โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศีล 227

ดัชนี ศีล 227

ระวินัย 227 ข้อ ของพระ เป็นกฎหมายหรือข้อห้ามของพระภิกษุสงฆ์เถรวาทตามพระวินัยบัญญัติ จัดอยู่ในส่วนอาทิพรหมจาริยกาสิกขา พระวินัย 227บทในพระปาฏิโมกข์ ที่พระพุทธเจ้าทรงวางข้อกำหนดไม่พึงละเมิดไว้เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของคณะสงฆ์ และเพื่อเป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานอันเอื้อเฟื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ของพระภิกษุสงฆ์ มีโทษในการล่วงละเมิดร้ายแรงที่สุดถึงปาราชิก หรือขาดจากความเป็นพระสงฆ์ พระวินัย 227 บ ไม่ใช่ศีลแต่เรียกว่า พระวินัย ผู้ทำผิดศีลเรียกว่า ล่วงพระวินัย เป็น อาบัติ ระดับชั้นต่าง ๆ ตามความหนักเบา สามารถแบ่งระดับอาบัติออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุด ในอาบัติระดับเบาจะต้องมีการเผยความผิด อาบัติระดับเบาเช่น ปาจิตตีย์ สามารถแก้ได้โดยกล่าวแสดงความผิดของตนกับพระภิกษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงถึงความสำนึกผิดและเพื่อจะตั้งใจประพฤติตนใหม่ หรือที่เรียกว่า การแสดงอาบัติ, ปลงอาบัติ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกย่อมขาดจากความเป็นพระ และไม่สามารถบวชเป็นพระสงฆ์ได้อีก ซึ่งพระวินัย ไม่ใช่ศีล แต่เป็นเสมือนกฎหมายของพระภิกษุ แต่หากจะกล่าวถึงศีลพระนั้น มีเพียง 43 ข้อ คือ จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล จึงจะเป็นศีลพระที่แท้จริงตามพุทธบัญญัต.

12 ความสัมพันธ์: พระวินัยปิฎกมัชฌิมศีลสังฆาทิเสสอาบัติอาทิพรหมจาริยกาสิกขาอธิกรณสมถะอนิยตปาฏิเทสนียะ 4ปาราชิกนิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30เสขิยวัตรเถรวาท

พระวินัยปิฎก

ระวินัยปิฎก (Vinaya Piṭaka วินะยะปิฏะกะ) ถือเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก เป็นประมวลกฎข้อบังคับ เกี่ยวกับความประพฤติของเหล่าพระสงฆ์ ทั้งภิกษุและภิกษุณี ทว่า พระวินัยปิฎกนั้นมิได้มีแต่กฎข้อบังคับเท่านั้น หากยังมีเนื้อหาสะท้อนประวัติศาสตร์ของอินเดียในสมัยพุทธกาลด้วย รวมทั้ง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และประวัติของบุคคลสำคัญบางคนในยุคนั้น เช่น ชีวกโกมารภัจจ์ เดิมนั้น พระวินัยปิฎกแบ่งได้เป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ ได้แก.

ใหม่!!: ศีล 227และพระวินัยปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

มัชฌิมศีล

มัชฌิมศีล แปลวว่า ศีลอย่างกลาง หมายถึงศีลที่มีระดับกลาง ที่ควรประพฤติงดเว้น มีความละเอียดขึ้นมาจากจุลศีล เช่น เว้นจากการการละเล่นต่างๆ การร้องรำทำเพลงเป็นต้น รวมถึงขัดเกลากาย วาจา ใจ ที่ปลอดจากอกุศลอย่างหยาบแล้วให้ละเอียดผ่องใสยิ่งขึ้น เช่นเมื่องดเว้นจากการพูดปด, พูดส่อเสียดให้แตกกัน, พูดคำหยาบ ๆ และพูดเพ้อเจ้อ ดังที่ปรากฏในจุลศีลแล้ว ก็ควรเว้นจากการพูดหลอกลวง พูดเลียบเคียง เป็นลำดับต่อมา เป็นอาทิ มัชฌิมศีลนี้ คือศีลที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงในพรหมชาลสูตร (เถรวาท) โดยทรงเตือนมิให้โกรธเมื่อมีผู้ติเตียนพระรัตนตรัย มิให้ยินดีหรือเหลิงเมื่อมีผู้สรรเสริญ แล้วตรัสว่า คนอาจกล่าวชมเชยพระองค์ด้วยศีล 3 ชั้น คือศีลอย่างเล็กน้อย (จุลศีล) ศีลอย่างกลาง (มัชฌิมศีล) และศีลอย่างใหญ่ (มหาศีล) โดยทรงชี้ว่า พระองค์ปฏิบัติศีลเหล่านี้จนเป็นที่สรรเสริญของชาวโลก และศีลเหล่านี้จะเป็นแนวทางการปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์ได้ปฏิบัติต่อไป มัชฌิมศีล ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงในพรหมชาลสูตร (เถรวาท) มีรายละเอียดดังที่ปรากฏในพรหมชาลสูตร (เถรวาท) ของพระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค มีดังต่อไปนี้.

ใหม่!!: ศีล 227และมัชฌิมศีล · ดูเพิ่มเติม »

สังฆาทิเสส

ังฆาทิเสสคือประเภทของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภท ครุกาบัติที่เรียกว่า อาบัติสังฆาทิเสส จัดเป็นอาบัติโทษรุนแรงรองจากปาราชิก มีทั้งหมด 13 ประการดังนี้.

ใหม่!!: ศีล 227และสังฆาทิเสส · ดูเพิ่มเติม »

อาบัติ

อาบัติ แปลว่า การต้อง, การล่วงละเมิด หมายถึงโทษที่เกิดจาการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ ใช้เรียกความผิดทางวินัยของพระภิกษุว่า ต้องอาบัติ อาบัติ มี 7 อย่าง แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ.

ใหม่!!: ศีล 227และอาบัติ · ดูเพิ่มเติม »

อาทิพรหมจาริยกาสิกขา

อาทิพรหมจาริยกาสิกขา คือส่วนพระวินัยบัญญัติ ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้นเป็นสิกขาบทหลักเบื้องต้นในการปฏิบัติตนในการประพฤติพรหมจรรย์ อาทิพรหมจาริยกาสิกขา เช่น ปาราชิก สังฆาทิเสส นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ซึ่งเป็นพระวินัยบัญญัติหลัก ๆ ของพระสงฆ์และพระภิกษุณีสงฆ์ สิกขาบทหลักในอาทิพรหมจาริยกาสิกขา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สิกขาบทในพระปาติโมกข์ อาทิพรหมจาริยกาสิกาทั้งหมด จัดอยู่ในหมวดสุตตวิภังค์ อันเป็นส่วนแรกในพระวินัยปิฎก คู่กับอภิสมาจาริกาสิกขา ที่เป็นข้อปฏิบัติอันไม่ใช่สิกขาบทหลัก คือเป็นเพียงสิกขาบทเล็กๆ น้อยๆ หรือเรียกว่า สิกขาบทนอกพระปาติโมกข์ จัดอยู่ในหมวดขันธกะ รวมเรียกว่าพระวินั.

ใหม่!!: ศีล 227และอาทิพรหมจาริยกาสิกขา · ดูเพิ่มเติม »

อธิกรณสมถะ

อธิกรณสมถะ การทำอธิกรณ์ให้สงบระงับ หมายถึง วิธีระงับอธิกรณ์ตามพระธรรมวินัย 7 อย่าง คือ.

ใหม่!!: ศีล 227และอธิกรณสมถะ · ดูเพิ่มเติม »

อนิยต

อนิยต คือประเภทของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภทกึ่งกลางระหว่างครุกาบัติหรือลหุกาบัติที่เรียกว่า อาบัติอนิยต ซึ่งอาบัตินี้ขึ้นอยู่กับว่าพระวินัยธรจะวินิจฉัยว่าควรจะให้ปรับอาบัติแบบไหนตามแต่จะได้โทษหนักหรือเบาอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีทั้งหมด 2 ประการดังนี้.

ใหม่!!: ศีล 227และอนิยต · ดูเพิ่มเติม »

ปาฏิเทสนียะ 4

ปาฏิเทสนียะคือประเภทหนึ่งของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภท ลหุกาบัติที่เรียกว่า อาบัติปาฏิเทสนียะ จัดเป็นอาบัติโทษเบา มีทั้งหมด 4 ประการดังนี้.

ใหม่!!: ศีล 227และปาฏิเทสนียะ 4 · ดูเพิ่มเติม »

ปาราชิก

ปาราชิก คือประเภทของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภท ครุกาบัติที่เรียกว่า อาบัติปาราชิก คำศัพท์ว่า ปาราชิกนั้น แปลว่า ยังผู้ต้องพ่าย หมายถึง ผู้ต้องพ่ายแพ้ในตัวเองที่ไม่สามารถปฏิบัติในพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงประทานไว้ให้ได้ ปาราชิก มี 4 ข้อ อยู่ใน ศีล 227 ได้แก.

ใหม่!!: ศีล 227และปาราชิก · ดูเพิ่มเติม »

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30

นิสสัคคิยปาจิตตีย์คือประเภทของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภท ลหุกาบัติที่เรียกว่า อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ จัดเป็นอาบัติโทษเบา มีทั้งหมด 30 ประการดังนี้.

ใหม่!!: ศีล 227และนิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 · ดูเพิ่มเติม »

เสขิยวัตร

วัตร เป็นส่วนหนึ่งของวินัยบัญญัติของภิกษุ (ศีล 227 ข้อ) กล่าวคือ วัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษา จัดเป็น 4 หมวด ได้แก.

ใหม่!!: ศีล 227และเสขิยวัตร · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: ศีล 227และเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

227 ข้อภิกษุวินัยศีล 227 ข้อศีล ๒๒๗อาบัติทุกกฎ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »