โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์

ดัชนี มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ (Acute myeloid leukemia, acute myelogenous leukemia, AML) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งซึ่งเกิดกับเซลล์เม็ดเลือดในสายไมอิลอยด์ มีลักษณะเฉพาะของโรคคือมีการเจริญอย่างรวดเร็วผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติ สะสมในไขกระดูกจนรบกวนการเจริญของเซลล์เม็ดเลือดปกติ มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดที่พบบ่อยที่สุดในผู้ใหญ่ และมีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้นตามช่วงอายุ แม้มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์จะเป็นโรคที่ค่อนข้างพบน้อยโดยนับเป็น 1.2% ของการตายจากมะเร็งในประเทศสหรัฐอเมริกาก็ตาม อุบัติการณ์ของโรคนี้มีแนวโน้มจะเพิ่มสูงขึ้นจากการที่ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น อาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์เกิดจากการที่เซลล์ในไขกระดูกถูกแทนที่โดยเซลล์มะเร็งเม็ดเลือด ซึ่งทำให้ร่างกายมีจำนวนเม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด และเม็ดเลือดขาวปกติน้อยลง อาการเหล่านี้เช่น อาการอ่อนเพลีย หายใจเหนื่อย เลือดออกง่าย มีจ้ำตามตัวง่าย ติดเชื้อง่าย ถึงแม้จะมีการค้นพบปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์แล้วหลายอย่างก็ตามแต่สาเหตุที่แท้จริงของโรคนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด และเช่นเดียวกันกับมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดอื่นๆ มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์จะมีการดำเนินโรคที่รวดเร็วและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ภายในเวลาเป็นสัปดาห์หรือเป็นเดือนหากไม่ได้รับการรักษา มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์มีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดมีวิธีการรักษาและพยากรณ์โรคแตกต่างกัน อัตรารอดชีวิตที่ห้าปีมีตั้งแต่ 15-70% และอัตราการกลับเป็นซ้ำมีตั้งแต่ 78-33% แล้วแต่ชนิด การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ในระยะแรกนั้นใช้การรักษาด้วยเคมีบำบัดโดยมุ่งเหนี่ยวนำให้โรคสงบ โดยผู้ป่วยอาจต้องได้รับเคมีบำบัดเพิ่มเติมหรือต้องได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโลหิตในไขกระดูก งานวิจัยใหม่ๆ ทางด้านพันธุศาสตร์เกี่ยวกับโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์ทำให้มีการทดสอบที่สามารถทำนายได้ว่ายาชนิดใดจะได้ผลดีกับผู้ป่วยรายใดโดยเฉพาะ และยังทำให้ทราบได้ว่าผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตมากเท่าใดอีกด้ว.

23 ความสัมพันธ์: กล้องจุลทรรศน์การกลายพันธุ์การสับเปลี่ยนของโครโมโซมการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์การตรวจเลือดการติดเชื้อการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือดมะเร็งมะเร็งเม็ดเลือดขาวมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสติกสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกาสหรัฐอาการหายใจลำบากอีโอซิโนฟิลความล้าน้ำหนักลดไขกระดูกไข้เกล็ดเลือดเม็ดเลือดขาวเม็ดเลือดแดงเคมีบำบัดเซลล์พันธุศาสตร์

กล้องจุลทรรศน์

กล้องจุลทรรศน์ใช้เลนส์ประกอบ สร้างโดยจอห์น คัฟฟ์ (John Cuff) ค.ศ. 1750 กล้องจุลทรรศน์ เป็นอุปกรณ์สำหรับมองดูวัตถุที่มีขนาดเล็กเกินกว่ามองเห็นด้วยตาเปล่าเช่น วัตถุที่อยู่ไกล วัตถุที่อยู่สูง เป็นต้น ศาสตร์ที่มุ่งสำรวจวัตถุขนาดเล็กโดยใช้เครื่องมือดังกล่าวนี้ เรียกว่า จุลทรรศนศาสตร์ (microscopy).

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และกล้องจุลทรรศน์ · ดูเพิ่มเติม »

การกลายพันธุ์

การกลายพันธุ์ (mutation) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงของยีน ทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นมาใหม่มีลักษณะแตกต่างจากกลุ่มปกติ, วันที่สืบค้น 25 พฤษภาคม 2559 จาก www.thaibiotech.info.

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และการกลายพันธุ์ · ดูเพิ่มเติม »

การสับเปลี่ยนของโครโมโซม

การสับเปลี่ยนของโครโมโซมคู่ที่ 4 กับ 20 การสับเปลี่ยนของโครโมโซม (chromosomal translocation) เป็นความผิดปกติของโครโมโซมอย่างหนึ่ง เกิดจากการแลกเปลี่ยนชิ้นส่วนของโครโมโซมที่ไม่ใช่คู่กัน จุดที่โครโมโซมมาต่อกันนั้นเกิดการผสมยีนเกิดเป็นยีนใหม่ ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบบ่อยอย่างหนึ่งของการเกิดมะเร็ง ความผิดปกตินี้อาจตรวจพบได้จากการตรวจทางเซลล์พันธุศาสตร์หรือการตรวจแครีโอไทป์ของเซลล์ที่มีการสับเปลี่ยน การสับเปลี่ยนของโครโมโซมแบ่งออกเป็นสองชนิดหลัก คือแบบมีการแลกเปลี่ยน (reciprocal, หรือ "แบบไม่ใช่โรเบิร์ตโซเนียน") และแบบโรเบิร์ตโซเนียน (Rebertsonian) หรืออาจแบ่งเป็น แบบสมดุล (ไม่มีการเพิ่มหรือลดของสารพันธุกรรม และทางทฤษฎีแล้วจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเชิงหน้าที่เกิดขึ้น) และแบบไม่สมดุล (ซึ่งมีการเพิ่มหรือลดของสารพันธุกรรม ทำให้มียีนเกินขึ้นมาหรือขาดหายไป).

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และการสับเปลี่ยนของโครโมโซม · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์

การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ หรือ การตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (Complete blood count (CBC); Full blood count (FBC); Full blood exam (FBE)) หรือที่นิยมเรียกย่อว่า ซีบีซี เป็นการทดสอบที่ร้องขอโดยแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์อื่น ๆ เพื่อต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับเซลล์เม็ดเลือดของผู้ป่วย ข้อมูลที่ได้อาจเรียกว่า ฮีมาโตแกรม (hemogram) Alexander Vastem เป็นคนแรกที่ใช้การนับจำนวนเม็ดเลือดเพื่อจุดประสงค์ทางการแพทย์ ค่ามาตรฐานที่ใช้เปรียบเทียบผลของการตรวจเลือดด้วยวิธีนี้มาจากการทดลองทางคลินิกตั้งแต่ ช่วง..

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

การตรวจเลือด

การเจาะหลอดเลือดดำ การตรวจเลือด คือ การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์จากเลือดซึ่งปกติแล้วได้จากการเก็บสิ่งส่งตรวจโดยการเจาะเก็บเลือดจากหลอดเลือดดำบริเวณแขนหรือปลายนิ้ว การตรวจเลือดใช้สำหรับตรวจสอบสถาวะทางสรีรวิทยาและชีวเคมี เช่น โรค แร่ธาตุ การใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพ และการทำงานของอวัยวะต่างๆ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ในการทดสอบสารเสพติด ถึงแม้เราจะใช้คำว่า "การตรวจเลือด" แต่การตรวจเลือดโดยทั่วไป (ยกเว้นทางโลหิตวิทยา) เราจะตรวจจากพลาสมาหรือซีรัมแทนของเซลล์เม็ดเลือ.

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และการตรวจเลือด · ดูเพิ่มเติม »

การติดเชื้อ

การติดเชื้อ หมายถึงการเจริญของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นบนร่างกายของโฮสต์ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดโรคได้ จุลชีพก่อโรคจะมีการพยายามใช้ทรัพยากรของโฮสต์เพื่อใช้ในการเพิ่มจำนวนของตัวเอง จุลชีพก่อโรคจะรบกวนการทำงานปกติของร่างกายโฮสต์ซึ่งอาจทำให้เกิดบาดแผลเรื้อรัง (chronic wound), เนื้อตายเน่า (gangrene), ความพิการของแขนและขา และอาจทำให้เสียชีวิตได้ การตอบสนองของโฮสต์ต่อการติดเชื้อ เรียกว่า การอักเสบ (inflammation) จุลชีพก่อโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อมักจะเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กซึ่งมีความหลากหลายเช่นแบคทีเรีย ไวรัส ปรสิต เชื้อรา พรีออน หรือไวรอยด์ ภาวะพึ่งพิงซึ่งกันและกันระหว่างปรสิตและโฮสต์ซึ่งปรสิตได้ประโยชน์แต่โฮสต์เสียประโยชน์นั้นในทางนิเวศวิทยาเรียกว่าภาวะปรสิต (parasitism) แขนงของวิชาแพทยศาสตร์ซึ่งเน้นศึกษาในเรื่องการติดเชื้อและจุลชีพก่อโรคคือสาขาวิชาโรคติดเชื้อ (infectious disease) การติดเชื้ออาจแบ่งออกเป็นการติดเชื้อปฐมภูมิ (primary infection) คือการติดเชื้อหลังจากการได้รับจุลชีพก่อโรคเป็นครั้งแรก และการติดเชื้อทุติยภูมิ (secondary infection) ซึ่งหมายถึงการติดเชื้อที่เกิดขึ้นหลังหรือระหว่างการรักษาการติดเชื้อปฐมภูม.

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และการติดเชื้อ · ดูเพิ่มเติม »

การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือด

การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือด คือการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด ซึ่งอาจเก็บจากเลือดดำ (peripheral blood หรือ Venous blood) ไขกระดูก (bone marrow) หรือ เลือดจากสายสะดือ (umbilical cord blood) เซลล์เหล่านี้เจริญมาจากเนื้อเยื่อมีโซเดิร์ม และส่วนใหญ่อยู่ที่ไขกระดูกส่วนไขแดง พบได้ในใจกลางกระดูกส่วนใหญ่ เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดนี้สามารถพัฒนาไปเป็นเม็ดเลือดในสายไมอีลอยด์ (เช่น เม็ดเลือดขาวโมโนไซต์ แมโครฟาจ นิวโตรฟิล เบโซฟิล อีโอซิโนฟิล เม็ดเลือดแดง เซลล์เดนไดรต์ เมกะแคริโอไซต์ และเกล็ดเลือด) และสายลิมฟอยด์ (เช่น เม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ชนิดเซลล์ทีและเซลล์บี เซลล์เอ็นเค) ได้ หมวดหมู่:โลหิตวิทยา หมวดหมู่:ระบบน้ำเหลือง หมวดหมู่:เซลล์ต้นกำเนิด หมวดหมู่:ศัลยศาสตร์มะเร็งวิทยา หมวดหมู่:โลหิตวิทยา.

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือที่นิยมเรียกกันว่า ลูคิเมีย (Leukemia, Leukeamia) เป็นมะเร็งที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือด ทำให้มีการสร้างเม็ดเลือดชนิดผิดปกติออกมามากกว่าปกติ และจะไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดปกติ ทำให้จำนวนเม็ดเลือดที่ปกตินั้นมีจำนวนลดน้อยลง.

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และมะเร็งเม็ดเลือดขาว · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสติก

มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสติก (acute lymphoblastic leukemia; ALL) เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง โดยมีเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟบลาสต์ในเลือดมากกว่าปกต.

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดลิมโฟบลาสติก · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา

มาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society; อักษรย่อ: ACS) เป็นองค์กรอนามัยระดับประเทศที่ทุ่มเทต่อการกำจัดโรคมะเร็ง โดยได้รับการก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และสมาคมโรคมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

อาการหายใจลำบาก

อาการหายใจลำบากหรืออาการหอบ (dyspnea, shortness of breath) เป็นอาการที่ผู้ป่วยรู้สึกว่าหายใจได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ นิยามโดยสมาคมโรคทรวงอกแห่งประเทศสหรัฐอเมริกากล่าวถึงอาการหายใจลำบากไว้ว่าหมายถึง "ประสบการณ์โดยอัตวิสัยที่คนผู้หนึ่งหายใจไม่สะดวก เป็นความรู้สึกที่วัดไม่ได้ ซึ่งมีความรุนแรงหลายระดับ" และแนะนำให้ผู้ที่ตรวจรักษาผู้ป่วยที่มีอาการหายใจลำบาก ประเมินความรุนแรงของความรู้สึกที่ว่านี้ ระดับของความลำบากที่ปรากฎ และผลกระทบที่มีต่อกิจกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน ความรู้สึกหายใจลำบากนี้มีหลายแบบ (เชิงคุณภาพ) เช่น รู้สึกว่าต้องใช้แรงมากในการหายใจ รู้สึกแน่นอยู่ในอก หรือรู้สึกหิวอากาศ หายใจไม่เพียงพอต่อความต้องการ เป็นต้น อาการหายใจลำบากเป็นอาการปกติของการออกกำลังกายอย่างหนัก แต่หากเกิดขึ้นในขณะที่ไม่ได้ออกกำลังกาย หรือออกแรงเพียงเล็กน้อย จะถือเป็นความผิดปกติ โรคที่เป็นสาเหตุมีอยู่หลายอย่าง เช่น โรคหืด ปอดอักเสบ หัวใจขาดเลือด โรคเนื้อปอด หัวใจวาย ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือโรคทางจิตใจ เช่น โรคแพนิก โรควิตกกังวล เป็นต้น การรักษาอาการหายใจลำบากมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับโรคที่เป็นสาเหต.

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และอาการหายใจลำบาก · ดูเพิ่มเติม »

อีโอซิโนฟิล

ลักษณะของอีโอซิโนฟิล อีโอซิโนฟิล (Eosinophil) เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดมีแกรนูล โดยมีนิวเคลียสขนาดใหญ่ ปกติจะเห็นเป็น 2 lobe และสามารถเห็นแกรนูลชัดเจนโดยมีขนาดประมาณ 0.5 ไมครอน ซึ่งจะติดสีแดงอิฐเมื่อมองดูจากฟิล์มเลือด โดยปกติเราสามารถพบอีโอซิโนฟิลในไขกระดูกประมาณ 0-3 เปอร์เซนต์ และในกระแสเลือด ประมาณ 0-4 เปอร์เซนต์ต่อเม็ดเลือดขาวทั้งหมด หรือประมาณ 0-432 เซลล์ต่อลูกบาศก์มิลลิลิตร อีโอซิโนฟิลสร้างจากไขกระดูก โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 3-6 วัน หลังจากนั้น จะเข้าสู่กระแสเลือด ประมาณ 6-8 ชั่วโมง และจะกระจายไปตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยอีโอซิโนฟิลที่อยู่ตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ อาจจะกลับเข้าไปสู่กระแสเลือดและไขกระดูกอีกก็ได้ นอกจากนี้ พบว่าอีโอซิโนฟิลสามารถเคลื่อนที่ไปยังเนื้อเยื่อที่เกิดการอักเสบอีกด้วย โดยปกติอีโอซิโนฟิลมีหน้าที่เกี่ยวข้องการตอบสนองต่อการติดเชื้อพยาธิ การแพ้ หรือ การอักเสบ โดยภาวะที่พบอีโอซิโนฟิลสูงนั้น อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น ร่างกายเกิดอาการแพ้ (Allergic disorders) การติดเชื้อพยาธิ โรคผิวหนังบางชนิด เป็นต้น.

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และอีโอซิโนฟิล · ดูเพิ่มเติม »

ความล้า

วามล้า หรือ ความอ่อนล้า เป็นความรู้สึกเหนื่อยเชิงจิตวิสัย ซึ่งแตกต่างจากความอ่อนแอ (weakness) และมีการตั้งต้นทีละน้อย ความล้าสามารถบรรเทาได้โดยได้รับการพักผ่อนชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งต่างจากความอ่อนแอ ความล้าอาจมีสาเหตุทางร่างกายหรือจิตใจก็ได้ ความล้าทางกายภาพเป็นสภาพที่กล้ามเนื้อไม่สามารถธำรงสมรรถภาพทางกายภาพเหมาะสมได้ชั่วคราว และกิจกรรมทางกายอย่างหักโหมยิ่งทำให้ความล้ารุนแรงขึ้น ความล้าทางจิตใจเป็นการลดสมรรถภาพการรู้สูงสุดไปชั่วคราว อันเป็นผลมาจากกิจกรรมการคิดยาวนาน ความล้าสามารถแสดงออกมาเป็นอาการง่วงซึม ภาวะง่วงงุน หรือความล้ามุ่งประเด็นตั้งใ.

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และความล้า · ดูเพิ่มเติม »

น้ำหนักลด

น้ำหนักลด ในบริบททางการแพทย์ สุขภาพหรือสมรรถภาพทางกาย คือการลดลงของมวลกายรวม อันเนื่องมาจากการลดลงของของไหล ไขมันร่างกายหรือเนื้อเยื่อไขมัน และ/หรือ มวลกล้ามเนื้อไขมัน (lean mass) โดยเฉลี่ย ซึ่งกล้ามเนื้อไขมันนั้นคือ แหล่งแร่ธาตุกระดูก กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพันอื่น น้ำหนักลดสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่เจตนาเนื่องจากโรคเบื้องหลังหรือสามารถเกิดขึ้นจากความพยายามอย่างตั้งใจเพื่อปรังปรุงน้ำหนักเกินแท้จริงหรือน้ำหนักเกินรับมา หรือโรคอ้วน.

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และน้ำหนักลด · ดูเพิ่มเติม »

ไขกระดูก

กระดูก เป็นเนื้อเยื่อยืดหยุ่นที่พบได้ในกระดูกชั้นใน ไขกระดูกในกระดูกชิ้นใหญ่ของคนผลิตเม็ดเลือดแดงใหม่ โดยเฉลี่ยแล้วไขกระดูกมีน้ำหนักคิดเป็นร้อยละ 4 ของน้ำหนักร่างกายทั้งหมด เช่นในผู้ใหญ่น้ำหนัก 65 กิโลกรัม จะมีไขกระดูกโดยประมาณ 2.6 กิโลกรัม ส่วนสร้างเม็ดเลือด (hematopoietic compartment) ของไขกระดูกผลิตเม็ดเลือดแดง 500,000 ล้านเซลล์ต่อวันโดยประมาณ ซึ่งใช้ระบบไหลเวียนไขกระดูก (bone marrow vasculature) เป็นท่อสู่ระบบไหลเวียนของร่างกาย ไขกระดูกยังเป็นส่วนหลักของระบบน้ำเหลือง (lymphatic system) ที่ผลิตเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซท์ซึ่งช่วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างก.

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และไขกระดูก · ดูเพิ่มเติม »

ไข้

้ หรือ อาการตัวร้อน ปรับปรุงเมื่อ 6..

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และไข้ · ดูเพิ่มเติม »

เกล็ดเลือด

กล็ดเลือด (platelet หรือ thrombocyte, เซลล์ลิ่มเลือด) เป็นส่วนประกอบของเลือดซึ่งมีหน้าที่ทำให้เลือดหยุดร่วมกับปัจจัยเลือดจับลิ่ม (coagulation factors) โดยเกาะกลุ่มและจับลิ่มการบาดเจ็บของหลอดเลือด เกล็ดเลือดไม่มีนิวเคลียสของเซลล์ เป็นส่วนหนึ่งของไซโทพลาซึมที่มาจากเมกาคาริโอไซต์ (megakaryocyte) ของไขกระดูก แล้วเข้าสู่ระบบไหลเวียน เกล็ดเลือดที่ยังไม่ปลุกฤทธิ์มีโครงสร้างคล้ายจานนูนสองข้าง (ทรงเลนส์) เส้นผ่านศูนย์กลางมากสุด 2–3 ไมโครเมตร เกล็ดเลือดพบเฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ส่วนสัตว์อื่น เกล็ดเลือดไหลเวียนเป็นเซลล์นิวเคลียสเดี่ยวMichelson, Platelets, 2013, p. 3 ในสเมียร์เลือดที่ย้อมแล้ว เกล็ดเลือดปรากฏเป็นจุดสีม่วงเข้ม ประมาณ 20% ของเส้นผ่านศูนย์กลางเม็ดเลือดแดง สเมียร์ใช้พิจารณาขนาด รูปทรง จำนวนและการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด สัดส่วนของเกล็โเลือดต่อเม็ดเลือดแดงในผู้ใหญ่สุขภาพดีอยู่ระหว่าง 1:10 ถึง 1:20 หน้าที่หลักของเกล็ดเลือด คือ การมีส่วนในการห้ามเลือด ซึ่งเป็นกระบวนการหยุดการตกเลือด ณ จุดที่เนื้อเยื่อบุโพรงฉีกขาด พวกมันจะมารวมกันตรงนั้นและจะอุดรูรั่วถ้ารอยฉีกขาดนั้นไม่ใหญ่เกินไป ขั้นแรก เกล็ดเลือดจะยึดกับสสารนอกเยื่อบุโพรงที่ฉีกขาด เรียก "การยึดติด" (adhesion) ขั้นที่สอง พวกมันเปลี่ยนรูปทรง เปิดตัวรับและหลั่งสารเคมีนำรหัส เรียก การปลุกฤทธิ์ (activation) ขั้นที่สาม พวกมันเชื่อมต่อกันโดยสะพานตัวรับ เรียก การรวมกลุ่ม (aggregation) การก่อก้อน (clot) เกล็ดเลือด (การห้ามเลือดปฐมภูมิ) นี้สัมพันธ์กับการปลุกฤทธิ์การจับลิ่มของเลือดเป็นลำดับ (coagulation cascade) โดยมีผลลัพธ์ทำให้เกิดการพอกพูน (deposition) และการเชื่อมกันของไฟบริน (การห้ามเลือดทุติยภูมิ) กระบวนการเหล่านี้อาจซ้อนทับกันได้ สเปกตรัมมีตั้งแต่มีก้อนเกล็ดเลือดเป็นหลัก หรือ "ลิ่มขาว" ไปจนถึงมีก้อนไฟบรินเป็นหลัก หรือ "ลิ่มแดง" หรือแบบผสมที่ตรงแบบกว่า ผลลัพธ์คือ ก้อน บางคนอาจเพิ่มการหดตัวของก้อนและการยับยั้งเกล็ดเลือดในเวลาต่อมาเป็นขั้นที่สี่และห้าเพื่อทำให้กระบวนการสมบูรณ์ และบ้างว่าขั้นที่หกเป็นการซ่อมบาดแผล ภาวะเกล็ดเลือดน้อยเกิดจากมีการผลิตเกล็ดเลือดลดลงหรือมีการทำลายมากขึ้น ภาวะเกล็ดเลือดมากอาจเป็นแต่กำเนิด แบบปฏิกิริยา (ต่อไซโทไคน์) หรือเนื่องจากการผลิตที่ไม่มีการควบคุม อาจเป็นโรคเนื้องอกไมอิโลโปรลิเฟอเรตีฟ (myeloprolerative neoplasm) อย่างหนึ่งหรือเนื้องอกของมัยอีลอยด์อื่นบางอย่าง นอกจากนี้ ยังมีภาวะเกล็ดเลือดทำหน้าที่ผิดปกติ (thrombocytopathy) เกล็ดเลือดปกติสามารถสนองต่อความปกติบนผนังหลอดเลือดมากกว่าการตกเลือด ทำให้มีการยึดเกาะ/การปลุกฤทธิ์ที่ไม่เหมาะสมและภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือดในภาวะที่หลอดเลือดมิได้ฉีกขาด ภาวะนี้มีกลไกแตกต่างจากก้อนปกติ ตัวอย่าง คือ การขยายก้อนไฟบรินจากภาวะหลอดเลือดดำมีลิ่มเลือด การขยายของพลาก (plaque) หลอดเลือดแดงที่ไม่เสถียรหรือแตก ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแดงมีลิ่มเลือด และภาวะหลอดเลือดระบบไหลเวียนขนาดเล็กมีลิ่มเลือด (microcirculatory thrombosis) ลิ่มหลอดเลือดแดงอาจอุดกั้นการไหลของเลือดบางส่วน ทำให้มีการขาดเลือดเฉพาะที่ใต้ต่อจุดอุดตัน หรืออุดกั้นสมบูรณ์ ทำให้มีการตายของเนื้อเยื่อใต้ต่อจุดอุดตัน.

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และเกล็ดเลือด · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดเลือดขาว

A scanning electron microscope image of normal circulating human blood. In addition to the irregularly shaped leukocytes, both red blood cells and many small disc-shaped platelets are visible เม็ดเลือดขาว (White blood cells - leukocytes) เป็นเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันซึ่งคอยป้องกันร่างกายจากทั้งเชื้อก่อโรคและสารแปลกปลอมต่างๆ เม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด ทั้งหมดเจริญมาจาก pluripotent cell ในไขกระดูกที่ชื่อว่า hematopoietic stem cell เซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นเซลล์ที่พบได้ทั่วไปในร่างกาย รวมไปถึงในเลือดและในระบบน้ำเหลือง จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดมักใช้เป็นข้อบ่งชี้ของโรคและการดำเนินไปของโรค โดยปกติแล้วในเลือดหนึ่งลิตรจะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่ประมาณ 4×109 ถึง 11×109 เซลล์ รวมเป็นเซลล์ประมาณ 1% ในเลือดของคนปกติ ในบางสภาวะ เช่น ลูคีเมีย (มะเร็งเม็ดเลือดขาว) จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวจะมีปริมาณได้มากกว่าปกติ หรือในภาวะ leukopenia จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวก็จะน้อยกว่าปกติ คุณสมบัติทางกายภาพของเซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น ปริมาตร conductivity และ granularity อาจเปลี่ยนแปลงไประหว่างการกระตุ้นเซลล์ การเจริญของเซลล์ หรือการมีเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว.

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และเม็ดเลือดขาว · ดูเพิ่มเติม »

เม็ดเลือดแดง

ซลล์เม็ดเลือดแดงในร่างกายมนุษย์ เม็ดเลือดแดง (red blood cell, Erythrocyte: มาจากภาษากรีก โดย erythros แปลว่า "สีแดง" kytos แปลว่า "ส่วนเว้า" และ cyte แปลว่า "เซลล์") มีหน้าที่ในการส่งถ่ายออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่าง ๆ ทั่วร่างกาย เม็ดเลือดแดงมีขนาดประมาณ 6-8 ไมครอน มีลักษณะค่อนข้างกลม เว้าบริเวณกลางคล้ายโดนัท ไม่มีนิวเคลียส มีสีแดง เนื่องจากภายในมีสารฮีโมโกลบิน โดยในกระแสเลือดคนปกติจะพบเม็ดเลือดแดงที่เจริญเติบโตเต็มที่ (Mature red cell) มีเพียงไม่เกิน 2% ที่สามารถพบเม็ดเลือดแดงตัวอ่อน (Reticulocyte) ได้.

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และเม็ดเลือดแดง · ดูเพิ่มเติม »

เคมีบำบัด

มีบำบัด (chemotherapy) หรือ คีโม (chemo) เป็นวิธีรักษามะเร็งประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้ยาต้านมะเร็งชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดมาประกอบกับเป็นสูตรยาเคมีบำบัดมาตรฐาน เคมีบำบัดอาจให้โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษามะเร็งให้หาย หรือให้เพื่อยืดชีวิตและบรรเทาอาการก็ได้ (เรียกว่า เคมีบำบัดแบบประคับประคอง) ในปัจจุบันคำว่าเคมีบำบัดถูกใช้เมื่อหมายถึงการรักษาด้วยยารักษามะเร็งที่ออกฤทธิ์ด้วยวิธียับยั้งการแบ่งเซลล์ ซึ่งบางครั้งอาจไม่นับรวมยาที่ออกฤทธิ์ผ่านกลไกอื่น เช่น ยาที่ออกฤทธิ์โดยการจับกับตำแหน่งเป้าหมายบนโมเลกุลหรือยีน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งผ่านฮอร์โมน (เช่น เอสโตรเจน สำหรับมะเร็งเต้านม หรือ แอนโดรเจน สำหรับมะเร็งต่อมลูกหมาก) ก็จะถูกเรียกว่า ฮอร์โมนบำบัด หรือการรักษาด้วยฮอร์โมน ส่วนยาที่ออกฤทธิ์ด้วยการยับยั้งการส่งสัญญาณผ่านตัวรับ เช่น ผ่านตัวรับไทโรซีนไคเนส ก็จะถูกเรียกว่า การรักษาแบบมุ่งเป้า เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นการรักษาด้วยยาแบบเคมีบำบัด ฮอร์โมนบำบัด หรือรักษาแบบมุ่งเป้า ก็ตาม ปัจจุบันส่วนใหญ่ยังเป็นการรักษาที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย กล่าวคือเมื่อให้ยาเข้าสู่ร่างกายแล้วยาจะเข้าสู่กระแสเลือดและสามารถส่งไปออกฤทธิ์ต่อเซลล์มะเร็งได้ทุกที่ที่มีเลือดไปถึง หรือก็คือทั่วร่างกายนั่นเอง การรักษาแบบทั่วร่างนี้บางครั้งนิยมใช้ร่วมกับการรักษาแบบเฉพาะที่ เช่น การรักษาด้วยรังสี การผ่าตัด หรือการรักษาด้วยความร้อน เป็นต้น ยาเคมีบำบัดแบบดั้งเดิมเป็นยาที่เป็นพิษต่อเซลล์ หมายถึงไปรบกวนหรือยับยั้งกระบวนการแบ่งเซลล์ (ไมโทซิส) แต่เซลล์มะเร็งซึ่งมีหลายชนิดนั้นก็ตอบสนองต่อการรักษาแบบนี้แตกต่างกัน อาจกล่าวได้ว่าเคมีบำบัดเป็นยาที่ทำลายหรือทำร้ายเซลล์ ซึ่งอาจทำให้เซลล์ตายลงผ่านกระบวนการอะพอพโทซิส ผลข้างเคียงของเคมีบำบัดนั้นส่วนหนึ่งมาจากการที่เซลล์ปกติที่มีการแบ่งเซลล์บ่อยครั้งนั้นถูกทำลายไปพร้อมกันกับเซลล์มะเร็ง เซลล์เหล่านี้ เช่น เซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก เซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร และเซลล์รากผม เป็นต้น ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่พบบ่อยของเคมีบำบัด ได้แก่ การกดไขกระดูก ทำให้สร้างเม็ดเลือดได้น้อย และทำให้มีภูมิคุ้มกันต่ำตามมา เยื่อบุทางเดินอาหารอักเสบ และผมร่วง เนื่องจากผลต่อเซลล์ภูมิคุ้มกันนี้เอง ทำให้บางครั้งยาเคมีบำบัดเหล่านี้มีที่ใช้ในโรคอื่นที่เกิดจากการที่เซลล์ภูมิคุ้มกันทำงานมากเกินไปหรือทำงานผิดปกติ โรคเหล่านี้เรียกว่าโรคภูมิต้านตนเอง เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ ลูปัสอิริทีมาโทซัสทั่วร่าง มัลติเพิลสเคลอโรซิส โรคหลอดเลือดอักเสบต่างๆ เป็นต้น.

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และเคมีบำบัด · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์พันธุศาสตร์

เซลล์พันธุศาสตร์ (Cytogenetics) เป็นการศึกษาพันธุศาสตร์ในระดับเซลล์ ศึกษารูปร่าง ลักษณะ และจำนวน ของโครโมโซมในสิ่งมีชีวิต ตำแหน่งที่ตั้งของยีนบนโครโมโซม รวมถึงการศึกษาการแบ่งเซลล์ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:พันธุศาสตร์ หมวดหมู่:เซลล์พันธุศาสตร์.

ใหม่!!: มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิดไมอิลอยด์และเซลล์พันธุศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Acute myelogenous leukemiaAcute myeloid leukemia

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »