โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มวน

ดัชนี มวน

มวน ถือเป็นชื่อของแมงชนิดหนึ่งซึ่งประกอบ 50,000 ถึง 80,000 ชนิดเช่นกลุ่มของจักจั่น โดยมักมีขนาดตั้งแต่ 1 มิลลิเมตร (0.04 นิ้ว) ถึง 15 เซนติเมตร (6 นิ้ว) และมีปากที่สามารถดูดของเหลวได้และชื่อของมวลยังเอาไวเรียกกลุ่มของหน่วยย่อย Heteroptera ด้วย โดยปกติคนเราจะเรียกว่าพวกแมลง, แมง, ด้วง, มวน รวมกันเป็นแมลงอย่างเดี่ยวเช่นการเรียกเต่าทองที่อยู่กลุ่มเดียวกับด้วงว่าเป็นแมลง โดยปกติพวกมันจะกินอาหารโดยใช้ปากดูดของเหลวจากต้นไม้หรือสัตว์และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก มวลนั้นไม่ได้อาศัยอยู่บนบกอย่างเดียวแต่พวกมันก็อาศัยอยู่ในน้ำด้วย มนุษย์มีปฏิสัมพันธุ์กับพวกมันมานานเพราะพวกมันหลายชนิดเป็นศัตรูพืชที่สำคัญโดยพวกมันจะทำลายพืชผลทางการเกษตรโดยการดูดน้ำเลี้ยงของต้นไม้และพวกมันยังเป็นพาหะของโรคร้ายแรงและไวรัสอีกด้ว.

11 ความสัมพันธ์: กะแท้ยุคคาร์บอนิเฟอรัสสัตว์สัตว์ขาปล้องอันดับด้วงจิงโจ้น้ำด้วงเต่าลายคาโรลัส ลินเนียสแมลงแมลงดาแมง

กะแท้

กะแท้ จัดอยู่ในประเภทสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมอาร์โธรพอด เป็นแมลงจำพวกมวนมีหลายชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Cydnidae และ Podopidae เป็นมวนขนาดเล็ก รูปร่างคล้ายโล่ ตัวยาว ๘-๑๒ มิลลิเมตร ขาทั้งสามคู่มีหนามปกคลุมเต็มไปหมด สีน้ำตาลแก่อมดำหรือสีเกือบดำ เมื่อจับต้องตัวจะปล่อยกลิ่นฉุนเหม็นเขียว บางทีคล้ายกลิ่นอุจจาระของคน โดยต่อมกลิ่นมีช่องเปิดอยู่บริเวณหลังส่วนท้องที่ติดกับอก กะแท้เดิมอยู่ในวงศ์ Cydnidae แต่นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มแยกออกเป็นวงศ์ Podopidae อีกวงศ์หนึ่ง โดยพวกที่มีแผ่นแข็งเป็นสามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยมที่สันหลังใหญ่กว่าแผ่นแข็งของปีกอยู่ในวงศ์ Podopidae ถ้าแผ่นแข็งที่หลังรูปสามเหลี่ยมสั้นกว่าอยู่ในวงศ์ Cydnidae กะแท้มักอาศัยอยู่รวมกัน เป็นกลุ่มบริเวณโคนต้นไม้ และกองปุ๋ยหมักใต้แผ่นไม้ แผ่นหิน หรือมูลสัตว์ ออกมาเล่นไฟในช่วงอากาศร้อนหรือฝนตกใหม่ ๆ ไม่ได้ทำลายพืชเศรษฐกิจให้เสียหาย โดยมาก อาศัยดูดน้ำเลี้ยงจากวัชพืชเป็นอาหาร.

ใหม่!!: มวนและกะแท้ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคคาร์บอนิเฟอรัส

ีโวเนียน←ยุคคาร์บอนิเฟอรัส→ยุคเพอร์เมียน ยุคคาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous) อยู่ในช่วง 354 – 295 ล้านปีก่อน เป็นยุคของป่าเฟินขนาดยักษ์ปกคลุมห้วย หนอง คลองบึง ซึ่งกลายเป็นแหล่งน้ำมันดิบที่สำคัญในปัจจุบัน มีการแพร่พันธุ์ของแมลง และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เริ่มมีวิวัฒนาการของสัตว์เลื้อยคลาน กำเนิดไม้ตระกูลสน ช่วงแรกเกิดต้นไม้โบราณขนาดใหญ่ และพื้นที่ลุ่มชื้นบนแผ่นดิน พบสัตว์มีกระดูกสันหลังบนแผ่นดินชนิดแรก และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เกิดปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่มีครีบพู่ (Rhizodontida) ในมหาสมุทรเกิดปลาฉลามยุคแรก และมีหลากหลายชนิดเกิดแมงป่องทะเล ไครนอยด์ ปะการัง โกเนียไทต์-แอมโมนอยด์ และแบรคิโอพอด พบได้ทั่วไป แต่ ไทรโลไบต์ และนอติลอยด์ พบชนิด และจำนวนน้อยลง น้ำแข็งปกคลุมด้านตะวันออกของกอนวานา แมลงมีปีกพบมาก และหลายชนิด แมลงบางชนิด มีขนาดใหญ่มาก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ พบทั่วไป และหลากหลาย พบสัตว์เลื้อยคลานเป็นครั้งแรก เกิดป่าที่ประกอบด้วย เฟิร์น ต้นคลับมอส ต้นหางม้าขนาดใหญ่ ในยุคนี้ระดับออกซิเจนในบรรยากาศมีค่าสูงสุด โกเนียไทต์ แบรคิโอพอด ไบรโอซัว และปะการัง พบได้ทั่วไปในทะเลและมหาสมุทร.

ใหม่!!: มวนและยุคคาร์บอนิเฟอรัส · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: มวนและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์ขาปล้อง

ัตว์ขาปล้อง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arthropoda อาร์โธรโพดา) หรือที่รู้จักกันดีและนิยมเรียกว่า อาร์โธพอด เป็นไฟลัมหลักของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดของลำตัวแบ่งเป็นส่วน ๆ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนหัว ส่วนอกและส่วนท้อง ซึ่งสัตว์ขาปล้องบางจำพวกอาจจะมีส่วนหัวและส่วนอกที่เชื่อต่อกันเป็นส่วนเดียวกันด้วยก็ได้ จะมีเปลือกแข็งหุ้มบริเวณลำตัวสำหรับทำหน้าที่ป้องกันและช่วยพยุงร่างกายที่อ่อนนิ่มที่ซ่อนอยู่ภายใต้เปลือกแข็ง ชั้นคิวติเคิลเปลี่ยนไปตามรายละเอียดของรูปร่าง ประกอบด้วยสามชั้นคือ ชั้นผิวนอก (epicuticle) เป็นชั้นนอกที่บาง มีขี้ผึ้งเคลือบเพื่อป้องกันความชื้น ชั้นนอก (exocuticle) ประกอบด้วยไคติน และโปรตีนที่ทำให้แข็ง และชั้นใน (endocuticle) ที่ประกอบด้วยไคตินและโปรตีนที่ไม่ทำให้แข็ง ชั้นนอกและชั้นในเรียกรวมกันว่า procuticle และที่สำคัญคือช่วยพยุงให้ร่างกายของพวกสัตว์ขาปล้องมีรูปร่างที่แน่นอน.

ใหม่!!: มวนและสัตว์ขาปล้อง · ดูเพิ่มเติม »

อันดับด้วง

้วง หรือ แมลงปีกแข็ง (Beetle) จัดเป็นแมลงในอันดับ Coleoptera ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นอันดับย่อยอีก 4 อันดับ (ดูในตาราง) จัดเป็นแมลงที่มีวงจรชีวิตสมบูรณ์ คือ เป็น ไข่, หนอน, ดักแด้ และตัวเต็มวัย ด้วง หรือ แมลงปีกแข็งนั้น นับเป็นแมลงที่มีจำนวนมากที่สุดในโลก กล่าวคือ มีประมาณร้อยละ 40 ของแมลงที่มีอยู่ทั้งหมด (ประมาณ 400,000 ชนิด) มีลักษณะเด่นโดยรวม คือ ในวัยเต็มตัวจะมีปีก 2 คู่ โดยปีกคู่หน้าเป็นปีกที่มีความแข็งเท่ากันหรือเกือบเท่ากันตลอดทั้งแผ่น เรียกว่า Elytra ซึ่งมาจากภาษากรีก (ἔλυτρον) ซึ่งหมายถึง แผ่น หรือ ปีก ส่วนปีกคู่หลังเป็นแผ่นปีกใหญ่ค่อนข้างโปร่งแสง เมื่อเวลาเกาะอยู่ปีกคู่หลังจะพับซ้อนกันอย่างมีระเบียบและซ่อนอยู่ภายใต้ปีกคู่หน้าอย่างมิดชิด และเมื่อต้องการบิน ปีกคู่หลังนี้จะกางออก โดยการเปิดกางออกของปีกคู่หน้าขึ้นก่อนที่จะเหยียดกางปีกคู่หลังนี้ออกมาบินอย่างรวดเร็ว เมื่อเวลาที่จะเกาะหรือคลาน จะหุบปีกโดยปีกคู่หน้าจะประกบกันสนิทเป็นเส้นตรงอยู่ตรงกลางลำตัว ปีกคู่หน้าจึงทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันตัวและปีกคู่หลัง ในขณะที่บินปีกคู่หน้านี้จะไม่ช่วยในการบินแต่จะช่วยในการทรงตัว อย่างไรก็ตาม จะมีด้วงบางชนิดที่ปีกคู่หน้าเชื่อมติดกัน จึงไม่สามารถบินได้ และบางชนิดก็มีปีกคู่หน้าเล็กหรือสั้นกว่าลำตัวมากจนไม่สามารถปิดส่วนท้องได้สนิท.

ใหม่!!: มวนและอันดับด้วง · ดูเพิ่มเติม »

จิงโจ้น้ำ

งโจ้น้ำ (Water Striders / Pond Skaters) เป็นแมลงที่จัดอยู่ในกลุ่มประเภทมวนอยู่ในอันดับ Hemiptera วงศ์ Gerridae ชื่อสามัญ Water Striders หรือ Pond skaters มีชื่อเรียกต่างกันคือ จิงโจ้น้ำ มวนจิงโจ้น้ำ แมงกะพุ้งน้ำ.

ใหม่!!: มวนและจิงโจ้น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

ด้วงเต่าลาย

้วงเต่าลาย (ladybird beetles, Ladybugs) หรือที่นิยมเรียกกันว่า เต่าทอง จัดเป็นแมลงปีกแข็ง อยู่ในอันดับโคลีออฟเทอรา (Coleoptera) ในวงศ์ Coccinellidae ซึ่งยังแบ่งออกได้เป็นวงศ์ย่อย ๆ อีก 6 วงศ์ (ดูในตาราง) เต่าทองมีรูปร่างโดยรวม คือ จัดเป็นแมลงขนาดเล็กเมื่อเทียบกับแมลงปีกแข็งทั่วไป ตัวป้อม ๆ ลำตัวอ้วนกลม ส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทย มักมีปีกสีแดง ส้ม เหลือง และมักจะแต้มด้วยสีดำเป็นจุด เมื่อหุบปีกเข้าหากันจะจดกับด้านหลังทำให้มองคล้ายหลังเต่า มีหนวดแบบลูกตุ้ม.

ใหม่!!: มวนและด้วงเต่าลาย · ดูเพิ่มเติม »

คาโรลัส ลินเนียส

รลัส ลินเนียส (ภาษาละติน) หรือ คาร์ล ลินเนียส (ภาษาสวีเดน) ปัจจุบันภาพนี้จัดแสดงที่ราชวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งสวีเดน ลายมือชื่อของคาร์ล ลินเนียส คาโรลัส ลินเนียส (Carolus Linnaeus) หรือ คาร์ล ฟอน ลินเนีย บ้างก็เรียก คาร์ล ลินเนียส (Carl Linnaeus) (23 พฤษภาคม พ.ศ. 2250 - 10 มกราคม พ.ศ. 2321) เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ริเริ่มการจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ และการประยุกต์ใช้ระบบการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิตแบบทวินาม ซึ่งมีประโยชน์ในการศึกษาชีววิทยาต่อมาจวบจนปัจจุบัน อนึ่ง ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่จัดจำแนกโดยเขา จะลงท้ายด้วย L. หรือ Linn.

ใหม่!!: มวนและคาโรลัส ลินเนียส · ดูเพิ่มเติม »

แมลง

แมลง (Insect) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมอาร์โทรโพดา จำแนกออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ ได้ 13 กลุ่ม มีลักษณะสำคัญคือมีลำตัวเป็นปล้องคล้อง ซึ่งอาจแบ่งเป็น 2 หรือ 3 ส่วน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลำตัวทั้งสองด้านซ้ายขวามีความเหมือนและมีขนาดเท่ากัน มีเปลือกห่อหุ้มลำตัวด้วยสารไคติน (Chitinous Exoskeleton) ไม่มีขน หายใจแบบใช้เหงือกหรือใช้รูหายใจ มีวัฎจักรวงจรชีวิตในการเจริญเติบโตแบบไข่ มีการลอกคราบเป็นบางครั้งแล้วสร้างผนังหรือเปลือกห่อหุ้มลำตัวใหม่ มีรยางค์เป็นคู่และเป็นปล้อง ส่วนใหญ่นักกีฏวิทยามักใช้รยางค์ในการแบ่งเพศผู้เพศเมียของแมลง มีอวัยวะภายในที่มีท่อทางเดินอาหารเป็นท่อยาวตลอดจากปากไปถึงทวารหนัก ระบบเลือดเป็นแบบเปิดและมีท่อเลือดอยู่ทางด้านสันหลังเหนือระบบทางเดินอาหาร มีระบบประสาทที่ประกอบไปด้วยสมองอยู่เหนือท่ออาหาร มีเส้นประสาทขนาดใหญ่หนึ่งคู่เชื่อมต่อจากสมอง มีการรวมตัวเป็นระยะก่อเกิดเป็นปมประสาท เส้นประสาทขนาดใหญ่ของแมลง จะอยู่ทางด้านล่างของลำตัวใต้ท่ออาหาร มีกล้ามเนื้อแบบเรียบอยู่ตามลำตัวบทปฏิบัติการกีฎวิทยาเบื้องต้น, ภาควิชากีฎวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ร. ดร.สาวิตรี มาไลยพันธุ์, สำนักพิมพ์รั้วเขียว,..

ใหม่!!: มวนและแมลง · ดูเพิ่มเติม »

แมลงดา

แมลงดา,ราชบัณฑิตยสถาน.

ใหม่!!: มวนและแมลงดา · ดูเพิ่มเติม »

แมง

แมง (arachnid) เป็นชื่อเรียกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในกลุ่มของสัตว์ขาปล้อง ชื่อในภาษาอังกฤษมีรากศัพท์มาจากสตรีนามว่าอะแรกนีในเทพปกรณัมกรีก ร่างกายของแมงเมื่อโตเต็มที่แบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ หัวกับอกรวมกันเป็นส่วนหนึ่งและท้องอีกส่วนหนึ่ง การแยกแยะระหว่างแมงกับแมลง คือ แมงมี 8 หรือ 10 ขา ส่วนแมลงมี 6 ขา นอกจากนี้แมงยังไม่มีหนวดและปีกอีกด้วยซึ่งต่างจากแมลงที่มีหนวดและส่วนใหญ่มีปีก แมงมีความยาวของลำตัวตั้งแต่ 0.08 มิลลิเมตร ถึง 21 เซนติเมตร ตัวอย่างของสัตว์ประเภทแมง ได้แก่ แมงมุม แมงป่อง แมงดาทะเล เห็บ และไร เป็นต้น.

ใหม่!!: มวนและแมง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »