โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน

ดัชนี มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน

มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลิน (Humboldt-Universität zu Berlin) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเบอร์ลิน เดิมทีเรียกว่า มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน ก่อตั้งในปี..

24 ความสัมพันธ์: ฟรีดริช เองเงิลส์ภาษาละตินมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมอสโกมหาวิทยาลัยศิลปะเบอร์ลินมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์มหาวิทยาลัยปารีสมหาวิทยาลัยเสรีแห่งเบอร์ลินมหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเบอร์ลินมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์มักซ์ พลังค์ระบอบนาซีรางวัลโนเบลลัทธิมากซ์ออทโท ฟอน บิสมาร์คอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ทวีปยุโรปคาร์ล มากซ์ประเทศเยอรมนีปรัสเซียโลกตะวันตกเบอร์ลิน

ฟรีดริช เองเงิลส์

ฟรีดริช เองเงิลส์ (Friedrich Engels) เป็นนักคิดนักเขียนชาวเยอรมัน และนักทฤษฎีสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ เป็นเพื่อนร่วมงานและคู่คิดที่ใกล้ชิดของ คาร์ล มาร์กซ์ โดยร่วมกันวางรากฐานของอุดมการณ์คอมมิวนิสต์และลัทธิมาร์กซ และมีบทบาทสำคัญในการปรับปรุงหลักการของลัทธิมาร์กซว่าด้วยวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ และวัตถุนิยมวิภาษวิธี ให้ก้าวหน้าจนเป็นที่ยอมรับทั่วไปในขบวนการสังคมนิยม.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและฟรีดริช เองเงิลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาละติน

ษาละติน (Latin) เป็นภาษาโบราณในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน มีต้นกำเนิดในที่ราบลาติอุม (Latium) ซึ่งเป็นพื้นที่รอบๆกรุงโรม และได้ชื่อว่าเป็นภาษาทางการในการสื่อสารของจักรวรรดิโรมัน ต่อมาภาษาละตินได้ถูกกำหนดให้เป็นภาษาสื่อสารและในพิธีสวดของศาสนจักรโรมันคาทอลิก และยังเป็นภาษาที่ใช้โดยนักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา และนักเทววิทยาของยุโรป ตั้งแต่ตลอดยุคกลางจนมาถึงยุคสมัยใหม่ ภาษาละตินจึงเป็นภาษาต้นฉบับของงานเขียนที่ทรงคุณค่าทั้งทางประวัติศาสตร์ และทางวรรณกรรมเป็นจำนวนมาก ภาษาอังกฤษได้รับคำในภาษาละตินเข้ามาในภาษาตนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากอิทธิพลของเจ้าปกครองชาวแองโกล-นอร์มัน ซึ่งใช้ภาษาฝรั่งเศส นอกจากนี้คำศัพท์ที่ใช้ในสาขาวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ล้วนเป็นคำศัพท์ภาษาละตินหรือสร้างจากภาษาละติน ภาษาละตินเป็นภาษามีวิภัติปัจจัย (การผันคำ) มีการก 7 การก (case), มีเพศ 3 เพศ, และมีพจน์ 2 พจน์ ภาษาอื่น ๆ อีกหลายภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน พัฒนาสืบต่อมาจากภาษาละตินพื้นบ้าน ซึ่งจะเรียกกลุ่มภาษาเหล่านี้ว่า ภาษากลุ่มโรมานซ์ ภาษาที่อยู่ในกลุ่มภาษาโรมานซ์ที่สำคัญได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาโรมาเนีย ภาษาอิตาลี ภาษาโปรตุเกส และภาษาสเปน ภาษาส่วนใหญ่ในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียนก็มีความสัมพันธ์บางอย่างกับภาษาละติน แม้ภาษาละตินในปัจจุบัน จะมีผู้ใช้น้อยมากจนถูกนับว่าเกือบเป็นภาษาสูญแล้ว แต่การศึกษาภาษาละตินในโรงเรียนและในมหาวิทยาลัยก็ยังคงมีอยู่อย่างแพร่หลาย นอกจากนี้อักษรละติน (ที่พัฒนามาจากอักษรกรีก) ยังคงมีใช้ในหลายภาษา และเป็นอักษรที่ใช้มากที่สุดในโลก.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและภาษาละติน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัย (University) หมายถึง สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาทั้งในด้านวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงหลากหลายสาขาวิชา เพื่อให้ประกาศนียบัตร อนุปริญญา หรือปริญญา แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในหลายระดับรวมถึง ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งการทำการวิจัยและให้บริการทางวิชาการแก่สังคม.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและมหาวิทยาลัย · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยมอสโก

'มหาวิทยาลัยมอสโก มหาวิทยาลัยมอสโก หรือ มหาวิทยาลัยโลโมโนซอฟ (Моско́вский госуда́рственный университе́т и́мени М. В. Ломоно́сова: МГУ) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศรัสเซีย ก่อตั้งขึ้นในปี..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและมหาวิทยาลัยมอสโก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยศิลปะเบอร์ลิน

thumb มหาวิทยาลัยศิลปะเบอร์ลิน (เยอรมัน: Universität der Künste Berlin - UdK) หรือ "อูเดคา" เป็นมหาวิทยาลัยในกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1975 โดยการควบรวมโรงเรียนวิจิตรศิลป์เบอร์ลิน (Staatlichen Hochschule für Bildende Künste) และโรงเรียนดนตรีและศิลปะการแสดงเบอร์ลิน (Staatlichen Hochschule für Musik und Darstellende Kunst) เข้าด้วยกัน ประวัติของมันย้อนกลับไปถึงสมัยการก่อตั้ง Akademie der Künste ใน ค.ศ. 1696 มหาวิทยาลัยมีสี่วิทยาลัย ซึ่งศึกษาเฉพาะทางในด้าน วิจิตรศิลป์, สถาปัตยกรรม, สื่อและการออกแบบ, ดนตรีและศิลปะการแสดง โดยมีจำนวนนักศึกษาเกือบ 4,500 คน มหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งในสถาบันดนตรีและศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลก.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและมหาวิทยาลัยศิลปะเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด

มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด (University of Oxford หรือ Oxford University) หรือเรียกอย่างง่าย ๆ ว่า อ๊อกซฟอร์ด เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยซึ่งตั้งอยู่ในเมืองอ๊อกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ สหราชอาณาจักร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานประวัติการก่อตั้งที่แน่นอน แต่มีหลักฐานว่าได้เริ่มสอนมาตั้งแต่ ค.ศ. 1096 ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ และเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดที่ยังเปิดสอนเป็นอันดับสอง อ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในปี ค.ศ. 1167 เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงห้ามมิให้นักศึกษาชาวอังกฤษไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยปารีส ภายหลังจากการพิพาทระหว่างนักศึกษาและชาวเมืองอ๊อกซฟอร์ดในปี ค.ศ. 1206 นักวิชาการบางส่วนได้หนีไปทางตะวันออกเฉียงเหนือสู่เมืองเคมบริดจ์ ซึ่งพวกเขาได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขึ้น ทั้งสอง"มหาวิทยาลัยโบราณ"มักจะถูกเรียกว่า"อ๊อกซบริดจ์" มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดเติบโตขึ้นจากความหลากหลายของสถ​​าบันการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงวิทยาลัยร่วมทั้ง 38 แห่ง และหน่วยงานทางวิชาการซึ่งแบ่งออกเป็นสี่แผนก แต่ละวิทยาลัยมีระบบการจัดการอย่างอิสระในการควบคุมสมาชิกรวมทั้งมีระบบโครงสร้างภายในและกิจกรรมเป็นของตนเอง มีลักษณะเป็นเมืองมหาวิทยาลัยซึ่งมีอาคารและสิ่งอำนวยความสะดวกกระจายอยู่ทั่วใจกลางเมือง การศึกษาระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ที่อ๊อกซฟอร์ดเป็นการจัดการด้วยวิธีติวเตอร์ตลอดรายสัปดาห์ไปในแต่ละวิทยาลัยและฮอลล์ต่าง ๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากชั้นเรียน การบรรยาย และการปฏิบัติการซึ่งจัดขึ้นโดยคณะและภาควิชาต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดยังดำเนินงานพิพิธภัณฑ์มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก รวมถึงสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีระบบห้องสมุดทางวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในบริเตน อ๊อกซฟอร์ดมีศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก รวมถึงผู้ได้รับรางวัลโนเบล 28 คน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร 27 คน ประมุขแห่งรัฐและผู้นำรัฐบาลหลายแห่งทั่วโลก อ๊อกซฟอร์ดเป็นแหล่งที่ตั้งของทุนการศึกษาโรดส์ซึ่งเป็นหนึ่งในทุนการศึกษานานาชาติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีชื่อเสียงมากที่สุด ซึ่งได้นำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยมานานกว่าศตวรรษ.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University อ่านว่า ฮารฺเวิรฺด) มหาวิทยาลัยเอกชนในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกาได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของโลก แห่งหนึ่งและเป็นหนึ่งมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา โดยก่อตั้งเมื่อปี 8 กันยายน พ.ศ. 2179 (ค.ศ. 1636) มีอายุครบ 370 ปีใน พ.ศ. 2549 ฮาร์วาร์ดเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในกลุ่มไอวีลีก โดยในปี..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์

ห้องสมุดในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยจอนส์ ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University ตัวย่อ JHU) หรือเรียกอย่างย่อว่า ฮอปกินส์ เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนในสหรัฐอเมริกา ริเริ่มก่อตั้งโดยประธานาธิบดี เดวิด คอยต์ กิลแมน ตั้งอยู่ที่เมืองบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2419 (ค.ศ. 1876) โดยมีการเปิดการเรียนการสอบในหลายระดับ มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีประมาณ 4,500 คน และในระดับสูงกว่าระดับปริญญาตรี 15,000 คน จอนส์ ฮอปกินส์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่ใช้รูปแบบการจัดการศึกษาแบบมหาวิทยาลัยในเยอรมนี และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกาที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้การสัมมนาแทนการสอนโดยการบรรยายเพียงอย่างเดียว รวมทั้งเป็นมหาวิทยาลัยอเมริกันแห่งแรกที่จัดให้มีวิชาเอก (major) แทนหลักสูตรศิลปศาสตร์ทั่วไป ดังนั้นจอนส์ ฮอปกินส์จึงเป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยวิจัยขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งใน 14 สมาชิกก่อตั้งสมาคมมหาวิทยาลัยอเมริกัน หรือ Association of American Universities จากสถิติของกองทุนวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation) ของสหรัฐอเมริกา จอนส์ ฮอปกินส์เป็นมหาวิทยาลัยที่ครองอันดับ 1 ในด้านการใช้งบประมาณการวิจัยและพัฒนาในสาขาวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นเวลา 30 ปีต่อเนื่องกันและเป็นสถาบันที่ได้รับการอ้างอิงมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จอห์น ฮอปกินส์ มีชื่อเสียงในด้านการแพทย์ สาธารณสุข และ การพยาบาล โดยได้รับการจัดอันดับจากยูเอสนิวส์ในอันดับต้นของประเทศหลายครั้ง นอกจากนั้นจอนส์ฮอปกินส์ยังมีสถาบันชั้นนำระดับโลกในสาขาอื่น อาทิ สถาบันด้านการดนตรีพีบอดี (Peabody Institute) และด้านการระหว่างประเทศ (The Paul H. Nitze School of Advanced International Studies หรือ SAIS) จนถึงพ.ศ. 2552 มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์จำนวน 33 คนที่ได้รับรางวัลโนเบล.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยปารีส

มหาวิทยาลัยปารีส (Université de Paris) หรือนามนัยเป็นที่รู้จักกันว่า ซอร์บอนน์ (บ้านประวัติศาสตร์) เป็นมหาวิทยาลัยในปารีส ฝรั่งเศส ก่อตั้งประมาณ..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและมหาวิทยาลัยปารีส · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเสรีแห่งเบอร์ลิน

มหาวิทยาลัยเสรีแห่งเบอร์ลิน (FU Berlin; เยอรมัน: Freie Universität Berlin; อังกฤษ: The Free University of Berlin) เป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ก่อตั้งใน ค.ศ. 1948 โดยนักศึกษาและอาจารย์ที่ถูกไล่ออก เพราะมุมมองทางการเมืองของพวกเขา จากมหาวิทยาลัยฮุมโบลด์ทแห่งเบอร์ลิน (ก่อนหน้านี้ชื่อ Friedrich-Wilhelms-Universität) ซึ่งในตอนนั้นควบคุมดูแลโดยผู้มีอำนาจในเขตดูแลของโซเวียต (เบอร์ลินตะวันออก) ใน ค.ศ. 1968 มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางของขบวนการนักศึกษาฝ่ายซ้าย พร้อม ๆ กับนักศึกษาในปารีส ลอนดอน และเบิร์กลี.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและมหาวิทยาลัยเสรีแห่งเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเบอร์ลิน

มหาวิทยาลัยเทคนิกแห่งเบอร์ลิน (TUB หรือ TU-Berlin) (เยอรมัน: Technische Universität Berlin; อังกฤษ: Technical University of Berlin) ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเบอร์ลินเมืองหลวงของประเทศเยอรมนี ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1879 (พ.ศ. 2422) เป็นมหาวิทยาลัยเทคนิกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ เปิดสอนโดยเน้นวิชาด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ยังเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ มีชื่อเสียงมากในเรื่องคุณภาพทางวิชาการ คุณภาพของอาจารย์ที่สอนและคุณภาพของนักศึกษา โดยศิษย์เก่าและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยได้รับรางวัลโนเบลรวมกัน 10 รางวัล มีคณาจารย์เข้าไปเป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจของรัฐบาลหลายท่าน และได้ผลิตผู้บริหารองค์การทางธุรกิจที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก ทำให้นักธุรกิจหรือผู้ประสงค์ที่จะประสบความสำเร็จทางธุรกิจจากทั้งในและนอกประเทศได้เข้ามาเรียนกันมาก มีนักศึกษาประมาณ 29,500 คน (8 มิ.ย. 2548) ในจำนวนนี้เป็นนักศึกษาต่างชาติถึง 20% หรือประมาณ 6,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากประเทศตุรกี, จีน, แคเมอรูน, อินโดนีเซีย และทวีปยุโรป.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและมหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (University of Cambridge)ใช้ชื่อทางการว่า นายกสภา อนุสาสก และคณาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (The Chancellor, Masters, and Scholars of the University of Cambridge) เป็นสถาบันอุดมศึกษาขนาดกลางค่อนข้างใหญ่ในสหราชอาณาจักร มีความเก่าแก่เป็นอันดับที่สองของสหราชอาณาจักร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 1752 โดยมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งก่อนหน้านั้นคือ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่เป็นอันดับที่สี่ของโลกและยังเปิดดำเนินการอยู่อีกด้วย มหาวิทยาลัยก่อกำเนิดจากคณาจารย์และนักวิจัยของมหาวิทยาลัยซึ่งขัดแย้งกับชาวบ้านที่เมืองอ๊อกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยเคมบริจด์และมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดมักได้รับการจัดอันดับต้น ๆ ของการจัดอันดับโดยสำนักต่าง ๆ จนมีการเรียกรวมกันว่า อ๊อกซบริดจ์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้ได้รางวัลโนเบลสูงที่สุด ในบรรดามหาวิทยาลัยทั้งหลายในโลก กล่าวคือ 81 รางวัล นิสิตและคณาจารย์ของมหาวิทยาลัย จะถูกจัดให้สังกัดแต่ละวิทยาลัยแบบคณะอาศัย (College)หมายถึง คณะที่เป็นที่อยู่ของนักศึกษาจากหลายสาขาวิชา นักศึกษาจะพักอาศัยกินอยู่และทบทวนวิชาเรียนในคณะอาศัย แต่การเรียนการทำวิจัยต้องทำในคณะวิชา จำนวนทั้งสิ้น 31 แห่ง โดยคละกันมาจากคณะวิชา (School) 6 คณะ โดยวิทยาลัยแต่ละแห่งอาศัยบริหารงานอย่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน ลักษณะการบริหารเช่นนี้มีให้เห็นในมหาวิทยาลัยเคนต์ และมหาวิทยาลัยเดอแรม อาคารต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยเป็นอาคารแทรกตัวตามร้านรวงในเมือง แทนที่จะเป็นกลุ่มอาคารในพื้นที่ของตนเองเช่นมหาวิทยาลัยยุคใหม่ อาคารเหล่านั้นบางหลังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์อย่างมาก มหาวิทยาลัยจัดให้มีสำนักพิมพ์เป็นของตนเอง ซึ่งถือเป็นสำนักพิมพ์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของโลกที่สังกัดมหาวิทยาลัย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีห้องสมุดขนาดใหญ่อีกด้ว.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ · ดูเพิ่มเติม »

มักซ์ พลังค์

มักซ์ คาร์ล แอนสท์ ลุดวิจ พลังค์ เป็นนักฟิสิกส์ชาวเยอรมัน ผู้บุกเบิกการศึกษาทฤษฎีควอนตัม อันเป็นส่วนสำคัญในการศึกษาฟิสิกส์สมัยใหม่ แม้ในชีวิตตอนแรกของเขาจะดูราบรื่น โดยเขามีความสามารถทั้งทางดนตรีและฟิสิกส์ แต่เขากลับเดินไปในเส้นทางแห่งนักฟิสิกส์ทฤษฎี จนเขาได้ตั้งทฤษฎีทางฟิสิกส์ที่สำคัญต่อฟิสิกส์สมัยใหม่ นั่นคือ กฎการแผ่รังสีของวัตถุดำของพลังค์ รวมถึงค่าคงตัวของพลังค์ ซึ่งนับว่าขาดไม่ได้เลยสำหรับการศึกษากลศาสตร์ควอนตัม ทว่าบั้นปลายกลับเต็มไปด้วยความสิ้นหวังจากภัยสงคราม เขาต้องสูญเสียภรรยาคนแรก และบุตรที่เกิดกับภรรยาคนแรกไปทั้งหมด จนเหลือเพียงตัวเขา ภรรยาคนที่สอง และบุตรชายที่เกิดกับภรรยาคนที่สองเพียงคนเดียว ถึงกระนั้น พลังค์ก็ยังไม่ออกจากประเทศเยอรมนีอันเป็นบ้านเกิดของเขาไปยังดินแดนอื่น พลังค์ได้รับรางวัลโนเบล สาขาฟิสิกส์ ประจำปี..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและมักซ์ พลังค์ · ดูเพิ่มเติม »

ระบอบนาซี

นาซี (Nazism; บ้างสะกดว่า Naziism "JAPAN: Imitation of Naziism?"; Nationalsozialismus) หรือ ชาติสังคมนิยม เป็นอุดมการณ์และวิถีปฏิบัติของพรรคนาซีและนาซีเยอรมนีPayne, Stanley G. 1995.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและระบอบนาซี · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบล

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบล (Nobelpriset; Nobel Prize) เป็นรางวัลประจำปีระดับนานาชาติ ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการสแกนดิเนเวีย พิจารณาผลงานวิจัยหรือความอัจฉริยะและความเชี่ยวชาญที่โดดเด่น หรือสร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษยชาติ ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม ตามเจตจำนงของอัลเฟรด โนเบล นักเคมีชาวสวีเดน ผู้ประดิษฐ์ไดนาไมท์ โดยก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและรางวัลโนเบล · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิมากซ์

ลัทธิมากซ์ (Marxism) หรือมักใช้ทับศัพท์ว่า มาร์กซิสต์ เป็นวิธีการวิเคราะห์สังคมและเศรษฐกิจซึ่งวิพากษ์ทุนนิยมผ่านกระบวนทัศน์การขูดรีด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชนชั้นและความขัดแย้งทางสังคมโดยใช้การตีความพัฒนาการประวัติศาสตร์แบบวัสดุนิยม และทัศนะวิภาษวิธีการแปลงสังคม (social transformation) ถือกำเนิดจากนักปรัชญาชาวเยอรมันสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 คาร์ล มากซ์และฟรีดริช เองเงิลส์ ลัทธิมากซ์ใช้วิธีวิทยาที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์และวิพากษ์การพัฒนาของทุนนิยมและบทบาทของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจทั้งระบบ ตามทฤษฎีลัทธิมากซ์ ความขัดแย้งระหว่างชนชั้นเกิดในสังคมทุนนิยมอันเนือ่งจากความขัดกันระหว่างผลประโยชน์ทางวัตถุของชนกรรมาชีพที่ถูกกดขี่ ชนกรรมาชีพคือผู้ใช้แรงงานเอาค่าจ้างที่ชนชั้นกระฎุมพีว่าจ้างเพื่อผลิตสินค้าและบริการ ซึ่งชนชั้นกระฎุมพีนี้เป็นชนชั้นปกครองที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและเอาความมั่งคั่งมาจากการจัดสรรผลิตภัณฑ์ส่วนเกิน (กำไร) ที่ชนกรรมาชีพผลิตขึ้น การต่อสู้ระหว่างชนชั้นนี้ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นการกบฏของกำลังการผลิตของสังคม (productive force) ต่อความสัมพันธ์การผลิต (relation of production) ของสังคม ส่งผลให้เกิดวิกฤติระยะสั้นเมื่อชนชั้นกระฎุมพีประสบความลำบากในการจัดการความแปลกแยกของแรงงาน (alienation of labor) ที่ทวีความรุนแรงขึ้นของชนกรรมาชีพ แม้ว่ามีความสำนึกเรื่องชนชั้น (class consciousness) ระดับมากน้อย วิกฤตนี้ลงเอยด้วยการปฏิวัติของชนกรรมาชีพและการสถาปนาสังคมนิยมในที่สุด ซึ่งเป็นระบบทางสังคมและเศรษฐกิจที่ยึดสังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต กระจายให้แต่ละคนตามการมีส่วนร่วมและการผลิตที่จัดระเบียบโดยตรงสำหรับการใช้ เมื่อกำลังการผลิตก้าวหน้าขึ้น มากซ์ตั้งสมมติฐานว่าสังคมนิยมสุดท้ายจะแปลงเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ หมายถึง สังคมไร้ชนชั้น ไร้รัฐ และมีมนุษยธรรมที่ยึดกรรมสิทธิ์ร่วมและหลักการพื้นเดิม "จากแต่ละคนตามความสามารถ ให้แต่ละคนตามความต้องการ" (From each according to his ability, to each according to his needs) ลัทธิมากซ์พัฒนาเป็นหลายแขนงและสำนักคิด แม้ปัจจุบันไม่มีทฤษฎีลัทธิมากซ์หนึ่งเดียว สำนักลัทธิมากซ์ต่าง ๆ เน้นแง่มุมบางอย่างของลัทธิมากซ์คลาสสิกต่างกัน และปฏิเสธหรือดัดแปลงแง่มุมบางอย่าง หลายสำนักคิดมุ่งรวมมโนทัศน์ลัทธิมากซ์กับมโนทัศน์ที่มิใช่มากซ์ ซึ่งมักนำไปสู่บทสรุปที่ขัดแย้งกัน ทว่า สมัยหลังมีขบวนการสู่การรับรองวัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์และวัสดุนิยมวิภาษวิธียังเป็นแง่มุมหลักของสำนักคิดลัทธิมากซ์ทุกสำนัก ซึ่งทำให้มีความเห็นตรงกันระหว่างสำนักต่าง ๆ มากขึ้น.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและลัทธิมากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ออทโท ฟอน บิสมาร์ค

ออทโท อีดวร์ท เลโอโพลด์ ฟอน บิสมาร์ค-เชินเฮาเซิน (Otto Eduard Leopold von Bismarck-Schönhausen) หรือที่นิยมเรียกว่า ออทโท ฟอน บิสมาร์ค เป็นรัฐบุรุษและนักการทูตแห่งราชอาณาจักรปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน เขาเป็นผู้นำทางการเมืองที่ทรงอิทธิพลที่สุดในยุโรประหว่างทศวรรษ 1860 ถึง 1890 และดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งจักรวรรดิเยอรมันระหว่าง 1871 ถึง 1890 ในปี 1862 พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงแต่งตั้งบิสมาร์คเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซีย ซึ่งเขาดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี 1890 เขานำพาปรัสเซียเข้าสู่สงครามสามครั้งอันได้แก่ สงครามชเลสวิจครั้งที่สอง, สงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย และสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย และได้รับชัยชนะในสงครามทั้งสาม หลังชนะในสงครามกับออสเตรีย บิสมาร์คได้ยุบสมาพันธรัฐเยอรมันทิ้ง และจัดตั้งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนืออันมีปรัสเซียเป็นแกนนำขึ้นมาแทน ศูนย์อำนาจทางการเมืองของยุโรปภาคพื้นทวีปได้ย้ายจากกรุงเวียนนาของออสเตรียไปยังกรุงเบอร์ลินของปรัสเซีย และเมื่อปรัสเซียมีชัยชนะเหนือฝรั่งเศสแล้ว บิสมาร์คก็ได้สถาปนาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือขึ้นเป็นจักรวรรดิเยอรมัน โดยทูลเชิญพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ขึ้นดำรงตำแหน่งจักรพรรดิเยอรมันพระองค์แรกในปี 1871 บิสมาร์คจึงกลายเป็นทั้งนายกรัฐมนตรีแห่งปรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมัน ความสำเร็จในการรวมชาติเยอรมันในปี 1871 บิสมาร์คได้ใช้ทักษะทางการทูตของเขารักษาดุลอำนาจของเยอรมันในยุโรปไว้ บิสมาร์คได้อุทิศตนเองในการพยายามรักษาสันติภาพในบรรดามหาอำนาจเป็นเวลากว่าสองทศวรรษ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่เยอรมันผนวกแคว้นอัลซัค-ลอแรน (Alsace-Lorraine) มาจากฝรั่งเศส ได้จุดชนวนขบวนการชาตินิยมขึ้นในฝรั่งเศส การเรืองอำนาจของเยอรมันทำให้เกิดภาวะ "กลัวเยอรมัน" (Germanophobia) ขึ้นในฝรั่งเศส เป็นความครุกครุ่นก่อนปะทุเป็นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง นโยบาย realpolitik ของบิสมาร์คประกอบกับบารมีที่มากล้นของเขาทำให้บิสมาร์คได้รับสมญาว่า นายกฯเหล็ก ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ก้าวกระโดดของเยอรมันถือเป็นรากฐานของนโยบายเหล่านี้ บิสมาร์คเป็นคนไม่ชอบการล่าอาณานิคมแต่เขาก็จำยอมฝืนใจต้องสร้างจักรวรรดิอาณานิคมเยอรมันขึ้นจากเสียงเรียกร้องของบรรดาชนชั้นนำและมวลชนในจักรวรรดิ บิสมาร์คมีชั้นเชิงทางการทูตชนิดหาตัวจับได้ยาก เขาเล่นกลการเมืองด้วยการจัดการประชุม การเจรจา และการร่วมเป็นพันธมิตรที่สอดประสานกันอย่างซับซ้อนหลายครั้งเพื่อถ่วงดุลอำนาจในทวีปยุโรปให้เกิดสันติสุขตลอดช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 และ 1880 ได้สำเร็จ ไม่เพียงด้านการทูตและการต่างประเทศเท่านั้น บิสมาร์คยังเป็นปรมาจารย์ด้านการเมืองในประเทศ เขาริเริ่มรัฐสวัสดิการเป็นครั้งแรกในโลกสมัยใหม่ มีเป้าหมายเพื่อดึงการสนับสนุนของมวลชนจากชนชั้นแรงงาน ซึ่งมิเช่นนั้นแล้วมวลชนเหล่านี้อาจไปเข้าร่วมกับสังคมนิยมซึ่งเป็นศัตรูของเขาได้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 เขาเข้าเป็นพันธมิตรกับเสรีนิยม (ผู้นิยมอัตราภาษีศุลกากรระดับต่ำและต่อต้านคาทอลิก) และต่อสู้กับศาสนจักรคาทอลิกที่ซึ่งถูกขนานนามว่า คุลทูร์คัมพฟ์ (Kulturkampf; การต่อสู้ทางวัฒนธรรม) แต่พ่ายแพ้ โดยฝ่ายศาสนจักรตอบโต้ด้วยการจัดตั้งพรรคกลาง (Centre Party) อันทรงพลังและใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายเพื่อให้ได้ที่นั่งในสภา ด้วยเหตุนี้บิสมาร์คจึงกลับลำ ล้มเลิกปฏิบัติการคุลทูร์คัมพฟ์ ตัดขาดกับฝ่ายเสรีนิยม กำหนดภาษีศุลกากรแบบคุ้มกัน และร่วมเป็นพันธมิตรทางการเมืองกับพรรคกลางเพื่อต่อกรกับฝ่ายสังคมนิยม บิสมาร์คเป็นผู้เลื่อมใสศรัทธาในนิกายลูเทอแรนอย่างมาก จึงจงรักภักดีต่อกษัตริย์ของตนผู้ซึ่งมีทัศนะขัดแย้งกับเขา แต่ท้ายที่สุดก็ทรงโอนอ่อนและสนับสนุนเขาจากคำแนะนำของพระมเหสีและพระรัชทายาท ในขณะนั้นสภาไรชส์ทาคมาจากเลือกตั้งแบบสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปของชายชาวเยอรมัน แต่ไรชส์ทาคไม่มีอำนาจควบคุมนโยบายของรัฐบาลมากนัก บิสมาร์คไม่เชื่อในระบอบประชาธิปไตยจึงปกครองผ่านระบบข้าราชการประจำที่แข็งแกร่งและได้รับการฝึกฝนมาดีในอุ้งมือของอภิชนยุงเคอร์เดิมซึ่งประกอบด้วยขุนนางเจ้าที่ดินในปรัสเซียตะวันออก ในรัชกาลพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 เขาเป็นผู้ควบคุมกิจการในประเทศและต่างประเทศเสียเป็นส่วนใหญ่ จนเมื่อจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ถอดเขาจากตำแหน่งในปี 1890 เมื่อเขาอายุได้ 75 ปี บิสมาร์คผู้เป็นขุนนางศักดินา ยุงเคอร์ มีบุคคลิกเด่น ๆ คือหัวรั้น ปากกล้า และบางครั้งเอาแต่ใจ แต่ในขณะเดียวกันก็สุภาพ มีเสน่ห์ และมีไหวพริบด้วยเช่นกัน ในบางโอกาสเขาก็เป็นคนที่มีอารมณ์รุนแรง บิสมาร์ครักษาอำนาจของเขาด้วยการเล่นละครแสดงบทบาทอ่อนไหวพร้อมขู่ว่าจะลาออกจากตำแหน่งอยู่ซ้ำ ๆ ซึ่งมักจะทำให้พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ทรงเกรงกลัว นอกจากนี้บิสมาร์คไม่เพียงแต่มีวิสัยทัศน์เกี่ยวกับกิจการภายในและต่างประเทศอันยาวไกลเท่านั้น แต่ยังมีทักษะที่สามารถเล่นกลทางการเมืองเพื่อแทรกแซงสถานการณ์อันซับซ้อนที่กำลังดำเนินไปในระยะสั้นได้ด้วย จนกลายเป็นผู้นำที่ถูกนักประวัติศาสตร์ขนานนามว่าเป็น "ฝ่ายอนุรักษนิยมสายปฏิวัติ" (revolutionary conservatism) สำหรับนักชาตินิยมเยอรมัน บิสมาร์คคือวีรบุรุษของพวกเขา มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์ของบิสมาร์คหลายแห่งเพื่อเชิดชูเกียรติผู้ก่อตั้ง จักรวรรดิไรซ์ ยุคใหม่ นักประวัติศาสตร์หลายคนเองก็ชื่นชมเขาในฐานะผู้มีวิสัยทัศน์ไกล ผู้ซึ่งมีส่วนสำคัญในการรวมเยอรมนีให้เป็นหนึ่งเดียวและช่วยให้ยุโรปดำรงสันติภาพเอาไว้ได้ผ่านการทูตอันชาญฉลาดของ.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและออทโท ฟอน บิสมาร์ค · ดูเพิ่มเติม »

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein, อัลแบร์ท ไอน์ชไตน์; 14 มีนาคม พ.ศ. 2422 – 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2428 ชาวเยอรมันเชื้อสายยิว (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน..

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปยุโรป

ทวีปยุโรป (อ่านว่า "ยุ-โหฺรบ") มีฐานะเป็นทวีปทั้งในแง่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ในทางภูมิศาสตร์ ยุโรปเป็นอนุทวีปที่อยู่ทางด้านตะวันตกของมหาทวีปยูเรเชีย ยุโรปมีพรมแดนทางเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก ทางใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและทะเลดำ ด้านตะวันออกติดกับเทือกเขายูรัลและทะเลแคสเปียน "Europe" (pp. 68-9); "Asia" (pp. 90-1): "A commonly accepted division between Asia and Europe...

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและทวีปยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

คาร์ล มากซ์

ร์ล ไฮน์ริช มากซ์ (Karl Heinrich Marx, 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2361 — 14 มีนาคม พ.ศ. 2426) เป็นนักปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์ นักประวัติศาสตร์ นักทฤษฎีการเมือง นักสังคมวิทยา นักหนังสือพิมพ์และนักสังคมนิยมปฏิวัติชาวเยอรมัน มากซ์เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางในเทรียร์ เขาศึกษากฎหมายและปรัชญาแบบเฮเกิล เนื่องจากงานพิมพ์การเมืองของเขาทำให้เขาไร้สัญชาติและอาศัยลี้ภัยในกรุงลอนดอน ซึ่งเขายังพัฒนาความคิดของเขาต่อโดยร่วมมือกับนักคิดชาวเยอรมัน ฟรีดริช เองเงิลส์ และจัดพิมพ์งานเขียนของเขา เรื่องที่ขึ้นชื่อของเขา ได้แก่ จุลสารปี 2391, แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ และทุน จำนวนสามเล่ม ความคิดทางการเมืองและปรัชญาของเขามีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อปัญญาชนรุ่นหลัง วิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจและประวัติศาสตร์การเมือง ชื่อของเขาเป็นคำคุณศัพท์ นามและสำนักทฤษฎีสังคม ทฤษฎีของมากซ์เกี่ยวกับสังคม เศรษฐศาสตร์และการเมือง ที่เรียกรวมว่า ลัทธิมากซ์ ถือว่าสังคมมนุษย์พัฒนาผ่านการต่อสู้ระหว่างชนชั้น ในทุนนิยม การต่อสู้ระหว่างชนชั้นแสดงออกมาในรูปการต่อสู้ระหว่างชนชั้นปกครอง (เรียก ชนชั้นกระฎุมพี) ซึ่งควบคุมปัจจัยการผลิตและชนชั้นแรงงาน (เรียก ชนกรรมาชีพ) นำปัจจัยการผลิตดังกล่าวไปใช้โดยขายากำลังแรงงานของพวกตนเพื่อแลกกับค่าจ้าง มากซ์ใช้แนวเข้าสู่การศึกษาวิพากษ์ที่เรียก วัสดุนิยมทางประวัติศาสตร์ ทำนายว่าทุนนิยมจะก่อเกิดความตึงเครียดภายในซึงจะนำไปสู่การทำลายตนเองเช่นเดียวกับระบบสังคมและเศรษฐกิจก่อนหน้านี้ และแทนท่ด้วยระบบใหม่ คือ สังคมนิยม; สำหรับมากซ์ การต่อต้านชนชั้นภายใต้ทุนนิยมซึ่งบางส่วนมีสาเหตุจากความไม่มั่นคงและสภาพที่มีแนวโน้มเกิดวิกฤติ จะลงเอยด้วยการพัฒนาความสำนึกเรื่องชั้นชนของชนชั้นแรงงาน และนำไปสู่การพิชิตอำนาจทางการเมืองและสุดท้ายการสถาปนาสังคมคอมมิวนิสต์ปราศจากชนชั้นอันประกอบด้วยการรวมกันเป็นสมาคมอิสระของผู้ผลิต มากซ์เรียกร้องให้นำความคิดดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างแข็งขัน โดยแย้งว่าชนชั้นแรงงานควรเป็นผู้ลงมือปฏิวัติแบบจัดระเบียบเพื่อโค่นทุนนิยมและนำมาซึ่งการปลดปล่อยให้เป็นอิสระทางสังคมและเศรษฐกิจ มีผู้อธิบายว่ามากซ์เป็นบุคคลทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์มนุษย์ และงานของเขาได้รับการสรรเสริญและวิพากษ์ งานของเขาในวิชาเศรษฐศาสตร์วางรากฐานสำหรับความเข้าใจในปัจจุบันของแรงงานและความสัมพันธ์กับทุน และความคิดทางเศษฐศาสตร์สมัยหลัง ปัญญาชน สหภาพแรงงาน ศิลปินและพรรคการเมืองจำนวนมากทั่วโลกได้รับอิทธิพลจากงานของมากซ์ มีหลายคนดัดแปลงหรือรับความคิดของเขามาใช้ มักออกชื่อมากซ์ว่าเป็นผู้สร้างสังคมศาสตร์สมัยใหม่คนสำคัญคนหนึ่ง.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและคาร์ล มากซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเยอรมนี

ประเทศเยอรมนี (Germany; Deutschland ดอยฺชลันฺท) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany; Bundesrepublik Deutschland) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีภูมิอากาศตามฤดูกาลแบบอบอุ่นเป็นส่วนใหญ่ มีประชากรประมาณ 82 ล้านคน ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศเยอรมนีเป็นจุดหมายการเข้าเมืองยอดนิยมอันดับสองในโลกรองจากสหรัฐ เมืองหลวงและมหานครใหญ่สุดของประเทศคือ กรุงเบอร์ลิน ขณะที่เขตเมืองขยายใหญ่สุด คือ รูร์ โดยมีศูนย์กลางหลักดอร์ทมุนด์และเอสเซิน นครหลักอื่นของประเทศ ได้แก่ ฮัมบวร์ค มิวนิก โคโลญ แฟรงก์เฟิร์ต ชตุทท์การ์ท ดึสเซิลดอร์ฟ ไลพ์ซิจ เบรเมิน เดรสเดิน ฮันโนเฟอร์และเนือร์นแบร์ก ประเทศนี้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ พรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ มีเมืองหลวงและเมืองใหญ่ของประเทศคือเบอร์ลิน เยอรมนีมีประชากรประมาณ 80 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีความหนาแน่นประชากรสูงสุดแห่งหนึ่ง อีกทั้งยังเป็นประเทศที่มีคนย้ายถิ่นมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก หลังจากที่สหรัฐอเมริกาเยอรมนีเป็นปลายทางการย้ายถิ่นที่สองได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก เยอรมนีเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและยังก่อตั้งสหภาพการเงินกับสมาชิกในสหภาพยุโรปอีก 17 ประเทศ โดยใช้ชื่อว่ายูโรโซน เยอรมนีเป็นสมาชิกของกลุ่ม UNO, OECD, NATO, G7 และ G20 เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอิทธิพลต่อประเทศอื่นๆในยุโรปและเป็นประเทศที่มีความสามารถที่จะแข่งขันในระดับโลก หากวัดจากผลผลิตมวลรวมภายในประเทศแบบปกติแล้ว เยอรมนีเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก ในปี 2012 เป็นประเทศที่มีการนำเข้าส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสาม ดัชนีการพัฒนามนุษย์ถือว่าสูงมาก.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและประเทศเยอรมนี · ดูเพิ่มเติม »

ปรัสเซีย

ปรัสเซีย (Prussia) หรือ พร็อยเซิน (Preußen) หรือ โบรุสเซีย (ละติน: Borussia) เป็นรัฐที่รุ่งเรืองที่สุดในบรรดารัฐทั้งหลายของชนชาติเยอรมัน มีจุดกำเนิดจากดัชชีปรัสเซียและรัฐมาร์เกรฟบรันเดินบวร์ค อันเป็นรัฐหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งตั้งอยู่ตอนกลางของภูมิภาคที่ชื่อว่าพร็อยเซิน รัฐแห่งนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์โฮเอินโซลเลิร์นเป็นเวลาหลายศตวรรษ การมีกองทัพที่เข็มแข็งทำให้ปรัสเซียประสบความสำเร็จในการแผ่ขยายดินแดน ปรัสเซียมีเมืองหลวงเดิมอยู่ที่เคอนิจส์แบร์กก่อนที่จะย้ายเมืองหลวงไปยังเบอร์ลินในปี 1701 ในการประชุมใหญ่แห่งเวียนนา (ปี 1814–15) ซึ่งจัดระเบียบทวีปยุโรปเสียใหม่ภายหลังถูกทำให้ปั่นป่วนจากสงครามนโปเลียน ปรัสเซียได้รับดินแดนส่วนใหญ่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเยอรมนีซึ่งรวมถึงรัฐร่ำรวยถ่านหินอย่างรัฐรูร์ (Ruhr) อิทธิพลทางเศรษฐกิจและทางการเมืองของปรัสเซียได้เติบโตอย่างรวดเร็ว ปรัสเซีบกลายเป็นหัวใจของสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือในปี 1867 และของจักรวรรดิเยอรมันในปี 1871 ปรัสเซียในยุคจักรวรรดิเยอรมนี้มีอาณาเขตไพศาลมากกว่ารัฐเยอรมันที่เหลือรวมกันเสียอีก ชนชั้นนำของปรัสเซียมักจะระบุว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวเยอรมัน" มากกว่าบอกว่าตัวเองนั้นเป็น "ชาวปรัสเซีย".

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและปรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

โลกตะวันตก

ลกตะวันตก (Western world และอาจเรียก The West หรือ Occident) เป็นคำซึ่งใช้กล่าวถึงประเทศได้หลายประเทศ โดยประเทศที่หมายถึงอาจแตกต่างกันไปตามบริบทของการใช้คำศัพท์ นอกจากนี้เป็นคำซึ่งมีคำจำกัดความอยู่มากมาย, Our Tradition; James Kurth; accessed 30 August 2011 แนวคิดส่วนของโลกซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกมีรากฐานมาจากอารยธรรมกรีกโรมันในยุโรปและการกำเนิดของศาสนาคริสต์Cambridge University Historical Series, An Essay on Western Civilization in Its Economic Aspects, p.40: Hebraism, like Hellenism, has been an all-important factor in the development of Western Civilization; Judaism, as the precursor of Christianity, has indirectly had had much to do with shaping the ideals and morality of western nations since the christian era.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและโลกตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

เบอร์ลิน

อร์ลิน (แบร์ลีน) เป็นเมืองหลวงและรัฐหนึ่งในสิบหกรัฐสหพันธ์ของประเทศเยอรมนี มีประชากร 3.4 ล้านคนในเขตเมือง มากที่สุดในเยอรมนี และมากเป็นอันดับสองในสหภาพยุโรป เป็นศูนย์กลางของเขตนครหลวงเบอร์ลิน-บรานเดนบูร์ก ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเยอรมนี มีประชากรในเขตนครหลวงรวม 1คนจาก 1ชาติ มากเป็นอันดับเก้าในสหภาพยุโรป, Eurostat.

ใหม่!!: มหาวิทยาลัยฮุมโบลท์แห่งเบอร์ลินและเบอร์ลิน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

HU BerlinHumboldt Universität zu BerlinHumboldt-Universität zu Berlinมหาวิทยาลัยฮัมโบล์ดทมหาวิทยาลัยฮุมโบลด์ทแห่งเบอร์ลินมหาวิทยาลัยฮุมโบล์ดทมหาวิทยาลัยฮุมโบล์ดทแห่งเบอร์ลินมหาวิทยาลัยฟรีดรีช-วิลเฮล์มมหาวิทยาลัยแห่งเบอร์ลินมหาวิทยาลัยเบอร์ลิน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »