โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยาลดความดัน

ดัชนี ยาลดความดัน

ลดความดัน (antihypertensives) เป็นกลุ่มของยาที่ใช้ในทางการแพทย์ และ เภสัชกรรมเพื่อใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง.

13 ความสัมพันธ์: บูมีทาไนด์ฟูโรซีไมด์การเจริญเกินของต่อมลูกหมากยายาขับปัสสาวะอะมิโลไรด์ความดันโลหิตสูงประสบการณ์ผิดธรรมดาแพทยศาสตร์แอมโลดิพีนแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์เบตาบล็อกเกอร์เภสัชกรรม

บูมีทาไนด์

ูมีทาไนด์ (Bumetanide) เป็นยารูพไดยูริติกของกลุ่มซัลฟามิลที่ใช้รักษาโรคหัวใจล้มเหลว ใช้ในคนไข้ที่ดื้อยาฟูโรซีไม.

ใหม่!!: ยาลดความดันและบูมีทาไนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ฟูโรซีไมด์

ฟูโรซีไมด์ (Furosemide) ขายภายใต้ชื่อการค้า ลาซิกซ์ (Lasix) ฯลฯ เป็นยาที่ใช้รักษาอาการบวมน้ำเนื่องจากภาวะหัวใจวาย โรคตับแข็งหรือโรคไต นอกจากนี้ยังอาจใช้รักษาความดันโลหิตสูง ปริมาณยาที่ใช้แล้วแต่บุคคล ให้ได้ทั้งเข้าหลอดเลือดดำและทางปาก เมื่อรับประทานตรงแบบยาจะเริ่มออกฤทธิ์ภายในหนึ่งชั่วโมง แต่ถ้าเข้าหลอดเลือดดำตรงแบบจะเริ่มออกฤทธิ์ในห้านาที ผลข้างเคียงทั่วไปมีความดันเลือดตกเมื่อยืนขึ้น เสียงในหูและภาวะไวแสง ผลข้างเคียงร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นได้มีการเสียดุลอิเล็กโทรไลต์ ความดันเลือดต่ำ และหูหนวก แนะนำให้ทดสอบเลือดเป็นประจำสำหรับผู้ที่ได้รับยาเพื่อรักษา ฟูโรซีไมด์เป็นยาขับปัสสาวะที่ออกฤทธิ์ที่ลูป (loop diuretic) ชนิดหนึ่งซึ่งออกฤทธิ์โดยลดการดูดกลับโซเดียมที่ไต ฟูโรซีไมด์ถูกค้นพบเมื่อปี 2505 อยู่ในรายการยาหลักของตัวแบบองค์การอนามัยโลก (World Health Organization's List of Essential Medicines) คือ ยาที่สำคัญที่สุดที่จำเป็นต่อระบบบริการสุขภาพพื้นฐาน ราคาขายส่งทั่วโลกอยู่ระหว่าง 0.004 ถึง 0.02 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ในสหรัฐมีขายเป็นยาสามัญ ราคาประมาณ 0.15 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ฟูโรซีไมด์อยู่ในรายการยาต้องห้ามขององค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลกเนื่องจากกังวลว่าอาจบดบังยาอื่น ยานี้ใช้ป้องกันและรักษาม้าแข่งที่มีภาวะเลือดออกในปอดที่ชักนำด้วยการออกกำลังกาย (exercise-induced pulmonary hemorrhage).

ใหม่!!: ยาลดความดันและฟูโรซีไมด์ · ดูเพิ่มเติม »

การเจริญเกินของต่อมลูกหมาก

การเจริญเกินของต่อมลูกหมาก หรือ โรคต่อมลูกหมากโต เป็นการเพิ่มขนาดของต่อมลูกหมากซึ่งพบในชายวัยกลางคนและสูงอายุ ถือเป็นการเจริญเกิน (hyperplasia) มากกว่าการโตเกิน (hypertrophy) แต่คำเหล่านี้บางครั้งถูกใช้สับสนทั่วไปแม้ในหมู่แพทย์ระบบปัสสาวะก็ตาม มีลักษณะเฉพาะคือมีการเจริญเกินของเซลล์สโตรมัลและเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวของต่อมลูกหมาก ทำให้มีการเพิ่มขนาดเป็นปุ่มย่อยของต่อมลูกหมากบริเวณข้างท่อปัสสาวะ หากมีขนาดโตถึงระดับหนึ่ง ปุ่มย่อยเหล่านี้จะกดท่อปัสสาวะทำให้มีการอุดตันบางส่วนหรือทั้งหมดของท่อปัสสาวะ ทำให้รบกวนการไหลของปัสสาวะ นำไปสู่อาการปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขัด เจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ ปัสสาวะค้าง เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะและมีปัสสาวะคั่งค้าง แม้ระดับของ prostate specific antigen (แอนติเจนเฉพาะต่อต่อมลูกหมาก) อาจพบสูงได้ในผู้ป่วยเหล่านี้จากขนาดที่ใหญ่ขึ้นและการอักเสบจากการติดเชื้อ การเจริญเกินของต่อมลูกหมากไม่ถือเป็นรอยโรคก่อนเป็นมะเร็ง.

ใหม่!!: ยาลดความดันและการเจริญเกินของต่อมลูกหมาก · ดูเพิ่มเติม »

ยา

thumb ยา เป็นวัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วยของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว.

ใหม่!!: ยาลดความดันและยา · ดูเพิ่มเติม »

ยาขับปัสสาวะ

ับปัสสาวะ (diuretic) เป็นยาที่เพิ่มอัตราการถ่ายปัสสาวะออกจากร่างกาย (ไดยูรีสิส) ยาขับปัสสาวะมีผลลดปริมาตรของเหลวนอกเซลล์ (extracellular fluid-ECF) ยาขับปัสสาวะธรรมดาทั่วไปได้แก่คาเฟอีน น้ำเครนเบอรรี่ และแอลกอฮอล์ ในทางการแพทย์ ยาขับปัสสาวะใช้รักษ.

ใหม่!!: ยาลดความดันและยาขับปัสสาวะ · ดูเพิ่มเติม »

อะมิโลไรด์

อะมิโลไรด์(อังกฤษ:Amiloride) เป็น ยารักษาความดันโลหิตสูงประเภทยาขับปัสสาวะแบบเก็บรักษา โพแทสเซียม ถูกอนุมัติใช้เป็นยาครั้งแรกเมื่อปี 1967 กลไกการออกฤทธิ์คือ ยับยั้งการดูดกลับโซเดียมใน ดิสทัล คอนโวลูเตด ทิวบูล (distal convoluted tubule) และคอลเล็กติงดักตในไต กลไกนี้ทำให้สูญเสียโซเดียมและ น้ำ ออกจากร่างกาย แต่ยังคงรักษาโพแทสเซียม ไว้ ด้วยเหตุนี้บางครั้งเราจำเป็นต้องใช้ยาขับปัสสาวะร่วมกัน เช่น เรามักจะใช้อะมิโลไรด์ร่วมกับ ไทอะไซด์ (thiazide).

ใหม่!!: ยาลดความดันและอะมิโลไรด์ · ดูเพิ่มเติม »

ความดันโลหิตสูง

รคความดันโลหิตสูง (hypertension) เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยมีความดันเลือดในหลอดเลือดแดงสูงกว่าปกติตลอดเวลา ความดันเลือดประกอบด้วยสองค่า ได้แก่ ความดันช่วงหัวใจบีบและความดันช่วงหัวใจคลาย ซึ่งเป็นความดันสูงสุดและต่ำสุดในระบบหลอดเลือดแดงตามลำดับ ความดันช่วงหัวใจบีบเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายบีบตัวมากที่สุด ความดันช่วงหัวใจคลายเกิดเมื่อหัวใจห้องล่างซ้ายคลายตัวมากที่สุดก่อนการบีบตัวครั้งถัดไป ความดันเลือดปกติขณะพักอยู่ในช่วง 100–140 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจบีบ และ 60–90 มิลลิเมตรปรอทในช่วงหัวใจคลาย ความดันโลหิตสูงหมายถึง ความดันเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอทตลอดเวลา ส่วนในเด็กจะใช้ตัวเลขต่างไป ปกติความดันโลหิตสูงไม่ก่อให้เกิดอาการในทีแรก แต่ความดันโลหิตสูงต่อเนื่องเมื่อผ่านไปเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหัวใจเหตุความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ท่อเลือดแดงโป่งพอง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย และโรคไตเรื้อรัง ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ (ไม่ทราบสาเหตุ) และความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ราวร้อยละ 90–95 จัดเป็นความดันโลหิตสูงปฐมภูมิ หมายถึงมีความดันโลหิตสูงโดยไม่มีเหตุพื้นเดิมชัดเจน ที่เหลืออีกร้อยละ 5–10 จัดเป็นความดันโลหิตสูงแบบทุติยภูมิมักมีสาเหตุที่สามารถบอกได้ เช่น โรคไตเรื้อรัง ท่อเลือดแดงหรือหลอดเลือดแดงไตตีบแคบ หรือโรคของต่อมไร้ท่อ เช่น แอลโดสเตอโรน คอร์ติซอลหรือแคทิโคลามีนเกิน อาหารและการเปลี่ยนวิถีชีวิตสามารถช่วยควบคุมความดันเลือดและลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แม้การรักษาด้วยยายังมักจำเป็นในผู้ที่การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังไม่พอหรือไม่ได้ผล การรักษาความดันในหลอดเลือดแดงสูงปานกลาง (นิยามเป็น >160/100 มิลลิเมตรปรอท) ด้วยยาสัมพันธ์กับการคาดหมายคงชีพที่เพิ่มขึ้น ประโยชน์ของการรักษาความดันเลือดระหว่าง 140/90 ถึง 160/100 มิลลิเมตรปรอทไม่ค่อยชัดเจน บางบทปริทัศน์ว่าไม่มีประโยชน์ แต่บ้างก็ว่ามี.

ใหม่!!: ยาลดความดันและความดันโลหิตสูง · ดูเพิ่มเติม »

ประสบการณ์ผิดธรรมดา

ประสบการณ์ผิดธรรมดา (anomalous experiences) หรือที่เรียก ประสาทหลอนไม่ร้าย เกิดขึ้นได้ในบุคคลที่มีสุขภาพกายและใจดี แม้ไม่มีปัจจัยภายนอกชั่วคราวอย่างอื่น ๆ เช่นความล้า การใช้สารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือภาวะขาดความรู้สึกจากประสาทสัมผัส ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกว้างขวางแล้วว่า ประสบการณ์ประสาทหลอนไม่ได้เกิดเฉพาะในคนไข้โรคจิตหรือบุคคลปกติที่มีภาวะผิดปกติเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นเองในคนปกติในอัตราส่วนที่สำคัญ ทั้ง ๆ ที่มีสุขภาพที่ดีและไม่ได้มีภาวะเครียดหรือความผิดปกติอย่างอื่น ๆ มีการเพิ่มพูนหลักฐานของประสบการณ์แบบนี้ มามากว่าหนึ่งศตวรรษแล้ว การศึกษาเรื่องประสาทหลอนที่ไม่มีผลร้ายเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ยาลดความดันและประสบการณ์ผิดธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

แพทยศาสตร์

right แพทยศาสตร์ (Medicine) เป็นสาขาของวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพและเยียวยารักษาโรคหรืออาการเจ็บป่วย การแพทย์เป็นแขนงอาชีพที่ต้องใช้ทั้งความรู้และทักษะอย่างสูง แพทยศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เก่าแก่มีความสำคัญ ผู้ประกอบอาชีพทางการแพทย์มักได้รับความนับถือในสังคม แพทยศาสตร์มีศาสตร์เฉพาะทางต่าง ๆ อีกมากมายเช่น กุมารเวชศาสตร์, อายุรศาสตร์, ศัลยศาสตร์, ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (ศัลยศาสตร์กระดูก), สูติศาสตร์, นรีเวชวิทยา, โสตศอนาสิกวิทยา, นิติเวชศาสตร์, จักษุวิทยา, จิตเวชศาสตร์,รังสีวิทยา,ตจวิทยา, พยาธิวิทยา, เวชศาสตร์ชุมชน, อาชีวเวชศาสตร์, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, เวชระเบียน, เวชสถิติ และอื่น ๆ อีกมากมาย และในแต่ละสาขายังแบ่งย่อยเป็นสาขาย่อยลงไปอีกตามอวัยวะหรือกลุ่มของโรค เช่น ศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก อายุรศาสตร์โรคไต เป็นต้น.

ใหม่!!: ยาลดความดันและแพทยศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แอมโลดิพีน

แอมโลดิพีน (Amlodipine) หรือชื่อทางการค้าคือ นอร์วาสค์ (Norvasc) เป็นยาสามัญสำหรับแก้ความดันโลหิตสูงและโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ ทำงานโดยการไปขยายหลอดเลือดแดง ยานี้ถูกใช้แทนยาในกลุ่มแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ที่อาจก่อให้เกิดภาวะหัวใจวาย และจะถูกใช้ก็ต่อเมื่อยาชนิดอื่นไม่สามารถแก้ความดันโลหิตสูงและอาการปวดเค้นหัวใจได้แล้ว สามารถรับยานี้ได้โดยวิธีการรับประทานและจะออกฤทธิได้อย่างน้อยที่สุดยาวถึงหนึ่งวัน ผลข้างเคียงของการใช้แอมโลดิพีนได้แก่ อาการบวมน้ำ, รู้สึกล้า, ปวดท้อง และคลื่นไส้ ผลข้างเคียงขั้นรุนแรงได้แก่ ใจสั่น, ความดันโลหิตต่ำ หรือกล้ามเนื้อหัวใจตาย ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ายานี้ปลอดภัยต่อสตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตรหรือไม่ สำหรับผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับควรใช้ยานี้ในปริมาณแต่น้อย แอมโลดิพีนได้รับการจดสิทธิบัตรในปี..

ใหม่!!: ยาลดความดันและแอมโลดิพีน · ดูเพิ่มเติม »

แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์

แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ (Calcium channel blockers) เป็นกลุ่มของยาที่มีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และกล้ามเนื้อในส่วนที่ทำให้ร่างกายพักผ่อน หลักใหญ่ในการออกฤทธิ์ของ แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ คือการทำให้ความดันโลหิตลดลง ซึ่งจะใช้ในผู้ป่วย ความดันโลหิตสูง (hypertension) แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ ส่วนใหญ่จะลดแรงหดตัวของ กล้ามเนื้อหัวใจ (myocardium) จากผลของ อินโนโทรปิก ในทางลบของ แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ ซึ่งควรจะต้องหลีกเลี่ยงการใช้ในคนไข้ที่เป็นโรค คาร์ดิโอไมโอพาที่ (cardiomyopathy-กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง) แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ หลายตัวทำให้การนำไฟฟ้าในหัวใจช้าลง จากการที่มันไปหยุด แคลเซียม แชนเนล ตอนช่วงขาขึ้นของกร๊าฟ (plateau phase) ใน แอคชั่น โพเทนเชียล (action potential) ของหัวใจ (ดูคาร์ดิแอก แอคชั่น โพเทนเชียล) ทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate) ลดลงและอาจเป็นให้ หัวใจหยุดเต้น (heart block)ได้ ผลของ แคลเซียม แชนแนล บล็อกเกอร์ ชนิดนี้เรียกว่า ผลโครโนโทรปิก (chronotropic) ในทางลบ ซึ่งเหมาะสำหรับคนไข้ที่เป็นเอเทรียล ไฟบิเลชั่น (atrial fibrillation) หรือ ใจสั่น (atrial flutter).

ใหม่!!: ยาลดความดันและแคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เบตาบล็อกเกอร์

เบต้า บล็อกเกอร์ (Beta blockers หรือบางครั้งเขียน β-blockers) เป็นยาลดความดันชนิดหนึ่ง ออกฤทธิ์ผ่านทางระบบประสาท โดยยับยั้งผลของการกระตุ้นของ Adrenalin หรือ Norepinephrine เป็นผลให้หัวใจเต้นช้าลง และเบาลง ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือด ลดภาวะบางอย่างที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เช่น อาการตื่นเต้น รักษาโรคต่าง ๆ เช่น ต้อหิน ไมเกรน กระวนกระวาย ตื่นเต้น ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น หมวดหมู่:ยาลดความดัน หมวดหมู่:บทความยาที่ต้องการภาพประกอบ.

ใหม่!!: ยาลดความดันและเบตาบล็อกเกอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เภสัชกรรม

ัชกรรม (Pharmacy) ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: ยาลดความดันและเภสัชกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ยาลดความดันโลหิต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »