โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา

ดัชนี รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา

รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา (خلافة قرطبة, Khilāfat Qurṭuba) ปกครองคาบสมุทรไอบีเรียและแอฟริกาเหนือจากเมืองกอร์โดบา ตั้งแต่ปี..

10 ความสัมพันธ์: กอร์โดบา (ประเทศสเปน)ภาษาอาหรับภาษาฮีบรูมัสยิด-มหาวิหารกอร์โดบารัฐเคาะลีฟะฮ์รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์อาณาจักรคาบสมุทรไอบีเรียแอฟริกาเหนือเคาะลีฟะฮ์

กอร์โดบา (ประเทศสเปน)

กอร์โดบา (Córdoba) เป็นเมืองในแคว้นปกครองตนเองอันดาลูซีอาทางภาคใต้ของประเทศสเปน และเป็นเมืองหลักของจังหวัดกอร์โดบา มีพิกัดภูมิศาสตร์ตั้งอยู่ที่ 37°88' เหนือ 4°77' ตะวันตก ริมแม่น้ำกวาดัลกีบีร์ ก่อตั้งขึ้นในสมัยโรมันโบราณในชื่อ กอร์ดูบา (Corduba) โดยเกลาดีอุส มาร์เซลลุส (Claudius Marcellus) ในปี พ.ศ. 2548 เมืองนี้มีจำนวนประชากร 321,164 คน ทุกวันนี้ ในความเป็นเมืองสมัยใหม่ขนาดกลาง ตัวเมืองเก่ายังคงมีสถาปัตยกรรมน่าประทับใจหลายแห่งที่ย้อนไปเมื่อครั้งเมืองนี้เป็นเมืองหลวงที่เจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรกาหลิปแห่งกอร์โดบาของชาวมุสลิมซึ่งเคยปกครองพื้นที่เกือบทั้งหมดในคาบสมุทรไอบีเรีย ประมาณกันว่าเมืองกอร์โดบาซึ่งมีประชากรถึง 500,000 คนในคริสต์ศตวรรษที่ 10 เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลกรองจากคอนสแตนติโนเปิล กอร์โดบาเป็นสถานที่เกิดของนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงอย่างน้อยสามคน ได้แก่ ลูซีอุส อันไนอุส เซเนกา (Lucius Annaeus Seneca) ชาวโรมัน อาเวอร์โรเอส (Averroes) ชาวมุสลิม และไมโมนิเดส (Maimonides) ชาวยิว และยังเป็นสถานที่เกิดของลูกัน (Lucan) กวีชาวโรมัน รวมทั้งกวีสเปนยุคกลาง ควน เด เมนา (Juan de Mena) และลุยส์ เด กองโกรา (Luis de Góngora) ในสมัยถัดมา ศิลปินฟลาเมงโกที่มีชื่อเสียงหลายคน ได้แก่ ปาโก เปญา (Paco Peña) บีเซนเต อามีโก (Vicente Amigo) และโคอากิง กอร์เตส (Joaquín Cortés) ต่างก็เกิดที่เมืองนี้ด้วยเช่นกัน.

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบาและกอร์โดบา (ประเทศสเปน) · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอาหรับ

ษาอาหรับ (العربية; Arabic Language) เป็นภาษากลุ่มเซมิติก ที่มีผู้พูดมากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดพอควรกับภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิก โดยพัฒนามาจากภาษาเดียวกันคือภาษาเซมิติกดั้งเดิม ภาษาอาหรับสมัยใหม่ถือว่าเป็นภาษาขนาดใหญ่ แบ่งเป็นสำเนียงย่อยได้ถึง 27 สำเนียง ในระบบ ISO 639-3 ความแตกต่างของการใช้ภาษาพบได้ทั่วโลกอาหรับ โดยมีภาษาอาหรับมาตรฐานซึ่งใช้ในหมู่ผู้นับถือศาสนาอิสลาม ภาษาอาหรับสมัยใหม่มาจากภาษาอาหรับคลาสสิกซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เหลืออยู่ในภาษากลุ่มอาหรับเหนือโบราณ เริ่มพบในพุทธศตวรรษที่ 11 และกลายเป็นภาษาทางศาสนาของศาสนาอิสลามตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เป็นภาษาของคัมภีร์อัลกุรอาน และภาษาของการนมาซและบทวิงวอนของชาวมุสลิมทั่วโลก ชาวมุสลิมจะเริ่มศึกษาภาษาอาหรับตั้งแต่ยังเด็ก เพื่ออ่านอัลกุรอานและทำการนมาซ ภาษาอาหรับเป็นแหล่งกำเนิดของคำยืมจำนวนมากในภาษาที่ใช้โดยมุสลิมและภาษาส่วนใหญ่ในยุโรป ภาษาอาหรับเองก็มีการยืมคำจากภาษาเปอร์เซียและภาษาสันสกฤตด้วย ในช่วงยุคกลาง ภาษาอาหรับเป็นภาษาหลักในการขับเคลื่อนวัฒนธรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และปรัชญา จึงทำให้ภาษาในยุโรปจำนวนมากยืมคำไปจากภาษาอาหรับ โดยเฉพาะภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส ทั้งนี้เพราะอารยธรรมอาหรับเคยแผ่ขยายไปถึงคาบสมุทรไอบีเรี.

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบาและภาษาอาหรับ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฮีบรู

ษาฮีบรู (Modern Hebrew, อิฟริท) เป็นภาษาเซมิติก (Semitic) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลภาษาแอโฟรเอชีแอติก (Afro–Asiatic) เป็นภาษาที่เก่าแก่ โดยมีอายุมาอย่างน้อยตั้งแต่ 3,500 ปีที่แล้ว ในอดีต เคยเป็นภาษาตาย เหมือนดั่งภาษาบาลี สันสกฤต และละติน โดยใช้เป็นภาษาที่ใช้เพียงแต่ในวงจำกัด หนังสือต่างทางศาสนา และสถานที่ทางศาสนาเท่านั้น แต่ปัจจุบัน มีการกลับมาใช้เป็นภาษาพูดใหม่ และเป็นภาษาที่ชาวอิสราเอลใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวัน โดยภายในในอิสราเอล มีผู้พูดมากกว่า 4,380,000 คน ซึ่งเป็นภาษาราชการคู่กับภาษาอาหรับ นอกอิสราเอล ภาษาฮีบรูยังมีผู้พูดอีกจำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยมากเป็นชุมชนชาวยิว ทะนัค (Tanakh) หรือพระคัมภีร์เก่า (The Old Testament) ของศาสนายิว เขียนไว้ด้วยภาษาฮีบรู ซึ่งถือว่าเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์ (לשון הקודש Leshon ha-Kodesh: เลโชน ฮา-โกเดช) ของชาวยิวตั้งแต่สมัยโบราณ นักภาษาศาสตร์ส่วนใหญ่ระบุว่าหลัง 57 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นยุคที่จักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ทำลายกรุงเยรูซาเลมและอพยพชาวยิวไปยังบาบิโลนและพระเจ้าไซรัสมหาราชแห่งเปอร์เซียปลดปล่อยชาวยิวให้เป็นไท ภาษาฮีบรูในแบบที่เขียนในพระคัมภีร์เก่า ถูกแทนที่ด้วยภาษาฮีบรูใหม่และภาษาแอราเมอิกที่ใช้ในท้องถิ่นนั้น หลังจากพุทธศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันเข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม และอพยพชาวยิวออกไป ภาษาฮีบรูเริ่มใช้เป็นภาษาพูดน้อยลงแต่ยังคงเป็นภาษาทางศาสนาและภาษาในการเขียน หลังจากเยรูซาเล็มถูกชาวบาบิโลนทำลายครั้งแรก 586 ปีก่อนคริสตกาล ภาษาอย่างในพระคัมภีร์เก่าเริ่มถูกแทนที่ด้วยคำในลักษณะใหม่ หลังจากจำนวนประชากรของชาวยิวในบางส่วนของจูเดีย (Judea) ลดลง ภาษาฮีบรูเลิกใช้เป็นภาษาพูดราวคริสต์ศตวรรษที่ 2 แต่ยังคงเป็นภาษาเขียนที่สำคัญต่อเนื่องมาตลอดหลายศตวรรษ นอกจากจะใช้ในศาสนาแล้ว งานเขียนสำหรับวัตถุประสงค์อื่น ๆ เช่น เขียนตำรา จดหมาย ปรัชญา การแพทย์ บทกวี บันทึกศาล ล้วนใช้ภาษาฮีบรู ซึ่งได้เข้ากับวงความรู้และคำเฉพาะใหม่ ๆ โดยคำยืมและคำประดิษฐ์ใหม่ ภาษาฮีบรูยังคงถูกรักษาไว้ในฐานะภาษาเขียนโดยชุมชนชาวยิวทั่วโลก จนกระทั่งมีการตั้งลัทธิไซออนนิสต์เพื่อฟื้นฟูชาติยิว สมาชิกไซออนนิสต์ส่งเสริมให้มีการแทนที่ภาษาพูดของชาวยิวในขณะนั้น เช่นภาษาอาหรับ ภาษาจูเดสโม (Judezmo, ภาษาลาดิโน Ladino ก็เรียก) ภาษายิดดิช ภาษารัสเซีย และภาษาอื่น ๆ ของชาวยิวที่อาศัยอยู่ต่างประเทศ เป็นภาษาของศาสนายิวส่วนใหญ่ที่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอล ภาษาฮีบรู มีการสร้างคำใหม่โดยยืมจากภาษาฮีบรูในไบเบิลหรือจากภาษาอาหรับและภาษาอราเมอิก รวมทั้งภาษาในยุโรป เช่น ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาเยอรมัน ภาษาฮีบรูกลายเป็นภาษาราชการของปาเลสไตน์ภายใต้การปกครองของอังกฤษตั้งแต..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบาและภาษาฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

มัสยิด-มหาวิหารกอร์โดบา

หินภายในมัสยิดกอร์โดบา หนึ่งในประตูของมัสยิดกอร์โดบา มหาวิหาร และอดีต มัสยิดใหญ่แห่งกอร์โดบา มีชื่อเรียกในศาสนาคริสต์ว่า มหาวิหารการอัสสัมชัญพระแม่มารี (Catedral de Nuestra Señora de la Asunción) และเป็นที่รู้จักในท้องถิ่นว่า เมซกีตา-กาเตดรัล (Mezquita-catedral, มัสยิด-มหาวิหาร) ปัจจุบันเป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับพื้นที่ส่วนประวัติศาสตร์ ตั้งอยู่ในเมืองกอร์โดบา ในแคว้นอันดาลูซีอา ทางตอนใต้ของประเทศสเปน ด้านประวัติความเป็นมานั้น เริ่มจากในปี ค.ศ. 768 หลังจากการรุกรานของชาวมุสลิมบนคาบสมุทรไอบีเรีย การก่อสร้างได้เริ่มขึ้นบนพื้นที่ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ตั้งของโบสถ์แห่งนักบวช บีเซนเต มาร์ตี โดยที่โบสถ์แห่งนี้ได้ถูกทำลายลงและสร้างมัสยิดกอร์โดบาขึ้นมาแทนที่ ถ้ามองในมุมมองของมัสยิดแล้ว มัสยิดกอร์โดบาถือได้ว่าเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรกาหลิบแห่งกอร์โดบา ด้วยพื้นที่ขนาด 23,400 ตารางเมตร ทำให้มัสยิดกอร์โดบามีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลกเมื่อตอนที่สร้าง อันดับที่หนึ่งเป็นของมัสยิดแห่งนครมักกะฮ์ (ภายหลังในปี ค.ศ. 1588 อันดับที่สองตกเป็นของมัสยิดแห่งสุลต่านอะห์มัด ประเทศตุรกี) ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งที่น่าสนใจมากคือ กิบลัต (ชุมทิศที่ชาวมุสลิมหันหน้าไปยามละหมาดและขอดุอาอ์) นั้นไม่ได้ชี้ไปยังทิศของนครมักกะฮ์ แต่ว่าชี้ไปยัง 51 องศาทางใต้ของทิศที่เป็นที่ตั้งนครมักกะฮ์ เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าที่ตั้งที่ติดกับแม่น้ำกวาดัลกีบีร์ จึงไม่สามารถทำการขยายการก่อสร้างออกไปทางทิศใต้ได้ จนกระทั่งภายหลังชาวสเปนสามารถพิชิตดินแดนคืนได้สำเร็จ ในปี ค.ศ. 1238 มัสยิดกอร์โดบาก็ได้กลายสภาพมาเป็นโบสถ์ตามคำสั่งของมุขนายก โลเป เด ฟีเตโร (มุขนายกคนแรกของมหาวิหารกอร์โดบา) ในปี ค.ศ. 1523 เริ่มการก่อสร้างโบสถ์ในส่วนกลางของมัสยิดโดยใช้รูปแบบปลาเตเรสโก (Plateresco) ในภาษาสเปน "ปลาตา" (plata) หมายถึงแร่เงิน ส่วนคำว่า "ปลาเตเรสโก" ต้องการสื่อถึงตามวิถีทางของช่างเงิน มหาวิหารกอร์โดบาถือได้ว่ามีความสำคัญมากต่อกอร์โดบาและสถาปัตยกรรมอัลอันดะลุสเช่นเดียวกับอาลัมบรา (Alhambra).

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบาและมัสยิด-มหาวิหารกอร์โดบา · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์

รัฐเคาะลีฟะฮ์ (Caliphate จาก خليفة khilāfa) เป็นเขตการปกครองแบบหนึ่งในอาณาจักรมุสลิมที่มีประมุขเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่มาจากปรัชญาว่าเป็นผู้สืบอำนาจมาจากนบีมุฮัมมัดศาสดาของศาสนาอิสลาม ซุนนีย์ระบุว่าเคาะลีฟะฮ์ควรจะเป็นผู้ที่ได้รับเลือกโดยชูรา ผู้ได้รับเลือกโดยมุสลิมหรือผู้แทน ชีอะฮ์เชื่อว่าเคาะลีฟะฮ์คืออิมามผู้สืบเชื้อสายมาจากอะฮฺลุลบัยตฺ (Ahl al-Bayt) ตั้งแต่สมัยมุฮัมมัดมาจนถึงปี..

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบาและรัฐเคาะลีฟะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์

รัฐอุมัยยะห์ (بنو أمية‎) เป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งแรกที่ถูกสถาปนาโดยมุอาวียะห์ อิบนุ อบี สุฟยาน (Muahwiya Ibn Abi Sufyan I, ค.ศ. 661 - ค.ศ. 680) หลังจากการถึงแก่อสัญกรรมของอะลีย์ บุตรเขยของมุฮัมหมัด ราชวงศ์นี้แผ่ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางในช่วงต้น อีกทั้งราชวงศ์ยังรักษาธรรมเนียมปฏิบัติของศาสนาอิสลามอย่างเคร่งครัด แต่พอถึงปลายยุคเคาะลีฟะฮ์กลับเสวยแต่น้ำจัณฑ์ ล่าสัตว์ ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยไม่ปฏิบัติตามหลักศาสนา จึงถูกลูกหลานของน้าของศาสนทูตมุฮัมหมัดโค่นล้มราชวงศ์ลงในสมัยมัรวานที่ 2 ในปี ค.ศ. 750 (พ.ศ. 1293) อุมัยยะห์เป็นหนึ่งในสี่รัฐเคาะลีฟะฮ์ของอิสลามที่ก่อตั้งหลังจากการเสียชีวิตของมุฮัมหมัด ศาสนทูตของศาสนาอิสลามที่ปกครองโดยราชวงศ์อุมัยยะห์ ที่ได้รับชื่อจาก Umayya ibn Abd Shams ผู้เป็นทวดของคอลีฟะฮ์อุมัยยะห์คนแรก แม้ว่าตระกูลอุมัยยะห์เดิมจะมาจากมักกะฮ์ แต่ดามัสกัสเป็นเมืองหลวงของรัฐ หลังจากอุมัยยะห์ถูกโค่นโดยรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะห์ก็ย้ายไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่อัล-อันดะลุส (Al-Andalus) และก่อตั้งเป็นรัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบา ภายหลังจากที่ท่านอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ เคาะลีฟะฮ์รอชิดีนคนที่ 4 เสียชีวิต ท่านหะสัน อิบนุ อะลี บุตรของท่านอาลีได้รับเลือกตั้งเป็นเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป แต่ดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ได้ไม่กี่เดือนก็ยอมสละตำแหน่งให้แก่ท่านมุอาวียะฮ์ อิบนุ อบี สุฟยาน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพในรัฐอิสลาม พร้อมกับหลีกเลี่ยงความแตกแยกและการสูญเสียเลือดระหว่างชาวมุสลิมด้วยกันมากกว่านี้ มุอาวิยะฮ์เป็นเคาะลีฟะฮ์ท่านแรกในราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านสืบเชื้อสายจากตระกูลอุมัยยะห์ บุตรของอับดุซซัม ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ราชวงศ์อุมัยยะฮ์" ในสมัยการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ท่านมุอาวียะฮ์ได้เปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากสาธารณรัฐเป็นราชอาณาจักร ท่านทำให้ตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์กลายเป็นตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืบสันติวงศ์ ท่านได้ทรงแต่งตั้งยะซิด โอรสของท่านให้เป็นกษัตริย์ ต่อมาการแต่งตั้งแบบนี้ได้กลายเป็นตัวอย่างการแต่งตั้งเคาะลีฟะฮ์มาตลอดราชวงศ์อุมัยยะฮ์ ทั้งรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์และอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าท่านเป็นผู้สร้างตำแหน่งกษัตริย์โดยการสืบสันติวงศ์ขึ้นในประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลาม การปกครองแบบประชาธิปไตยระหว่างเผ่าของเคาะลีฟะฮ์ท่านก่อน ๆ ก็หมดสิ้นไป กลายเป็นการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิร.

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบาและรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักร

อาณาจักร (kingdom; dominion) หมายถึง เขตแดนที่อยู่ในอำนาจปกครองของประเทศหนึ่ง อาจจำแนกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้.

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบาและอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

คาบสมุทรไอบีเรีย

มุทรไอบีเรีย คาบสมุทรไอบีเรีย (Iberian Peninsula; Península Ibérica; Península Ibérica; Península Ibèrica) ตั้งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป มีพื้นที่ประมาณ 582,860 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นคาบสมุทรที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของทวีปยุโรปรองจากคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ทางทิศเหนือติดกับเทือกเขาพิเรนีสและประเทศฝรั่งเศส ทางทิศตะวันออกติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทิศใต้สุดติดกับช่องแคบยิบรอลตาร์ คาบสมุทรไอบีเรียมีความยาวประมาณ 900 กิโลเมตร กว้างโดยเฉลี่ยประมาณ 900 กิโลเมตร รูปร่างคล้ายสีเหลี่ยมพื้นผ้า พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงและเทือกเขา พื้นที่ทางตะวันออกเฉียงใต้บริเวณเทือกเขาเซียร์ราเนบาดา เป็นบริเวณแห้งแล้งมากแห่งหนึ่งในคาบสมุทร เมืองที่สำคัญที่อยู่ในคาบสมุทรไอบีเรีย ได้แก่ มาดริด บาร์เซโลนา บาเลนเซีย เซบียา บิลบาโอ ลิสบอน โปร์ตู และยิบรอลตาร.

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบาและคาบสมุทรไอบีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แอฟริกาเหนือ

นแดนแอฟริกาเหนือ แอฟริกาเหนือ หรือ แอฟริกาตอนเหนือ เป็นภูมิภาคที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกาประกอบไปด้วย 7 ประเทศคือ.

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบาและแอฟริกาเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

เคาะลีฟะฮ์

ลีฟะฮ์ หรือ กาหลิบ (خليفة) มาจากคำว่า "เคาะลีฟะฮ์ อัรเราะซูล" (ผู้แทนของท่านเราะซูล) คือคำที่ใช้เรียกประมุขของอาณาจักรอิสลามต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่หลังจากนบีมุฮัมมัดเสียชีวิต จนถึงปลายอาณาจักรอุษมานียะหฺ ประมุขสี่คนแรกเรียกว่า อัลคุละฟาอ์ อัรรอชิดูน คือ อะบูบักรฺ อุมัร อิบนุลค่อฏฏอบ อุษมาน บินอัฟฟาน, และอะลีย์ บินอะบีฏอลิบ ต่อมาเมื่ออำนาจของรัฐอิสลามตกภายใต้การปกครองของตระกูลอุมัยยะฮ์ ตระกูลอับบาซียะฮ์ และตระกูลอุษมาน ประมุขแต่ละคนก็ยังใช้คำนี้ เคาะลีฟะฮ์คนสุดท้ายคือ อับดุลมะญีด ที่ 2 เขตปกครองของเคาะลีฟะฮ์เรียกว่ารัฐเคาะลีฟะฮ์ (Caliphate).

ใหม่!!: รัฐเคาะลีฟะฮ์แห่งกอร์โดบาและเคาะลีฟะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Caliphate of CordobaCaliphate of CórdobaEmirate of Córdobaกาหลิปแห่งกอร์โดบาอาณาจักรกาหลิบแห่งกอร์โดบาอาณาจักรกาหลิปแห่งกอร์โดบา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »