โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มอซือ

ดัชนี มอซือ

มอซือ หรือ จักรพรรดินีเหมา (Empress Mao; สิ้นพระชนม์ 22 กันยายน 237) พระนามเดิม ไม่ทราบ ฐานันดรศักดิ์ จักรพรรดินีหมิงเต้า จักรพรรดินีแห่ง วุยก๊ก ระหว่าง ยุคสามก๊ก ของจีนพระนางอภิเษกกับ พระเจ้าเว่ยหมิง หรือ พระเจ้าโจยอย จักรพรรดิองค์ที่ 2 ของวุยก๊ก.

4 ความสัมพันธ์: ยุคสามก๊กวุยก๊กจักรพรรดิเว่ยหมิงโจผี

ยุคสามก๊ก

แผ่นที่แสดงอาณาเขตของแต่ละก๊กในปี พ.ศ. 805 (Wei-วุย) (Wu-ง่อ) (Shu-จ๊ก) สามก๊ก (ค.ศ. 220–280; Three Kingdoms) เป็นไตรภาคีระหว่างรัฐวุย (魏) จ๊ก (蜀) และง่อ (吳) หลังการหมดอำนาจโดยพฤตินัยของราชวงศ์ฮั่นในจีน นำสู่การเริ่มหกราชวงศ์ (六朝) แต่ละรัฐปกครองโดยจักรพรรดิซึ่งอ้างการสืบราชสันตติวงศ์โดยชอบจากราชวงศ์ฮั่น ในความหมายทางวิชาการอย่างเคร่งครัด ยุคสามก๊กหมายถึงช่วงเวลาระหว่างการก่อตั้งรัฐวุยใน..

ใหม่!!: มอซือและยุคสามก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

วุยก๊ก

วุยก๊ก หรือ เฉาเวย (พินอิน: Cáo Wèi) จัดเป็นก๊กที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในบรรดาสามก๊ก ในระหว่างปี พ.ศ. 763 - พ.ศ. 808 (ปี ค.ศ. 220-265) วุยก๊กครอบครองพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศจีน ปกครองโดยโจโฉ ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นราชวงศ์วุยโดยพระเจ้าโจผีและได้สถาปนาโจโฉเป็นปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์วุยอีกพระองค์หนึ่ง วุยก๊กปกครองอาณาจักรโดยจักรพรรดิสืบต่อกันมาทั้งหมด 5 พระองค์ ได้แก่ราชวงศ์วุย, อินไซด์สามก๊ก, ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย, สำนักพิมพ์ดอกหญ้า,..

ใหม่!!: มอซือและวุยก๊ก · ดูเพิ่มเติม »

จักรพรรดิเว่ยหมิง

ระเจ้าโจยอย เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก ผู้ครองวุยก๊กรุ่นที่ 3 เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าโจผี พระราชนัดดาในพระเจ้าโจโฉ ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 769 ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าโจผี พระราชบิดา ด้วยวัยเพียง 21 พรรษา เฉลิมพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเว่ยหยวงซง (元仲) เมื่อขึ้นครองราชย์แล้ว พระเจ้าโจยอยนับได้ว่า เป็นผู้นำที่เข้มแข็งทีเดียว เนื่องด้วยขงเบ้งเมื่อทราบข่าวว่า พระเจ้าโจผีสิ้นพระชนม์แล้ว โจยอย ราชบุตรขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุน้อย จึงยกทัพบุกขึ้นเหนือมา พระองค์ทรงส่งสุมาอี้เป็นแม่ทัพใหญ่ไปรบกับขงเบ้ง อันเป็นการเปิดโอกาสให้สุมาอี้ได้แสดงฝีมือประชันกับขงเบ้งด้วย ซึ่งต่อมาทั้งคู่เป็นคู่ปรับที่ปรับมือกันมาตลอด ต่อมา ขงเบ้งได้ใช้แผนปล่อยข่าวลือในราชธานีลกเอี๋ยงว่า สุมาอี้คิดเป็นกบฏ เพราะต้องการให้พระเจ้าโจยอยปลดสุมาอี้ออกจากตำแหน่ง ซึ่งที่สุดก็เป็นไปตามแผนของขงเบ้ง จนกระทั่ง ขงเบ้งยกทัพบุกวุยก๊กอีกครั้ง พระเจ้าโจยอยทรงคิดไม่ตกว่า ใครจะรับมือกับขงเบ้งได้ ที่สุดมีผู้เสนอว่า ควรคืนตำแหน่งแม่ทัพใหญ่ให้สุมาอี้ จึงทรงคืนตำแหน่งให้สุมาอี้โดยไม่วิตกกังวลใด ๆ อีก สุมาอี้ซึ่งอยู่นอกเมืองทราบข่าวนี้ซาบซึ้งเป็นอย่างมาก ถึงกับกราบแผ่นดินคาราวะและเอ่ยปากว่า ทรงเป็นจักรพรรดิที่ทรงพระปรีชาโดยแท้ นอกจากนี้แล้ว พระเจ้าโจยอยยังออกนำทัพด้วยพระองค์เอง ในการศึกครั้งนี้ด้วย เนื่องจากซุนกวน กษัตริย์ง่อก๊กได้ร่วมมือกับขงเบ้ง ยกทัพเปิดศึกสองสมรภูมิกับทางวุยก๊ก โดยพระเจ้าโจยอยได้เสด็จนำทัพวุยไปรับศึกฝ่ายง่อที่เมืองหับป๋า และทรงพระปรีชาสามารถรบชนะทัพง่อได้ ทำให้แผนตีกระหนาบของขงเบ้งและซุนกวนต้องล้มเหลวลง ฝ่ายสุมาอี้ซึ่งตั้งทัพรับมือขงเบ้งอยู่ในอีกแนวศึก ได้ใช้นโยบายไม่ออกรบแม้ขงเบ้งยั่วยุต่าง ๆ นานา ผิดกับแม่ทัพนายกองหลายคนของวุยก๊กที่ขัดเคืองใจกับการยั่วยุและอยากจะออกรบ แม้สุมาอี้จะมีคำสั่งเด็ดขาดห้ามออกไป แต่ก็รู้ดีว่านานวันเข้าคำสั่งอาจจะไม่ได้ผลเต็มที่ สุมาอี้จึงมีหนังสือกราบบังคมทูลไปยังพระเจ้าโจยอย พร้อมอธิบายถึงเหตุผลที่ไม่ออกรบ ด้วยต้องการให้พระองค์มีพระบรมราชโองการมาสั่งห้ามออกรบ ซึ่งพระเจ้าโจยอยก็ตอบสนองความต้องการของสุมาอี้โดยทันที เมื่อพระบรมราชโองการมาถึง บรรดานายทหารที่อยากรบทั้งหมดนั้นจึงต้องปฏิบัติตามโดยดุสดี ซึ่งการที่สุมาอี้ตั้งทัพไม่ออกรบนี้ เป็นอุบายของสุมาอี้ที่ต้องการทำศึกยืดเยื้อ บังคับให้ทัพจ๊กก๊กต้องถอยไปเอง ซึ่งท้ายที่สุดขงเบ้งก็สิ้นชีวิตกลางสนามรบ ส่งผลให้ทัพจ๊กก๊กต้องถอยกลับในเวลาต่อมาจริง ๆ กล่าวได้ว่าด้วยการผสานใจร่วมมือของพระเจ้าโจยอยผู้เป็นนาย ซึ่งรู้ใจบ่าว คือสุมาอี้ เป็นอย่างดีนั้น ได้ช่วยรักษาให้วุยก๊กผ่านพ้นวิกฤติการณ์การสงครามครั้งนั้นไปได้ พระเจ้าโจยอย สิ้นพระชนม์ในวันที่ 22 มกราคม ปี พ.ศ. 782 ด้วยพระชนมายุ 34 พรรษา รวมระยะเวลาครองราชย์ 13 ปี ด้วยพระโรคที่รุมเร้าและสติวิปลาส เนื่องจากติดพระสนมองค์ใหม่และสั่งประหารพระมเหสีองค์เก่าสิ้น และเป็นโจฮอง ราชบุตรเพียงคนเดียวขึ้นครองราชย์แทน ซึ่งราชสกุลวุยจะตกต่ำต่อไปเรื่อ.

ใหม่!!: มอซือและจักรพรรดิเว่ยหมิง · ดูเพิ่มเติม »

โจผี

ระเจ้าโจผี หรือ เฉาพี พระนามรอง จื่อหวน เป็นพระโอรสองค์รองในพระเจ้าโจโฉ ได้สืบต่อตำแหน่ง วุยอ๋อง และอำนาจต่อหลังจากโจโฉสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ภายหลังจึงได้ล้มล้างราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ปราบดาภิเษกเป็นปฐมจักรพรรดิของราชวงศ์เว่ย (วุยก๊ก) ทรงพระนามว่า สมเด็จพระจักรพรรดิเว่ยเหวินตี้ (- จักรพรรดิแห่งเว่ย) ในปี พ.ศ. 763 โจผีนั้นเป็นบุตรคนรอง แต่ก็ได้มีบทบาทในการสืบทอดอำนาจจากโจโฉ เนื่องจากบุตรชายคนโต คือ โจงั่ง ได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ยังอายุน้อยในการติดตามโจโฉไปทำสงคราม ในนิยายสามก๊กได้ โจโฉได้กล่าวถึงโจผี ว่าเป็นคนมีปัญญา จิตใจหนักแน่น โอบอ้อมอารีย์ จึงสมควรจะเป็นสืบทอดอำนาจของตน โจผีเป็นผู้เชี่ยวชาญในการแต่งกลอน กาพย์กวี เช่นเดียวกับโจโฉผู้บิดา และยังได้เคยติดตามบิดาออกไปทำสงครามบ่อยครั้ง ตั้งแต่ยังเยาว์ โจผีมีภรรยาหลวง คือนางเอียนสี ซึ่งได้ตัวมาเมื่อครั้งที่โจโฉทำสงครามกัวต๋อกับตระกูลอ้วน นางเอียนสีนั้นเป็นสาวงามที่มีชื่อว่า เป็นหญิงงามแห่งแผ่นดินทางเหนือ และยังเป็นภรรยาม่ายของอ้วนฮี บุตรชายของอ้วนเสี้ยว คู่ศึกของโจโฉ จึงย่อมถือเป็นเชลยศึก แต่โจผีก็ได้รับนางมาตกแต่งเป็นภรรยาหลวง ในขณะนั้นโจผีอายุได้ 17 ปี ขณะที่นางเอียนสีอายุมากกว่า คือ 22 ปี ซึ่งภายหลังเมื่อโจผีได้ขึ้นครองราชย์ ก็ได้สถาปนานางเป็นฮองเฮา เนื่องจากการที่โจผีขึ้นครองราชย์ สถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ จึงทำให้ซุนกวนและเล่าปี่ต้องสถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ตามไปด้วย ก่อให้เกิดสภาพของสามก๊กอย่างแท้จริง พระเจ้าโจผีเมื่อได้ปราบดาภิเษกเป็นฮ่องเต้ในเบื้องแรกนั้นก็ได้ทรงดำริจะทำการกวาดล้างศัตรูทุกคน รวมไปถึงพระอนุชา คือ โจสิด ซึ่งมีสติปัญญา และฝีมือในเชิงการกวี เช่นเดียวกับพระองค์ และเคยเป็นคู่แข่งในการแต่งตั้งรัชทายาทของโจโฉด้วย แต่โจสิดสามารถเอาตัวรอดได้ โดยการแต่งโคลงมีใจความว่า ต้นถั่วเผาต้นถั่ว ในกระทะถั่วร้องไห้ กำเนิดจากรากเดียวกัน เหตุไฉนคิดทำลาย มีความหมายถึง การที่พี่น้องซึ่งมาจากจุดกำเนิดเดียวกัน กลับต้องมาสังหารเข่นฆ่ากัน ด้วยเหตุใด ทำให้พระเจ้าโจผีสะเทือนพระทัย และไม่อาจสังหารพระอนุชาได้ ซึ่งโคลงบทกวีที่โจสิดแต่งขึ้นเพื่อเอาชีวิตรอดนี้มีชื่อเสียงมาก พระเจ้าเว่ยเหวินตี้ โจผี เป็นฮ่องเต้ที่ครองราชย์ในระยะอันสั้นเพียง 7 ปี เท่านั้น ก็ทรงพระประชวร และเสด็จสวรรคต ในปี พ.ศ. 769 สิริรวมพระชนมายุได้ 39 พรรษ.

ใหม่!!: มอซือและโจผี · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »