โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ระบบธนาคารกลางสหรัฐ

ดัชนี ระบบธนาคารกลางสหรัฐ

ระบบธนาคารกลางสหรัฐ (Federal Reserve (System) หรือ Fed) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 1913 ด้วยการตรารัฐบัญญัติธนาคารกลาง หลังเกิดวิกฤตการเงินขึ้นหลายครั้ง (โดยเฉพาะวิกฤตการเงินปี 1907) นำให้มีความต้องการควบคุมกลางซึ่งระบบการเงินเพื่อบรรเทาวิกฤตการเงิน เหตุการณ์ในเวลาต่อมาอย่างภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในคริสต์ทศวรรษ 1930 และภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ในคริสต์ทศวรรษ 2000 นำสู่การขยายบทบาทและความรับผิดชอบของระบบธนาคารกลาง รัฐสภาสหรัฐตั้งวัตถุประสงค์สำคัญสามข้อสำหรับนโยบายการเงินในรัฐบัญญัติธนาคารกลาง ได้แก่ การเพิ่มการจ้างงานให้สูงสุด การรักษาเสถียรภาพราคา และการรักษาอัตราดอกเบี้ยระยะยาว วัตถุประสงค์สองข้อแรกบางทีเรียก อาณัติคู่ของธนาคารกลาง หน้าที่ของธนาคารฯ ขยายขึ้นตามเวลา และในปี 2009 ยังรวมถึงการควบคุมดูแลและการวางระเบียบธนาคาร การรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน และให้บริการทางการเงินแก่สถาบันรับฝาก รัฐบาลสหรัฐและสถาบันราชการของต่างประเทศ ระบบธนาคารกลางวิจัยเศรษฐกิจและให้สิ่งพิมพ์เผยแพร่ต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือเบจ (Beige Book) และฐานข้อมูลเฟรด ระบบธนาคารกลางประกอบด้วยหลายชั้น มีคณะกรรมการผู้ว่าการธนาคารหรือคณะกรรมการระบบธนาคารกลางซึ่งมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดีเป็นผู้บริหาร ธนาคารระบบธนาคารกลางภูมิภาคสิบสองแห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในนครต่าง ๆ ทั่วประเทศ ควบคุมดูแลธนาคารสมาชิกของสหรัฐที่เอกชนเป็นเจ้าของ กฎหมายกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตระดับชาติถือครองหลักทรัพย์ในธนาคารระบบธนาคารกลางในภูมิภาคของตน ซึ่งทำให้ธนาคารเหล่านั้นมีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกคณะกรรมการบางส่วนได้ คณะกรรมการตลาดเสรีกลาง (Federal Open Market Committee) กำหนดนโยบายการเงิน ประกอบด้วยสมาชิกคณะกรรมการผู้ว่าการทั้งเจ็ดคน และประธานธนาคารภูมิภาคสิบสองคน แม้ครั้งหนึ่ง ๆ ประธานธนาคารเพียงห้าคนเท่านั้นที่สามารถออกเสียงลงคะแนนได้ ได้แก่ ประธานระบบธนาคารกลางนิวยอร์กหนึ่งคนและประธานธนาคารอื่นอีกสี่คนหมุนเวียนกันโดยมีวาระละ 1 ปี นอกจากนี้ ยังมีสภาที่ปรึกษาต่าง ๆ ฉะนั้น ระบบธนาคารกลางสหรัฐจึงมีทั้งส่วนภาครัฐและเอกชน โครงสร้างดังกล่าวถือว่าเป็นเอกลักษณ์ต่างจากธนาคารกลางประเทศอื่น นอกจากนี้ ยังผิดปกติที่กระทรวงการคลังสหรัฐ ซึ่งเป็นหน่วยงานนอกธนาคารกลาง พิมพ์เงินตราที่หมุนเวียน แม้ระบบธนาคารกลางจะเป็นเครื่องมือหนึ่งของรัฐบาลสหรัฐ แต่ระบบธนาคารกลางถือตนว่าเป็น "ธนาคารกลางอิสระเพราะการตัดสินใจนโยบายการเงินไม่จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดีหรือบุคคลอื่นใดในอำนาจบริหารหรือสภานิติบัญญัติ ไม่ได้รับสนับสนุนเงินทุนจากรัฐสภา และวาระของสมาชิกคณะกรรมการผู้ว่าการกินเวลาหลายวาระของประธานาธิบดีและรัฐสภา" รัฐบาลกลางกำหนดเงินเดือนของผู้ว่าการทั้งเจ็ดคนของคณะกรรมการ รัฐบาลกลางได้รับกำไรประจำปีทั้งหมดของระบบ หักการจ่ายเงินปันผลตามกฎหมาย 6% แก่การลงทุนของธนาคารสมาชิก และคงบัญชีเกินดุลแล้ว ในปี 2015 ระบบธนาคารกลางฯ สร้างกำไร 100,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และโอน 97,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐแก่กระทรวงการคลัง.

8 ความสัมพันธ์: กระทรวงการคลังสหรัฐภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่รัฐสภาสหรัฐวิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907ประธานาธิบดีสหรัฐเงินตราเงินปันผล

กระทรวงการคลังสหรัฐ

กระทรวงการคลังสหรัฐ (OFR) เป็นหน่วยงานดูแลเกี่ยงกับการคลัง,การผลิตธนบัตร เป็นต้นของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ได้รับการจัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติของรัฐสภาในปีค.ศ. 1789 ในการจัดการภาครัฐรายได้ เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 วุฒิสภายืนยันสตีเวน มนูชินเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรั.

ใหม่!!: ระบบธนาคารกลางสหรัฐและกระทรวงการคลังสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่

วะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก..

ใหม่!!: ระบบธนาคารกลางสหรัฐและภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

วะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (Great Depression) เป็นเหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่เกิดในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ในปี..

ใหม่!!: ระบบธนาคารกลางสหรัฐและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐสภาสหรัฐ

รัฐสภาสหรัฐ (United States Congress) เป็นสภานิติบัญญัติสูงสุดในระบบการปกครองสหรัฐ ซึ่งเป็นระบบสภาคู่ ที่ประกอบด้วย วุฒิสภา (Senate) และ สภาผู้แทนราษฎร (House of Representatives) สมาชิกของทั้งสองสภาได้รับเลือกจากประชาชนโดยตรง สมาชิก 435 คนของสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนจากเขตการปกครอง (district) และมีหน้าที่สองปี ผู้แทนราษฎรได้รับเลือกตั้งมาจากเขตการปกครองตามจำนวนประชากรที่ระบุไว้ในเขตการเลือกตั้งสหรัฐซึ่งเปลื่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ฉะนั้นทุกสองปีหนึ่งในสามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องได้รับเลือกตั้งใหม่ ส่วนสมาชิกวุฒิสภา 100 คนของวุฒิสภารับหน้าที่ครั้งละหกปี แต่ละมลรัฐมีสิทธิในการเลือกสมาชิกวุฒิสภาสองคนไม่ว่าจะเป็นรัฐมีประชากรมากหรือน้อยเท่าใด รัฐธรรมนูญสหรัฐให้อำนาจในการออกกฎหมายแก่รัฐสภาทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจเท่ากันในกระบวนการออกกฎหมาย กฎหมายทุกฉบับที่นำมาปฏิบัติได้ต้องได้รับการอนุมัติจากทั้งสองสภา แต่รัฐธรรมนูญให้อำนาจพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์บางอย่างแก่ทั้งสองสภา เช่นวุฒิสภามีอำนาจในการอนุมัติสนธิสัญญา และ การแต่งตั้งตำแหน่งของหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลที่เสนอโดยประธานาธิบดี แต่กฎหมายเกี่ยวกับการหารายได้เพิ่มเป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรที่จะเสนอ นอกจากนั้นสภาผู้แทนราษฎรก็ยังมีอำนาจฟ้องขับเจ้าหน้าที่ชั้นสูงออกจากตำแหน่ง (impeachment) ขณะที่วุฒิสภามีอำนาจในการพิจารณาฟ้องดังกล่าว ปัจจุบันเป็นสมัยประชุมที่ 115 เริ่มเมื่อวันที่ 3 มกราคม..

ใหม่!!: ระบบธนาคารกลางสหรัฐและรัฐสภาสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

วิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907

วอลล์สตรีตระหว่างความตื่นตระหนกในเดือนตุลาคม 1907 วิกฤตการเงินปี 1907 (Panic of 1907) หรือวิกฤตนิกเกอร์บอกเกอร์ เป็นวิกฤตการณ์ทางการเงินในสหรัฐที่เกิดขึ้นในช่วงสามสัปดาห์เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม เมื่อตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กลดลงเกือบ 50% ของมูลค่าสูงสุดในปีก่อนหน้า เกิดความตื่นตระหนกเนื่องจากขณะนั้นอยู่ในช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย และมีการแห่ถอนเงินจากธนาคารและบริษัททรัสต์ต่าง ๆ สุดท้ายวิกฤตการเงินปี 1907 ลามไปทั่วประเทศเมื่อธนาคารและธุรกิจระดับรัฐและท้องถิ่นจำนวนมากล้มละลาย สาเหตุหลักของการแห่ถอนเงิน ได้แก่ ธนาคารในนครนิวยอร์กจำนวนหนึ่งลดสภาพคล่องของตลาดและผู้ฝากเสียความเชื่อมั่น ซึ่งแย่ลงเมื่อมีการพนันโดยไม่มีการวางระเบียบในตลาดมืดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย วิกฤตครั้งนี้มีชนวนจากเหตุที่บริษัทยูไนเต็ดคอปเปอร์พยายามควบคุมราคาหุ้นในเดือนตุลาคม 1907 แต่ล้มเหลว เมื่อความพยายามล้มเหลว ธนาคารซึ่งให้ยืมเงินเพื่อดำเนินแผนควบคุมราคานี้ก็ถูกผู้ฝากแห่ถอนเงินออกเป็นจำนวนมาก ที่ภายหลังแพร่ไปธนาคารและบริษัททรัสต์ในเครือเช่นกัน จนทำให้ในสัปดาห์ต่อมานิกเกอร์บอกเกอร์ทรัสต์ ซึ่งเป็นบริษัททรัสต์ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของนครนิวยอร์กล้ม การล่มสลายของนิกเกอร์บอกเกอร์ทำให้ความหวาดกลัวกระจายไปทั่วบริษัททรัสต์ในนครเพราะธนาคารภูมิภาคต่าง ๆ พากันถอนเงินสดสำรองออกจากธนาคารในนครนิวยอร์ก ความตื่นตระหนกกระจายต่อไปทั่วประเทศเมื่อคนจำนวนมากพากันถอนเงินฝากออกจากธนาคารภูมิภาคของตนด้วย ความตระหนกดังกล่าวอาจทวีความรุนแรงกว่านี้ถ้าไม่ได้นักการเงิน เจ. พี. มอร์แกน เข้าแทรกแซง เขาใช้เงินส่วนตัวจำนวนมากเข้าอุ้มระบบธนาคาร และเกลี้ยกล่อมให้นายธนาคารอื่น ๆ ในนครนิวยอร์กให้ทำเช่นเดียวกัน เหตุการณ์นี้เน้นความสำคัญของระบบการคลังอิสระของประเทศซึ่งจัดการปริมาณเงินของประเทศ แต่ไม่สามารถอัดฉีดสภาพคล่องกลับเข้าตลาดได้ ในเดือนพฤศจิกายน โรคระบาดทางการเงินส่วนใหญ่สงบลงแล้ว แต่ยังเกิดวิกฤตขนาดกว่าขึ้น สืบเนื่องจากบริษัทนายหน้าขนาดใหญ่ที่ใช้หุ้นของบริษัทเทนเนสซีโคล, ไอออนแอนด์เรลโรด (TC&I) เป็นหลักทรัพย์ประกัน การล้มของราคาหุ้นของ TC&I ถูกปัดป้องเมื่อบริษัทยูเอสสตีลของมอร์แกนเข้าซื้อกิจการฉุกเฉิน ซึ่งประธานาธิบดีทีโอดอร์ รูสเวลต์ผู้ต่อต้านการผูกขาดยอมรับ ปีต่อมา เนลสัน ดับเบิลยู. อัลดริช สมาชิกวุฒิสภา ก่อตั้งและเป็นประธานคณะกรรมการสอบสวนวิกฤตและยื่นเสนอวิธีแก้ปัญหาในอนาคต ซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งระบบธนาคารกลางสหรั.

ใหม่!!: ระบบธนาคารกลางสหรัฐและวิกฤตการเงิน ค.ศ. 1907 · ดูเพิ่มเติม »

ประธานาธิบดีสหรัฐ

ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา (President of the United States; ย่อ: POTUS) เป็นประมุขแห่งรัฐและหัวหน้ารัฐบาลแห่งสหรัฐ เป็นผู้นำสูงสุดของฝ่ายบริหาร และเป็นจอมทัพสหรัฐ รัฐธรรมนูญ มาตรา 2 บัญญัติว่า ประธานาธิบดีมีอำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายส่วนกลาง รับผิดชอบแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายบริหาร ข้าราชการทูต ข้าราชการประจำ และข้าราชการตุลาการในส่วนกลาง ทั้งมีอำนาจทำสนธิสัญญาเมื่อได้รับคำแนะนำและยินยอมของวุฒิสภา นอกจากนี้ ประธานาธิบดีมีอำนาจอภัยโทษ ลดโทษ เปลี่ยนโทษ เรียกและเลื่อนประชุมสมัยวิสามัญแห่งสภาทั้งสองของรัฐสภา นับแต่สถาปนาประเทศเป็นต้นมา ประธานาธิบดีและรัฐบาลกลางมีอำนาจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และแม้ปัจจุบันไม่มีอำนาจนิติบัญญัติอย่างเป็นทางการนอกเหนือไปจากการลงนามและยับยั้งร่างกฎหมายที่รัฐสภาอนุมัติ แต่ประธานาธิบดีก็แบกรับความรับผิดชอบขนานใหญ่ในการกำหนดวาระประชุมพรรค รวมถึงกำหนดนโยบายการต่างประเทศและการในประเทศด้วย ประธานาธิบดีสหรัฐนั้นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านทางคณะผู้เลือกตั้ง (electoral college) มีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 ปีและสามารถอยู่ในดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระซึ่งบัญญัติไว้ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 22 ที่ได้รับการอนุมัติในปี..

ใหม่!!: ระบบธนาคารกลางสหรัฐและประธานาธิบดีสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

เงินตรา

งิน หมายถึง วัตถุหรือเอกสารใด ๆ ที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปในการแลกเปลี่ยนกับสินค้าและบริการและใช้ชำระหนี้ในประเทศหรือในบริบทสังคมเศรษฐกิจหนึ่งๆตามตัวบทกฎหมาย หน้าที่หลักของเงินจำแนกได้ว่า (1) เป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน (2) เป็นหน่วยวัดมูลค่า (3) เป็นเครื่องเก็บรักษามูลค่า และ (4) บางครั้งในอดีต เป็นมาตรฐานการชำระหนี้ภายหน้าT.H. Greco.

ใหม่!!: ระบบธนาคารกลางสหรัฐและเงินตรา · ดูเพิ่มเติม »

เงินปันผล

งินปันผล (dividend) เป็นค่าตอบแทนที่บริษัทจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งมักเป็นการกระจายกำไร เมื่อบริษัทได้กำไรหรือส่วนเกิน บริษัทสามารถนำไปลงทุนในธุรกิจต่อ (เรียก กำไรสะสม) หรือสามารถจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นก็ได้ บริษัทอาจสงวนกำไรหรือส่วนเกินส่วนหนึ่ง และจ่ายส่วนที่เหลือเป็นเงินปันผล การจ่ายแก่ผู้ถือหุ้นอาจเป็นรูปเงินสด (มักเป็นการฝากเข้าบัญชีธนาคาร) หรือ หากบริษัทมีแผนนำเงินปันผลไปลงทุนต่อ ปริมาณค่าตอบแทนอาจจ่ายเป็นรูปหุ้นเพิ่มหรือการซื้อหุ้นคืนได้Michael Simkovic,, 6 Berkeley Bus.

ใหม่!!: ระบบธนาคารกลางสหรัฐและเงินปันผล · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Federal ReserveFederal Reserve Systemธนาคารกลางสหรัฐ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »