โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยมก

ดัชนี ยมก

มก หรือยมกปกรณ์ หรือมูลยมก เป็นหนึ่งในคัมภีร์ของพระอภิธรรมปิฎก คำว่า ยมก แปลว่า "คู่" ดังในอรรถกถายกตัวอย่างคำว่า ยมกปาฏิหาริย์ หมายถึง ปาฏิหาริย์คู่ หรือคำว่า ยมกสาลา หมายถึง ไม้สาละคู่ เป็นต้น ยมกเป็นคัมภีร์อธิบายหลักธรรมสำคัญให้เห็นความหมายและขอบเขตอย่างชัดเจน และมีการทดสอบความรู้อย่างละเอียดลึกซึ้ง ด้วยวิธีตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ เช่นถามว่า ธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศล เป็นกุศลมูล หรือว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศลมูล เป็นกุศล, กรือคำถามที่ว่ารูป (ทั้งหมด) เป็นรูปขันธ์ หรือว่ารูปขันธ์ (ทั้งหมด) เป็นรูป, หรือคำถามที่ว่าทุกข์ (ทั้งหมด) เป็นทุกขสัจจ์ หรือว่าทุกขสัจจ์ (ทั้งหมด) เป็นทุกข์ ดังนี้ หลักธรรมหลักที่นำมาอธิบายแจกแจงในคัมภีร์ยมกมีทั้งสิ้น 10 หลักธรรม ซึ่งในพระไตรปิฎกที่แบ่งคัมภีร์ยมกออกเป็น 2 ส่วน หรือ 2 เล่ม เช่นฉบับภาษาไทย จะแบ่งหลักธรรมเป็น 2 ส่วน ในเล่มแรกหลักธรรมที่นำมาอธิบายในเล่มแรกมี 7 ข้อ คือ มูล (เช่นกุศลมูล) ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่ายมกของเรื่องนั้นๆ เช่น มูลยมก ขันธยมก เป็นต้น ส่วนในเล่ม 2 แบ่งออกเป็น 3 หลักธรรม คือ จิตตยมก ธรรมยมก (กุศล-อกุศล-อัพยากตธรรม) อินทรียยมก รวมเป็น10 ยมก.

8 ความสัมพันธ์: พระอภิธรรมปิฎกพระไตรปิฎกยมกปกรณ์อรรถกถาสังขารอริยสัจ 4อายตนะอนุสัยขันธ์

พระอภิธรรมปิฎก

ระอภิธรรมปิฎก (Abhidhammapiṭaka) เป็นปิฎกฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามใน "พระไตรปิฎกภาษาบาลี" (Pali Canon) อภิธรรม แปลว่า "ธรรมอันยิ่ง" ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วน ๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเล.

ใหม่!!: ยมกและพระอภิธรรมปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระไตรปิฎก

ระไตรปิฎก (Tipiṭaka; त्रिपिटक) เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระโคตมพุทธเจ้า ไตรปิฎก แปลว่า ตะกร้า 3 ใบ เพราะเนื้อหาแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: ยมกและพระไตรปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

ยมกปกรณ์อรรถกถา

มกปกรณ์อรรถกถา เป็นคัมภีร์อธิบายยมกปกรณ์ ในพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งยมกปกรณ์นี้ว่าด้วยธรรมที่เป็นคู่ ประกอบด้วย 1.) มูลยมก คือ ธรรมเป็นคู่อันเป็นมูล 2.) ขันธยมก คือ ธรรมเป็นคู่ คือขันธ์ 3.) อายตนะยมก คือ ธรรมเป็นคู่คือสังขาร 4.) ธาตุยมก คือ ธรรมเป็นคู่คือธาตุห้า 5.) สัจจยมก คือ ธรรมเป็นคู่คือสัจจะ 6.) สังขาร คือ ธรรมเป็นคู่คือสังขาร 7.) อนุสสัยยมก คือ ธรรมเป็นคู่คืออนุสัย (กิเลสอันนอนเนื่องด้วยในสันดาน) รวมถึง 8.) จิตตยมก คือ ธรรมเป็นคู่คือจิต 9.) ธัมมยมก คือ ธรรมเป็นคู่คือธรรม และ 10.) อินทรียยมก คือ ธรรมเป็นคู่คืออินทรีย์ การจำแนกเป็นคู่ๆ นี้ เป็นไปตามอำนาจของยมก หรือธรรมที่ถูกจำแนกเป็นคู่ๆ ทั้ง 10 ประการ มีลักษณะเป็นการถามถึงลักษณะของธรรมหนึ่ง แล้วตอบด้วยธรรมที่มีลักษณะเป็นคู่กับธรรมนั้นๆ ดังในอรรถกถาอธิบายว่า "ในยมกทั้ง 10 อย่างนี้ ยมกหนึ่งๆ ชื่อว่าคู่ เพราะแสดงไว้ด้วยอำนาจของยมกทั้งหลาย คือคู่ ด้วยประการฉะนี้ ปกรณ์นี้ทั้งหมด พึงทราบว่า ชื่อว่ายมก เพราะรวบรวมคู่ทั้งหลายเหล่านี้ไว้".

ใหม่!!: ยมกและยมกปกรณ์อรรถกถา · ดูเพิ่มเติม »

สังขาร

ังขาร แปลว่า การปรุงแต่ง สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง.

ใหม่!!: ยมกและสังขาร · ดูเพิ่มเติม »

อริยสัจ 4

อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ.

ใหม่!!: ยมกและอริยสัจ 4 · ดูเพิ่มเติม »

อายตนะ

อายตนะ (อ่านว่า อายะตะนะ) แปลว่า ที่เชื่อมต่อ, เครื่องติดต่อ หมายถึงสิ่งที่เป็นสื่อสำหรับติดต่อกัน ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น แบ่งเป็น 2 อย่างคือ.

ใหม่!!: ยมกและอายตนะ · ดูเพิ่มเติม »

อนุสัย

อนุสัย ๗ กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน เหมือนตะกอนนอนอยุ่ที่ก้นภาชนะ ตะกอนจะฟุ้งขึ้นมาทำน้ำให้ขุ่นเพราะมีคนไปกระทบหรือกวนภาชนะฉันใด อนุสัยกิเลสก็เช่นเดียวกัน จะฟุ้งขึ้นมาทำจิตให้ขุ่นมัว ต่อเมื่อมีอารมณ์ภายนอกมากระทบเช่นเดียวกันฉันนั้น อนุสัย ๗ เป็นกิเลสที่มีความละเอียดที่สุด สามารถกำจัดได้ด้วยปัญญาเท่านั้น ส่วนใหญ่จะเป็นกิเลสที่มีในสังโยชน์อนุสัย 7 นี้ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สังโยชน์ 7.

ใหม่!!: ยมกและอนุสัย · ดูเพิ่มเติม »

ขันธ์

ันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่, ส่วน ในทางพุทธศาสนาหมายถึงร่างกายของมนุษย์ คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ 5 ส่วน หรือ 5 ขันธ์ คือ.

ใหม่!!: ยมกและขันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »