โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มอเนอรา

ดัชนี มอเนอรา

มอเนอรา (Monera) เป็นชื่ออาณาจักรของสิ่งมีชีวิต ประมาณว่ามีจำนวนถึง 4 ล้านสปีชีส์ จำแนกได้เป็น 2 อาณาจักรย่อย คือ อาณาจักรย่อยอาร์เคียแบคทีเรีย, อาณาจักรย่อยยูแบคทีเรี.

16 ความสัมพันธ์: ชิโซไมโคไฟตาหนองในแท้อาร์เคียซิฟิลิสปฏิกิริยาเคมีแบคทีเรียแบคทีเรียกรัมบวกแบคทีเรียแกรมลบแลคโตบาซิลลัสโรคฉี่หนูไรโซเบียมไซยาโนแบคทีเรียเปบทิโดไกลแคนCyanophytaEscherichia coliMycoplasma

ชิโซไมโคไฟตา

ซไมโคไฟตา (Schizomycophyta) เป็นไฟลัมในอาณาจักรมอเนอรา สมาชิกที่เด่น คือ แบคทีเรี.

ใหม่!!: มอเนอราและชิโซไมโคไฟตา · ดูเพิ่มเติม »

หนองในแท้

รคหนองในแท้ (gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้บ่อย เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhoeae เชื้อนี้จะทำให้เกิดโรคเฉพาะเยื่อเมือก mucous membrance เช่น เยื่อเมือกในท่อปัสสาวะ ช่องคลอด ปากมดลูก และเยื่อบุมดลูก, ท่อรังไข่, ทวารหนัก, คอ และเยื่อบุตา อาการที่พบได้บ่อยสำหรับผู้ชายคือ ปวดแสบขณะปัสสาวะ และมีหนองสีเหลือง สำหรับผู้หญิง ครึ่งหนึ่งมักไม่มีอาการ หรือ มีตกขาว หรือเลือดผิดปกติ และปวดอุ้งเชิงกราน ทั้งผู้ชายและผู้หญิงถ้าเป็นโรคหนองในแท้โดยที่ไม่ได้รักษา มันสามารถแพร่กระจายเฉพาะที่เกิดเป็นโรค epididymitis หรือ pelvic inflammatory disease หรือ แพร่กระจายตามส่วนต่าง ๆ มีผลต่อข้อและลิ้นหัวใจ การรักษามักใช้ยา ceftriaxone เนื่องจากมีการพัฒนาการดื้อต่อยา(antibiotic resistance) ต่อยาหลายตัวที่ใช้กันก่อนหน้านี้ โดยทั่วไปแล้ว มักใช้ร่วมกับ azithromycin หรือ doxycycline มีเชื้อ gonorrhea บางสายพันธุ์ ดื้อต่อยา ceftriaxone.

ใหม่!!: มอเนอราและหนองในแท้ · ดูเพิ่มเติม »

อาร์เคีย

อาร์เคีย เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะคล้ายแบคทีเรีย แต่เชื่อว่ามีวิวัฒนาการแยกมา เพราะมีเยื่อหุ้มเซลล์ที่แปลกออกไป เป็นโปรคาริโอตที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายและในมหาสมุทร ผนังเซลล์ไม่มีเปบทิโดไกลแคน กรดไขมันในเยื่อหุ้มแตกกิ่ง ไม่ไวต่อยาปฏิชีวนะ ยีนไม่มีอินทรอน RNA polymerase มีหลายชนิด บางส่วนเหมือนยูคาริโอต rRNA บางส่วนคล้ายกับของยูคาริโอตด้วยเช่นกัน กลุ่มของอาร์เคียที่สำคัญได้แก.

ใหม่!!: มอเนอราและอาร์เคีย · ดูเพิ่มเติม »

ซิฟิลิส

ซิฟิลิส (syphilis) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Treponema pallidum ผู้ป่วยอาจมีอาการได้หลายอย่างขึ้นกับระยะที่เป็น (ระยะแรก ระยะที่สอง ระยะแฝง และระยะที่สาม) ระยะแรกผู้ป่วยมักมีแผลริมแข็ง ซึ่งจะไม่เจ็บ แต่อาจมีแผลเจ็บขึ้นต่างหากได้ ระยะที่สองมักมีผื่นขึ้นทั่วตัว มักพบที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า อาจมีแผลเจ็บในปากหรือในช่องคลอดได้ บางครั้งอาจเรียกว่า "ระยะออกดอก"สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ 10 / เรื่องที่ 2 โรคติดต่อและโรคเขตร้อน / โรคติดต่อทางเพศสัมพัน.

ใหม่!!: มอเนอราและซิฟิลิส · ดูเพิ่มเติม »

ปฏิกิริยาเคมี

ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม โดยมีสารเริ่มต้นปฏิกิริยาเรียกว่า "สารตั้งต้น" (reactant) ซึ่งจะมีเพียงตัวเดียวหรือมากกว่า 1 ตัวก็ได้ มาเกิดปฏิกิริยากัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน) และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน ในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี หมวดหมู่:ปฏิกิริยาเคมี หมวดหมู่:เคมี.

ใหม่!!: มอเนอราและปฏิกิริยาเคมี · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรีย

แบคทีเรีย หรือ บัคเตรี เป็นประเภทของสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแ.

ใหม่!!: มอเนอราและแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรียกรัมบวก

ใต้กล้องจุลทรรศน์ของ ''Staphylococcus aureus'' แบคทีเรียกรัมบวกที่อยู่เป็นกลุ่ม โครงสร้างของผนังเซลล์แบคทีเรียกรัมบวก แบคทีเรียกรัมบวก (gram-positive bacteria) เป็นแบคทีเรียที่ย้อมติดสีม่วง (คริสทัลไวโอเลต) ในการย้อมสีกรัม ซึ่งตรงข้ามกับแบคทีเรียกรัมลบที่ไม่ติดสีม่วงของคริสทัลไวโอเลต แต่จะติดสีของสีที่สอง (ซาฟรานินหรือฟุคซีน) แบคทีเรียกรัมบวกสามารถรักษาสีของคริสทัลไวโอเลตได้เพราะในผนังเซลล์มีเปบทิโดไกลแคนมาก และไม่มีเยื่อหุ้มชั้นนอกแบบที่พบในแบคทีเรียกรัมล.

ใหม่!!: มอเนอราและแบคทีเรียกรัมบวก · ดูเพิ่มเติม »

แบคทีเรียแกรมลบ

รงสร้างผนังเซลล์ของแบคทีเรียแกรมลบภาพจากกล้องจุลทรรศน์ของแบคทีเรียแกรมลบ ''Pseudomonas aeruginosa'' (ท่อนสีชมพู-แดง). แบคทีเรียแกรมลบ (Gram-negative bacteria) เป็น แบคทีเรีย ที่ไม่สามารถรักษาสีคริสทัลไวโอเลต ในการย้อมสีแบบแกรมได้ ในการย้อมสีแบบแกรม สีตรงข้าม (ปกติคือ ซาฟรานิน) ซึ่งเติมทีหลังคริสทัลไวโอเลต จะติดสีแบคทีเรียแกรมลบให้เป็นสีแดงหรือสีชมพู วิธีนี้เป็นประโยชน์ในการจำแนกแบคทีเรียขั้นต้น โดยใช้ความแตกต่างของผนังเซลล์ แบคทีเรียแกรมบวก จะยังคงรักษาสีม่วงของคริสตัลไวโอเลตได้แม้จะใช้สารชะสีออกแล้ว ความสามารถในการก่อโรคของแบคทีเรียแกรมลบเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบในผนังเซลล์ของแบคทีเรียแกรมลบ ชั้นของลิโปโพลีแซคคาไรด์ (หรือ LPS หรือ ชั้นเอนโดทอกซิน).

ใหม่!!: มอเนอราและแบคทีเรียแกรมลบ · ดูเพิ่มเติม »

แลคโตบาซิลลัส

แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus)เป็น แบคทีเรีย ชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และพบตามธรรมชาติในทางเดินลำไส้ และ ช่องคลอด แลคโตบาซิลลัส ใช้ในการผลิต นมเปรี้ยว และ โยเกิร์ต แลคโตบาซิลลัสช่วยลดระยะเวลาที่เกิดอาการท้องเสียลงมาได้ลงมาถึงสองในสามภายในหนึ่งวัน.

ใหม่!!: มอเนอราและแลคโตบาซิลลัส · ดูเพิ่มเติม »

โรคฉี่หนู

รคฉี่หนู, ไข้ฉี่หนูหรือโรคเล็ปโตสไปโรซิส (leptospirosis) เป็นโรครับจากสัตว์ชนิดหนึ่ง สามารถติดโรคได้ในสัตว์หลายชนิด เช่น สุนัข หนู โค กระบือ สุกร แพะ แกะ สัตว์เลี้ยงในบ้าน เป็นต้น แต่พบมากในหนู ซึ่งเป็นแหล่งรังโรค ส่วนมากสัตว์ที่ไวต่อการรับเชื้อมักจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีอายุน้อย หรือลูกสัตว์ที่ไม่เคยได้รับภูมิคุ้มกันจากแม่มาก่อน มักจะพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝนต่อหนาว มีน้ำขัง.

ใหม่!!: มอเนอราและโรคฉี่หนู · ดูเพิ่มเติม »

ไรโซเบียม

รโซเบียม (Rhizobium) เป็นจีนัสของแบคทีเรียที่อยู่ในปมรากของพืชตระกูลถั่ว มีรูปร่างไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงตลอดวงชีวิต แหล่งพลังงานของไรโซเบียมได้แก่ มอลโตส ซูโครส กลูโคสและแมนนิทอลแต่ไม่สามารถใช้เซลลูโลส แป้งและเพกตินเป็นแหล่งพลังงานได้ สมศักดิ์ วังใน.

ใหม่!!: มอเนอราและไรโซเบียม · ดูเพิ่มเติม »

ไซยาโนแบคทีเรีย

ซยาโนแบคทีเรีย หรือ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (blue-green algae หรือ cynobacteria) จัดอยู่ในไฟลัม Cynobacteria ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้ สาหร่ายชนิดนี้มีโครงสร้างของนิวเคลียสคล้ายคลึงกับนิวเคลียสของแบคทีเรีย และบางชนิดยังมีคุณสมบัติตรึงไนโตรเจนในอากาศได้ นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติทางชีวเคมีคล้ายแบคทีเรียด้วย แต่ต่างจากแบคทีเรีย เพราะสาหร่ายชนิดนี้มีคลอโรฟิลล์เอ และมีการปล่อยออกซิเจนออกสู่สิ่งแวดล้อมจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งไม่พบในแบคทีเรีย ไซยาโนแบคทีเรีย เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว รูปแบบโครงสร้างเซลล์มีสารพันธุกรรมทั้งตัวและไม่มีเยื่อหุ้มนิวนิวเคลียส (โพรแคริโอต) ทำให้สามารถเจริญแบบเพิ่มจำนวนได้โดยการแบ่งตัว เนื่องจากโลกยังร้อนจัด ไม่ออกซิเจน มีแต่คาร์บอนไดออกไซด์ สารประกอบจำพวก ไนโตเจน มีเทน แอมโมเนีย ไซยาโนแบคทีเรีย สามารถปรับตัวได้สูงมากโดยการ สร้างเมือกห่อหุ้มเซลล์ และในเซลล์จะมีถุงลมเพือเพิ่มการพยุงตัว หาสภาวะที่เหมาะสมในการสังเคราะห์แสง มีเม็ดสีช่วยในการต่อต้านแสงอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์ และเริ่มสังเคราะห์ด้วยแสง เกาะอาศํยอยู่บนสโตรมาโตไลต์ ทั่วไปบริเวณชายฝั่งทะเลสมัยพัฒนาเป็นสิ่งมีชีวิต.

ใหม่!!: มอเนอราและไซยาโนแบคทีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เปบทิโดไกลแคน

รงสร้างของเปบทิโดไกลแคน การทำงานของ Penicillin binding protein จับกับผนังเซลล์ของแบคทีเรียที่สร้างขึ้นใหม่ เปบทิโดไกลแคน (peptidoglycan) หรือ มูรีน (murein) เป็นพอลิเมอร์ของน้ำตาล และกรดอะมิโน เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์ที่อยู่ด้านนอกของเยื่อหุ้มเซลล์ชั้นนอกของแบคทีเรีย มีลักษณะคล้ายกับตาข่าย ประกอบด้วยโพลีแซคคาไรด์ของ N-acetylglucosamine และ N-acetylmuramic acid ต่อกันด้วยพันธะ β1→4 ยาปฏิชีวนะบางชนิดเช่นเพนนิซิลลินรบกวนการสร้างเปบทิโดไกลแคนในแบคทีเรียโดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ เช่น transpeptidase.

ใหม่!!: มอเนอราและเปบทิโดไกลแคน · ดูเพิ่มเติม »

Cyanophyta

ซยาโนไฟตา (Cyanophyta) เป็นไฟลัมในอาณาจักรมอเนอรา สมาชิกที่เด่น คือ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน มีลักษณะที่สำคัญ ได้แก.

ใหม่!!: มอเนอราและCyanophyta · ดูเพิ่มเติม »

Escherichia coli

กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนของ ''E. coli'' กำลังขยาย 10,000 เท่า Escherichia coli ("เอสเชอริเชีย โคไล" หรือ ") หรือเรียกโดยย่อว่า E. coli (อี. โคไล) เป็นแบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์ม เป็นตัวชี้การปนเปื้อนของอุจจาระในน้ำ มีอยู่ตามธรรมชาติในลำไส้ใหญ่ของสัตว์และมนุษย์ แบคทีเรียชนิดนี้ทำให้เกิดอาการท้องเสียบ่อยที่สุด ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ทำให้ถ่ายอุจจาระเหลว หรือเป็นน้ำ แต่อาการมักไม่รุนแรง เพราะทั้งเด็ก และผู้ใหญ่มักมีภูมิต้านทานอยู่บ้างแล้ว เนื่องจาก ได้รับเชื้อนี้เข้าไปทีละน้อยอยู่เรื่อยๆ เชื้อนี้มักปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำ หรือ มือของผู้ประกอบอาหาร ปกติเชื้อเหล่านี้อาจพบในอุจจาระได้อยู่แล้วแม้จะไม่มีอาการอะไร มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น พม่า ไทย ลาว กัมพูชา อินโดนีเซีย เป็นต้น ถูกค้นพบโดย Theodur Escherich มีลักษณะเป็นรูปท่อน ติดสีแดง เป็นแกรมลบ เป็น Facultative aerobe.

ใหม่!!: มอเนอราและEscherichia coli · ดูเพิ่มเติม »

Mycoplasma

Mycoplasma (มัยโคพลาสมา) เป็นจีนัสหนึ่งของแบคทีเรียซึ่งไม่มีผนังเซลล์ ยาปฏิชีวนะหลายๆ ชนิดที่ออกฤทธิ์ต่อผนังเซลล์ เช่น เพนิซิลลิน หรือยาอื่นในกลุ่มเบต้าแลคเทม จึงไม่มีผลต่อแบคทีเรียกลุ่มนี้ หลายสปีชีส์เป็นเชื้อก่อโรคในมนุษย์ ที่สำคัญ เช่น Mycoplasma pneumoniae ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบชนิด atypical pneumonia และโรคระบบหายใจอื่นๆ และ Mycoplasma genitalium ซึ่งเชื่อว่าสัมพันธุ์กับโรคอักเสบของอุ้งเชิงกราน หมวดหมู่:สาเหตุของมะเร็งที่มาจากการติดเชื้อ.

ใหม่!!: มอเนอราและMycoplasma · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

MoneraProkaryotaอาณาจักรมอเนอราอาณาจักรโมเนอราโมเนอรา

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »