โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รัฐประหารในประเทศอียิปต์ พ.ศ. 2556

ดัชนี รัฐประหารในประเทศอียิปต์ พ.ศ. 2556

วันที่ 3 กรกฎาคม 2556 พลเอก อับดุล ฟาตะห์ อัล-เซสซี (Abdul Fatah al-Sisi) ถอดประธานาธิบดีมุฮัมมัด มุรซี (Mohamed Morsi) และระงับรัฐธรรมนูญแห่งอียิปต์หลังมีการประท้วงสาธารณะ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังการประท้วงสาธารณะขนานใหญ่ในประเทศอียิปต์ทั้งสนับสนุนและต่อต้านมุรซี และมีคำเตือนจากกองทัพให้ประธานาธิบดีสนองตอบข้อเรียกร้องของผู้ประท้วง มิฉะนั้นกองทัพจะดำเนินตามแผนของตน อัล-เซสซีประกาศให้อัดลี มันซูร์ (Adly Mansour) เป็นประธานาธิบดีอียิปต์ชั่วคราว มุรซีถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านและมีการจับกุมผู้นำภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) จากนั้น ได้เกิดการเดินขบวนและการปะทะระหว่างผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านรัฐประหารทั่วประเทศอียิปต์ การประท้วงต่อต้านมุรซีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ตรงกับวันครบรอบหนึ่งปีพิธีเข้ารับตำแหน่งของมุรซี ผู้ประท้วงหลายล้านคนทั่วประเทศออกมาตามท้องถนนและเรียกร้องให้ประธานาธิบดีลาออกทันที สาเหตุรวมถึงการกล่าวหาว่ามุรซีเป็นเผด็จการเพิ่มขึ้นและผลักดันวาระศาสนาอิสลามโดยไม่คำนึงถึงผู้คัดค้านฆราวาสนิยม (secular) การเดินขบวนประท้วง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไปโดยสงบ กลายเป็นรุนแรงเมื่อผู้ประท้วงต่อต้านมุรซีห้าคนถูกสังหารในการปะทะและเหตุยิงกันหลายครั้ง ขณะเดียวกัน ผู้สนับสนุนมุรซีจัดการชุมนุมในนครนาสซ์ (Nasr City) อันเป็นย่านของกรุงไคโร เช้าวันที่ 1 กรกฎาคม ผู้ประท้วงต่อต้านมุรซีปล้นสะดมสำนักงานใหญ่ประจำชาติของกลุ่มภารดรภาพมุสลิมในกรุงไคโร ผู้ประท้วงขว้างปาวัตถุใส่กระจกและปล้นอาคาร ทั้งขโมยอุปกรณ์สำนักงานและเอกสาร กระทรวงสาธารณสุขและประชากรยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตแปดคนในเหตุปะทะรอบสำนักงานใหญ่ วันที่ 3 กรกฎาคม มือปืนเปิดฉากยิงใส่การชุมนุมสนับสนุนมุรซี เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 16-18 คน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 200 คน ขณะเดียวกัน ระหว่างที่มีการประท้วงต่อต้านรัฐบาล ก็มีการประท้วงสนับสนุนมุรซีขนาดเล็กกว่าด้วย สถานการณ์บานปลายเป็นวิกฤตการณ์การเมืองและรัฐธรรมนูญระดับชาติ เมื่อมุรซีปฏิเสธข้อเรียกร้องของกองทัพที่ให้เขาสละอำนาจและกองทัพขู่ว่าจะยึดอำนาจหากนักการเมืองพลเรือนไม่ระงับสถานการณ์ มุรซีกล่าวสุนทรพจน์ท้าทายซึ่งเขาย้ำความชอบธรรมของเขาในฐานะที่เป็นประธานาธิบดีที่ได้รับเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยและวิจารณ์กองทัพที่ถือฝ่ายในวิกฤตการณ์นี้ วันที่ 3 กรกฎาคม กองทัพอียิปต์ประกาศยุติการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของมุรซี ระงับรัฐธรรมนูญ และให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีใหม่โดยเร็ว กองทัพแต่งตั้งให้อัดลี มันซูร์ ประธานศาลสูงสุด เป็นประธานาธิบดีชั่วคราว และมอบหมายให้เขาตั้งรัฐบาลเปลี่ยนผ่านที่นิยมนักวิชาการ (technocratic) มุรซีถูกกักบริเวณอยู่ในบ้านและผู้นำภราดรภาพมุสลิมถูกจับ แถลงการณ์ดังกล่าวตามมาด้วยการเดินขบวนและการปะทะระหว่างผู้สนับสนุนและผู้คัดค้านรัฐประหารทั่วประเทศอียิปต์ ฝ่ายแกรนด์ชีคแห่งอัลอัซฮัร (Grand Sheikh of Al Azhar) อะห์มัด มุฮัมมัด อัฏฏ็อยยิบ พระสันตะปาปาทาวาดรอสที่ 2 แห่งศาสนจักรคอปติก เช่นเดียวกับผู้นำฝ่ายค้าน โมฮัมเหม็ด เอลบาราเด ออกแถลงการณ์หลังแถลงการณ์ของกองทัพเช่นกัน ประชาคมนานาชาติมีปฏิกิริยาต่อเหตุการณ์ปะปนกัน โลกอาหรับส่วนใหญ่สนับสนุนหรือเป็นกลาง ยกเว้นประเทศตูนิเซียอันเป็นจุดเริ่มต้นของอาหรับสปริง รัฐอื่นไม่ประณามก็แสดงความกังวลต่อรัฐประหารดังกล่าว เนื่องจากระเบียบของสหภาพแอฟริกาว่าด้วยการขัดขวางการปกครองด้วยรัฐธรรมนูญโดยรัฐสมาชิก อียิปต์จึงถูกระงับสมาชิกภาพ นอกจากนี้ ยังมีการถกเถียงในสื่อว่าด้วยการอธิบายเหตุการณ์เหล่านี้ การประท้วงสนับสนุนมุรซีดำเนินต่อไปอย่างน้อยถึงวันที่ 21 กรกฎาคม.

7 ความสัมพันธ์: มุฮัมมัด มุรซีสหภาพแอฟริกาอะห์มัด มุฮัมมัด อัฏฏ็อยยิบอาหรับสปริงคตินิยมนักวิชาการไคโรเดอะการ์เดียน

มุฮัมมัด มุรซี

มุฮัมมัด มุรซี อีซา อัลอัยยาฏ (محمد مرسى عيسى العياط; Muhammad Morsi Isa al-Ayyat; 8 สิงหาคม ค.ศ. 1951 —) เป็นอดีตประธานาธิบดีของประเทศอียิปต์ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน..

ใหม่!!: รัฐประหารในประเทศอียิปต์ พ.ศ. 2556และมุฮัมมัด มุรซี · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพแอฟริกา

ตราสัญลักษณ์ของสหภาพแอฟริกา สหภาพแอฟริกา (African Union, ย่อ: AU; Union africaine, ย่อ: UA) เป็นองค์กรประกอบจาก 53 ประเทศในทวีปแอฟริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2544 ที่เดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้ โดยสหภาพแอฟริกานั้นก่อตั้งขึ้นโดยคาดหวังว่าจะมีการใช้ระบบสกุลเงินเดียวกันทั้งหมดเช่นเดียวกับสหภาพยุโรป นอกจากนี้ทางสหภาพยังต้องการพัฒนาระบบการปกครอง สิทธิมนุษยชน และเศรษฐกิจในทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: รัฐประหารในประเทศอียิปต์ พ.ศ. 2556และสหภาพแอฟริกา · ดูเพิ่มเติม »

อะห์มัด มุฮัมมัด อัฏฏ็อยยิบ

อะห์มัด มุฮัมมัด อัฏฏ็อยยิบ อะห์มัด มุฮัมมัด อัฏฏ็อยยิบ (أحمد محمد الطيب; Ahmed Mohamed el-Tayeb) เกิดเมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1946 ดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดแห่งมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร ประเทศอียิปต์ คนปัจจุบัน ซึ่งได้รับตำแหน่งจากการแต่งตั้งจากประธานาธิบดีฮุสนี มุบาร็อก เมื่อวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ. 2010 ภายหลังจากการเสียชีวิตของมุฮัมมัด ซัยยิด ฏ็อนฏอวี ผู้นำสูงสุดแห่งอัซฮัรคนก่อน ศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านหลักศรัทธาและปรัชญา จากมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร ปี..

ใหม่!!: รัฐประหารในประเทศอียิปต์ พ.ศ. 2556และอะห์มัด มุฮัมมัด อัฏฏ็อยยิบ · ดูเพิ่มเติม »

อาหรับสปริง

อาหรับสปริง (Arab Spring, الثورات العربية‎ al-Thawrāt al-ʻArabiyyah) เป็นคลื่นปฏิวัติการเดินขบวน การประท้วงและสงครามซึ่งเกิดขึ้นในโลกอาหรับตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2553 ตราบจนปัจจุบัน ผู้ปกครองถูกโค่นจากอำนาจในตูนิเซีย อียิปต์ ลิเบีย และเยเมน การก่อการกำเริบพลเมืองอุบัติขึ้นในบาห์เรน และซีเรีย การประท้วงใหญ่เกิดขึ้นในอัลจีเรีย อิรัก จอร์แดน คูเวต โมร็อกโก และซูดาน และการประท้วงเล็กเกิดในเลบานอน มอริเตเนีย โอมาน ซาอุดิอาระเบีย จิบูตี และเวสเทิร์นสะฮารา การประท้วงมีเทคนิคการดื้อแพ่งร่วมกันในการรณรงค์ต่อเนื่องซึ่งเกี่ยวข้องกับการนัดหยุดงาน การเดินขบวน การเดินแถว และการชุมนม เช่นเดียวกับการใช้โซเชียลมีเดียในการจัดระเบียบ สื่อสารและสร้างความตระหนักเมื่อเผชิญกับความพยายามของรัฐในการปราบปรามและตรวจพิจารณาอินเทอร์เน็ต การเดินขบวนอาหรับสปริงหลายประเทศเผชิญกับการตอบสนองรุนแรงจากทางการ เช่นเดียวกับทหารอาสาสมัครนิยมรัฐบาลและการเดินขบวนโต้ตอบ การโจมตีเหล่านี้ได้รับการสนองจากผู้ประท้วงด้วยความรุนแรงในบางกรณี.

ใหม่!!: รัฐประหารในประเทศอียิปต์ พ.ศ. 2556และอาหรับสปริง · ดูเพิ่มเติม »

คตินิยมนักวิชาการ

ตินิยมนักวิชาการ (technocracy) เป็นระบอบการปกครองซึ่งวิทยาศาสตร์จะมีอยู่ในการควบคุมการตัดสินใจทั้งหมด นักวิทยาศาสตร์ วิศวกรและนักเทคโนโลยีผู้มีความรู้ ความชำนาญหรือทักษะจะก่อตัวเป็นองค์การปกครอง แทนนักการเมือง นักธุรกิจและนักเศรษฐศาสตร์ ในคตินิยมนักวิชาการ ผู้ตัดสินใจจะถูกเลือกโดยดูจากความรู้และทักษะที่พวกเขามีในสาขาของตน คำว่า "คตินิยมนักวิชาการ" นี้ เดิมทีใช้เรียกการใช้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาสังคม ซึ่งต่างไปจากการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีทางเศรษฐกิจ การเมืองหรือปรัชญาแบบเก่า ตามผู้เสนอมโนทัศน์นี้ บทบาทของเงินและคุณค่าทางเศรษฐกิจ ความเห็นทางการเมืองและกลไลการควบคุมซึ่งยึดมั่นในศีลธรรมจะถูกตัดทิ้งไปทั้งหมด หากเมื่อรูปแบบการควบคุมทางสังคมนี้ได้ถูกนำไปใช้ในพื้นที่แห่งทวีป ซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติเพียงพอ บุคลากรซึ่งถูกฝึกทางเทคนิค และสินค้าอุตสาหกรรมที่ติดตั้งแล้ว เพื่อที่จะเปิดให้การผลิตและการแจกจ่ายสินค้าและบริการทางภายภาพแก่พลเมืองแห่งทวีปทั้งหมดในปริมาณที่เกินความสามารถทางกายของปัจเจกบุคคลจะบริโภคได้p.35 (p.44 of PDF), p.35 ในการจัดเตรียมเช่นนัน ความกังวลจะเป็นเรื่องความยั่งยืนภายในฐานทรัพยากร แทนที่จะเป็นการได้ประโยชน์ทางการเงิน เพื่อที่จะรับประกันให้หน้าที่ทางสังคม-อุตสาหกรรมทั้งหมดดำเนินต่อไปในอนาคตอย่างไม่มีที่สิ้นสุดp.35 (p.44 of PDF), p.35 ทักษะทางเทคนิคและความเป็นผู้นำจะถูกเลือกบนพื้นฐานของความรู้และสมรรถนะทางวิชาการ มากกว่าการเลือกตั้งแบบประชาธิปไตย โดยผู้ไม่มีความรู้หรือทักษะเช่นนั้นซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น บางคนใช้คำว่า คตินิยมนักวิชาการ หมายถึงรูปแบบหนึ่งของคุณธรรมนิยม (meritocracy) ซึ่งเป็นระบบที่ "ผู้มีคุณวุฒิสูงสุด" และผู้ซึ่งตัดสินความสมบูรณ์ของคุณสมบัตินั้นคือคน ๆ เดียวกัน การนำไปใช้อื่นได้ถูกอธิบายว่าไม่เป็นกลุ่มผู้ควบคุมที่เป็นมนุษย์แบบคณาธิปไตย (oligarchy) แต่เป็นเหมือนการบริหารจัดการโดยวิทยาศาสตร์เฉพาะสาขา อย่างเห็นได้ชัดโดยปราศจากอิทธิพลของกลุ่มผลประโยชน์พิเศษ ปัจจุบัน ความหมายของคำว่า คตินิยมนักวิชาการ ได้ขยายไปบ่งชี้การจัดการหรือการบริหารทุกประเภทโดยผู้เชี่ยวชาญทางวิชาการ ("นักวิชาการ") ในสาขาใด ๆ ไม่เพียงแต่วิทยาศาสตร์กายภาพเท่านั้น และมีการใช้อธิบายรัฐบาลที่รวมผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ได้ถูกเลือกตั้งขึ้นที่ระดับรัฐมนตรี.

ใหม่!!: รัฐประหารในประเทศอียิปต์ พ.ศ. 2556และคตินิยมนักวิชาการ · ดูเพิ่มเติม »

ไคโร

ร เมืองหลวงของประเทศอียิปต์ ไคโร (القاهرة; Cairo) เป็นเมืองหลวงของประเทศอียิปต์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไนล์ ไคโรมีประชากรประมาณ 15.2 ล้านคน ซึ่งเป็นเมืองที่ประชากรมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และเป็นหนึ่งในเมืองที่มีประชากรหนาแน่นแห่งหนึ่งในโลก ชื่อเมือง "ไคโร" ในภาษาอาหรับมีความหมายว่า "ชัยชนะ" โดยความเชื่อว่าเกิดจากที่มีการมองเห็นดาวอังคารในช่วงที่ก่อสร้างเมือง และดาวอังคารเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของการทำลายล้าง อย่างไรก็ตามในอีกความเชื่อหนึ่ง ชื่อไคโรมาจากที่เมืองไคโรเป็นเมืองที่รบชนะทุกกองทัพที่มาตีเมืองไคโร รวมไปถึงกองทัพมองโกล กองทัพครูเสด หรือแม้แต่กองทัพออตโตมัน.

ใหม่!!: รัฐประหารในประเทศอียิปต์ พ.ศ. 2556และไคโร · ดูเพิ่มเติม »

เดอะการ์เดียน

อะการ์เดียน (The Guardian) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันฝ่ายซ้ายกึ่งสายกลางแห่งชาติอังกฤษ ก่อตั้งใน..

ใหม่!!: รัฐประหารในประเทศอียิปต์ พ.ศ. 2556และเดอะการ์เดียน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »