เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส

ดัชนี อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส

"ครีบยันลอย" (flying buttress) ที่ยื่นออกไปรอบบริเวณร้องเพลงด้านหลังโบสถ์ อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส (Cathédrale Notre-Dame de Paris) เป็นอาสนวิหารประจำอัครมุขมณฑลปารีส ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส คำว่า Notre Dame แปลว่า แม่พระ (Our Lady) ซึ่งเป็นคำที่ชาวคาทอลิกใช้เรียกพระนางมารีย์พรหมจารี ปัจจุบันอาสนวิหารก็ยังใช้เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิกและเป็นที่ตั้งคาเทดราของอาร์ชบิชอปแห่งปารีส อาสนวิหารน็อทร์-ดามถือกันว่าเป็นโบสถ์ที่สวยงามที่สุดในลักษณะกอทิกแบบฝรั่งเศส โบสถ์นี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์โดยเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก ผู้เป็นสถาปนิกคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของฝรั่งเศส การก่อสร้างเป็นแบบกอทิก นับเป็นอาสนวิหารแรกที่สร้างในลักษณะนี้ และการก่อสร้างก็ทำต่อเนื่องมาตลอดสมัยกอทิก ประติมากรรม และหน้าต่างประดับกระจกสี (stained glass) มีอิทธิพลจากศิลปะแบบแนทเชอราลลิสม์ ทำให้แตกต่างจากศิลปะโรมาเนสก์ที่สร้างก่อนหน้านั้น น็อทร์-ดามเป็นหนึ่งในบรรดาสิ่งก่อสร้างแรกที่ใช้ "ครีบยันลอย" ตามแบบเดิมไม่ได้บ่งถึงกำแพงค้ำยันรอบอาสนวิหาร "บริเวณร้องเพลงสวด" หรือ รอบบริเวณกลางโบสถ์ เมื่อเริ่มสร้างกำแพงโบสถ์สูงขึ้นกำแพงก็เริ่มร้าวเพราะน้ำหนักของสิ่งก่อสร้าง เพราะสถาปนิกสมัยกอทิกจะเน้นการสร้างสิ่งก่อสร้างที่สูง บาง และโปร่ง เมื่อสร้างสูงขึ้นไปกำแพงก็ไม่สามารถรับน้ำหนักและความกดดันของกำแพงและหลังคาได้ทำให้กำแพงโก่งออกไปและร้าว สถาปนิกจึงใช้วิธีแก้ด้วยการเติม "กำแพงค้ำยัน" ที่กางออกไปคล้ายปีกนกด้านนอกตัววัด เพื่อให้กำแพงค้ำยันนี้หนุนหรือค้ำกำแพงตัวโบสถ์เอาไว้ เมื่อทำไปแล้วนอกจากจะมีประโยชน์ทางการใช้สอยแล้วยังกลายเป็นเครื่องตกแต่งที่ทำให้สิ่งก่อสร้างความสวยงามขึ้น ฉะนั้นวิธีแก้ปัญหานี้จึงกลายเป็นเอกลักษณ์ส่วนหนึ่งของโบสถ์ที่สร้างแบบกอทิกไปในตัว ในปี ค.ศ.

เปิดใน Google Maps

สารบัญ

  1. 27 ความสัมพันธ์: บริเวณกลางโบสถ์บริเวณร้องเพลงสวดพ.ศ. 1706พ.ศ. 1725พ.ศ. 1888พ.ศ. 2336พระนางมารีย์พรหมจารีพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศสการปฏิวัติฝรั่งเศสมุขนายกศิลปะกอทิกศิลปะโรมาเนสก์สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3สถาปัตยกรรมกอทิกสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศสสถาปนิกหน้าต่างกุหลาบอัครมุขมณฑลปารีสอาสนวิหารอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศสผังอาสนวิหารครีบยันลอยคาทีดราประติมากรรมประเทศฝรั่งเศสโรมันคาทอลิกเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก

บริเวณกลางโบสถ์

ริเวณกลางโบสถ์แบบกอธิคมองไปสู่บริเวณพิธีทางมุขตะวันออกภายในมหาวิหารเซนต์ปีเตอร์และเซนต์พอลแห่งนองซ์ในประเทศฝรั่งเศส แผนผังแสดงส่วนที่เป็น “บริเวณกลางโบสถ์” ที่เป็นสีชมพู บริเวณกลางโบสถ์ยุคต้นเรอเนสซองซ์ในบาซิลิกาซานโลเร็นโซโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกี - คริสต์ทศวรรษ 1420 บริเวณกลางโบสถ์ (nave) คือช่องทางเดิน (aisle) ที่ตั้งอยู่กลางคริสต์ศาสนสถานที่เริ่มตั้งแต่จากประตูทางเข้าไปสู่บริเวณพิธีและแท่นบูชาเอก ที่บางครั้งก็อาจจะขนาบด้วยช่องทางเดินข้างซ้ายขวาข้างละช่องหรืออาจจะมากกว่าก็ได้ถ้าเป็นวัดใหญ่ๆ เช่นมหาวิหารแซงต์เอเตียนน์แห่งบูร์กที่มีช่องทางเดินทั้งหมดห้าช่องที่ประกอบด้วยบริเวณกลางโบสถ์ที่ขนาบด้วยช่องทางเดินข้างๆ ละสองช่อง.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและบริเวณกลางโบสถ์

บริเวณร้องเพลงสวด

“บริเวณร้องเพลงสวด” ของมหาวิหารปาเล็นเซียในประเทศสเปน ภาพแสดงให้เห็นที่นั่งของนักบวชสองข้างหน้าแท่นบูชาเอกที่ทำด้วยไม้ที่สลักเสลาอย่างงดงามที่วัดในเมืองบาดชูสเซนรีด ที่เดิมเป็นสำนักสงฆ์ในประเทศเยอรมนี บริเวณร้องเพลงสวด (Choir หรือ quire) ในทางสถาปัตยกรรม “บริเวณร้องเพลงสวด” เป็นบริเวณภายใน คริสต์ศาสนสถาน หรือมหาวิหารที่มักจะตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของบริเวณพิธี (chancel) ระหว่างทางเดินกลาง (nave) และบริเวณศักดิ์สิทธิ์ (sanctuary) (ที่เป็นที่ตั้งแท่นบูชา) แต่บางครั้ง “บริเวณร้องเพลงสวด” ก็อาจจะตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของทางเดินกลาง ในวัดของสำนักสงฆ์บางแห่งบริเวณนี้ก็จะตั้งอยู่ทางตะวันตกของทางเดินกลางซึ่งเป็นการสมดุลกับบริเวณพิธีและบริเวณศักดิ์สิท.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและบริเวณร้องเพลงสวด

พ.ศ. 1706

ทธศักราช 1706 ใกล้เคียงกั.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและพ.ศ. 1706

พ.ศ. 1725

ทธศักราช 1725 ใกล้เคียงกั.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและพ.ศ. 1725

พ.ศ. 1888

ทธศักราช 1888 ใกล้เคียงกั.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและพ.ศ. 1888

พ.ศ. 2336

ทธศักราช 2336 ตรงกับปี คริสต์ศักราช 1793.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและพ.ศ. 2336

พระนางมารีย์พรหมจารี

ริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกเรียกนางมารีย์ (มารดาพระเยซู) ว่า พระนางมารีย์พรหมจารี (the Blessed Virgin Mary) เพราะเชื่อว่าพระแม่มารีย์เป็นพรหมจารีเสมอ และพระเยซูซึ่งเชื่อว่าเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าก็มารับสภาพมนุษย์ผ่านทางครรภ์ของพระแม่มารีย์ จึงทำให้พระแม่มารีย์มีสถานะเป็น "พระมารดาพระเจ้า" ด้วย คริสตจักรโรมันคาทอลิกได้รับรองความเชื่อนี้มาตั้งแต่สังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง ในปี..

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและพระนางมารีย์พรหมจารี

พระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส

ระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส (Louis VII of France หรือ Louis VII the Younger หรือ Louis le Jeune) (ค.ศ. 1120 - 18 กันยายน ค.ศ. 1180) ทรงเป็นพระมหากษัตริย์แห่งฝรั่งเศสแห่งราชวงศ์กาเปเตียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ฝรั่งเศสระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและพระเจ้าหลุยส์ที่ 7 แห่งฝรั่งเศส

การปฏิวัติฝรั่งเศส

การปฏิวัติฝรั่งเศส (Révolution française) ระหว่าง..

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและการปฏิวัติฝรั่งเศส

มุขนายก

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายก บิชอป (Bishop) กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและมุขนายก

ศิลปะกอทิก

ลปะกอทิก (Gothic art) เริ่มต้นขึ้นประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 17 และมีอิทธิพลอยู่ประมาณ 350 ปีต่อเนื่องมาจากศิลปะโรมาเนสก์ พบในศิลปะศาสนาในการสร้างมหาวิหาร (Cathedral) พอถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ศิลปะแบบนี้ก็เผยแพร่ไปยังศิลปะในประเทศอื่นในยุโรปตะวันตกที่เรียกกันว่าศิลปะกอทิกนานาชาติ ศิลปะกอทิกนิยมกันมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเริ่มวิวัฒนาการมาเป็น ศิลปะสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ศิลปะแขนงสำคัญของสมัยกอธิคคือ ประติมากรรม งานกระจกสี จิตรกรรมฝาผนัง การเขียนลวดลายในหนังสือวิจิตร ศิลปะกอธิคเริ่มต้นจากฝรั่งเศสและแพร่หลายไปยังประเทศอื่น ๆ และมีลักษณะตามภูมิภาคนั้น ๆ ด้วย ลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมมีผนังเปิดกว้าง มีส่วนสูงเด่นเป็นพิเศษและมีแบบที่ออกมาเป็นลายเส้นอันซับซ้อน ทุกส่วนล้วนประกอบเข้าด้วยกันเป็นสัญลักษณ์นิยม ทางศาสนา โครงสร้างหลังคาเป็นโค้งแหลม ลักษณะต่างๆ เหล่านี้จะหาดูได้จากมหาวิหารในฝรั่งเศส, เยอรมนี และ อังกฤษ เช่น มหาวิหารแซ็ง-เดอนี (ฝรั่งเศส) มหาวิหารนัวยง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารล็อง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารอามีแย็ง (ฝรั่งเศส) มหาวิหารกลอสเตอร์ (อังกฤษ) และ มหาวิหารเอ็กซีเตอร์ (อังกฤษ) เป็นต้น มุขด้านตะวันออกของวิหาร Chartres Cathedral (ราว ค.ศ.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและศิลปะกอทิก

ศิลปะโรมาเนสก์

วัดเซ็นต์ออสเตรมอยน์, อิซัว, ฝรั่งเศส ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque art) หรือเรียกกันว่า ศิลปะนอร์มัน หมายถึงศิลปะที่เกิดขึ้นในยุโรป ราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 12 ศิลปะแบบโรมาเนสก์พื้นฐานของศิลปะกอธิคซึ่งเริ่มมีบทบาทเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษ 13 การศึกษาเรื่องศิลปะยุคกลาง เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษ 19 ทำให้มีการจัดแบ่งศิลปะเป็นสมัยๆ คำว่า โรมาเนสก์ เป็นคำที่ใช้บรรยายศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะ สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษ 11 ถึง 12 คำนี้ทั้งมีประโยชน์และทำให้มีความเข้าใจผิด คำนี้มาจากการที่ ช่างปั้นจากประเทศฝรั่งเศสทางไต้ไปจนถึงประเทศสเปนมีความรู้เรื่องอนุสาวรีย์แบบโรมัน แต่ศิลปะแบบโรมาเนสก์ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความคิดของศิลปะแบบโรมัน นอกจากเป็นการฟื้นฟูวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน เช่นเสาที่ใช้ในอาราม Saint-Guilhem-le-Désert หัวเสาที่วัดนี้แกะเป็นรูปใบอาแคนธัส (acanthus) ตกแต่งด้วยรอบปรุซึ่งจะพบตามอนุสาวรีย์แบบโรมัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือเพดานวัดที่ Fuentidueña ประเทศสเปนเป็นแบบโค้งเหมือนถังไม้ (barrel vault) ซึ่งใช้กันทั่วไปในสิ่งก่อสร้างของโรมัน แม้จะเน้นความเกี่ยวข้องกับวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน นักประวัติศาสตร์ศิลปะมืได้กล่าวถึงอิทธิพลอื่นๆที่มีต่อศิลปะแบบโรมาเนสก์ เช่นศิลปะทางตอนเหนือของทวีปยุโรป และ ศิลปะไบแซนไทน์ หรือการวิวัฒนาการของ ศิลปะโรมาเนสก์เอง.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและศิลปะโรมาเนสก์

สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3

thumb สมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3 (Alexander III.) ทรงดำรงตำแหน่งพระสันตะปาปาตั้งแต่ ค.ศ. 1159 ถึง ค.ศ. 1181 หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1100 หมวดหมู่:บุคคลในคริสต์ศตวรรษที่ 12 อเล็กซานเดอร์ที่ 3 หมวดหมู่:บุคคลจากแคว้นตอสคานา.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและสมเด็จพระสันตะปาปาอเล็กซานเดอร์ที่ 3

สถาปัตยกรรมกอทิก

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมกอทิก สถาปัตยกรรมกอทิก (Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางที่เป็นการหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสที่เป็นการแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและสถาปัตยกรรมกอทิก

สถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศส

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งชาทร์ของสมัยกอทิกตอนกลางราว ค.ศ. 1194 ถึง ค.ศ. 1260 สถาปัตยกรรมกอทิกฝรั่งเศส (French Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและสถาปัตยกรรมกอทิกแบบฝรั่งเศส

สถาปนิก

ร่างสถาปนิก กับงานออกแบบ สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม".

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและสถาปนิก

หน้าต่างกุหลาบ

“หน้าต่างกุหลาบ” ในมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส หน้าต่างกุหลาบ (rose window) โดยทั่วไปหมายถึงหน้าต่างทรงกลมซึ่งมักจะใช้ในการสร้างคริสต์ศาสนสถานโดยเฉพาะที่เป็นสถาปัตยกรรมกอทิก คำว่า “rose window” เริ่มใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 และ พจนานุกรมอ๊อกซฟอร์ดระบุว่า rose ในที่นี้หมายถึง ดอกกุหลาบ คำว่า “หน้าต่างกุหลาบ” มักจะหมายถึงหน้าต่างที่แบ่งเป็นซี่ ๆ ด้วยหิน กระจายออกไปจากเพลาศูนย์กลาง คำว่า “หน้าต่างกลม” มักจะใช้เฉพาะหน้าต่างกลมที่เป็นแบบที่ซับซ้อนซึ่งดูคล้ายกลีบกุหลาบหรือกลีบดาวเรืองซ้อน หน้าต่างกลมที่ไม่มีซี่ที่นิยมทำกันในโบสถ์ในประเทศอิตาลีเรียกว่า “หน้าต่างตา” (Ocular window หรือ oculus) “หน้าต่างกลม” เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกซึ่งจะเห็นได้จากในมหาวิหารทางตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส แต่แท้ที่จริงแล้วการสร้างหน้าต่างกลมเริ่มตั้งแต่ยุคกลาง การสร้างหน้าต่างกลมหันกลับมาเป็นที่นิยมอีกครั้งในสมัยสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและหน้าต่างกุหลาบ

อัครมุขมณฑลปารีส

มหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส อัครมุขมณฑลปารีส (Archidiocèse de Paris) เป็นหนึ่งในอัครมุขมณฑลทั้ง 23 แห่งของคริสตจักรโรมันคาทอลิกในประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส อัครมุขมณฑลนี้ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 มีสถานะเป็นมุขมณฑล นักบุญเดนิสเป็นมุขนายกองค์แรก ต่อมาในวันที่ 20 ตุลาคม..

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและอัครมุขมณฑลปารีส

อาสนวิหาร

อาสนวิหาร อาสนวิหารเซ็นต์บาร์บารา (St Barbara's church) เมือง Kutná Hora สาธารณรัฐเช็ก อาสนะบิชอปที่อาสนวิหารโวลเทอร์รา (Volterra Cathedral) ประเทศอิตาลี อาสนวิหาร (Cathedral; Cathédrale; Kathedrale/Dom; Cattedrale/Duomo) คือคริสต์ศาสนสถานประเภทหนึ่งที่คริสต์ศาสนิกชนใช้ทำการนมัสการพระเจ้า (โดยเฉพาะในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคัน และลูเทอแรน อาสนวิหารจะเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งของมุขนายก ที่ใช้เป็นศูนย์กลางของมุขมณฑลซึ่งเป็นเขตปกครองของบิชอป คำว่าอาสนวิหารใช้ได้หลายความหมาย บางอาสนวิหารของคริสตจักรปฏิรูปที่สกอตแลนด์ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์ยังใช้คำว่าเรียกตัวเองว่าอาสนวิหารอยู่ทั้งที่โบสถ์นั้นไม่มีตำแหน่งมุขนายกประจำ ฉะนั้นในบางกรณีคำว่าอาสนวิหารจึงใช้เรียกโบสถ์ที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งอาสนะของบิชอปแต่มีลักษณะใหญ่โตน่าประทับใจ นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะไม่ใช้คำว่าอาสนวิหารแต่จะใช้คำว่าโบสถ์ใหญ่ (the great church) แต่เมื่อแปลเป็นภาษาอังกฤษก็จะใช้คำว่า “cathedral” เมื่อพูดถึงโบสถ์ใหญ่ นิกายออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์จะไม่มีอาสนวิหารอย่างที่ว่าแต่จะมีโบสถ์หลักเช่นโบสถ์เซนต์มาร์กที่ไคโรซึ่งก็เรียกกันว่า “cathedral” เช่นกัน อาสนวิหารหลายแห่งในทวีปยุโรปไม่เรียกตัวเองว่าอาสนวิหารแต่จะเรียกตัวเองว่า Minster หรือ Münster เช่น ที่เมืองยอร์ก หรือ ลิงคอล์น ในประเทศอังกฤษ แต่คนทั่วไปก็ยังเรียกทั้งสองแห่งนี้ว่า “อาสนวิหาร” ในประเทศเยอรมนี ทั้งสองคำนี้มีรากมาจากคำว่า monasterium ใน ภาษาละติน เพราะแต่เดิมอาสนวิหารเหล่านี้เคยอยู่ภายใต้การปกครองของแคนัน (canon) ที่อยู่ในชุมชนนั้นหรืออาจจะเคยเป็นแอบบีย์มาก่อนการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและอาสนวิหาร

อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส

ตรา "อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส" อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส หรือ มอนูว์ม็องอิสตอริก (Monument historique) คือกระบวนการของรัฐในประเทศฝรั่งเศสในการจัดเครือข่ายสิ่งที่ควรได้รับการพิทักษ์ในฐานะที่เป็นมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ที่รวมทั้งสิ่งก่อสร้าง, ส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้าง, กลุ่มสิ่งก่อสร้าง, หรืออาจจะเป็นประชาคมทั้งประชาคม, สวน, สะพาน หรือ โครงสร้างอื่นๆ เพราะความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และ สถาปัตยกรรม สิ่งที่ได้รับฐานะเป็น “อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์" อาจจะเป็นได้ทั้งสิ่งที่เป็นของรัฐหรือเอกชนก็ได้ ตัวอย่างของสิ่งก่อสร้างที่มีฐานะเป็น “อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์" ก็รวมทั้งหอไอเฟล, พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์ และ โรงอุปรากรปาแลการ์นีเย และแอบบี หรือ คริสต์ศาสนสถาน ที่รวมทั้งมหาวิหารเช่นมหาวิหารโนเทรอดามแห่งปารีส หรือพระราชวัง, วัง หรือ คฤหาสน์ เช่น ปราสาทและวังแห่งลุ่มแม่น้ำลัวร์ หลายแห่ง สิ่งก่อสร้างบางหลังก็อาจจะได้รับฐานะเฉพาะภายนอก หรือ เฉพาะภายใน หรือทั้งภายนอกและภายใน ขณะที่สิ่งก่อสร้างบางหลังอาจจะได้รับฐานะเฉพาะการตกแต่ง, "อร์นิเจอร์, ห้องเพียงห้องเดียว หรือ แม้แต่เพียงบันได ว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ตัวอย่างของสิ่งก่อสร้างที่ได้รับฐานะเพราะการตกแต่งก็ได้แก่ "Deux Garcons" ในแอ็กซ็องพรอว็องส์ที่ผู้อุปถัมภ์รวมทั้งอาลฟงส์ เดอ ลามาร์ตีน, เอมีล ซอลา และปอล เซซาน หรือสิ่งก่อสร้างบางหลังก็อาจจะได้รับฐานะเพราะความเกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญ เช่น ตึก Auberge Ravoux ที่โอแวร์ซูว์รวซ เพราะเป็นสถานที่จิตรกรฟินเซนต์ ฟัน โคคใช้เวลาส่วนใหญ่ในบั้นปลายที่นั่น การระบุความสำคัญของสิ่งก่อสร้างมีรากฐานมาจากการปฏิวัติฝรั่งเศสเมื่อรัฐบาลแต่งตั้งให้อเล็กซองเดรอ เลอนัวร์มีความรับผิดชอบในการระบุและพิทักษ์โครงสร้างที่มีความสำคัญ การจัดแบ่งประเภทจัดทำขึ้นเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยนักเขียนพรอสแพร์ เมอริมี ผู้เป็นผู้ตรวจการทั่วไปของอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ ในปี..

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์แห่งฝรั่งเศส

ผังอาสนวิหาร

ผังของอาสนวิหารอาเมียง ที่ประเทศฝรั่งเศส แสดงให้เห็นเสาใหญ่รับน้ำหนักหอด้านหน้าวัด; แขนกางเขนสั้น; ชาเปล 7 ชาเปล ที่เรียกว่า “chevet” รอบมุขโค้งด้านสกัดออกมาจากจรมุข ผังอาสนวิหาร (Cathedral diagram, Cathedral plan, Cathedral floorplan) แสดงให้เห็นลักษณะโครงสร้างและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมของอาสนวิหารในยุโรปตะวันตก แผนผังจะแสดงกำแพง แนวเสาทำให้เห็นโครงสร้าง เส้นสองเส้นบนกำแพงด้านนอกคือหน้าต่างกระจก เส้น x เป็นสัญลักษณ์สำหรับเพดานโค้ง ตามปกติผังของวัดทางคริสต์ศาสนาจะวางเหมือนการวางแผนที่ ด้านเหนืออยู่บน ด้านตะวันตกถือกันว่าเป็นด้านหน้าของวัด ด้านตะวันออกที่เป็นบริเวณที่ทำคริสต์ศาสนพิธีอยู่ทางขว.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและผังอาสนวิหาร

ครีบยันลอย

กำแพงครีบยันแบบปึกนอกหอประชุมสงฆ์ที่มหาวิหารลิงคอล์น กำแพงครีบยันแบบปึกที่มหาวิหารบาธที่อังกฤษ 5 ใน 6 ครีบยันที่เห็นรับน้ำหนักทางเดินกลาง (nave) อันที่ 6 รับน้ำหนักแขนกางเขน (transept) ครีบยันลอยที่มหาวิหารอาเมียง ครีบยันลอย (flying buttress, arc-boutant) ในทางสถาปัตยกรรม ครีบยันลอยเป็นครีบยัน (Buttress) ประเภทหนึ่งที่มักจะใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถาน โดยเฉพาะกับสถาปัตยกรรมกอทิก เพื่อแบ่งรับน้ำหนักจากหลังคามาสู่ครีบยันที่กระจายออกไปเป็นระยะ ๆ ซึ่งอาจจะเป็นช่องทางเดินข้าง (aisle) คูหาสวดมนต์ หรือระเบียงนอกสิ่งก่อสร้าง ครีบยันลอยต่างกับครีบยันตรงที่จะมีลักษณะที่กางออกไปจากตัวสิ่งก่อสร้างแทนที่จะเป็นส่วนหนึ่งหรือแนบกับตัวสิ่งก่อสร้างของครีบยัน การใช้ครีบยันลอยทำให้ทุ่นการรับน้ำหนักหรือแรงกดดันกำแพงที่แต่เดิมต้องรับน้ำหนักและความกดดันทั้งหมด จึงทำให้สามารถทำหน้าต่างได้กว้างขึ้นได้ ซึ่งถ้าทำเช่นนั้นโดยไม่มีครีบยันลอยก็จะทำให้กำแพงไม่แข็งแรง จุดประสงค์ของครีบยันลอยก็เพื่อช่วยลดน้ำหนักกดดันของกำแพงทางเดินกลาง แรงกดดันและน้ำหนักส่วนใหญ่จะอยู่ส่วนบนของครีบยันฉะนั้นเมื่อทำครีบยันเป็นครึ่งซุ้มโค้งก็ทำให้สามารถรับน้ำหนักได้เท่า ๆ กับครีบยันที่ตัน นอกจากนั้นยังทำให้ครีบยันเบาขึ้นและราคาถูกกว่าที่จะสร้าง ฉะนั้นกำแพงจึง “บิน” (flying) ออกไปจากสิ่งก่อสร้างแทนที่จะเป็นกำแพงทึบ จึงทำให้เรียกกันว่า “ครีบยันลอย” วิธีการก่อสร้างที่ใช้ครีบยันมีมาตั้งแต่สมัยสถาปัตยกรรมโรมันและต้นโรมาเนสก์แต่สถาปนิกมักจะพรางครีบยันโดยการซ่อนไว้ใต้หลังคา เมื่อมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 สถาปนิกเมื่อมีการวิวัฒนาการการสร้างครีบยันลอยกันขึ้น นอกจากสถาปนิกจะเห็นถึงความสำคัญของครีบยันที่ใช้แล้ว ก็ยังหันมาเน้นการใช้ครีบยันเป็นสิ่งตกแต่งสิ่งก่อสร้างเช่นที่มหาวิหารชาทร์ มหาวิหารเลอม็อง (Le Mans Cathedral) มหาวิหารโบแว (Beauvais Cathedral) มหาวิหารแร็งส์ และมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสเอง บางครั้งเมื่อเพดานสูงมากๆ สถาปนิกก็อาจจะใช้ครีบยันลอยซ้อนกันสองชั้นหรือบางครั้งการจ่ายน้ำหนักก็จะกระจายออกไปกับครีบยันสามสี่อัน ตามปกติแล้วน้ำหนักของครีบยันก็จะเพิ่มน้ำให้กับตัวอาคารพอสมควร ฉะนั้นครีบยันจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งก่อสร้างที่สำคัญ การใช้ครีบยันดิ่งเป็นระยะ ๆ ทำให้เพิ่มการรับน้ำหนักและแรงกดทับได้ดีขึ้นกว่าที่จะสร้างตลอดแนวกำแพง ครีบยันดิ่งที่ใช้ในการก่อสร้างมหาวิหารลิงคอล์น แอบบีเวสต์มินสเตอร์อยู่ภายนอกหอประชุมสงฆ์ ครีบยันดิ่งมักจะใช้ยอดแหลม (pinnacle) เหนือครีบยันในการสร้างแรงต่อต้านการรับน้ำหนักของสิ่งก่อสร้างเพิ่มขึ้น วิธีการก่อสร้างนี้ถูกนำไปใช้โดยสถาปนิกชาวแคนาดาวิลเลียม พี แอนเดอร์สันในการสร้างประภาคารเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและครีบยันลอย

คาทีดรา

ทีดราที่มหาวิหารโวลเทอร์ราในอิตาลี คาทีดราของพระสันตะปาปาในมุขโค้งด้านสกัดของมหาวิหารนักบุญยอห์น ลาเตรันซึ่งเป็นมหาวิหารของกรุงโรม คาทีดรา (cathedra) หรือ อาสนะบิชอป (bishop's throne) เป็นเก้าอี้ของบิชอป เป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจในการเทศนาของบิชอปในคริสตจักรคาทอลิก คริสจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และกลุ่มอังกลิคัน คริสต์ศาสนสถานซึ่งเป็นที่ตั้งของอาสนะบิชอปจึงเรียกว่า อาสนวิหาร (cathedral) คำว่า "cathedra" ปรากฏในวรรณกรรมคริสเตียนยุคแรกในวลี "cathedrae apostolorum" ซึ่งบ่งบอกถึงอำนาจที่รับมาโดยตรงจากอัครทูต.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและคาทีดรา

ประติมากรรม

ผลงานประติมากรรมนูนต่ำ(ภาพแกะสลัก)ที่ปราสาทนครวัด โรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ผลงานประติมากรรมลอยตัว ของโรแด็ง ประติมากรชาวฝรั่งเศส ประติมากรรม (Sculpture) เป็นงานศิลปะแสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา สามารถสื่อถึงสิ่งต่างๆ สภาพสังคม วัฒนธรรม รวมถึงจิตใจของมนุษย์โดยชิ้นงาน ผ่านการสร้างของประติมากร ประติมากรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและประติมากรรม

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและประเทศฝรั่งเศส

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและโรมันคาทอลิก

เออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก

ออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก (Eugène Viollet-le-Duc,; 27 มกราคม ค.ศ. 1814 - 17 กันยายน ค.ศ. 1879) เป็นสถาปนิกและนักทฤษฎีคนสำคัญชาวฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีชื่อเสียงจากงานบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างจากยุคกลาง วียอแล-เลอ-ดุกเป็นสถาปนิกผู้มีบทบาทสำคัญของขบวนการสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิคในฝรั่งเศสที่อยู่บนพื้นฐานของปรัชญาที่ว่าสถาปัตยกรรมควรจะเป็นสิ่งที่แสดงออกอย่าง “ซื่อตรง” ที่ในที่สุดก็กลายมาเป็นปรัชญาของขบวนการของการฟื้นฟูสถาปัตยกรรมทั้งหมดและเป็นรากฐานของลัทธิสมัยใหม่นิยมที่เริ่มก่อตัวขึ้น.

ดู อาสนวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสและเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Notre Dame de ParisNotre-Dame de Parisมหาวิหารนอทร์-ดามมหาวิหารนอทร์-ดามแห่งปารีสมหาวิหารนอเทรอ-ดามแห่งปารีสมหาวิหารนอเทรอดามมหาวิหารนอเทรอดามแห่งปารีสมหาวิหารนอเตอร์ดัมวิหารนอตเตอร์ดามวิหารโนเตรอดามโบสถ์โนเตรอะดาม