โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มาร์กาเร็ต ท็อดด์

ดัชนี มาร์กาเร็ต ท็อดด์

มาร์กาเร็ต ท็อดด์ (Margaret Todd; ค.ศ. 1859 - ค.ศ. 1918) เป็นนักเขียนและแพทย์ชาวสก๊อต ซึ่งเสนอคำว่า ไอโซโทป ให้แก่เฟรเดอริก ซอดดี นักเคมี เมื่อปี..

6 ความสัมพันธ์: กลาสโกว์รางวัลโนเบลสาขาเคมีธาตุตารางธาตุไอโซโทปเฟรเดอริก ซอดดี

กลาสโกว์

กลาสโกว์ กลาสโกว์ (Glasgow; แกลิก: Glaschu; สกอต: Glesca หรือ Glasgae) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสกอตแลนด์ ตั้งอยู่บนแม่น้ำไคลด์ ชาวกลาสโกว์รู้จักกันในชื่อ กลาสวีเจียนส์ (Glaswegians) นอกจากนี้กลาสวีเจียนส์ยังเป็นชื่อสำเนียงท้องถิ่นอีกด้วย ซึ่งนิยมเรียกกันว่า "Glasgow Patter" เมืองกลาสโกว์นั้นถือเป็นเมืองใหญ่ในสหราชอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองและล้ำหน้ามากที่สุดเมืองหนึ่ง ตั้งแต่ในศตวรรษที่ 16 เมืองกลาสโกว์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากการเป็นเมืองท่าใหญ่ของมหาสมุทรแอตแลนติก จากนั้นในศตวรรษที่ 19 อุตสาหกรรมเหล็ก การต่อเรือ และยานยนต์ได้เติบโตขึ้นจนเป็นผลทำให้ผู้คนหลั่งไหลเข้ามา ในที่สุด กลาสโกว์กลายเป็นเมืองที่สามของยุโรปที่มีจำนวนประชากรเกินหนึ่งล้านคน รองจากลอนดอนและปารีส และกลายเป็นเมืองสำคัญอันดับสองของสหราชอาณาจักรรองจากลอนดอน ในปัจจุบัน เมืองกลาสโกว์ยังคงความเป็นศูนย์กลางการค้า ขายปลีก วิศวกรรม และอุตสาหกรรมต่อเรือ ของสก็อตแลนด์ นอกจากนั้นทางด้านต่างๆเช่นการเงินการธนาคาร กลาสโกว์เป็นเมืองทางการเงิน (Financial Centre) ที่ใหญ่เป็นอันดับสามของ UK โดยมี International Financial District (IFSD) ที่เป็นที่ตั้งของบริษัทเงินทุนและธนาคารมากมาย ยกตัวอย่างเช่น 8 ใน 10 แห่งของบริษัทประกันภัยใน UK มีสำนักงานตั้งอยู่ในเมืองกลาสโกว์ บริษัททางการเงินขนาดใหญ่ของโลกเช่น เจพี มอร์แกน แบงค์บาร์เคล และมอร์แกน สแตนเลย์ ต่างก็มีสาขาตั้งอยู่ในบริเวณนี้ กลาสโกว์ยังเป็นอีกเมืองหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากนักท่องเที่ยว ทั้งนี้เนื่องจากความหลากหลายของกิจกรรมที่สามารถหาทำได้ในเมืองใหญ่แห่งนี้ เช่น ช้อบปิ้ง sightseeing งานเทศกาล พิพิธภัณฑ์ ดูหนังฟังเพลง ด้วยความสวยงามของสถาปัตยกรรมบวกกับการที่มีศิลปินมากมายทำให้ในปี 1990 เมืองแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็น เมืองแห่งสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมของยุโรป (Europe’s City of Architecture & Culture) แหล่ง ช็อบปิ้งในกลาสโกว์นั้นมีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ เมืองกลาสโกว์มีมหาวิทยาลัยสามแห่ง ประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ มหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ และ มหาวิทยาลัยกลาสโกว์ คาเลโดเนียน.

ใหม่!!: มาร์กาเร็ต ท็อดด์และกลาสโกว์ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบลสาขาเคมี

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาเคมี (Nobelpriset i kemi, Nobel Prize in Chemistry) เป็นรางวัลมอบโดยราชบัณฑิตยสถานด้านวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดนเป็นประจำทุกปีแก่นักวิทยาศาสตร์ในสาขาต่างๆ ของเคมี รางวัลนี้เป็นหนึ่งในห้ารางวัลโนเบลซึ่งก่อตั้งจากความประสงค์ของอัลเฟรด โนเบลใน..

ใหม่!!: มาร์กาเร็ต ท็อดด์และรางวัลโนเบลสาขาเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ธาตุ

ในทางเคมี ธาตุ คือ สารบริสุทธิ์ซึ่งประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานเลขอะตอม อันเป็นจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น ตัวอย่างธาตุที่คุ้นเคยกัน เช่น คาร์บอน ออกซิเจน อะลูมิเนียม เหล็ก ทองแดง ทองคำ ปรอทและตะกั่ว จนถึงเดือนพฤษภาคม..

ใหม่!!: มาร์กาเร็ต ท็อดด์และธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ตารางธาตุ

ตารางธาตุในลักษณะที่เป็นมาตรฐาน ตารางธาตุ (Periodic table) คือ ตารางที่ใช้แสดงรายชื่อธาตุเคมี ซึ่งจัดเรียงบนพื้นฐานของเลขอะตอม (จำนวนโปรตอนในนิวเคลียส) การจัดเรียงอิเล็กตรอน และสมบัติทางเคมี โดยจะเรียงตามเลขอะตอมที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะระบุไว้ในร่วมกับสัญลักษณ์ธาตุเคมี ในกล่องของธาตุนั้น ตารางธาตุมาตรฐานจะมี 18 หมู่และ 7 คาบ และมีคาบพิเศษเพิ่มเติมมาอยู่ด้านล่างของตารางธาตุ ตารางยังสามารถเปลี่ยนเป็นการจัดเรียงตามบล็อก โดย บล็อก-s จะอยู่ซ้ายมือ บล็อก-p จะอยู่ขวามือ บล็อก-d จะอยู่ตรงกลางและบล็อก-f อยู่ที่ด้านล่าง แถวแนวนอนในตารางธาตุจะเรียกว่า คาบ และแถวในแนวตั้งเรียกว่า หมู่ โดยหมู่บางหมู่จะมีชื่อเฉพาะ เช่นแฮโลเจน หรือแก๊สมีตระกูล โดยคำนิยามของตารางธาตุ ตารางธาตุยังมีแนวโน้มของสมบัติของธาตุ เนื่องจากเราสามารถใช้ตารางธาตุบอกความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของธาตุแต่ละตัว และใช้ทำนายสมบัติของธาตุใหม่ ธาตุที่ยังไม่ถูกค้นพบ หรือธาตุที่สังเคราะห์ขึ้น และด้วยความพิเศษของตารางธาตุ ทำให้มันถูกใช้อย่างกว้างขวางในการศึกษาวิชาเคมีหรือวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ ดมีตรี เมนเดเลเยฟ รู้จักกันในฐานะผู้ที่ตีพิมพ์ตารางธาตุในลักษณะแบบนี้เป็นคนแรก ใน..

ใหม่!!: มาร์กาเร็ต ท็อดด์และตารางธาตุ · ดูเพิ่มเติม »

ไอโซโทป

แสดงไอโซโทปของไฮโดรเจนที่เกิดในธรรมชาติทั้งสามตัว ความจริงที่ว่าแต่ละไอโซโทปมีโปรตอนเพียงหนึ่งตัว ทำให้พวกมันทั้งหมดเป็นไฮโดรเจนที่แตกต่างกัน นั่นคือ ตัวตนของไอโซโทปถูกกำหนดโดยจำนวนของนิวตรอน จากซ้ายไปขวา ไอโซโทปเป็นโปรเทียม (1H) ที่มีนิวตรอนเท่ากับศูนย์, ดิวเทอเรียม (2H) ที่มีนิวตรอนหนึ่งตัว, และ ทริเทียม (3H) ที่มีสองนิวตรอน ไอโซโทป (isotope) เป็นความแตกต่างขององค์ประกอบทางเคมีที่เฉพาะเจาะจงของธาตุนั้นซึ่งจะแตกต่างกันในจำนวนของนิวตรอน นั่นคืออะตอมทั้งหลายของธาตุชนิดเดียวกัน จะมีจำนวนโปรตอนหรือเลขอะตอมเท่ากัน แต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ส่งผลให้เลขมวล(โปรตอน+นิวตรอน)ต่างกันด้วย และเรียกเป็นไอโซโทปของธาตุนั้น.

ใหม่!!: มาร์กาเร็ต ท็อดด์และไอโซโทป · ดูเพิ่มเติม »

เฟรเดอริก ซอดดี

ฟรเดอริค ซอดดี (Frederick Soddy; 2 กันยายน ค.ศ. 1877 – 22 กันยายน ค.ศ. 1956) เป็นนักเคมีชาวอังกฤษ และนักเศรษฐศาสตร์การเงินที่ทำงานร่วมกับเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด ในการอธิบายว่า การสลายตัวของสารกัมมันตรังสีนั้นเป็นผลมาจากการแปรนิวเคลียสของธาตุ ซึ่งปัจจุบันเรารู้จักกันในฐานะปฏิกิริยานิวเคลียร์ เขายังพิสูจน์ถึงการมีอยู่ของไอโซโทปของธาตุกัมมันตรังสีจำนวนหนึ่ง ซอดดีได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี..

ใหม่!!: มาร์กาเร็ต ท็อดด์และเฟรเดอริก ซอดดี · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »