โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รัฐลูเซิร์น

ดัชนี รัฐลูเซิร์น

รัฐลูเซิร์น (Canton of Lucerne; Kanton Luzern) เป็นรัฐในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางของประเทศ มีเมืองศูนย์กลางอยู่ที่นครลูเซิร์นซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของรัฐโดยอยู่ติดกับทะเลสาบลูเซิร์น ทางใต้ของรัฐลูเซิร์นยังเป็นที่ตั้งของชีวมณฑลเอ็นท์เลอบูคแห่งองค์การยูเนสโกซึ่งเป็นเขตสงวนทางธรรมชาติขนาดยักษ์ซึ่งตั้งอยู่เชิงเทือกเขาแอลป์ พื้นที่ส่วนใหญ่ในรัฐลูเซิร์นเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและปศุสัตว์ซึ่งถือเป็นภาคเศรษฐกิจหลักของรัฐ เช่น ปลูกข้าวโพด, ผลไม้ และการผสมพันธุ์วัว เป็นต้น ภายในรัฐลูเซิร์นก็มีอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน อาทิ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม, เครื่องจักรกล, กระดาษ, ไม้, ยาสูบ และโลหการ ลูเซิร์นยังเป็นแหล่งที่เที่ยวที่นิยมในช่วงวันหยุดจากการที่อยู่ใกล้กับเทือกเขาแอลป์และทะเลสาบลูเซิร์น ประชากรร้อยละ 70 นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก อีกร้อยละ 11 นับถือคริสตจักรสวิส และที่เหลือนับถือนิกายออร์ทอดอกซ.

5 ความสัมพันธ์: รัฐของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ลูเซิร์นข้าวโพดโรมันคาทอลิกเทือกเขาแอลป์

รัฐของประเทศสวิตเซอร์แลนด์

มาพันธรัฐสวิสประกอบด้วย 26 รัฐ (Kanton หรือ Canton) ซึ่งในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึง 18 ต่างเคยเป็นรัฐเอกราช มีเขตแดน, กองทัพ และสกุลเงินเป็นของตนเอง จนกระทั่งมีการสถาปนาสมาพันธรัฐสวิสขึ้นใน..

ใหม่!!: รัฐลูเซิร์นและรัฐของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ลูเซิร์น

ลูเซิร์น (Lucerne) หรือ ลุทแซร์น (Luzern) เป็นเมืองหลวงของรัฐลูเซิร์นในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ด้วยความที่ลูเซิร์นเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในภาคกลางของประเทศ ทำให้ลูเซิร์นกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ, การคมนาคม, ทางวัฒนธรรม ของภาคกลาง ภาษาทางการที่ใช้ในลูเซิร์นคือภาษาเยอรมัน ตั้งอยู่ชายฝั่งด้านตะวันตกติดกับทะเลสาบลูเซิร์น มีแม่น้ำร็อยส์ไหลออกมาจากทะเลสาบผ่านกลางเมือง จากเมืองนี้สามารถมองเห็นเทือกเขาแอลป์, เขาพีลาทุส และเขารีกี ลูเซิร์นมีภูมิอากาศเย็นตลอดทั้งปี จุดหมายตาที่สำคัญในเมืองคือคาเพ็ลล์บรึคเคอ สนามบินที่อยู่ใกล้ลูเซิร์นที่สุดคือท่าอากาศยานซือริช ซึ่งมีรถไฟโดยตรงมาสู่ลูเซิร์นทุกชั่วโมงโดยใช้เวลาเดินทางราว 1 ชั่วโมง ภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 6 ชนอลามันน์เชื้อสายเยอรมันก็มีอิทธิพลเหนือดินแดนที่เป็นประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปัจจุบัน จนกระทั่งราวปี 750 ก็มีการจัดตั้งสังฆมณฑลซังคท์เลโอเดอการ์ (St. Leodegar) นิกายโรมันคาทอลิกขึ้น ต่อมาในศตวรรษที่ 9 สังฆมณฑลซังคท์เลโอเดอการ์ได้ตกอยู่ในการปกครองของอารามมูร์บัค (Murbach Abbey) ในแคว้นอาลซัส ในช่วงเวลานี้เอง พื้นที่แถบนี้ได้ถูกเรียกว่า ลูกิอาริอา (ละติน: Luciaria) ต่อมาในปี 1178 สังฆมณฑลแห่งนี้ได้เป็นอิสระจากอารามมูร์บัค และได้สถาปนาสังฆมณฑลเป็นเมืองลูเซิร์นในปีเดียวกัน เมืองลูเซิร์นกลายเป็นทางผ่านที่สำคัญบนเส้นทางการค้าที่กำลังเฟื่องฟูในภูมิภาคก็อทฮาร์ท (Gotthard).

ใหม่!!: รัฐลูเซิร์นและลูเซิร์น · ดูเพิ่มเติม »

ข้าวโพด

ลักษณะของข้าวโพด ''Zea mays "fraise"'' ''Zea mays "Oaxacan Green"'' ''Zea mays "Ottofile giallo Tortonese”'' ข้าวโพด (Linn.) ชื่ออื่นๆ ข้าวสาลี สาลี (เหนือ) คง (กระบี่) โพด (ใต้) บือเคเส่ะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้ามีลำต้นสูง โดยเฉลี่ย 2.2 เมตร ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น 0.5-2.0 นิ้ว เมล็ดจากฝักใช้เป็นอาหารคนและสัตว.

ใหม่!!: รัฐลูเซิร์นและข้าวโพด · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: รัฐลูเซิร์นและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขาแอลป์

ทือกเขาแอลป์ระบบดิจิตอล เทือกเขาแอลป์ในประเทศออสเตรีย เทือกเขาแอลป์ (Alpen; Alpes; Alpi; สโลวีเนีย: Alpe; Alps) เป็นเทือกเขาที่ใหญ่สุดของทวีปยุโรปโดยครอบคลุมตั้งแต่ออสเตรีย, อิตาลี และสโลวีเนียทางด้านตะวันออก ไปจนถึงสวิตเซอร์แลนด์, ลิกเตนสไตน์, เยอรมนี และฝรั่งเศสทางด้านตะวันตก เทือกเขาแอลป์เป็นเทือกเขาอายุน้อย เกิดขึ้นเมื่อแผ่นทวีปแอฟริกามุดใต้แผ่นทวีปยูเรเซีย (อนุทวีปสเปนและอิตาลีชนกับแผ่นดินใหญ่) ภูเขาที่สูงที่สุดในเทือกเขาแอลป์คือ ยอดเขามองต์บลังก์ ที่ความสูง 4,807 เมตร บริเวณชายแดนฝรั่งเศสกับอิตาลี.

ใหม่!!: รัฐลูเซิร์นและเทือกเขาแอลป์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »