โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตัน

ดัชนี มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตัน

มหาวิทยาลัยเซาท์แฮมป์ตัน (University of Southampton, ชื่อย่อ UoS หรือ Soton) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเน้นวิจัยในสหราชอาณาจักร มีที่ตั้งในเมืองเซาท์แฮมป์ตัน และเมืองวินเชสเตอร์ จังหวัดแฮมป์เชอร์ มหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มรัสเซล ซึ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยอันดับต้นของสหราชอาณาจักร มหาวิทยาลัยเซาท์แฮมป์ตันถือกำเนิดจากสถาบันฮาร์ตเลย์ (Hartley Institute) ซึ่งตั้งในปี..

16 ความสัมพันธ์: พอร์ตสมัทกลุ่มรัสเซลภาษาละตินภาษาไทยมหาวิทยาลัยลอนดอนมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ราชวิทยาลัยลอนดอนวินเชสเตอร์สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักรสหราชอาณาจักรสงครามโลกครั้งที่หนึ่งนาซีเยอรมนีแฮมป์เชอร์เซาแทมป์ตัน

พอร์ตสมัท

อร์ตสมัท (Portsmouth) เป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของแฮมป์เชอร์เคาน์ตี ทางชายฝั่งตอนใต้ของอังกฤษ เป็นเมืองเกาะแห่งเดียวในสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่บนเกาะพอร์ตซี ในช่องแคบอังกฤษ อยู่ห่างจากกรุงลอนดอนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 103 กม.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันและพอร์ตสมัท · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มรัสเซล

กลุ่มรัสเซล (Russell Group) เป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยที่ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยวิจัยขนาดใหญ่ในสหราชอาณาจักร 18 มหาวิทยาลัยจากสมาชิก 19 แห่ง ติด 20 อันดับแรกของประเทศในด้านงบวิจัย กลุ่มรัสเซลมีมหาวิทยาลัยอันดับต้น ๆ ของสหราชอาณาจักรอยู่เป็นจำนวนมาก ผู้คนมักเปรียบเทียบกลุ่มรัสเซลของสหราชอาณาจักรกับ ไอวีลีก ซึ่งเป็นกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ค่อยจะสมเหตุผลเท่าไรนัก เนื่องจากสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในสหรัฐอเมริกานั้น ส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากเอกชน (ยกเว้นมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ที่มีบางสาขาได้รับการสนับสนุนจากรัฐ) จึงไม่มีความจำเป็นต้องจัดตั้งกลุ่มล็อบบี้วิ่งเต้น อย่างมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรซึ่งทุกแห่งรับงบประมาณรัฐ (ยกเว้นเพียงแห่งเดียวคือ มหาวิทยาลัยบักกิงแฮม ที่เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเต็มรูปแบบ) จุดประสงค์ของกลุ่มรัสเซลคือ เป็นกระบอกเสียงของสมาชิก (โดยเฉพาะการวิ่งเต้นล็อบบี้รัฐบาลและรัฐสภา) และจัดทำรายงานเพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องต่าง ๆ ประเด็นสนใจของกลุ่มได้แก่ ความต้องการเป็นผู้นำในการวิจัยของสหราชอาณาจักร เพิ่มรายรับให้มากที่สุด ดึงพนักงานและนักเรียนที่ดีที่สุด ลดการแทรกแซงจากรัฐบาล และใช้ประโยชน์จากความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยให้มากที.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันและกลุ่มรัสเซล · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยลอนดอน

ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยลอนดอน มหาวิทยาลัยลอนดอน (University of London) เป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่เป็นอันดับสองในสหราชอาณาจักร ดำเนินงานส่วนใหญ่อยู่ในลอนดอน มีนักศึกษาในวิทยาเขต 135,090 คน และมากกว่า 40,000 ในโครงการ University of London External Programme มหาวิทยาลัยก่อตั้งใน..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันและมหาวิทยาลัยลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford หรือ Oxford University) หรือเรียกอย่างง่าย ๆ ว่า อ๊อกซฟอร์ด เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยซึ่งตั้งอยู่ในเมืองอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานประวัติการก่อตั้งที่แน่นอน แต่มีหลักฐานว่าได้เริ่มสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1096 ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนเป็นอันดับสอง อ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1167 เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงห้ามมิให้นักศึกษาชาวอังกฤษไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส ภายหลังจากการพิพาทระหว่างนักศึกษาและชาวเมืองอ๊อกซฟอร์ดในปี ค.ศ. 1206 นักวิชาการบางส่วนได้หนีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งพวกเขาได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขึ้น ทั้งสอง"มหาวิทยาลัยโบราณ"มักจะถูกเรียกว่า"อ๊อกซบริดจ์" มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นจากความหลากหลายของสถ​​าบันการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงวิทยาลัยร่วมทั้ง 38 แห่ง และหน่วยงานทางวิชาการซึ่งแบ่งออกเป็นสี่แผนก แต่ละวิทยาลัยมีระบบการจัดการอย่างอิสระในการควบคุมสมาชิกรวมทั้งมีระบบโครงสร้างภายในและกิจกรรมเป็นของตนเอง มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยซึ่งมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกกระจายอยู่ทั่วใจกลางเมือง การศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ที่อ๊อกซฟอร์ดเป็นการจัดการด้วยวิธีติวเตอร์ตลอดรายสัปดาห์ไปในแต่ละวิทยาลัยและฮอลล์ต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากชั้นเรียน การบรรยาย และการปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้นโดยคณะและภาควิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดยังดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมถึงสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีระบบห้องสมุดทางวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในบริเตน อ๊อกซฟอร์ดมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก รวมถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล 28 คน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร 27 คน ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก อ๊อกซฟอร์ดเป็นแหล่งที่ตั้งของทุนการศึกษาโรดส์ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนการศึกษานานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งได้นำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมานานกว่าศตวรรษ.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันและมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge)ใช้ชื่อทางการว่า นายกสภา อนุสาสก และคณาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (The Chancellor, Masters, and Scholars of the University of Cambridge) เป็นสถาบันอุดมศึกษาขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ในสหราชอาณาจักร มีความเก่าแก่เป็นอันดับที่สองของสหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1752 โดยมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งก่อนหน้านั้นคือ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่เป็นอันดับที่สี่ของโลกและยังเปิดดำเนินการอยู่อีกด้วย มหาวิทยาลัยก่อกำเนิดจากคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยซึ่งขัดแย้งกับชาวบ้านที่เมืองอ๊อกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริจด์และมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมักได้รับการจัดอันดับต้น ๆ ของการจัดอันดับโดยสำนักต่าง ๆ จนมีการเรียกรวมกันว่า อ๊อกซบริดจ์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้ได้รางวัลโนเบลสูงที่สุด ในบรรดามหาวิทยาลัยทั้งหลายในโลก กล่าวคือ 81 รางวัล นิสิตและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย จะถูกจัดให้สังกัดแต่ละวิทยาลัยแบบคณะอาศัย (College)หมายถึง คณะที่เป็นที่อยู่ของนักศึกษาจากหลายสาขาวิชา นักศึกษาจะพักอาศัยกินอยู่และทบทวนวิชาเรียนในคณะอาศัย แต่การเรียนการทำวิจัยต้องทำในคณะวิชา จำนวนทั้งสิ้น 31 แห่ง โดยคละกันมาจากคณะวิชา (School) 6 คณะ โดยวิทยาลัยแต่ละแห่งอาศัยบริหารงานอย่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน ลักษณะการบริหารเช่นนี้มีให้เห็นในมหาวิทยาลัยเคนต์ และมหาวิทยาลัยเดอแรม อาคารต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเป็นอาคารแทรกตัวตามร้านรวงในเมือง แทนที่จะเป็นกลุ่มอาคารในพื้นที่ของตนเองเช่นมหาวิทยาลัยยุคใหม่ อาคารเหล่านั้นบางหลังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างมาก มหาวิทยาลัยจัดให้มีสำนักพิมพ์เป็นของตนเอง ซึ่งถือเป็นสำนักพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกที่สังกัดมหาวิทยาลัย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีห้องสมุดขนาดใหญ่อีกด้ว.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชวิทยาลัยลอนดอน

ราชวิทยาลัยลอนดอน (Imperial College London) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และแพทย์ศาสตร์ (The Imperial College of Science, Technology and Medicine) ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัย) http://www3.imperial.ac.uk/pls/portallive/docs/1/21735699.DOC เป็นมหาวิทยาลัยบริติช ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร โดยมุ่งเน้นการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การแพทย์ และธุรกิจ จนถึงปัจจุบัน บุคลากรของราชวิทยาลัยได้รับรางวัลโนเบลจำนวนทั้งหมด 15 รางวัล ราชวิทยาลัยลอนดอนเป็นสถาบันมีชื่อเสียงมากในด้านวิศวกรรมศาสตร์ และ เทคโนโลยี โดยมักได้รับการจัดอันดับจากสำนักต่างๆให้อยู่ในระดับต้นๆของทวีปยุโรปเสมอ และมักจะมีอันดับเป็นรองเพียงแค่ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เท่านั้น ในปี ค.ศ. 2010 The Complete University Guide ได้จัดให้ราชวิทยาลัยลอนดอนเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ในสหราชอาณาจักร รองจาก มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด และ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ราชวิทยาลัยลอนดอนยังได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับที่ 5 ของการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกในปี ค.ศ. 2009 โดยนิตยสารไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ และอยู่ในอันดับที่ 26 ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวถง ราชวิทยาลัยลอนดอนเป็นสมาชิกของกลุ่มมหาวิทยาลัยรัสเซลล์ และยังเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มสามเหลี่ยมทองคำในสมาพันธ์มหาวิทยาลัยยุโรปและสมาพันธ์ประชาคมมหาวิทยาลัย ในช่วงแรก ราชวิทยาลัยลอนดอนเป็นสมาชิกในเครือมหาวิทยาลัยลอนดอน ก่อนที่จะแยกออกมาเป็นอิสระในครั้งฉลองครบรอบร้อยปีแห่งการสถาปนามหาวิทยาลัย (8 กรกฎาคม..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันและราชวิทยาลัยลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

วินเชสเตอร์

มืองวินเชสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Winchester) เป็นเมืองหลวงของมลฑลแฮมป์เชอร์ในภาคการปกครองตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ วินเชสเตอร์ตั้งอยู่กลางนครวินเชสเตอร์ซึ่งเป็นเมืองเทศบาลมณฑลที่ตั้งอยู่ระหว่างทางตะวันตกของเซาท์ดาวน์ตามฝั่งแม่น้ำอิตเค็น วินเชสเตอร์มีเนื้อที่ 4.8 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจสำมโนประขากรในปี..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันและวินเชสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร

มเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 (Elizabeth II; พระราชสมภพ 21 เมษายน พ.ศ. 2469) เป็นพระประมุขของ 16 ประเทศ จาก 53 รัฐสมาชิกในเครือจักรภพแห่งชาติ พระองค์เป็นประธานเครือจักรภพและผู้ปกครองสูงสุดแห่งคริสตจักรแห่งอังกฤษ เมื่อสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ 6 กุมภาพัน..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันและสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร

ระเจ้าจอร์จที่ 6 (George VI of the United Kingdom; 14 ธันวาคม ค.ศ. 1895 — 6 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1952) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักรในราชวงศ์วินด์เซอร์ และเครือจักรภพอังกฤษระหว่างปี..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันและสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 6 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันและสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

งครามโลกครั้งที่หนึ่ง (World War I หรือ First World War) หรือที่มักเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (Great War) ก่อน..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันและสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง · ดูเพิ่มเติม »

นาซีเยอรมนี

นาซีเยอรมนี (Nazi Germany) หรือ ไรช์ที่สาม (Drittes Reich) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไรช์เยอรมัน (Deutsches Reich) เป็นชื่อเรียกยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์เยอรมนีระหว่างปี 1933 ถึง 1945 เมื่อประเทศเยอรมนีอยู่ภายใต้การควบคุมระบอบเผด็จการของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และพรรคนาซี ในการปกครองของฮิตเลอร์ ประเทศเยอรมนีกลายเป็นรัฐฟาสซิสต์ซึ่งควบคุมแทบทุกแง่มุมของชีวิต นาซีเยอรมนีล่มสลายหลังฝ่ายสัมพันธมิตรพิชิตเยอรมนีในเดือนพฤษภาคม 1945 ซึ่งยุติสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์กแต่งตั้งฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1933 จากนั้น พรรคนาซีเริ่มกำจัดคู่แข่งทางการเมืองและรวบอำนาจ ฮินเดนบูร์กถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 1934 และฮิตเลอร์เป็นผู้เผด็จการแห่งเยอรมนีโดยการรวมอำนาจและตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดี มีการจัดการลงประชามติทั่วประเทศเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 1934 ทำให้ฮิตเลอร์เป็นฟือเรอร์ (ผู้นำ) เยอรมนีเพียงผู้เดียว อำนาจเบ็ดเสร็จทั้งหมดรวมอยู่ในมือของฮิตเลอร์ และคำของเขาอยู่เหนือกฎหมายทั้งปวง รัฐบาลมิได้เป็นหน่วยที่ร่วมมือประสานกัน หากแต่เป็นหมู่กลุ่มแยกต่าง ๆ ที่แก่งแย่งอำนาจและความนิยมจากฮิตเลอร์ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ นาซีฟื้นฟูเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและยุติการว่างงานขนานใหญ่โดยใช้รายจ่ายทางทหารอย่างหนักและเศรษฐกิจแบบผสม มีการดำเนินการโยธาสาธารณะอย่างกว้างขวาง รวมการก่อสร้างเอาโทบาน การคืนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจส่งเสริมความนิยมของรัฐบาลให้เพิ่มพูนขึ้น คตินิยมเชื้อชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การต่อต้านยิว เป็นลักษณะหัวใจของนาซีเยอรมนี โดยถือว่า กลุ่มชนเจอร์มานิค หรือเชื้อชาตินอร์ดิก (Nordic race) เป็นเชื้อชาติอารยันซึ่งบริสุทธิ์ที่สุด ฉะนั้นจึงเป็นเชื้อชาติปกครอง (master race) ชาวยิวและชนกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกเบียดเบียนหรือฆ่า และการค้านการปกครองของฮิตเลอร์ถูกปราบปรามอย่างโหดเหี้ยม สมาชิกฝ่ายค้านเสรีนิยม สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์ถูกฆ่า จำคุกหรือเนรเทศ โบสถ์คริสต์ก็ถูกกดขี่เช่นกัน โดยผู้นำหลายคนถูกจำคุก การศึกษามุ่งเน้นชีววิทยาเชื้อชาติ นโยบายประชากร และสมรรถภาพทางกายสำหรับราชการทหาร โอกาสในอาชีพและการศึกษาของสตรีถูกตัดทอน มีการจัดนันทนาการและการท่องเที่ยวผ่านโครงการความแข็งแรงผ่านความรื่นเริง (Strength Through Joy) มีการใช้โอลิมปิกฤดูร้อน 1936 เป็นตัวนำเสนอไรช์ที่สามในเวทีระหว่างประเทศ รัฐมนตรีโฆษณาการ โยเซฟ เกิบเบิลส์ ใช้ภาพยนตร์ การชุมนุมมวลชน และวาทศิลป์จับจิตของฮิตเลอร์เพื่อควบคุมมติมหาชนอย่างได้ผล รัฐบาลควบคุมการแสดงออกทางศิลปะ โดยสนับสนุนศิลปะบางรูปแบบ แต่ขัดขวางหรือห้ามศิลปะรูปแบบอื่น เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 นาซีเยอรมนีเรียกร้องดินแดนอย่างก้าวร้าวมากขึ้นเรื่อย ๆ และขู่ทำสงครามหากไม่สนองข้อเรียกร้อง เยอรมนียึดออสเตรียและเชโกสโลวาเกียในปี 1938 และ 1939 ฮิตเลอร์ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับโจเซฟ สตาลิน และบุกครองโปแลนด์ในเดือนกันยายน 1939 เป็นการเปิดฉากสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป เยอรมนีเข้าเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและฝ่ายอักษะที่เล็กกว่าและพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่เมื่อถึงปี 1940 และคุกคามสหราชอาณาจักร ไรช์ซคอมมิสซารีอัทควบคุมพื้นที่ที่ถูกพิชิตอย่างโหดร้ายและมีการสถาปนาการปกครองของเยอรมนีในประเทศโปแลนด์ที่เหลืออยู่ ชาวยิวและกลุ่มอื่นที่ถือว่าไม่พึงปรารถนาถูกจำคุกในค่ายกักกันและค่ายกำจัดนาซี การนำนโยบายเชื้อชาติของระบอบไปปฏิบัติลงเอยด้วยการสังหารชาวยิวและชนกลุ่มน้อยอื่นเป็นอันมากในฮอโลคอสต์ หลังการรุกรานสหภาพโซเวียตในปี 1941 นาซีเยอรมนีก็เริ่มเป็นรอง และปราชัยทางทหารสำคัญหลายครั้งในปี 1943 การทิ้งระเบิดทางอากาศต่อประเทศเยอรมนีทวีขึ้นในปี 1944 และฝ่ายอักษะถอยจากยุโรปตะวันออกและยุโรปใต้ หลังการบุกครองฝรั่งเศสของสัมพันธมิตร ประเทศเยอรมนีถูกโซเวียตจากทิศตะวันออกและฝ่ายสัมพันธมิตรจากทิศตะวันตกพิชิตและยอมจำนนในหนึ่งปี การที่ฮิตเลอร์ปฏิเสธยอมรับความปราชัยนำให้โครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนีถูกทำลายล้างขนานใหญ่และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสงครามเพิ่มในเดือนท้าย ๆ ของสงคราม ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้กำชัยริเริ่มนโยบายขจัดความเป็นนาซี (denazification) และนำผู้นำนาซีที่เหลือรอดหลายคนมาพิจารณาคดีอาชญากรรมสงครามในการพิจารณาคดีเนือร์นแบร์ก ส่วนประเทศเยอรมนีถูกยึดครองโดยมหาอำนาจฝ่ายสัมพันธมิตรคือ ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันและนาซีเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

แฮมป์เชอร์

ที่ตั้งของมณฑลแฮมป์เชอร์ แฮมป์เชอร์ หรือ แฮมป์เชียร์ (Hampshire,; ย่อ Hants) หรือ “มณฑลเซาท์แธมพ์ตัน” บางครั้งก็เคยเรียกว่า “เซาท์แธมป์ตันเชอร์” หรือ “แฮมป์ตันเชอร์” แฮมป์เชอร์เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางฝั่งทะเลด้านใต้ของอังกฤษโดยมีวินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวง แฮมป์เชอร์มีเขตแดนติดกับดอร์เซ็ท, วิลท์เชอร์, บาร์คเชอร์, เซอร์รีย์ และ เวสต์ซัสเซ็กซ.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันและแฮมป์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เซาแทมป์ตัน

ซาแทมป์ตัน (Southampton) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในแฮมป์เชียร์เคาน์ตี ชายฝั่งตอนใต้ของอังกฤษ อยู่ห่างจากกรุงลอนดอนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 120 กิโลเมตร และห่างจากเมืองพอร์ตสมัททางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว 30 กิโลเมตร มีประชากร 239,700 คน (ค.ศ. 2010) เป็นเมืองท่าสำคัญ เมืองที่ใกล้ที่สุดคือ นิวฟอร์เรสต์ เซาแทมป์ตันอยู่ทางทิศเหนือสุดของอ่าวเซาแทมป์ตันวอเตอร์ มีแม่น้ำเทสต์และแม่น้ำอิตเชน ไหลมาบรรจบกัน มีแม่น้ำแฮมเบิลไหลมารวมทางตอนใต้บริเวณเขตเมือง ชาวโรมันและแซกซันเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เมืองนี้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดของเยอรมัน เนื่องจากเป็นที่ตั้งฐานทัพเรือที่สำคัญของสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยเซาแทมป์ตันและเซาแทมป์ตัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มหาวิทยาลัยเซาท์แฮมป์ตัน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »