โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2

ดัชนี รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2

ต่อไปนี้คือ รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย หมวดขึ้นต้นด้วยเลข 2 สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางส่วนในภาคเหนือ และภาคกลาง.

58 ความสัมพันธ์: กรมทางหลวงชนบทภาคกลาง (ประเทศไทย)ภาคอีสาน (ประเทศไทย)ภาคเหนือ (ประเทศไทย)ราชการส่วนท้องถิ่น (ประเทศไทย)รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน)สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ)ถนนมิตรภาพถนนสุรนารายณ์ถนนสีคิ้ว-เชียงคานถนนสถิตนิมานการถนนนิตโยถนนนิเวศรัตน์ถนนแจ้งสนิททางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2023ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 204ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 207ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2089ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 210ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 211ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2129ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 215ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2157ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 216ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2167ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2201ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2224ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 223ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2256ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 227ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 228ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 229ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 230...ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 231ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 232ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2321ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 242ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 290เทศบาลเทศบาลเมืองมุกดาหาร ขยายดัชนี (8 มากกว่า) »

กรมทางหลวงชนบท

กรมทางหลวงชนบท (Department of Rural Roads) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงคมนาคม จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 โดยบุคลากรโอนภารกิจมาจากกรมโยธาธิการและกรมการเร่งรัดพัฒนาชนบท มีหน้าที่ในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานทางหลวงชนบท เพื่อสนับสนุนการคมนาคมขนส่ง การท่องเที่ยว การพัฒนาชายแดน การพัฒนาเมืองอย่างบูรณาการและยั่งยืน แก้ไขปัญหาจราจรโดยสร้างทางเชื่อม ทางเลี่ยง และทางลัด รวมทั้งเป็นพี่เลี้ยงด้านการพัฒนาทางหลวงท้องถิ่นให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และกรมทางหลวงชนบท · ดูเพิ่มเติม »

ภาคกลาง (ประเทศไทย)

กลาง เป็นภูมิภาคตอนกลางของประเทศไทย มีพื้นที่ครอบคลุมที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ติดต่อกับภาคเหนือทางทิศเหนือ ติดต่อกับภาคตะวันออก และภาคอีสานทางทิศตะวันออกโดยมีทิวเขาเพชรบูรณ์กั้น ติดต่อกับภาคตะวันตก ทิศเหนือติดต่อกับทิวเขาผีปันน้ำ พื้นนี้เคยเป็นดินแดนที่สำคัญของอาณาจักรอยุธยา และยังเป็นพื้นที่ที่สำคัญของประเทศไทยมาจนถึงปัจจุบัน ภาคกลางเป็นภูมิภาคที่มีกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยตั้งอยู่ และมีประชากรในภูมิภาคมากที่สุดในประเท.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และภาคกลาง (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภาคอีสาน (ประเทศไทย)

อีสาน (มาจากภาษาบาลีหรือภาษาสันสกฤต ऐशान aiśāna แปลว่า "ตะวันออกเฉียงเหนือ") หรือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นภูมิภาคหนึ่งในประเทศไทย ตั้งอยู่บนแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร มีแม่น้ำโขงกั้นประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออกของภาค ทางทิศใต้มีเทือกเขาพนมดงรักกั้นประเทศกัมพูชาและภาคตะวันออกของประเทศไทย และมีทิวเขาเพชรบูรณ์และทิวเขาดงพญาเย็นเป็นแนวกั้นทางตะวันตกแยกจากภาคกลาง ภาคอีสานยังมีเนื้อที่มากที่สุดของประเทศไทย ประมาณ 168,854 ตารางกิโลเมตร หรือมีเนื้อที่ร้อยละ 33.17 เทียบได้กับหนี่งในสามของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทยได้จัดว่าเป็นพื้นที่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เทือกเขาที่สูงที่สุดในภาคอีสานคือ ยอดภูลมโล ภูหลวง และภูกระดึง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญของชาวอีสานในหลายจังหวัดด้วยกัน เช่น แม่น้ำห้วยหลวง แม่น้ำชี ลำตะคอง แม่น้ำพอง แม่น้ำเลย แม่น้ำพรม แม่น้ำมูล แม่น้ำสงคราม ภาษาหลักของภาคนี้ คือ ภาษาอีสาน ซึ่งเป็นภาษาอีสานสำเนียงหนึ่งทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ส่วนภาษาไทยนิยมใช้กันทั่วไปโดยเฉพาะในเมืองใหญ่และจังหวัดนครราชสีมาแต่ไม่ถือเป็นภาษาหลัก ขณะเดียวกันยังมีภาษาเขมรที่ใช้กันมากในบริเวณอีสานใต้ นอกจากนี้ มีภาษาถิ่นอื่น ๆ อีกมาก เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาโส้ ภาษาไทโคราช ภาษากวย (ส่วย) ภาษาแสก ภาษาข่า ภาษากะเลิง ภาษาโย้ย ภาษาย้อ เป็นต้น ภาคอีสานยังมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นที่สุดของประเทศ เช่น อาหาร ภาษา อักษร เช่น อักษรไทน้อย ดนตรีหมอลำ ดนตรีกันตรึม ดนตรีเจรียง และศิลปะการฟ้อนรำ การเซิ้ง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เป็นต้น.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และภาคอีสาน (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ภาคเหนือ (ประเทศไทย)

หนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ด้านบนสุดของไทย มีลักษณะภูมิประเทศอันประกอบไปด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อน ต่อเนื่องมาจากทิวเขาฉานโยมาในประเทศพม่าและประเทศลาว ภาคเหนือมีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา เหมือนกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ การที่มีพื้นที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลและมีเส้นละติจูดอยู่ตอนบนทำให้สภาพอากาศของภาคเหนือเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างเห็นได้ชัด เช่น มีฤดูหนาวที่หนาวเย็นกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ทางด้านประวัติศาสตร์ของภาคเหนือมีความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมกับอาณาจักรล้านน.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และภาคเหนือ (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

ราชการส่วนท้องถิ่น (ประเทศไทย)

ราชการส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย มี 2 รูปแบบใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และราชการส่วนท้องถิ่น (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2

ต่อไปนี้คือ รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย หมวดขึ้นต้นด้วยเลข 2 สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บางส่วนในภาคเหนือ และภาคกลาง.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และรายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2 · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์)

้อความภาษาลาวในป้ายหมายถึง "จุดเปลี่ยนแนวทางการสัญจร อยู่เบื้องหน้า ให้เตรียมหยุด" ภาพสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) ภาพสะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 1 (First Thai–Lao Friendship Bridge.; ຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ ແຫ່ງທຳອິດ) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่แห่งแรก โดยเชื่อมต่อหมู่ที่ 1 คุ้มจอมมณี ตำบลมีชัย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคายของประเทศไทย เข้ากับบ้านท่านาแล้ง เมืองหาดซายฟอง นครหลวงเวียงจันทน์ของประเทศลาว ตัวสะพานมีความยาว 1,170 เมตร มีทางรถ 2 ช่องจราจร กว้างข่องละ 3.5 เมตร ทางเท้า 2 ช่องทาง กว้างช่องละ 1.5 เมตร และรถไฟทางเดี่ยวกว้าง 1 เมตร ตั้งอยู่กึ่งกลาง ใช้งบประมาณก่อสร้าง 30,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลีย ใช้ระยะเวลาก่อสร้างระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2537 และเพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี..

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 1 (หนองคาย–เวียงจันทน์) · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต)

อีกมุมหนึ่งของสะพาน การเปลี่ยนจากการขับรถทางซ้ายเป็นทางขวา สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 2 (Second Thai–Lao Friendship Bridge; ຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ ແຫ່ງທີສອງ) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อจังหวัดมุกดาหารของประเทศไทย เข้ากับแขวงสุวรรณเขตของประเทศลาว เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางเศรษฐกิจตะวันตกตะวันออก ซึ่งเริ่มจากพม่า ผ่าน ไทย ลาวและสิ้นสุดที่เวียดนาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงของธนาคารการพัฒนาแห่งเอเชีย ซึ่งมีความยาวทั้งหมด 1,600 เมตร มีความกว้าง 12 เมตร และมีช่องการจราจร 2 ช่อง มูลค่าการก่อสร้างประมาณ 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแหล่งทุนในการก่อสร้างเป็นเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำจากรัฐบาลญี่ปุ่นให้กับรัฐบาลลาว 4,011 ล้านเยน และให้กับรัฐบาลไทย 4,079 ล้านเยน ใช้เวลาก่อสร้างตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2549.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 2 (มุกดาหาร–สะหวันนะเขต) · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน)

นมิตรภาพไทย-ลาว 3 เป็นสะพานที่เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยที่หมู่ที่ 1 บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม กับประเทศลาวที่บ้านเวินใต้ เมืองท่าแขก แขวงคำม่วน ควบคุมการก่อสร้างโดยสำนักก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวงและบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้างก่อสร้างใช้งบประมาณก่อสร้างจากรัฐบาลไทยทั้งสิ้น 1,723 ล้านบาท มีระยะเวลาการก่อสร้างรวม 900 วัน แล้วเสร็จในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 เป็นเส้นทางการคมนาคมขนส่งด้านการค้า และการท่องเที่ยวเชื่อมโยงจากประเทศไทย ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม และภาคใต้ของประเทศจีน ซึ่งมีความยาวรวม 1,423 เมตร มีความกว้าง 13 เมตร และมีการช่องจราจร 2 ช่อง และไม่มีทางรถไฟ และเพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015 ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์สะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม - คำม่วน) วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552 ณ มณฑลพิธี บ้านห้อม ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม และเสด็จทรงเป็นประธานพิธีเปิดอย่างเป็นทางการร่วมกับสหายบุนยัง วอละจิด รองประธานประเทศลาว ในวันที่ 11 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 3 (นครพนม–คำม่วน) · ดูเพิ่มเติม »

สะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ)

นมิตรภาพ 5 (บึงกาฬ-บอลิคำไซ) (5th Thai-Lao Friendship Bridge; ຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ 5) เป็นโครงการสะพานข้ามแม่น้ำโขงเพื่อเชื่อมมิตรภาพระหว่างไทยกับลาว เริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2554 โครงการนี้จะยกระดับข้ามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 บริเวณกิโลเมตรที่ 125+925 ในท้องที่หมู่ 2 บ้านดอนยม ตำบลไคสี อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ข้ามแม่น้ำโขง และเชื่อมต่อทางหลวงหมายเลข 13 ที่บ้านกล้วย เมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาทางหลวงของลาวที่จะก่อสร้างถนนเลี่ยงเมืองปากซันด้านตะวันออก โดยโครงการนี้ทั้ง 2 ประเทศ ตั้งใจจะเสริมสร้างโครงข่ายเส้นทางคมนาคมระหว่างไทย ลาว เวียดนาม และจีน ให้มีความสะดวก ปลอดภัย ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ปัจจุบันจังหวัดบึงกาฬมีด่านสากลไทย-ลาว (บึงกาฬ-ปากซัน) เปิดให้บริการประชาชนที่เดินทางและขนส่งสินค้าเข้า-ออกระหว่างประเทศผ่านเรือและแพขนานยนต์เป็นหลัก.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และสะพานมิตรภาพไทย–ลาว 5 (บึงกาฬ–บอลิคำไซ) · ดูเพิ่มเติม »

ถนนมิตรภาพ

นนมิตรภาพ ซึ่งเป็นชื่อเรียกของ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 หรือ ทางหลวงสายสระบุรี–สะพานมิตรภาพที่หนองคาย (เขตแดนไทย/ลาว) เป็นหนึ่งในทางหลวงสายประธานทั้งสี่ของประเทศไทย โดยสายทางเริ่มต้นที่จังหวัดสระบุรี มุ่งเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย มีระยะทางทั้งสิ้น 509 กิโลเมตร และเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงเอเชียสาย 12 ถนนมิตรภาพเป็นทางหลวงที่ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาในด้านงบประมาณการก่อสร้าง เทคนิควิชาการในการก่อสร้าง นับเป็นทางหลวงสายแรกที่ก่อสร้างถูกต้องตามแบบมาตรฐานการก่อสร้างทางหลวงทุกขั้นตอน และเป็นทางหลวงสายแรกของประเทศไทยที่มีผิวจราจรลาดยางแบบแอสฟอลต์คอนกรีต โดยเปิดให้บริการเมื่อปี..

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และถนนมิตรภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสุรนารายณ์

นนสุรนารายณ์ หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205 สายบ้านหมี่–สามแยกสุรนารายณ์ เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อการจราจรระหว่างจังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยภูมิ และจังหวัดนครราชสีมา มีระยะทางตลอดทั้งสาย 231.085 กิโลเมตร ขนาด 2 ช่องจราจรสลับกับ 4 ช่องจราจร.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และถนนสุรนารายณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสีคิ้ว-เชียงคาน

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 สายสีคิ้ว–เชียงคาน - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 69 ตอน 31 ก หน้า 672-673, 20 พฤษภาคม..

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และถนนสีคิ้ว-เชียงคาน · ดูเพิ่มเติม »

ถนนสถิตนิมานการ

นนสถิตนิมานการ หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 217 สายวารินชำราบ–ช่องเม็ก เริ่มจากเขตเทศบาลเมืองวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จากนั้นผ่านอำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอพิบูลมังสาหาร สุดท้ายผ่านอำเภอสิรินธร แล้วไปสิ้นสุดที่ด่านช่องเม็ก ตำบลช่องเม็ก อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี รวมระยะทางได้ 86.067 กิโลเมตร เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจรตลอดสาย ถนนสถิตนิมานการเดิมมีชื่อเรียกว่า "ทางหลวงแผ่นดินสายวาริน-พิบูล-ช่องเม็ก" - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 67 ตอน 67 ง, 12 ธันวาคม..

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และถนนสถิตนิมานการ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนนิตโย

นนนิตโย หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 สายอุดรธานี–นครพนม เริ่มจากบริเวณวงห้าแยกเวียนหอนาฬิกา ซึ่งเป็นถนนทหาร และถนนอุดรดุษฎี ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี (เส้นเดียวกับถนนโพศรี) ผ่านเทศบาลตำบลหนองบัวในเขตอำเภอเมืองอุดรธานี ผ่านอำเภอหนองหาน อุทยานประวัติศาสตร์บ้านเชียง และเข้าสู่เขตจังหวัดสกลนครที่อำเภอสว่างแดนดิน ผ่านอำเภอสว่างแดนดิน อำเภอพังโคน อำเภอพรรณานิคม อำเภอเมืองสกลนคร เทศบาลตำบลท่าแร่ อำเภอกุสุมาลย์ และเข้าสู่เขตจังหวัดนครพนมที่อำเภอเมืองนครพนมไปบรรจบเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 (ถนนสุนทรวิจิตร) ในเขตเทศบาลเมืองนครพนม รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 240.746 กิโลเมตร ถนนนิตโยเดิมมีชื่อเรียกว่า "ทางหลวงแผ่นดินสายอุดรธานี-ธาตุนาเวง-นครพนม" - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 67 ตอน 67 ง, 12 ธันวาคม..

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และถนนนิตโย · ดูเพิ่มเติม »

ถนนนิเวศรัตน์

นนนิเวศรัตน์ หรือ ถนนชัยภูมิ-บัวใหญ่-สีดา-ประทาย เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 สายชัยภูมิ - เขมราฐ ตอนควบคุม 0100, 0201, 0202, 0300 และ 0401 เริ่มต้นจากบริเวณทางแยกวัดชัยประสิทธิ์ จังหวัดชัยภูมิ โดยผ่านอำเภอแก้งสนามนาง อำเภอบัวใหญ่ อำเภอสีดา ไปสิ้นสุดที่บริเวณทางแยกประทาย อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา เป็นถนนที่มีการจราจร 2 ช่องทาง และบางช่วงเป็น 4 ช่องทาง มีระยะทางประมาณ 87 กิโลเมตร.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และถนนนิเวศรัตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ถนนแจ้งสนิท

นนแจ้งสนิท หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 สายบ้านไผ่–อุบลราชธานี เป็นทางหลวงที่แยกออกมาจากถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) ที่ตำบลบ้านไผ่ อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ผ่านเข้าเขตจังหวัดมหาสารคาม ผ่านอำเภอกุดรัง อำเภอบรบือ อำเภอเมืองมหาสารคาม เข้าเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ผ่านอำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี อำเภอเสลภูมิ เข้าเขตจังหวัดยโสธร ผ่านอำเภอเมืองยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว จากนั้นเข้าเขตจังหวัดอุบลราชธานี ผ่านอำเภอเขื่องใน แล้วไปสิ้นสุดที่อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี รวมระยะทางทั้งสิ้น 278.752 กิโลเมตร ถนนแจ้งสนิทเดิมมีชื่อเรียกว่า "ทางหลวงแผ่นดินสายชนบท-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-อุบลราชธานี" - ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 67 ตอน 67 ง, 12 ธันวาคม..

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และถนนแจ้งสนิท · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 สายแม่สอด (เขตแดน)–มุกดาหาร เป็นทางหลวงแผ่นดินสายรองประธานที่เป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่เชื่อมระหว่างภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย สายทางเริ่มต้นที่สะพานมิตรภาพไทย-พม่า อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และสิ้นสุดที่อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 793.391 กิโลเมตร อีกทั้งรัฐบาลยังวางแผนให้เป็นหนึ่งในถนนสายเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ที่เชื่อมระหว่างเมืองเมาะลำเลิง ประเทศพม่า และเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม นอกจากนี้เส้นทางหลวงแผ่นดินสายนี้ยังถือเป็นทางหลวงสายเอเชีย ได้แก่ ทางหลวงเอเชียสาย 1 และทางหลวงเอเชียสาย 16 อีกด้ว.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 สายชัยภูมิ–เขมราฐ เป็นทางหลวงแผ่นดินแนวตะวันตก-ตะวันออก มีระยะทางตลอดทั้งสาย 380.653 กิโลเมตร ผ่านจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2023

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2023 สายน้ำฆ้อง - วังสามหมอ โดยเริ่มจากบ้านน้ำฆ้อง หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ใน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ผ่านตัวเมืองอำเภอกุมภวาปี อำเภอศรีธาตุ และสิ้นสุดที่แยกวังสามหมอ หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข227 ระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 61.145 กิโลเมตร.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2023 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 204

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 204 หรือ ทางเลี่ยงเมืองนครราชสีมา (ด้านตะวันตก) หรือนิยมเรียกในชื่อ ถนนบายพาส เป็นเส้นทางคมนาคมสำหรับเลี่ยงการใช้เส้นทางหลัก คือถนนมิตรภาพ ในตัวเมืองนครราชสีมา มีระยะทางประมาน 18 กิโลเมตร เดิมเป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 204 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 207

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 207 สายบ้านวัด–ประทาย เริ่มต้นจากถนนมิตรภาพ ใน อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา และสิ้นสุดที่อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา หรือเรียกชื่อถนนเส้นนี้ว่า ถนนเจนจบทิศ ถนนเจนจบทิศ เดิมเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 207 เคยกำหนดให้ถนนเส้นนี้สิ้นสุดถึง อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ซึ่งกรมทางหลวงได้เปลี่ยนแปลงหมายเลขทางหลวงใหม่ ในช่วงอำเภอประทาย ถึง อำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 และถนนเส้นจากอำเภอบ้านใหม่ไชยพจน์ ไปบรรจบกับถนนมิตรภาพ ใน อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น เป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2440.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 207 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2089

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2089 สายมวกเหล็ก–ลำนารายณ์ เป็นทางหลวงสายหนึ่งของจังหวัดสระบุรีและจังหวัดลพบุรี มีระยะทางทั้งหมดประมาณ 70.315 กิโลเมตร แนวสายทางเริ่มจากถนนมิตรภาพ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2) กิโลเมตรที่ 35 อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี ผ่านอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี อำเภอพัฒนานิคม อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี ข้ามแม่น้ำป่าสัก ไปสิ้นสุดสายทางที่ถนนสุรนารายณ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205) ที่สี่แยกลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ตรงข้ามกับถนนคชเสนีย์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2129).

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2089 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 สายสามแยกพุแค – เลย เป็นทางหลวงแผ่นดินสายประธานแนวเหนือ-ใต้ ที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดในภาคกลางของประเทศไทยสู่จังหวัดเพชรบูรณ์ และจังหวัดเลย สายทางเริ่มต้นที่สามแยกพุแค อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี และสิ้นสุดที่อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย มีระยะทางตลอดทั้งสายรวม 412.874 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานทางหลวงที่ 6 (เพชรบูรณ์) ระยะทางประมาณ 325 กิโลเมตรhttp://bmm.doh.go.th/website/index.php/statistics-for-maintenance/map-distance-control/44-highways-agency-6 แผนที่ระยะทางควบคุม สำนักงานทางหลวงที่ 6 เพชรบูรณ์ และอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานทางหลวงที่ 9 (ลพบุรี) ระยะทางประมาณ 87 กิโลเมตรhttp://bmm.doh.go.th/website/index.php/statistics-for-maintenance/map-distance-control/49-highways-agency-11 แผนที่ระยะทางควบคุม สำนักงานทางหลวงที่ 11 ลพบุรี มีทางเลี่ยงเมือง 2 จุด ได้แก่ ทางเลี่ยงเมืองเพชรบูรณ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 234) และทางเลี่ยงเมืองหล่มสัก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21).

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 210

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 210 สายอุดรธานี-วังสะพุง เป็นทางหลวงแผ่นดินแนวตะวันออก–ตะวันตกที่เชื่อมต่อจังหวัดอุดรธานี จังหวัดหนองบัวลำภู และจังหวัดเลยเข้าด้วยกัน มีปลายทางทิศตะวันออกบนถนนวงแหวนรอบเมืองอุดรธานี หรือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 216 ในอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี และมีปลายทางทิศตะวันตกที่สะพานสีห์พนม ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเลย ในอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย รวมระยะทางตลอดทั้งสาย 118.908 กิโลเมตร.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 210 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 211

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 211 สายหนองสองห้อง–เชียงคาน เป็นทางหลวงแผ่นดินที่มีลักษณะทอดยาวไปตามแม่น้ำโขง แยกออกมาจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ในเขตเทศบาลตำบลหนองสองห้อง ตำบลค่ายบกหวาน อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย และสิ้นสุดที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โดยตัดผ่านอำเภอเมืองหนองคาย อำเภอท่าบ่อ อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย อำเภอปากชม และอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย รวมระยะทางทั้งสิ้น 184.36 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 211 เป็นถนนขนาด 2 ช่องจราจรและ 4 ช่องจราจร โดยอยู่ในการควบคุมดูแลของสำนักทางหลวงที่ 3 (สกลนคร) และสำนักทางหลวงที่ 6 (เพชรบูรณ์).

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 211 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 สายหนองคาย–อุบลราชธานี หรือ ถนนชยางกูร เริ่มจากแยกถนนมิตรภาพสายเก่า ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 233 ใน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ไปทางทิศตะวันออกทอดยาวไปตามแม่น้ำโขง ผ่านเข้าจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดยโสธร จังหวัดอำนาจเจริญ และไปสิ้นสุดที่ตัวเมืองจังหวัดอุบลราชธานี มีระยะทางประมาณ 583.575 กิโลเมตร เดิมมีชื่อเรียกว่า ทางหลวงแผ่นดินสายอุบลราชธานี-มุกดาหาร-นครพนม ได้รับการตั้งขนานนามว่า ถนนชยางกูร เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม..

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2129

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2129 ทางเข้าลำนารายณ์ หรือ ถนนคชเสนีย์ เป็นทางหลวงสายสั้น ๆ ในตำบลลำนารายณ์ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี แยกมาจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 หรือถนนสระบุรี-หล่มสัก บริเวณช่วงกิโลเมตรที่ 73 มีระยะทางตลอดสายประมาณ 2 กิโลเมตรเศษ ไปสิ้นสุดสายทางที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205 หรือถนนสุรนารายณ์ บริเวณช่วงกิโลเมตรที่ 244 เป็นถนนลาดยางขนาด 6 ช่องทางจราจรตลอดสาย ตรงข้ามกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2089 สถานที่สำคัญบริเวณทางหลวงสายนี้.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2129 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213 สายมหาสารคาม–สกลนคร เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่งโดยเชื่อมต่อตัวเมืองมหาสารคาม ตัวเมืองกาฬสินธุ์ และตัวเมืองสกลนคร เข้าด้วยกัน แต่เดิมถนนสายนี้คือ ทางหลวงสายมหาสารคาม-กาฬสินธุ์-สกลนคร ซึ่งในประกาศราชกิจจานุเบกษาสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม 12 ธันวาคม 2493 ได้ขนานนามทางหลวงสายนี้ว่า ถนนถีนานนท์ เพื่อเป็นเกียรติแก่นายไสว ถีนานนท์ อดีตนายช่างกำกับแขวงการทางมหาสารคาม.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 213 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214 สายกาฬสินธุ์–ช่องจอม เป็นทางหลวงแผ่นดินสายหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง-ตอนล่าง โดยเริ่มจากเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ ตำบลกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยผ่านอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ อำเภอจังหาร อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอจตุรพักตรพิมาน และอำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด และ อำเภอท่าตูม อำเภอจอมพระ อำเถอเขวาสินรินทร์ อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ แล้วไปสิ้นสุดที่ด่านพรมแดนช่องจอม อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ชายแดนประเทศกัมพู.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 215

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 215 สายร้อยเอ็ด–ตาฮะ เป็นทางหลวงสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างตัวเมืองร้อยเอ็ดไปยังอำเภอทางตอนใต้ของจังหวัดร้อยเอ็ด และมีเส้นทางคาบเกี่ยวไปยังจังหวัดสุรินทร์ มีระยะทางตลอดทั้งสาย 76.628 กิโลเมตร นอกจากนี้ ทางหลวงแผ่นดินสายนี้ยังมีเส้นทางขนานในด้านทิศตะวันออกไปกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214 อีกด้ว.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 215 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2157

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2157 หรือ ถนนขุขันธ์-โคกตาล หรือ "ถนนมโนไพร" เป็นทางหลวงแผ่นดินในเขตอำเภอขุขันธ์ที่ใช้สัญจรติดต่อกันภายในอำเภอขุขันธ์และอำเภอภูสิงห์ โดยเริ่มต้นจากแยกนิคมสายเอก(แยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220) ตำบลหนองฉลอง ผ่านพื้นที่ ตำบลหนองฉลอง ตำบลนิคมพัฒนา และตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ มีระยะทางรวมทั้งสิ้นประมาณ 15 กิโลเมตร.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2157 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 216

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 216 หรือ ถนนวงแหวนรอบเมืองอุดรธานี เป็นทางหลวงแผ่นดินสายหนึ่งจังหวัดอุดรธานี เป็นถนนวงแหวนล้อมรอบตัวเมืองอุดรธานี มีระยะทาง 26.497 กิโลเมตร.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 216 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2167

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2167 หรือ ถนนตรางสวาย-ปรางค์กู่-บ้านพอก เป็นทางหลวงแผ่นดินที่ใช้สัญจรติดต่อกันในเขตอำเภอขุขันธ์และอำเภอปรางค์กู่ โดยเริ่มแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220 ที่แยกตรางสวาย บ้านตรางสวาย ตำบลดองกำเม็ด อำเภอขุขันธ์ ผ่านพื้นที่ตำบลดองกำเม็ด ตำบลโคกเพชร อำเภอขุขันธ์ ตำบลสมอ ตำบลพิมาย ตำบลพิมายเหนือ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ ไปสิ้นสุดที่บ้านพอก ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ 4-2167 2167.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2167 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218 สายบุรีรัมย์–นางรอง หรือ ถนนจิระ เป็นทางหลวงแผ่นดินในจังหวัดบุรีรัมย์ เชื่อมต่อระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 กับเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ มีระยะทางตลอดทั้งสาย 49.462 กิโลเมตร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218 ได้ถูกกำหนดเป็นทางหลวงเอเชียสาย 121 ในช่วงจากแยกเสนสิริอนุสรณ์ที่ต่อเนื่องมาจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 288 (ถนนวงแหวนรอบเมืองบุรีรัมย์ด้านทิศตะวันตก) ในอำเภอเมืองบุรีรัมย์ จนถึงสามแยกถนนหัก (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24) ในอำเภอนางรอง มีระยะทางประมาณ 49 กิโลเมตร.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 สายบรบือ–บุรีรัมย์ เป็นทางหลวงในแนวเหนือ-ใต้ที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดมหาสารคามกับจังหวัดบุรีรัมย์ และมีเส้นทางคาบเกี่ยวกับจังหวัดสุรินทร์ รวมระยะทางตลอดทั้งสาย 136.485 กิโลเมตร.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220 สายศรีสะเกษ–ขุขันธ์ เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษซึ่งเชื่อมต่อจากอำเภอเมืองศรีสะเกษ ไปยัง อำเภอขุขันธ์ โดยเริ่มจากแยกจากถนนขุขันธ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221) ในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ ตัดผ่านทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 294 (ถนนเลี่ยงเมืองศรีสะเกษ) ผ่าน อำเภอวังหินและอำเภอขุขันธ์ ทางหลวงหมายเลข 220 จะไปบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (ห่างจากสี่แยกขุขันธ์ประมาณ 7 ก.ม.) รวมระยะทางทางหลวงหมายเลข 220 คือ 56 กิโลเมตร.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2201

right ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2201 หรือ ถนนไกรภักดี หรือ ถนนขุขันธ์-ช่องสะงำ เป็นทางหลวงแผ่นดินที่ใช้สัญจรติดต่อกันในเขตอำเภอขุขันธ์และอำเภอภูสิงห์ โดยเริ่มแยกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 220 ที่แยกขุขันธ์ ตำบลห้วยเหนือ(เขตเทศบาลตำบลเมืองขุขันธ์) ผ่านพื้นที่ตำบลห้วยสำราญ ตำบลโสน อำเภอขุขันธ์ และไปสิ้นสุดที่ด่านศุลกากรช่องสะงำ ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2201 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221 สายศรีสะเกษ–เชิงบันไดเขาพระวิหาร เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษ เชื่อมต่อระหว่างเมืองศรีสะเกษ กับเชิงบันไดเขาพระวิหารใกล้พรมแดนกัมพูชา ในอำเภอกันทรลักษ์ รวมระยะทางทั้งหมด 97.99 กิโลเมตร เส้นทางเริ่มต้นทางทิศเหนือที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 294 บริเวณเทศบาลเมืองศรีสะเกษ อำเภอเมืองศรีสะเกษ มุ่งไปยังทิศใต้ผ่านอำเภอพยุห์ ผ่านเส้นแบ่งเขตการปกครองอำเภอน้ำเกลี้ยง ผ่านอำเภอศรีรัตนะ แล้วเข้าสู่อำเภอกันทรลักษ์ ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 และสิ้นสุดที่เชิงบันไดเขาพระวิหาร ที่ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 สายพังโคน–บึงกาฬ เป็นทางหลวงในแนวเหนือ-ใต้ที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดสกลนครกับจังหวัดบึงกาฬ มีระยะทางตลอดทั้งสาย 128.756 กิโลเมตร.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2224

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2224 เป็นถนนสายหนึ่งในจังหวัดสระบุรี อยู่ในเขตอำเภอมวกเหล็กเกือบตลอดทั้งสาย เริ่มต้นจากถนนมิตรภาพ ตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก ตรงขึ้นไป ตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2089 ผ่านหน้าวัดบ้านหมาก ก่อนจะเลี้ยวซ้ายตรงแยกตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2273 ตรงขึ้นไปทางทิศเหนือ เลียบคลองมวกเหล็ก ผ่านน้ำตกเจ็ดสาวน้อย ก่อนจะข้ามคลองมวกเหล็กเข้าสู่เขตอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ผ่านวัดปากคลอง ก่อนจะข้ามคลองไทรและกลับเข้าสู่เขตอำเภอมวกเหล็กอีกครั้ง ก่อนจะกลับมาตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2273 หลังจากนั้นตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2243 ก่อนจะสิ้นสุดที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2247 ที่ตำบลลำพญากลาง อำเภอมวกเหล็ก รวมระยะทาง 51 กิโลเมตรโดยประมาณ.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2224 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 223

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 223 สายสกลนคร–บ้านต้อง เป็นทางหลวงแนวตะวันตก-ตะวันออกที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดสกลนครกับอำเภอทางตอนใต้ของจังหวัดนครพนม มีระยะทางตลอดทั้งสาย 65.052 กิโลเมตร ทางหลวงสายนี้มีเส้นทางเชื่อมต่อมาจากถนนมัธยมจันทร์ ในเขตเทศบาลนครสกลนคร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร มีเส้นทางมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านอำเภอโคกศรีสุพรรณ แล้วเข้าสู่จังหวัดนครพนม ผ่านอำเภอนาแก และสิ้นสุดที่อำเภอธาตุพนม บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 212 แต่เดิมทางหลวงเส้นนี้คือ "ทางหลวงสายสกลนคร-นาแก-ธาตุพนม" ได้รับการขนานนามว่า "ถนนมัธยมจันทร์" ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2493 เพื่อเป็นเกียรติแก่นายประจวบ มัธยมจันทร์ อดีตนายช่างกำกับแขวงการทางสกลนคร.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 223 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224 สายนครราชสีมา–หินโคน เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อการจราจรระหว่างจังหวัดนครราชสีมา กับอำเภอที่อยู่ติดกับพรมแดนประเทศกัมพูชาของจังหวัดบุรีรัมย์ และจังหวัดสุรินทร์ รวมระยะทางทั้งหมด 225.356 กิโลเมตร และเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อระหว่างเทศบาลนครนครราชสีมาไปยังประเทศกัมพูชาได้ เส้นทางเริ่มต้นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีเส้นทางแยกมาจากถนนมิตรภาพ ที่ทางแยกนครราชสีมา ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา อำเภอเมืองนครราชสีมา ไปทางทิศตะวันออก จากนั้นจึงตัดกับถนนสุรนารายณ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205) จากนั้นโค้งลงทิศใต้ไปยังอำเภอโชคชัย แล้วตัดกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (ช่วงถนนเดชอุดม) เรียกถนนในช่วงนี้ว่า ถนนราชสีมา–โชคชัย จากเส้นทางผ่านอำเภอครบุรี และอำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา จากนั้นเส้นทางจะขนานไปกับพรมแดนไปทางทิศตะวันออก เข้าเขตจังหวัดบุรีรัมย์ ผ่านอำเภอปะคำ อำเภอละหานทราย อำเภอบ้านกรวด แล้วเข้าสู่จังหวัดสุรินทร์ ผ่านอำเภอพนมดงรัก และไปบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214 ที่ทางแยกหินโคน ตำบลโคกตะเคียน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งหากเลี้ยวไปทางขวาไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 214 ก็จะสามารถออกสู่ประเทศกัมพูชาได้.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 224 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 สายแยกบึงบอระเพ็ด–ชัยภูมิ เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มต้นที่สามแยกบึงบอระเพ็ด ตัดกับถนนพหลโยธินก่อนขึ้นสะพานเดชาติวงศ์ ตัดผ่าน อำเภอชุมแสง อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอบึงสามพันและอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ ขึ้นไปสู่จังหวัดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่อำเภอภักดีชุมพล อำเภอเทพสถิต อำเภอหนองบัวระเหว อำเภอบ้านเขว้า และสิ้นสุดที่วงเวียนอนุสาวรีย์พระยาภักดีชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ระยะทางยาวประมาณ 268 กิโลเมตรเป็นทางหลวง 2 จราจรสวนกัน และบางช่วงเป็น 4 ช่องจราจร โดยถนนเส้นนี้อยู่ในส่วนหนึ่งของแผนงานการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร ระยะที่ 2 (โครงข่ายที่ 6 สายนครสวรรค์–ชัยภูมิ–อำเภอบ้านไผ่–มหาสารคาม–ร้อยเอ็ด–ยโสธร–อุบลราชธานี–ช่องแม็ก) ระยะทาง 672 กิโลเมตร ของกรมทางหลวง อย่างไรก็ตาม เส้นทางบางส่วนที่มีความสำคัญสูงมาก เนื่องจากอยู่ใกล้ตัวเมืองใหญ่ หรือเป็นเส้นทางหลักของประเทศ ได้มีการเสนอของบประมาณ และดำเนินการไปบ้างแล้ว.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 225 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2256

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2256 (ถนนโค้ง - กุดม่วง) เป็นทางหลวงที่สำคัญสายหนึ่งที่ใช้เดินทางเชื่อมระหว่าง ภาคกลาง กับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใน จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดลพบุรี มีระยะทางทั้งหมดประมาณ 77.033 กิโลเมตร แนวถนนสายนี้ทางเริ่มจากถนนสุรนารายณ์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 205) ที่หลักกิโลเมตรที่ 56 ใน ตำบลชัยบาดาล อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี ข้ามแม่น้ำป่าสัก ผ่านอำเภอท่าหลวง เข้าสู่อำเภอชัยบาดาลอีกครั้ง อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี เข้าสู่อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ไปสิ้นสุดที่ ถนนสีคิ้ว-ชัยภูมิ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201) ที่หลักกิโลเมตรที่ 34 ในอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีม.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2256 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 สายหัวทะเล–วารินชำราบ เป็นทางหลวงแผ่นดินในจังหวัดในภาคอีสานตอนใต้ ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดอุบลราชธานี มีระยะทางตลอดทั้งสาย 324.33 กิโลเมตร โดยมีเส้นทางขนานในด้านทิศเหนือไปกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 รวมถึงมีเส้นทางขนานกับแนวเส้นทางของแผนพัฒนาระบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายนครราชสีมา–อุบลราชธานี หรือ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 62 อีกด้ว.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 226 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 227

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 227 สายกาฬสินธุ์–พังโคน เป็นทางหลวงแผ่นดินแนวเหนือ-ใต้ที่เชื่อมต่อระหว่างจังหวัดกาฬสินธุ์กับจังหวัดสกลนคร และมีเส้นทางคาบเกี่ยวไปยังจังหวัดอุดรธานี มีระยะทางตลอดทั้งสาย 162.667 กิโลเมตร เส้นทางมีเริ่มต้นในทางทิศใต้ จากทางแยกระหว่างถนนบุญกว้างกับถนนอนรรฆนาค ในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ มุ่งไปยังทิศเหนือไปยังอำเภอสหัสขันธ์ เมื่อถึงตำบลโนนบุรี เส้นทางจะเลี้ยวไปทางขวาอ้อมเขื่อนลำปาว ผ่านบางส่วนของอำเภอสมเด็จ เข้าอำเภอคำม่วง อำเภอสามชัย แล้วเข้าเขตจังหวัดอุดรธานี ผ่านอำเภอวังสามหมอ แล้วเลี้ยวขวาขึ้นไปทางทิศเหนือไปยังจังหวัดสกลนคร ผ่านอำเภอวาริชภูมิ และสิ้นสุดที่อำเภอพังโคน และสามารถเชื่อมต่อกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 222 ไปยังจังหวัดบึงกาฬได้.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 227 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 228

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 228 สายชุมแพ–หนองบัวลำภู เป็นทางหลวงแผ่นดินแนวเหนือ-ใต้ มีจุดเริ่มต้นตรงแยกทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ตัดผ่าน อำเภอสีชมพู เข้าเขตจังหวัดหนองบัวลำภู ผ่านอำเภอศรีบุญเรือง แล้วบรรจบในทางแยกหนองบัวลำภู กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 210 รวมระยะทางทั้งสิ้นประมาณ 87.884 กิโลเมตร.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 228 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 229

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 229 สายบ้านไผ่–ช่องสามหมอ เป็นทางหลวงแผ่นดินเริ่มจากแยกถนนมิตรภาพ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 ใน อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ผ่าน อำเภอชนบท อำเภอมัญจาคีรี อำเภอโคกโพธิ์ไชย และสิ้นสุดโดยบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201 ที่แยกช่องสามหมอ ใน อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ มีจำนวนระยะทางทั้งสิ้น 54.885 กิโลเมตร โดยถนนเส้นนี้อยู่ในส่วนหนึ่งของแผนงานการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร ระยะที่ 2 (โครงข่ายที่ 6 สาย นครสวรรค์-ชัยภูมิ-อ.บ้านไผ่-มหาสารคาม-ร้อยเอ็ด-ยโสธร-อุบลราชธานี-ช่องเม็ก) รวมระยะทาง 672 กม.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 229 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 230

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 230 หรือ ถนนวงแหวนรอบเมืองขอนแก่น เป็นถนนวงแหวนที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นทางเลี่ยงเมืองในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ที่มีปริมาณจราจรหนาแน่นในตัวจังหวัดขอนแก่น มีระยะทางประมาณ 48.332 กิโลเมตร.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 230 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 231

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 231 หรือ ถนนวงแหวนรอบเมืองอุบลราชธานี เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี รวมระยะทางทั้งหมด 46.142 กม.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 231 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 232

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 232 หรือ ถนนวงแหวนรอบเมืองร้อยเอ็ด เป็นทางหลวงแผ่นดินที่มีลักษณะเป็นถนนวงแหวนเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจราจรในเขตตัวจังหวัดร้อยเอ็ด ถนนวงแหวนรอบเมืองร้อยเอ็ดมีทั้งหมด 2 ช่วง คือถนนวงแหวนรอบเมืองร้อยเอ็ดด้านทิศเหนือและทิศใต้ ซึ่งเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม แต่เดิมนั้น กรมทางหลวงได้กำหนดให้ถนนวงแหวนรอบเมืองร้อยเอ็ดเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 23 ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 ได้กำหนดให้เมืองร้อยเอ็ด อุบลราชธานีและสุรินทร์ เป็นศูนย์กลางทางพัฒนาชนบททุ่งกุลาร้องไห้และเขตภาคอีสานตอนกลาง (มีฐานะเป็นเมืองรองจาก 3 เมืองใหญ่) เมืองร้อยเอ็ดได้เกิดการเปลี่ยนทางด้านเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นทำให้ภายในตัวเมืองชั้นในเกิดปัญหามากมายเช่น ปัญหาการจราจร การบุกรุกโบราณสถาน จึงมีการแก้ปัญหาด้วยการสร้างทางเลี่ยงเมืองร้อยเอ็ดทิศใต้ขึ้นและทิศเหนือในเวลาต่อมา ปัจจุบันวงแหวนรอบเมืองร้อยเอ็ด มีทั้งหมด 3 วง คือ.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 232 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2321

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2321 สายแยกทางหลวงหมายเลข 21 (ใหม่สามัคคี) - บรรจบทางหลวงหมายเลข 3326 (สระโบสถ์) เป็นถนนลาดยางขนาด 2 ช่องทางจราจร แนวสายทางเริ่มจากถนนคชเสนีย์ (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21) หรือถนนสระบุรี-หล่มสักช่วงกิโลเมตรที่ 74 ผ่านพื้นที่ตำบลนิคมลำนารายณ์และตำบลบ้านใหม่สามัคคี อำเภอชัยบาดาล จากนั้นจึงผ่านพื้นที่อำเภอสระโบสถ์บริเวณตำบลนิยมชัยและตำบลสระโบสถ์ ไปบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3326 ระยะทางทั้งหมด 34.802 กิโลเมตร 2321 4-2321 2321.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2321 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 สายทางต่างระดับสีคิ้ว–อุบลราชธานี หรือ ถนนเดชอุดม เดิมเรียก "ถนนโชคชัย-เดชอุดม" ก่อนมีก่อนขยายเส้นทางเริ่มมาจากทางแยกต่างระดับสีคิ้ว (จากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 201) รวมระยะทางทั้งสิ้น 420.145 กิโลเมตร โดยถนนเส้นนี้อยู่ในส่วนหนึ่งของแผนงานการก่อสร้างทางสายหลักเป็น 4 ช่องจราจร ระยะที่ 2 (โครงข่ายที่ 7 สาย อำเภอสัตหีบ-อำเภอพนมสารคาม-อำเภอกบินทร์บุรี-อำเภอปักธงชัย-อำเภอโชคชัย-อำเภอนางรอง-อำเภอปราสาท-อุบลราชธานี-มุกดาหาร (รวม อำเภอสีคิ้ว-อำเภอโชคชัย)) รวมระยะทาง 834 กม.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 242

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 242 สายหนองคาย–ท่าบ่อ เป็นถนนแนวตะวันออก-ตะวันตกในจังหวัดหนองคาย มีแนวเส้นทางขนานไปกับแม่น้ำโขง และผ่านชุมชนต่าง ๆ ที่อยู่ริมแม่น้ำ มีระยะทางตลอดทั้งสาย 26.958 กิโลเมตร.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 242 · ดูเพิ่มเติม »

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 290

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 290 หรือ ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา เป็นทางหลวงแผ่นดินเส้นหนึ่งที่มีลักษณะเป็นวงแหวนวนรอบตัวเมืองนครราชสีมา เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจราจรในเขตตัวเมือง แนวถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมาที่ศึกษาเป็นแนวตัดใหม่ทั้งหมด ระยะทางรวมประมาณ 110 กิโลเมตร ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา เป็น 7 ช่วง ได้แก่ A, B, C, D, E, F และ G แต่ก่อสร้างแล้วเสร็จเฉพาะช่วง G เท่านั้น.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 290 · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาล

ำนักงานเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี เทศบาล เป็นรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งที่ใช้ในประเทศไทยปัจจุบัน การปกครองรูปแบบเทศบาลเป็นการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นดำเนินการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มจากการจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร..116 (พ.ศ. 2440) โดยมีพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ. 116 ในส่วนภูมิภาค มีการตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาลท่าฉลอม ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) ขึ้นมีวิวัฒนาการเรื่อยมา จนถึงปี พ.ศ. 2475 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ได้มีการกระจายอำนาจการปกครองที่สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น โดยมีการจัดตั้งเทศบาลขึ้นในปี พ.ศ. 2476 โดยมีการตราพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล..

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และเทศบาล · ดูเพิ่มเติม »

เทศบาลเมืองมุกดาหาร

ทศบาลเมืองมุกดาหาร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลเมือง ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ได้รับยกฐานะมาจากเทศบาลตำบลมุกดาหาร มีเขตรับผิดชอบ ได้แก่ ตำบลศรีบุญเรืองทั้งตำบล และ บางส่วนของตำบลมุกดาหาร.

ใหม่!!: รายการทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2และเทศบาลเมืองมุกดาหาร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

รายชื่อทางหลวงแผ่นดินในประเทศไทย/หมวด 2ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 206ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 208ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 241

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »