โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

นิพพาน

ดัชนี นิพพาน

วาดพระพุทธเจ้าเข้าสู่'''อนุปาทิเสสนิพพาน'''สภาวะ นิพพาน (निब्बान nibbāna นิพฺพาน; निर्वाण nirvāṇa นิรฺวาณ) หมายถึง ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์ เป็นสภาพโลกุตระอันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในศาสนาพุทธ คำว่า นิพพาน เป็นคำที่ใช้กันในปรัชญาหลายระบบในอินเดีย โดยใช้ในความหมายของการหลุดพ้น แต่การอธิบายเกี่ยวกับสภาวะของนิพพานนั้นแตกต่างกันออกไป ในปรัชญาอุปนิษัทเชื่อว่านิพพานหรือโมกษะ คือการที่อาตมันย่อยหรือชีวาตมันเข้ารวมเป็นเอกภาพกับพรหมัน แต่ในพระพุทธศาสนาอธิบายว่า นิพพานคือการหลุดพ้นจากอวิชชา ตัณหา ซึ่งแสดงออกในรูปของโลภะ โทสะ และโมหะ มิได้หมายความว่าเป็นการหลุดพ้นของอัตตาหรือตัวตนในโลกนี้ ไปสู่สภาวะของนิพพานอย่างคำสอนอุปนิษัท แต่หมายถึงความดับสนิทแห่งความเร่าร้อนและเครื่องผูกพันร้อยรัดทั้งปวง ซึ่งเรียกว่าเป็นความทุก.

27 ความสัมพันธ์: พรหมันพระพุทธโฆสะพระวินัยปิฎกพระสุตตันตปิฎกพระนาคเสนเถระพระไตรปิฎกพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554กิเลสภิกษุมรรคมีองค์แปดมนุษย์ศาสนาพุทธสำนักงานราชบัณฑิตยสภาสุญตาอรรถกถาอริยสัจ 4อัตตาอุปนิษัททุกข์ขันธ์ตัณหาตถาคตประเทศอินเดียปรัชญาปรินิพพานโลกุตระเทวดา

พรหมัน

ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู พรหมัน (อ่านว่า พฺรม-มัน; ब्रह्मन्) คือความเป็นจริงสูงสุด เป็นสิ่งสัมบูรณ์ ไม่มีรูปร่าง ไร้ขีดจำกัด เป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นที่มาและจุดหมายปลายทางของสรรพสิ่งในสกลจักรวาล คัมภีร์อุปนิษัทระบุว่าสรรพสัตว์รับรู้พรหมันได้ใน 2 ลักษณะ คือ.

ใหม่!!: นิพพานและพรหมัน · ดูเพิ่มเติม »

พระพุทธโฆสะ

ระพุทธโฆสะ ในประเทศไทยมักเรียกว่า พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ในนิกายเถรวาทผู้มีชีวิตอยู่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 เป็นผู้แต่งคัมภีร์หลายเล่ม ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งรวบรวมแนวคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์ การตีความคำสอนในพระพุทธศาสนาของท่านถือเป็นแนวคิดที่ใช้เป็นหลักในนิกายเถรวาทในปัจจุบัน ทั้งนักวิชาการตะวันตกและชาวพุทธเถรวาทต่างยอมรับว่าท่านเป็นอรรถกถาจารย์ที่สำคัญที่สุดในนิกายเถรวาท.

ใหม่!!: นิพพานและพระพุทธโฆสะ · ดูเพิ่มเติม »

พระวินัยปิฎก

ระวินัยปิฎก (Vinaya Piṭaka วินะยะปิฏะกะ) ถือเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก เป็นประมวลกฎข้อบังคับ เกี่ยวกับความประพฤติของเหล่าพระสงฆ์ ทั้งภิกษุและภิกษุณี ทว่า พระวินัยปิฎกนั้นมิได้มีแต่กฎข้อบังคับเท่านั้น หากยังมีเนื้อหาสะท้อนประวัติศาสตร์ของอินเดียในสมัยพุทธกาลด้วย รวมทั้ง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และประวัติของบุคคลสำคัญบางคนในยุคนั้น เช่น ชีวกโกมารภัจจ์ เดิมนั้น พระวินัยปิฎกแบ่งได้เป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ ได้แก.

ใหม่!!: นิพพานและพระวินัยปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระสุตตันตปิฎก

ระสุตตันตปิฎก เป็นชื่อของปิฎกฉบับหนึ่งในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ซึ่งประกอบด้วย พระวินัยปิฎก พระสุตตตันปิฎก และพระอภิธรรมปิฎก เรียกย่อว่า พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม พระสุตตันตปิฎก เป็นที่รวมของพระพุทธพจน์ที่เกี่ยวกับเทศนาธรรม ซึ่งประกอบด้วย เนื้อหาสาระ บุคคล เหตุการณ์ สถานที่ ตลอดจนบทประพันธ์ ชาดก หรือ เรื่องราวอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า เมื่อกล่าวโดยรวมก็คือ คำสอนที่ประกอบด้วยองค์ 9 ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ นั่นเอง นับเป็นธรรมขันธ์ได้ 21,000 พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก แบ่งออกเป็นหมวดย่อยที่เรียกว่าคัมภีร์ 5 คัมภีร์ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย และขุททกนิกาย ใช้อักษรย่อว่า ที ม สัง อัง ขุ อักษรย่อทั้ง 5 คำนี้เรียกกันว่า หัวใจพระสูตร.

ใหม่!!: นิพพานและพระสุตตันตปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระนาคเสนเถระ

ระนาคเสนเถระ (นาคหมายถึงพญานาค และเสนหมายถึงทหาร นาคเสนจึงหมายถึงทหารของพญานาค) บิดามารดาเป็นพราหมณ์ เมื่ออายุได้ 7 ขวบ บิดามารดาจึงให้เรียนไตรเพท อันเป็นวิชาของพราหมณ์ และได้บวชเป็นเณรในพระพุทธศาสนา ต่อมาอุปัชฌาย์เป็นพระเถระอยู่ที่วัดอโศการาม กรุงปาฏลีบุตร โดยพระโรหณะเป็นผู้อุปัชฌาย์ มีชีวิตอยู่ในราวปี..

ใหม่!!: นิพพานและพระนาคเสนเถระ · ดูเพิ่มเติม »

พระไตรปิฎก

ระไตรปิฎก (Tipiṭaka; त्रिपिटक) เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระโคตมพุทธเจ้า ไตรปิฎก แปลว่า ตะกร้า 3 ใบ เพราะเนื้อหาแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: นิพพานและพระไตรปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554

หน้าปกพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ฉบับพิมพ์ครั้งแรก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: นิพพานและพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 · ดูเพิ่มเติม »

กิเลส

กิเลส (กิเลส; क्लेश เกฺลศ) หมายถึง สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง.

ใหม่!!: นิพพานและกิเลส · ดูเพิ่มเติม »

ภิกษุ

กษุ หรือ พระภิกษุ (บาลี: ภิกขุ; สันสกฤต: ภิกษุ) เป็นคำใช้เรียก "นักบวชชาย" ในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ คู่กับภิกษุณี (นักบวชหญิง) คำว่า ภิกษุ เป็นศัพท์เฉพาะในพระพุทธศาสนา เป็นศัพท์บัญญัติที่ใช้เรียกนักบวชชายในพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ไม่สาธารณะทั่วไปสำหรับทุกศาสนา มีความหมายว่า ผู้ขอ (ขออาหาร เป็นต้น) และสามารถแปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร ก็ได้ ดังรูปวิเคราะห์ว่า "วฏฺฏสํสาเร ภยํ อิกฺขตีติ ภิกฺขุ" ในประเทศไทยและประเทศลาว มีคำเรียกภิกษุเถรวาทว่า "พระ" แปลว่าผู้ประเสร.

ใหม่!!: นิพพานและภิกษุ · ดูเพิ่มเติม »

มรรคมีองค์แปด

มรรค (มรฺค; มคฺค) คือ หนทางสู่ความดับทุกข์ เป็นหนึ่งในอริยสัจ 4 จึงเรียกอีกอย่างว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 8 ประการ ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ 8 นี้เป็นทางสายกลาง คือเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น ตามวิภังคสูตร พระพุทธเจ้าทรงอธิบายรายละเอียดไว้ดังนี้.

ใหม่!!: นิพพานและมรรคมีองค์แปด · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: นิพพานและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาพุทธ

ระพุทธศาสนา หรือ ศาสนาพุทธ (buddhasāsana พุทฺธสาสนา, buddhaśāsana พุทธศาสนา) เป็นศาสนาที่มีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดา มีพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง และตรัสสอนไว้เป็นหลักคำสอนสำคัญ มีพระสงฆ์ (ภิกษุ ภิกษุณี) สาวกผู้ตัดสินใจออกบวชเพื่อศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอน ธรรม-วินัย ของพระบรมศาสดา เพื่อบรรลุสู่จุดหมายคือพระนิพพาน และสร้างสังฆะ เป็นชุมชนเพื่อสืบทอดคำสอนของพระบรมศาสดา รวมเรียกว่า พระรัตนตรัย นอกจากนี้ในพระพุทธศาสนา ยังประกอบคำสอนสำหรับการดำรงชีวิตที่ดีงาม สำหรับผู้ที่ยังไม่ออกบวช (คฤหัสถ์ - อุบาสก และอุบาสิกา) ซึ่งหากรวมประเภทบุคคลที่ที่นับถือและศึกษาปฏิบัติตนตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา แล้วจะจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือที่เรียกว่า พุทธบริษัท 4 ศาสนาพุทธเป็นศาสนาอเทวนิยม ปฏิเสธการมีอยู่ของพระเป็นเจ้าหรือพระผู้สร้าง และเชื่อในศักยภาพของมนุษย์ ว่าทุกคนสามารถพัฒนาจิตใจ ไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ ด้วยความเพียรของตน กล่าวคือ ศาสนาพุทธ สอนให้มนุษย์บันดาลชีวิตของตนเอง ด้วยผลแห่งการกระทำของตน ตาม กฎแห่งกรรม มิได้มาจากการอ้อนวอนขอจากพระเป็นเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์นอกกายพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท อัตตวรรคที่ ๑. พระไตรปิฎกฉบับสยามรั.

ใหม่!!: นิพพานและศาสนาพุทธ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

ำนักงานราชบัณฑิตยสภา (Office of the Royal Society) หรือชื่อเดิมว่า ราชบัณฑิตยสถาน (the Royal Institute), ข่าวประชาสัมพันธ์ เว็บไซต.

ใหม่!!: นิพพานและสำนักงานราชบัณฑิตยสภา · ดูเพิ่มเติม »

สุญตา

ญตา (สุญฺตา) หรือ ศูนยตา (ศูนฺยตา) แปลว่า ความว่างเปล่า, ความเป็นของสูญ คือความไม่มีตัวตน ถือเอาเป็นตัวตนไม่ได้ สุญตามีความหมาย 4 นัย คือ.

ใหม่!!: นิพพานและสุญตา · ดูเพิ่มเติม »

อรรถกถา

ัมภีร์อรรถกถาบาลีในปัจจุบันเป็นผลงานการแปลของพระพุทธโฆสะ ที่แปลยกจากภาษาสิงหลขึ้นสู่ภาษาบาลี อรรถกถา (Atthakatha; อ่านว่า อัดถะกะถา) คือคัมภีร์ที่รวบรวมคำอธิบายความในพระไตรปิฎกภาษาบาลี เรียกว่า คัมภีร์อรรถกถา บ้าง ปกรณ์อรรถกถา บ้าง อรรถกถา จัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากพระไตรปิฎก และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างแพร่หลายในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา คัมภีร์อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความหรือคำที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยยกศัพท์ออกมาอธิบายเป็นศัพท์ ๆ บ้าง ยกข้อความหรือประโยคยาวๆ มาขยายความให้ชัดเจนขึ้นบ้าง แสดงทัศนะและวินิจฉัยของผู้แต่งสอดแทรกเข้าไว้บ้าง ลักษณะการอธิบายความในพระไตรปิฎกของอรรถกถานั้น ไม่ได้นำทุกเรื่องในพระไตรปิฎกมาอธิบาย แต่นำเฉพาะบางศัพท์ วลี ประโยค หรือบางเรื่องที่อรรถกถาจารย์เห็นว่าควรอธิบายเพิ่มเติมเท่านั้น ดังนั้นบางเรื่องในพระไตรปิฎกจึงไม่มีอรรถกถาขยายความ เพราะอรรถกถาจารย์เห็นว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎกส่วนนั้นเข้าใจได้ง่ายนั่นเอง.

ใหม่!!: นิพพานและอรรถกถา · ดูเพิ่มเติม »

อริยสัจ 4

อริยสัจ หรือจตุราริยสัจ หรืออริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนหนึ่งของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยบุคคล หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ.

ใหม่!!: นิพพานและอริยสัจ 4 · ดูเพิ่มเติม »

อัตตา

อัตตา (อตฺตา; อาตฺมนฺ) แปลว่า ตัวตน ร่างกาย รูปลักษณะ ตัวเอง หรือวิญญาณ ตามทฤษฎีของผู้นับถือลัทธิว่าชีวิตเกิดขึ้นด้วยวิญญาณหรืออาตมัน ซึ่งชาวอินเดียทางภาคเหนือได้ยึดถือเช่นนั้น ในคัมภีร์อุปนิษัทอธิบายไว้ว่า อัตตาเป็นตัวตนเล็ก ๆ รูปร่างเหมือนคน อาศัยอยู่ในหัวใจเวลาปกติ และหนีออกจากร่างกายไปในเวลานอนหลับ หรือในเวลาสงบแน่นิ่ง เมื่ออัตตานั้นกลับมาสู่ร่างเหมือนเดิม ชีวิตและการเคลื่อนไหวจึงเกิดขึ้นเป็นไปตามเดิม ในเวลาตายอัตตาก็จะหนีออกจากร่าง ไปใช้ชีวิตในอมตะของตนเองวนเวียนไปอย่างนีโดยไม่มีสิ้นสุด (นัยพจนา. บาลี-อังกฤษ ของสมาคมบาลีปกรณ์) ในศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าเรียกความเชื่อเรื่องอัตตาว่าสัสสตทิฐิ ถือเป็นมิจฉาทิฐิอย่างหนึ่ง และเรียกว่าอัตตวาทุปาทาน ซึ่งถือเป็นความยึดมั่นถือมั่นประการหนึ่ง อัตตาในคำไทยทั่วไปใช้ในรูป อัตต, อัต เช่น อัตตาธิปไตย อัตชีวประวัติ อัตภาพ อัตโนมัต.

ใหม่!!: นิพพานและอัตตา · ดูเพิ่มเติม »

อุปนิษัท

อุปนิษัท (เทวนาครี: उपनिषद्, IAST: upaniṣad) เป็นคัมภีร์ของศาสนาฮินดู เนื้อหาเป็นหลักธรรม หรือคำสอนอันลึกซึ้ง นับเป็นส่วนสุดท้ายของวรรณกรรมพระเวท (วรรณกรรมพระเวทส่วนอื่นได้แก่ สังหิตา, พราหมณะ, อารัณยกะ) และเนื่องจากเป็นส่วนสุดท้ายของวรรณกรรมพระเวท จึงอีกอย่างหนึ่งว่า "เวทานฺต" (เวทานตะ) คำว่า "อุปนิษัท" มาจากรากศัพท์ คำอุปสรรค 'อุป' 'นิ' และธาตุ 'สัท' (นั่ง) ซึ่งหมายถึง นั่งใกล้คนใดคนหนึ่ง อันได้แก่ การนั่งของศิษย์ใกล้ครูอาจารย์ เพื่อสอนหลักธรรมอันลึกซึ้ง คัมภีร์อุปนิษัทนั้นมีอยู่เป็นจำนวนมาก และอยู่ในช่วงเวลาที่กว้าง บางเล่มอยู่ในสมัยก่อนพุทธกาล บางเล่มมีอายุอยู่หลังพุทธกาล.

ใหม่!!: นิพพานและอุปนิษัท · ดูเพิ่มเติม »

ทุกข์

ทุกข์ หรือ ทุกขัง (ทุกฺข) เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนา แปลว่าทนอยู่ในสภาพเดิมได้ยาก โดยทั่วไปหมายถึง สังขารทั้งปวง อันได้แก่ ขันธ์ 5 ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทุกข์ ในทางพระพุทธศาสนา การกำหนดทุกข์ถือเป็นกิจในอริยสัจ 4 ที่ชาวพุทธต้องทำเพื่อละและปล่อยวางในลำดับต่อไปในกิจทั้งสี่ในอริยสัจ อันได้แก่ รู้ทุกข์ เพื่อค้นหาสาเหตุในการดับทุกข์ (สมุทัย) แล้วจึงตั้งจุดมุ่งหมายในการดับทุกข์ (นิโรธ) และดำเนินตามเส้นทางสู่ความดับทุกข์ (มรรค) คือสละ ละ ปล่อยวาง ไม่ยึดติดในใจด้วยอำนาจกิเลส ทุกข์ จัดเป็นหนึ่งในชื่อเรียกที่เป็นไวพจน์ของขันธ์ซึ่งถูกใช้เป็นอย่างมากในพระไตรปิฎก.

ใหม่!!: นิพพานและทุกข์ · ดูเพิ่มเติม »

ขันธ์

ันธ์ แปลว่า กอง, หมวด, หมู่, ส่วน ในทางพุทธศาสนาหมายถึงร่างกายของมนุษย์ คือแยกร่างกายออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพได้ 5 ส่วน หรือ 5 ขันธ์ คือ.

ใหม่!!: นิพพานและขันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

ตัณหา

ตัณหา เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนา หมายถึง ความติดใจอยาก ความยินดี ยินร้าย หรือติดในรสอร่อยของโลก ประกอบด้วย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์นั้นๆ และ ตัณหาย่อมเจริญแก่ผู้ประพฤติประมาท ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดังนั้น ความทุกข์ย่อมเกิดขึ้นบ่อยๆ เมื่อบุคคลยังถอนเชื้อตัณหาไม่ได้ ในหลักปฏิจจสมุปบาท ตัณหาเกิดจากเวทนาเป็นปัจจัย โดยมี อวิชชาเป็นมูลราก ควรเห็นตัณหา เป็นดังเครือเถาที่เกิดขึ้น แล้ว จงตัดรากเสียด้วยปัญญ.

ใหม่!!: นิพพานและตัณหา · ดูเพิ่มเติม »

ตถาคต

ตถาคต เป็นพระนามที่ใช้เรียกพระพุทธเจ้าพระนามหนึ่ง เรียกเต็มว่า พระตถาคต ตถาคต แปลได้หลายนัย คือแปลว.

ใหม่!!: นิพพานและตถาคต · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ใหม่!!: นิพพานและประเทศอินเดีย · ดูเพิ่มเติม »

ปรัชญา

มัยคลาสสิกไว้ในภาพเดียวกัน คำว่า ปรัชญา มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต หมายถึงความรู้อันประเสริฐ โดยมีรากศัพท์มาจากคำว่า ปฺร ที่แปลว่าประเสริฐ กับ คำว่า ชฺญา ที่แปลว่ารู้ ซึ่งเป็นศัพท์บัญญัติโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ แทนคำว่า philosophy ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำΦιλοσοφία ซึ่งไพธากอรัสเป็นผู้บัญญัติไว้ เมื่อราวศตวรรษที่ 6 ก่อน..

ใหม่!!: นิพพานและปรัชญา · ดูเพิ่มเติม »

ปรินิพพาน

วาดพระพุทธเจ้าเข้าสู่อนุปาทิเสนนิพพาน จิตรกรรมฝาผนังวัดท่าถนน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ปรินิพพาน แปลว่า การดับรอบ ความปราศจากกิเลสที่ร้อยรัด คือ การดับสนิท ดับด้วยไม่เหลือแห่งกิเลสและกองทุกข์ มีความหมายเดียวกับคำว่า นิพพาน บางครั้งใช้หมายถึง อนุปาทิเสนนิพพาน แปลว่า การดับกิเลสพร้อมทั้งเบญจขันธ์ (อนุปาทิเสสนิพพาน คู่กับ สอุปาทิเสสนิพพาน แปลว่า ดับกิเลสแต่ยังดำรงชีวิตอยู่ เช่น การตรัสรู้) ปรินิพพาน นิยมใช้หมายถึง การดับขันธ์ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ส่วนของพระอรหันตสาวกที่เหลือนิยมใช้นิพพานเฉย ๆ ทั้งนี้ นัยว่าเพื่อเป็นการยกย่องพระพุทธเจ้า แต่ในภาษามคธใช้เหมือนกันทั้งสองศัพท์ คือ ใช้สลับกันก็มี ปรินิพพาน สำหรับพระพุทธเจ้านิยมเพิ่มคำว่า "เสด็จดับขันธ์" หรือ "เสด็จดับขันธ" ไว้หน้าด้วย เช่นใช้ว่า "พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา".

ใหม่!!: นิพพานและปรินิพพาน · ดูเพิ่มเติม »

โลกุตระ

ลกุตระ (อ่านว่า โลกุดตะระ) แปลว่า พ้นโลก อยู่เหนือวิสัยของโลก หรืออุตรภาพ เป็นคำที่ใช้คู่กับ โลกิยะ ซึ่งแปลว่า ยังเกี่ยวข้องกับโลก เรื่องของโลก โลกุตระ หมายถึงภาวะที่หลุดพ้นแล้วจากโลกิยะ ไม่เกี่ยวข้องกับกาม ตัณหา ทิฏฐิ อวิชชาอีกต่อไป ได้แก่ธรรม 9 ประการซึ่งเรียกว่า นวโลกุตรธรรม หรือ โลกุตรธรรม 9 ในธัมมสังคณี พระอภิธรรมปิฎก ระบุว่า โลกุตรธรรม มี 9 ได้แก่ อริยมรรค 4 อริยผล 4 นิพพาน 1 โดยมีรายละเอียดดังนี้.

ใหม่!!: นิพพานและโลกุตระ · ดูเพิ่มเติม »

เทวดา

ระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ เทวดา (devatā) หรือ เทพ (deva เทว) ตามคติความเชื่อทางศาสนาต่าง ๆ หมายถึง ชาวสวรรค์ที่เป็นโอปปาติกะ มีกายทิพย์ ตาทิพย์ หูทิพย์ และกินอาหารทิพย์ และเสวยสุขในสรวงสวรรค์ชั้นต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นภพภูมิที่ดี เทวดาผู้หญิงเรียกว่า เทวี หรือ "เทพี" หรือ นางฟ้า เทวดาผู้มีมิจฉาทิฐิ เรียกว่า มาร คำว่า เทพเจ้า หมายถึง เทวดาผู้เป็นใหญ่ ตามความเชื่อแบบพหุเทวนิยม ซึ่งเชื่อว่ามีอำนาจควบคุมธรรมชาติบางอย่าง เช่น สุริยเทพ เทพเจ้าแห่งสายฟ้.

ใหม่!!: นิพพานและเทวดา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

มหาปรินิพพานพระนิพพาน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »