โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

มงส์

ดัชนี มงส์

มงส์ (Mons) เป็นเมืองและเทศบาลในประเทศเบลเยียม เป็นเมืองหลวงของมณฑลแอโน มีประชากรประมาณ 95,000 คน และมีประชากรบริเวณปริมณฑลประมาณ 257,000 คน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงบรัสเซลส์ประมาณ 60 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงปารีสประมาณ 240 กิโลเมตร ทางตะวันออกของลีลประมาณ 75 กิโลเมตร และทางตะวันตกของอาเคินประมาณ 180 กิโลเมตร มงส์ตั้งอยู่ที่จุดตัดระหว่างทางหลวงยุโรป E19 (อัมสเตอร์ดัม-แอนต์เวิร์ป-บรัสเซลส์-ปารีส) กับทางหลวงยุโรป E42 (ลีล-ชาร์เลอรัว-ลีแยฌ-แฟรงก์เฟิร์ต) ในยุค 1860 หลังจากที่เบลเยียมได้รับเอกราชระยะหนึ่ง เมืองต่างๆ รวมทั้งมงส์ได้รับการรื้อฟื้น มีการสร้างถนนขนาดใหญ่และโครงการสร้างเมืองอื่นๆ การปฏิวัติอุตสาหกรรมและเหมืองถ่านหินทำให้มงส์กลายเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมหนักและเป็นกระดูกสันหลังอุตสาหกรรมของเขตวัลลูน อย่างไรก็ตาม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง มงส์ซึ่งเป็นเมืองอุตสาหกรรมสำคัญได้ถูกทิ้งระเบิดและเกิดการสู้รบระหว่างกองกำลังจากอเมริกากับกองกำลังเยอรมนี หลังจากสงครามอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ก็เสื่อมถอยลง ปัจจุบันมงส์เป็นเมืองมหาวิทยาลัยและศูนย์กลางการค้า และด้วยประวัติศาสตร์ มรดกทางวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม ทำให้มงส์ได้รับเลือกเป็นเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของยุโรปประจำปี ค.ศ. 2015.

21 ความสัมพันธ์: บรัสเซลส์ชาร์เลอรัวพ.ศ. 2556พ.ศ. 2558การปฏิวัติอุตสาหกรรมมณฑลแอโนลีลลีแยฌสงครามโลกครั้งที่สองอัมสเตอร์ดัมอาเคินฉางชาประเทศเบลเยียมปารีสแฟรงก์เฟิร์ตแอนต์เวิร์ปเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของยุโรปเวลายุโรปกลางเวลาออมแสงยุโรปกลางเขตวัลลูน1 มกราคม

บรัสเซลส์

รัสเซลส์ (Brussels), บรูว์แซล (Bruxelles) หรือ บรึสเซิล (Brussel; Brüssel) เรียกอย่างเป็นทางการว่า เขตนครหลวงบรัสเซลส์ หรือ เขตบรัสเซลส์ (All text and all but one graphic show the English name as Brussels-Capital Region.) (Région de Bruxelles-Capitale, Brussels Hoofdstedelijk Gewest) เป็นเมืองหลวงของประเทศเบลเยียม และเป็นศูนย์กลางหรือเมืองหลวงอย่างไม่เป็นทางการของสหภาพยุโรป (อียู) เขตบรัสเซลส์แบ่งการปกครองย่อยเป็นเทศบาลจำนวน 19 แห่ง รวมถึง เทศบาลนครบรัสเซลส์ (City of Brussels) ซึ่งอยู่ใจกลางเขตมีอาณาเขตเพียง 32.61 ตร.กม.

ใหม่!!: มงส์และบรัสเซลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์เลอรัว

ร์เลอรัว (Charleroi) เป็นเมืองและเทศบาลในประเทศเบลเยียม ตั้งอยู่ในมณฑลแอโน อยู่ทางใต้ของกรุงบรัสเซลส์ประมาณ 50 กิโลเมตร มีประชากรประมาณ 203,000 คน และมีประชากรบริเวณปริมณฑลประมาณ 500,000 คน นับเป็นเมืองใหญ่จากประชากรอันดับห้าของประเทศเบลเยียมรองจากบรัสเซลส์, แอนต์เวิร์ป, ลีแยฌ และเกนต์ และหากนับเฉพาะจำนวนประชากรในเขตเทศบาล ชาร์เลอรัวจะเป็นเทศบาลใหญ่อันดับสามรองจากแอนต์เวิร์ปและเกนต์ ชาร์เลอรัวตั้งอยู่ริมสองฝั่งของแม่น้ำแม่น้ำซ็องบร์ (Sambre) เดิมมีการประกอบอุตสาหกรรมจำนวนมาก เช่นการทำเหมืองถ่านหินและอุตสาหกรรมเหล็กกล้า จนได้รับชื่อเล่นว่า Pays Noir (ประเทศสีดำ) อย่างไรก็ตามโรงงานส่วนใหญ่ถูกปิดตัวลงตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1950 ภูมิทัศน์ของเมืองก็ยังคงมีบริเวณของเสียจากอาคารอุตสาหกรรมเก่าอยู่ทั่วไป ประวัติศาสตร์ของชาร์เลอรัวเริ่มต้นใน ค.ศ. 1666 ในสมัยที่สเปนมีอำนาจเหนือเนเธอร์แลนด์ ผู้สำเร็จราชการชาวสเปนได้เข้ามาเวนคืนพื้นที่จากชาวท้องถิ่นและสร้างป้อมปราการที่ริมแม่น้ำซ็องบร์ สะพานข้ามแม่น้ำถูกสร้างขึ้น ที่ดินถูกแจกจ่ายไปสู่ประชาชน และได้รับการตั้งชื่อเมืองเพื่อเป็นเกียรติแด่พระเจ้าการ์โลสที่ 2 (Charles II) พระมหากษัตริย์แห่งสเปนในสมัยนั้น.

ใหม่!!: มงส์และชาร์เลอรัว · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2556

ทธศักราช 2556 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2013 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: มงส์และพ.ศ. 2556 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2558

ทธศักราช 2558 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2015 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน นับเป็นปีที่ 2015 ตามกำหนดสากลศักร.

ใหม่!!: มงส์และพ.ศ. 2558 · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิวัติอุตสาหกรรม

รงงานปั่นด้ายในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม เครื่องจักรไอน้ำของเจมส์ วัตต์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิวัติอุตสาหกรรม ภาพ ''เหล็กและถ่านหิน'' โดยวิลเลียม เบลล์ สกอตต์, ค.ศ. 1855-60 การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) คือช่วงเวลาตั้งแต..

ใหม่!!: มงส์และการปฏิวัติอุตสาหกรรม · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลแอโน

แอโน (Hainaut) เป็นมณฑลที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกที่สุดของเขตวัลลูนในประเทศเบลเยียม โดยทางเหนือมีพื้นที่ติดต่อกับมณฑลฟลานเดอร์ตะวันตก, มณฑลฟลานเดอร์ตะวันออกและมณฑลเฟลมิชบราบันต์, ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับมณฑลวัลลูนบราบันต์, ทางตะวันออกติดต่อกับมณฑลนามูร์ของประเทศเบลเยียม, และทางตะวันตกติดต่อกับจังหวัดนอร์และจังหวัดแอนของประเทศฝรั่งเศส แอโนมีเมืองหลวงชื่อมงส์ มีเมืองใหญ่ที่สุดชื่อชาร์เลอรัว และมีพื้นที่ 3,786 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 7 เขตการปกครอง ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 69 เทศบาล มณฑลแอโนมีประชากรจำนวน 1,332,042 คน ซึ่งทำให้แอโนเป็นมณฑลที่มีประชากรมากที่สุดของเขตวัลลูน.

ใหม่!!: มงส์และมณฑลแอโน · ดูเพิ่มเติม »

ลีล

ลีล (Lille) หรือ ไรเซิล เป็นเมืองหลวงของแคว้นนอร์-ปาดกาแล และเป็นเมืองบริหารของจังหวัดนอร์ในประเทศฝรั่งเศส ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ลีลเป็นเมืองเอกของนครลีล (Lille Métropole) ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นลำดับสี่ของเมืองมหานคร รองจากปารีส ลียง และมาร์แซย์ ลีลตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำเดิล ติดกับพรมแดนประเทศเบลเยียม ลีลที่ผนวกลอม (Lomme) เมื่อวันที่ 27 กุมภาพัน..

ใหม่!!: มงส์และลีล · ดูเพิ่มเติม »

ลีแยฌ

ลีแยฌ (Liège), ลึททิช (Lüttich), เลยก์ (Luik) เป็นเมืองและเทศบาลในประเทศเบลเยียมและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดลีแยฌ ตั้งอยู่ในหุบเขาริมแม่น้ำเมิส ใกล้กับพรมแดนทางตะวันออกของเบลเยียมซึ่งติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์และเยอรมนี ลีแยฌเป็นเมืองหลวงทางเศรษฐกิจของเขตวัลลูน มีประชากรประมาณ 197,000 คน มีชาวต่างชาติอาศัยอยู่ประมาณ 30,000 คน และมีประชากรบริเวณปริมณฑลประมาณ 600,000 คน ซึ่งถือได้ว่ามีผู้อยู่อาศัยมากที่สุดในวัลโลเนีย ลีแยฌเป็นเมืองใหญ่จากประชากรอันดับสามของประเทศเบลเยียมรองจากกรุงบรัสเซลส์และแอนต์เวิร์ป และเป็นเทศบาลใหญ่อันดับสี่รองจากแอนต์เวิร์ป เกนต์ และชาร์เลอรอย ในอดีตที่ตั้งของลีแยฌเคยเป็นรัฐในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ชื่อ "ราชรัฐมุขนายกลีแยฌ" ซึ่งก่อตั้งตั้งแต่ ค.ศ. 980 แต่ได้ถูกยุบเลิกในปี ค.ศ. 1795 เมื่อพ่ายแพ้ต่อฝรั่งเศส มหาวิทยาลัยลีแยฌ (University of Liège: ULg) ก่อตั้งขึ้นในสมัยพระเจ้าวิลเลิมที่ 1 แห่งสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ และเปิดอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1817 ประมาณครึ่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 ลีแยฌเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ซึ่งนำความเจริญมาสู่วัลโลเนีย แต่ต่อมาได้มีการลดความสำคัญของอุตสาหกรรมเหมืองแร่และเหล็กลง ลีแยฌมีชื่อเล่นคือ La Cité Ardente (เมืองที่ร้อนแรง) โดยชื่อนี้มาจากนิยายอิงประวัติศาสตร์ชื่อเดียวกันโดย Henri Carton de Wiart ใน ค.ศ. 1904 ซึ่งในขณะนั้นชื่อนี้ยังไม่เคยถูกใช้.

ใหม่!!: มงส์และลีแยฌ · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: มงส์และสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

อัมสเตอร์ดัม

อัมสเตอร์ดัม (Amsterdam) เป็นเมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอัมสเติล (Amstel) เริ่มก่อตั้งประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12 ปัจจุบันเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ มีประชากรในเขตตัวเมืองประมาณ 742,000 คน แต่ถ้านับรวมประชากรในเขตเมืองโดยรอบทั้งหมด จะมีประมาณ 1.5 ล้านคน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2005) อัมสเตอร์ดัมเป็นเมืองศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของทวีปยุโรป โดยเฉพาะช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นช่วงยุคทองของเนเธอร์แลนด์ ถึงแม้อัมสเตอร์ดัมจะเป็นเมืองหลวงของประเทศ แต่ศูนย์กลางของหน่วยงานรัฐบาลนั้นอยู่ที่เฮก.

ใหม่!!: มงส์และอัมสเตอร์ดัม · ดูเพิ่มเติม »

อาเคิน

แผนที่เยอรมนีแสดงเมืองอาเคิน อาเคิน (Aachen) เป็นเมืองที่อยู่ด้านตะวันตกสุดของประเทศเยอรมนี ติดกับพรมแดนประเทศเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม อยู่ห่างจากเมืองโคโลญมาทางตะวันตก 65 กิโลเมตร พิกัดภูมิศาสตร์ 50°46′ เหนือ 6°6′ ตะวันออก มีประชากร 256,605 คน (เมื่อปี พ.ศ. 2546) ชื่อของเมืองถ้าอ่านออกเสียงตามแบบภาษาเยอรมันแล้วจะออกเสียงว่า อาเคิ่น ชื่อเต็มของอาเคินคือ บัดอาเคิน (Bad Aachen) โดย Bad หมายถึงน้ำ ที่ได้ชื่อเช่นนี้เนื่องมาจากภายใต้เมืองอาเคินมีสายน้ำร้อนธรรมชาติอยู่มากมาย น้ำแร่ใต้ดินนี้ มีความเชื่อว่าสามารถนำมาดื่มเพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ในปัจจุบัน เมืองอาเคินได้นำน้ำแร่ใต้ดินนี้ไปเปิดบริการเป็นสปาแบบทันสมัยให้แก่ประชาชน โดยใช้ชื่อว่า Carolus Thermen อาเคินเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย RWTH Aachen (เยอรมัน: Rheinisch-Westfälische Technische Hochschule; อังกฤษ: RWTH Aachen University of Technology; ตัวย่อ RWTH ออกเสียงตามภาษาเยอรมันว่า แอร์เวเทฮา) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่มีชื่อเสียงทางด้านวิศวกรรมศาสตร์มายาวนาน โดยเฉพาะสาขาวิศวกรรมเครื่องกล อาเคินกับ RWTH มีความผูกพันกันมาอย่างลึกซึ้ง เนื่องจาก RWTH เป็นจุดดึงดูดให้มีนักเรียนจำนวนมากเดินทางมาใช้ชีวิตในอาเคิน ทำให้อาเคินกลายเป็นเมืองนักศึกษา โดยนักเรียนของ RWTH Aachen มีจำนวนมากกว่า 30,000 คน โดย 10% ของทั้งหมดเป็นนักเรียนต่างชาติ นอกจากสาขาวิศวกรรมแล้ว RWTH Aachen ยังมีคลินิคุม อาเคิน (Universitätsklinikum Aachen) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลแบบตึกเดียวที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และเป็นที่ศึกษาของเหล่านักศึกษาแพทยศาสตร์ของอาเคิน ในขณะเดียวกัน ทางสาขาคอมพิวเตอร์ของ RWTH ก็กำลังพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์วิจัยเฟราน์โฮเฟอร์ และขณะนี้บริษัทไมโครซอฟท์ก็ได้เปิดศูนย์วิจัยขึ้นในเมืองอาเคิน และสร้างความเป็นพันธมิตรกับ RWTH มหาวิหารอาเคิน เมืองอาเคินยังเป็นที่ตั้งของมหาวิหารอาเคิน (เยอรมัน: Aachener Dom) อันเก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ยาวนาน นับเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวของเมือง มหาวิหารแห่งอาเคินนี้ถูกจัดเป็นมรดกโลกของยูเนสโก มหาวิหารนี้เป็นโบสถ์แบบกอธิคผสมกับกาโล-โรมัน ซึ่งได้รับอนุญาตจากพระสันตปาปาแห่งกรุงโรมให้สร้างโบสถ์นี้ในปี ค.ศ. 786 และสร้างเสร็จเมื่อ ค.ศ. 805 โดมนี้ถูกใช้เป็นสถานที่แต่งตั้งกษัตริย์ของเยอรมนีในสมัยก่อนมาแล้วหลายพระองค์ อีกทั้งยังมีหีบศพทองคำของพระเจ้าชาร์เลอมาญ (เยอรมัน: Karl) อยู่ด้วย ที่ลานกว้างหน้าโดมนี้ จะถูกใช้เป็นที่รับรางวัลคาร์ล (Internationaler Karlspreis zu Aachen ย่อว่า Karlspreis; อังกฤษ: International Charlemagne Prize of the city of Aachen) ในทุก ๆ ปี รางวัลคาร์ลนี้จะมอบให้กับผู้ที่ส่งเสริมสันติภาพในยุโรป ตัวอย่างของบุคคลที่มีชื่อเสียงที่ได้รับรางวัลคาร์ลได้แก่ บิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และ โทนี แบลร์ นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร พรินเท่น อาเคินยังเป็นจุดกำเนิดของขนมที่ชื่อว่าพรินเทิน (Printen หรือ Aachener Printen) ซึ่งมีชื่อเสียงในประเทศเยอรมนี พรินเทินเป็นขนมลักษณะคล้ายคุกกี้ ที่มีส่วนผสมของอบเชย และมักทำออกมาโดยพิมพ์รูปต่าง ๆ เช่น รูปพระจักรพรรดิคาร์ล.

ใหม่!!: มงส์และอาเคิน · ดูเพิ่มเติม »

ฉางชา

ฉางชา เป็นเมืองหลวงของมณฑลหูหนาน ประเทศจีน ในประเทศไทยนั้นบางครั้งฉางชาถูกเรียกเป็นฉางซา ซึ่งไม่ตรงกับในพินอิน.

ใหม่!!: มงส์และฉางชา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: มงส์และประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

ปารีส

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: มงส์และปารีส · ดูเพิ่มเติม »

แฟรงก์เฟิร์ต

แฟรงก์เฟิร์ต (Frankfurt) หรือ ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์ (Frankfurt am Main) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐเฮสส์และใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศเยอรมนี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไมน์ (Main river) และเป็นที่ตั้งของตลาดหลักทรัพย์แฟรงก์เฟิร์ตและธนาคารกลางยุโรป แฟรงก์เฟิร์ตเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดในกลุ่มสหภาพยุโรป โดยในเขตเมืองและปริมณฑลมีประชากรประมาณ 5 ล้านคน ชื่อเมืองแฟรงก์เฟิร์ตในประเทศเยอรมนี นิยมเรียกชื่อเต็มคือ "ฟรังค์ฟวร์ทอัมไมน์" หมายถึงเมืองแฟรงก์เฟิร์ตที่อยู่บนแม่น้ำไมน์ เพื่อแยกความแตกต่างจากเมืองฟรังค์ฟวร์ทอันเดอร์โอเดอร์ (Frankfurt an der Oder) ริมฝั่งแม่น้ำโอเดอร์ในรัฐบรันเดนบูร์กทางด้านตะวันออกของประเท.

ใหม่!!: มงส์และแฟรงก์เฟิร์ต · ดูเพิ่มเติม »

แอนต์เวิร์ป

มืองแอนต์เวิร์ป แอนต์เวิร์ป (Antwerp), อันต์แวร์เปิน (Antwerpen) หรือ อ็องแวร์ส (Anvers) เป็นเมืองในประเทศเบลเยียมและเป็นเมืองหลวงของจังหวัดแอนต์เวิร์ปในฟลานเดอส์ หนึ่งในสามบริเวณของเบลเยียม แอนต์เวิร์ปมีประชากรทั้งสิ้น 472,071 (1 มกราคม 2008) Population of all municipalities in Belgium, as of 1 January 2008.

ใหม่!!: มงส์และแอนต์เวิร์ป · ดูเพิ่มเติม »

เมืองหลวงทางวัฒนธรรมของยุโรป

มืองหลวงทางวัฒนธรรมของยุโรป เป็นเมืองที่ได้รับเลือกจากสหภาพยุโรปเป็นช่วงเวลาหนึ่งปี ซึ่งในช่วงเวลานั้นเมืองจะได้รับโอกาสให้แสดงวัฒนธรรมและการพัฒนาวัฒนธรรมของตน เมืองในยุโรปจำนวนมากได้ใช้โอกาสนี้ในการเปลี่ยนแปลงทั้งฐานวัฒนธรรมของตนและมุมมองจากนานาชาติต่อเมืองของตนอย่างสิ้นเชิง.

ใหม่!!: มงส์และเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

เวลายุโรปกลาง

ตเวลาชาติยุโรปกลาง (Central European Time; CET) เป็นชื่อของเขตเวลาที่ตรงกับมาตรฐานบบเวลาสากลเชิงพิกัดบวก 1 ชั่วโมง (UTC+1) ซึ่งใช้เป็นเวลามาตรฐานส่วนใหญ่ในประเทศยุโรป และใช้ในประเทศทางตอนเหนือของทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: มงส์และเวลายุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เวลาออมแสงยุโรปกลาง

ตเวลาออมแสงยุโรปกลาง (Central European Summer Time; CEST) เป็นชื่อของเขตเวลาที่ตรงกับมาตรฐานเวลาสากลเชิงพิกัดบวก 2 ชั่วโมง (UTC+2) ซึ่งใช้เป็นเวลามาตรฐานส่วนใหญ่ในประเทศยุโรป และใช้ในประเทศทางตอนเหนือของทวีปแอฟริก.

ใหม่!!: มงส์และเวลาออมแสงยุโรปกลาง · ดูเพิ่มเติม »

เขตวัลลูน

ตวัลลูน (Région wallonne; Wallonische Region; Wallonië) เรียกอีกอย่างว่า "วาโลเนีย" เป็นเขตการปกครองตามรัฐธรรมนูญของประเทศเบลเยียม ร่วมกับเขตฟลามส์และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ มีเนื้อที่ 55% ของเนื้อที่ประเทศ แต่มีประชากรเป็นอันดับที่ 3 แม้ว่าประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส แต่เขตวัลลูนก็มิได้รวมเข้ากับชุมชนฝรั่งเศสแห่งเบลเยียมเหมือนในกรณีของเขตฟลามส์ซึ่งรวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับชุมชนฟลามส์ นอกจากนี้ในเขตวัลลูนยังมีประชาคมผู้ใช้ภาษาเยอรมัน ซึ่งอยู่ในทิศตะวันออกที่มีสภาแยกดูแลในด้านการศึกษาและวัฒนธรรมโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับเขตอื่น ๆ เขตวัลลูนมีสภาและรัฐบาลดูแลกิจการภายในเขต ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เมืองหลวงของเขตคือนามูร์ มีภาษาราชการคือภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมัน ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม วาโลเนียนั้นเป็นเพียงอันดับสองรองจากสหราชอาณาจักรในด้านอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะการถลุงเหล็กและถ่านหิน ซึ่งนำมาซึ่งความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของเขตภูมิภาควัลลูน ตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 วัลลูนถือเป็นครึ่งหนึ่งของเบลเยียมที่ร่ำรวยที่สุด แต่ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ความสำคัญของอุตสาหกรรมหนักลดลงอย่างมาก ทำให้เขตฟลามส์นั้นก้าวหน้าขึ้นกว่าเขตวัลลูนในด้านเศรษฐกิจ ในปัจจุบันเขตวัลลูนนั้นมีปัญหาด้านอัตราผู้ไม่มีงานทำค่อนข้างสูง และยังมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากร (GDP per Capita) ต่ำกว่าเขตฟลามส์อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและภาษาของทั้งสองภูมิภาคหลักของเบลเยียมนั้นได้นำพามาซึ่งปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในระดับประเทศในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เมืองหลวงของวาโลเนียตั้งอยู่ที่นามูร์ แต่เขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดนั้นคือลีแยฌ ส่วนเขตเทศบาลเดียวที่มีประชากรมากที่สุดคือ ชาร์เลอรัว เมืองใหญ่ต่างๆในวาโลเนียนั้นตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำซอมบร์ และแม่น้ำเมิส อันประกอบด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดกว่าสองในสามของเขต อันเป็นเขตอุตสาหกรรมในอดีตของเบลเยียม ด้านทิศเหนือนั้นเป็นที่ราบลุ่มภาคกลางของเบลเยียม ซึ่งเหมือนกับเขตฟลามส์ อันมีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรม ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้นั้นเป็นเขตอาร์เดนน์ ซึ่งประกอบด้วยภูเขาสลับอย่างหนาแน่น พรมแดนของเขตวัลลูนทางด้านเหนือนั้นติดกับเขตฟลามส์ และประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้านใต้และตะวันตกจรดกับประเทศฝรั่งเศส ส่วนทิศตะวันออกนั้นติดกับประเทศเยอรมนี และประเทศลักเซมเบิร์ก.

ใหม่!!: มงส์และเขตวัลลูน · ดูเพิ่มเติม »

1 มกราคม

วันที่ 1 มกราคม เป็นวันแรกของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 364 วันในปีนั้น (365 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: มงส์และ1 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Mons

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »