โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ราชอาณาจักรเยอรมนี

ดัชนี ราชอาณาจักรเยอรมนี

ออทโทที่ 1 มหาราช ราชอาณาจักรเยอรมนี (ละติน: Regnum Teutonicum) เป็นอาณาจักรอัครสังฆราชที่สืบเนื่องมาจากราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันออกในคริสต์ศตวรรษที่ 10 ดินแดนทางตะวันออกของจักรวรรดิแฟรงค์ที่ได้รับการแยกตัวออกมาตามสนธิสัญญาแวร์เดิงในปี ค.ศ. 843 แทบจะไม่ได้เป็นของจักรวรรดิแฟรงค์อย่างเต็มตัว ที่เป็นบริเวณที่เป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชาวแซ็กซอน, ชาวบาวารี, ชาวทูริงกี, ชาวอลามานนิ และ ชาวฟริซี เมื่อราชบัลลังก์ตกไปเป็นของราชวงศ์ที่ไม่ใช่แฟรงค์ (ลุดอล์ฟิง) คำว่า "regnum Teutonicum" (กษัตริย์ทิวทัน) หรือ "Teutonicorum" ก็เริ่มนำเข้ามาใช้อย่างไม่เป็นทางการ เมื่อมาถึงยุคกลางตอนกลาง อาณาจักรดยุคแบบเยอรมัน (Stammesherzogtum) ก็เริ่มมีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป เมื่อรัฐต่างๆ ของคาโรแล็งเชียงแยกตัวออกไปจากจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จนเหลือแต่เยอรมนี ที่มีประมุขที่ยังคงถือตำแหน่งพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิ ราชอาณาจักรเยอรมนีก็กลายเป็นคำที่พ้องกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อมาถึงสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา "จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งชาติเยอรมัน" ก็มีสองความหมายที่เป็น "จักรวรรดิ" และ "ราชอาณาจักร" เมื่อมองในบริบทนี้แล้วราชอาณาจักรเยอรมนีก็ดำรงตัวเป็นราชอาณาจักรต่อมาจนเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 สละราชสมบัติและยุบจักรวรรดิในปี ค.ศ. 1806 คำว่า "regnum Teutonicum" (กษัตริย์ทิวทัน หรือ กษัตริย์เยอรมัน) เริ่มนำมาใช้อย่างเป็นทางการในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 ระหว่างที่เกิดข้อขัดแย้งในอำนาจการแต่งตั้งสงฆ์ (Investiture Controversy) ที่อาจจะเป็นการใช้เป็นเครื่องมือในการต่อต้านสมเด็จพระจักรพรรดิไฮน์ริคที่ 4 โดยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 พระจักรพรรดิก็เริ่มใช้สร้อย "rex Romanorum" (พระมหากษัตริย์แห่งชนโรมัน) ในพระราชอิสริยยศเพื่อเป็นการเน้นพระราชอำนาจและการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งเมื่อได้รับเลือกตั้ง โดยสภาผู้เลือกตั้งพระจักรพรรดิที่ประกอบด้วยพรินซ์อีเล็คเตอร์เจ็ดองค์ ตำแหน่งนี้ใช้ในเยอรมนี อิตาลี และ เบอร์กันดีที่เป็นรัฐที่มีราชสำนัก กฎหมาย และรัฐบาลของตนเอง แต่อยู่ในเครือข่ายของจักรวรรดิมาจนกระทั่งถึงสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลียในปี ค.ศ. 1648 หรือจนเมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 สละราชสมบัติและยุบจักรวรรดิในปี ค.ศ. 1806.

21 ความสัมพันธ์: ชาวแฟรงก์ชาวแซกซันชนอลามันน์พ.ศ. 1386พ.ศ. 2191พ.ศ. 2349พระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมันภาษาละตินราชอาณาจักรราชอาณาจักรแฟรงก์สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลียสนธิสัญญาแวร์เดิงอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์จักรวรรดิการอแล็งเฌียงจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ข้อขัดแย้งเรื่องการสถาปนาสมณศักดิ์ประวัติศาสตร์เยอรมนีเจ้านครรัฐผู้คัดเลือก

ชาวแฟรงก์

หนังสือสำหรับทำพิธีศาสนา “Gelasian Sacramentary” จากราว ค.ศ. 750 แฟรงก์ (Franks, Franci) เป็นกลุ่มชนเจอร์มานิกตะวันตกที่เริ่มก่อตัวขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 โดยมีถิ่นฐานอยู่ทางเหนือและทางตะวันออกของลุ่มแม่น้ำไรน์ตอนล่าง ภายใต้การปกครองโดยราชวงศ์เมโรแว็งเชียง ชนแฟรงก์ก็ก่อตั้งสถาบันพระมหากษัตริย์เจอร์มานิกที่มาแทนจักรวรรดิโรมันตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 รัฐของชนแฟรงก์และมารวมตัวกันเป็นอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่กลายมาเป็นจักรวรรดิคาโรลินเจียนและรัฐต่างๆ ที่ตามมา ความหมายของคำว่า “ชนแฟรงก์” ที่กลุ่มชนแตกต่างกันไปตามสมัยและปรัชญา โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นความหมายที่ไม่ชัดเจน ภายในกลุ่มแฟรงเคีย “ชนแฟรงก์” เป็นกลุ่มชนที่มีเป็นกลุ่มชนเอกลักษณ์ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง รากของคำว่า “แฟรงก์” อาจจะมาจากภาษาละติน “francisca” (จากเจอร์มานิก “*frankon” ที่เกี่ยวเนื่องกับภาษาอังกฤษเก่า “franca”) ที่แปลว่า “แหลน” ชนแฟรงก์ที่โยนขวานได้รับนามว่า “francisca” (ขว้างขวาน) ซึ่งอาจจะเป็นการเรียกกลุ่มชนตามอาวุธที่ใช้ เอ.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเยอรมนีและชาวแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแซกซัน

รูปแกะนูนแซกซันของ "irminsul" ที่เชื่อกันว่าเชื่อมระหว่างโลกกับสวรรค์ที่เอ็กซ์เทิร์นชไตเนอ (Externsteine) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซัน (Saxon; Sachsen; ละติน: Saxones) คือกลุ่มชนเผ่าเจอร์แมนิก ในปัจจุบันเป็นบรรพบุรุษของชนทางภาคเหนือของประเทศเยอรมนีที่เรียกว่าชาวเยอรมัน, ชนทางภาคตะวันออกของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่าชาวดัตช์ และชนทางภาคใต้ของอังกฤษที่เรียกว่าชาวอังกฤษ ที่ตั้งถิ่นฐานเดิมที่สุดเท่าที่ทราบของชาวแซกซันคือบริเวณทางตอนเหนือของอัลบินเจียในบริเวณฮ็อลชไตน์ (Holstein) ทางตอนเหนือสุดของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซันมีบทบาทสำคัญในการตั้งถิ่นฐานในอังกฤษโดยเฉพาะทางภาคใต้ที่ประชาชนที่อยู่อาศัยในปัจจุบันเชื่อกันว่าสีบเชี้อสายมาจากชาวแซกซันโบราณ ระหว่างสองร้อยปีที่ผ่านมาชาวแซกซันก็ไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณต่าง ๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะในทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย แอฟริกา และในบริเวณที่เป็นสหภาพโซเวียตแต่เดิม ซึ่งในบางชุมชน ชาวแซกซันยังรักษาประเพณีและภาษาของตนที่เรียกกันทั่วไปว่า "ชาวเยอรมัน" และ "ชาวดัตช์" ความมีอิทธิพลทางภาษาและวัฒนธรรมของชาวแซกซันที่มีต่อบริเวณสแกนดิเนเวีย บริเวณบอลติก และต่อชาวโพเลเบียและชาวพอเมอเรเนียซึ่งเป็นชนสลาฟตะวันตก เป็นผลมาจากเส้นทางการค้าในยุคกลางของสันนิบาตฮันเซียติก ทอเลมีเป็นนักภูมิศาสตร์กรึกคนแรกที่กล่าวถึงการตั้งถิ่นฐานของชาวแซกซันยุคก่อนคริสเตียนว่าตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือและบางส่วนทางใต้ของคาบสมุทรจัตแลนด์, แคว้นแซกโซนีเก่า, และบางส่วนทางตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาวแซกซันเป็นส่วนหนึ่งของผู้รุกรานมณฑลบริตันนิอา (Britannia) ของจักรวรรดิโรมัน ชนเผ่าหนึ่งของชาวเจอร์แมนิกที่รุกรานคือ ชาวแองเกิล ซึ่งเมื่อรวมกับ "แซกซัน" จึงกลายเป็นคำว่า "แองโกล-แซกซัน" ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเยอรมนีและชาวแซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ชนอลามันน์

ริเวณที่ตั้งถิ่นฐานของอลามันน์และสมรภูมิของสงครามโรมัน-อลามันน์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 6 ชนอลามันน์ (Alamanni) หรือ ชาวชวาเบิน (Swabians) เดิมเป็นกลุ่มสหพันธ์ของกลุ่มชนเจอร์แมนิกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำไมน์ในเยอรมนีปัจจุบัน หลักฐานแรกที่กล่าวถึงชนกลุ่มนี้มาจากบันทึกถึงชน "อลามันนิคุส" (ละติน: Alamannicus) ที่สรุปกันว่าเขียนโดยจักรพรรดิคาราคัลลาผู้ปกครองจักรวรรดิโรมันระหว่างปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเยอรมนีและชนอลามันน์ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1386

ทธศักราช 1386 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเยอรมนีและพ.ศ. 1386 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2191

ทธศักราช 2191 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเยอรมนีและพ.ศ. 2191 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2349

ทธศักราช 2349 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเยอรมนีและพ.ศ. 2349 · ดูเพิ่มเติม »

พระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมัน

ระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมัน (Rex Romanorum, King of the Romans) เป็นตำแหน่งพระอิสริยศสำหรับบุคคลที่ได้รับคัดเลือกจากคณะผู้คัดเลือกให้ดำรงตำแหน่งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เป็นพระองค์ต่อไป โดยที่บุคคลนั้นยังไม่ได้รับการราชาภิเษกจากพระสันตะปาปาซึ่งจะนับว่าเป็นจักรพรรดิเต็มพระองค์ เช่น ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ระหว่าง..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเยอรมนีและพระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเยอรมนีและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักร

ราชอาณาจักร (kingdom, realm) เป็นชุมชนหรือดินแดนซึ่งมีองค์อธิปัตย์ปกครอง มักใช้เพื่ออธิบายอาณาจักรหรือรัฐอื่นที่ปกครองโดยระบอบกษัตริย์หรือราชวง.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเยอรมนีและราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรแฟรงก์

ราชอาณาจักรแฟรงก์ (Frankish Kingdom) หรือ ฟรังเกีย (Francia) เป็นดินแดนที่ตั้งถิ่นฐานและปกครองโดยชาวแฟรงก์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 อาณาบริเวณเกิดจากการรณรงค์ที่ต่อเนื่องกันตั้งแต่ชาร์ล มาร์แตล (Charles Martel) พระเจ้าเปแป็งพระวรกายเตี้ย และชาร์เลอมาญ-- พ่อ, ลูก, และหลาน--มามั่นคงเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 9 ธรรมเนียมของการแบ่งดินแดนของพ่อระหว่างลูกชายหมายความว่าดินแดนแฟรงก์ปกครองเป็นอย่างหลวม ๆ เป็นจักรวรรดิที่แบ่งย่อยเป็นส่วนย่อย ๆ (ราชอาณาจักร หรือ อนุราชอาณาจักร) ที่ตั้งและจำนวนอนุราชอาณาจักรก็ต่างกันไปตามเวลา แต่ฟรังเกียโดยทั่วไปมาหมายถึงบริเวณหนึ่งที่เรียกว่าออสเตรเชีย ที่มีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณแม่น้ำไรน์ และแม่น้ำเมิซ (Meuse) ทางตอนเหนือของยุโรป แต่กระนั้นบางครั้งก็จะครอบคลุมไปถึงนิวสเตรีย (Neustria) ทางเหนือของแม่น้ำลัวร์ และทางตะวันตกของแม่น้ำแซนในที่สุดบริเวณนี้ก็เคลื่อนมาทางปารีส และมาสิ้นสุดลงในบริเวณลุ่มแม่น้ำแซนรอบ ๆ ปารีส ที่ยังใช้ชื่ออีล-เดอ-ฟร็องส์ และเป็นชื่อในที่สุดก็กลายเป็นชื่อของราชอาณาจักรฝรั่งเศสทั้งราชอาณาจักร.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเยอรมนีและราชอาณาจักรแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา

รูปสลักเดวิด เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี หนึ่งในประติมากรรมชิ้นเอกของยุคนี้ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance; Rinascimento; แปลว่า เกิดใหม่ หรือคืนชีพ) หรือ เรอแนซ็องส์ เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 ประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงทางวรรณกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ศาสนาและการเมือง การฟื้นฟูการศึกษาโดยอาศัยผลงานคลาสสิก การพัฒนาจิตรกรรม และการปฏิรูปการศึกษาอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้อาศัยพลังของนักมนุษยนิยมและปัจเจกชนนิยมเป็นเครื่องจูงใจ เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเกิดขึ้นในฟลอเรนซ์ แคว้นทัสกานี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเยอรมนีและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 (Gregory VII) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1073 ถึง ค.ศ. 1085 เกิดในเมืองทัสคานี่ ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปา วันที่ 22 เมษายน..1073 มรณะวันที่ 25 พฤษภาคม..1085 พระองค์ทรงเรียกประชุมสังคายนาออกโองการว่า “พระสันตะปาปาเท่านั้น ที่เป็นสากล ไม่มีผู้ใดอาจตัดสินพระองค์ได้”.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเยอรมนีและสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 7 · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย

ัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย หรือ สนธิสัญญาโอสนาบรึคและ มึนสเตอร์ (Westfälischer Friede, Peace of Westphalia หรือ Treaties of Osnabrück and Münster) เป็นสนธิสัญญาที่ลงนามกันเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1648 ที่เมืองออสนาบรึค และต่อมาเมื่อวันที่24 ตุลาคม ค.ศ. 1648 ที่เมืองมึนสเตอร์ สัญญาสันติภาพที่เขียนเป็นฝรั่งเศสเป็นการยุติสงครามสามสิบปีในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ สงครามแปดสิบปี ระหว่างสเปน และ สาธารณรัฐดัตช์และรัฐทั้งเจ็ด ผู้เข้าร่วมในการสร้างสัญญาสันติภาพก็ได้แก่ สมเด็จพระจักรพรรดิเฟอร์ดินานด์ที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ฮับส์บวร์ก), ราชอาณาจักรสเปน, ฝรั่งเศส และ สวีเดน, สาธารณรัฐดัตช์ และพันธมิตรของแต่ละฝ่าย สัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลียเป็นผลของการประชุมทางการทูตสมัยใหม่ และเป็นการเริ่มวิถีการปฏิบัติสมัยใหม่ (new order) ของยุโรปกลางในบริบทของรัฐเอกราช กฎที่ปฏิบัติของสัญญาสันติภาพกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายรัฐธรรมนูญของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ สนธิสัญญาพิเรนีสที่ลงนามกันในปี ค.ศ. 1659 ในการยุติสงครามฝรั่งเศส-สเปนของปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเยอรมนีและสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย · ดูเพิ่มเติม »

สนธิสัญญาแวร์เดิง

นธิสัญญาแวร์เดิง (Treaty of Verdun) เป็นสนธิสัญญาระหว่างพระราชโอรสสามพระองค์ของหลุยส์เดอะไพอัส (พระราชนัดดาของชาร์เลอมาญ) ในการแบ่งจักรวรรดิแฟรงค์ออกเป็นสามอาณาจักร แม้ว่าบางครั้งการแบ่งจักรวรรดิครั้งนี้จะเห็นกันว่าเป็นการทำลายจักรวรรดิมหาอำนาจที่ก่อตั้งขึ้นโดยชาร์เลอมาญ แต่อันที่จริงแล้วเป็นการทำตามประเพณีเจอร์มานิคในการแบ่งทรัพย์ให้แก่ทายาทแต่ละคนเท่าๆ กันแทนที่จะใช้กฎการสืบสมบัติโดยสิทธิของบุตรคนแรก (primogeniture) ที่มอบสมบัติทั้งหมดให้แก่บุตรชายคนโตเท่านั้น เมื่อหลุยส์เดอะไพอัสสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 840 โลแธร์ที่ 1 พระราชโอรสองค์โตก็อ้างสิทธิเหนือราชอาณาจักรของพระอนุชาอีกสองพระองค์และสนับสนุนสิทธิของพระนัดดาเปแปงที่ 2 ในการเป็นกษัตริย์แห่งอากีแตน หลังจากที่ทรงพ่ายแพ้ต่อพระอนุชาลุดวิกเดอะเยอรมันและชาร์ลส์เดอะบอลด์ในยุทธการฟงเตอแน (Battle of Fontenay) ในปี ค.ศ. 841 และทั้งสองพระองค์ทรงสาบานความเป็นพันธมิตรกันในคำสาบานสตราซบูร์ (Oaths of Strasbourg) ในปี ค.ศ. 842 แล้ว โลแธร์ที่ 1 ก็ทรงเต็มพระทัยมากขึ้นที่จะเข้าร่วมในการเจรจาต่อรอง พี่น้องแต่ละคนต่างก็มีอาณาจักรเป็นของตนเองแล้ว โลแธร์ครองอิตาลี, ลุดวิกเดอะเยอรมันครองบาวาเรีย และ ชาร์ลส์เดอะบอลด์ครองอากีแตน ผลของการเจรจาทำให้: เมื่อโลแธร์สละราชสมบัติอิตาลีให้แก่พระราชโอรสองค์โตจักรพรรดิลุดวิกที่ 2 ในปี ค.ศ. 844 ลุดวิกก็ทรงแต่งตั้งให้พระราชบิดาขึ้เป็นจักรพรรดิร่วมในปี ค.ศ. 850 เมื่อโลแธร์เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 855 อาณาจักรก็ถูกแบ่งเป็นสามส่วนดินแดนที่จักรพรรดิลุดวิกครองอยู่ก็ยังเป็นของพระองค์ ราชอาณาจักรเบอร์กันดีเดิมก็มอบให้แก่พระราชโอรสองค์ที่สามชาร์ลส์แห่งพรอว็องส์และดินแดนที่เหลือแก่โลแธร์ที่ 2 ที่เรียกอาณาจักรของพระองค์ว่าโลธาริงเกีย เมื่อจักรพรรดิลุดวิกที่ 2 ไม่ทรงพอใจที่ไม่ทรงได้รับดินแดนเพิ่มเมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคต พระองค์ก็ทรงหันไปเป็นพันธมิตรกับพระปิตุลาลุดวิกเดอะเยอรมัน ในการต่อต้านพระอนุชาโลแธร์และพระปิตุลาชาร์ลส์เดอะบอลด์ในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเยอรมนีและสนธิสัญญาแวร์เดิง · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก

อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก (Regnum Francorum Orientalium; Francia Orientalis) เป็นราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงที่ตกมาเป็นของลุดวิจชาวเยอรมันพระนัดดาของชาร์เลอมาญตามสนธิสัญญาแวร์เดิงของปี ค.ศ. 843 ราชอาณาจักรแฟรงค์ตะวันออกเป็นราชอาณาจักรที่มาก่อนจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ เมื่อจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธาเสด็จสวรรคต ราชอาณาจักรแฟรงก์อันยิ่งใหญ่ที่ชาร์เลอมาญก่อตั้งขึ้น ครอบคลุมดินแดนส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันต ก็ถูกแบ่งแยกหลังจากสงครามกลางเมืองที่ยาวสามปีระหว่างพระราชนัดดาสามพระองค์ในระหว่างปี ค.ศ. 840 ถึงปี ค.ศ. 843 ในระหว่างสงคราม คาร์ลพระเศียรล้านทรงเข้าข้างลุดวิจชาวเยอรมัน พระอนุชาต่างพระมารดา ในข้อขัดแย้งในสิทธิการครองราชบัลลังก์กับจักรพรรดิโลทาร์ที่ 1 พระเชษฐา ผู้ทรงใช้ตำแหน่งจักรพรรดิแห่งชาวโรมันที่เคยเป็นตำแหน่งของพระอัยกา และกลายมาเป็นตำแหน่งที่ใช้กันต่อมาสำหรับจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่จักรพรรดิออทโทที่ 1 เป็นต้นมา เมื่อสงครามสิ้นสุดลงราชอาณาจักรแฟรงก์ถูกแบ่งแยกออกเป็นสามส่วนตามสนธิสัญญาแวร์เดิง.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเยอรมนีและอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ฟรันซ์ โยเซฟ คาร์ล (Franz Joseph Karl) ทรงเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2335 - พ.ศ. 2349 ภายหลังจากที่พระองค์ถูกรุกรานโดยจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 อันนำไปสู่สงครามประสานมิตรครั้งที่สาม ทำให้พระองค์ต้องยุบจักรวรรดิ และเปลี่ยนจักรวรรดิรวมทั้งเปลี่ยนแปลงการปกครองใหม่ โดยระหว่างปีพ.ศ. 2347 - พ.ศ. 2349 พระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งจักรพรรดิ 2 จักรวรรดิเลยทีเดียว โดยหลังจากเปลี่ยนจักรวรรดิแล้ว พระองค์ได้ทรงดำรงตำแหน่งจักรพรรดิแห่งออสเตรีย พระนามว่า จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย หลังจากนั้น พระองค์ได้ทรงนำกองทัพออสเตรีย ไปชำระแค้นกับจักรวรรดิฝรั่งเศส ในสงครามนโปเลียน แต่ก็ยังปราชัยอยู่ดี พระองค์จึงส่งพระราชธิดาองค์โต อาร์ชดัชเชสมารี หลุยส์ ให้ไปอภิเษกสมรสกับนโปเลียน เพื่อเป็นการถวายเครื่องราชบรรณาการ และเริ่มต้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระหว่างจักรวรรดิออสเตรียและจักรวรรดิฝรั่ง.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเยอรมนีและจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิการอแล็งเฌียง

ร์ล มาร์แตลในยุทธการที่ตูร์ที่ทรงหยุดยั้งการรุกรานของอุมัยยะห์เข้ามาในยุโรป จักรวรรดิการอแล็งเฌียง (Carolingian Empire) เป็นคำประวัติศาสตร์ที่บางครั้งก็หมายถึงราชอาณาจักรแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียง ที่เห็นกันว่าเป็นราชวงศ์ที่ก่อตั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี จักรวรรดิการอแล็งเฌียงอาจจะถือว่าเป็นปลายสมัยจักรวรรดิแฟรงก์หรือต้นสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็ได้ จักรวรรดิการอแล็งเฌียงเป็นการเน้นถึงการที่สมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3 ทรงราชาภิเษกชาร์เลอมาญเป็นจักรพรรดิโรมันในปี ค.ศ. 800 ก่อนหน้านั้นชาร์เลอมาญและบรรพบุรุษของพระองค์เป็นประมุขของจักรวรรดิแฟรงก์ (พระอัยกาชาร์ล มาร์แตลเป็นผู้ก่อตั้งจักรวรรดิ) การราชาภิเกมิได้เป็นการประกาศการเป็นจักรพรรดิของจักรวรรดิใหม่ นักประวัติศาสตร์นิยมที่จะใช้คำว่า “กลุ่มราชอาณาจักรแฟรงก์” ("Frankish Kingdoms" หรือ "Frankish Realm") ในการเรียกดินแดนบริเวณที่ปัจจุบันคือเยอรมนีและฝรั่งเศสปัจจุบัน ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเยอรมนีและจักรวรรดิการอแล็งเฌียง · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ละติน: Sacrum Imperium Romanum, Heiliges Römisches Reich) เป็นอภิมหาอำนาจในอดีต เป็นจักรวรรดิซึ่งประกอบด้วยดินแดนหลากเชื้อชาติในยุโรปกลาง ก่อกำเนิดขึ้นในสมัยกลางตอนต้นและล่มสลายลงในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเยอรมนีและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ข้อขัดแย้งเรื่องการสถาปนาสมณศักดิ์

กษัตริย์สมัยกลางแต่งตั้งบิชอป ข้อขัดแย้งเรื่องการสถาปนาสมณศักดิ์ (Investiture Controversy หรือ Investiture Contest) เป็นความขัดแย้งครั้งสำคัญระหว่างคริสตจักรกับรัฐในยุโรปสมัยกลางที่เกิดขึ้นช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11 และ 12 พระสันตะปาปาหลายพระองค์ก็เริ่มท้าทายอำนาจของพระมหากษัตริยุโรปในเรื่องการแต่งตั้งและสถาปนาสมณศักดิ์นักบวช เช่น มุขนายก และอธิการอาราม ความขัดแย้งเริ่มขึ้นในปี..

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเยอรมนีและข้อขัดแย้งเรื่องการสถาปนาสมณศักดิ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์เยอรมนี

ประวัติศาสตร์เยอรมนี เริ่มต้นด้วยการต้านทานการยึดครองโดยชาวโรมันของชนเจอร์มานิค ซึ่งเมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลายชนชาติเยอรมันก็กลายเป็นกลุ่มชนผู้มีอำนาจในยุโรปเข้าแทนที่ชาวโรมัน จนนำไปสู่กำเนิดจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ จักรวรรดิที่ 1 ในสมัยกลาง จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ธำรงอยู่กว่าพันปีแต่ก็เป็นเพียงจักรวรรดิที่มองไม่เห็น เพราะรัฐต่าง ๆ ในเยอรมันร้อยกว่ารัฐต่างแยกตัวเป็นอิสระจากพระจักรพรรดิ จนนโปเลียนยกเลิกจักรวรรดินี้ไปกลายเป็นสมาพันธรัฐเยอรมัน เป็นกลุ่มของรัฐต่าง ๆ จนราชอาณาจักรปรัสเซียสามารถรวมประเทศเยอรมนีได้โดยการนำของบิสมาร์ก ก็กลายเป็นจักรวรรดิเยอรมัน หรือ จักรวรรดิที่ 2 แต่ด้วยการปฏิวัติล้มระบอบกษัตริย์หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทำให้เยอรมนีกลายเป็นสาธารณรัฐไวมาร์ แต่ถูก อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำลัทธินาซียึดอำนาจเปลี่ยนเป็นระบอบเผด็จการและแผ่ขยายดินแดนไปทั่วยุโรปในสงครามโลกครั้งที่สองหรือ จักรวรรดิที่ 3 แต่ฮิตเลอร์พ่ายแพ้สงคราม เยอรมนีจึงถูกแบ่งเป็นสองส่วน คือ เยอรมนีตะวันออก และ เยอรมนีตะวันตก จนรวมกันกลายเป็นประเทศเยอรมนีอีกครั้งใน ค.ศ. 1990.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเยอรมนีและประวัติศาสตร์เยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

เจ้านครรัฐผู้คัดเลือก

ระมหากษัตริย์โบฮีเมีย เจ้านครรัฐผู้คัดเลือก (Princeps Elector, Kurfürst, Prince-elector หรือ Electors) คือสมาชิกของคณะผู้คัดเลือก (electoral college) แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีหน้าที่ในการเลือกพระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมันพระองค์ใดพระองค์หนึ่งให้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงของเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกเรียกว่าเจ้าผู้คัดเลือก (electoral prince) เจ้านครรัฐผู้คัดเลือกถือเป็นผู้มีเกียรติรองจากพระมหากษัตริย์และพระจักรพรรดิ ตามทฤษฎีแล้วจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เป็นผู้ที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 การเลือกตั้งก็มักจะเป็นเพียงการทำเพียงพิธี โดยมีพระจักรพรรดิผู้สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ฮับส์บูร์กของออสเตรีย ที่ตำแหน่งมักจะเป็นของพระราชโอรสองค์โตของจักรพรรดิผู้เสด็จสวรรคต แต่กระนั้นตำแหน่งมิได้เป็นตำแหน่งสืบทอดในตระกูลเดียวกัน และทายาทไม่สามารถเรียกตนเองว่า "จักรพรรดิ" โดยมิได้รับเลือก การเลือกตั้งเป็นการเลือกพระมหากษัตริย์แห่งชาวโรมัน ผู้ได้รับเลือกในเยอรมนีและจะได้เป็นจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็เมื่อได้รับทำพิธีบรมราชาภิเษกโดยพระสันตะปาปา จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 ทรงเป็นจักรพรรดิที่ได้รับการสวมมงกุฎเป็นจักรพรรดิ ผู้เป็นจักรพรรดิต่อจากนั้นเป็นจักรพรรดิโดยการเลือกตั้งเท่านั้น.

ใหม่!!: ราชอาณาจักรเยอรมนีและเจ้านครรัฐผู้คัดเลือก · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Kingdom of Germany

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »