีแนวโน้มที่จะอิงข้อมูลแรกที่ได้มากเกินไป (โดยเป็น anchor คือเป็นหลัก) เมื่อทำการตัดสินใจ ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นเมื่อเราพิจารณาข้อมูลแรกที่ได้ในการประเมินค่าที่ไม่รู้ ซึ่งจะกลายเป็นหลักที่จะใช้ต่อ ๆ มา และเมื่อมีหลักตั้งขึ้นแล้ว การประเมินผลต่อ ๆ มาจะเป็นการปรับค่าใช้ข้อมูลที่เป็นหลักนั้น ดังนั้น จึงอาจเกิดความความเอนเอียงเพราะตีความข้อมูลต่อ ๆ มาเป็นค่าใกล้ ๆ หลักที่อาจจะไม่ได้เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกัน โดยไม่สมเหตุผล ยกตัวอย่างเช่น ราคาที่เสนอเริ่มแรกในการซื้อขายรถมือสองจะกลายเป็นหลักที่ใช้ในการต่อราคาที่มีต่อ ๆ มา ดังนั้น ราคาตกลงซื้อที่น้อยกว่าราคาเสนอเบื้องต้นอาจจะดูเหมือนดีกว่าถึงแม้ว่าจริง ๆ แล้ว อาจจะเป็นราคาที่สูงกว่ามูลค่าของรถจริง.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและAnchoring · ดูเพิ่มเติม »

พฤติกรรม

ติกรรม หมายความถึง การแสดงและกิริยาท่าทางซึ่งสิ่งมีชีวิต ระบบหรืออัตลักษณ์ประดิษฐ์ ที่เกิดร่วมกันกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมระบบอื่นหรือสิ่งมีชีวิตโดยรวมเช่นเดียวกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ พฤติกรรมเป็นการตอบสนองของระบบหรือสิ่งมีชีวิตต่อสิ่งเร้าหรือการรับเข้าทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นภายในหรือภายนอก มีสติหรือไม่มีสติระลึก ชัดเจนหรือแอบแฝง และโดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใ.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและพฤติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

การกำหนดความสมเหตุสมผลโดยอัตวิสัย

การกำหนดความสมเหตุสมผลโดยอัตวิสัย (Subjective validation, personal validation effect) เป็นความเอนเอียงทางประชานที่บุคคลจะพิจารณาบทความหรือข้อมูลว่าถูกต้องถ้ามีความหมายหรือความสำคัญต่อตนเอง กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ บุคคลผู้มีความเห็นที่ได้รับอิทธิพลจากปรากฏการณ์นี้จะเห็นเหตุการณ์สองอย่างที่ไม่เกี่ยวข้องกัน (คือเกิดขึ้นโดยบังเอิญ) ว่าเกี่ยวข้องกันเพราะว่าความเชื่อส่วนตัวว่าต้องเกี่ยวข้องกัน เป็นความเอนเอียงที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับปรากฏการณ์ฟอเรอร์ และเป็นองค์ประกอบสำคัญของการอ่านใจแบบเย็น (cold reading) เป็นสิ่งที่พิจารณาว่าเป็นเหตุหลักของความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาต.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและการกำหนดความสมเหตุสมผลโดยอัตวิสัย · ดูเพิ่มเติม »

การลวงประสาทเหมือนเวลาหยุด

การลวงประสาทเหมือนเวลาหยุด (Chronostasis, จาก χρόνος, chrónos, แปลว่า "เวลา" และ στάσις, stásis, แปลว่า "หยุด") เป็นการรับรู้เวลาผิดอย่างหนึ่ง ที่เกิดความรู้สึกเมื่อเริ่มกิจกรรมใหม่ว่า เวลายืดออกไป ยกตัวอย่างเช่น ความรู้สึกเหมือนเวลาหยุดจะเกิดขึ้นเมื่อกำลังตรึงตาที่จุด ๆ หนึ่ง แล้วทำการเคลื่อนไหวตาแบบรวดเร็วที่เรียกว่า saccade (เหลือบตา) ไปมองที่จุดที่สอง ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกว่าได้มองอยู่ที่จุดที่สองเป็นระยะเวลานานกว่าที่ได้มองแล้วจริง ๆ โดยสามารถเกิดความรู้สึกเหมือนเวลายืดออกไปแบบนี้ถึง 500 มิลลิวินาที (ครึ่งวินาที) เป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ขัดแย้งกับไอเดีย (หรือทฤษฎี) ที่ว่า ระบบการมองเห็นทำการจำลองเหตุการณ์ที่กำลังเป็นไปก่อนจะเกิดการรับรู้เหตุการณ์นั้นจริง ๆ รูปแบบของการลวงประสาทที่รู้จักกันดีที่สุดก็คือ ภาพลวงตาเหมือนนาฬิกาหยุด (stopped-clock illusion) ที่หลังจากการเหลือบตาแบบ saccade ไปดูนาฬิกา การเคลื่อนไปของเข็มวินาทีเป็นครั้งแรกเหมือนจะใช้เวลานานกว่าครั้งที่สอง โดยที่เข็มวินาทีอาจจะดูเหมือนกับหยุดอยู่กับที่สักระยะหนึ่งหลังจากการเหลือบดู การแปลสิ่งเร้าผิดเช่นนี้สามารถเกิดขึ้นทางหูและทางสัมผัสได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยหนึ่งบอกเป็นนัยว่า เมื่อกำลังฟังเสียงสัญญาณโทรศัพท์ที่บอกว่า โทรศัพท์เบอร์ที่โทรไปกำลังดังอยู่ ถ้ามีการสลับหูเพื่อจะฟังเสียงนั้น คนโทรจะประเมินระยะเวลาระหว่างสัญญาณโทรศัพท์ดังมากเกินไป.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและการลวงประสาทเหมือนเวลาหยุด · ดูเพิ่มเติม »

การหลีกเลี่ยงการเสีย

รางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ (ค.ศ. 2002) ในการศึกษาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์และทฤษฎีการตัดสินใจ (decision theory) การหลีกเลี่ยงการเสีย (loss aversion) หมายถึงความโน้มเอียงที่เราจะป้องกันความสูญเสีย มากกว่าที่เราจะพยายามให้ได้ผลกำไร งานวิจัยโดยมากแสดงว่า โดยทางความรู้สึกทางจิตใจแล้ว การสูญเสียมีอำนาจมากกว่าการได้ประมาณสองเท่า นักจิตวิทยาชาวอเมริกันแดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ แสดงหลักฐานของการหลีกเลี่ยงการเสียเป็นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและการหลีกเลี่ยงการเสีย · ดูเพิ่มเติม »

การทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา)

การทดแทนคุณลักษณะ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ attribute ว่า "คุณลักษณะ" และของ substitution ว่า "การทดแทน (กลไกทางจิต)" (Attribute substitution) เป็นกระบวนการทางจิตวิทยาที่เชื่อว่า เป็นเหตุของความเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) และการแปลสิ่งเร้าทางประสาทสัมผัสผิด (perceptual illusion) หลายอย่าง ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเราต้องทำการประเมินคุณลักษณะเป้าหมาย (target attribute) ที่ต้องใช้การคำนวณที่ซับซ้อน แต่กลับใช้คุณลักษณะอีกอย่างหนึ่งแทนที่ ซึ่งเรียกว่า คุณลักษณะฮิวริสติก (heuristic attribute) ที่สามารถคำนวนได้ง่ายกว่า (เช่น การประเมินความน่าจะเป็นว่าอยู่ในกลุ่ม โดยใช้ความคล้ายคลึงของบุคคลกับกลุ่ม แทนที่จะใช้อัตราพื้นฐานของความน่าจะเป็น) การแทนที่เช่นนี้เชื่อว่าเกิดขึ้นในระบบการประเมินแบบรู้เอง (intuitive) ที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ ไม่ใช่ระบบที่ต้องอาศัยความคิดพิจารณาที่อยู่เหนือสำนึก ดังนั้น เมื่อเราทำความพยายามที่จะตอบปัญหาที่ยาก เราอาจจะกลับไปตอบปัญหาที่ต่างกันแต่เกี่ยวข้องกัน โดยที่ไม่รู้ว่ามีการแทนที่เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งอธิบายว่า ทำไมเราจึงไม่รู้ถึงความเอนเอียงต่าง ๆ ของตน และทำไมความเอนเอียงยังดำรงอยู่ได้แม้เมื่อมีการบอกให้รู้แล้ว และอธิบายอีกด้วยว่า ทำไมการตัดสินใจของมนุษย์บ่อยครั้งจึงไม่มีลักษณะของการถอยกลับไปสู่ค่าเฉลี่ย (regression toward the mean) ทฤษฎีนี้รวมทฤษฎีต่างหลายอย่างที่อธิบายความผิดพลาดในการคิดหาเหตุผลโดยอธิบายว่า มนุษย์แก้ปัญหาบางอย่างโดยใช้ฮิวริสติกซึ่งเป็นทางลัดในการคิดหาเหตุผล ที่ในบางสถานการณ์ให้คำตอบที่ผิดพลาด ต่อมา ทฤษฎีที่เสนอในปี..

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและการทดแทนคุณลักษณะ (จิตวิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

การแปลการพินิจภายในผิด

วนของภูเขาน้ำแข็งที่โผล่น้ำขึ้นไปมักจะใช้เพื่อแสดงอุปมาของจิตเหนือสำนึกและจิตใต้สำนึกของมนุษย์ ส่วนที่โผล่ขึ้นเห็นได้ง่าย (จิตเหนือสำนึก) แต่ว่าเป็นส่วนที่มีรูปร่างขึ้นอยู่กับส่วนที่มองไม่เห็นที่ยิ่งใหญ่กว่า (จิตใต้สำนึก) การแปลการพินิจภายในผิด"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ illusion ว่า "การลวงตา, การแปลสิ่งเร้าผิด, มายา, ภาวะลวงตา" และของ introspection ว่า "การพินิจภายใน" (introspection illusion) เป็นความเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) ที่เราคิดอย่างผิด ๆ ว่า เรามีความเข้าใจโดยประจักษ์ โดยผ่านการพินิจภายใน (introspection) เกี่ยวกับเหตุเกิดของสภาวะจิตใจของเรา ในขณะที่ไม่เชื่อถือการพินิจภายในของผู้อื่น ในบางกรณี การแปลสิ่งเร้าผิดชนิดนี้ ทำให้เราอธิบายพฤติกรรมของตนเองอย่างมั่นใจแต่ผิดพลาด หรือทำให้พยากรณ์สภาวะหรือความรู้สึกทางจิตใจของตนในอนาคตที่ไม่ถูกต้อง มีการตรวจสอบการแปลสิ่งเร้าผิดประเภทนี้ในการทดลองทางจิตวิทยา ซึ่งเสนอการแปลการพินิจภายในผิดว่าเป็นเหตุของความเอนเอียง เมื่อเราเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น มีการตีความผลงานทดลองเหล่านี้ว่า แทนที่จะให้ข้อมูลโดยตรงเกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ ที่เป็นเหตุของสภาวะจิตใจของตน การพินิจภายในเป็นกระบวนการสร้าง (construction) และอนุมาน (inference) เหตุของสภาวะจิตใจ เหมือนกับที่เราอนุมานสภาพจิตใจของคนอื่นจากพฤติกรรม เมื่อเราถือเอาอย่างผิด ๆ ว่า การพินิจภายในที่เชื่อถือไม่ได้ เป็นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตนที่ตรงกับความจริง ผลที่ได้อาจจะเป็นการปรากฏของการแแปลสิ่งเร้าผิดว่าเหนือกว่า (illusory superiority) ผู้อื่น ยกตัวอย่างเช่น เราแต่ละคนจะคิดว่าเรามีความคิดที่เอนเอียงน้อยกว่าผู้อื่น และมีความคิดที่เห็นตามผู้อื่นน้อยกว่าคนอื่น และแม้ว่า ผู้ร่วมการทดลองจะได้รับรายงานของการพินิจภายในของผู้อื่น ที่ละเอียดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่ก็ยังจะตัดสินว่า เป็นเรื่องเชื่อถือไม่ได้ ในขณะที่ถือเอาการพินิจภายในของตนว่า เชื่อถือได้ แม้ว่า สมมติฐานเกี่ยวกับการแปลสิ่งเร้าผิดประเภทนี้ จะให้ความเข้าใจความกระจ่างชัดเกี่ยวกับผลงานวิจัยทางจิตวิทยาบางอย่าง แต่หลักฐานที่มีอยู่ไม่อาจจะบอกได้ว่า การพินิจภายในนั้นเชื่อถือได้ขนาดไหนในสถานการณ์ปกติ การแก้ปัญหาความเอนเอียงที่เกิดจากการแปลสิ่งเร้าผิดประเภทนี้ อาจเป็นไปได้ด้วยการศึกษาเรื่องความเอนเอียง และเรื่องการเกิดขึ้นใต้จิตสำนึกของความเอนเอียง.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและการแปลการพินิจภายในผิด · ดูเพิ่มเติม »

การแปลสิ่งเร้าผิด

งานศิลป์ "Head on a Platter (ศีรษะในจาน)" แสดงที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ประจำภาค ในเมืองโภปาล รัฐมัธยประเทศ ประเทศอินเดีย การแปลสิ่งเร้าผิด"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ illusion ว่า "การลวงตา, การแปลสิ่งเร้าผิด, มายา, ภาวะลวงตา" หรือ มายา (illusion) หมายถึงความผิดพลาดหรือความบิดเบือนของการรับรู้ทางประสาทสัมผัส ที่ชี้ให้เห็นถึงวิธีที่สมองจัดระเบียบและแปลผลข้อมูลทางประสาทสัมผัส แม้ว่า การแปลสิ่งเร้าผิดจะบิดเบือนความเป็นจริง แต่ก็เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดกับคนโดยมาก การแปลสิ่งเร้าผิดอาจเกิดขึ้นทางประสาทสัมผัสใดก็ได้ในมนุษย์ แต่ภาพลวงตาเป็นการแปลสิ่งเร้าผิดที่รู้จักกันดีที่สุดและมีความเข้าใจกันมากที่สุด ที่มีความสนใจในภาพลวงตามากก็เพราะว่า การมองเห็นเป็นประสาทสัมผัสที่มีอิทธิพลมากที่สุด ซึ่งเห็นได้ในตัวอย่างเช่น คนที่กำลังดูการพูดดัดเสียง (ventriloquism) ได้ยินเสียงว่ามาจากหุ่นที่อยู่ที่มือของคนพูด เนื่องจากว่า เห็นหุ่นนั้นขยับปากตามเสียงคำพูด (แต่ไม่เห็นคนพูดขยับปาก) การแปลสิ่งเร้าผิดบางอย่างมีเหตุจากข้อสันนิษฐานที่สมองมีเกี่ยวกับความเป็นจริงเมื่อเกิดการรับรู้ ข้อสันนิษฐานเหล่านั้นเกิดขึ้นอาศัยรูปแบบของสิ่งที่รับรู้, ความสามารถในการรับรู้ความลึกและการรับรู้ความเคลื่อนไหว, และความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัยว่า วัตถุหรือลักษณะต่าง ๆ ของวัตถุนั้นไม่มีความเปลี่ยนแปลงแม้ความรู้สึกทางประสาทสัมผัสเกี่ยวกับวัตถุนั้นจะได้เปลี่ยนไปแล้ว ส่วนการแปลสิ่งเร้าผิดอื่น ๆ เกิดขึ้นอาศัยความเป็นไปในระบบการรับรู้ภายในร่างกาย หรือองค์ประกอบอื่น ๆ ภายนอกร่างกายในสิ่งแวดล้อม คำว่า การแปลสิ่งเร้าผิด หมายถึงการบิดเบือนความเป็นจริงทางการรับรู้ที่มีลักษณะเฉพาะ โดยที่ไม่เหมือนกับอาการประสาทหลอน (hallucination) ซึ่งเป็นความบิดเบือนความเป็นจริงโดยไม่มีสิ่งเร้า การแปลสิ่งเร้าผิดเป็นการแปลผลความรู้สึก (อาศัยสิ่งเร้า) ที่มีขึ้นจริง ๆ ผิด ยกตัวอย่างเช่น การได้ยินเสียงโดยไม่มีเสียงจริง ๆ ในสิ่งแวดล้อมเป็นอาการประสาทหลอน แต่ว่า การได้ยินเสียงคนในเสียงน้ำที่กำลังไหลอยู่ (หรือในเสียงอื่น ๆ) เป็นการแปลสิ่งเร้าผิด ละครไมม์ ผู้แสดงทำท่าเหมือนกับพิงอะไรอยู่ที่ไม่มีจริง ๆ ละครไมม์เป็นบทการละเล่นลวงตาที่สร้างขึ้นโดยอาศัยการเคลื่อนไหวกาย คือผู้เล่นละครสร้างภาพลวงตาโดยเคลื่อนกายเหมือนกับทำปฏิกิริยากับวัตถุที่ไม่มี ภาพลวงตาเช่นนี้เกิดขึ้นได้อาศัยข้อสันนิษฐานที่ผู้ชมมีเกี่ยวกับความเป็นไปในโลกจริง ๆ บทเล่นที่รู้จักกันดีก็คือ "กำแพง" (คือทำปฏิกิริยากับกำแพงที่ไม่มี) "ปีนขึ้นบันได" "พิง" (ดูรูป) "ปีนลงบันได" และ "ดึงและผลัก".

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและการแปลสิ่งเร้าผิด · ดูเพิ่มเติม »

การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้

การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ (illusion of control) เป็นแน้วโน้มที่เรามีในการประเมินค่าสูงเกินไปว่า สามารถควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้ คือ เราอาจจะคิดว่าเราควบคุมเหตุการณ์อะไรบางอย่างได้ แม้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเราจะไม่ได้มีส่วนควบคุม ชื่อของปรากฏการณ์นี้ตั้งขึ้น.ญ. ดร.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ · ดูเพิ่มเติม »

กูเกิล

กูเกิล (Google Inc.) (และ) เป็นบริษัทมหาชนอเมริกัน มีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ที่ปรากฏในเสิร์ชเอนจินของกูเกิล อีเมล แผนที่ออนไลน์ ซอฟต์แวร์จัดการด้านสำนักงาน เครือข่ายออนไลน์ และวิดีโอออนไลน์ รวมถึงการขายอุปกรณ์ช่วยในการค้นหา กูเกิลสำนักงานใหญ่ที่รู้จักในชื่อกูเกิลเพล็กซ์ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีพนักงาน 16,805 คน (31 ธันวาคม 2550) โดยกูเกิลเป็นบริษัทอเมริกันที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีดาวโจนส์ (ข้อมูล 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550) กูเกิลก่อตั้งโดย แลร์รี เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ขณะที่ทั้งคู่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งภายหลังทั้งคู่ได้ก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 ในโรงจอดรถของเพื่อนที่ เมืองเมนโลพาร์ก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และมีการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก เมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เพิ่มมูลค่าของบริษัท 1.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และหลังจากนั้นทางกูเกิลได้มีการขยายตัวตลอดเวลาจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่และการซื้อกิจการอื่นรวมเข้ามา เช่น กูเกิล ดีปไมด์ รวมถึงก่อตั้งบริษัทลูกอย่างกูเกิล เอกซ์กูเกิลได้ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่น่าทำงานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาโดยนิตยสารฟอร์จูน"." นิตยสารฟอร์จูน 22 มกราคม พ.ศ. 2550 เรียกข้อมูลวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งมีคติพจน์ประจำบริษัทคือ Don't be evil อย่างไรก็ตามทางบริษัทได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในด้านการละเมิดข้อมูลส่วนตัว การละเมิดลิขสิทธิ์ และการเซ็นเซอร์ในหลายส่วน วันที่ 10 สิงหาคม..

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและกูเกิล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ

รูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ (portable document format (ย่อ: pdf)) คือ รูปแบบแฟ้มลักษณะหนึ่ง ที่พัฒนาโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ สำหรับแสดงเอกสารที่สามารถใช้งานได้ในทุกระบบปฏิบัติการ และยังคงลักษณะเอกสารเหมือนต้นฉบับ เอกสารในรูปแบบนี้สามารถจัดเก็บ ตัวอักษร รูปภาพ รูปลายเส้น ในลักษณะเป็นหน้าหนังสือ ตั้งแต่ หนึ่งหน้า หรือหลายพันหน้าได้ในแฟ้มเดียวกัน รูปแบบเป็นมาตรฐานที่เปิดให้คนอื่นสามารถเขียนโปรแกรมมาทำงานร่วมกันได้ รูปแบบนี้ เหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการให้แสดงผลลักษณะเดียวกับต้นฉบับ ซึ่งแตกต่างกับการใช้งานรูปแบบอื่น เช่น HTML เพราะการแสดงผลของ HTML จะขึ้นอยู่กับโปรแกรมเบราว์เซอร์และคอมพิวเตอร์ที่ใช้ และเพราะฉะนั้น จะแสดงผลต่างกัน ถ้าใช้ต่างกัน.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและรูปแบบเอกสารใช้ได้หลายระบบ · ดูเพิ่มเติม »

ลิง

แสม (''Macaca fascicularis'') ลิงที่คุ้นเคยและพบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย อาจพบได้ถึงในชุมชนเมืองhttp://1081009.tourismthailand.org/trip/dcp?id.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและลิง · ดูเพิ่มเติม »

สภาวะตื่นตัว

ใน สรีรวิทยาและจิตวิทยา สภาวะตื่นตัว หรือ ความตื่นตัว (arousal) เป็นสภาวะของการตื่นตัวหรือการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น จะมีความตื่นตัวได้ก็ต่อเมื่อมีการทำงานในระบบ reticular activating system (ตัวย่อ RAS)ในก้านสมอง ในระบบระบบประสาทอิสระ (autonomic nervous system) และในระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มระดับการเต้นของหัวใจและความดันเลือด และสภาวะความตื่นตัวทางความรู้สึก ทางการเคลื่อนไหว และทางความพร้อมเพรียงในการตอบสนองต่อตัวกระตุ้น มีระบบประสาทหลายระบบที่เกี่ยวข้องกัน ที่เรียกรวมๆ กันว่า ระบบความตื่นตัวนี้ ระบบสำคัญ 4 ระบบในก้านสมอง ซึ่งมีการเชื่อมต่อกับเปลือกสมองทั้งหมด มีหน้าที่การงานเกี่ยวกับสารสื่อประสาทรวมทั้งอะเซทิลโคลิน (acetylcholine) นอเรพิเนฟรีน (norepinephrine) โดพามีน (dopamine) และเซโรโทนิน (serotonin) เมื่อระบบสำคัญเหล่านี้ทำงานอยู่ เขตประสาทส่วนต่างๆ ที่รับสารสื่อประสาทเหล่านั้น ก็จะเริ่มมีความไวและมีการตอบสนองต่อสัญญาณที่เข้ามาในเขตประสาท.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและสภาวะตื่นตัว · ดูเพิ่มเติม »

สมมติฐาน

มมติฐาน (หรือสะกดว่า สมมุติฐาน) หรือ ข้อสันนิษฐาน คือการอธิบายความคาดหมายล่วงหน้าสำหรับปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตได้ มักใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย ในทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จะตั้งสมมติฐานจากสิ่งที่สังเกตการณ์ได้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนด้วยทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบัน สำหรับในความหมายอื่น สมมติฐานอาจเป็นบรรพบทหรือญัตติที่จัดตั้งขึ้น เพื่อใช้ในการสรุปคำตอบของปัญหาประเภท ถ้าเป็นเช่นนี้ แล้วจะเป็นเช่นไร😔.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและสมมติฐาน · ดูเพิ่มเติม »

สมมติฐานโลกยุติธรรม

มมติฐานโลกยุติธรรม (just-world hypothesis, just-world fallacy) เป็นความเอนเอียงทางประชาน หรือเป็นการสมมุติว่า การกระทำของบุคคลหนึ่ง ๆ มีแนวโน้มที่จะนำผลที่ยุติธรรมโดยศีลธรรมและที่เหมาะสมมายังบุคคลนั้น ๆ คือในที่สุดกรรมดีก็จะได้ผลดี และกรรมชั่วก็จะได้ผลชั่ว กล่าวอีกอย่างก็คือ เป็นแนวโน้มที่จะอ้างหรือคาดหวังว่า ผลที่เห็นมีเหตุเนื่องกับพลังจักรวาลที่ปรับโลกให้สมดุลอย่างยุติธรรม ความเชื่อเช่นนี้ทั่วไปส่องถึงความเชื่อเรื่องความยุติธรรมจักรวาล ชะตากรรม ลิขิตของผู้เป็นเจ้า ความสมดุลทางจักรวาล ระเบียบจักรวาล และมีโอกาสสูงที่จะให้ผลเป็นเหตุผลวิบัติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่บุคคลให้เหตุผลความเคราะห์ร้ายของผู้อื่นว่า คน ๆ นั้น ๆ "สมควร" จะได้รับผลเช่นนั้น ในภาษาอังกฤษ สมมติฐานเช่นนี้พบได้ในภาพพจน์ต่าง ๆ ที่แสดงนัยรับประกันที่จะได้ผลร้ายคืน เช่น "You got what was coming to you" (คุณได้สิ่งที่ควรจะมาหาคุณ) "What goes around comes around" (อะไรเวียนไปก็ย่อมจะเวียนมา) "chickens come home to roost" (ไก่ย่อมกลับบ้านเพื่อมานอน) และ "You reap what you sow" (คุณเก็บเกี่ยวสิ่งที่คุณหว่าน) เป็นสมมติฐานที่ศึกษากันอย่างกว้างขวางโดยนักจิตวิทยาสังคม เริ่มต้นที่งานทรงอิทธิพลของ.ดร.เลอร์เนอร์ ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 ตั้งแต่นั้น งานวิจัยก็ได้ดำเนินต่อมาเรื่อย ๆ โดยตรวจสอบสมรรถภาพการพยากรณ์ของทฤษฎีนี้ในสถานการณ์ต่าง ๆ และในวัฒนธรรมต่าง ๆ ช่วยให้ความเข้าใจเรื่องนี้ดีขึ้นและขยายกว้างออกไป.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและสมมติฐานโลกยุติธรรม · ดูเพิ่มเติม »

สมอง

มอง thumb สมอง คืออวัยวะสำคัญในสัตว์หลายชนิดตามลักษณะทางกายวิภาค หรือที่เรียกว่า encephalon จัดว่าเป็นส่วนกลางของระบบประสาท คำว่า สมอง นั้นส่วนใหญ่จะเรียกระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์มีกระดูกสันหลัง คำนี้บางทีก็ใช้เรียกอวัยวะในระบบประสาทบริเวณหัวของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอีกด้วย สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ สมองประกอบด้วยเซลล์สองชนิด คือ เซลล์ประสาท และเซลล์เกลีย เกลียมีหน้าที่ในการดูแลและปกป้องนิวรอน นิวรอนหรือเซลล์ประสาทเป็นเซลล์หลักที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เรียกว่า ศักยะงาน (action potential) การติดต่อระหว่างนิวรอนนั้นเกิดขึ้นได้โดยการหลั่งของสารเคมีชนิดต่าง ๆ ที่รวมเรียกว่า สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ข้ามบริเวณระหว่างนิวรอนสองตัวที่เรียกว่า ไซแนปส์ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น แมลงต่าง ๆ ก็มีนิวรอนอยู่นับล้านในสมอง สัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดใหญ่มักจะมีนิวรอนมากกว่าหนึ่งร้อยล้านตัวในสมอง สมองของมนุษย์นั้นมีความพิเศษกว่าสัตว์ตรงที่ว่ามีความซับซ้อนและใหญ่กว่าเมื่อเทียบกับขนาดตัวของมนุษ.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและสมอง · ดูเพิ่มเติม »

สถิติศาสตร์

ติศาสตร์ (Statistic Science) เป็นการศึกษาการเก็บ การวิเคราะห์ การตีความ การนำเสนอและการจัดระเบียบข้อมูล ในการประยุกต์สถิติศาสตร์กับปัญหาทางวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรมหรือสังคม ฯลฯ จำเป็นต้องเริ่มด้วยประชากรหรือกระบวนการที่จะศึกษา ประชากรเป็นได้หลากหลาย เช่น "ทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศหนึ่ง" หรือ "ทุกอะตอมซึ่งประกอบเป็นผลึก" สถิติศาสตร์ว่าด้วยทุกแง่มุมของข้อมูลซึ่งรวมการวางแผนการเก็บข้อมูลในแง่การออกแบบการสำรวจและการทดลอง ในกรณีไม่สามารถเก็บข้อมูลสำมะโนได้ นักสถิติศาสตร์เก็บข้อมูลโดยการพัฒนาการออกแบบการทดลองจำเพาะและตัวอย่างสำรวจ การชักตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนประกันว่าการอนุมานและการสรุปสามารถขยายจากตัวอย่างไปยังประชากรโดยรวมได้โดยปลอดภัย การศึกษาทดลองเกี่ยวข้องกับการวัดระบบที่กำลังศึกษา จัดดำเนินการระบบ แล้ววัดเพิ่มโดยใช้วิธีดำเนินการเดียวกันเพื่อตัดสินว่าการจัดดำเนินการดัดแปรค่าของการวัดหรือไม่ ในทางกลับกัน การศึกษาสังเกตไม่เกี่ยวข้องกับการจัดดำเนินการทดลอง มีการใช้ระเบียบวิธีสถิติศาสตร์สองอย่างหลักในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติศาสตร์พรรณนา ซึ่งสรุปข้อมูลจากตัวอย่างโดยใช้ดัชนีอย่างค่าเฉลี่ยหรือค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติศาสตร์อนุมาน ซึ่งดึงข้อสรุปจากข้อมูลซึ่งมีการกระจายสุ่ม (เช่น ข้อผิดพลาดสังเกต การกระจายการชักตัวอย่าง) สถิติศาสตร์พรรณนาส่วนใหญ่ว่าด้วยชุดคุณสมบัติของการกระจายสองชุด ได้แก่ แนวโน้มสู่ส่วนกลางซึ่งมุ่งให้ลักษระค่ากลางหรือตรงแบบของการกระจาย ขณะที่การกระจายให้ลักษณะขอบเขตซึ่งสมาชิกของการกระจายอยู่ห่างจากส่วนกลางและสมาชิกอื่น การอนุมานสถิติศาสตร์คณิตศาสตร์กระทำภายใต้กรอบทฤษฎีความน่าจะเป็น ซึ่งว่าด้วยการวิเคราะห์ปรากฏการณ์สุ่ม ในการอนุมานปริมาณไม่ทราบค่า มีการประเมินค่าตัวประมาณค่าตั้งแต่หนึ่งตัวโดยใช้ตัวอย่าง 1.สถิติ (Statistics) 2.เซตและการให้เหตุผล (Set and reasoning) 3.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและสถิติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

หนู

หนู เป็นสกุลของสัตว์ฟันแทะ ที่อยู่ในวงศ์ Muridae ใช้ชื่อสกุลว่า Rattus มีการกระจายพันธุ์อยู่ในซีกโลกที่เรียกว่า "โลกเก่า" อันได้แก่ ทวีปเอเชีย, ยุโรป และแอฟริกา ตัวเมียเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 2–3 เดือน ในขณะที่ตัวผู้อายุ 3 เดือนขึ้นไป.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและหนู · ดูเพิ่มเติม »

ออนไลน์และออฟไลน์

ออนไลน์ (Online, on-line) และ ออฟไลน์ (Offline, off-line) เป็นคำศัพท์ในวงการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม ออนไลน์แสดงถึงสถานะของการเชื่อมต่อกับเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายใด ๆ และออฟไลน์แสดงถึงสถานะของการไม่เชื่อมต่อ ในความหมายปกติทั่วไป ออนไลน์อาจหมายถึงการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตหรือเวิลด์ไวด์เว็.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและออนไลน์และออฟไลน์ · ดูเพิ่มเติม »

อารมณ์

ตัวอย่างอารมณ์พื้นฐาน ในทางจิตวิทยา ปรัชญา และสาขาย่อยอื่น ๆ อารมณ์ หมายถึงประสบการณ์ในความรู้สำนึกและอัตวิสัยที่ถูกกำหนดลักษณะเฉพาะโดยการแสดงออกทางจิตสรีรวิทยา ปฏิกิริยาทางชีววิทยา และสภาพจิตใจ อารมณ์มักจะเกี่ยวข้องและถูกจัดว่ามีอิทธิพลซึ่งกันและกันกับพื้นอารมณ์ พื้นอารมณ์แต่กำเนิด บุคลิกภาพ นิสัย และแรงจูงใจ เช่นเดียวกับที่ได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนและสารสื่อประสาท อาทิ โดพามีน นอราดรีนาลีน เซโรโทนิน ออกซิโทซิน และคอร์ซิทอล อารมณ์มักเป็นพลังขับดันเบื้องหลังพฤติกรรมไม่ว่าเชิงบวกหรือเชิงลบ Gaulin, Steven J. C. and Donald H. McBurney.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและอารมณ์ · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ต

วิถีการจัดเส้นทางผ่านส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและอินเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

อิเกีย

อิเกียในสตอกโฮล์ม อิเกีย หรือ อิเคยา (IKEA) คือร้านขายเครื่องเรือนและของใช้ภายในบ้านขนาดใหญ่ของประเทศสวีเดน ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2486 โดยอิงวาร์ คัมปราด เปิดสาขาแรกในปี พ.ศ. 2496 มี 231 สาขา ใน 33 ประเทศ โดยสาขาส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป และบางส่วนในทวีปอเมริกา เอเชีย และออสเตรเลีย ไอเคียมีชื่อเสียงในด้านเครื่องเรือนราคาย่อมเยา และเป็นร้านเครื่องเรือนร้านแรกที่ขายเครื่องเรือนแบบถอดประกอบได้ โดยผู้ซื้อจะเดินเลือกสินค้าจากที่จัดแสดงไว้ และจดเลขรหัสของสินค้าที่ต้องการ จากนั้นจึงเดินไปเอากล่องบรรจุชิ้นส่วนจากห้องเก็บของ เพื่อเอาไปประกอบเองที่บ้าน IKEA ในภาษาสวีเดนออกเสียงว่า "อิเคยา" แต่ในภาษาอังกฤษจะออกเสียงว่า "ไอคีอา" ในประเทศไทย บริษัท อิคาโน่ ตัวแทนของอิเกีย ได้ลงนามร่วมกับสยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ ของไทยในการสร้างศูนย์การค้าเมกาบางนาโดยอาคารสีน้ำเงิน จะเป็นศูนย์การค้าเฟอร์นิเจอร์ของอิเกีย ส่วนอาคารสีเทาจะเป็นศูนย์การค้าครบวงจรของ สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ ในส่วนของอิเกียนั้นเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ต่อมา ได้มีการเปิดศูนย์บริการสั่งซื้อและรับสินค้าอิเกีย ที่จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 และเปิดสาขาที่ 2 ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561 โดยเป็นสาขาที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ขนาดพื้นที่ 50,278 ตรม.) ใหญ่กว่าสาขาที่เมือง ยะโฮร์บาห์รู ประเทศ มาเลเซีย แต่เดิมนั้น อิเกีย มีโครงการจะเปิดสาขาที่เมกา รังสิต บริเวณทางแยกต่างระดับธัญบุรี แต่ยังไม่มีความคืบหน้าใ.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและอิเกีย · ดูเพิ่มเติม »

ฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจ

ในสาขาจิตวิทยา ฮิวริสติก (heuristic พหูพจน์ "ฮิวริสติกส์") เป็นกฎที่ง่าย ๆ และมีประสิทธิภาพ ที่เรามักจะใช้ในการประเมิน และการตัดสินใจ เป็นวิธีลัดทางความคิดโดยเพ่งความสนใจไปยังส่วนหนึ่งของปัญหาที่ซับซ้อนแล้วไม่ใส่ใจในส่วนอื่น กฎเหล่านี้ทำงานได้ดีในสถานการณ์โดยมาก แต่สามารถนำไปสู่ความผิดพลาดอย่างเป็นระบบ ซึ่งอาจเป็นความผิดพลาดโดยตรรกะ โดยความเป็นไปได้ หรือโดยความสมเหตุสมผล ความผิดพลาดเหล่านี้เป็นความเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) ซึ่งมีการค้นพบแล้วมากมายหลายแบบ เป็นความผิดพลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่นการประเมินราคาบ้านหรือการพิพากษาตัดสินคดี ฮิวริสติกปกติมักจะเป็นการตัดสินใจที่เป็นอัตโนมัติ เป็นการรู้เอง (intuitive) ที่ไม่ต้องอาศัยการคิด แต่อาจมีการใช้เป็นกลยุทธ์ทางความคิดอย่างจงใจได้ เมื่อต้องทำการตัดสินใจโดยมีข้อมูลที่จำกัด นักประชานศาสตร์ชาวอเมริกันเฮอร์เบิร์ต ไซมอนดั้งเดิมเป็นผู้เสนอว่า การตัดสินใจของมนุษย์ต้องอาศัยฮิวริสติก โดยใช้แนวความคิดจากวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 นักจิตวิทยาแดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ แสดงฮิวริสติก 3 ประเภทที่เป็นฐานของการตัดสินใจโดยรู้เองที่ใช้อย่างกว้างขวาง งานวิจัยเหล่านี้ จุดชนวนโปรแกรมงานวิจัยเกี่ยวกับ ฮิวริสติกและความเอนเอียง (Heuristics and Biases) ซึ่งศึกษาการตัดสินใจในชีวิตจริงของมนุษย์ และศึกษาสถานการณ์ที่การตัดสินใจเหล่านี้ใช้ไม่ได้ คือไม่สมเหตุผล งานวิจัยในแนวนี้ได้คัดค้านไอเดียว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่กระทำตามเหตุผล และได้ให้ทฤษฎีเกี่ยวกับการประมวลสารสนเทศ (information processing) ที่สามารถอธิบายวิธีการที่มนุษย์ใช้ในการประเมินผลหรือการตัดสินใจ เป็นแนวงานวิจัยที่เริ่มมีความสนใจในระดับสากลในปี..

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย

วริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย (ของข้อมูล) หรือ ฮิวริสติกโดยความพร้อมใช้งาน"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ availability ว่า "สภาพพร้อมใช้งาน" (availability heuristic) เป็นทางลัดการแก้ปัญหา (ฮิวริสติก) โดยอาศัยตัวอย่างต่าง ๆ ที่นึกขึ้นได้เป็นอย่างแรก วิธีแก้ปัญหาชนิดนี้อาศัยไอเดียว่า ถ้าเราสามารถระลึกถึงอะไรได้ง่าย ๆ สิ่งนั้นจะต้องมีความสำคัญ และเพราะเหตุนั้น เรามักจะให้น้ำหนักกับข้อมูลที่ใหม่ที่สุด ทำให้มีความคิดเห็นเอนเอียงไปทางข่าวล่าสุด นอกจากนั้นแล้ว สิ่งที่เรานึกได้เกี่ยวกับผลของการกระทำหนึ่ง ๆ จะมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกเกี่ยวกับความสำคัญของผลนั้น ๆ กล่าวอีกอย่างก็คือ ผลของการกระทำยิ่งระลึกถึงได้ง่ายแค่ไหน เราก็จะรู้สึกว่าผลนั้นมีความสำคัญยิ่งขึ้นเท่านั้น คือ เราไม่ได้เพียงแค่พิจารณาถึงข้อมูลที่ระลึกได้เมื่อทำการตัดสินใจ แต่เรายังใช้ความยากง่ายในการนึกถึงสิ่งนั้นเป็นข้อมูลอีกอย่างหนึ่งในการตัดสินใจ ซึ่งมีผลเด่นที่สุดอย่างหนึ่งคือ เราจะใช้ข้อมูลที่ระลึกได้ในการตัดสินใจถ้าข้อมูลนั้นไม่ได้ทำให้เกิดความน่าสงสัยเพราะยากที่จะระลึกถึง มีหลักวิธีแก้ปัญหา 3 อย่างที่เราใช้เมื่อไม่แน่ใจ ซึ่งช่วยลดความซับซ้อนในการประเมินความน่าจะเป็นหรือในการพยากรณ์ผล โดยใช้กระบวนการตัดสินใจที่ง่ายกว่า (ฮิวริสติก) คือ.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิทยา

ตวิทยา (psychology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับจิตใจ (กระบวนการของจิต), กระบวนความคิด, และพฤติกรรม ของมนุษย์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่นักจิตวิทยาศึกษาเช่น การรับรู้ (กระบวนการรับข้อมูลของมนุษย์), อารมณ์, บุคลิกภาพ, พฤติกรรม, และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล จิตวิทยายังมีความหมายรวมไปถึงการประยุกต์ใช้ความรู้กับกิจกรรมในด้านต่าง ๆ ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน (เช่นกิจกรรมที่เกิดขึ้นในครอบครัว, ระบบการศึกษา, การจ้างงานเป็นต้น) และยังรวมถึงการใช้ความรู้ทางจิตวิทยาสำหรับการรักษาปัญหาสุขภาพจิต นักจิตวิทยามีความพยายามที่จะศึกษาทำความเข้าใจถึงหน้าที่หรือจุดประสงค์ต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากตัวบุคคลและพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสังคม ขณะเดียวกันก็ทำการศึกษาขั้นตอนของระบบประสาทซึ่งมีผลต่อการควบคุมและแสดงออกของพฤติกรรม.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและจิตวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

จุดบอดต่อความเอนเอียง

อดต่อความเอนเอียง"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ blind spot ว่า "จุดบอด" (bias blind spot) เป็นความเอนเอียงทางประชาน ที่เรารู้จัก/รู้จำว่า การประเมินตัดสินใจของผู้อื่นมีผลมาจากความเอนเอียง แต่ไม่รู้จัก/รู้จำว่า การประเมินตัดสินใจของเราเองก็มีผลมาจากความเอนเอียงด้วย ชื่อนี้บัญญัต.ญ.ดร.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและจุดบอดต่อความเอนเอียง · ดูเพิ่มเติม »

ธุรกิจ

รกิจ หรือ กิจการ เป็นองค์การที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการหรือทั้งสินค้าและบริการแก่ผู้บริโภค ธุรกิจนั้นโดดเด่นในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ซึ่งธุรกิจส่วนมากมีเอกชนเป็นเจ้าของ และบริหารจัดการเพื่อให้ได้กำไร และเพิ่มความมั่งคั่งแก่เจ้าของธุรกิจ ธุรกิจยังอาจเป็นประเภทไม่แสวงหาผลกำไรหรือมีรัฐเป็นเจ้าของก็ได้ ธุรกิจที่มีหลายปัจเจกบุคคลเป็นเจ้าของอาจเรียกว่า บริษัท แม้คำว่า "บริษัท" จะมีความหมายที่เจาะจงกว่านั้น คำว่า "ธุรกิจ" มีความหมายครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับการค้าอย่างน้อย 3 เรื่อง คือ.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและธุรกิจ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีสารสนเทศ

ทฤษฎีสารสนเทศ (information theory) เป็นสาขาหนึ่งใน ทฤษฎีความน่าจะเป็น และคณิตศาสตร์เชิงสถิติ ขอบข่ายเนื้อหาของทฤษฎีนี้จะเกี่ยวข้องกับสารสนเทศ, เอนโทรปีของสารสนเทศ, ระบบการสื่อสาร, การส่งข้อมูล, ทฤษฎีอัตราการบิดเบือน, วิทยาการเข้ารหัสลับ, สัดส่วนสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน, การบีบอัดข้อมูล, การแก้ความผิดพลาด และหัวข้ออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คำแปลที่ตามราชบัณฑิต คือ "ทฤษฎีสารสนเทศ" นี้ มาจากคำว่า "information theory" ซึ่งคำว่า information เป็นคำเดียวกันกับที่หมายถึง สารสนเทศ แต่เนื่องจากความหมายของ information theory นั้นจะเกี่ยวเนื่องกับ เนื้อความในแง่ของสัญญาณ จึงอาจจะใช้คำว่า ทฤษฎีข้อมูล แทนความหมายของสารสนเทศ ที่เป็นในแง่ของเนื้อหาข่าวสาร และ สื่อตัวกลาง หรือสื่อบันทึกในบางกรณี ตัวอย่างของการนำทฤษฎีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ ได้แก่ ZIP Files, เครื่องเล่นเอ็มพีสาม, อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงดีเอสแอล, อุปกรณ์สื่อสารไร้สาย อาทิ โทรศัพท์มือถือ วิทยุสื่อสาร, เครื่องเล่นซีดี และการศึกษาเกี่ยวกับหลุมดำ เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและทฤษฎีสารสนเทศ · ดูเพิ่มเติม »

ทฤษฎีคาดหวัง

รางวัลเพื่อระลึกถึงอัลเฟรด โนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ปี ค.ศ. 2002 สำหรับการคิดค้น Prospect theory ทฤษฎีคาดหวัง (Prospect theory) เป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (Behavioral economics) ที่แสดงวิธีที่มนุษย์เลือกระหว่างทางเลือกที่เป็นไปได้ ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงแต่รู้ค่าความน่าจะเป็นของทางเลือก ทฤษฎีกำหนดว่า มนุษย์ตัดสินใจขึ้นอยู่กับค่าความขาดทุน (ผลลบ) หรือผลกำไร (ผลบวก) ที่อาจจะมี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับค่าผลที่ได้โดยที่สุด และมนุษย์ประเมินค่าความขาดทุนและผลกำไรโดยใช้ฮิวริสติกบางอย่าง แบบจำลองนี้เป็นแบบพรรณนา (descriptive) เป็นแบบจำลองของการเลือกการตัดสินใจที่มีในชีวิตจริง ๆ ไม่ใช่เป็นการตัดสินใจที่อาจจะเหมาะสำหรับสถานการณ์มากที่สุด (optimal decision) ทฤษฎีนี้สร้างขึ้นในปี..

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและทฤษฎีคาดหวัง · ดูเพิ่มเติม »

ทัศนคติ

ทัศนคติ หรือ เจตคติ ในทางจิตวิทยา คือการแสดงออกถึงความชอบหรือไม่ชอบต่อบุคคล สถานที่ สิ่งของ หรือเหตุการณ์สิ่งใดสิ่งหนึ่ง (ซึ่งเรียกว่าวัตถุแห่งทัศนคติ) กอร์ดอน ออลพอร์ต นักจิตวิทยาได้อธิบายเกี่ยวกับทัศนคติไว้ว่า "เป็นแนวคิดอันเด่นชัดที่สุดและจำเป็นที่สุดในจิตวิทยาสังคมร่วมสมัย" Allport, Gordon.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและทัศนคติ · ดูเพิ่มเติม »

ความซึมเศร้า

วามซึมเศร้า (depression) อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและความซึมเศร้า · ดูเพิ่มเติม »

ความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล

วามปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล หรือ การคิดตามความปรารถนา (Wishful thinking) เป็นการตั้งความเชื่อและการตัดสินใจ ตามสิ่งที่เราชอบใจ แทนที่จะตามหลักฐาน เหตุผล หรือความเป็นจริง เป็นผลของการแก้ความขัดแย้งกันระหว่างความเชื่อและความต้องการ งานศึกษาต่าง ๆ แสดงผลเหมือน ๆ กันว่า เมื่อตัวแปรอื่น ๆ เท่ากัน เราจะพยากรณ์ผลที่ดีน่าชอบใจว่า มีโอกาสเกิดขึ้นมากกว่าผลร้าย แต่ก็มีงานวิจัยในปี..

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล · ดูเพิ่มเติม »

ความน่าจะเป็น

วามน่าจะเป็น คือการวัดหรือการประมาณความเป็นไปได้ว่า บางสิ่งบางอย่างจะเกิดขึ้นหรือถ้อยแถลงหนึ่ง ๆ จะเป็นจริงมากเท่าใด ความน่าจะเป็นมีค่าตั้งแต่ 0 (โอกาส 0% หรือ จะไม่เกิดขึ้น) ไปจนถึง 1 (โอกาส 100% หรือ จะเกิดขึ้น) ระดับของความน่าจะเป็นที่สูงขึ้น คือความเป็นไปได้มากขึ้นที่เหตุการณ์นั้นจะเกิด หรือถ้ามองจากเงื่อนเวลาของการสุ่มตัวอย่าง คือจำนวนครั้งมากขึ้นที่เหตุการณ์เช่นนั้นคาดหวังว่าจะเกิด มโนทัศน์เหล่านี้มาจากการแปลงคณิตศาสตร์เชิงสัจพจน์ในทฤษฎีความน่าจะเป็น ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในขอบเขตการศึกษาต่าง ๆ เช่น คณิตศาสตร์ สถิติศาสตร์ การเงิน การพนัน วิทยาศาสตร์ ปัญญาประดิษฐ์/การเรียนรู้ของเครื่อง และปรัชญา เพื่อร่างข้อสรุปเกี่ยวกับความถี่ที่คาดหวังของเหตุการณ์ต่าง ๆ เป็นอาทิ ทฤษฎีความน่าจะเป็นก็ยังนำมาใช้เพื่ออธิบายกลไกรากฐานและความสม่ำเสมอของระบบซับซ้อน.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและความน่าจะเป็น · ดูเพิ่มเติม »

ความเชื่อ

วามเชื่อ (belief) หมายถึง การยอมรับว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นความจริง หรือมีการดำรงอยู่จริง โดยอาศัยประสบการณ์ตรง การไตร่ตรอง หรือการอนุมาน.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและความเชื่อ · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียง

วามเอนเอียง (Bias) เป็นความโน้มไปของภาวะจิตใจหรือทัศนคติ ที่จะแสดงหรือยึดถือความคิดเห็นที่ไม่สมบูรณ์ บ่อยครั้งพร้อมกับการปฏิเสธที่จะแม้พิจารณาความเป็นไปได้ของความคิดเห็นที่ต่างออกไป เราอาจจะมีความเอนเอียงต่อบุคคล ต่อเชื้อชาติ ต่อศาสนา ต่อชนชั้นในสังคม หรือต่อพรรคการเมือง การมีความเอนเอียงหมายถึง เอนไปข้างเดียว ไม่มีความเป็นกลาง ไม่เปิดใจ ความเอนเอียงมาในหลายรูปแบบ และคำว่า Bias ในภาษาอังกฤษอาจใช้เป็นไวพจน์ของคำว่า prejudice (ความเดียดฉันท์) และ bigotry (ความหัวดื้อ ความมีทิฏฐิมานะ).

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและความเอนเอียง · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง

วามเอนเอียงรับใช้ตนเอง (self-serving bias) เป็นกระบวนการทางประชานหรือการรับรู้ที่มีการบิดเบือนเพื่อที่จะพิทักษ์รักษาหรือเพิ่มความภูมิใจของตน (self-esteem) เมื่อเราปฏิเสธคำวิจารณ์เชิงลบ เพ่งดูแต่ข้อดีและความสำเร็จของตน แต่มองข้ามข้อเสียและความล้มเหลว หรือให้เครดิตตนเองมากกว่าผู้อื่นในงานที่ทำเป็นกลุ่ม เรากำลังพิทักษ์รักษาอัตตาจากความคุกคามหรือความเสียหาย ความโน้มน้าวทางประชานและการรับรู้เช่นนี้ทำให้เกิดการแปลสิ่งเร้าผิดและความผิดพลาด แต่เป็นความจำเป็นในการรักษาความภูมิใจในตนเอง ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนอาจจะอ้างความเฉลียวฉลาดและความขยันของตน ว่าเป็นเหตุของการได้เกรดดีในการสอบ แต่อ้างการสอนของคุณครูหรือคำถามที่ไม่ยุติธรรมว่า เป็นเหตุของการได้เกรดไม่ดี ซึ่งแสดงถึงพฤติกรรมที่มีความเอนเอียงเช่นนี้ งานวิจัยต่าง ๆ ได้แสดงแล้วว่า การอ้างเหตุผลอย่างเอนเอียงเช่นนี้ ก็มีในสถานการณ์อื่น ๆ ด้วย รวมทั้งในที่ทำงาน ในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ในการกีฬา และในการตัดสินใจของผู้บริโภค ทั้งกระบวนการแรงจูงใจ (เช่น การยกตนเอง การรักษาภาพพจน์) และกระบวนการทางประชาน (เช่น locus of control, ความภูมิใจในตน) ล้วนแต่มีอิทธิพลต่อความเอนเอียงนี้ ความเอนเอียงมีความแตกต่างกันทั้งในวัฒนธรรมต่าง ๆ (เช่นความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบในวัฒนธรรมที่เน้นความเป็นตัวของตัวเอง และวัฒนธรรมที่เน้นส่วนรวม) และในคนไข้บางโรค (เช่นผู้มีภาวะเศร้าซึม) งานวิจัยโดยมากเกี่ยวกับความเอนเอียงนี้ ใช้การอ้างเหตุผลที่ผู้ร่วมการทดลองรายงาน (self-reports) ในการทดลองที่มีการปรับเปลี่ยนผลของงาน (ที่ไม่ใช่เกิดจากพฤติกรรมของผู้ร่วมการทดลอง) และในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจริง ๆ แต่ว่า งานวิจัยที่ทันสมัยกว่านั้น จะใช้การปรับเปลี่ยนทางกายภาพ เช่นการทำให้เกิดอารมณ์ หรือการกระตุ้นการทำงานในระบบประสาท เพื่อที่จะเข้าใจกลไกทางชีวภาพที่มีส่วนให้เกิดความเอนเอียงรับใช้ตนเองได้ดีขึ้น.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและความเอนเอียงรับใช้ตนเอง · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงจากการอยู่รอด

ความเอนเอียงจากการอยู่รอด (bias.) เป็นเหตุผลวิบัติที่เน้นความสนใจต่อบุคคลหรือสิ่งที่ "อยู่รอด" บางกระบวนการ และมองข้ามบุคคลหรือสิ่งที่ไม่อยู่รอดโดยไม่ได้เจตนา ความเอนเอียงจากการอยู่รอดอาจนำไปสู่ข้อสรุปที่ผิดได้หลายทาง ผู้อยู่รอดอาจหมายความตามตัวอักษร คือ เป็นบุคคล ดังในการศึกษาทางการแพทย์ ทว่าอาจหมายถึงบริษัทหรือตัวอย่างวิจัยหรือผู้สมัครงาน หรือสิ่งใดก็ตามที่ต้องผ่านกระบวนการคัดเลือกก่อนที่จะได้รับพิจารณาเพิ่มเติมได้ทั้งสิ้น ความเอนเอียงจากการอยู่รอดอาจนำไปสู่ความเชื่อมองโลกในแง่ดีเกินเพราะความล้มเหลวถูกเพิกเฉย เช่น เมื่อบริษัทที่ไม่มีอยู่ต่อไปถูกยกเว้นจากการวิเคราะห์สมรรถภาพทางการเงิน นอกจากนี้ยังนำไปสู่ความเชื่อที่ผิดว่าความสำเร็จในกลุ่มมีคุณสมบัติพิเศษ มากกว่าเพียงเหตุบังเอิญ ตัวอย่างเช่น หากนักศึกษาสามจากห้าคนที่ได้เกรดสูงสุดในวิทยาลัยมาจากโรงเรียนมัธยมเดียวกัน ก็อาจชักจูงให้เชื่อว่าโรงเรียนมัธยมแห่งนั้นต้องให้การศึกษาที่ดีเยี่ยม ข้อความนี้อาจเป็นจริงก็ได้ แต่คำถามดังกล่าวไม่สามารถตอบได้โดยไม่ดูเกรดของนักเรียนคนอื่นจากโรงเรียนมัธยมนั้น ไม่เพียงแต่ผู้ที่ "อยู่รอด" การคัดเลือกห้าอันดับแรกเท่านั้น ความเอนเอียงจากการอยู่รอดเป็นความเอนเอียงจากการเลือกประเภทหนึ่ง หมวดหมู่:ความเอนเอียง หมวดหมู่:เหตุผลวิบัติโดยตรรกะ หมวดหมู่:การชักตัวอย่าง.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและความเอนเอียงจากการอยู่รอด · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงทางประชาน

วามเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) เป็นรูปแบบความคลาดเคลื่อนของการประเมินตัดสินใจ ที่การอนุมานถึงบุคคลอื่นหรือสถานการณ์ต่าง ๆ อาจจะเป็นไปโดยไม่สมเหตุผล คือ เราจะสร้างความจริงทางสังคม (social reality) ที่เป็นอัตวิสัย จากการรับรู้ข้อมูลที่ได้ทางประสาทสัมผัส เพราะฉะนั้น ความจริงที่เราสร้างขึ้นนี้ ซึ่งไม่ใช่ความจริงโดยปรวิสัย อาจจะกำหนดพฤติกรรมทางสังคมของเรา ดังนั้น ความเอนเอียงทางประชานอาจนำไปสู่ความบิดเบือนทางการรับรู้ การประเมินตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง การตีความที่ไม่สมเหตุผล หรือพฤติกรรมที่เรียกกันอย่างกว้าง ๆ ว่า ความไม่มีเหตุผล (irrationality) ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างเชื่อว่า เป็นการปรับตัวให้เข้ากับสังคมสิ่งแวดล้อม คือเป็นเหตุให้เกิดการกระทำที่มีประสิทธิภาพในสถานการณ์บางอย่าง นอกจากนั้นแล้ว ความเอนเอียงทางประชานบางอย่างสามารถทำให้ตัดสินใจได้เร็วขึ้น ในสถานการณ์ที่ความเร็วมีความสำคัญมากกว่าความแม่นยำ ดังที่พบในเรื่องของฮิวริสติก ความเอนเอียงบางอย่างอาจจะเป็น "ผลพลอยได้" ของความจำกัดในการประมวลข้อมูลของมนุษย์ ซึ่งอาจจะมาจากการไม่มีกลไกทางจิตใจที่เหมาะสม (สำหรับปัญหานั้น) หรือว่ามีสมรรถภาพจำกัดในการประมวลข้อมูล ภายใน 6 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีการกำหนดความเอนเอียงทางประชานเป็นจำนวนมาก เป็นผลจากงานวิจัยในเรื่องการประเมินและการตัดสินใจของมนุษย์ จากสาขาวิชาการต่าง ๆ รวมทั้งประชานศาสตร์ จิตวิทยาสังคม และเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (behavioral economics) ความเอนเอียงทางประชานเป็นเรื่องสำคัญที่จะศึกษาเพราะว่า "ความผิดพลาดอย่างเป็นระบบ" แสดงให้เห็นถึง "กระบวนการทางจิตที่เป็นฐานของการรับรู้และการประเมินตัดสินใจ" (Tversky & Kahneman,1999, p. 582) นอกจากนั้นแล้ว แดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ ยังอ้างไว้ด้วยว่า ความรู้เกี่ยวกับความเอนเอียงทางประชานมีผลทางด้านการปฏิบัติในฟิลด์ต่าง ๆ รวมทั้งการวินิจฉัยทางคลินิก.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและความเอนเอียงทางประชาน · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงในการตีพิมพ์

วามเอนเอียงในการตีพิมพ์ (ผลงานวิจัย) (Publication bias) เป็นความเอนเอียง (bias) ในประเด็นว่า ผลงานวิจัยอะไรมีโอกาสมากกว่าที่จะได้รับการตีพิมพ์ ในบรรดางานทั้งหมดที่ได้ทำ ความเอนเอียงโดยธรรมชาติแล้วไม่ได้เป็นปัญหาทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น ความเอนเอียงในการที่จะไม่ตีพิมพ์เรื่องไม่จริงเป็นความเอนเอียงที่พึงปรารถนา แต่ความเอนเอียงที่เป็นปัญหาก็คือความโน้มน้าวที่นักวิจัย บรรณาธิการ และบริษัทผลิตยา มักจะมีความประพฤติกับผลงานทดลองที่เป็น "ผลบวก" (คือ แสดงว่าประเด็นการทดลองมีความสัมพันธ์กับผลอย่างมีนัยสำคัญ) แตกต่างจากงานทดลองที่เป็น "ผลลบ" (null result หรือผลว่าง คือ ประเด็นการทดลองไม่มีความสัมพันธ์กับผลอย่างมีนัยสำคัญ) หรือว่าไม่มีความชัดเจน ซึ่งนำไปสู่ความเอนเอียงที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในเรื่องนั้น ที่มีในบรรดางานที่ได้รับการตีพิมพ์ทั้งหมด ความเอนเอียงนี้มักจะเป็นไปในทางการรายงานผลที่มีนัยสำคัญ แม้ว่าจริง ๆ แล้วงานทดลองที่แสดงนัยสำคัญไม่ได้มีคุณภาพการออกแบบการทดลองที่ดีกว่างานทดลองที่แสดงผลว่าง คือ ได้เกิดการพบว่า ผลที่มีนัยสำคัญมีโอกาสที่จะได้รับการตีพิมพ์มากกว่าผลที่แสดงผลว่างมากกว่าถึง 3 เท่า และก็มีการพบด้วยว่า เหตุผลสามัญที่สุดของการไม่ตีพิมพ์ผลงานก็คือผู้ทำงานวิจัยปฏิเสธที่จะเสนอผลงานเพื่อพิมพ์ (เพราะว่า ผู้ทำงานวิจัยหมดความสนใจในประเด็นนั้น หรือว่าคิดว่า ผู้อื่นจะไม่สนใจในผลว่าง หรือเหตุผลอื่น ๆ) ซึ่งเป็นข้อมูลที่แสดงถึงบทบาทของนักวิจัยในปรากฏการณ์ความเอนเอียงในการตีพิมพ์นี้ เพื่อที่จะพยายามลดปัญหานี้ วารสารแพทย์ที่สำคัญบางวารสารเริ่มมีการกำหนดให้ลงทะเบียนงานทดลองก่อนที่จะเริ่มทำเพื่อว่า ผลที่ไม่แสดงความสัมพันธ์ของประเด็นงานวิจัยกับผลจะไม่ถูกกักไว้ไม่ให้พิมพ์ มีองค์กรการลงทะเบียนเช่นนี้หลายองค์กร แต่นักวิจัยมักจะไม่รู้จัก นอกจากนั้นแล้ว ความพยายามที่ผ่านมาที่จะระบุหางานทดลองที่ไม่ได้รับการพิมพ์ปรากฏว่า เป็นเรื่องที่ยากและมักจะไม่เพียงพอ อีกกลยุทธ์หนึ่งที่เสนอโดยผู้ทำการวิเคราะห์งานวิจัยต่าง ๆ ก็คือให้ระวังการใช้ผลงานทดลองทางคลินิกที่ไม่ใช่แบบสุ่ม (non-randomised) และมีตัวอย่างทางสถิติน้อย เพราะว่า เป็นงานที่มีความเสี่ยงสูงต่อข้อผิดพลาดและความเอนเอียง.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและความเอนเอียงในการตีพิมพ์ · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี

วามเอนเอียงโดยการมอง (ความเสี่ยงของตน) ในแง่ดี แปล "optimism" ว่าการมองในแง่ดี หรือ ความเอนเอียงโดยสุทรรศนนิยม"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ optimism ว่า "สุทรรศนนิยม" (optimism bias) หรือเรียกในภาษาอังกฤษว่า unrealistic optimism (การมองในแง่ดีแบบเป็นไปไม่ได้) หรือ comparative optimism (การมองในแง่ดีเชิงเปรียบเทียบ) เป็นความเอนเอียงที่เป็นเหตุให้เราเชื่อว่า เรามีโอกาสที่จะประสบเหตุการณ์เลวร้ายน้อยกว่าคนอื่น มีองค์ประกอบ 4 อย่างที่ทำให้เกิดความเอนเอียงนี้คือ.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงโดยการใส่ใจ

วามเอนเอียงโดยการใส่ใจ (Attentional bias) เป็นศัพท์วิทยาศาสตร์แบบเฉพาะกิจ ซึ่งอาจหมายถึงความโน้มเอียงของการรับรู้ของเราที่จะได้รับอิทธิพลจากความคิดที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ(Bar-Haim, Y., Lamy, D., Pergamin, L., Bakermans-Kranenburg, M.J., & van IJzendoorn, N.H. (2007). Threat-related attentional bias in anxious and non-anxious individuals: A meta-analytic study. Psychological Bulletin. ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราคิดถึงเสื้อผ้าที่เราใส่บ่อย ๆ เราก็จะให้ความสนใจกับเสื้อผ้าที่คนอื่นใ.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและความเอนเอียงโดยการใส่ใจ · ดูเพิ่มเติม »

ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน

วามเอนเอียงเพื่อยืนยัน (ความคิดฝ่ายตน)"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ bias ว่า "ความลำเอียง, -เอนเอียง" หรือ ความลำเอียงเพื่อยืนยัน (Confirmation bias, confirmatory bias, myside bias) เป็นความลำเอียงในข้อมูลที่ยืนยันความคิดหรือทฤษฎีหรือสมมติฐานฝ่ายตน เรียกว่ามีความลำเอียงนี้เมื่อสะสมหรือกำหนดจดจำข้อมูลที่เลือกเฟ้น หรือว่าเมื่อมีการตีความหมายข้อมูลอย่างลำเอียง ความลำเอียงนี้มีอยู่ในระดับสูงในประเด็นที่ให้เกิดอารมณ์หรือเกี่ยวกับความเชื่อที่ฝังมั่น นอกจากนั้นแล้ว คนมักตีความหมายข้อมูลที่ยังไม่ชัดเจนว่าสนับสนุนความคิดเห็นของตนเอง มีการใช้การสืบหา การตีความหมาย และการทรงจำข้อมูลประกอบด้วยความลำเอียงเช่นนี้ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและความเอนเอียงเพื่อยืนยัน · ดูเพิ่มเติม »

คำคล้องจอง

ำคล้องจอง หรือ คำสัมผัส คือลักษณะอย่างหนึ่งของบทกวี มักจะเป็นฉันทลักษณ์ในคำประพันธ์ประเภทต่าง.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและคำคล้องจอง · ดูเพิ่มเติม »

ตลับเทป

ตลับเทป หรือมักเรียกโดยย่อว่า เทป มักหมายถึงเทปเสียงหรือเทปเพลง คือรูปแบบการบันทึกเสียงลงสื่อรูปแบบหนึ่งโดยใช้แถบแม่เหล็ก เทปมีขนาดเล็กสามารถพกพาได้อย่างสะดวก ใช้งานตั้งแต่บันทึกเสียงในบ้านจนถึงเก็บข้อมูลต่าง ๆ ในไมโครคอมพิวเตอร์ ในช่วงแรกระหว่างต้นทศวรรษ 1970 และปลายทศวรรษ 1990 ตลับเทปเป็นหนึ่งในสองอย่างที่มักใช้ในการบันทึกเสียงเพลง ควบคู่ไปกับแผ่นเสียง ซึ่งต่อมามักใช้เป็นซีดีแทน คำว่า แคสเซต หรือ คาสเซต (cassette) มีความหมายว่า ตลับหรือกล่องเล็ก.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและตลับเทป · ดูเพิ่มเติม »

ตัวกระตุ้น

ในสรีรวิทยา ตัวกระตุ้น"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ stimulus ว่า "ตัวกระตุ้น" หรือ "สิ่งเร้า" หรือ ตัวเร้า หรือ สิ่งเร้า หรือ สิ่งกระตุ้น (stimulus, พหูพจน์ stimuli) เป็นความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่ตรวจจับได้โดยสิ่งมีชีวิตหรืออวัยวะรับรู้ความรู้สึก โดยปกติ เมื่อตัวกระตุ้นปรากฏกับตัวรับความรู้สึก (sensory receptor) ก็จะก่อให้เกิด หรือมีอิทธิพลต่อปฏิกิริยารีเฟล็กซ์ของเซลล์ ผ่านกระบวนการถ่ายโอนความรู้สึก (transduction) ตัวรับความรู้สึกเหล่านี้สามารถรับข้อมูลทั้งจากภายนอกร่างกาย เช่นตัวรับสัมผัส (touch receptor) ในผิวหนัง หรือตัวรับแสงในตา และทั้งจากภายในร่างกาย เช่น ตัวรับสารเคมี (chemoreceptors) และตัวรับแรงกล (mechanoreceptors) ตัวกระตุ้นภายในมักจะเป็นองค์ประกอบของระบบการธำรงดุล (homeostaticภาวะธำรงดุล (Homeostasis) เป็นคุณสมบัติของระบบหนึ่ง ๆ ที่ควบคุมสิ่งแวดล้อมภายในของระบบ และมักจะดำรงสภาวะที่สม่ำเสมอและค่อนข้างจะคงที่ขององค์ประกอบต่าง ๆ เช่นอุณหภูมิและค่าความเป็นกรด control system) ของร่างกาย ส่วนตัวกระตุ้นภายนอกสามารถก่อให้เกิดการตอบสนองแบบทั่วระบบของร่างกาย เช่นการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight-or-flight response) การจะตรวจพบตัวกระตุ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับระดับของตัวกระตุ้น คือต้องเกินระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน (absolute thresholdในประสาทวิทยาและจิตฟิสิกส์ ระดับขีดเริ่มเปลี่ยนสัมบูรณ์ (absolute threshold) เป็นระดับที่ต่ำสุดของตัวกระตุ้นที่จะตรวจพบได้ แต่ว่า ในระดับนี้ สัตว์ทดลองบางครั้งก็ตรวจพบตัวกระตุ้น บางครั้งก็ไม่พบ ดังนั้น การจำกัดความอีกอย่างหนึ่งก็คือ ระดับของตัวกระตุ้นที่ต่ำที่สุดที่สามารถตรวจพบได้ 50% ในโอกาสทั้งหมดที่ตรวจ) ถ้าสัญญาณนั้นถึงระดับกระตุ้นขีดเริ่มเปลี่ยน ก็จะมีการส่งสัญญาณนั้นไปยังระบบประสาทกลาง ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมสัญญาณต่าง ๆ และตัดสินใจว่าจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นอย่างไร แม้ว่าร่างกายโดยสามัญจะตอบสนองต่อตัวกระตุ้น แต่จริง ๆ แล้ว ระบบประสาทกลางเป็นผู้ตัดสินใจในที่สุดว่า จะตอบสนองต่อตัวกระตุ้นนั้นหรือไม.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและตัวกระตุ้น · ดูเพิ่มเติม »

ตัวแปรกวน

แสดงตัวแปรกวนแบบง่าย ๆ คือถ้ารู้ "Z" ก็จะเห็นได้ว่า ''X'' ไม่สัมพันธ์กับ ''Y'' แต่ถ้าไม่เห็น ''Z'' ก็จะปรากฏความสัมพันธ์เทียมระหว่าง ''X'' กับ ''Y'' ซึ่งในกรณีนี้ ''Z'' จะเรียกว่า ปัจจัยกวนหรือตัวแปรกวน ในสถิติศาสตร์ ตัวแปรกวน (confounding variable) ปัจจัยกวน (confounding factor) หรือ ตัวกวน (confounder) เป็นตัวแปรนอก (extraneous variable) ในแบบจำลองทางสถิติที่มีสหสัมพันธ์โดยตรงหรือโดยผกผัน กับทั้งตัวแปรตาม (dependent variable) และตัวแปรอิสระ (independent variable) ความสัมพันธ์ปลอม (spurious relationship) เป็นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม ที่ประเมินอย่างผิดพลาด เพราะไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยกวน เป็นการประเมินที่ประกอบด้วย omitted-variable bias (ความเอนเอียงโดยละเว้นตัวแปร).

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและตัวแปรกวน · ดูเพิ่มเติม »

ประชานศาสตร์

ประชานศาสตร์ หรือ วิทยาการการรู้ หรือ วิทยาการปัญญา หรือ วิทยาศาสตร์พุทธิปัญญา (cognitive science) ความหมายโดยทั่วไปคือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ทั้งเรื่องของความคิดและความฉลาด แต่หากกล่าวอย่างเป็นรูปนัยจะเน้นว่าเป็นการศึกษาด้านสหวิทยาการประกอบด้วย ประชานจิตวิทยา (cognitive psychology) ประสาทจิตวิทยา (neuropsychology) ภาษาศาสตร์ ปรัชญา วิทยาการคอมพิวเตอร์ (เจาะจงเรื่องปัญญาประดิษฐ์) มานุษยวิทยา และ จิตชีววิทยา (psychobiology) หรือสาขาประยุกต์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อการศึกษาวิจัยภาวะของจิตและกระบวนการที่มนุษย์ควบคุมเปลี่ยนแปรยักย้ายข้อมูลข่าวสาร งานวิจัยในสาขาวิทยาการการรู้ได้ประยุกต์ใช้องค์ความรู้จากหลากหลายสาขาเพื่อศึกษาการทำงานของระหว่างสมองและจิตใจ (brain and mind) ศึกษาวิจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างการคิด อารมณ์ และการกระทำ การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (brain-based learning) พฤติกรรม ความผิดปกติทางการเรียน การรับรู้ ความสนใจ การจำ การแก้ปัญหา การคำนวณ การให้เหตุผล และการตัดสินใจ บนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เช่น การแปลผลจากการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) การวิเคราะห์จากถ่ายภาพสมอง (brain imaging) เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและประชานศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์ฟอเรอร์

ปรากฏการณ์ฟอเรอร์มักจะใช้ในหลายสาขา เช่น โหราศาสตร์ ภาพนี้แสดงให้เห็นร้านดูดวงแห่งหนึ่งในบอสตัน ปรากฏการณ์ฟอเรอร์ (Forer effect) หรือที่บางครั้งเรียกว่า ปรากฏการณ์บาร์นัม (Barnum effect) ตามข้อสังเกตการณ์ของ พี.ที.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและปรากฏการณ์ฟอเรอร์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรากฏการณ์การวางกรอบ

ปรากฏการณ์การวางกรอบ"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ framing ว่า "การวางกรอบภาพ" (framing effect) เป็นความเอนเอียงทางประชานที่เรามีปฏิกิริยาต่อทางเลือกอย่างหนึ่งโดยต่าง ๆ กันไปขึ้นอยู่กับว่ามีการแสดงทางเลือกนั้นอย่างไร เช่นโดยเป็นการได้หรือการเสีย (ดูตัวอย่างในการหลีกเลี่ยงการเสีย) คือ เรามักจะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงเมื่อแสดงทางเลือกนั้นโดยเป็นการได้ และจะทำการเสี่ยงเมื่อแสดงทางเลือกนั้นโดยเป็นการเสีย การได้และการเสียสามารถวางกรอบได้โดยใช้คำแสดงผลต่าง ๆ กัน (เช่น จะมีการเสียชีวิตหรือจะมีการช่วยชีวิต คนไข้จะได้รับการรักษาหรือไม่ได้รับการรักษา) ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม โดยเฉพาะคือ Prospect theory แสดงว.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและปรากฏการณ์การวางกรอบ · ดูเพิ่มเติม »

นกพิราบ

thumb นกพิราบ เป็นนกในวงศ์นกพิราบและนกเขา (Columbidae) โดยปกติคำว่า "นกพิราบ" จะหมายถึงนกพิราบเลี้ยง (รวมถึงนกพิราบแฟนซีด้วย) ส่วนนกพิราบนอกเหนือจากนี้จะเรียกว่า "นกพิราบป่า" นกพิราบป่ามีขนสีเทาอ่อน มีแถบสีดำสองแถบบนปีกแต่ละข้าง แต่ทั้งนกป่าและนกเลี้ยงนั้นมีความหลากหลายของสีและรูปแบบของขนเป็นอย่างมาก มีความแตกต่างระหว่างเพศเล็กน้อย นกชนิดนี้มักมีคู่ครองตัวเดียว มีลูกครั้งละ 2 ตัว พ่อและแม่ช่วยกันเลี้ยงดู โดยที่เมื่อจับคู่กันแล้วจะไม่แยกจากกันเลยตลอดชีวิต แม้ว่าคู่จะตายไปแล้ว ซึ่งนกพิราบป่านั้นเป็นที่รวมของเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ ที่ติดต่อมาสู่มนุษย์ได้ อาทิ โรคสมองอักเสบจากเชื้อรา, ปอดอักเสบ, ท้องเสีย, เครียด หรือแม้กระทั่งหมัดจากตัวนก นกพิราบมีถิ่นอาศัยในสิ่งแวดล้อมเปิดและกึ่งเปิดในพื้นที่เกษตรกรรมและในเมือง หน้าผาและขอบหินถูกใช้เป็นที่ทำรังวางไข่ของนกในป่า นกพิราบมีถิ่นกำเนิดในยุโรป แอฟริกาเหนือ และทางตะวันตกของเอเชีย ก่อนที่จะแพร่กระจายไปตามเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก เพราะเป็นนกที่มีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะในเมืองได้ดีมาก คาดว่ามีประชากรนกในธรรมชาติประมาณ 17 - 28 ล้านตัวในยุโรป ปัจจุบันนกพิราบเป็นนกที่พบได้ในทุกทวีปทั่วโลก ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา นกพิราบ เป็นนกที่มนุษย์คุ้นเคยเป็นอย่างดี ในสมัยโบราณจะใช้ในการสื่อสาร เนื่องจากเป็นนกที่มีประสาทสัมผัสเป็นอย่างดีในการที่จะหาทางกลับมาสู่ถิ่นฐานที่จากมา แม้ว่าจะอยู่ไกลแค่ไหนก็ตามด้วยการใช้สนามแม่เหล็กโลกแบบเดียวกับเต่าทะเล อีกทั้งยังใช้แสงแดดและจมูกในการดมกลิ่นอีกด้วย อีกทั้ง ยังนิยมเลี้ยงกันเพื่อการบินแข่งขันกันด้วย และเลี้ยงเป็นสัตว์เศรษฐกิจเพื่อบริโภคเนื้อ และมีการพัฒนาสายพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีลักษณะสวยจากธรรมชาติเพื่อการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงาม นอกจากนี้แล้ว นกพิราบยังถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ในทางสากลหมายถึง "สันติภาพ" โดยมักใช้รูปนกพิราบคาบช่อมะกอก คำว่า "พิราบ" ในภาษาไทยนั้น มาจากคำว่า "วิราว", "พิราว" หรือ "พิราพ" ซึ่งเป็นภาษาสันสกฤตแปลว่า "เสียงร้อง".

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและนกพิราบ · ดูเพิ่มเติม »

แพริโดเลีย

รูปถ่ายจากดาวเทียมของที่ราบสูงไซโดเนียบนดาวอังคาร ซึ่งบางครั้งเรียกว่า "Face on Mars (ใบหน้าบนดาวอังคาร)" ส่วนรูปที่ถ่ายมาจากมุมอื่น ๆ จะไม่สามารถเห็นภาพลวงตานี้ แพริโดเลีย หรือ แพไรโดเลีย (Pareidolia) เป็นปรากฏการณ์ทางจิต ที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้สิ่งเร้าเช่นภาพหรือเสียงที่ไม่ชัดเจนและไม่มีรูปแบบ (คือบังเอิญ สุ่ม) ว่ามีความหมายมีความสำคัญ เป็นการรับรู้แบบหนึ่งของ apophenia ซึ่งเป็นการเห็นรูปแบบหรือความสัมพันธ์กันในข้อมูลสุ่มที่ไม่มีความหมาย ตัวอย่างที่สามัญอย่างหนึ่งคือการเห็นรูปสัตว์หรือใบหน้าในก้อนเมฆ ชายบนดวงจันทร์ กระต่ายบนดวงจันทร์ และการได้ยินข้อความที่ซ่อนไว้บนแผ่นเสียงไวนิลที่เล่นย้อนทาง คำว่า Pareidolia มาจากคำในภาษากรีกว่า para- (παρά, แปลว่า "ข้าง ๆ, ไปเป็นหน้ากระดาน, แทนที่") ซึ่งในที่นี้หมายถึงอะไรที่บกพร่อง ผิดพลาด หรือเกิดขึ้นแทนที่ และคำนามว่า eidōlon (εἴδωλον แปลว่า "ภาพ, รูปร่าง, สัณฐาน") ซึ่งมีความหมายเป็นส่วนย่อยของคำว่า eidos.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและแพริโดเลีย · ดูเพิ่มเติม »

โหราศาสตร์

หราศาสตร์ (Astrology) เป็นศาสตร์หนึ่งที่ไม่ได้รับการยอมรับทางวิทยาศาสตร์ มีความเกี่ยวข้องกับการทำนายอนาคต หรือ โชคชะตาของมนุษย์,ปรากฏการณ์ต่างๆ ของบ้านเมือง และของโลก โดยอาศัย เวลา และ ตำแหน่งของดวงดาวต่างๆ บนท้องฟ้า เป็นสำคัญ แล้วบันทึกไว้เป็นสถิติ โหราศาสตร์ เป็นวิชาที่ต่างกับวิทยาศาสตร์ ด้วยแม้จะสามารถพิสูจน์ทราบได้โดยใช้กฎเกณฑ์ และเหตุผลในทางโหราศาสตร์ นำมาทดลอง พิสูจน์ให้เห็นประจักษ์ สามารถสรุปออกมาเป็นทฤษฎีได้ ไม่ว่าจะทดลองกี่ครั้ง ที่ใดๆในโลกเช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ก็ยังคงเป็นวิชาที่ค่อนข้างลึกลับ ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์จึงไม่รับรองโหราศาสตร์ ว่าเป็นศาสตร์อย่างหนึ่ง อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลอินเดียได้มีการประกาศเมื่อวันที่ 11.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและโหราศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจ

รษฐกิจ (economy) นั้น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน." รวมถึงด้านการใช้บริการและการท่องเที่ยวที่มีปัจจัยกระตุ้นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นเครือข่ายจำกัดโดยพื้นที่และเครือข่ายสังคมที่ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการตามอุปสงค์และอุปทานระหว่างผู้มีส่วนโดยการแลกเปลี่ยนหรือสื่อกลางการแลกเปลี่ยนด้วยมูลค่าเครดิตหรือเดบิตที่ยอมรับกันภายในเครือข่าย เศรษฐกิจหนึ่ง ๆ เป็นผลมาจากกระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องทั้งวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี ประวัติศาสตร์และสถาบันสังคม เช่นเดียวกับภูมิศาสตร์ การมีทรัพยากรธรรมชาติ และนิเวศวิทยา เป็นปัจจัยหลัก ปัจจัยเหล่านี้ให้บริบท สาร ตลอดจนจัดสภาพและตัวแปรซึ่งเศรษฐกิจทำงานอยู่ หมวดหมู่:ระบบเศรษฐกิจ หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม

รษฐศาสตร์พฤติกรรม (Behavioral economics) และสาขาที่เกี่ยวข้องกันคือ การเงินพฤติกรรม (behavioral finance) เป็นสาขาวิชาการที่ศึกษ.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เสิร์ชเอนจิน

ร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหา คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละร.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและเสิร์ชเอนจิน · ดูเพิ่มเติม »

เหตุผลวิบัติ

หตุผลวิบัติ (fallacy) หมายถึง การพิสูจน์โดยการอ้างเหตุผลที่มีน้ำหนักอ่อนเพื่อสนับสนุนในข้อสรุป การให้เหตุผลวิบัติมีความแตกต่างจากการให้เหตุผลแบบอื่น ๆ เนื่องจากหลายคนมักจะพบว่าการให้เหตุผลนั้นมีความน่าเชื่อถือในทางจิตวิทยา ซึ่งจะส่งผลให้คนจำนวนมากเกิดความเข้าใจผิดและยกเหตุผลอย่างผิด ๆ โดยใช้เป็นเหตุผลที่จะเชื่อในข้อสรุปนั้น การให้เหตุผลอาจจะกลายเป็น "เหตุผลวิบัติ" ได้ แม้ว่าข้อสรุปนั้นจะเป็นจริงหรือไม่ก็ตาม เหตุผลวิบัติสามารถจำแนกออกได้ในหลายรูปแบบ ยกตัวอย่างเช่น เหตุผลวิบัติอย่างเป็นทางการ เกิดจากหลักตรรกะที่ไม่ถูกต้อง เหตุผลวิบัติอย่างไม่เป็นทางการ ไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาว่าผิดตามหลักตรรกะ และเหตุผลวิบัติเกี่ยวกับถ้อยคำ ซึ่งเกิดจากการใช้ภาษาชักนำให้เกิดความเข้าใจผิด เช่น การพูดกำกวม หรือการพูดมากโดยไม่จำเป็น เหตุผลวิบัติมักจะมีความเกี่ยวข้องกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมา อันเนื่องมาจากเหตุผลที่ไม่เป็นไปตามหลักตรรกะอย่างถูกต้อง และเหตุผลวิบัติยังเกี่ยวข้องกับการสันนิษฐานด้วย เหตุผลวิบัติมักจะดูเหมือนกับว่าเป็นสิ่งที่เลวร้ายอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตาม การยกเหตุผลมักจะมีลักษณะรูปแบบการเล่นสำนวนเพื่อให้เกิดความเคลือบแคลงในการยกเหตุผลในทางตรรกะ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม จะทำให้เหตุผลวิบัติยากที่จะสามารถตรวจจับได้ และส่วนประกอบของเหตุผลวิบัตินั้นก็อาจแพร่ขยายได้อีกเป็นเวลานาน คำว่า เหตุผลวิบัติ อาจมีการเรียกในชื่ออื่น ๆ อีกเช่น เหตุผลลวง, ทุตรรกบท, ตรรกะวิบัติ, ปฤจฉวาที, มิจฉาทิฐิ, ความผิดพลาดเชิงตรรกะ, การอ้างเหตุผลบกพร่อง เป็นต้น.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและเหตุผลวิบัติ · ดูเพิ่มเติม »

เหตุผลวิบัติของนักการพนัน

หตุผลวิบัติของนักการพนัน (gambler's fallacy) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เหตุผลวิบัติมอนตีคาร์โล (Monte Carlo fallacy) เป็นความเชื่อผิด ๆ ว่า ถ้าเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นบ่อยกว่าปกติในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เหตุการณ์นั้นก็จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งน้อยลงในอนาคต หรือว่า ถ้าเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นน้อยกว่าปกติในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เหตุการณ์นั้นก็จะเกิดบ่อยขึ้นในอนาคต เพื่อที่จะให้เกิดการสมดุลกัน แต่ว่าถ้าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเหตุการณ์สุ่ม คือเป็นการลองตามลำดับที่เป็นอิสระทางสถิติ (statistical independent trial) ของกระบวนการสุ่ม แม้ว่าความเชื่อนี้จะดึงดูดใจ แต่ก็จะไม่เป็นความจริง เหตุผลวิบัตินี้เกิดขึ้นได้ในสถานการณ์จริง ๆ มากมาย แต่มักจะมีการกล่าวถึงในเรื่องของการเล่นการพนัน เพราะเป็นเหตุผลวิบัติที่คนเล่นการพนันมีโดยสามัญ ส่วนคำบัญญัติว่า "เหตุผลวิบัติมอนตีคาร์โล" มีกำเนิดมาจากตัวอย่างที่มีชื่อเสียงของเหตุผลวิบัตินี้ ซึ่งเกิดขึ้นในบ่อนกาสิโนมอนตีคาร์โลในปี..

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและเหตุผลวิบัติของนักการพนัน · ดูเพิ่มเติม »

เหตุผลวิบัติในการวางแผน

รางวัลเพื่อระลึกถึงอัลเฟรด โนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ ในปี ค.ศ. 2002) กับอะมอส ทเวอร์สกี้ เป็นนักจิตวิทยาผู้เสนอเหตุผลวิบัติในการวางแผน เหตุผลวิบัติในการวางแผน (planning fallacy) ที่แดเนียล คาฮ์นะมัน (รูป) และอะมอส ทเวอร์สกี้เป็นผู้เสนอในปี..

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและเหตุผลวิบัติในการวางแผน · ดูเพิ่มเติม »

เหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน

หตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ base rate ว่า "อัตราพื้นฐาน" และของ fallacy ว่า "เหตุผลวิบัติ" (Base rate fallacy) หรือ การละเลยอัตราพื้นฐาน (base rate neglect) หรือ ความเอนเอียงโดยอัตราพื้นฐาน (base rate bias) เป็นเหตุผลวิบัติรูปนัย (formal fallacy) ชนิดหนึ่ง ที่เมื่อมีการแสดงทั้งข้อมูลเกี่ยวกับอัตราพื้นฐานที่อยู่ในประเด็นแต่ว่าเป็นข้อมูลแบบทั่ว ๆ ไป และทั้งข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงแต่กับบางกรณีเท่านั้น เรามักจะไม่สนใจข้อมูลทั่วไปแต่จะสนใจแต่ข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงเท่านั้น ซึ่งนำไปสู่การประเมินผลที่มีความเอนเอียง.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและเหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องเรือน

โต๊ะกินข้าวสำหรับสองที่ เครื่องเรือน หรือ เฟอร์นิเจอร์ (Meuble; Möbel; Mobiliario; Furniture) เป็นสิ่งของที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ ที่อาจรองรับการใช้งานของร่างกายมนุษย์ (เช่นเครื่องเรือนการนั่งและเตียงนอน) หรือมีไว้สำหรับเก็บของ หรือเก็บวัตถุทางแนวตั้งเหนือพื้นผิวของพื้นดิน เครื่องเรือนสำหรับเก็บของมักมีประตู บานเลื่อน และชั้นเก็บของ ที่อาจเก็บของชิ้นเล็ก ๆ อย่างเสื้อผ้า,อุปกรณ์,หนังสือ ข้าวของเครื่องใช้ เครื่องเรือนอาจเป็นผลิตผลที่เกิดจากการออกแบบทางด้านศิลปะ และอาจถือได้ว่าเป็นงานศิลปะประดับตกแต่ง นอกจากนี้อาจมีความหมายในทางเชิงสัญลักษณ์หรือทางด้านศาสนา เครื่องเรือนอาจมีส่วนประกอบร่วมอื่นอย่างเช่นนาฬิกาหรือโคมไฟ เพื่อประโยชน์ใช้สอยพื้นที่ภายใน เครื่องเรือนสามารถทำได้จากวัสดุหลากหลายประเภท อย่างเช่น เหล็ก, พลาสติก และไม้ หมวดหมู่:เครื่องอุปโภค หมวดหมู่:บ้าน หมวดหมู่:เครื่องเรือน หมวดหมู่:การออกแบบเชิงอุตสาหกรรม.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและเครื่องเรือน · ดูเพิ่มเติม »

Representativeness heuristic

Representativeness heuristic (ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทน) เป็นฮิวริสติกที่ใช้ประเมินความน่าจะเป็นของเหตุการณ์หนึ่งเมื่อมีความไม่แน่ใจ เป็นหลักการโดยทั่วไปที่เราตัดสินโอกาสเป็นไปได้ของเหตุการณ์ โดยพิจารณาว่าสมมุติฐานของเรานั้น เหมือนกับข้อมูลที่มีอยู่มากแค่ไหน การประเมินโดยวิธีนี้อาจจะทำให้เราละเลยอัตราพื้นฐาน (base rate) และ/หรือเกิดความเอนเอียงทางประชาน (cognitive bias) ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทนเป็นหนึ่งในกลุ่มฮิวริสติก (คือกฎที่ใช้เพื่อทำการประเมินและการตัดสินใจ) ที่เสนอโดยนักจิตวิทยา แดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 มีการพรรณนาถึงฮิวริสติกว่าเป็น "ทางลัดในการประเมิน ที่โดยทั่วไปช่วยให้เราไปถึงที่หมายได้ และอย่างรวดเร็ว แต่มีราคาคือบางครั้งส่งเราไปผิดที่" ฮิวริสติกมีประโยชน์เพราะว่าช่วยทำการตัดสินใจให้ง่ายขึ้นและไม่ต้องใช้ทรัพยากรทางสมองมาก คำว่า "ความเป็นตัวแทน" (Representativeness) ในบทความนี้ใช้โดยสามารถหมายถึง.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและRepresentativeness heuristic · ดูเพิ่มเติม »

Saccade

รอยทางจุดการทอดสายตาที่เกิดจากการขยับตาแบบ saccades ของมนุษย์ ในขณะที่กราดดูใบหน้า saccade (อ่านว่า เซะคาด) เป็นการเคลื่อนไหวอย่างเร็ว ๆ ของตา ของศีรษะ หรือของส่วนอื่นในร่างกาย หรือของอุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง และยังหมายถึงการเปลี่ยนความถี่อย่างรวดเร็วของสัญญาณส่ง หรือความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอย่างอื่น ๆ ได้อีกด้วย Saccades เป็นการเคลื่อนไหวตาทั้งสองข้างไปยังทิศทางเดียวกัน พร้อม ๆ กัน อย่างรวดเร็วCassin, B. and Solomon, S. Dictionary of Eye Terminology.

ใหม่!!: รายชื่อความเอนเอียงทางประชานและSaccade · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

List of Cognitive biasesรายการความเอนเอียงทางประชาน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »