โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

รถไฟฟ้าปารีส

ดัชนี รถไฟฟ้าปารีส

รถไฟฟ้าปารีส (Métro de Paris) เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองก็ว่าได้ เห็นได้ชัดจากอิทธิพลของนวศิลป์ (Art Nouveau) มีเส้นทางทั้งหมด 16 สาย ส่วนมากมักจะอยู่ใต้ดินและมีความยาวทั้งสิ้น 213 กิโลเมตร (133 ไมล์) และมีสถานี 298 แห่ง รถไฟฟ้าสายแรกเปิดโดยไม่มีพิธีรีตองในปี พ.ศ. 2443 ระหว่างงานนิทรรศการนานาชาติ (Exposition Universelle 1900) หลังจากนั้นระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วจนกระทั่งเสร็จในช่วงปี พ.ศ. 2463 ส่วนการขยายออกไปยังชานเมืองได้บรรลุในช่วง 10 กว่าปีต่อมา ระบบรถไฟฟ้าปารีสได้ถึงจุดอิ่มตัวในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งระบบรถไฟฟ้าก็ได้นำขบวนรถไฟฟ้าใหม่เข้ามาให้บริการเนื่องจากการจราจรอันคับคั่ง ซึ่งการต่อเติมนั้นเป็นไปได้ยากและมีขีดจำกัดจึงได้เกิดรถไฟฟ้าแอร์เออแอร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา กรุงปารีสเป็นเมืองที่มีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่หนาแน่นที่สุดในโลก ด้วยสถานีกว่า 245 แห่งภายในเนื้อที่กรุงปารีส 41 ตารางกิโลเมตร (16 ตารางไมล์) แต่ละสายจะมีชื่อเป็นหมายเลขตั้งแต่ 1 ถึง 14 และมีสายรองอีกสองสายคือ สาย 3 (2) และสาย 7 (2) สายรองทั้งสองเคยเป็นส่วนหนึ่งของสาย 3 และ 7 แต่แยกตัวออกมาภายหลังในปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2510 ตามลำดับ รถไฟฟ้าปารีสมีสถานีทั้งหมด 298 แห่ง (382 ป้าย) โดยเชื่อมต่อกับสายอื่น 62 ป้าย มีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการประมาณ 4.5 ล้านคนต่อวัน (1,409 ล้านคนต่อปี) ถือเป็นลำดับที่ 4 ของโลก ตามหลังมอสโก โตเกียว และเม็กซิโกซิตี และอยู่ในลำดับที่ 7 ของโลกเมื่อเปรียบเทียบระยะทางการเดินรถไฟฟ้า รองจากนิวยอร์ก โซล โตเกียว มอสโก มาดริด (แต่ถ้ารวมกับแอร์เออแอร์แล้วจะอยู่ในอันดับที่ 1) ส่วนจำนวนสถานีนั้นอยู่ที่ลำดับ 3 ของโลก รองลงมาจากนิวยอร์ก (468 สถานี) และโซล ทั้งนี้สถานีชาเตอแล-เลอาลยังเป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย แต่ละสายจะมีเลขและสีในการบ่งบอก ส่วนทิศทางในการเดินทางเห็นได้จากสถานีปลายทางของแต่ล.

58 ความสัมพันธ์: ช็องเซลีเซฟุตพ.ศ. 2443พ.ศ. 2463พ.ศ. 2503พ.ศ. 2510พ.ศ. 2514พ.ศ. 2550พ.ศ. 2551พ.ศ. 2552พ.ศ. 2553กิโลเมตรกิโลเมตรต่อชั่วโมงภาษาอังกฤษภาษาเยอรมันมอสโกมาดริดระบบขนส่งมวลชนเร็วรถไฟฟ้าปารีส สาย 1รถไฟฟ้าปารีส สาย 10รถไฟฟ้าปารีส สาย 11รถไฟฟ้าปารีส สาย 12รถไฟฟ้าปารีส สาย 13รถไฟฟ้าปารีส สาย 14รถไฟฟ้าปารีส สาย 2รถไฟฟ้าปารีส สาย 3รถไฟฟ้าปารีส สาย 3 (2)รถไฟฟ้าปารีส สาย 4รถไฟฟ้าปารีส สาย 5รถไฟฟ้าปารีส สาย 6รถไฟฟ้าปารีส สาย 7รถไฟฟ้าปารีส สาย 7 (2)รถไฟฟ้าปารีส สาย 8รถไฟฟ้าปารีส สาย 9วันศุกร์วันสิ้นปีวันเสาร์สงครามโลกครั้งที่สองสแตนดาร์ดเกจตารางกิโลเมตรประเทศฝรั่งเศสปารีสนวศิลป์นิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)แอร์เออแอร์โลกโตเกียวโซลไมล์ไม้กวาด...เมตรเม็กซิโกซิตีเอ็มพี 05เอ็มพี 59เอ็มพี 73เอ็มพี 8919 กรกฎาคม7 ธันวาคม ขยายดัชนี (8 มากกว่า) »

ช็องเซลีเซ

็องเซลีเซ มุมมองจากปลัสเดอลากงกอร์ด ไปทางทิศตะวันตกไปยังประตูชัย อาฟว์นูว์เดช็องเซลีเซ (Avenue des Champs-Élysées) เป็นถนนในเขตที่ 8 ของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นย่านการค้าที่ประกอบด้วยโรงละคร ร้านกาแฟ และร้านค้าหรูหรา สองข้างทางมีต้นเกาลัดที่ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงามปลูกเรียงราย ชื่อ "ช็องเซลีเซ" มาจากคำว่า "ทุ่งเอลิเซียม" จากเทพปกรณัมกรีกในภาษาฝรั่งเศส ช็องเซลีเซได้รับการขนานนามว่าเป็นถนนที่สวยที่สุดในโลก (La plus belle avenue du monde) โดยมีอัตราค่าเช่าสูงถึง 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี สำหรับพื้นที่ 1000 ตารางฟุต (93 ตารางเมตร) สูงที่สุดในยุโรป Elaine Sciolino, "", New York Times, 21 January 2007.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและช็องเซลีเซ · ดูเพิ่มเติม »

ฟุต

ฟุต (foot; พหูพจน์: feet; ย่อว่า ft หรือ ′ (ไพรม์)) เป็นหน่วยวัดความยาวในระบบอังกฤษ นิยามโดยให้มีขนาดเท่ากับ 0.3048 เมตรพอดี และแบ่งเป็นหน่วยย่อย 12 นิ้ว.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและฟุต · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2443

ทธศักราช 2443 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1900 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและพ.ศ. 2443 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2463

ทธศักราช 2463 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1920 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและพ.ศ. 2463 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2503

ทธศักราช 2503 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1960 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและพ.ศ. 2503 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2510

ทธศักราช 2510 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1967 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและพ.ศ. 2510 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2514

ทธศักราช 2514 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1971 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและพ.ศ. 2514 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2550

ทธศักราช 2550 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2007 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและพ.ศ. 2550 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2551

ทธศักราช 2551 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2008 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและพ.ศ. 2551 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2553

ทธศักราช 2553 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2010 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีแรกในคริสต์ทศวรรษที่ 2010.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและพ.ศ. 2553 · ดูเพิ่มเติม »

กิโลเมตร

กิโลเมตร อักษรย่อ กม. (mètre, km) เป็นหน่วยวัดความยาว มีขนาดเท่ากับ 1 × 103 เมตร.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

กิโลเมตรต่อชั่วโมง

กิโลเมตรต่อชั่วโมง (Kilometre per hour) เป็นหน่วยวัดอัตราเร็ว (ปริมาณสเกลาร์) และความเร็ว (ปริมาณเวกเตอร์) ตามคำจำกัดความ วัตถุหนึ่งเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 5 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แปลว่าในเวลา 1 ชั่วโมง วัตถุนั้นจะเคลื่อนที่ได้ระยะทาง 5 กิโลเมตร อักษรย่อสำหรับกิโลเมตรต่อชั่วโมงคือ กม./ชม. หรือ กม.·ชม.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและกิโลเมตรต่อชั่วโมง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาเยอรมัน

ษาเยอรมัน (German; Deutsch) เป็นภาษากลุ่มเจอร์แมนิกด้านตะวันตก และเป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุดในสหภาพยุโรป ส่วนใหญ่พูดในประเทศเยอรมนี ออสเตรีย ลิกเตนสไตน์ ส่วนมากของสวิตเซอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก แคว้นปกครองตนเองเตรนตีโน-อัลโตอาดีเจในอิตาลี แคว้นทางตะวันออกของเบลเยียม บางส่วนของโรมาเนีย แคว้นอาลซัสและบางส่วนของแคว้นลอแรนในฝรั่งเศส นอกจากนี้ อาณานิคมเดิมของประเทศเหล่านี้ เช่น นามิเบีย มีประชากรที่พูดภาษาเยอรมันได้พอประมาณ และยังมีชนกลุ่มน้อยที่พูดภาษาเยอรมันในหลายประเทศทางยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย ฮังการี และสโลวีเนีย รวมถึงอเมริกาเหนือ (โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา) รวมถึงบางประเทศในละตินอเมริกา เช่น อาร์เจนตินา และในบราซิล โดยเฉพาะในรัฐ รีโอกรันดีโดซูล ซันตากาตารีนา ปารานา และเอสปีรีตูซันตู ชาวอามิช รวมถึงชาวเมนโนไนต์บางคนก็เป็นภาษาเยอรมันอย่างหนึ่ง ประมาณ 120 ล้านคน คือ 1/4 ของชาวยุโรปทั้งหมด พูดภาษาเยอรมัน ภาษาเยอรมันเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนทั่วโลกมาเป็นอันดับ 3 และเป็นภาษาต่างประเทศที่สอนมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในยุโรป (เป็นรองภาษาอังกฤษ) สหรัฐอเมริกา และเอเชียตะวันออก (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรป ผู้รู้ภาษาเยอรมันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและภาษาเยอรมัน · ดูเพิ่มเติม »

มอสโก

มอสโก (Moscow; Москва́, มะสฺกฺวา) เป็นเมืองหลวงของประเทศรัสเซีย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน การศึกษา และ การเดินทางของประเทศ โดยตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำมัสกวา ซึ่งในตัวเมืองมีประชากรอยู่อาศัยกว่า 1 ใน 10 ของประเทศ ทำให้เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในยุโรป และเมื่อสมัยครั้งที่สหภาพโซเวียตยังไม่ล่มสลาย กรุงมอสโกก็ยังเป็นเมืองหลวงของสหภาพโซเวียตอีกด้วย ในปี..

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและมอสโก · ดูเพิ่มเติม »

มาดริด

มาดริด (Madrid) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศสเปน มีประชากรอาศัยในตัวเมืองประมาณ 3.2 ล้านคน(ตัวเลขเมื่อปี 2005) และประชากรในเขตเมืองทั้งหมดประมาณ 6 ล้านคน (ตัวเลขเมื่อปี 2006) มาดริดยังเป็นเมืองหลวงของจังหวัดมาดริดด้ว.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและมาดริด · ดูเพิ่มเติม »

ระบบขนส่งมวลชนเร็ว

รถไฟฟ้าใต้ดินในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ระบบขนส่งมวลชนเร็ว (rapid transit) หรือที่มักเรียกว่า รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน (subway, underground) รถไฟในเมือง (metro) รถไฟรางหนัก (heavy rail) มักจะมีในเมืองใหญ่ที่สำคัญทั่วโลก รถไฟฟ้าใต้ดินที่เก่าแก่ที่สุดในโลกอยู่ที่กรุงลอนดอน เปิดใช้เมื่อ พ.ศ. 2406 ปัจจุบันมีเมืองทั้งหมด 162 เมืองที่มีรถไฟฟ้าใต้ดิน.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและระบบขนส่งมวลชนเร็ว · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าปารีส สาย 1

รถไฟฟ้าปารีส สาย 1 (ligne 1 du métro de Paris) เป็นรถไฟฟ้าสายแรกของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เปิดให้บริการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2443 ซึ่งปัจจุบันเชื่อมต่อสถานีลา ดฟ็องส์เข้ากับสถานีชาโตเดอแว็งแซน โดยมีความยาวทั้งสิ้น 16.5 กิโลเมตร สาย 1 เป็นสายที่เชื่อมต่อระหว่างตะวันตกกับตะวันออก โดยตัดผ่านจุดสำคัญของกรุงปารีส ถ้าไม่รวมรถไฟฟ้าแอร์เออแอร์แล้ว สาย 1 เป็นสายรถไฟฟ้าที่มีผู้ใช้มากที่สุดถึง 165,921,408 คนในปี พ.ศ. 2547 และ 561,000 คนต่อวันโดยเฉลี.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและรถไฟฟ้าปารีส สาย 1 · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าปารีส สาย 10

รถไฟฟ้าปารีส สาย 10 (ligne 10 du métro de Paris) เป็นหนึ่งใน 16 เส้นทางของรถไฟฟ้าปารีส โดยมีสถานีปลายทางคือสถานีบูลอญกับสถานีโอสแตร์ลิตซ์ ระยะทางรวม 23 สถานี โดยเป็นเส้นทางที่มีผู้โดยสารน้อยที่สุด เพียง 40,411,341 เที่ยวคนต่อปี.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและรถไฟฟ้าปารีส สาย 10 · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าปารีส สาย 11

รถไฟฟ้าปารีส สาย 11 (ligne 11 du métro de Paris) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้าปารีส วิ่งจากสถานีชาเตอแลไปยังสถานีแมรีเดลีลา เป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดและมีจำนวนผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 13 ในร.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและรถไฟฟ้าปารีส สาย 11 · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าปารีส สาย 12

รถไฟฟ้าปารีส สาย 12 (ligne 12 du métro de Paris) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงปารีส มีจำนวนผู้โดยสาร 72 ล้านคนต่อปี ซึ่งเป็นอันดับที่ 12 ในระบบ สถานีที่สำคัญได้แก่ มาดแลน (Madeleine), เขต 6 ของกรุงปารีส, ปอร์ตเดอแวร์ซาย (Porte de Versailles) โดยให้บริการขบวนแรกเวลา 05.30 นาฬิกา และขบวนสุดท้ายเวลา 12.39 นาฬิกา ใช้ล้อขับเคลื่อนเอ็มเอฟ 67 เวลาในการเดินทางตลอดสาย 36 นาที.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและรถไฟฟ้าปารีส สาย 12 · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าปารีส สาย 13

รถไฟฟ้าปารีส สาย 13 (ligne 13 du métro de Paris) เป็นเส้นทางของรถไฟฟ้าปารีส วิ่งจากสถานีแซ็ง-เดอนี/สถานีอาเนียร์ - เฌินวีลีเย ไปยังสถานีชาตียง - มงรูฌ ระยะทางรวม ผู้โดยสาร 610,050 คนต่อวัน และ 114,821,166 คนต่อปี.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและรถไฟฟ้าปารีส สาย 13 · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าปารีส สาย 14

รถไฟฟ้าปารีส สาย 14 (ligne 14 du métro de Paris) วิ่งจากสถานีแซ็ง-ลาซาร์ไปยังสถานีออแล็งปียาด ระยะทาง 9.2 กิโลเมตร 9 สถานี เป็นเส้นทางเดียวที่ใช้ระบบรถไฟฟ้าอัตโนมัติ และเป็นเส้นทางแรกในระบบที่ติดตั้งประตูกั้นชานชาลาของแต่ละสถานี.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและรถไฟฟ้าปารีส สาย 14 · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าปารีส สาย 2

รถไฟฟ้าปารีส สาย 2 (ligne 2 du métro de Paris) เป็นหนึ่งใน 16 เส้นทางของรถไฟฟ้าปารีส ตั้งอยู่บริเวณกำแพงเมืองเก่าปารีส (boulevards extérieurs) แนวเส้นทางเกือบจะเป็นครึ่งวงกลม เป็นเส้นทางที่สองที่เปิดให้บริการ โดยเปิดให้บริการส่วนแรกในปี พ.ศ. 2443 เปิดใช้งานส่วนต่อขยาย พ.ศ. 2446 วิ่งระหว่างสถานีปอร์ตโดฟีนกับสถานีนาซียง มีระยะทาง มีผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 7 ของระบบ ผู้โดยสารต่อปี 92.1 คน 2004 (2547) โดยมี เป็นทางยกระดั.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและรถไฟฟ้าปารีส สาย 2 · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าปารีส สาย 3

รถไฟฟ้าปารีส สาย 3 (ligne 3 du métro de Paris) เป็นหนึ่งใน 16 เส้นทางของรถไฟฟ้าปารีส วิ่งจากสถานีปงเดอเลอวาลัวไปยังสถานีกาลีเยนี เปิดให้บริการในปี..

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและรถไฟฟ้าปารีส สาย 3 · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าปารีส สาย 3 (2)

รถไฟฟ้าปารีส สาย 3 (2) (ligne 3 bis du métro de Paris) เชื่อมต่อระหว่างสถานีก็องแบตาและสถานีปอร์ตเดลีลา ระยะทางรวม 4 สถานี และเป็นสายที่สั้นและมีผู้โดยสารมาใช้บริการน้อยที่สุด เพียง 1.5 ล้านคนต่อปี ปัจจุบันใช้ล้อขับเคลื่อน เอ็มเอฟ 67.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและรถไฟฟ้าปารีส สาย 3 (2) · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าปารีส สาย 4

รถไฟฟ้าปารีส สาย 4 (ligne 4 du métro de Paris) เป็นหนึ่งใน 16 เส้นทางของรถไฟฟ้าปารีส วิ่งจากสถานีปอร์ตเดอกลีญ็องกูร์ ไปยังสถานีแมรีเดอมงรูฌ เป็นสายแรกที่เชื่อมต่อระหว่างฝั่งตะวันออกกับตะวันตกของแม่น้ำแซน มีระยะทางรวม โดยมีการเชื่อมต่อกับทุกเส้นทาง ยกเว้นสาย 3 (2) และสาย 7 (2) ทำให้เป็นเส้นทางที่มีผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 2 รองจากสาย 1 จำนวนผู้โดยสาร 154 ล้านคนต่อปี.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและรถไฟฟ้าปารีส สาย 4 · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าปารีส สาย 5

รถไฟฟ้าปารีส สาย 5 (ligne 5 du métro de Paris) เป็นเส้นทางของรถไฟฟ้าปารีส มีผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 10 ของเส้นทาง โดยล้อขับเคลื่อนของเส้นทางในปัจจุบันคือ เอ็มเอฟ 67 และเอ็มเอฟ 2000.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและรถไฟฟ้าปารีส สาย 5 · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าปารีส สาย 6

รถไฟฟ้าปารีส สาย 6 (ligne 6 du métro de Paris) เป็นหนึ่งใน 16 เส้นทางของระบบรถไฟฟ้าปารีส วิ่งจากสถานีชาร์ล เดอ โกล - เอตวล ไปยังสถานีนาซียง โดยมีแนวเส้นทางตามกำแพงเมือง ระยะทางรวม เป็นเส้นทางเหนือพื้นดิน มีผู้โดยสารกว่า 100 ล้านคนต่อปี.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและรถไฟฟ้าปารีส สาย 6 · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าปารีส สาย 7

รถไฟฟ้าปารีส สาย 7 (ligne 7 du métro de Paris) เป็นหนึ่งใน 16 เส้นทางของรถไฟฟ้าปารีส วิ่งจากสถานีลากูร์เนิฟว์ไปยังสถานีวีลฌุอิฟและสถานีแมรีดีวรี เริ่มดำเนินการในปี ค.ศ. 1910 โดยมีอีกหนึ่งเส้นทางย่อย คือ สาย 7 (2) จำนวนผู้โดยสารทั้งหมด 120.7 ล้านคนต่อปี.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและรถไฟฟ้าปารีส สาย 7 · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าปารีส สาย 7 (2)

รถไฟฟ้าปารีส สาย 7 (2) (ligne 7 bis du métro de Paris) เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่สั้นที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในระบบรถไฟฟ้าปารีส กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยให้บริการในเขตที่ 19 และ 20 ทางตอนเหนือของกรุง.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและรถไฟฟ้าปารีส สาย 7 (2) · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าปารีส สาย 8

รถไฟฟ้าปารีส สาย 8 (ligne 8 du métro de Paris) เป็นหนึ่งใน 16 เส้นทางรถไฟฟ้าปารีส วิ่งระหว่างสถานีบาลาร์กับสถานีปวงต์ดูว์ลัก เปิดให้บริการครั้งแรกในปี ค.ศ. 1913 ระยะทางรวม 23.4 กิโลเมตร จำนวน 38 สถานี โดยเป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่ข้ามแม่น้ำแซน.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและรถไฟฟ้าปารีส สาย 8 · ดูเพิ่มเติม »

รถไฟฟ้าปารีส สาย 9

รถไฟฟ้าปารีส สาย 9 (ligne 9 du métro de Paris) เป็นเส้นทางของรถไฟฟ้าปารีส วิ่งระหว่างสถานีปงเดอแซฟวร์กับสถานีแมรีเดอมงเทรย มีผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 4 ของระบบ โดยเชื่อมต่อกับทุกเส้นทาง ยกเว้นสาย 10, สาย 3 (2) และสาย 7 (2).

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและรถไฟฟ้าปารีส สาย 9 · ดูเพิ่มเติม »

วันศุกร์

วันศุกร์ เป็นวันลำดับที่ 6 ในสัปดาห์ อยู่ระหว่างวันพฤหัสบดีกับวันเสาร์ แต่ตามมาตรฐาน ISO 8601 กำหนดให้เป็นวันที่ 5 ของสัปดาห์ วันศุกร์เป็นวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมจะไปชุมนุมที่มัสยิดเพื่อนมาซวันศุกร์เวลาเที่ยงพร้อมกัน.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและวันศุกร์ · ดูเพิ่มเติม »

วันสิ้นปี

ซิดนีย์เป็นเมืองใหญ่ioเมืองแรกที่ฉลองการเข้าสู่วันขึ้นปีใหม่อย่างยิ่งใหญ่ วันสิ้นปี คือ วันสุดท้ายของปีซึ่งตรงกับวันที่ 31 ธันวาคม ตามปฏิทินเกรกอเรียน ทางการกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ คืนวันนี้จะมีการจัดงานนับถอยหลังเพื่อเข้าสู่วันปีใหม่ในเวลาเที่ยงคืนตามเมืองใหญ่ทั่วโลกซึ่งเกิดขึ้นไม่พร้อมกัน โดยมักมีการจุดพลุเฉลิมฉลอง.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและวันสิ้นปี · ดูเพิ่มเติม »

วันเสาร์

วันเสาร์ เป็นวันลำดับที่ 7 ในสัปดาห์ อยู่ระหว่างวันศุกร์กับวันอาทิตย์ แต่ตามมาตรฐาน ISO 8601 กำหนดให้เป็นวันที่ 6 ของสัปดาห.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและวันเสาร์ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สแตนดาร์ดเกจ

แตนดาร์ดเกจ หรือ รางขนาดมาตรฐานยุโรป (European standard gauge)เป็นขนาดความกว้างรางรถไฟที่มีการใช้กันมากที่สุด โดยคิดเป็นประมาณ 60% ของรางรถไฟทั่วโลก ระยะห่างภายในของรางรถไฟมีขนาด 1.435 เมตร (4 ฟุต 8 1/2 นิ้ว) สแตนดาร์ดเกจยังมีชื่อเรียกว่า สตีเฟนซันเกจ ตั้งชื่อตาม จอร์จ สตีเฟนซัน ความกว้าง 1.435 นี้เป็นระยะห่างของล้อรถม้าและเกวียนในสมัยโรมันโบราณ ซึ่งเป็นระยะที่กว้างพอที่จะทำให้ม้า 2 ตัวแบบเรียงหน้ากระดาน สามารถลากจูงรถได้โดยที่ลำตัวไม่เบียดกันเวลาม้าวิ่ง.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและสแตนดาร์ดเกจ · ดูเพิ่มเติม »

ตารางกิโลเมตร

ตารางกิโลเมตร คือหน่วยของพื้นที่ มักย่อว่า ตร.กม.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและตารางกิโลเมตร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

นวศิลป์

นวศิลป์ หรือ อาร์นูโว ("ศิลปะใหม่") รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งว่า ยูเกินท์ชตีล ("แบบอย่างของวารสารศิลปะที่มีชื่อว่ายูเกินท์") เป็นลักษณะศิลปะ สถาปัตยกรรม และศิลปะประยุกต์ ซึ่งได้รับความนิยมสูงสุดในช่วง..

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและนวศิลป์ · ดูเพิ่มเติม »

นิวยอร์ก (แก้ความกำกวม)

นิวยอร์ก อาจหมายถึง.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและนิวยอร์ก (แก้ความกำกวม) · ดูเพิ่มเติม »

แอร์เออแอร์

แอร์เออแอร์ (RER, ย่อมาจาก Réseau Express Régional, "Regional Express Network") เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าในกรุงปารีสและปริมณฑล โดยในปัจจุบันมีจำนวน 5 เส้นทาง สร้างขึ้นเพื่อรองรับส่วนต่อขยายของรถไฟฟ้าปารีสในอนาคต.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและแอร์เออแอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและโลก · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียว

ตเกียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหานครโตเกียว (Tokyo Metropolis) หรือเรียกเอะโดะหรือเอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ประชากรทั้งหมดของโตเกียวมีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

โซล

ซล (ซออุล) ชื่ออย่างเป็นทางการ นครพิเศษโซล เป็นเมืองหลวงและมหานครที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเกาหลีใต้ มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน เป็นปริมณฑลที่ใหญ่ มีประชากรประมาณ 25 ล้านคนซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยซึ่งประกอบด้วยบริเวณมหานครอินช็อนและจังหวัดคย็องกี เกือบหนึ่งในสี่ของประชากรชาวเกาหลีใต้อาศัยอยู่ในโซลและชาวต่างชาติอีกประมาณ 275, 000 คน นครโซลได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ระดับหลายเหตุการณ์ โดยการใช้ความพยายามอย่างมากที่จะเพิ่มอิทธิพลในฐานะประเทศที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมนานาชาติมากเป็นอันดับที่ 5 ในปี 2553 โซลได้รับการโหวตให้เป็นเป้าหมายยอดนิยมในการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวชาวจีน, ญี่ปุ่นและไทย 3 ปีต่อเนื่องกันในปี 2554 สถานีรถไฟโซลเป็นสถานีปลายทางหลักของรถไฟความเร็วสูงเคทีเอ๊กซ์และสถานีรถไฟใต้ดินโซลยังเป็นสถานีที่มีผู้ใช้งานมากเป็นอับดับที่สองของโลกโดยมีลักษณะเป็นสายวงรอบที่ยาวที่สุดและและมีเส้นทางรถไฟไต้ดินจนสุดสายที่ยาวเป็นอับดับที่สองของโลก โซลนั้นได้รวมระบบขนส่งมวลชนเข้ากับเมืองอินช็อนและจังหวัดคย็องกี โดยสามารถให้ผู้โดยสารสามารถใช้บริการรถโดยสารประจำทางหรือรถไฟไต้ดินได้อย่างอิสระโดยใช้บัตรที-มันนี่และเชื่อมต่อโดยทางเอเร็กซ์เพื่อไปยังท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ซึ่งถูกจัดเป็นสนามบินยอดเยี่ยมตั้งแต่ปี 2548 โดยสภาการท่าอากาศยานนานาชาติ โซลเคยเป็นเจ้าภาพเอเชียนเกมส์ 1986, โอลิมปิกฤดูร้อน 1988, ฟุตบอลโลก 2002 และการประชุมสุดยอด จี-20 2010 โซลได้ชื่อว่าเป็นเมืองแห่งการออกแบบในปี 2553 โดยสมาคมออกแบบอุตสาหกรรมนานาชาต.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและโซล · ดูเพิ่มเติม »

ไมล์

มล์ คือหน่วยมาตรฐานอังกฤษที่ใช้วัดระยะทาง มักย่อว่า mi จากภาษาอังกฤษ mile 1 ไมล์มีค่าเท่ากั.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและไมล์ · ดูเพิ่มเติม »

ไม้กวาด

Broomcorm ไม้กวาดรุ่นแรกที่ประดิษฐ์โดย ลิวาย ดิกเคนสัน ไม้กวาด (Broom) คือสิ่งที่ใช้กวาด ทำด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้นมัดเป็นกำ.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและไม้กวาด · ดูเพิ่มเติม »

เมตร

มตร อักษรย่อ ม. (mètre → metre meter The Metric Conversion Act of 1975 gives the Secretary of Commerce of the US the responsibility of interpreting or modifying the SI for use in the US., m) เป็นหน่วยฐานเอสไอของความยาวในหน่วยเอสไอ แต่เดิมนิยามว่าหนึ่งเมตรเท่ากับ 1/10,000,000 ของระยะทางจากเส้นศูนย์สูตรของโลกไปยังขั้วโลกเหนือวัดจากเส้นรอบวงที่ผ่านเมืองปารีส แต่เนื่องจากความแม่นยำทางมาตรวิทยา ที่มีมากขึ้น ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ความยาวหนึ่งเมตรจึงถูกนิยามไว้ให้เท่ากับความยาวที่แสงเดินทางได้ในสุญญากาศ ในช่วงเวลา วินาที.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและเมตร · ดูเพิ่มเติม »

เม็กซิโกซิตี

ตราประจำกรุงเม็กซิโกซิตีตั้งแต่ ค.ศ. 1523 เม็กซิโกซิตี (Mexico City) หรือ ซิวดัดเดเมคีโก (Ciudad de México) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเม็กซิโก ตั้งอยู่ในหุบเขาเม็กซิโกบริเวณกึ่งกลางประเทศ เม็กซิโกซิตีมีพื้นที่ประมาณ 1,499 ตารางกิโลเมตร หรือถ้ารวมบริเวณมหานครด้วยจะมีพื้นที่รวมประมาณ 4,979 ตารางกิโลเมตร ประชากรในเม็กซิโกซิตี (ปี 2548) มี 8,605,239 คน ถ้ารวมเขตมหานครทั้งหมดมีประชากร 17,844,829 คน เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและเม็กซิโกซิตี · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มพี 05

อ็มพี 05 (Metro Pneu appel d'offre 2005)Rubber-tyred metro ordered in 2005 เป็นรถไฟฟ้าล้อยางผสมเหล็ก สั่งซื้อโดย RATP ในปี ค.ศ. 2005 เพื่อใช้งานใน รถไฟฟ้าปารีส แทนรุ่นเก่า เอ็มพี 89 ในสาย 1 และจะปรับใช้ในสาย 14 ระหว่างปี ค.ศ. 2013 - 2017 รถไฟฟ้ารุ่นนี้ ผลิตโดย อัลสตอม.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและเอ็มพี 05 · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มพี 59

อ็มพี 59 ที่สถานีแววิน ภาพภายในรถไฟฟ้าที่ปรับปรุงแล้ว เอ็มพี 59 เป็นรถไฟฟ้าล้อยางผสมเหล็กที่เก่าแก่ที่สุดที่ใช้งานในรถไฟฟ้าปารีส ผลิตโดย GEC Alsthom ใช้งานครั้งแรกในปี ค.ศ. 1963 โดยใช้งานใน สาย 1 (1963-2000) และ สาย 4 (1967-2012) แต่ในปัจจุบัน รถไฟฟ้าทั้ง 24 คัน ให้บริการใน สาย 11.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและเอ็มพี 59 · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มพี 73

รูปร่างของเอ็มพี 73 เอ็มพี 73 เป็นรถไฟฟ้าล้อเหล็กผสมยางที่ใช้งานในรถไฟฟ้าปารีส นำเข้าเมื่อ ค.ศ. 1974 มีจุดประสงค์เพื่อนำมาใช้งานในสาย 6 ที่กำลังจะเปิดใช้งาน มีจำนวน 252 คัน โดยมี 6 คันที่ใช้งานไม่ได้ ทำให้เหลือใช้งานเพียง 246 คัน ได้ทำการปรับปรุงรถในปี ค.ศ. 2000 มีจำนวน 5 คันต่อขบวน ปัจจุบันยังคงใช้งานใน สาย 6.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและเอ็มพี 73 · ดูเพิ่มเติม »

เอ็มพี 89

อ็มพี 89 เป็นรถไฟฟ้าล้อเหล็กผสมยางที่ใช้งานในรถไฟฟ้าปารีส ออกแบบโดย Roger Tallon สร้างโดย GEC Alsthom (อัลสตอม) เพื่อใช้งานใน สาย 1 และ สาย 14 รถไฟฟ้าในสาย 1 ได้ย้ายไป สาย 4 ระหว่างปี ค.ศ. 2011 - 2013 เพื่อแทนที่รถไฟฟ้าเก่า เอ็มพี 59.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและเอ็มพี 89 · ดูเพิ่มเติม »

19 กรกฎาคม

วันที่ 19 กรกฎาคม เป็นวันที่ 200 ของปี (วันที่ 201 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 165 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและ19 กรกฎาคม · ดูเพิ่มเติม »

7 ธันวาคม

วันที่ 7 ธันวาคม เป็นวันที่ 341 ของปี (วันที่ 342 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 24 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: รถไฟฟ้าปารีสและ7 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

MétroParis MetroParis Métroปารีสเมโทร

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »