โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยุทธการที่คูสค์

ดัชนี ยุทธการที่คูสค์

ทธการที่คูสค์ (Курская битва, Битва на Курской дуге) เกิดขึ้นเมื่อกำลังเยอรมนีและโซเวียตเผชิญหน้ากันในแนวรบด้านตะวันออกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง บริเวณย่านชานนครคูสค์ (Kursk) ห่างจากกรุงมอสโกไปทางใต้ 450 กิโลเมตร ในสหภาพโซเวียต ช่วงเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม..

16 ความสัมพันธ์: บลิทซ์ครีกการบุกครองเกาะซิซิลีของฝ่ายสัมพันธมิตรยุทธการที่สตาลินกราดยุทธการที่โปรโฮรอฟกาวัลเทอร์ โมเดิลสหภาพโซเวียตสงครามโลกครั้งที่สองอีวาน โคเนฟคอนสตันติน โรคอสซอฟสกีคูสค์นีโคไล วาตูตินแอริช ฟอน มันชไตน์แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)โรแบร์ท ริทเทอร์ ฟอน ไกรม์เบนิโต มุสโสลินีเกออร์กี จูคอฟ

บลิทซ์ครีก

วามเสียหายหลังจากบลิทซ์ครีก บลิทซ์ครีก (Blitzkrieg) การโจมตีสายฟ้าแลบ เป็นคำแผลงเป็นอังกฤษ เป็นปฏิบัติการร่วมทางยุทธวิธีของกองทัพนาซีเยอรมันนีในสงครามโลกครั้งที่สอง โดยรวมแสนยานุภาพทั้งทางภาคพื้นดินและในอากาศเข้าด้วยกัน คำว่า บลิทซ์ครีก เป็นอธิบายการโจมตีอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วยการทิ้งระเบิดโดยเครื่องบินรบก่อนที่จะใช้ยานเกราะบุกเข้าโจมตีตามอย่างรวดเร็ว และสร้างความประหลาดใจให้กับฝ่ายข้าศึก ทำให้ฝ่ายตั้งรับไม่มีเวลาที่จะเตรียมการป้องกันใด ๆ เลย แนวคิดบลิทซ์ครีกนั้นได้รับการพัฒนาโดยชาติต่าง ๆ ระหว่างศตวรรษที่ 20 และถูกนำออกมาใช้หลายปีหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยเยอรมนีมากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันการทำศึกยืดเยื้อ บลิทซ์ครีกที่โดดเด่นในประวัติศาสตร์การทหาร คือ ช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่สอง นำโดยพลเอกไฮนซ์ กูเดเรียน บลิทซ์ครีกของฝ่ายเยอรมนีนั้นมีประสิทธิภาพมากในแนวรบด้านตะวันตกและในแนวรบด้านตะวันออกช่วงแรก ๆ ทำให้กองทัพส่วนใหญ่ไม่ทันระวังตัว และขาดการป้องกันซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการรบของฝ่ายเยอรมนี.

ใหม่!!: ยุทธการที่คูสค์และบลิทซ์ครีก · ดูเพิ่มเติม »

การบุกครองเกาะซิซิลีของฝ่ายสัมพันธมิตร

การรุกรานเกาะซิซิลีของฝ่ายสัมพันธมิตร หรือในชื่อรหัสว่า ปฏิบัติการฮัสกี (Operation Husky) เป็นหนึ่งในปฏิบัติการหลักในสงครามโลกครั้งที่สองของฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อยึดครองเกาะซิซิลีจากฝ่ายอักษะ การรุกครั้งนี้เป็นการปฏิบัติการระดับใหญ่โดยใช้ยานลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกและพลร่มจำนวนมาก และการรบภาคพื้นดินเป็นเวลานานถึง 6 สัปดาห์ การรบครั้งนี้ยังนับได้ว่าเป็นเปิดฉากของการทัพอิตาลีอีกด้วย ปฏิบัติการฮัสกี้เริ่มต้นขึ้นในคืนระหว่างวันที่ 9 และวันที่ 10 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ยุทธการที่คูสค์และการบุกครองเกาะซิซิลีของฝ่ายสัมพันธมิตร · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่สตาลินกราด

ทธการสตาลินกราด เป็นยุทธการใหญ่ของสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนาซีเยอรมนีและพันธมิตรฝ่ายหนึ่ง สู้รบกับสหภาพโซเวียตอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อแย่งชิงการควบคุมนครสตาลินกราด (ปัจจุบันคือ วอลโกกราด ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหพันธรัฐรัสเซีย) ยุทธการดำเนินไประหว่างวันที่ 21 สิงหาคม..

ใหม่!!: ยุทธการที่คูสค์และยุทธการที่สตาลินกราด · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่โปรโฮรอฟกา

ทธการที่โปรโฮรอฟกา เป็นการสู้รบเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม..

ใหม่!!: ยุทธการที่คูสค์และยุทธการที่โปรโฮรอฟกา · ดูเพิ่มเติม »

วัลเทอร์ โมเดิล

อ็อทโท โมริทซ์ วัลเทอร์ โมเดิล (Otto Moritz Walter Model; 24 มกราคม 1891 – 21 เมษายน 1945) เป็นจอมพลเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขามีชื่อเสียงในการรบป้องกันในช่วงครึ่งหลังของสงคราม ส่วนใหญ่ในแนวรบตะวันออกแต่อยู่ในด้านตะตะวันตก เขาได้ถูกเรียกว่า ผู้บัญชาการยุทธวิธีป้องกันที่ดีที่สุดของจักรวรรด์ไรซ์ที่สาม ในช่วงปลายสงคราม โมเดิลได้ล้มเหลวในป้องกันการบุกเข้าสู่เยอรมนีของกองทัพสัมพันธมิตรในด้านตะวันตกและกองทัพของเขาถูกล้อมอย่างสิ้นเชิงในรูร์ เขาจึงตัดสินใจฆ่าตัวตายเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจับนำตัวไปพิจารณาคดีในข้อหาอาชญากรสงครามเมื่อ 21 เมษายน..

ใหม่!!: ยุทธการที่คูสค์และวัลเทอร์ โมเดิล · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: ยุทธการที่คูสค์และสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: ยุทธการที่คูสค์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อีวาน โคเนฟ

อีวาน สเตปาโนวิช โคเนฟ (Ива́н Степа́нович Ко́нев; 28 ธันวาคม 1897– 21 พฤษภาคม 1973) เป็นผู้บัญชาการกองทัพโซเวียต ผู้นำกองทัพแดงในแนวรบด้านตะวันออกระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง มีส่วนร่วมในการยึดดินแดนจำนวนมากในยุโรปตะวันออกกลับคืนมาจากภายใต้อำนาจปกครองของฝ่ายอักษะ และช่วยเหลือในการเข้ายึดกรุงเบอร์ลินของเยอรมนี ในปี 1956 โคเนฟได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองกำลังแห่งกติกาสัญญาวอร์ซอ โคเนฟได้นำกองกำลังเข้าปราบปรามในเหตุการณ์การปฏิวัติฮังการีด้วยกองพลยานเกราะโซเวียต.

ใหม่!!: ยุทธการที่คูสค์และอีวาน โคเนฟ · ดูเพิ่มเติม »

คอนสตันติน โรคอสซอฟสกี

อนสตันติน คอนสตันติโนวิช โรคอสซอฟสกี (Konstanty Ksawerowicz Rokossowski; Константи́н Константи́нович (Ксаве́рьевич) Рокоссо́вский) เป็นผู้บัญชาการโซเวียตและโปแลนด์เป็นผู้ได้รับยศจอมพลแห่งสหภาพโซเวียตและจอมพลแห่งโปแลนด์และดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของสาธารณรัฐประชาชนโปแลนด์ เขาเป็นผู้บัญชาการกองทัพแดงในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาเป็นหนึ่งในผู้วางแผนปฏิบัติการบากราติออนหนึ่งในปฏิบัติการที่ประสบความสำเร็จในแนวรบด้านตะวันออก.

ใหม่!!: ยุทธการที่คูสค์และคอนสตันติน โรคอสซอฟสกี · ดูเพิ่มเติม »

คูสค์

ูสค์ (p) เป็นเมืองหลักของ แคว้นคูสค์, ประเทศรัสเซีย, ตั้งอยู่บริเวณที่มีแม่น้ำมาบรรจบกัน ได้แก่ แม่น้ำคูร์, ตัสการ์, และ แม่น้ำเซย์ม พื่นที่บริเวณย่านชานนครคูสค์ เป็นจุดยุทธศาสตร์ของยุทธการรถถังที่ใหญ่ที่สุดในโลกระหว่างสหภาพโซเวียต และ นาซีเยอรมนี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง.

ใหม่!!: ยุทธการที่คูสค์และคูสค์ · ดูเพิ่มเติม »

นีโคไล วาตูติน

นีโคไล เฟโอโดโรวิช วาตูติน (Никола́й Фёдорович Вату́тин) เป็นผู้บัญชาการโซเวียตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง วาตูตินเป็นผู้บังคับบัญชากองทัพแดง ใน ยูเครน โดยบัญชาการ แนวรบตะวันตกเฉียงใต้, และ Voronezh Front ระหว่าง ยุทธการที่เคิสก์ และ แนวรบยูเครนที่ 1 ในช่วงการปลดปล่อยกรุงเคียฟในปี 1943 ต่อมาวาตูตินถูกลอบโจมตีโดยกองทัพกบฎยูเครน ในเดือน กุมภาพันธ์ 1944.

ใหม่!!: ยุทธการที่คูสค์และนีโคไล วาตูติน · ดูเพิ่มเติม »

แอริช ฟอน มันชไตน์

ฟริทซ์ แอริช เกออร์ก แอดวร์ด ฟอน เลอวินสกี (Fritz Erich Georg Eduard von Lewinski) หรือเป็นที่รู้จักกันคือ แอริช ฟอน มันชไตน์ (Erich von Manstein) เป็นผู้บัญชาการในเวร์มัคท์ กองทัพของนาซีเยอรมนีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขาได้ดำรงตำแหน่งยศจอมพล เขายังมีศักดิ์เป็นหลานอาของจอมพลเพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์ก ประธานาธิบดีเยอรมันคนที่สอง หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2430 หมวดหมู่:บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2516 หมวดหมู่:จอมพลแห่งไรช์ที่สาม หมวดหมู่:ทหารชาวเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง หมวดหมู่:บุคคลจากเบอร์ลิน.

ใหม่!!: ยุทธการที่คูสค์และแอริช ฟอน มันชไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

แนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง)

แนวรบด้านตะวันออกเป็นเขตสงครามหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง มีอักษะประเทศในทวีปยุโรป และคู่สงครามร่วมฟินแลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสหภาพโซเวียต โปแลนด์และชาติสัมพันธมิตรจำนวนหนึ่งอีกฝ่ายหนึ่งเป็นคู่สงคราม เขตสงครามนี้กินอาณาบริเวณยุโรปตะวันออก บางส่วนของยุโรปเหนือและยุโรปใต้ สู้รบกันระหว่างวันที่ 22 มิถุนายน..

ใหม่!!: ยุทธการที่คูสค์และแนวรบด้านตะวันออก (สงครามโลกครั้งที่สอง) · ดูเพิ่มเติม »

โรแบร์ท ริทเทอร์ ฟอน ไกรม์

รแบร์ท ริทเทอร์ ฟอน ไกรม์ (Robert Ritter von Greim) เป็นจอมพลและนักบินเยอรมันในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ฮิตเลอร์ได้มอบหมายแต่งตั้งให้ไกรม์เป็นผู้บัญชาการแห่งลุฟท์วัฟเฟอ (กองทัพอากาศ) แทนที่แฮร์มันน์ เกอริง ซึ่งถูกปลดออกจากตำแหน่งโทษฐานทรยศ และเมื่อเยอรมันได้ยอมจำนนต่อสัมพันธมิตร ไกรม์ถูกจับเป็นเชลยโดยกองทัพสหรัฐ เขาได้ฆ่าตัวตายในเรือนจำเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม..

ใหม่!!: ยุทธการที่คูสค์และโรแบร์ท ริทเทอร์ ฟอน ไกรม์ · ดูเพิ่มเติม »

เบนิโต มุสโสลินี

นีโต อามิลกาเร อานเดรอา มุสโสลีนี (Benito Amilcare Andrea Mussolini) เรียกชื่อโดยทั่วไปว่า "อิลดูเช" (Il Duce) แปลว่า "ท่านผู้นำ" เป็นจอมเผด็จการและนายกรัฐมนตรีของประเทศอิตาลี (พ.ศ. 2465 – พ.ศ. 2486) เกิดเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 ในครอบครัวที่ยากจนที่เมืองโดวีอาดีเปรดัปปีโอ (Dovia di Predappio) ในจังหวัดฟอร์ลิ แคว้นเอมีเลีย-โรมัญญา แต่ด้วยเวลาไม่นาน มุสโสลีนีได้กลายเป็นนักสังคมนิยมยุวชนที่หลักแหลมและมีอันตราย แต่ต่อมาต้องลาออกจากพรรคสังคมนิยมอิตาลีเนื่องจากสนับสนุนการเข้าแทรกแซงสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2462 มุสโสลีนีได้เข้าร่วมการก่อตั้งพรรคสันนิบาตการต่อสู้แห่งอิตาลี (Fasci Italiani di Combattimento) หรือพรรคฟาสซิสต์เพื่อเตรียมเป็นกองกำลังปฏิวัติ ในปี พ.ศ. 2465 ได้เป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งฉลองชัยชนะด้วย "การสวนสนามแห่งโรม" (เดือนตุลาคม) ล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2468 เขาได้สถาปนาตนเองเป็นเผด็จการเต็มรูปแบบ บังคับให้ยกเลิกระบบรัฐสภาทดแทนด้วย "รัฐบรรษัท" (Corporate State) และวางระบบรวบอำนาจอย่างเป็นทางการ ได้จัดตั้งนครรัฐวาติกัน (พ.ศ. 2472) บุกยึดอะบิสซิเนีย (ตั้งแต่ พ.ศ. 2478-พ.ศ. 2479 ปัจจุบันคือเอธิโอเปีย) และแอลเบเนีย (พ.ศ. 2482) ไว้ในการครอบครอง พร้อมกับการประกาศเข้าร่วมเป็นฝ่ายอักษะกับอดอล์ฟ ฮิตเลอร์แห่งประเทศเยอรมนี มุสโสลินีถูกจับกุมตัวได้เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2488 โดยกองกำลังปาร์ติซานของพรรคคอมมิวนิสต์อิตาลี ที่บริเวณใกล้ชายแดนอิตาลี-สวิสเซอร์แลนด์ ในขณะที่เขาพยายามจะหลบหนีออกจากอิตาลี และถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในข้อหาทรยศต่อชาติ ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2488 โดยคำตัดสินลับหลังของคณะลูกขุนแห่งคณะกรรมการปลดแอกแห่งชาติ ร่างของมุสโสลินี อนุภรรยา และผู้นิยมลัทธิฟาสซิสต์คนอื่นๆ อีกประมาณ 15 คน ได้ถูกนำไปยังเมืองมิลาโน เพื่อแขวนประจานต่อสาธารณชน.

ใหม่!!: ยุทธการที่คูสค์และเบนิโต มุสโสลินี · ดูเพิ่มเติม »

เกออร์กี จูคอฟ

กออร์กี คอนสตันตีโนวิช จูคอฟ (Georgy Konstantinovich Zhukov; Гео́ргий Константи́нович Жу́ков; 1 ธันวาคม พ.ศ. 2439 – 18 มิถุนายน พ.ศ. 2517) เป็นนายทหารอาชีพชาวโซเวียตในกองทัพแดง ซึ่งในห้วงสงครามโลกครั้งที่สองมีบทบาทสำคัญที่สุดในการนำกองทัพแดงยกผ่านยุโรปตะวันออกส่วนใหญ่เพื่อปลดปล่อยสหภาพโซเวียตและชาติอื่นจากการยึดครองของฝ่ายอักษะและพิชิตกรุงเบอร์ลินได้ในที่สุด เขาเป็นนายพลที่ได้รางวัลมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหภาพโซเวียตและรัสเซีย เป็นนายพลที่ขึ้นชื่อที่สุดคนหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้อันดับต้น ๆ เพราะจำนวนและขนาดของชัยชนะ และคนจำนวนมากยอมรับความสามารถในการบังคับบัญชาทางปฏิบัติการและยุทธศาสตร์ของเขา สัมฤทธิภาพการรบของเขาพัฒนาความรู้ทางทหารของมนุษยชาติอย่างสำคัญ โดยมีอิทธิพลมากทั้งต่อทฤษฎีทางทหารของโซเวียตและทั้งโลก.

ใหม่!!: ยุทธการที่คูสค์และเกออร์กี จูคอฟ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ยุทธการที่เคิสก์ยุทธการเคิร์สก์ยุทธการเคิสก์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »