โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เคนต์

ดัชนี เคนต์

นต์ (Kent) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร และเป็นหนึ่งใน “มณฑลรอบนครลอนดอน” (Home Counties) เคนต์มีเขตแดนติดกับอีสต์ซัสเซ็กซ์, เซอร์รีย์ และนครลอนดอนและปริมณฑล และมีปากแม่น้ำเทมส์ขวางกับเอสเซ็กซ์ มณฑลภูมิศาสตร์เคนต์ประกอบด้วยเทศบาลมณฑลเคนต์ และรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวของเมดเวย์ เคนต์ตั้งอยู่ไม่ไกลจากฝรั่งเศสที่แยกโดยช่องแคบอังกฤษและครึ่งทางระหว่างอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษl เคนต์แบ่งการปกครองเป็นสิบสามแขวง: เซเวนโอกส์, ดาร์ทฟอร์ด, เกรฟแชม, ทันบริดจ์และมอลลิง, เมดเวย์, เมดสตัน, ทันบริดจ์เวลล์ส, สเวล, แอชฟอร์ด, แคนเตอร์บรี, เชปเวย์, เธนเน็ต และ โดเวอร์โดยมีเมืองหลวงของมณฑลอยู่ที่ เมดสตัน เดิมโรเชสเตอร์ และแคนเตอร์บรี เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครแต่ปัจจุบันเมืองหลังเท่านั้นที่ยังเป็นนคร ที่ตั้งของเคนต์ระหว่างลอนดอนและแผ่นดินใหญ่ยุโรปทำให้เป็นมณฑลหน้าด่านและเป็นยุทธภูมิในความขัดแย้งหลายครั้งเช่นในระหว่างยุทธการแห่งบริเตนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เคนต์ตะวันออกได้ชื่อว่าเป็น “Hell Fire Corner” ระหว่างความขัดแย้ง ระหว่าง 800 ปีที่ผ่านมาอังกฤษพึ่งเคนต์ในด้านกองเรือ ท่าเรือซิงก์ (Cinque Ports) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 14 และอู่เรือแช็ทแธมในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 20 มีความสำคัญต่อความปลอดภัยและความมั่นคงของอังกฤษ ฝั่งทะเลฝรั่งเศสสามารถมองเห็นได้จากไวท์คลิฟฟ์สที่โดเวอร์ ในวันที่อากาศแจ่มใส เคนต์เป็นอาณาบริเวณที่มีการเกษตรกรรมในด้านสวนผลไม้และการปลูกฮอปที่ใช้ในการทำเบียร์ เคนต์ได้ชื่อว่าเป็น “สวนแห่งอังกฤษ” The Guardian 1 June 2006 BBC 1 June 2006 อุตสาหกรรมหลักของเคนต์ก็ได้แก่การทำซีเมนต์ สินค้ากระดาษ และการสร้างเรือบินแต่ความสำคัญของอุตสาหกรรมเหล่านี้ลดถอยลง ทางด้านใต้และตะวันออกขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการเกษตรกรรม.

20 ความสัมพันธ์: ช่องแคบอังกฤษยุทธการที่บริเตนยุโรปภาคพื้นทวีปลอนดอนสหราชอาณาจักรสงครามโลกครั้งที่สองอาสนวิหารแคนเทอร์เบอรีอีสต์ซัสเซกซ์ซีเมนต์ประเทศอังกฤษแม่น้ำเทมส์เกรเทอร์ลอนดอนเมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักรเมืองเทศมณฑลเอสเซกซ์เทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษเทศมณฑลที่ไม่ใช่มหานครเทศมณฑลของอังกฤษเซอร์รีย์เซาท์อีสต์อิงแลนด์

ช่องแคบอังกฤษ

องแคบจากอวกาศ ช่องแคบอังกฤษ (English Channel; La Manche) เป็นช่องแคบในมหาสมุทรแอตแลนติกที่แยกระหว่างเกาะบริเตนใหญ่กับแผ่นดินทวีปยุโรป โดยระยะทางของช่องแคบเริ่มตั้งแต่ฝรั่งเศสทางตอนเหนือไปจนถึงทะเลเหนือที่อยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเช่นกัน โดยช่องแคบมีความยาวประมาณ 560 กิโลเมตร และมีความกว้างที่แตกต่างกันระหว่าง 240 กิโลเมตรซึ่งกว้างที่สุด จนไปถึงส่วนที่แคบที่สุดที่มีความกว้างเพียง 34 กิโลเมตรบริเวณช่องแคบโดเวอร์ ช่องแคบอังกฤษถือเป็นทะเลน้ำตื้นที่เล็กที่สุดในบริเวณไหล่ทวีปยุโรป โดยครอบคลุมพื้นที่เพียง 75,000 ตารางกิโลเมตร เท่านั้น.

ใหม่!!: เคนต์และช่องแคบอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ยุทธการที่บริเตน

ยุทธการบริเตน (Battle of Britain) คือการรบทางอากาศที่กองทัพอากาศเยอรมันหรือลุฟท์วัฟเฟอ (Luftwaffe) เปิดการโจมตีทางอากาศเพื่อชิงความได้เปรียบกับกองทัพอากาศหลวงของสหราชอาณาจักร ก่อนที่จะดำเนินการบุกทางทะเลและการทิ้งทหารพลร่มจากอากาศในปฏิบัติการสิงโตทะเล (Unternehmen Seelöwe) ที่ทางเยอรมันได้วางแผนไว้ก่อนหน้า ต้นเหตุของการรบครั้งนี้มาจากความคิดของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์และนายทหารในกองทัพบกเยอรมันที่เชื่อว่าการบุกหมู่เกาะบริเตนข้ามทะเลจะไม่สามารถทำได้โดยง่ายถ้ากองทัพอากาศหลวงไม่ถูกทำลายเสียก่อน เป้าหมายหลักของลุฟวาฟเฟิลในการเปิดศึกทางอากาศคือเพื่อบั่นทอนหรือทำลายกองกำลังทางอากาศของอังกฤษจนอ่อนแอกว่าที่จะยับยั้งการบุกได้ ส่วนเป้าหมายรองก็คือทำลายโรงงานผลิตเครื่องบินและสาธารณูปโภคต่างๆ รวมทั้งทิ้งระเบิดใส่พื้นที่ที่มีความสำคัญทางการเมือง เพื่อข่มขู่ชาวบริเตนให้ยอมแพ้หรือยอมสงบศึกด้วย กระนั้น แม้เยอรมนีจะมีเครื่องบินรบที่ดีกว่าและนักบินที่มีประสบการณ์มากกว่า (สืบเนื่องจากการบุกครองโปแลนด์ก่อนหน้านี้) แต่ความเด็ดขาดของกองทัพอากาศหลวงและจำนวนเครื่องบินที่มากกว่า ทำให้ฝ่ายเยอรมันประสบกับความล้มเหลวในการทำลาย หรือแม้แต่จะบั่นทอนกำลังของกองทัพอากาศหลวงของอังกฤษ (หรือแม้แต่จะทำลายขวัญกำลังใจของชาวบริเตน)และพ่ายแพ้ไปในที่สุดซึ่งความพ่ายแพ้ครั้งนี้ของเยอรมันถือเป็นหนึ่งในความพ่ายแพ่ครั้งสำคัญของเยอรมันที่จะนำไปสู่ชัยชนะเหนือฝ่ายอักษะของฝ่ายสัมพันธมิตรในที่สุดเพราะเวลาต่อมานาซีเยอรมันได้หันเหไปโจมตีสหภาพโซเวียตแทนทำให้อังกฤษสามารถตั้งตัวได้และได้พันธมิตรใหม่เข้าร่วมต่อสู้กับนาซีเยอรมันคือ สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียต ยุทธการบริเตนถือเป็นการรบครั้งแรกที่สู้กันทางอากาศตลอดทั้งศึก รวมถึงเป็นศึกที่มีปฏิบัติการณ์ทิ้งระเบิดที่ยาวนานและสูญเสียมากที่สุดเท่าที่เคยมีมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นศึกที่มีการทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ (ที่มีจุดประสงค์เพื่อทำลายเศรษฐกิจ หรือการผลิตของศัตรู ไม่ใช่การทำลายข้าศึกโดยตรง) ที่ถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่ยังไม่ได้ถูกนำมาใช้จริง หมวดหมู่:แนวรบด้านตะวันตก (สงครามโลกครั้งที่สอง) หมวดหมู่:ยุทธการและปฏิบัติการทางทหารในสงครามโลกครั้งที่สอง หมวดหมู่:ปฏิบัติการและยุทธการทางอากาศ.

ใหม่!!: เคนต์และยุทธการที่บริเตน · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปภาคพื้นทวีป

รปภาคพื้นทวีป ยุโรปภาคพื้นทวีป (Continental Europe) หรือยุโรปแผ่นดินใหญ่ (Mainland Europe) หรือทวีป (the Continent) คือแผ่นดินทวีปยุโรปที่ยกเว้นเกาะต่างๆ และบางครั้งก็ยกเว้นคาบสมุทร ในการใช้ในอังกฤษคำนี้นี้หมายถึงทวีปยุโรปที่ยกเว้นสหราชอาณาจักร, เกาะแมน, ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์ ความหมายโดยทั่วไปของ “ยุโรปภาคพื้นทวีป” หมายถึง “ยุโรปแผ่นดินใหญ่ที่ไม่รวมสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์” ประเทศเกาะอื่นที่ไม่รวมคือไซปรัสและมอลตา แต่ในบริเวณอื่นของยุโรปความหมายของคำนี้อาจจะแตกต่างออกไป เช่นในบางคำจำกัดความก็ขยายไปถึงประเทศภายในเทือกเขายูราลและเทือกเขาคอเคซัสWA.

ใหม่!!: เคนต์และยุโรปภาคพื้นทวีป · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: เคนต์และลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

สหราชอาณาจักร

หราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ หรือโดยทั่วไปรู้จักกันว่า สหราชอาณาจักร และ บริเตน (Britain) เป็นรัฐเอกราชตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปภาคพื้นทวีป ประเทศนี้ประกอบด้วยเกาะบริเตนใหญ่ ส่วนตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไอร์แลนด์ และเกาะที่เล็กกว่าจำนวนมาก ไอร์แลนด์เหนือเป็นเพียงส่วนเดียวของสหราชอาณาจักรที่มีพรมแดนทางบกติดต่อกับรัฐอื่น คือ ประเทศไอร์แลนด์ นอกเหนือจากนี้แล้ว สหราชอาณาจักรล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตกและเหนือ ทะเลเหนือทางทิศตะวันออก ช่องแคบอังกฤษทางทิศใต้ และทะเลไอร์แลนด์ทางทิศตะวันตก รูปแบบการปกครองเป็นแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยมีระบบรัฐสภา เมืองหลวง คือ กรุงลอนดอน ประกอบด้วยสี่ประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ สามประเทศหลังนี้ได้รับการถ่ายโอนการบริหาร โดยมีอำนาจแตกต่างกัน ตั้งอยู่ในเมืองหลวงของประเทศนั้น ๆ คือ เอดินบะระ คาร์ดิฟฟ์ และเบลฟัสต์ตามลำดับ ส่วนเกิร์นซีย์ เจอร์ซีย์ และเกาะแมนเป็นบริติชคราวน์ดีเพนเดนซี และมิใช่ส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักรมีดินแดนโพ้นทะเล 14 แห่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิอังกฤษ ซึ่งขณะที่รุ่งเรืองที่สุดในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น ครอบคลุมพื้นดินของโลกเกือบหนึ่งในสี่ และเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ อิทธิพลของอังกฤษยังสามารถพบเห็นได้จากความแพร่หลายของภาษา วัฒนธรรมและระบบกฎหมายในอดีตอาณานิคมหลายแห่ง สหราชอาณาจักรเป็นประเทศพัฒนาแล้ว และมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของโลก ตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ณ ราคาตลาด และเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ตามความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ สหราชอาณาจักรเป็นประเทศอุตสาหกรรมประเทศแรกในโลก และเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สหราชอาณาจักรยังถูกกล่าวขานว่าเป็นมหาอำนาจและยังมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ทหาร วิทยาศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศค่อนข้างมากอยู่ สหราชอาณาจักรได้รับรองว่าเป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีรายจ่ายทางทหารมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สหราชอาณาจักรเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินับแต่สมัยประชุมแรกใน..

ใหม่!!: เคนต์และสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: เคนต์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี

อาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี (Canterbury Cathedral) เป็นอาสนวิหารแองกลิคันตั้งอยู่ที่เมืองแคนเทอร์เบอรี ในสหราชอาณาจักร เป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี ซึ่งเป็นผู้นำคริสตจักรแห่งอังกฤษและผู้นำเชิงสัญลักษณ์ของแองกลิคันคอมมิวเนียน และเป็นที่ตั้งอาสนะของนักบุญออกัสติน (Chair of St. Augustine) ชื่อที่เรียกกันเป็นทางการของอาสนวิหารแคนเทอร์เบอรีคือ “อาสนวิหารและคริสตจักรมหานครของพระคริสต์ เมืองแคนเทอร์เบอร์รี” (Cathedral and Metropolitical Church of Christ at Canterbury).

ใหม่!!: เคนต์และอาสนวิหารแคนเทอร์เบอรี · ดูเพิ่มเติม »

อีสต์ซัสเซกซ์

ที่ตั้งของเทศมณฑลอีสต์ซัสเซกซ์ อีสต์ซัสเซกซ์ (East Sussex) เป็นเทศมณฑล (county) แห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษ ตั้งอยู่ในเซาท์อีสต์อิงแลนด์ (ภาคการปกครองตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ) อีสต์ซัสเซกซ์มีเขตแดนติดกับเทศมณฑลเคนต์, เทศมณฑลเซอร์รีย์, เทศมณฑลไบรตันและโฮฟ และเทศมณฑลเวสต์ซัสเซกซ์ และทางตอนใต้เป็นช่องแคบอังกฤษ.

ใหม่!!: เคนต์และอีสต์ซัสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ซีเมนต์

ซีเมนต์ ซีเมนต์ หรือ ปูนซีเมนต์ (cement) เป็นวัสดุผสานสำหรับผลิตคอนกรีต มีส่วนผสมหลักคือ หินปูนและดินเหนียว และมีผสมอื่นเช่น ซิลิก้า อลูมิน่า สินแร่เหล็ก ยิปซั่ม และสารเพิ่มพิเศษอื่น ๆ ปูนซีเมนต์ มีการค้นพบว่ามีการใช้งานในสมัยมาซิโดเนียและโรมัน และได้หายไปจนกระทั่งในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมได้มีการคิดค้นขึ้นมาจากหลายคน จนกระทั่งผลงานของแอสป์ดินได้มีการจดสิทธิบัตรของซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เกิดจากการค้นคว้า ของ โยเซฟ แอสป์ดิน ชาวอังกฤษ ช่วงเวลากว่า 13 ปี พ.ศ. 2354 ถึง พ.ศ. 2367 โดยทดลองเอาหินปูนผสมกับดินเหนียวแล้วไปเผาก่อนนำมาบด เมื่อจะใช้งานก็นำมาผสมทราย กรวดและน้ำ โดยเขาตั้งชื่อว่า ปอตแลนด์ซีเมนต์ เพราะว่าสีเหมือนกับหินที่เกาะปอร์ตแลนด์ ประเทศอังกฤษ.

ใหม่!!: เคนต์และซีเมนต์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: เคนต์และประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำเทมส์

วิวทิวทัศน์แม่น้ำเทมส์มองจากลอนดอน แผนที่แม่น้ำเทมส์ในอังกฤษ แม่น้ำเทมส์ (River Thames - ออกเสียง: tɛmz) เป็นแม่น้ำใหญ่ที่ไหลในอังกฤษตอนใต้ และเป็นที่รู้จักมากที่สุดเพราะแม่น้ำไหลผ่านใจกลางกรุงลอนดอน นอกจากนี้ แม่น้ำยังไหลผ่านเมืองอื่น ๆ เช่น เมืองอ็อกซ์ฟอร์ด รีดดิง และ วินด์เซอร์ เป็นต้น หุบเขาเทมส์ ส่วนหนึ่งของอังกฤษ อยู่ตรงกลางแม่น้ำระหว่างออกซ์ฟอร์ด และ ลอนดอนตะวันตก ถูกตั้งชื่อตามแม่น้ำแห่งนี้.

ใหม่!!: เคนต์และแม่น้ำเทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เกรเทอร์ลอนดอน

ริเวณที่ตั้งของเกรเทอร์ลอนดอน ศาลาเทศบาลประจำเกรเทอร์ลอนดอน เกรเทอร์ลอนดอน (Greater London) เป็นเทศมณฑลพิธีและภาคการปกครองหนึ่งของประเทศอังกฤษ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน..

ใหม่!!: เคนต์และเกรเทอร์ลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

เมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร

มหาวิหารเช่นนครยอร์คที่เป็นที่ตั้งของมหาวิหารยอร์ค เมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร (ภาษาอังกฤษ: City status in the United Kingdom) เป็นเมืองที่ได้รับพระราชทานฐานะจากพระมหากษัตริย์แห่งสหราชอาณาจักร (British monarch) ให้แก่ชุมชนที่ทรงเลือก การได้รับพระราชทานฐานะเป็นนครเป็นแต่การได้รับสิทธิที่จะเรียกตนเองเป็น “นคร” โดยไม่มีสิทธิพิเศษใดใดนอกไปจากนั้น แต่กระนั้นก็ยังเป็นสิ่งที่เป็นที่ต้องการกันเป็นอย่างแพร่หลายเพราะเป็นการนำมาซึ่งความมีหน้ามีตาของเมือง นอกจากนั้นการมอบสิทธิก็มิได้มีหลักเกณฑ์มาตรฐานแต่อย่างใด แต่ในอังกฤษและเวลส์ฐานะการเป็น “นคร” มักจะมอบให้แก่เมืองที่เป็นที่ตั้งของมหาวิหาร ประเพณีการตั้งเมืองที่มีมหาวิหารขึ้นเป็น “นคร” เริ่มมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1540 เมื่อสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ทรงก่อตั้งสังฆมลฑล (ซึ่งก็หมายถึงการมีมหาวิหาร) ในเมืองแปดเมืองและพระราชทานฐานะเมืองต่างๆ เหล่านั้นให้เป็น “นคร” โดยทรงมอบพระราชเอกสารสิทธิ (letters patent) ให้ การมอบฐานะการเป็นนครให้เมืองในไอร์แลนด์และในเวลส์มีจำนวนน้อยกว่าในอังกฤษมาก ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นไอร์แลนด์เหนือมีเมืองที่มีฐานะเป็นนครมีเพียงสองเมือง ส่วนในสกอตแลนด์ฐานะนครไม่มีให้กันอย่างเป็นทางการจนในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งในเวลานั้นก็เริ่มมีการฟื้นฟูการมอบฐานะการเป็นนครโดยเริ่มในอังกฤษ ที่การมอบฐานะจะตามด้วยการก่อตั้งมหาวิหาร และต่อมาการมอบฐานะก็เกิดขึ้นในสกอตแลนด์ ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 การมอบฐานะการเป็นนครในอังกฤษและเวลส์ก็เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าไม่จำเป็นต้องเป็นเมืองที่มีมหาวิหารและสิทธิที่มอบให้ตั้งแต่นั้นมาก็ขึ้นอยู่กับมาตรฐานหลายอย่างเช่นตามจำนวนประชากรในเมืองที่ได้รับฐานะเป็นต้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ก็มีการยุบเลิกรัฐบาลท้องถิ่นบางรัฐบาลที่เป็นผลของการปฏิรูปรัฐบาลท้องถิ่นที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติการปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น (ไอร์แลนด์) ค.ศ. 1840 (Municipal Corporations (Ireland) Act 1840) ทำให้เมืองเก่าหลายเมืองถูกยุบฐานะ แต่ก็ได้มีการมอบพระราชเอกสารสิทธิให้แก่เมืองที่ถูกกระทบกระเทือนเพื่อให้เมืองต่างๆ เหล่านั้นมีฐานะตามที่เคยเป็นมา ในปัจจุบันโรเชสเตอร์, เพิร์ธ และเอลกินเป็นเพียงเมืองสามเมืองเท่านั้นในสหราชอาณาจักรที่สูญเสียฐานะในการเป็นนคร.

ใหม่!!: เคนต์และเมืองที่มีฐานะเป็นนครในสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

เมืองเทศมณฑล

วัดเซนต์แมรีในเมืองวอริคเมืองหลวงของมณฑลวอริคเชอร์ เมืองเทศมณฑล หรือ เมืองหลวงของเทศมณฑล (county town) คือ “เมืองหลวง” ของ มณฑลในสหราชอาณาจักรหรือในสาธารณรัฐไอร์แลน.

ใหม่!!: เคนต์และเมืองเทศมณฑล · ดูเพิ่มเติม »

เอสเซกซ์

อสเซ็กซ์ (Essex) เป็นมณฑลหนึ่งทางตะวันออกของอังกฤษ เมืองเอกคือ เชล์มสฟอร์ด (Chelmsford) จุดที่สูงที่สุดของมณฑลนี้คือที่ Chrishall Common ใกล้กับหมู่บ้านแลงลีย์ (Langley) ซึ่งมีความสูง 144.6 เมตร.

ใหม่!!: เคนต์และเอสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษ

ทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษ (Ceremonial counties of England) คือพื้นที่ในอังกฤษที่ได้รับก่อตั้งให้อยู่ในปกครองของ “ลอร์ดเลฟเทนันต์” (Lord Lieutenant) และได้รับคำบรรยายโดยรัฐบาลว่าเป็น “มลฑลที่ก่อตั้งสำหรับพระราชบัญญัติเลฟเทนันต์ ค.ศ. 1997” ที่มีพื้นฐานมาจากเทศมณฑลที่เป็นมหานครและไม่ใช่มหานครของอังกฤษ และพระราชบัญญัติเลฟเทนันต์ ค.ศ. 1997 มลฑลเหล่านี้มักจะใช้ในการอ้างอิงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่บางครั้งเรียกว่า “มลฑลประวัติศาสตร์” เทศมณฑลพิธีมีด้วยกันทั้งสิ้น 48 แห่ง.

ใหม่!!: เคนต์และเทศมณฑลทางพิธีการของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลที่ไม่ใช่มหานคร

มณฑลนอกเมโทรโพลิตันของอังกฤษ หรือ มณฑลไชร์ (Non-metropolitan county หรือ Shire county) เป็นหนึ่งในระดับการปกครองมณฑลของอังกฤษที่ไม่ใช่อังกฤษมณฑลเมโทรโพลิตัน มณฑลเหล่านี้มักจะมีประชากรราว 300,000 ถึง 1.4 ล้านคน บางครั้ง “มณฑลนอกเมโทรโพลิตัน” ก็เรียกว่า “มณฑลไชร์” (Shire county) แต่เป็นการเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการ มณฑลนอกเมโทรโพลิตันที่เป็นมณฑลเดิมในประวัติศาสตร์มักจะมีสร้อยต่อท้ายด้วย “-เชอร์” (shire) เช่นวิลท์เชอร์ หรือแลงคาสเชอร์ และบางมณฑลก็เคยมีสร้อยแต่มาหายไปภายหลังเช่นเดวอน อันที่จริงแล้ว “มณฑลไชร์” หรือ “ไชร์เคานตี้” เป็นประพจน์ซ้ำความ (Tautology) ซึ่งหมายความว่าทั้งสองคำมีความหมายเดียวกันแต่มักจะใช้ด้วยกัน: คำว่า “เคานตี้” (มณฑล) มาจากภาษาฝรั่งเศสและ “ไชร์” มาจากภาษาภาษาอังกฤษเก่า ทั้งสองคำหมายถึงเขตการปกครองระดับหนึ่ง.

ใหม่!!: เคนต์และเทศมณฑลที่ไม่ใช่มหานคร · ดูเพิ่มเติม »

เทศมณฑลของอังกฤษ

มณฑลการปกครองของอังกฤษ เป็นการแบ่งการเขตการปกครองหนึ่งในระดับการปกครองท้องถิ่นของอังกฤษเพื่อใช้ในทางการบริหาร, ทางการเมือง และในการแบ่งเขตการปกครองทางภูมิศาสตร์ มณฑลในปัจจุบันมีรากฐานมาจากการแบ่งเขตการปกครองของระบบการปกครองในประวัติศาสตร์เช่นในสมัยแองโกล-แซ็กซอน คำว่ามณฑลที่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า “County” ซึ่งมาจากบริเวณเขตการปกครองของขุนนางระดับเคานท์ แต่ในอังกฤษตำแหน่ง “เคานท์” เท่ากับตำแหน่ง เอิร์ล ของแซ็กซอนโบราณ แต่ภรรยาของเอิร์ลยังคงมีตำแหน่งเป็น “เคานเทส” ชื่อ, เขตแดน และลักษณะการบริหารของเขตการปกครองของมณฑลเปลี่ยนแปลงไปมากจากที่เป็นมาในอดีตกาล และการปฏิรูปเขตการปกครองต่างๆ ที่เกิดเริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมาทำให้ความหมายคำว่า “มณฑล” ที่ใช้กันในอังกฤษค่อนข้างจะสับสนและกำกวม ฉะนั้นคำว่า “มณฑลของอังกฤษ” โดยทั่วไปจึงมิได้หมายถึงหน่วยเขตการปกครองที่แจ่มแจ้งเช่นในความหมายอย่างเป็นทางการของคำว่า “มณฑล” ตามที่เข้าใจกัน เช่นในการใช้คำว่า “มณฑล” สำหรับกรณีอื่นๆ นอกไปจากการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นเช่น มณฑลภูมิศาสตร์ (Ceremonial counties), มณฑลลงทะเบียน (Registration county), มณฑลในประวัติศาสตร์ (Historic counties) หรือมณฑลไปรษณีย์ (Postal counties) เป็นต้น.

ใหม่!!: เคนต์และเทศมณฑลของอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

เซอร์รีย์

เซอร์รีย์ (Surrey) คือ มณฑลหนึ่งทางตอนใต้ของสหราชอาณาจักร เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ มีอาณาเขตติดต่อกับมณฑลบาร์คเชอร์ เกรตเตอร์ลอนดอน (Greater London) แฮมป์เชอร์ เค้นท์ อีสต์ซัสเซกซ์ และเวสต์ซัสเซกซ์ เมืองเอกคือกิลด์ฟอร์ด หมวดหมู่:สหราชอาณาจักร หมวดหมู่:เซอร์รีย์.

ใหม่!!: เคนต์และเซอร์รีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เซาท์อีสต์อิงแลนด์

ตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ (ภาษาอังกฤษ: South East England) เป็นหนึ่งในเก้าของภาคการปกครองของอังกฤษที่ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1994 และรับเป็นส่วนหนึ่งของสถิติใน ปี ค.ศ. 1999 ภาคตะวันออกเฉียงใต้รวมมลฑลบาร์คเชอร์, บัคคิงแฮมเชอร์, อีสต์ซัสเซ็กซ์, แฮมป์เชอร์, ไอล์ออฟไวท์, เค้นท์, อ๊อกซฟอร์ดเชอร์, เซอร์รีย์ และเวสต์ซัสเซ็กซ์ คำที่ใช้กันโดยทั่วไปในการเรียกบริเวณนี้คือ “ตะวันออกเฉียงใต้” แต่ความหมายต่างกันออกไปมาก ภาคตะวันออกเฉียงใต้มีเนื้อที่ 19,096 ตารางกิโลเมตร ในปี..

ใหม่!!: เคนต์และเซาท์อีสต์อิงแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Kentมณฑลเค้นท์เคนท์เค้นท์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »