โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มงแต็สกีเยอ

ดัชนี มงแต็สกีเยอ

ร์ล-หลุยส์ เดอ เซอกงดา บารอนแห่งลาแบรดและมงแต็สกีเยอ (Charles-Louis de Secondat, baron de La Brède et de Montesquieu) หรือรู้จักกันในชื่อ มงแต็สกีเยอ (Montesquieu) เป็นนักวิพากษ์สังคมและนักคิดทางการเมืองชาวฝรั่งเศสผู้มีชีวิตอยู่ในยุคเรืองปัญญา มีชื่อเสียงเกี่ยวกับทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจที่พูดถึงในการปกครองสมัยใหม่และใช้ในรัฐธรรมนูญในหลายประเทศ และเป็นผู้ที่ทำให้คำว่าระบบเจ้าขุนมูลนายและจักรวรรดิไบแซนไทน์ใช้กันอย่างแพร่หล.

62 ความสัมพันธ์: บอร์โดบารอนพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศสพอลิเบียสการบริหารรัฐกิจการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์การปฏิวัติอเมริกาการแยกใช้อำนาจการเสียดสีฐานันดรแห่งราชอาณาจักรมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์มานุษยวิทยายุคเรืองปัญญาระบบใช้อำนาจเด็ดขาดระบบเจ้าขุนมูลนายระบอบเก่ารัฐศาสตร์รัฐธรรมนูญรัฐธรรมนูญสหรัฐราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ราชอาณาจักรฝรั่งเศสราชาธิปไตยราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญสภาฐานันดร (ประเทศฝรั่งเศส)สภานิติบัญญัติสาธารณรัฐสิบสามอาณานิคมสิทธิของบุตรหัวปีสินสอด (ให้แก่ฝ่ายชาย)อภิชนาธิปไตยอาริสโตเติลอำนาจบริหารอำนาจอธิปไตยอำนาจตุลาการฌ็อง-ฌัก รูโซจอห์น ล็อกจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีจักรวรรดิไบแซนไทน์จังหวัดฌีรงด์จิตวิญญาณแห่งกฎหมายจูเลียส ซีซาร์คัมภีร์ไบเบิลตาบอดตากิตุสประเทศฝรั่งเศสประเทศสกอตแลนด์ประเทศอังกฤษปรัชญาการเมือง...ปารีสโทมัส ฮอบส์โทมัส เพนโปรเตสแตนต์เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิลเรอเน เดการ์ตเอมิล ดูร์ไกม์เอ็ดมันด์ เบิร์กเฮอรอโดทัสเจมส์ แมดิสันเดวิด ฮูมเคลอจี ขยายดัชนี (12 มากกว่า) »

บอร์โด

อร์โด (Bordeaux,, บางครั้งในไทยมีสะกดว่า บอร์โดซ์ และ บอร์กโดซ์) เป็นเมืองท่าตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลักของจังหวัดฌีรงด์และของแคว้นนูแวลากีแตน มีชื่อเสียงอย่างมากมายจากไร่องุ่นที่พบเห็นในตลอดเส้นทางเข้าสู่เมืองและไวน์ประจำแคว้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 โดยสถานที่ทำไวน์สำคัญ ๆ ที่ผู้รักไวน์ชาวไทยน่าจะรู้จักก็คือ แซ็งเตมีลียง, โปยัก (Pauillac), แซ็งแต็สแต็ฟ (Saint-Estèphe) และโซแตร์น (Sauternes) มีแม่น้ำการอนไหลผ่านและออกสู่มหาสมุทรแอตแลนติกที่เมืองซูลัก-ซูร์-แมร์ และยังมีท่าเรือปอร์เดอลาลูน (Port de la Lune) ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปีค.ศ. 2007 อีกด้วย สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญภายในเมือง ส่วนมากเป็นสิ่งก่อสร้างที่ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่อดีตกาล เช่น สิ่งก่อสร้างสมัยโรมันอย่าง Palais Gallien, ถนนคนเดินที่ยาวที่สุดในยุโรปที่ La rue Sainte-Catherine, ประตูเมืองสุดคลาสสิกอย่าง Porte Cailhau เป็นต้น บอร์โดถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช โดยเดิมมีชื่อว่า "บูร์ดีกาลา" (Burdigala) ในภาษาละติน ทำให้ทุกแห่งในเมืองเต็มไปด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนาน.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและบอร์โด · ดูเพิ่มเติม »

บารอน

รอน (Baron) เป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางที่ใช้กันในยุโรป ซึ่งในระบบบรรดาศักดิ์ของสหราชอาณาจักร บารอน อยู่ในลำดับล่างสุดต่ำกว่าไวเคานต์ สำหรับขุนนางที่เป็นสตรี จะเรียกว่า บารอเนส (Baroness) ซึ่งเขตการปกครองในอำนาจของบารอนตามระบบเจ้าขุนมูลนาย ได้ถูกยกเลิกไปแล้วในปัจจุบันแต่ยังคงสืบตระกูลได้อยู่ ในสมัยกลาง บารอนเป็นผู้ที่ได้รับตำแหน่งการปกครองโดยตรงจากพระมหากษัตริย์เพื่อปกครองดินแดน และจะต้องส่งบรรณาการเป็นกองกำลังทหารและอัศวิน เพื่อช่วยรบในนามของกษัตริย์ ในปัจจุบัน สหราชอาณาจักรได้มีการเพิ่มบรรดาศักดิ์ที่ไม่สามารถสืบตระกูลได้ "Non-hereditary life peers" ซึ่งผู้ที่ได้รับแต่งตั้งจะอยู่ในตำแหน่ง บารอน เช่นกัน และนอกจากนี้ บารอน ยังใช้เรียกบุตรชายคนแรกที่เกิดจากบิดาที่เป็นตำแหน่ง เอิร์ล โดยอนุโลม.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและบารอน · ดูเพิ่มเติม »

พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707

งราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ค.ศ. 1707-1800) พระราชบัญญัติสห..

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Louis XIV de France; หลุยส์กาโตร์ซเดอฟร็องส์, 5 กันยายน พ.ศ. 2181 – 1 กันยายน พ.ศ. 2258) หรือเรียกว่า หลุยส์มหาราช (Louis le Grand; หลุยส์ เลอ กร็อง) หรือ สุริยกษัตริยาธิราช (le Roi Soleil) เป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสและนาวาร์ ทรงครองราชย์เมื่อมีพระชนมายุได้เพียง 5 ชันษา เป็นกษัตริย์พระองค์ที่ 3 ของราชวงศ์บูร์บงแห่งราชวงศ์กาเปเตียง เสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2186 และทรงครองราชย์นานถึง 72 ปี นับเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในยุโรป และในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์เป็นช่วงที่ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้นำทางด้านศูนย์กลางการรวมอำนาจของแผ่นดิน พระเจ้าหลุยส์เริ่มบริหารประเทศด้วยตัวของพระองค์เองเมื่อปี พ.ศ. 2204 หลังจากการเสียชีวิตของหัวหน้าคณะรัฐมนตรีของพระองค์นั่นก็คือ พระคาดินัล เมเซริน ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดของเทวสิทธิราชย์ ถึงต้นกำเนิดกษัตริย์ผู้มีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศต่อพระเจ้าหลุยส์มาอย่างต่อเนื่อง การทำงานของพระองค์ได้สร้าง อำนาจรัฐ ภายใต้การควบคุมของเมืองหลวง พระองค์ทรงพยายามที่จะขจัดเศษของระบบศักดินา ที่คงอยู่ในฝรั่งเศสและเต็มไปด้วยสมาชิกของชนชั้นสูงสังคม ที่อาศัยอยู่อย่างฟุ่มเฟือยภายในพระราชวังแวร์ซายของพระองค์ (เดิมเป็นกระท่อมล่าสัตว์ของพระบิดาของพระเจ้าหลุยส์) และทรงประสบความสำเร็จในการปลอบสมาชิกเหล่าขุนนางได้จำนวนมากที่มีส่วนร่วมในฟรอนด์ ซึ่งเกิดจากการจลาจลของชนกลุ่มน้อยของพระเจ้าหลุยส์ โดยวิธีการดังกล่าวทรงได้กลายเป็นพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและรวมระบอบของระบบกษัตริย์ในฝรั่งเศสที่ทนกว่าจะมีการการปฏิวัติฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สวรรคตก่อนที่จะถึงวันครบรอบพระราชสมภพครบ 77 พรรษา และพระราชปนัดดาของเขาก็ครองราชย์สืบต่อเป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 โดยในรัชสมัยอันยาวยาวนานของพระองค์ ทรงมีรัชทายาทต่อราชบัลลังก์มาแล้วกว่า 3 พระองค์ ได้แก่ พระราชโอรสของพระองค์ หลุยส์ โดแฟ็งใหญ่แห่งฝรั่งเศส, พระโอรสในของโดแฟ็งใหญ่ ได้แก่ หลุยส์ โดแฟ็งน้อย, และพระโอรสองค์โตในโดแฟ็งน้อย ได้แก่ เจ้าชายหลุยส์ ดยุกแห่งเบรอตาญ.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 15 (Louis XV de France; ''หลุยส์แก็งซ์เดอฟร็องส์''.) (15 พฤษภาคม พ.ศ. 2253 - 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2317) หรือ ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่ง (ฝรั่งเศส: le Bien-Aimé; เลอเบียง-เนเม) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและนาวาร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2258 (ค.ศ. 1715) จนกระทั่งสวรรคต ทรงขึ้นครองราชย์เมื่อยังทรงพระเยาว์ การบริหารราชการในระยะแรกอยู่ในความรับผิดชอบของอ็องเดร แอร์กูล เดอเฟลอรี เมื่อเจริญพระชันษาขึ้นก็ทรงเอาพระทัยในการบริหารประเทศ แต่ทรงพยายามรักษาความยิ่งใหญ่ของฝรั่งเศสไว้เช่นสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ด้วยการทำสงครามกับเพื่อนบ้านหลายครั้งแต่ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณไปเป็นจำนวนมาก ภายหลังทรงเริ่มละทิ้งราชการไปสนพระทัยในวิทยาศาสตร์และสนทนากับปัญญาชน รวมถึงทรงมีสัมพันธ์กับสตรีสูงศักดิ์หลายคน ถือว่าสถาบันกษัตริย์ของฝรั่งเศสเริ่มเสื่อมความนิยมและเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น การบริหารประเทศไร้ประสิทธิภาพจนนำไปสู่วิกฤตการณ์ในรัชกาลต่อม.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

พอลิเบียส

''Wounded Philopoemen'' by David d'Angers, 1837, Louvre พอลิเบียส (Polybius, Πολύβιος; 200-118 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในสมัยเฮลเลนิสติก มีชื่อเสียงจากงานเขียนเรื่อง The Histories ซึ่งครอบคลุมเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ตั้งแต่ช่วง 220-146 ปีก่อนคริสตกาล บรรยายถึงการรุ่งเรืองขึ้นของสาธารณรัฐโรมัน และการที่โรมันสามารถเข้าครอบครองกรีก นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงจากแนวคิดเรื่องสมดุลทางการเมืองของรัฐบาล ซึ่งต่อมานำมาใช้ใน The Spirit of the Laws ของมงแต็สกีเยอ และเป็นต้นร่างของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ชาวกรีกโบราณ.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและพอลิเบียส · ดูเพิ่มเติม »

การบริหารรัฐกิจ

การบริหารรัฐกิจ รัฐประศาสนศาตร์ หรือ การบริหารราชการแผ่นดิน (public administration) คือ การดำเนินการทั้งปวงของฝ่ายบริหาร ยกเว้นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ โดยมีจุดมุ่งหมายให้นโยบายของรัฐที่วางไว้บรรลุผล อาจมองได้ทั้งเป็นการปฏิบัติการและการเป็นสาขาวิชาหนึ่งในการบริหารและการจัดการภาครัฐ ที่จะไม่เหมือนการบริหารธุรกิจที่เน้นกำไรสูงสุด (profit maximize) แต่เป็นการเน้นการให้บริการที่ให้ลูกค้าพึงพอใจ โดยลูกค้าก็คือ ประชาชนที่มาใช้บริการ และต้องเป็นการให้บริการต่อทุกคนอย่างเป็นธรรม รัฐประศาสนศาสตร์ (public administration science) คือ การเรียนการสอนวิชาในด้านการบริหารรัฐกิจ การบริหารและการจัดการภาครัฐ ในประเทศไทยมีหลายสถาบันอุดมศึกษาเปิดสอน ทั้งนี้การสังกัดหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มีอยู่ในหลากหลายลักษณะ อาทิ สังกัดอยู่ภายใต้ชื่อคณะโดยตรง เช่น สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สังกัดอยู่ภายใต้ชื่อคณะรัฐศาสตร์ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สังกัดภายใต้ภาควิชา เช่น ภาควิชารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาการจัดการ รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร นอกจากนี้แล้วยังมีการสังกัดในลักษณะของภาควิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือวิทยาลัยเฉพาะ เช่น มหาวิทยาลัยทักษิณ ที่เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ สังกัดภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ หรือ U-MDC มีหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ทั้งในสาขาการบริหารงานตำรวจและกระบวนการยุติธรรม สาขาการจัดการ ฯลฯ ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาดังกล่าวมีการจัดหลักสูตรเพื่อเปิดสอนตั้งแต่ระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ทั้งในลักษณะภาคปกติ ภาคสมทบ ภาคพิเศษ หรือโครงการความร่วมมือกับส่วนราชการ ภาคเอกชน ฯลฯ นอกจากมหาวิทยาลัยทั่วไปแล้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏต่าง ๆ อาทิ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ได้เปิดสอนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์เช่นกัน.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและการบริหารรัฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์

การปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ (Glorious Revolution) ยังรู้จักกันในชื่อ การปฏิวัติปี..

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติอเมริกา

รัฐแรกทั้ง 13 รัฐ การปฏิวัติอเมริกา คือช่วงระยะเวลาครึ่งหลังของศตวรรษที่ 18 ที่มีการลุกฮือเพื่อประกาศเอกราชจากจักรวรรดิอังกฤษของประชาชนชาวอเมริกา จึงได้มีการสถาปนาสหรัฐอเมริกาขึ้นในเวลาต่อมาหลังจากได้รับชัยชนะในการปฏิวัติในครั้งนี้.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและการปฏิวัติอเมริกา · ดูเพิ่มเติม »

การแยกใช้อำนาจ

การแยกใช้อำนาจ เป็นแบบจำลองวิธีการปกครองรัฐ มีขึ้นครั้งแรกในกรีซโบราณ ภายใต้แบบจำลองนี้ รัฐแบ่งออกเป็นอำนาจต่าง ๆ ซึ่งแต่ละอำนาจมีอำนาจแยกเป็นเอกเทศต่อกัน และมีขอบเขตความรับผิดชอบต่างกัน เพื่อที่อำนาจของอำนาจหนึ่งจะไม่ไปขัดกับอำนาจที่สัมพันธ์กับอีกอำนาจหนึ่ง การแยกใช้อำนาจนี้ปกติแบ่งเป็นอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ หมวดหมู่:กฎหมายรัฐธรรมนูญ หมวดหมู่:ปรัชญากฎหมาย หมวดหมู่:อภิธานศัพท์การเมือง.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและการแยกใช้อำนาจ · ดูเพิ่มเติม »

การเสียดสี

"Le satire e l'epistole di Q. Orazio Flacco", พิมพ์ใน 1814. การเสียดสี เป็นงานวรรณกรรมรูปแบบหนึ่ง มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิจารณ์ถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ส่วนใหญ่มักไปในแนวขบขัน นอกจากนี้ แนวการเสียดสียังพบได้ในภาพกราฟิกต่างๆ และศิลปะการแสดงต่างๆ หมวดหมู่:วรรณกรรม หมวดหมู่:ประเภทวรรณกรรม หมวดหมู่:วาทศาสตร์ หมวดหมู่:ประเภทของสื่อ หมวดหมู่:มนุษยศาสตร์ หมวดหมู่:ประเภทของภาพยนตร์.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและการเสียดสี · ดูเพิ่มเติม »

ฐานันดรแห่งราชอาณาจักร

นันดรแห่งราชอาณาจักร (estates of the realm) เป็นระเบียบสังคมอย่างกว้างของสังคมซึ่งมีแนวคิดเป็นลำดับชั้น (hierarchically conceived society) รับรองในสมัยกลางและสมัยใหม่ตอนต้นในทวีปยุโรปที่นับถือศาสนาคริสต์ บ้างแยกเป็นสามฐานันดร ได้แก่ นักบวช ชนชั้นขุนนางและสามัญชน และมักกล่าวถึงตามการจัดอันดับความสำคัญในสมัยกลาง (เนื่องจากพระเป็นเจ้าทรงลิขิตลำดับชั้น) เป็นฐานันดรที่หนึ่ง ที่สองและที่สามตามลำดับ ในแผนดังกล่าว พระเป็นเจ้าทรงลิขิตพันธกิจ (ministry) ซึ่งจำเป็นต่อการลิขิตราชนิกุลและชนชั้นขุนนาง ผู้มอบเอกสิทธิ์แก่สามัญชนผู้ทรงเกียรติ คำว่า "ฐานันดรที่สี่" กำเนิดขึ้นภายหลัง โดยอ้างถึงแรงนอกโครงสร้างอำนาจซึ่งเป็นที่ยอมรับ และมักอ้างอิงถึงสื่อมวลชนอิสระมากที่สุด ระหว่างสมัยกลาง บุคคลเกิดในชนชั้นของตัว และแม้การเปลี่ยนแปลงฐานะทางสังคมเป็นไปได้ก็เกิดขึ้นช้า ยกเว้น ศาสนจักรสมัยกลาง ซึ่งเป็นเพียงสถาบันเดียวซึ่งบุรุษสามารถถึงตำแหน่งสูงสุดในสังคมได้ครั้งหนึ่งในชีวิต.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและฐานันดรแห่งราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์

มักซีมีเลียง ฟร็องซัว มารี อีซีดอร์ เดอ รอแบ็สปีแยร์ (Maximilien François Marie Isidore de Robespierre; 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2301 - 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2337) เป็นอดีตประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวมที่ตั้งขึ้นเพื่อสอดส่องดูแลความมั่นคงปลอดภัยในสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งประธานของคณะนี้มีอำนาจจับกุมและสั่งประหารชีวิตผู้คนได้ มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2301 (ค.ศ. 1758) ที่เมืองอารัส แคว้นนอร์-ปาดกาแล ประเทศฝรั่งเศส ต่อมาก็ได้เข้าเป็นผู้นำของกลุ่มฌากอแบ็งที่กล่าวหาพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส และพระนางมารี อ็องตัวแน็ตว่า ได้ทรงกระทำการในสิ่งที่เป็นการขายชาติ ทั้งยังเรียกร้องให้ประหารชีวิตทั้งสองพระองค์อีกด้วย แต่หลังจากนั้น ในวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2332 (ค.ศ. 1789) มีฝูงชนฝรั่งเศสกลุ่มใหญ่ลุกฮือทลายคุกบัสตีย์ในกรุงปารีส เพื่อต่อต้านระบอบกษัตริย์และขุนนางของฝรั่งเศส แล้วไม่นานชาวฝรั่งเศสจำนวนมากก็เข้าร่วมฝูงชนนี้ ทำให้การปฏิวัติสำเร็จอย่างรวดเร็ว ฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย แต่ประเทศอื่น ๆ ต่างคัดค้านไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัตินี้และพยายามกดขี่ข่มเหงฝรั่งเศส ดังนั้น ต่อมาในพ.ศ. 2336 รอแบ็สปีแยร์ก็ฉวยโอกาสตอนตนกำลังมีชื่อเสียงโด่งดังและช่วงที่ฝรั่งเศสกำลังถูกคุกคาม เข้ารับตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการความปลอดภัยส่วนรวม เขาจึงได้กลายเป็นจอมเผด็จการอย่างแท้จริง ในเวลาปีเดียว เขาจับกุมและประหารผู้คนนับพัน ๆ ตั้งแต่ความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ จนถึงความผิดอุกฉกรรจ์ หรือแม้แต่การใส่ร้ายใส่ความโดยรอแบ็สปีแยร์ ต้องถูกประหารโดยเครื่องประหารกิโยตีน เขาคิดว่าสิ่งที่เขาทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องดีงาม แต่คนอื่น ๆ เรียกช่วงเวลาที่รอแบ็สปีแยร์อยู่ในตำแหน่งว่า สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว ศัตรูจึงขนานนามเขาว่า ดิกตาเตอร์ซ็องกีแนร์ หรือเผด็จการกระหายเลือด ดังนั้นใน พ.ศ. 2337 จึงมีผู้คนจำนวนมหาศาลรวมตัวกันโค่นอำนาจและจับกุมรอแบ็สปีแยร์ เขาพยายามฆ่าตัวตาย แต่ไม่สำเร็จ ต้องตายโดยการถูกประหารด้วยเครื่องกิโยตีนท่ามกลางผู้คนมากมายที่รุมล้อมในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2337 (ค.ศ. 1794) หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2301 หมวดหมู่:นักการเมืองฝรั่งเศส หมวดหมู่:ผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยตีนในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส หมวดหมู่:บุคคลในการปฏิวัติฝรั่งเศส หมวดหมู่:ผู้สมรู้ร่วมคิดการประหารพระเจ้าหลุยส์ที่ 16.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและมักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์ · ดูเพิ่มเติม »

มานุษยวิทยา

มานุษยวิทยา (anthropology) คือ วิชาที่เกี่ยวกับมนุษย์ มานุษยวิทยา เกิดจาก วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและมานุษยวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ยุคเรืองปัญญา

ฌ็อง-ฌัก รูโซ บุคคลสำคัญจากยุคเรืองปัญญา ยุคเรืองปัญญา (Age of Enlightenment; Siècle des Lumières) คือการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมของเหล่าปัญญาชนในยุโรปและอาณานิคมบนทวีปอเมริกาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 เป้าหมายเพื่อปฏิรูปสังคมและส่งเสริมการใช้หลักเหตุผลมากกว่าการใช้หลักจารีต, ความเชื่อ และการเปิดเผยจากพระเจ้า รวมไปถึงส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง การเคลื่อนไหวยังสนับสนุนการแลกเปลี่ยนความรู้หรือการใช้ปัญญา ต่อต้านความเชื่อทางไสยศาสตร์, โมหาคติ และการชักนำให้ผิดเพี้ยนจากคริสตจักรและรัฐบาล ยุคเรืองปัญญาเริ่มตั้นขึ้นในช่วงประมาณปี..

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและยุคเรืองปัญญา · ดูเพิ่มเติม »

ระบบใช้อำนาจเด็ดขาด

ระบบใช้อำนาจเด็ดขาด (Despotism) เป็นระบอบการปกครองที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เริ่มจากการรวมกลุ่มของมนุษย์ โดยให้บุคคลเพียงคนเดียวหรือกลุ่มบุคคลเป็นมีอำนาจปกครองกลุ่ม โดยมีอำนาจอย่างสมบูรณ์ในระบอบของตน แนวคิดหลักคือ อำนาจอธิปไตยอยู่ในมือของคนคนเดียวหรือกลุ่มบุคคลขนาดเล็ก โดยอาจเป็นได้ทั้งการปกครองแบบทรราช ซึ่งใช้อำนาจปราบปรามและลงโทษผู้อยู่ใต้การปกครอง หรือการปกครองแบบเบ็ดเสร็จซึ่งผู้ปกครองอยู่เหนือกฎหมายใด ๆ การปกครองแบบราชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจเต็มและอยู่เหนือกฎหมายนั้นก็นับเป็นระบอบเผด็จการแบบหนึ่ง แต่มองเตสกีเยอได้ระบุถึงความแตกต่างระหว่างระบอบทั้งสองว่า ระบอบราชาธิปไตยใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จโดยการตราและแก้ไขกฎหมาย ขณะที่ระบอบเผด็จการจะใช้อำนาจตามใจตน.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและระบบใช้อำนาจเด็ดขาด · ดูเพิ่มเติม »

ระบบเจ้าขุนมูลนาย

ระบบเจ้าขุนมูลนาย, ระบบฟิวดัลหรือระบบเจ้าครองนคร (feudalism) เป็นระบอบการปกครองในอดีต สยามเรียกว่า ระบบศักดิน.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและระบบเจ้าขุนมูลนาย · ดูเพิ่มเติม »

ระบอบเก่า

ระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในฐานะ “พระสุริยเทพ” ระบอบเก่า หรือ อองเซียงเรฌีม (Ancien Régime) โดยทั่วไปหมายถึงระบบแบบราชาธิปไตย อภิชนาธิปไตย สังคม และการเมืองที่ใช้ในฝรั่งเศสภายใต้ราชวงศ์วาลัวและราชวงศ์บูร์บงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 15 ถึง 18 โครงสร้างทางการบริหารและทางการสังคมของระบอบเก่าเป็นผลมาจากระบบการบริหารของสถาบันพระมหากษัตริย์ฝรั่งเศสในสมัยกลางที่สิ้นสุดในการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อ ค.ศ. 1789 ระบอบเก่าของประเทศอื่น ๆ ในยุโรปก็มีประวัติความเป็นมาคล้ายคลึงกัน แต่มีผลบั้นปลายที่แตกต่างกันบางประเทศก็สิ้นสุดลงด้วยระบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางประเทศก็แตกแยกออกไปจากสงครามและการปฏิวัติ อำนาจระบอบเก่าอยู่บนพื้นฐานสามประการ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ นักบวช และชนชั้นขุนนาง ฐานันดรแห่งราชอาณาจักร (Estates of the realm) ก็แบ่งออกเป็นสามเช่นกัน คือ ฐานันดรที่หนึ่ง (First Estate) คือนักบวชโรมันคาทอลิก, ฐานันดรที่สอง (Second Estate) คือชนชั้นขุนนาง และ ฐานันดรที่สาม (Third Estate) คือสามัญชน โดยทั่วไปแล้วระบอบเก่าหมายถึงระบอบการปกครองใดใดที่มีลักษณะตามที่กล่าวแล้ว ระบอบเก่ารักษาลักษณะหลายประการของระบบเจ้าขุนมูลนายที่ปฏิบัติกันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8 โดยเฉพาะในการใช้อภิสิทธิ์ของขุนนางและชนชั้นเจ้านายที่สนับสนุนโดยปรัชญาเทวสิทธิราชย์ ความแตกต่างอยู่ตรงที่อำนาจการปกครองที่เคยเป็นของเจ้าครองนครต่างๆ มาก่อนกลายเป็นอำนาจของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่เพิ่มมากขึ้น วลีนี้ใช้มาตั้งแต่ยุคเรืองปัญญา (พบในเอกสารครั้งแรกในภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1794) ในความหมายในทางลบ เช่นเดียวกับการใช้คำว่า ยุคมืด ที่กลายมาเรียกกันว่า สมัยกลาง แนวคิดของการใช้คำว่าระบอบเก่าเป็นการแฝงความหมายเป็นนัยยะว่าเป็นระบอบที่ไม่เหมาะสมในการปฏิบัติ และควรจะเปลี่ยนแปลงไปเป็น ระบอบใหม่ (New Order) คำว่า ระบอบเก่า คิดขึ้นโดยนักปฏิวัติฝรั่งเศสเพื่อเผยแพร่สร้างความเชื่อถือในเหตุผลของการปฏิวัติและทำลายชื่อเสียงของระบอบการปกครองที่เป็นอยู่ ซึ่งเป็นการใช้ในทางที่มีอคติในการบรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ สำหรับนักประพันธ์บางคนคำนี้เป็นคำที่ทำให้เกิดความรำลึกถึงเหตุการณ์บางอย่าง เช่นที่ตาล์ลีย์รองด์ (Talleyrand) กล่าวว่า: ภาษาสเปนใช้คำว่า “Antiguo Régimen” แต่แม้ว่าสเปนจะได้รับผลกระทบกระเทือนจากการปฏิวัติฝรั่งเศสและผลที่ตามต่อมาแต่ความเปลี่ยนแปลงในสเปนไม่รุนแรงเท่ากับการเปลี่ยนแปลงในฝรั่ง.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและระบอบเก่า · ดูเพิ่มเติม »

รัฐศาสตร์

รัฐศาสตร์ (political science) เป็นสาขาวิชาที่เกิดขึ้นในราวศตวรรษที่ 19 ซึ่งนักรัฐศาสตร์ยุคแรกนั้นพัฒนากระบวนวิชาขึ้นมาให้สอดคล้องกับแนวนิยมทางวิทยาศาสตร์ สารานุกรมบริทานิกา คอนไซส์ (Britanica Concise Encyclopedia) อธิบายรัฐศาสตร์ว่า เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครองและการเมืองด้วยแนวทางประจักษ์นิยม (empiricism) นักรัฐศาสตร์คือนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามแสวงหา และทำความเข้าใจธรรมชาติของการเมือง ส่วนพจนานุกรมการเมืองของออกซ์ฟอร์ด (Oxford Dictionary of Politics) นิยามว่า รัฐศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องรัฐ รัฐบาล/การปกครอง (government) หรือการเมือง กล่าวอย่างรวบรัดรัฐศาสตร์เป็นวิชาในสายสังคมศาสตร์ สาขาหนึ่งซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็นสาขาต่างๆ อาทิ ปรัชญาการเมือง ประวัติศาสตร์การเมือง ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง ทฤษฎีการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง การบริหารรัฐกิจ หรือการบริหารจัดการสาธารณะ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ การเมืองเปรียบเทียบ (comparative politics), การพัฒนาการเมือง, สถาบันทางการเมือง, การเมืองระหว่างประเทศ การปกครองและการบริหารรัฐ (national politics), การเมืองการปกครองท้องถิ่น (local politics) เป็นต้น ซึ่งสาขาต่างๆเหล่านี้อาจแปรเปลี่ยนไปตามแต่ละสถาบันว่าจะจัดการเรียนการสอนอย่างไร อย่างไรก็ตามหากจะเรียกว่าการจัดกระบวนวิชาใดนั้นเป็นรัฐศาสตร์หรือไม่ ก็ขึ้นกับว่าการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวใช้มโนทัศน์ "การเมือง" เป็นมโนทัศน์หลัก (crucial concept/key concept) หรือไม่ แต่โดยจารีตของกระบวนวิชา(scholar) นั้นรัฐศาสตร์ จะมีสาขาย่อยที่เป็นหลักอย่างน้อย 3 สาขาคือ สาขาการปกครอง (government), สาขาการบริหารกิจการสาธารณะ (public administration) และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(international relation).

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและรัฐศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญ

มหากฎบัตร (Magna Carta) รัฐธรรมนูญ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบั..2525 ให้ความหมายว่า "รัฐธรรมนูญ" คือกฎหมายสูงสุดที่จัดระเบียบการปกครองประเทศ ในความหมายอย่างแคบ "รัฐธรรมนูญ" กฎหมายฉบับหนึ่งหรือหลายฉบับซึ่งรวบรวมกฎเกณฑ์การปกครองประเทศขึ้นไว้ และไม่ใช่สิ่งเดียวกับ กฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" มีความหมายกว้างกว่าและจะเป็นรูปแบบลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณีก็ได้ รัฐธรรมนูญในปัจจุบันนั้น มีทั้งเป็นลักษณะลายลักษณ์อักษร และลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยที่ลักษณะไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากจะใช้หลักของจารีต ประเพณีการปกครองแล้ว กฎหมายทุกตัวที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง ย่อมถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐธรรมนูญด้วย ทุกประเทศทั่วโลกมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ทั้งประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการ เพื่อใช้เป็นหลักหรือเป็นแนวทางในการบริหารประเท.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและรัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐธรรมนูญสหรัฐ

รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐ (United States Constitution) เป็นกฎหมายสูงสุดของสหรัฐอเมริกา เป็นกรอบการปฏิบัติสำหรับหน่วยงานของรัฐบาลกลางแห่งสหรัฐ และกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่นของรัฐต่าง ๆ รวมถึงประชาชนทุกคนที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาด้วย สามมาตราแรกของรัฐธรรมูญตั้งกฎและการแบ่งแยกอำนาจเป็นสามส่วนของรัฐบาลกลาง ได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ รัฐสภาแบบสองสภา ฝ่ายบริหารนำโดยประธานาธิบดี และฝ่ายตุลาการนำโดยศาลสูงสุด สี่มาตราสุดท้ายวางกรอบหลักระบอบสหพันธรัฐ รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1787 ในที่ประชุม ณ ฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย และรับรองโดยการประชุมในรัฐต่าง ๆ ในนามของประชาชน โดยจนถึงปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไข มาแล้ว 27 ครั้ง โดยสิบครั้งแรกเป็นที่รู้จักในนามของ รัฐบัญญัติสิทธิ (Bill of Rights) รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐจัดเป็นรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษณที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังคงใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม หากรวมรัฐธรรมนูญที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเข้าไปด้วย รัฐธรรมนูญของกรุงซานมาริโน จะเก่าแก่กว่า รัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐจัดเป็นหัวใจหลักของกฎหมายในสหรัฐอเมริกาและวัฒนธรรมทางการเมือง โดยต้นฉบับดั้งเดิม ที่เขียนโดยนายจาคอป ชาลัส ได้จัดแสดงไว้ที่ องค์การบริหารจดหมายเหตุและบันทึกแห่งชาติ (National Archives and Records Administration) ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี อ.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและรัฐธรรมนูญสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่

ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (Kingdom of Great Britain) หรือ สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ (United Kingdom of Great Britain) เป็นรัฐในยุโรปตะวันตก ดำรงอยู่ในช่วงค.ศ. 1707 จนถึง ค.ศ. 1801 เกิดจากการรวมกันของราชอาณาจักรอังกฤษและราชอาณาจักรสกอตแลนด์ ภายใต้พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 (พ.ศ. 2250) ก่อนหน้านี้ราชอาณาจักรทั้งสองได้มีพระประมุขพระองค์เดียวกัน ตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าเจมส์ที่ 6 แห่งสกอตแลนด์ขึ้นครองราชย์เป็นประมุขของอังกฤษในค.ศ. 1631 สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เข้าแทนที่ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ในปีค.ศ. 1801 หลังจากราชอาณาจักรไอร์แลนด์เข้าร่วมในพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส

ราชอาณาจักรฝรั่งเศส (Royaume de France) คือประเทศฝรั่งเศสในสมัยกลางและต้นสมัยใหม่ ก่อนที่จะเปลี่ยนการปกครองมาเป็นแบบสาธารณรัฐดังปัจจุบัน ถือเป็นรัฐที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดรัฐหนึ่งในยุโรป เป็นประเทศมหาอำนาจตั้งแต่ปลายสมัยกลางและสงครามร้อยปี และกลายเป็นจักรวรรดิที่แผ่ขยายอาณานิคมไปทั่วโลกแม้แต่ในทวีปอเมริกาเหนือ ราชอาณาจักรฝรั่งเศสมีต้นกำเนิดมาจากราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก ซึ่งเป็นรัฐด้านตะวันตกของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงตามสนธิสัญญาแวร์เดิง และอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงจนถึงปี..

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและราชอาณาจักรฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตย

ราชาธิปไตย คือ การที่มีประมุขของรัฐเป็นกษัตริย์ แบ่งออกตามขอบเขต พระราชอำนาจเป็น.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและราชาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ"ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ" เป็นศัพท์บัญญัติของ (constitutional monarchy) เป็นรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐโดยไม่ทรงมีบทบาททางการเมืองและทรงอยู่ในขอบเขตของรัฐธรรมนูญไม่ว่าเป็นหรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ถึงแม้ว่าพระมหากษัตริย์อาจมีพระราชอำนาจโดยพระบารมีและรัฐบาลอาจดำเนินการในพระนาม แต่พระมหากษัตริย์จะไม่ทรงกำหนดนโยบายสาธารณะหรือเลือกผู้นำทางการเมือง เวอร์นอน บอกดานอร์ (Vernon Bogdanor) นักรัฐศาสตร์ชาวอังกฤษ นิยามว่า ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ "องค์อธิปัตย์ที่ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง" (a sovereign who reigns but does not rule), excerpted from การปกครองรูปแบบนี้ต่างจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงควบคุมการตัดสินใจทางการเมืองโดยไม่ทรงถูกรัฐธรรมนูญควบคุมเอาไว้ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ บางทีเรียกว่า ปรมิตตาญาสิทธิราชย์ (limited monarchy) สาธารณรัฐอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (crowned republic) หรือราชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา (parliamentary monarchy) นอกจากเป็นศูนย์รวมใจของชนในชาติแล้ว ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญอาจมีพระราชอำนาจอย่างเป็นทางการ เช่น ยุบสภานิติบัญญัติ หรืออนุมัติกฎหมาย แต่ส่วนใหญ่แล้วเป็นพระราชอำนาจทางพิธีการ มิใช่เป็นช่องให้พระมหากษัตริย์จัดการการเมืองได้โดยพลการ วอลเทอร์ แบกฮอต (Walter Bagehot) นักทฤษฎีการเมืองชาวอังกฤษ เขียนไว้ในหนังสือ ดิอิงลิชคอนสติติวชัน (The English Constitution) ว่า มีพระราชสิทธิ์สามประการเท่านั้นที่ราชาภายใต้รัฐธรรมนูญทรงใช้ได้ตามพระทัย คือ แสวงหาคำปรึกษา ประทานคำปรึกษา และประทานคำตักเตือน ประเทศราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญที่โดดเด่น เช่น สหราชอาณาจักรและอดีตเมืองขึ้นทั้งสิบห้าซึ่งล้วนใช้การปกครองที่เรียกว่า "ระบบเวสมินสเตอร์" (Westminster system) ส่วนรัฐสามแห่ง คือ กัมพูชา มาเลเซีย และสันตะสำนัก ใช้ราชาธิปไตยแบบเลือกตั้ง โดยให้อภิชนกลุ่มเล็ก ๆ เป็นคณะผู้เลือกตั้งองค์อธิปัตย์ขึ้นมาเป็นระยะ ๆ นับแต่เดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ · ดูเพิ่มเติม »

สภาฐานันดร (ประเทศฝรั่งเศส)

นันดร (Etats Généraux; States-General/Estates-General) เป็นสภานิติบัญญัติในระบอบเก่าของราชอาณาจักรฝรั่งเศส ประกอบด้วยสามฐานันดรแห่งราชอาณาจักร (Three Estates of the Realm) คือ นักบวช (those who pray) ชนชั้นขุนนาง (those who fight) และสามัญชน (those who work) แต่ละฐานันดรมีการประชุมแยกกัน แต่เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการเรียกประชุมและยุบสภาฐานันดร กับทั้งสภาฐานันดรไม่มีอำนาจให้ความเห็นชอบพระราชโองการเกี่ยวกับภาษีอากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีอำนาจนิติบัญญัติเลย เพียงตั้งขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือของพระมหากษัตริย์เท่านั้น สภาฐานันดรจึงไม่มีอำนาจเป็นของตนอย่างแท้จริง เป็นข้อต่างจากรัฐสภาแห่งอังกฤษ สภาฐานันดรแห่งฝรั่งเศสเทียบได้กับสถาบันอื่น ๆ ในยุโรป เช่น สภาฐานันดรแห่งเนเธอร์แลนด์ รัฐสภาแห่งอังกฤษ สภาฐานันดรแห่งสกอตแลนด์ สภาฐานันดรแห่งสเปน สภานิติบัญญัติแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และสภานิติบัญญัติประจำรัฐในประเทศเยอรมนี.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและสภาฐานันดร (ประเทศฝรั่งเศส) · ดูเพิ่มเติม »

สภานิติบัญญัติ

นิติบัญญัติเป็นสภาปรึกษาหารือชนิดหนึ่งซึ่งมีอำนาจผ่าน แก้ไขเพิ่มเติมและยกเลิกกฎหมาย กฎหมายที่เกิดจากสภานิติบัญญัติเรียก กฎหมายลายลักษณ์อักษร นอกเหนือไปจากการตรากฎหมายแล้ว สภานิติบัญญัติยังมีอำนาจสิทธิ์ขาดในการเพิ่มหรือลดภาษีและมีมติเห็นชอบงบประมาณและร่างกฎหมายเกี่ยวด้วยการเงินอื่น สภานิติบัญญัติมีหลายชื่อ ที่พบมากที่สุด คือ รัฐสภาและคองเกรส (congress) โดยสองคำนี้มีความหมายจำเพาะกว่า ในการปกครองระบบรัฐสภา ฝ่ายบริหารรับผิดชอบต่อสภานิติบัญญัติซึ่งอาจถอดถอนฝ่ายบริหารได้ด้วยการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในระบบประธานาธิบดี ตามลัทธิการแยกใช้อำนาจ สภานิติบัญญัติถูกมองว่าเป็นอิสระและเป็นการปกครองแขนงหนึ่งซึ่งเสมอกับฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหาร องค์ประกอบหลักของสภานิติบัญญัติ คือ มีตั้งแต่หนึ่งสภา (chamber/house) เป็นต้นไป สภา คือ การประชุมซึ่งสามารถอภิปรายและลงมติในร่างกฎหมายได้ สภานิติบัญญัติซึ่งมีสภาเดียว เรียก สภาเดียว ส่วนสภานิติบัญญัติที่มีสองสภา เรียก ระบบสองสภา ซึ่งปกติอธิบายเป็นสภาสูงและสภาล่าง โดยมักมีหน้าที่อำนาจและวิธีการเลือกสมาชิกต่างกัน นอกจากนี้ ยังมีสภานิติบัญญัติที่มีมากกว่าสองสภา แต่ไม่ค่อยพบ ในระบบรัฐสภาส่วนมาก สภาล่างเป็นสภาที่มีอำนาจกว่า ขณะที่สภาสูงเป็นเพียงสภาให้คำปรึกษาหรือทบทวน อย่างไรก็ดี ในระบบประธานาธิบดี อำนาจของสองสภามักคล้ายหรือเท่ากัน ในสหพันธรัฐ สภาสูงมักเป็นตัวแทนของรัฐที่มารวมกัน (component state) ซึ่งรวมถึงสภานิติบัญญัติเหนือชาติของสหภาพยุโรปด้วย ด้วยจุดประสงค์นี้ สภาสูงอาจมีผู้แทนจากรัฐบาลของรัฐ ดังเช่นในกรณีสหภาพยุโรปและเยอรมนี หรือมาจากการเลือกตั้งตามสูตรซึ่งให้การมีผู้แทนเท่าเทียมกันแก่รัฐซึ่งมีประชากรน้อยกว่า เช่นในกรณีออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกาปัจจุบัน.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและสภานิติบัญญัติ · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐ

รณรัฐ (Republic) เป็นระบอบการปกครองที่ประเทศถูกพิจารณาว่าเป็น "กิจสาธารณะ" (res publica) มิใช่ธุระหรือทรัพย์สินส่วนตัวของผู้ปกครอง และที่ตำแหน่งหน้าที่ของรัฐได้รับเลือกตั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือได้รับแต่งตั้ง มิใช่ได้รับทอด ในสมัยใหม่ นิยามทั่วไปที่เข้าใจง่ายของสาธารณรัฐ คือ ระบอบการปกครองที่ประมุขแห่งรัฐมิใช่พระมหากษัตริย์ ปัจจุบัน รัฐเอกราช 135 จาก 206 รัฐใช้คำว่า "สาธารณรัฐ" เป็นส่วนหนึ่งชื่ออย่างเป็นทางการ ทั้งสาธารณรัฐสมัยใหม่และสมัยโบราณแตกต่างกันอย่างมากทั้งในอุดมการณ์และองค์ประกอบ ในสมัยคลาสสิกและสมัยกลาง ต้นแบบของทุกสาธารณรัฐ คือ สาธารณรัฐโรมัน ซึ่งหมายถึงกรุงโรมในระหว่างสมัยที่มีพระมหากษัตริย์กับสมัยที่มีจักรพรรดิ ประเพณีการเมืองสมัยกลางและสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลีปัจจุบันที่เรียกว่า "มนุษยนิยมพลเมือง" (civic humanism) นั้น บางครั้งถูกมองว่าได้รับมาจากนักสาธารณรัฐนิยมโรมันโดยตรง อย่างไรก็ดี นักประพันธ์โรมันที่ได้รับอิทธิพลจากกรีก อย่างพอลิเบียสและคิเคโร บางครั้งใช้คำดังกล่าวเป็นคำแปลของคำภาษากรีกว่า politeia ซึ่งอาจหมายถึงระบอบโดยทั่วไป แต่ยังสามารถใช้กับระบอบบางประเภทโดยเจาะจงซึ่งมิได้สอดคล้องพอดีกับสาธารณรัฐโรมัน สาธารณรัฐมิได้เทียบเท่ากับประชาธิปไตยคลาสสิก เช่น เอเธนส์ แต่มีลักษณะความเป็นประชาธิปไตย ในสาธารณรัฐสมัยใหม่ เช่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รัสเซีย และอินเดีย ฝ่ายบริหารมีความชอบธรรมจากทั้งโดยรัฐธรรมนูญและการออกเสียงเลือกตั้งของประชาชน มงแต็สกีเยอรวมประชาธิปไตยทั้งสองแบบ ซึ่งประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครอง และอภิชนาธิปไตยหรือคณาธิปไตย ซึ่งมีคนเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ปกครอง เป็นระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ ส่วนใหญ่สาธารณรัฐมักเป็นรัฐเอกราช แต่ยังมีหน่วยต่ำกว่ารัฐที่เรียกว่า สาธารณรัฐ หรือมีการปกครองที่ถูกอธิบายว่า "เป็นสาธารณรัฐ" โดยธรรมชาติเช่นกัน ตัวอย่างเช่น มาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกา "ประกันว่าทุกรัฐในสหภาพนี้มีระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ" เขตการปกครองของสหภาพโซเวียตถูกอธิบายว่าเป็นสาธารณรัฐ และสองในนั้น คือ สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครนและเบลารุส มีที่นั่งของตนในสหประชาชาติ ขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งสหภาพโซเวียตอธิบายสหภาพว่าเป็น "รัฐเดี่ยว สหพันธ์และพหุชาติ" ที่จริงแล้วเป็นรัฐเดี่ยวเพราะพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตใช้อำนาจในรูปรวมศูนย์เหนือสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตซึ่งปกครองตนเองแต่ในนาม.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและสาธารณรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

สิบสามอาณานิคม

มอาณานิคม (Thirteen Colonies) เป็นอาณานิคมของอังกฤษฝั่งแอตแลนติกในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมบริติชอเมริกา ก่อตั้งระหว่าง..

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและสิบสามอาณานิคม · ดูเพิ่มเติม »

สิทธิของบุตรหัวปี

ทธิของบุตรคนแรก (primogeniture) เป็นสิทธิทางคอมมอนลอว์ ของบุตรคนแรก (firstborn) ในการได้รับทรัพย์สินทั้งหมดเป็นมรดก โดยละเว้นสิทธิของบุตรคนรองอื่น ๆ ทั้งหมด สิทธินี้นำเข้ามาใช้ในอังกฤษโดยนอร์มันในปี ค.ศ. 1066 ตามธรรมเนียมของนอร์มันบุตรชายคนแรกจะได้รับดินแดน ทรัพย์สิน และตำแหน่งที่เป็นของบิดาทั้งหมด ในกรณีที่ไม่มีลูก ทรัพย์สินก็จะผ่านต่อไปยังญาติตามลำดับความเหมาะสมตามอาวุโส สิทธิของบุตรคนแรกก็มีการประยุกต์กันไปหลายอย่าง เช่นการยกเลิกการให้อภิสิทธิ์นี้เฉพาะแต่ผู้เป็นชาย เช่นในเดนมาร์กในปี..

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและสิทธิของบุตรหัวปี · ดูเพิ่มเติม »

สินสอด (ให้แก่ฝ่ายชาย)

นสอด (dowry; dahej; dos) เป็นเงิน สินค้าหรือทรัพย์ที่หญิงมอบให้แก่สามีของตนในการแต่งงาน ซึ่งตรงกันข้ามกับการมอบสินสอดอันเป็นการที่ชายมอบทรัพย์ให้แก่ภรรยาของตน ในวัฒนธรรมเดียวกันอาจมีทั้งการมอบสินสอดที่มอบให้แก่สามีและมอบให้แก่ภรรยาไปพร้อมกัน สินสอดเป็นประเพณีโบราณ และอาจมีมาก่อนการบันทึกใด ๆ เป็นเวลานานแล้ว.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและสินสอด (ให้แก่ฝ่ายชาย) · ดูเพิ่มเติม »

อภิชนาธิปไตย

อภิชนาธิปไตย (ἀριστοκρατία aristokratía, มาจากคำว่า ἄριστος aristos "ที่ดีเลิศ" และ κράτος kratos "อำนาจ", aristocracy) เป็นระบอบการปกครองซึ่งอำนาจเป็นของพลเมืองอภิชนระดับล่าง คำว่า aristocracy มาจากภาษากรีก aristokratia หมายถึง "การปกครองโดยคนที่ดีที่สุด" (rule of the best) ณ เวลาที่คำดังกล่าวถือกำเนิดในกรีซโบราณ อภิชนาธิปไตยเข้าใจว่าเป็นการปกครองโดยพลเมืองเบื้องสูง และมักถูกเปรียบเชิงสนับสนุนราชาธิปไตย ในภายหลัง อภิชนาธิปไตยมักถูกมองว่าปกครองโดยคนกลุ่มน้อยที่มีอภิสิทธิ์ และตรงข้ามกับประชาธิปไต.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและอภิชนาธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

อาริสโตเติล

อาริสโตเติล หรือ แอริสตอเติล (Αριστοτέλης; Aristotle) (384 ปีก่อนคริสตกาล – 7 มีนาคม 322 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นนักปรัชญากรีกโบราณ เป็นลูกศิษย์ของเพลโต และเป็นอาจารย์ของอเล็กซานเดอร์มหาราช ท่านและเพลโตได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งในนักปรัชญาที่มีอิทธิพลสูงที่สุดท่านหนึ่ง ในโลกตะวันตก ด้วยผลงานเขียนหนังสือเกี่ยวกับฟิสิกส์ กวีนิพนธ์ สัตววิทยา การเมือง การปกครอง จริยศาสตร์ และชีววิทยา นักปรัชญากรีกโบราณที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคืออาริสโตเติล เพลโต (อาจารย์ของอาริสโตเติล) และโสกราตีส (ที่แนวคิดของเขานั้นมีอิทธิพลอย่างสูงกับเพลโต) พวกเขาได้เปลี่ยนโฉมหน้าของปรัชญากรีก สมัยก่อนโสกราตีส จนกลายเป็นรากฐานสำคัญของปรัชญาตะวันตกในลักษณะปัจจุบัน โสกราตีสนั้นไม่ได้เขียนอะไรทิ้งไว้เลย ทั้งนี้เนื่องจากผลของแนวคิดปรากฏในบทสนทนาของเพลโตชื่อ เฟดรัส เราได้ศึกษาแนวคิดของเขาผ่านทางงานเขียนของเพลโตและนักเขียนคนอื่นๆ ผลงานของเพลโตและอริสโตเติลเป็นแก่นของปรัชญาโบราณ อริสโตเติลเป็นหนึ่งในไม่กี่บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้ศึกษาแทบทุกสาขาวิชาที่มีในช่วงเวลาของเขา ในสาขาวิทยาศาสตร์ อริสโตเติลได้ศึกษา กายวิภาคศาสตร์, ดาราศาสตร์, วิทยาเอ็มบริโอ, ภูมิศาสตร์, ธรณีวิทยา, อุตุนิยมวิทยา, ฟิสิกส์,และ สัตววิทยา ในด้านปรัชญา อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับ สุนทรียศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, จริยศาสตร์, การปกครอง, อภิปรัชญา, การเมือง, จิตวิทยา, วาทศิลป์ และ เทววิทยา เขายังสนใจเกี่ยวกับ ศึกษาศาสตร์, ประเพณีต่างถิ่น, วรรณกรรม และ กวีนิพนธ์ ผลงานของเขาเมื่อรวบรวมเข้าด้วยกันแล้ว สามารถจัดว่าเป็นสารานุกรมของความรู้สมัยกรีก.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและอาริสโตเติล · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจบริหาร

อำนาจบริหาร (Executive) เป็นการปกครองส่วนที่มีอำนาจและความรับผิดชอบเฉพาะการบริหารประเทศประจำวัน ระบบการแยกใช้อำนาจออกแบบมาเพื่อกระจายอำนาจในบรรดาหลายฝ่าย เป็นความพยายามที่จะรักษาเสรีภาพปัจเจกบุคคลเพื่อเป็นการสนองตอบผู้นำทรราชตลอดประวัติศาสตร์ บทบาทของฝ่ายบริหาร คือ บังคับใช้กฎหมายตามที่สภานิติบัญญัติบัญญัติขึ้นและระบบตุลาการตีความ ฝ่ายบริหารสามารถเป็นบ่อเกิดของกฎหมายบางประเภทได้ เช่น กฤษฎีกาหรือคำสั่งของฝ่ายบริหาร ระบบข้าราชการประจำบริหารมักเป็นที่มาของระเบี.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและอำนาจบริหาร · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจอธิปไตย

อำนาจอธิปไตย (sovereignty) หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองรัฐ ดังนั้น สิ่งอื่นใดจะมีอำนาจยิ่งกว่าหรือขัดต่ออำนาจอธิปไตยหาได้ไม่ อำนาจอธิปไตย ย่อมมีความแตกต่างกันไปในแต่ละระบอบการปกครอง ตัวอย่างเช่น ในระบอบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน กล่าวคือ ประชาชนคือผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจอธิปไตยเป็นของพระมหากษัตริย์ คือ กษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นต้น อนึ่ง อำนาจอธิปไตยนี้ นับเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุดของความเป็นรัฐ เพราะการจะเป็นรัฐได้นั้น นอกจากต้องประกอบด้วย อาณาเขต ประชากร และรัฐบาลแล้ว ย่อมต้องมีอำนาจอธิปไตยด้วย กล่าวคือ ประเทศนั้นต้องเป็นประเทศที่สามารถมีอำนาจสูงสุด (อำนาจอธิปไตย) ในการปกครองตนเอง จึงจะสามารถเรียกว่า "รัฐ" ได้.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและอำนาจอธิปไตย · ดูเพิ่มเติม »

อำนาจตุลาการ

อำนาจตุลาการ เป็นระบบศาลซึ่งทำหน้าที่ตีความและใช้บังคับกฎหมาย (apply the law) ในนามของรัฐ ตุลาการยังเป็นกลไกสำหรับระงับข้อพิพาท ภายใต้ลัทธิการแยกใช้อำนาจ ฝ่ายตุลาการมักไม่สร้างกฎหมาย (ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายนิติบัญญัติ) หรือบังคับใช้กฎหมาย (enforce the law) (ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร) แต่ตีความกฎหมายและใช้บังคับกฎหมายเข้ากับข้อเท็จจริงของแต่ละคดี ฝ่ายตุลาการมักได้รับภารกิจให้ประกันความยุติธรรมเท่าเทียมกันตามกฎหมาย มักประกอบด้วยศาลอุทธรณ์สูงสุด (court of final appeal) เรียกว่า "ศาลสูงสุด" หรือ "ศาลรัฐธรรมนูญ" ร่วมกับศาลที่ต่ำกว่า ในหลายเขตอำนาจ ฝ่ายตุลาการมีอำนาจเปลี่ยนแปลงกฎหมายผ่านกระบวนการการพิจารณาทบทวนโดยศาล ศาลที่มีอำนาจการพิจารณาทบทวนโดยศาลอาจบอกล้างกฎหมายและหลักเกณฑ์ของรัฐเมื่อเห็นว่ากฎหมายหรือหลักเกณฑ์นั้นไม่เข้ากับบรรทัดฐานที่สูงกว่า เช่น กฎหมายแม่บท บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายระหว่างประเทศ ผู้พิพากษาเป็นกำลังสำคัญสำหรับตีความและนำรัฐธรรมนูญไปปฏิบัติ ฉะนั้น จึงสร้างประชุมกฎหมายรัฐธรรมนูญในประเทศที่ใช้ระบบคอมมอนลอว์ หมวดหมู่:การปกครอง.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและอำนาจตุลาการ · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง-ฌัก รูโซ

็อง-ฌัก รูโซ (Jean-Jacques Rousseau; 28 มิถุนายน พ.ศ. 2255 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2321) เป็นนักปรัชญา นักเขียน นักทฤษฎีการเมือง และนักประพันธ์เพลงที่ฝึกหัดด้วยตนเองแห่งยุคเรืองปัญญ.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและฌ็อง-ฌัก รูโซ · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น ล็อก

อห์น ล็อก จอห์น ล็อก (John Locke; 29 สิงหาคม พ.ศ. 2175-28 ตุลาคม พ.ศ. 2247) เป็นนักปรัชญา ชาวอังกฤษ ในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 17 ความสนใจหลักของเขาคือสังคมและทฤษฎีของความรู้ แนวคิดของล็อกที่เกี่ยวกับ "ผู้ปกครองที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใต้ปกครอง" และสิทธิธรรมชาติของมนุษย์ ที่เขาอธิบายว่าประกอบไปด้วย ชีวิต, เสรีภาพ, และทรัพย์สิน นั้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อพัฒนาการทางปรัชญาการเมือง แนวคิดของเขาเป็นพื้นฐานของกฎหมายและรัฐบาลอเมริกัน ซึ่งผู้บุกเบิกได้ใช้มันเป็นเหตุผลของการปฏิวัติ แนวคิดด้านญาณวิทยาของล็อกนั้นมีอิทธิพลสำคัญไปจนถึงช่วงของยุคแสงสว่าง.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและจอห์น ล็อก · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

ักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี (Austria-Hungary) เป็นจักรวรรดิที่มีระบอบการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2410 จนถึง พ.ศ. 2461 หลังจากนั้น จักรวรรดินี้ถูกล้มล้างหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจากจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ. 1804-ค.ศ. 1867) โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน โดยมีต้นกำเนิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี เมื่อปีพ.ศ. 2410 ซึ่งทั้งสองประเทศนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาช้านาน โดยเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นหนึ่งเดียว โดยจักรวรรดินี้เป็นอาณาจักรที่มีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองขีดสุด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ราชวงศ์ฮับส์บูร์กนั้นได้ปกครองประเทศในฐานะจักรพรรดิแห่งออสเตรีย (Emperor of Austria) และราชอาณาจักรฮังการีในฐานะกษัตริย์แห่งฮังการี (Apostolic King of Hungary) ผู้ทรงเปรียบเสมือนเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า นอกจากนั้นยังได้ปกครองทั่วทั้งทางตะวันตกและทางเหนือ รวมทั้งครึ่งหนึ่งของทวีปยุโรปเลยทีเดียว โดยทุกประเทศที่อยู่ภายใต้จักรวรรดินี้ มีรัฐบาลเป็นของตนเอง มิได้มีรัฐบาลและศูนย์กลางทางการเมืองหรือรัฐบาลที่ประเทศเดียว เมืองหลวงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้น มีอยู่ 2 เมืองด้วยกันคือ กรุงเวียนนา ที่ประเทศออสเตรีย และกรุงบูดาเปสต์ที่ประเทศฮังการี จักรวรรดินี้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจักรวรรดิรัสเซีย และเป็นอาณาจักรที่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 3 รองจากจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งปัจจุบันนี้ พื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดินั้นมีประชากรรวมทั้งหมดถึง 73 ล้านคน.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไบแซนไทน์

ักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือ จักรวรรดิไบแซนทิอุม (Βασιλεία των Ρωμαίων) เป็นจักรววรรดิที่สืบทอดโดยตรงจากจักรวรรดิโรมันในปลายสมัยโบราณ และยุคกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล ในบริบทสมัยโบราณตอนปลาย จักรวรรดิยังถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า จักรวรรดิโรมันตะวันออก ขณะที่ยังมีจักรวรรดิโรมันตะวันตกอยู่ ทั้งคำว่า "จักรวรรดิไบแซนไทน์" และ "จักรวรรดิโรมันตะวันออก" เป็นคำทางภูมิประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นและใช้กันในหลายศตวรรษต่อมา ขณะที่พลเมืองยังเรียกจักรวรรดิของตนว่า "จักรวรรดิโรมัน" หรือ "โรมาเนีย" เรื่อยมากระทั่งล่มสลายไป ขณะที่จักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ส่วนตะวันออกยังดำเนินต่อมาอีกพันปีก่อนจะเสียแก่เติร์กออตโตมันใน..

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและจักรวรรดิไบแซนไทน์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดฌีรงด์

ีรงด์ (Gironde; Gironda) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในแคว้นนูแวลากีแตนในประเทศฝรั่งเศส ฌีรงด์เป็นชื่อโดยทั่วไปของชะวากทะเลฌีรงด์ที่แม่น้ำการอนและแม่น้ำดอร์ดอญมาบรรจบกัน ฌีรงด์เป็นหนึ่งใน 83 จังหวัดที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1790 จากบางส่วนของอดีตจังหวัดกุยแยนและกัสกอญ ระหว่างปี..

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและจังหวัดฌีรงด์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตวิญญาณแห่งกฎหมาย

ตวิญญาณแห่งกฎหมาย (The Spirit of Laws) เป็นหนังสือเกี่ยวกับทฤษฎีทางการเมืองโดยมงแต็สกีเยอ โดยได้รับความช่วยเหลือจาก Claudine Guérin de Tencin ในปี ค.ศ. 1748 มงแต็สกีเยอใช้เวลาประมาณยี่สิบเอ็ดปีในการค้นคว้าและเขียนจิตวิญญาณแห่งกฎหมาย ซึ่งครอบคลุมหลายเรื่องเช่น กฎหมาย สังคม และการศึกษาด้านมานุษยวิทยา แต่เรื่องที่เป็นที่ยกย่องของนักกฎหมายและนักการเมือง คือ การแยกอำนาจทางการเมืองการปกครอง นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงจุดสิ้นสุดของระบบทาส และการรักษาสิทธิเสรีภาพทางการเมืองและกฎหมายCohler, et al., "Introduction" to the 1989 Cambridge UP ed.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและจิตวิญญาณแห่งกฎหมาย · ดูเพิ่มเติม »

จูเลียส ซีซาร์

กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ (Caivs/Gaivs Ivlivs Caesar) หรือ จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar; กรกฎาคม 100 ปีก่อน ค.ศ. – 15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นรัฐบุรุษ แม่ทัพ และผู้ประพันธ์ร้อยแก้วอันเลื่องชื่อชาวโรมัน เขามีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์อันนำไปสู่การสิ้นสุดสาธารณรัฐโรมันและความเจริญของจักรวรรดิโรมัน ใน 60 ปีก่อน..

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและจูเลียส ซีซาร์ · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ไบเบิล

ัมภีร์ไบเบิลกูเทนแบร์ก คัมภีร์ไบเบิลฉบับพิมพ์ครั้งแรก คัมภีร์ไบเบิลราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 99 (Bible; ביבליה; ܟܬܒܐ ܩܕܝܫܐ; Αγία Γραφή) (มาจากภาษากรีกโบราณว่า Βίβλος บิบลิออน แปลว่า หนังสือ) ชาวโปรเตสแตนต์เรียกว่า พระคริสตธรรมคัมภีร์ (Holy Bible) เรียกโดยย่อว่า พระคัมภีร์ เป็นหนังสือที่บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับพระยาห์เวห์ มนุษย์ ความบาป และแผนการของพระเจ้าในการช่วยมนุษย์ให้รอดพ้นจากความพินาศอันเนื่องจากความบาปสู่ชีวิตนิรันดร์ เป็นหนังสือที่บันทึกหลักธรรมคำสอนของศาสนาคริสต์ ซึ่งในบางเล่มมีพื้นฐานมาจากหลักคำสอนของศาสนายูดาห์ของชาวยิว ชาวคริสต์เรียกคัมภีร์ไบเบิลในชื่ออื่น ๆ อีกหลายชื่อเช่น พระวจนะของพระเจ้า (Word of God) หนังสือดี (Good Book) และคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ (Holy Scripture) คริสตชนทุกคนเชื่อว่าพระคัมภีร์ทุกบททุกข้อนั้นมนุษย์เขียนขึ้นโดยการดลใจจากพระเจ้า ประกอบด้วยหนังสือจำนวน 66 หรือ 73 หรือ 78 เล่ม (แล้วแต่นิกาย) ประกอบด้วยภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ พันธสัญญาเดิมถูกเขียนขึ้นก่อนที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ทั้งหมดเขียนเป็นภาษาฮีบรู ยกเว้นส่วนที่เป็นคัมภีร์อธิกธรรม (ยอมรับเฉพาะชาวคาทอลิก) ถูกเขียนด้วยภาษากรีกและภาษาอียิปต์ ส่วนพันธสัญญาใหม่ถูกเขียนขึ้นหลังจากพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์แล้ว โดยบันทึกถึงเรื่องราวของพระเยซูตลอดพระชนม์ชีพ รวมทั้งคำสอน และการประกาศข่าวดีแห่งความรอด การยอมรับการทรมาน และการไถ่บาปของมนุษย์โดยพระเยซู การกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ การส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์มายังอัครทูต ประวัติศาสตร์ของคริสตจักรในยุคแรกเริ่ม ภายหลังการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระเยซูแล้ว การเบียดเบียนคริสตจักรในรูปแบบต่าง ๆ พระคัมภีร์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็นหนังสือที่ขายดีที่สุดของเวลาทั้งหมดที่มียอดขายต่อปีประมาณ 100 ล้านเล่มและได้รับอิทธิพลสำคัญในวรรณคดีและประวัติศาสตร.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและคัมภีร์ไบเบิล · ดูเพิ่มเติม »

ตาบอด

ตาบอด เป็นความพิการในลักษณะหนึ่งของร่างกาย ผู้ที่ตาบอดจะไม่สามารถมองเห็นภาพได้หรือมองเห็นได้เพียงบางส่วน ในอเมริกาเหนือและยุโรป จะถือว่า ผู้ที่ ตาบอดทางกฎหมาย หมายถึงผู้ที่มีวิสัยการมองเห็นภาพได้ไม่เกิน 20 องศา (จากวิสัยของคนปกติประมาณ 180 องศา) หมวดหมู่:การมองเห็น หมวดหมู่:ตาบอด.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและตาบอด · ดูเพิ่มเติม »

ตากิตุส

ปูบลิอุส (หรือ กาอิอุส) กอร์เนลิอุส ตากิตุส (Pvblivs (Gaivs) Cornelivs Tacitvs; ประมาณ ค.ศ. 56 - ค.ศ. 117) เป็นชาวโรมันและนักประวัติศาสตร์ของจักรวรรดิโรมันผู้บันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสมัยโรมัน อาทิ เหตุการณ์ระเบิดของภูเขาไฟวิสุเวียส ตากิตุสเป็นหนึ่งในนักประวัติศาสตร์ของโรมที่โด่งดัง โดยบันทึกต่าง ๆ ของเขาเป็นภาษาละติน หมวดหมู่:นักเขียนชาวโรมัน หมวดหมู่:นักประวัติศาสตร์ชาวโรมัน.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและตากิตุส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและประเทศสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญาการเมือง

ลิติก ในสมัยกรีกโบราณ ปรัชญาการเมือง (political philosophy) เป็นสาขาวิชาหนึ่งขององค์ความรู้ในวิชารัฐศาสตร์ ปรัชญาการเมืองเป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดเนื่องจากเป็นวิชาที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่ราวศตววษที่ 5 ก่อนคริสตกาลในดินแดนคาบสมุทธเพลอพอนเนซุส หรือดินแดนของประเทศกรีซในปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของวิชาปรัชญาการเมืองเกิดขึ้นในนครรัฐที่ชื่อว่าเอเธนส์ในช่วงที่เอเธนส์เริ่มเปลี่ยนรูปแบบการปกครองจากระบบอภิสิทธ์ชนธิปไตย (Aristocracy) มาเป็นประชาธิปไตยโบราณ (Demokratia).

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและปรัชญาการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและปารีส · ดูเพิ่มเติม »

โทมัส ฮอบส์

ทมัส ฮอบส์ วาดโดย John Michael Wright โทมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) (5 เมษายน พ.ศ. 2131 (ค.ศ. 1588) - 4 ธันวาคม พ.ศ. 2222 (ค.ศ. 1679)) เป็นนักปรัชญาการเมือง ชาวอังกฤษ ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังจากผลงานที่สำคัญคือหนังสือชื่อ Leviathan ที่เขียนขึ้นเมื่อ..

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและโทมัส ฮอบส์ · ดูเพิ่มเติม »

โทมัส เพน

โทมัส เพน โทมัส เพน 29 มกราคม พ.ศ. 2280 - 8 มิถุนายน พ.ศ. 2352, นิวยอร์กซิตี, สหรัฐอเมริกา) เป็น ผู้เขียนหนังสือเล่มเล็ก, นักปฏิวัติ, นักคิดสุดโต่ง ปัญญาชน, และ ผู้เชื่อถือในพระเจ้า. เกิดในบริตเตนใหญ่, แต่อาศัยอยู่ในอเมริกา, อพยพมาอยู่ในอาณานิคมอเมริกัน ในขณะที่มีสงครามการเมือง, เป็นผูเขียนหลักในหนังสือที่ทรงอิทธิพล และมีผู้อ่านมากมาย ในหนังสือสามัญสำนึก,common sense, เป็นหนังสือที่กล่าวแนะนำให้อาณานิคมอเมริกัน เป็นเอกราชต่อบริตรินใหญ่ เพนมีอิทธิพลมากต่อการ ปฏิวัติฝรั่งเศส. เขาเขียนหนังสือ สิทธิมนุษยชน (Right of Man) เป็นคำแนะนำแนวความคิดอันนำไปสู่ ยุค แสงสว่างทางปัญญา (Enlightenment).แต่เขาก็เริ่มมีชื่อเสียงไม่ดีเมื่อเขียนหนังสือ ยุคสมัยของเหตุผล (The Age of Reason), ซึ่งเกี่ยวกับการเชื่อถือในพระเจ้า และโจมตีคำสอนของชาวคริสต์ ในหนังสือ และในหนังสือ In ความยุติธรรมของเกษตรกร (Agrarian Justice), เขาก็เริ่มแนะนำแนวคิดที่คล้ายกับสังคมนิยม. หมวดหมู่:นักเขียนชาวอเมริกัน หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2280 หมวดหมู่:บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2352 หมวดหมู่:บุคคลจากนครนิวยอร์ก หมวดหมู่:บุคคลจากมณฑลนอร์ฟอล์ก.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและโทมัส เพน · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล

กออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล (Georg Wilhelm Friedrich Hegel,;27 สิงหาคม ค.ศ. 1770 – 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1831) เป็นนักปรัชญาชาวเยอรมันในช่วงปลายยุคภูมิธรรม เฮเกิลเป็นนักปรัชญาคนสำคัญของโลกตะวันตก งานเขียนหลายชิ้นของเขามีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อปรัชญากลุ่มต่างๆ อาทิ ปรัชญาภาคพื้นทวีป (Continental Philosophy) ปรัชญาวิเคราะห์ (Analytical Philosophy) และลัทธิมากซ.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและเกออร์ก วิลเฮล์ม ฟรีดริช เฮเกิล · ดูเพิ่มเติม »

เรอเน เดการ์ต

รอเน เดการ์ต (René Descartes) เป็นทั้งนักปรัชญาและนักคณิตศาสตร์ นอกจากที่เขาเป็นผู้ที่บุกเบิกปรัชญาสมัยใหม่ เขายังเป็นผู้คิดค้นระบบพิกัดแบบคาร์ทีเซียนซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนาด้านแคลคูลัสต่อมา เดการ์ตได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ตะวันตกสมัยใหม่ แนวคิดของเขามีผลต่อนักคิดร่วมสมัยไปถึงนักปรัชญารุ่นต่อ ๆ มา โดยรวมเรียกว่าปรัชญากลุ่มเหตุผลนิยม (rationalism) ซึ่งเป็นแนวคิดปรัชญาหลักในยุโรปสมัยศตวรรษที่ 17 และ 18.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและเรอเน เดการ์ต · ดูเพิ่มเติม »

เอมิล ดูร์ไกม์

วิด เอมิล ดูร์ไกม์ (David Émile Durkheim) (15 เมษายน ค.ศ. 1858 – 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917) เป็นผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของสังคมวิทยาสมัยใหม่ เขายังเป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาสังคมวิทยาแห่งแรกในยุโรปในปี..

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและเอมิล ดูร์ไกม์ · ดูเพิ่มเติม »

เอ็ดมันด์ เบิร์ก

อ็ดมันด์ เบิร์ก (Edmund Burke) เป็นรัฐบุรุษชาวไอร์แลนด์ และยังเป็นทั้งนักปรัชญา, นักปราศรัย, นักทฤษฏีการเมือง และเป็นนักการเมืองอังกฤษสังกัดพรรควิกโดยเป็นสมาชิกสภาสามัญชน เขาเป็นที่รู้จักจากการสนับสนุนการปฏิวัติอเมริกา, การเลิกกีดกันชาวคาทอลิก, การฟ้องร้องข้าหลวงวอร์เรน ฮาสติงส์ แห่งบริษัทอินเดียตะวันออก และภายหลังจากการไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติฝรั่งเศส ซึ่งทำให้เขาผันตัวไปเป็นผู้นำกลุ่มอนุรักษนิยมในพรรควิกซึ่งเป็นเสียงข้างน้อยในสภา ซึ่งตัวเขาเรียกกลุ่มนี้ว่า กลุ่ม "วิกเก่า" (Old Whigs) ซึ่งอยู่ขั้วตรงข้ามกับฝ่ายสนับสนุนการปฏิวัติฝรั่งเศสซึ่งเรียกว่ากลุ่ม "วิกใหม่" (New Whigs) ที่นำโดยชาร์ล เจมส์ ฟ็อกซ์ เบิร์กเชื่อว่าเสรีภาพและจารีตประเพณีสามารถไปด้วยกันได้ ไม่จำเป็นต้องขัดแย้งถึงขั้นนองเลือดหรือสถาปนาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดขึ้นเป็นฝ่ายชนะอย่างขาดลอยชัดเจน การเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันนั้นจะนำมาซึ่งความสูญเสียไม่คุ้มกับประโยชน์ที่ได้รับ ดังนั้นเขาจึงเชื่อมั่นในวิถีแห่งการประนีประนอมมากกว่าการห้ำหั่นเอาชนะ ในขณะที่เขาต่อต้านการปฏิวัติฝรั่งเศสเขากลับสนับสนุนการปลดแอกของอเมริกาจากอังกฤษ เขาให้เหตุผลว่าเนื่องจากการปฏิวัติในฝรั่งเศสนั้นไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการแสวงหาเสรีภาพและความเท่าเทียมตั้งแต่ต้น แต่เกิดจากการยุยงโดยชนชั้นนำซึ่งท้ายที่สุดจะนำไปซึ่งการปกครองในระบอบเผด็จการที่เลวร้ายกว่าเดิม ในศตวรรษที่ 20 หลังจากที่เขาเสียชีวิตกว่าร้อยปีแล้ว เขากลายมาเป็นว่าได้รับการนับถืออย่างมากในฐานะนักปรัชญาผู้เป็นบิดาแห่งแนวคิดอนุรักษนิยมสมัยใหม.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและเอ็ดมันด์ เบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

เฮอรอโดทัส

รูปแกะสลักเฮอโรโดทัส เฮอโรโดทัส (Herodotos หรือ Herodotus – ประมาณ พ.ศ. 58-118) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกผู้บันทึกสงครามเปอร์เซีย ผู้เริ่มต้นประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตก เกิดที่เมืองฮาลิคาร์นาสซัส ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียไมเนอร์ซึ่งในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซีย เฮอโรโดทัสได้เดินทางท่องเที่ยวศึกษาทั่วดินแดนในเอเชียไมเนอร์และตะวันออกกลาง และยังได้เดินทางลงใต้ไปอียิปต์ถึงเมืองเอเลแฟนทีน (อัสวานในปัจจุบัน) Oikumene) ประมาณ พ.ศ. 90 หรือ 450 ปีก่อนคริสตกาล โดยจำลองจากบันทึกของเฮอโรโดทัส เฮอโรโดทัส เคยอาศัยอยู่ที่กรุงเอเธนส์ หรืออย่างน้อยก็ตอนกลางของกรีกและได้พบกับโสโฟเคิลส์ (Sophocles) ก่อนที่จะไปเข้าเป็นพลเมืองร่วมอยู่กับอาณานิคมกรีกที่เมืองธุริ (Thurii) เมื่อปี..

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและเฮอรอโดทัส · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ แมดิสัน

มส์ แมดิสัน (James Madison) เป็นประธานาธิบดีคนที่ 4 แห่งสหรัฐอเมริกา เกิดเมื่อวันที่ 16 มีนาคม ค.ศ. 1751 และเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1809 โดยเข้ารับตำแหน่งต่อจากโธมัส เจฟเฟอร์สัน ออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1817 ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1836 และยังเป็นหนึ่งในคณะผู้ก่อตั้งประเทศสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและเจมส์ แมดิสัน · ดูเพิ่มเติม »

เดวิด ฮูม

วิด ฮูม เดวิด ฮูม (David Hume26 เมษายน ค.ศ. 1711 - 25 สิงหาคม ค.ศ. 1776) เป็นนักปรัชญา และนักประวัติศาสตร์ ชาวสกอตแลนด์ และเป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่งใน ยุคเรืองปัญญาแห่งสกอตแลนด์ (บุคคลสำคัญคนอื่น ๆ ในยุคนี้ ได้แก่ อดัม สมิธ, ทอมัส เรด เป็นต้น) หลายคนยกย่องให้ฮูม เป็นคนหนึ่งในกลุ่มที่เรียกว่า นักประสบการณ์นิยมชาวบริเตนทั้งสาม ซึ่งฮูมถือเป็นคนที่สามในกลุ่มนี้ ถัดจาก จอห์น ล็อก ชาวอังกฤษ และ จอร์จ บาร์กลีย์ ชาวอังกฤษ-ไอริช นอกจากนี้ยังถือว่าฮูม เป็นคนที่มีแนวคิดทางปรัชญาถึงรากถึงโคนที่สุด ในทั้งสามคนนี้ด้ว.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและเดวิด ฮูม · ดูเพิ่มเติม »

เคลอจี

ลอจี เคลอจี (clergy อ่านว่า เคลอ-จี) คือ ผู้ได้รับศีลบวช ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติว่านักบวช รูปเอกพจน์เรียกว่าเคลริก (cleric) ศาสนาคริสต์เริ่มใช้คำนี้เพื่อหมายถึงศาสนบุคคลที่ได้รับศีลบวช ได้แก่ ดีกัน บาทหลวง และบิชอป ในปัจจุบันหมายถึง บุคคลในศาสนาใด ๆ ที่ผ่านพิธีบวชเพื่อปฏิบัติหน้าที่รับใช้ศาสน.

ใหม่!!: มงแต็สกีเยอและเคลอจี · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Charles de Secondat, baron de MontesquieuCharles-Louis de Secondat, baron de La Brède et de MontesquieuMontesquieuมองเตสกิเออมองเตสกิเออร์มงแตสกีเยอชาลส์ เดอ เซอกงดา บารงแห่งมงแตสกีเยอ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »